title
stringlengths 10
260
| context
stringlengths 28
181k
| raw
stringlengths 39
181k
| url
stringlengths 0
53
|
---|---|---|---|
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กรมทางหลวงชนบท ก่อสร้างกำแพงป้องกันการกัดเซาะบนทางหลวงชนบทสาย อบ.3021 จังหวัดอุบลราชธานีแล้วเสร็จ | วันพฤหัสบดีที่ 21 เมษายน 2565
กรมทางหลวงชนบท ก่อสร้างกําแพงป้องกันการกัดเซาะบนทางหลวงชนบทสาย อบ.3021 จังหวัดอุบลราชธานีแล้วเสร็จ
พร้อมรับมือเหตุอุทกภัยในระยะยาวอย่างมีประสิทธิภาพ ตามนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
กรมทางหลวงชนบท (ทช.) กระทรวงคมนาคม โดยสํานักงานทางหลวงชนบทที่ 7 (อุบลราชธานี) รายงานความคืบหน้าโครงการก่อสร้างกําแพงคอนกรีตป้องกันการกัดเชาะ (Slope Protection) บริเวณทางหลวงชนบทสาย อบ.3021 แยกทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 202 บ้านนาเจริญ อําเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี หลังจากมีการจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและเริ่มดําเนินการก่อสร้าง เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2565 ที่ผ่านมา ปัจจุบันได้ดําเนินการแล้วเสร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งกําแพงป้องกันการกัดเซาะจะช่วยชะลอกระแสน้ําและป้องกันผลกระทบต่อโครงสร้างทางกรณีเกิดเหตุอุทกภัยเมื่อเข้าสู่ฤดูฝน ประชาชนจึงสามารถสัญจรในเส้นทางดังกล่าวได้อย่างสะดวกปลอดภัยในทุกฤดูกาล ตามนโยบาย นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ที่มอบหมายให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงฯ กําหนดแนวทางหรือมาตรการในการป้องกัน รับมือ และแก้ไขปัญหาอุทกภัยในระยะยาวให้เกิดมีประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อป้องกันผลกระทบต่อเส้นทางในโครงข่ายและความปลอดภัยของประชาชนผู้ใช้เส้นทาง | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กรมทางหลวงชนบท ก่อสร้างกำแพงป้องกันการกัดเซาะบนทางหลวงชนบทสาย อบ.3021 จังหวัดอุบลราชธานีแล้วเสร็จ
วันพฤหัสบดีที่ 21 เมษายน 2565
กรมทางหลวงชนบท ก่อสร้างกําแพงป้องกันการกัดเซาะบนทางหลวงชนบทสาย อบ.3021 จังหวัดอุบลราชธานีแล้วเสร็จ
พร้อมรับมือเหตุอุทกภัยในระยะยาวอย่างมีประสิทธิภาพ ตามนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
กรมทางหลวงชนบท (ทช.) กระทรวงคมนาคม โดยสํานักงานทางหลวงชนบทที่ 7 (อุบลราชธานี) รายงานความคืบหน้าโครงการก่อสร้างกําแพงคอนกรีตป้องกันการกัดเชาะ (Slope Protection) บริเวณทางหลวงชนบทสาย อบ.3021 แยกทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 202 บ้านนาเจริญ อําเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี หลังจากมีการจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและเริ่มดําเนินการก่อสร้าง เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2565 ที่ผ่านมา ปัจจุบันได้ดําเนินการแล้วเสร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งกําแพงป้องกันการกัดเซาะจะช่วยชะลอกระแสน้ําและป้องกันผลกระทบต่อโครงสร้างทางกรณีเกิดเหตุอุทกภัยเมื่อเข้าสู่ฤดูฝน ประชาชนจึงสามารถสัญจรในเส้นทางดังกล่าวได้อย่างสะดวกปลอดภัยในทุกฤดูกาล ตามนโยบาย นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ที่มอบหมายให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงฯ กําหนดแนวทางหรือมาตรการในการป้องกัน รับมือ และแก้ไขปัญหาอุทกภัยในระยะยาวให้เกิดมีประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อป้องกันผลกระทบต่อเส้นทางในโครงข่ายและความปลอดภัยของประชาชนผู้ใช้เส้นทาง | https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/53782 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ความคืบหน้าโครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 3 และโครงการยิ่งใช้ยิ่งได้ | วันจันทร์ที่ 25 ตุลาคม 2564
ความคืบหน้าโครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 3 และโครงการยิ่งใช้ยิ่งได้
จากข้อมูล ณ วันที่ 24 ต.ค.2564 โครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 3 มีผู้ใช้สิทธิสะสม 25.44 ล้านราย มียอดใช้จ่ายสะสมรวม 110,123.4 ล้านบาท และโครงการยิ่งใช้ยิ่งได้ มีผู้ใช้สิทธิ 84,680 คน มียอดใช้จ่ายสะสมส่วนประชาชนรวม 2,764 ล้านบาท
นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อํานวยการสํานักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า จากข้อมูล ณ วันที่ 24 ตุลาคม 2564 โครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 3 มีผู้ใช้สิทธิสะสมจํานวน 25.44 ล้านราย โดยมียอดการใช้จ่ายสะสมรวม 110,123.4 ล้านบาท แบ่งเป็นเงินที่ประชาชนจ่ายสะสม 55,975.3 ล้านบาท และรัฐร่วมจ่ายสะสม 54,148.1 ล้านบาท และโครงการยิ่งใช้ยิ่งได้ มีประชาชนผู้ใช้สิทธิจํานวน 84,680 คน จากจํานวนผู้เข้าร่วมโครงการ 480,170 ราย โดยมียอดใช้จ่ายสะสมส่วนประชาชนรวม 2,764 ล้านบาท โดยมีมูลค่าการใช้จ่ายสะสมที่นํามาคํานวณสิทธิ e-Voucher 2,200 ล้านบาท และคิดเป็นมูลค่าสะสม e-Voucher ทั้งสิ้นกว่า 241 ล้านบาท และมูลค่าการใช้จ่ายส่วน e-Voucher 144 ล้านบาท
สําหรับข้อมูลการใช้จ่ายผ่านฟู้ดเดลิเวอรี่แพลตฟอร์มล่าสุด (25 ตุลาคม 2564 เวลา 8.00 น.) โครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 3 มีการใช้จ่ายสะสมประมาณ 752.2 ล้านบาท แบ่งเป็นเงินที่ประชาชนใช้จ่าย 388.1 ล้านบาท และรัฐร่วมจ่าย 364.1 ล้านบาท สําหรับโครงการยิ่งใช้ยิ่งได้มีการใช้จ่ายสะสมกว่า 600,000 บาท และในส่วนของผู้ประกอบการร้านอาหารและเครื่องดื่มในโครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 3 และโครงการยิ่งใช้ยิ่งได้ที่ขายอาหารและเครื่องดื่มผ่านผู้ให้บริการฟู้ดเดลิเวอรี่แพลตฟอร์ม ล่าสุดขณะนี้ มีจํานวนกว่า 65,000 ราย
ประชาชนสามารถใช้จ่ายในโครงการฯ ได้จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564 อย่างไรก็ดี ขณะนี้มีผู้ลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 3 เต็มจํานวน 28 ล้านสิทธิแล้ว โดยอยู่ระหว่างการประมวลผลจํานวนผู้ลงทะเบียนไม่สําเร็จเพื่อประกอบการพิจารณาความเป็นไปได้ในการนําสิทธิดังกล่าวกลับมาเปิดให้ลงทะเบียนอีกครั้ง สําหรับโครงการยิ่งใช้ยิ่งได้ สามารถลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ www.ยิ่งใช้ยิ่งได้.com หรือผ่าน g-Wallet บนแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” จนกว่าจะครบ 1 ล้านสิทธิ ซึ่งยังมีสิทธิเหลือกว่า 5 แสนสิทธิ
สํานักงานเศรษฐกิจการคลัง halfhalf@fpo.go.th , spend2get@fpo.go.th
ธนาคารกรุงไทย จํากัด (มหาชน) โทร. 02-111-1122 (ตลอด 24 ชั่วโมง) | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ความคืบหน้าโครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 3 และโครงการยิ่งใช้ยิ่งได้
วันจันทร์ที่ 25 ตุลาคม 2564
ความคืบหน้าโครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 3 และโครงการยิ่งใช้ยิ่งได้
จากข้อมูล ณ วันที่ 24 ต.ค.2564 โครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 3 มีผู้ใช้สิทธิสะสม 25.44 ล้านราย มียอดใช้จ่ายสะสมรวม 110,123.4 ล้านบาท และโครงการยิ่งใช้ยิ่งได้ มีผู้ใช้สิทธิ 84,680 คน มียอดใช้จ่ายสะสมส่วนประชาชนรวม 2,764 ล้านบาท
นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อํานวยการสํานักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า จากข้อมูล ณ วันที่ 24 ตุลาคม 2564 โครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 3 มีผู้ใช้สิทธิสะสมจํานวน 25.44 ล้านราย โดยมียอดการใช้จ่ายสะสมรวม 110,123.4 ล้านบาท แบ่งเป็นเงินที่ประชาชนจ่ายสะสม 55,975.3 ล้านบาท และรัฐร่วมจ่ายสะสม 54,148.1 ล้านบาท และโครงการยิ่งใช้ยิ่งได้ มีประชาชนผู้ใช้สิทธิจํานวน 84,680 คน จากจํานวนผู้เข้าร่วมโครงการ 480,170 ราย โดยมียอดใช้จ่ายสะสมส่วนประชาชนรวม 2,764 ล้านบาท โดยมีมูลค่าการใช้จ่ายสะสมที่นํามาคํานวณสิทธิ e-Voucher 2,200 ล้านบาท และคิดเป็นมูลค่าสะสม e-Voucher ทั้งสิ้นกว่า 241 ล้านบาท และมูลค่าการใช้จ่ายส่วน e-Voucher 144 ล้านบาท
สําหรับข้อมูลการใช้จ่ายผ่านฟู้ดเดลิเวอรี่แพลตฟอร์มล่าสุด (25 ตุลาคม 2564 เวลา 8.00 น.) โครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 3 มีการใช้จ่ายสะสมประมาณ 752.2 ล้านบาท แบ่งเป็นเงินที่ประชาชนใช้จ่าย 388.1 ล้านบาท และรัฐร่วมจ่าย 364.1 ล้านบาท สําหรับโครงการยิ่งใช้ยิ่งได้มีการใช้จ่ายสะสมกว่า 600,000 บาท และในส่วนของผู้ประกอบการร้านอาหารและเครื่องดื่มในโครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 3 และโครงการยิ่งใช้ยิ่งได้ที่ขายอาหารและเครื่องดื่มผ่านผู้ให้บริการฟู้ดเดลิเวอรี่แพลตฟอร์ม ล่าสุดขณะนี้ มีจํานวนกว่า 65,000 ราย
ประชาชนสามารถใช้จ่ายในโครงการฯ ได้จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564 อย่างไรก็ดี ขณะนี้มีผู้ลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 3 เต็มจํานวน 28 ล้านสิทธิแล้ว โดยอยู่ระหว่างการประมวลผลจํานวนผู้ลงทะเบียนไม่สําเร็จเพื่อประกอบการพิจารณาความเป็นไปได้ในการนําสิทธิดังกล่าวกลับมาเปิดให้ลงทะเบียนอีกครั้ง สําหรับโครงการยิ่งใช้ยิ่งได้ สามารถลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ www.ยิ่งใช้ยิ่งได้.com หรือผ่าน g-Wallet บนแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” จนกว่าจะครบ 1 ล้านสิทธิ ซึ่งยังมีสิทธิเหลือกว่า 5 แสนสิทธิ
สํานักงานเศรษฐกิจการคลัง halfhalf@fpo.go.th , spend2get@fpo.go.th
ธนาคารกรุงไทย จํากัด (มหาชน) โทร. 02-111-1122 (ตลอด 24 ชั่วโมง) | https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/47372 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ปิดฉากงานเทศกาลภาพยนตร์อาเซียนแห่งกรุงเทพฯ ๒๕๖๔ วธ.มอบ 3 รางวัลประกวดภาพยนตร์สั้นอาเซียน และรางวัลประกวดโครงการภาพยนตร์อาเซียน 3 รางวัล | วันอังคารที่ 14 ธันวาคม 2564
ปิดฉากงานเทศกาลภาพยนตร์อาเซียนแห่งกรุงเทพฯ ๒๕๖๔ วธ.มอบ 3 รางวัลประกวดภาพยนตร์สั้นอาเซียน และรางวัลประกวดโครงการภาพยนตร์อาเซียน 3 รางวัล
ปิดฉากงานเทศกาลภาพยนตร์อาเซียนแห่งกรุงเทพฯ ๒๕๖๔ วธ.มอบ 3 รางวัลประกวดภาพยนตร์สั้นอาเซียน และรางวัลประกวดโครงการภาพยนตร์อาเซียน 3 รางวัล แลกเปลี่ยนร่วมมือด้านศิลปวัฒนธรรม-ภาพยนตร์ สร้างรายได้เข้าประเทศและเป็นศูนย์กลางด้านภาพยนตร์ระดับแนวหน้าของเอเชีย
ปิดฉากงานเทศกาลภาพยนตร์อาเซียนแห่งกรุงเทพฯ 2564 วธ.มอบ 3 รางวัลประกวดภาพยนตร์สั้นอาเซียน และรางวัลประกวดโครงการภาพยนตร์อาเซียน 3 รางวัล แลกเปลี่ยนร่วมมือด้านศิลปวัฒนธรรม-ภาพยนตร์ สร้างรายได้เข้าประเทศและเป็นศูนย์กลางด้านภาพยนตร์ระดับแนวหน้าของเอเชีย
วันที่ 13 ธันวาคม 2564 เวลา 19.00 น. นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม(รมว.วธ.) เป็นประธานในพิธีปิดงานเทศกาลภาพยนตร์อาเซียนแห่งกรุงเทพมหานคร ๒๕๖๔ (Bangkok ASEAN Film Festival 2021) ครั้งที่ 7 และพิธีมอบรางวัลผู้ชนะการประกวดภาพยนตร์สั้นอาเซียน ASEAN SHORT FILM COMPETITION และรางวัลผู้ชนะการประกวดโครงการสร้างภาพยนตร์อาเซียน SEAPITCH 2021 พร้อมกันนี้รมว.วธ.ได้มอบรางวัล SEAPITCH Award โดยมีนายประสพ เรียงเงิน รองปลัดกระทรวงวัฒนธรรม นายชัยพล สุขเอี่ยม ผู้ตรวจราชการกระทรวงวัฒนธรรม ทูตานุทูตจากประเทศต่างๆ ผู้บริหารกระทรวงวัฒนธรรม กรรมการภาพยนตร์และวีดิทัศน์แห่งชาติ นายธนกร ปุลิเวคินทร์ ประธานสมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์แห่งชาติ คณะกรรมการจัดงานเทศกาลภาพยนตร์ฯ น.ส.พิมพกา โตวิระ Programming Director นักแสดง ผู้กํากับภาพยนตร์ชาวไทยและต่างประเทศ ผู้แทนหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วม ณ โรงภาพยนตร์พารากอน ซีนีเพล็กซ์ ชั้น ๕ ศูนย์การค้าสยามพารากอน กรุงเทพฯ
นายอิทธิพล กล่าวว่า รัฐบาลโดยกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) ร่วมกับสมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์แห่งชาติ หน่วยงานรัฐและเอกชน จัดงานเทศกาลภาพยนตร์อาเซียนแห่งกรุงเทพมหานคร 2564 (Bangkok ASEAN Film Festival 2021) ครั้งที่ 7 ระหว่างวันที่ 8 - 13 ธันวาคม 2564 ณ โรงภาพยนตร์ เอส เอฟ เวิลด์ ซีเนม่า และโรงภาพยนตร์พารากอน ซีนีเพล็กซ์ ซึ่งนับเป็นอีกโอกาสที่สําคัญสําหรับบุคลากรและผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ทั้งในประเทศไทยและประเทศสมาชิกอาเซียน รวมถึงประเทศพันธมิตรในเอเชีย ที่จะได้ร่วมมือกันฟื้นฟูและร่วมกันเริ่มต้นใหม่เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมนี้ให้ยั่งยืนต่อไป เพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การส่งเสริมอุตสาหกรรมภาพยนตร์และวีดิทัศน์ ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2560 - 2564) ที่มุ่งใช้มิติวัฒนธรรม
สร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศ สร้างรายได้ให้แก่ประเทศไทย และผลักดันให้กรุงเทพฯ เป็นศูนย์กลางด้านภาพยนตร์ระดับแนวหน้าของเอเชีย โดยงานเทศกาลภาพยนตร์อาเซียน มีกิจกรรมประกอบด้วย การจัดฉายภาพยนตร์คุณภาพ 37 เรื่อง จากประเทศสมาชิกอาเซียน และภาพยนตร์จากประเทศในเอเชีย ได้แก่ จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และอินเดีย ซึ่งทุกเรื่องมีบทบรรยายภาษาไทย - อังกฤษและเข้าชมฟรีทุกเรื่องทุกรอบ โดยแบ่งเป็นภาพยนตร์จัดฉาย ดังนี้ 1. ภาพยนตร์อาเซียนฉายโชว์ (SHOWCASE : ASEAN PLUS) โดยเป็นภาพยนตร์จากประเทศในกลุ่มสมาชิกอาเซียน รวมถึงจีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่นและอินเดีย รวม 12 เรื่อง จัดฉายเรื่องละ 2 รอบ อาทิ ภาพยนตร์แอนิเมชั่นเรื่อง Belle ผลงานของมาโมรุ โฮโซดะ จากประเทศญี่ปุ่น, ภาพยนตร์เรื่องVengeance Is Mine, All Others Pay Cash (Seperti Dendam, Rindu Harus Dibayar Tuntas) ผลงานของ Edwin และภาพยนตร์เรื่อง Yuni ผลงานของ Kamila Andini โดยทั้งคู่เป็นสองภาพยนตร์จากประเทศอินโดนีเซียที่คว้ารางวัลใหญ่จากเทศกาลสําคัญ ๆ ในปีนี้ นอกจากนี้ยังมีภาพยนตร์เรื่อง The Edge of Daybreak (พญาโศกพิโยคค่ํา) ผลงานของไทกิ ศักดิ์พิสิษฐ์ จากประเทศไทย, ภาพยนตร์เรื่อง White Building ผลงานของ Kavich Neang ผู้กํากับคลื่นลูกใหม่จากประเทศกัมพูชา, ภาพยนตร์เรื่อง In Front of Your Face ผลงานภาพยนตร์เรื่องล่าสุดของ Hong Sangsoo ผู้กํากับเกาหลีใต้ระดับแนวหน้า และภาพยนตร์เรื่อง A Night of Knowing Nothing ภาพยนตร์จากผู้กํากับหญิงหน้าใหม่ Payal Kapadia จากประเทศอินเดีย เป็นต้น
นายอิทธิพล กล่าวอีกว่า ขณะเดียวกัน ได้มีการสัมมนาหัวข้อ “IS ASEAN CONTENT READY TO TAKE ON THE WORLD?” ณ อุทยานการเรียนรู้ (TK Park) ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ โดยได้รับความร่วมมือจากผู้เชี่ยวชาญทางภาพยนตร์ในระดับนานาชาติ มาร่วมกันวิเคราะห์ให้เห็นถึงสถานการณ์การผลิตคอนเทนต์ของภูมิภาคว่า อนาคตของคอนเทนต์เหล่านี้จะอยู่จุดไหนในวงการภาพยนตร์ระดับโลกและเมื่อวันที่ 10 ธันวาคมที่ผ่านมา มีการสัมมนาหัวข้อ “Going Virtual” ร่วมกับ ACBS (Asia Content Business Summit) ณ อุทยานการเรียนรู้ (TK Park) ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ โดยมีการนําเสนอข้อมูลวิชาการเกี่ยวกับอุตสาหกรรมฯจากประเทศต่าง ๆ อาทิ มาเลเซีย สิงคโปร์ เขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน อินโดนีเซีย เกาหลีใต้และฟิลิปปินส์ รวมทั้งการประกาศโครงการของ ACBS กับการรายงานสถานการณ์ของประเทศสมาชิกแนวโน้มของอุตสาหกรรมสารัตถะภายหลังการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด -19) และการเสนอโครงการความร่วมมือด้านภาพยนตร์ระหว่างประเทศจากทวีปเอเชีย และในวันอาทิตย์ ที่ 12 ธันวาคม 2564 ณ โรงภาพยนตร์ เอส เอฟ เวิลด์ ซีเนม่า โรงที่ 9 ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ SCREENING AND TALK: แนะนําอุตสาหกรรมภาพยนตร์ประเทศมองโกเลีย การแนะนําอุตสาหกรรมภาพยนตร์จากประเทศมองโกเลีย ชมภาพยนตร์สั้นเรื่อง Morin Khuur
(The Horsehead Fiddle) และสนทนาเกี่ยวกับภาพยนตร์ โดย นายโทโมร์ อมาร์ซานา (His Excellency Tumur Amarsanaa) เอกอัครราชทูตมองโกเลียประจําประเทศไทย โดยภาพรวมของงานสัมมนามีผู้ให้ความสนใจเข้าร่วมฟังทั้งในประเทศและต่างประเทศเป็นจํานวนมาก รวมทั้งเสนอให้เพิ่มประเทศภาพยนตร์ที่จะจัดฉายในเทศกาลในปีต่อๆ ไป
นอกจากนี้ กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับภาคีเครือข่ายจัดการประกวดภาพยนตร์สั้นอาเซียน (ASEAN SHORT FILM COMPETITION) โดยในปีนี้มีผู้ชนะการประกวด จํานวน 3 รางวัล ได้แก่ 1.รางวัล BEST ASEAN SHORT FILM ผู้ชนะได้รับโล่รางวัลและเงินสด 2,000 USD คือ How to Die Young in Manila จากประเทศฟิลิปปินส์ 2. รางวัล JURY PRIZE ผู้ชนะได้รับโล่รางวัลและเงินสด 1,000 USD คือ Lemongrass Girl จากประเทศไทย 3. รางวัล SPECIAL MENTION ผู้ชนะได้รับโล่รางวัลและเงินสด 500 USD คือ February 1st จาก ประเทศฝรั่งเศสและประเทศเมียนมา ขณะเดียวกันมีการจัดการประกวดโครงการสร้างภาพยนตร์อาเซียน (SEA PITCH) : SOUTHEAST ASIAN PROJECT PITCH) เพื่อคัดเลือกโครงการสร้างภาพยนตร์ขนาดยาว 8 โครงการ โดยคนทําภาพยนตร์จากภูมิภาค อาเซียนที่มีไอเดียในการผลิตภาพยนตร์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งโครงการที่ผ่านการคัดเลือกผู้กํากับและโปรดิวเซอร์จะเข้าร่วมอบรมพิเศษออนไลน์ด้านการนําเสนอโปรเจกต์ (Pitching) กับผู้เชี่ยวชาญระดับนานาชาติ 2 ครั้ง เพื่อเตรียมตัวนําเสนอต่อหน้าคณะกรรมการทรงคุณวุฒิระดับนานาชาติ ทั้งนี้ ผู้ชนะการประกวด จํานวน 3 รางวัล ประกอบด้วย 1.รางวัล SEAPITCH Award ผู้ชนะได้รับโล่รางวัลและเงินสด 5,000 USD ได้แก่ TREMBLE LIKE A FLOWER ปฐมพล เทศประทีป, คัทลียา เผ่าศรีเจริญ, โสฬส สุขุม จากประเทศไทย 2. รางวัล Runner-Up Prize ผู้ชนะได้รับโล่รางวัลและเงินสด 3,000 USD ได้แก่ THE RIVER KNOWS OUR NAME โดย Mai Huyen Chi, Producers: Pedro Román, Lê Chi Janny จากประเทศเวียดนาม Vietnam และ 3. รางวัล SPECIAL MENTION ผู้ชนะได้รับโล่รางวัลและเงินสด 2,000 USD ได้แก่ เรื่อง THE BEER GIRL IN YANGON โดย Sein Lyan, John Badalu จากประเทศเมียนมา
ทั้งนี้ งานเทศกาลภาพยนตร์อาเซียนฯ ในครั้งนี้ยังถือเป็นการช่วยกระชับความสัมพันธ์ระหว่างไทย และประเทศสมาชิกอาเซียน รวมทั้งกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออก ได้แก่ จีน เกาหลี ญี่ปุ่นและอินเดีย ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น และก่อให้เกิดความร่วมมือและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมและภาพยนตร์ระหว่างกันด้วย | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ปิดฉากงานเทศกาลภาพยนตร์อาเซียนแห่งกรุงเทพฯ ๒๕๖๔ วธ.มอบ 3 รางวัลประกวดภาพยนตร์สั้นอาเซียน และรางวัลประกวดโครงการภาพยนตร์อาเซียน 3 รางวัล
วันอังคารที่ 14 ธันวาคม 2564
ปิดฉากงานเทศกาลภาพยนตร์อาเซียนแห่งกรุงเทพฯ ๒๕๖๔ วธ.มอบ 3 รางวัลประกวดภาพยนตร์สั้นอาเซียน และรางวัลประกวดโครงการภาพยนตร์อาเซียน 3 รางวัล
ปิดฉากงานเทศกาลภาพยนตร์อาเซียนแห่งกรุงเทพฯ ๒๕๖๔ วธ.มอบ 3 รางวัลประกวดภาพยนตร์สั้นอาเซียน และรางวัลประกวดโครงการภาพยนตร์อาเซียน 3 รางวัล แลกเปลี่ยนร่วมมือด้านศิลปวัฒนธรรม-ภาพยนตร์ สร้างรายได้เข้าประเทศและเป็นศูนย์กลางด้านภาพยนตร์ระดับแนวหน้าของเอเชีย
ปิดฉากงานเทศกาลภาพยนตร์อาเซียนแห่งกรุงเทพฯ 2564 วธ.มอบ 3 รางวัลประกวดภาพยนตร์สั้นอาเซียน และรางวัลประกวดโครงการภาพยนตร์อาเซียน 3 รางวัล แลกเปลี่ยนร่วมมือด้านศิลปวัฒนธรรม-ภาพยนตร์ สร้างรายได้เข้าประเทศและเป็นศูนย์กลางด้านภาพยนตร์ระดับแนวหน้าของเอเชีย
วันที่ 13 ธันวาคม 2564 เวลา 19.00 น. นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม(รมว.วธ.) เป็นประธานในพิธีปิดงานเทศกาลภาพยนตร์อาเซียนแห่งกรุงเทพมหานคร ๒๕๖๔ (Bangkok ASEAN Film Festival 2021) ครั้งที่ 7 และพิธีมอบรางวัลผู้ชนะการประกวดภาพยนตร์สั้นอาเซียน ASEAN SHORT FILM COMPETITION และรางวัลผู้ชนะการประกวดโครงการสร้างภาพยนตร์อาเซียน SEAPITCH 2021 พร้อมกันนี้รมว.วธ.ได้มอบรางวัล SEAPITCH Award โดยมีนายประสพ เรียงเงิน รองปลัดกระทรวงวัฒนธรรม นายชัยพล สุขเอี่ยม ผู้ตรวจราชการกระทรวงวัฒนธรรม ทูตานุทูตจากประเทศต่างๆ ผู้บริหารกระทรวงวัฒนธรรม กรรมการภาพยนตร์และวีดิทัศน์แห่งชาติ นายธนกร ปุลิเวคินทร์ ประธานสมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์แห่งชาติ คณะกรรมการจัดงานเทศกาลภาพยนตร์ฯ น.ส.พิมพกา โตวิระ Programming Director นักแสดง ผู้กํากับภาพยนตร์ชาวไทยและต่างประเทศ ผู้แทนหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วม ณ โรงภาพยนตร์พารากอน ซีนีเพล็กซ์ ชั้น ๕ ศูนย์การค้าสยามพารากอน กรุงเทพฯ
นายอิทธิพล กล่าวว่า รัฐบาลโดยกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) ร่วมกับสมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์แห่งชาติ หน่วยงานรัฐและเอกชน จัดงานเทศกาลภาพยนตร์อาเซียนแห่งกรุงเทพมหานคร 2564 (Bangkok ASEAN Film Festival 2021) ครั้งที่ 7 ระหว่างวันที่ 8 - 13 ธันวาคม 2564 ณ โรงภาพยนตร์ เอส เอฟ เวิลด์ ซีเนม่า และโรงภาพยนตร์พารากอน ซีนีเพล็กซ์ ซึ่งนับเป็นอีกโอกาสที่สําคัญสําหรับบุคลากรและผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ทั้งในประเทศไทยและประเทศสมาชิกอาเซียน รวมถึงประเทศพันธมิตรในเอเชีย ที่จะได้ร่วมมือกันฟื้นฟูและร่วมกันเริ่มต้นใหม่เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมนี้ให้ยั่งยืนต่อไป เพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การส่งเสริมอุตสาหกรรมภาพยนตร์และวีดิทัศน์ ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2560 - 2564) ที่มุ่งใช้มิติวัฒนธรรม
สร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศ สร้างรายได้ให้แก่ประเทศไทย และผลักดันให้กรุงเทพฯ เป็นศูนย์กลางด้านภาพยนตร์ระดับแนวหน้าของเอเชีย โดยงานเทศกาลภาพยนตร์อาเซียน มีกิจกรรมประกอบด้วย การจัดฉายภาพยนตร์คุณภาพ 37 เรื่อง จากประเทศสมาชิกอาเซียน และภาพยนตร์จากประเทศในเอเชีย ได้แก่ จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และอินเดีย ซึ่งทุกเรื่องมีบทบรรยายภาษาไทย - อังกฤษและเข้าชมฟรีทุกเรื่องทุกรอบ โดยแบ่งเป็นภาพยนตร์จัดฉาย ดังนี้ 1. ภาพยนตร์อาเซียนฉายโชว์ (SHOWCASE : ASEAN PLUS) โดยเป็นภาพยนตร์จากประเทศในกลุ่มสมาชิกอาเซียน รวมถึงจีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่นและอินเดีย รวม 12 เรื่อง จัดฉายเรื่องละ 2 รอบ อาทิ ภาพยนตร์แอนิเมชั่นเรื่อง Belle ผลงานของมาโมรุ โฮโซดะ จากประเทศญี่ปุ่น, ภาพยนตร์เรื่องVengeance Is Mine, All Others Pay Cash (Seperti Dendam, Rindu Harus Dibayar Tuntas) ผลงานของ Edwin และภาพยนตร์เรื่อง Yuni ผลงานของ Kamila Andini โดยทั้งคู่เป็นสองภาพยนตร์จากประเทศอินโดนีเซียที่คว้ารางวัลใหญ่จากเทศกาลสําคัญ ๆ ในปีนี้ นอกจากนี้ยังมีภาพยนตร์เรื่อง The Edge of Daybreak (พญาโศกพิโยคค่ํา) ผลงานของไทกิ ศักดิ์พิสิษฐ์ จากประเทศไทย, ภาพยนตร์เรื่อง White Building ผลงานของ Kavich Neang ผู้กํากับคลื่นลูกใหม่จากประเทศกัมพูชา, ภาพยนตร์เรื่อง In Front of Your Face ผลงานภาพยนตร์เรื่องล่าสุดของ Hong Sangsoo ผู้กํากับเกาหลีใต้ระดับแนวหน้า และภาพยนตร์เรื่อง A Night of Knowing Nothing ภาพยนตร์จากผู้กํากับหญิงหน้าใหม่ Payal Kapadia จากประเทศอินเดีย เป็นต้น
นายอิทธิพล กล่าวอีกว่า ขณะเดียวกัน ได้มีการสัมมนาหัวข้อ “IS ASEAN CONTENT READY TO TAKE ON THE WORLD?” ณ อุทยานการเรียนรู้ (TK Park) ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ โดยได้รับความร่วมมือจากผู้เชี่ยวชาญทางภาพยนตร์ในระดับนานาชาติ มาร่วมกันวิเคราะห์ให้เห็นถึงสถานการณ์การผลิตคอนเทนต์ของภูมิภาคว่า อนาคตของคอนเทนต์เหล่านี้จะอยู่จุดไหนในวงการภาพยนตร์ระดับโลกและเมื่อวันที่ 10 ธันวาคมที่ผ่านมา มีการสัมมนาหัวข้อ “Going Virtual” ร่วมกับ ACBS (Asia Content Business Summit) ณ อุทยานการเรียนรู้ (TK Park) ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ โดยมีการนําเสนอข้อมูลวิชาการเกี่ยวกับอุตสาหกรรมฯจากประเทศต่าง ๆ อาทิ มาเลเซีย สิงคโปร์ เขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน อินโดนีเซีย เกาหลีใต้และฟิลิปปินส์ รวมทั้งการประกาศโครงการของ ACBS กับการรายงานสถานการณ์ของประเทศสมาชิกแนวโน้มของอุตสาหกรรมสารัตถะภายหลังการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด -19) และการเสนอโครงการความร่วมมือด้านภาพยนตร์ระหว่างประเทศจากทวีปเอเชีย และในวันอาทิตย์ ที่ 12 ธันวาคม 2564 ณ โรงภาพยนตร์ เอส เอฟ เวิลด์ ซีเนม่า โรงที่ 9 ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ SCREENING AND TALK: แนะนําอุตสาหกรรมภาพยนตร์ประเทศมองโกเลีย การแนะนําอุตสาหกรรมภาพยนตร์จากประเทศมองโกเลีย ชมภาพยนตร์สั้นเรื่อง Morin Khuur
(The Horsehead Fiddle) และสนทนาเกี่ยวกับภาพยนตร์ โดย นายโทโมร์ อมาร์ซานา (His Excellency Tumur Amarsanaa) เอกอัครราชทูตมองโกเลียประจําประเทศไทย โดยภาพรวมของงานสัมมนามีผู้ให้ความสนใจเข้าร่วมฟังทั้งในประเทศและต่างประเทศเป็นจํานวนมาก รวมทั้งเสนอให้เพิ่มประเทศภาพยนตร์ที่จะจัดฉายในเทศกาลในปีต่อๆ ไป
นอกจากนี้ กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับภาคีเครือข่ายจัดการประกวดภาพยนตร์สั้นอาเซียน (ASEAN SHORT FILM COMPETITION) โดยในปีนี้มีผู้ชนะการประกวด จํานวน 3 รางวัล ได้แก่ 1.รางวัล BEST ASEAN SHORT FILM ผู้ชนะได้รับโล่รางวัลและเงินสด 2,000 USD คือ How to Die Young in Manila จากประเทศฟิลิปปินส์ 2. รางวัล JURY PRIZE ผู้ชนะได้รับโล่รางวัลและเงินสด 1,000 USD คือ Lemongrass Girl จากประเทศไทย 3. รางวัล SPECIAL MENTION ผู้ชนะได้รับโล่รางวัลและเงินสด 500 USD คือ February 1st จาก ประเทศฝรั่งเศสและประเทศเมียนมา ขณะเดียวกันมีการจัดการประกวดโครงการสร้างภาพยนตร์อาเซียน (SEA PITCH) : SOUTHEAST ASIAN PROJECT PITCH) เพื่อคัดเลือกโครงการสร้างภาพยนตร์ขนาดยาว 8 โครงการ โดยคนทําภาพยนตร์จากภูมิภาค อาเซียนที่มีไอเดียในการผลิตภาพยนตร์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งโครงการที่ผ่านการคัดเลือกผู้กํากับและโปรดิวเซอร์จะเข้าร่วมอบรมพิเศษออนไลน์ด้านการนําเสนอโปรเจกต์ (Pitching) กับผู้เชี่ยวชาญระดับนานาชาติ 2 ครั้ง เพื่อเตรียมตัวนําเสนอต่อหน้าคณะกรรมการทรงคุณวุฒิระดับนานาชาติ ทั้งนี้ ผู้ชนะการประกวด จํานวน 3 รางวัล ประกอบด้วย 1.รางวัล SEAPITCH Award ผู้ชนะได้รับโล่รางวัลและเงินสด 5,000 USD ได้แก่ TREMBLE LIKE A FLOWER ปฐมพล เทศประทีป, คัทลียา เผ่าศรีเจริญ, โสฬส สุขุม จากประเทศไทย 2. รางวัล Runner-Up Prize ผู้ชนะได้รับโล่รางวัลและเงินสด 3,000 USD ได้แก่ THE RIVER KNOWS OUR NAME โดย Mai Huyen Chi, Producers: Pedro Román, Lê Chi Janny จากประเทศเวียดนาม Vietnam และ 3. รางวัล SPECIAL MENTION ผู้ชนะได้รับโล่รางวัลและเงินสด 2,000 USD ได้แก่ เรื่อง THE BEER GIRL IN YANGON โดย Sein Lyan, John Badalu จากประเทศเมียนมา
ทั้งนี้ งานเทศกาลภาพยนตร์อาเซียนฯ ในครั้งนี้ยังถือเป็นการช่วยกระชับความสัมพันธ์ระหว่างไทย และประเทศสมาชิกอาเซียน รวมทั้งกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออก ได้แก่ จีน เกาหลี ญี่ปุ่นและอินเดีย ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น และก่อให้เกิดความร่วมมือและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมและภาพยนตร์ระหว่างกันด้วย | https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/49422 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กรมทางหลวงรายงานสถานการณ์อุทกภัยบนทางหลวงวันที่ 23 ตุลาคม 2564 | วันเสาร์ที่ 23 ตุลาคม 2564
กรมทางหลวงรายงานสถานการณ์อุทกภัยบนทางหลวงวันที่ 23 ตุลาคม 2564
กรมทางหลวง ติดตั้งสะพานเบลีย์ ทล. 2065 ช่วง กม.ที่ 33+600 - 33+707 จ.ขอนแก่น แล้วเสร็จ พร้อมทั้งได้กําชับเจ้าหน้าที่ให้ติดตามสถานการณ์อุทกภัยตลอด 24 ชั่วโมง
นายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมทางหลวง เปิดเผยว่า กรมทางหลวง (ทล.) กระทรวงคมนาคม
โดยศูนย์สร้างและบูรณะสะพานที่ 2 (ขอนแก่น) และแขวงทางหลวงขอนแก่นที่ 3 (บ้านไผ่) ได้เร่งติดตั้งสะพานเบลีย์ (สะพานเหล็กชั่วคราว) ความยาว 107 เมตร บนทางหลวงหมายเลข 2065 พล - ลําชี ช่วง กม. ที่ 33+600 - 33+707 พื้นที่ตําบลท่านางแนว อําเภอแวงน้อย จังหวัดขอนแก่น แล้วเสร็จและได้เปิดให้สัญจรได้แล้วเมื่อวานนี้ (22 ตุลาคม 2564) เวลา 16.00 น. เพื่ออํานวยความสะดวก และบรรเทาความเดือดร้อนให้ผู้ใช้เส้นทาง ตามนโยบายของนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม สําหรับการแก้ไขปัญหาในระยะยาวหลังเหตุการณ์คลี่คลายจะเข้าสํารวจความเสียหายโครงสร้างของถนนอย่างละเอียด เพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมโดยเบื้องต้นวางไว้ 3 แนวทาง ได้แก่ 1) เสนอให้สร้างสะพานบก 2) เพิ่มขนาดท่อเหลี่ยมให้ใหญ่และกว้างขึ้น เพื่อรองรับปริมาณน้ําได้มากขึ้น และ 3) ยกระดับความสูงของคันทางเพิ่มอีก 1 เมตร เนื่องจากขณะนี้คันทางมีระดับค่อนข้างต่ํามาก เมื่อฝนตกเสี่ยงต่อการเกิดน้ําท่วมได้ง่าย อย่างไรก็ตามทุกแนวทางต้องหารือร่วมกับหน่วยงานท้องถิ่น เพื่อให้เกิดรูปแบบดําเนินการที่เหมาะสมและไม่ส่งผลกระทบกับประชาชนในพื้นที่ต่อไป พร้อมทั้งได้กําชับเจ้าหน้าที่ให้ติดตามสถานการณ์อุทกภัยตลอด 24 ชั่วโมง โดยขณะนี้พบว่า สถานการณ์ประจําวันที่ 23 ตุลาคม 2564 เวลา 13.30 น. ทางหลวงถูกน้ําท่วม ดินสไลด์ และสะพานชํารุด จํานวน 14 จังหวัด 48 สายทาง 77 แห่ง
ทั้งนี้การจราจรผ่านไม่ได้ 8 จังหวัด 18 แห่ง ดังนี้
1. จังหวัดขอนแก่น (การจราจรผ่านไม่ได้ 1 แห่ง)
- ทล.2 ท่าพระ - ขอนแก่น ช่วง กม. ที่ 329+913 (จุดกลับรถใต้สะพานกุดกว้าง) ระดับน้ําสูง 200 เซนติเมตร
2. จังหวัดมหาสารคาม (การจราจรผ่านไม่ได้ 1 แห่ง)
- ทล.213 มหาสารคาม - หนองขอน ช่วง กม. ที่ 5+530 (อุโมงค์ท่าขอนยาง) ระดับน้ําสูง 225 เซนติเมตร
3. จังหวัดนครราชสีมา (การจราจรผ่านไม่ได้ 1 แห่ง)
- ทล.202 มหาสารคาม - หนองขอม ช่วง กม. ที่ 93+611 ระดับน้ําสูง 20 - 45 เซนติเมตร
4. จังหวัดนนทบุรี (การจราจรผ่านไม่ได้ 3 แห่ง)
- ทล.302 สะพานพระนั่งเกล้า - ต่างระดับบางใหญ่ ช่วง กม. ที่ 16+610 (จุดกลับรถใต้สะพานคลองบางไผ่เพื่อมุ่งหน้าแคราย) ระดับน้ําสูง 30 - 40 เซนติเมตร
- ทล.302 สะพานพระนั่งเกล้า - ต่างระดับบางใหญ่ ช่วง กม. ที่ 16+50 (จุดกลับรถใต้สะพานคลองบางแพรกเพื่อมุ่งหน้าถนนแคราย) ระดับน้ําสูง 20 - 25 เซนติเมตร
- ทล.307 แยกสวนสมเด็จ - สะพานนนทบุรี ช่วง กม. ที่ 0+942 (จุดกลับรถใต้สะพานนนทบุรี) ระดับน้ําสูง 75 เซนติเมตร
5. จังหวัดอ่างทอง (การจราจรผ่านไม่ได้ 2 แห่ง)
- ทล.32 อ่างทอง - ไชโย ช่วง กม. ที่ 57+500 (จุดกลับรถบางศาลา) ระดับน้ําสูง 135 เซนติเมตร
- ทล.33 นาคู - ป่าโมก ช่วง กม. ที่ 36+000 - 36+200 (จุดกลับรถใต้สะพานฝั่งป่าโมก)ระดับน้ําสูง 20 เซนติเมตร
6. จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (การจราจรผ่านไม่ได้ 4 แห่ง)
- ทล.32 นครหลวง - อ่างทอง ช่วง กม. ที่ 32+607 (จุดกลับรถคลองกะท่อ) ระดับน้ําสูง 165 เซนติเมตร
- ทล.32 นครหลวง - อ่างทอง ช่วง กม. ที่ 33+200 (จุดกลับรถวัดค่าย) ระดับน้ําสูง 90 เซนติเมตร
- ทล.3263 อยุธยา - ไผ่กองดิน ช่วง กม. ที่ 10+940 (จุดกลับรถใต้สะพานสีกุก) ระดับน้ําสูง 195 เซนติเมตร
- ทล.3263 อยุธยา - ไผ่กองดิน ช่วง กม. ที่ 11+100 (จุดกลับรถใต้สะพานสีกุก) ระดับน้ําสูง 195 เซนติเมตร
7. จังหวัดสุพรรณบุรี (การจราจรผ่านไม่ได้ 5 แห่ง)
- ทล.33 สุพรรณบุรี - นาคู ช่วง กม. ที่ 9+886 (สะพานคลองทับน้ํา) ระดับน้ําสูง 100 เซนติเมตร
- ทล.340 สาลี - สุพรรณบุรี ช่วง กม. ที่ 59+674 (สะพานศาลเจ้าแม่ทับทิม) ระดับน้ําสูง35 - 40 เซนติเมตร
- ทล. 340 สาลี - สุพรรณบุรี ช่วง กม. ที่ 59+674 (สะพานศาลเจ้าแม่ทับทิม) ระดับน้ําสูง 175 เซนติเมตร
- ทล.340 สาลี - สุพรรณบุรี ช่วง กม. ที่ 71+230 - 71+400 (ช่องทางคู่ขนานซ้ายขวาทาง) ระดับน้ําสูง 55 เซนติเมตร
- ทล.3557 ถนนเข้าเมืองสุพรรณบุรี ช่วง กม. ที่ 0+700 - 0+726 (ด้านซ้ายทาง) ระดับน้ําสูง 55 เซนติเมตร
8. จังหวัดนครปฐม (การจราจรผ่านไม่ได้ 1 แห่ง)
- ทล.338 พุทธมณฑลสาย 4 - นครชัยศรี ช่วง กม. ที่ 24+800 - 25+500 ระดับน้ําสูง 50 เซนติเมตร
ทั้งนี้ ขอให้ประชาชนผู้ใช้เส้นทางเดินทางด้วยความระมัดระวังเพื่อความปลอดภัย พร้อมขอให้ปฏิบัติตามป้ายเตือน ป้ายแนะนําและคําแนะนําของเจ้าหน้าที่อย่างเคร่งครัด และหากประชาชนต้องการสอบถามสภาพเส้นทาง สภาพการจราจร หรือต้องการความช่วยเหลือสามารถติดต่อได้ที่สํานักงานทางหลวง แขวงทางหลวง หมวดทางหลวงในพื้นที่ และสายด่วนกรมทางหลวง โทร.1586 (โทรฟรีทุกเครือข่ายตลอด 24 ชั่วโมง) และสามารถติดตามการรายงานสถานการณ์สภาพเส้นทางได้ที่ทวิตเตอร์กรมทางหลวง @prdoh1 | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กรมทางหลวงรายงานสถานการณ์อุทกภัยบนทางหลวงวันที่ 23 ตุลาคม 2564
วันเสาร์ที่ 23 ตุลาคม 2564
กรมทางหลวงรายงานสถานการณ์อุทกภัยบนทางหลวงวันที่ 23 ตุลาคม 2564
กรมทางหลวง ติดตั้งสะพานเบลีย์ ทล. 2065 ช่วง กม.ที่ 33+600 - 33+707 จ.ขอนแก่น แล้วเสร็จ พร้อมทั้งได้กําชับเจ้าหน้าที่ให้ติดตามสถานการณ์อุทกภัยตลอด 24 ชั่วโมง
นายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมทางหลวง เปิดเผยว่า กรมทางหลวง (ทล.) กระทรวงคมนาคม
โดยศูนย์สร้างและบูรณะสะพานที่ 2 (ขอนแก่น) และแขวงทางหลวงขอนแก่นที่ 3 (บ้านไผ่) ได้เร่งติดตั้งสะพานเบลีย์ (สะพานเหล็กชั่วคราว) ความยาว 107 เมตร บนทางหลวงหมายเลข 2065 พล - ลําชี ช่วง กม. ที่ 33+600 - 33+707 พื้นที่ตําบลท่านางแนว อําเภอแวงน้อย จังหวัดขอนแก่น แล้วเสร็จและได้เปิดให้สัญจรได้แล้วเมื่อวานนี้ (22 ตุลาคม 2564) เวลา 16.00 น. เพื่ออํานวยความสะดวก และบรรเทาความเดือดร้อนให้ผู้ใช้เส้นทาง ตามนโยบายของนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม สําหรับการแก้ไขปัญหาในระยะยาวหลังเหตุการณ์คลี่คลายจะเข้าสํารวจความเสียหายโครงสร้างของถนนอย่างละเอียด เพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมโดยเบื้องต้นวางไว้ 3 แนวทาง ได้แก่ 1) เสนอให้สร้างสะพานบก 2) เพิ่มขนาดท่อเหลี่ยมให้ใหญ่และกว้างขึ้น เพื่อรองรับปริมาณน้ําได้มากขึ้น และ 3) ยกระดับความสูงของคันทางเพิ่มอีก 1 เมตร เนื่องจากขณะนี้คันทางมีระดับค่อนข้างต่ํามาก เมื่อฝนตกเสี่ยงต่อการเกิดน้ําท่วมได้ง่าย อย่างไรก็ตามทุกแนวทางต้องหารือร่วมกับหน่วยงานท้องถิ่น เพื่อให้เกิดรูปแบบดําเนินการที่เหมาะสมและไม่ส่งผลกระทบกับประชาชนในพื้นที่ต่อไป พร้อมทั้งได้กําชับเจ้าหน้าที่ให้ติดตามสถานการณ์อุทกภัยตลอด 24 ชั่วโมง โดยขณะนี้พบว่า สถานการณ์ประจําวันที่ 23 ตุลาคม 2564 เวลา 13.30 น. ทางหลวงถูกน้ําท่วม ดินสไลด์ และสะพานชํารุด จํานวน 14 จังหวัด 48 สายทาง 77 แห่ง
ทั้งนี้การจราจรผ่านไม่ได้ 8 จังหวัด 18 แห่ง ดังนี้
1. จังหวัดขอนแก่น (การจราจรผ่านไม่ได้ 1 แห่ง)
- ทล.2 ท่าพระ - ขอนแก่น ช่วง กม. ที่ 329+913 (จุดกลับรถใต้สะพานกุดกว้าง) ระดับน้ําสูง 200 เซนติเมตร
2. จังหวัดมหาสารคาม (การจราจรผ่านไม่ได้ 1 แห่ง)
- ทล.213 มหาสารคาม - หนองขอน ช่วง กม. ที่ 5+530 (อุโมงค์ท่าขอนยาง) ระดับน้ําสูง 225 เซนติเมตร
3. จังหวัดนครราชสีมา (การจราจรผ่านไม่ได้ 1 แห่ง)
- ทล.202 มหาสารคาม - หนองขอม ช่วง กม. ที่ 93+611 ระดับน้ําสูง 20 - 45 เซนติเมตร
4. จังหวัดนนทบุรี (การจราจรผ่านไม่ได้ 3 แห่ง)
- ทล.302 สะพานพระนั่งเกล้า - ต่างระดับบางใหญ่ ช่วง กม. ที่ 16+610 (จุดกลับรถใต้สะพานคลองบางไผ่เพื่อมุ่งหน้าแคราย) ระดับน้ําสูง 30 - 40 เซนติเมตร
- ทล.302 สะพานพระนั่งเกล้า - ต่างระดับบางใหญ่ ช่วง กม. ที่ 16+50 (จุดกลับรถใต้สะพานคลองบางแพรกเพื่อมุ่งหน้าถนนแคราย) ระดับน้ําสูง 20 - 25 เซนติเมตร
- ทล.307 แยกสวนสมเด็จ - สะพานนนทบุรี ช่วง กม. ที่ 0+942 (จุดกลับรถใต้สะพานนนทบุรี) ระดับน้ําสูง 75 เซนติเมตร
5. จังหวัดอ่างทอง (การจราจรผ่านไม่ได้ 2 แห่ง)
- ทล.32 อ่างทอง - ไชโย ช่วง กม. ที่ 57+500 (จุดกลับรถบางศาลา) ระดับน้ําสูง 135 เซนติเมตร
- ทล.33 นาคู - ป่าโมก ช่วง กม. ที่ 36+000 - 36+200 (จุดกลับรถใต้สะพานฝั่งป่าโมก)ระดับน้ําสูง 20 เซนติเมตร
6. จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (การจราจรผ่านไม่ได้ 4 แห่ง)
- ทล.32 นครหลวง - อ่างทอง ช่วง กม. ที่ 32+607 (จุดกลับรถคลองกะท่อ) ระดับน้ําสูง 165 เซนติเมตร
- ทล.32 นครหลวง - อ่างทอง ช่วง กม. ที่ 33+200 (จุดกลับรถวัดค่าย) ระดับน้ําสูง 90 เซนติเมตร
- ทล.3263 อยุธยา - ไผ่กองดิน ช่วง กม. ที่ 10+940 (จุดกลับรถใต้สะพานสีกุก) ระดับน้ําสูง 195 เซนติเมตร
- ทล.3263 อยุธยา - ไผ่กองดิน ช่วง กม. ที่ 11+100 (จุดกลับรถใต้สะพานสีกุก) ระดับน้ําสูง 195 เซนติเมตร
7. จังหวัดสุพรรณบุรี (การจราจรผ่านไม่ได้ 5 แห่ง)
- ทล.33 สุพรรณบุรี - นาคู ช่วง กม. ที่ 9+886 (สะพานคลองทับน้ํา) ระดับน้ําสูง 100 เซนติเมตร
- ทล.340 สาลี - สุพรรณบุรี ช่วง กม. ที่ 59+674 (สะพานศาลเจ้าแม่ทับทิม) ระดับน้ําสูง35 - 40 เซนติเมตร
- ทล. 340 สาลี - สุพรรณบุรี ช่วง กม. ที่ 59+674 (สะพานศาลเจ้าแม่ทับทิม) ระดับน้ําสูง 175 เซนติเมตร
- ทล.340 สาลี - สุพรรณบุรี ช่วง กม. ที่ 71+230 - 71+400 (ช่องทางคู่ขนานซ้ายขวาทาง) ระดับน้ําสูง 55 เซนติเมตร
- ทล.3557 ถนนเข้าเมืองสุพรรณบุรี ช่วง กม. ที่ 0+700 - 0+726 (ด้านซ้ายทาง) ระดับน้ําสูง 55 เซนติเมตร
8. จังหวัดนครปฐม (การจราจรผ่านไม่ได้ 1 แห่ง)
- ทล.338 พุทธมณฑลสาย 4 - นครชัยศรี ช่วง กม. ที่ 24+800 - 25+500 ระดับน้ําสูง 50 เซนติเมตร
ทั้งนี้ ขอให้ประชาชนผู้ใช้เส้นทางเดินทางด้วยความระมัดระวังเพื่อความปลอดภัย พร้อมขอให้ปฏิบัติตามป้ายเตือน ป้ายแนะนําและคําแนะนําของเจ้าหน้าที่อย่างเคร่งครัด และหากประชาชนต้องการสอบถามสภาพเส้นทาง สภาพการจราจร หรือต้องการความช่วยเหลือสามารถติดต่อได้ที่สํานักงานทางหลวง แขวงทางหลวง หมวดทางหลวงในพื้นที่ และสายด่วนกรมทางหลวง โทร.1586 (โทรฟรีทุกเครือข่ายตลอด 24 ชั่วโมง) และสามารถติดตามการรายงานสถานการณ์สภาพเส้นทางได้ที่ทวิตเตอร์กรมทางหลวง @prdoh1 | https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/47306 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-คำกล่าวของนายกรัฐมนตรี สำหรับการบันทึกคลิปวีดิทัศน์งาน พิธีเปิดงานแสดงสินค้า China International Import Expo 2021 (CIIE 2021) และกิจกรรมคู่ขนาน | วันศุกร์ที่ 5 พฤศจิกายน 2564
คํากล่าวของนายกรัฐมนตรี สําหรับการบันทึกคลิปวีดิทัศน์งาน พิธีเปิดงานแสดงสินค้า China International Import Expo 2021 (CIIE 2021) และกิจกรรมคู่ขนาน
คํากล่าวของนายกรัฐมนตรี สําหรับการบันทึกคลิปวีดิทัศน์งานพิธีเปิดงานแสดงสินค้า China International Import Expo 2021 (CIIE 2021) และกิจกรรมคู่ขนาน
คํากล่าวของนายกรัฐมนตรี
สําหรับการบันทึกคลิปวีดิทัศน์งาน
พิธีเปิดงานแสดงสินค้าChina International Import Expo2021(CIIE2021)
และกิจกรรมคู่ขนาน
ท่านประธานาธิบดี สี จิ้นผิง
ผู้แทนภาครัฐและภาคเอกชนจากประเทศต่าง ๆ
แขกผู้มีเกียรติทุกท่าน
“ต้าเจีย-หว่านซ่างห่าว-สวัสดีครับ”
ก่อนอื่น ผมขอแสดงความยินดีในโอกาสครบรอบ 100 ปี การก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์จีน และขอเป็นกําลังใจให้ท่านประธานาธิบดีสี จิ้นผิงและรัฐบาลจีนประสบความสําเร็จในการสร้าง“Common Prosperity”ตามเป้าหมายที่วางไว้ประเทศไทยสนับสนุนการจัดงาน CIIE(ซีไอไออี) มาตลอด โดยเข้าร่วมงานทั้ง4ครั้งและครั้งนี้ในนามของรัฐบาลไทย ผมรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้เข้าร่วมในพิธีเปิดงานแสดงสินค้าที่มีความสําคัญระดับโลกในครั้งนี้
งานCIIE(ซีไอไออี) นอกจากจะเป็นงานที่รวบรวมผู้ค้าจากทั่วโลกแล้ว ยังเป็นพันธสัญญาที่แสดงถึงเจตนารมณ์อันแน่วแน่ในการเปิดเสรีและสร้างสมดุลทางการค้าระหว่างจีนกับทั่วโลกไม่ว่าจะต้องเผชิญกับความท้าทายใดใดก็ตาม ดังคํามั่นสัญญาของท่านประธานาธิบดีสีจิ้นผิง เมื่อครั้งเปิดงานCIIEปีที่ผ่านมา ว่า“จะทําให้ตลาดจีนเป็นตลาดโลก เป็นตลาดที่เอื้อประโยชน์ทุกฝ่าย และเป็นตลาดของทุกคน”
การร่วมงานCIIEจึงไม่เพียงเสริมสร้างความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างไทยกับจีน แต่ยังเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการไทยได้พบกับผู้ค้าทั่วโลก รวมถึงได้ศึกษาเทรนด์การค้าโลกในอนาคตอีกด้วยงานCIIEในปีนี้ ประเทศไทยโดยกระทรวงพาณิชย์ได้นําสินค้ากลุ่มอาหารและเครื่องดื่มมาแนะนําให้พี่น้องชาวจีนได้รู้จักเพิ่มมากขึ้น อุตสาหกรรมอาหารของเรามีความโดดเด่นและหลากหลาย ปัจจุบัน ไทยเป็นผู้ส่งออกอาหารและสินค้าเกษตรรายใหญ่ลําดับต้นของโลก โดยรัฐบาลไทยให้ความสําคัญและส่งเสริมการใช้นวัตกรรม เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมอาหารให้ดียิ่งขึ้น ทั้งในด้านคุณภาพและความปลอดภัย ตามแนวทางของโมเดลเศรษฐกิจBCGเพื่อส่งมอบสิ่งที่ดีที่สุดให้กับผู้บริโภคทั่วโลกนอกจากนี้หากท่านเคยเดินทางมาประเทศไทยคงทราบดีว่าหนึ่งในเอกลักษณ์ของอาหารไทยคือStreet foodซึ่งได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายทั้งจากชาวไทยและชาวต่างชาติ ในด้านรสชาติ ราคา และคุณภาพ
ในฐานะที่จีนเป็นคู่ค้าอันดับ1 ของไทยมายาวนาน ผมปรารถนาที่จะเห็นไทยและจีนมีความร่วมมือที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้นในทุกมิติ บนพื้นฐานของผลประโยชน์ร่วมกันโดยหลายปีที่ผ่านมา เราได้ทุ่มเททรัพยากร เพื่อให้EECเป็นหนึ่งในสะพานเชื่อมระหว่างอาเซียนกับBRI(บีอาร์ไอ) ของจีน ซึ่งผมหวังว่าจะช่วยให้เศรษฐกิจของทั้งสองประเทศเติบโตอย่างสมดุล ยั่งยืน และครอบคลุม ในทุกด้าน
ผมขอขอบคุณรัฐบาลจีนที่ได้เปิดด่านนําเข้าผลไม้จากไทยและอาเซียนเพิ่ม และหวังว่า จะมีเพิ่มขึ้นอีกในอนาคต เพราะนอกจากจะเป็นการสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรไทยแล้ว ผู้บริโภคชาวจีนยังได้มีโอกาสลิ้มรสผลไม้สดจากไทยอีกด้วย ซึ่งถือเป็นหนึ่งในตัวอย่างของความสําเร็จ ในการสร้างผลประโยชน์ร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรม ผมเชื่อว่าไทยและจีนยังสามารถขยายและพัฒนาความร่วมมือระหว่างกันได้อีกมาก โดยไทยพร้อมที่จะแสวงหาลู่ทางและโอกาสใหม่ ๆ เพื่อยกระดับความร่วมมือระหว่างกันต่อไป
ขณะนี้ ประเทศไทยอยู่ระหว่างการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม เพื่อนําไปสู่การ “พลิกโฉมประเทศ” อย่างรอบด้านโดยแรงขับเคลื่อนหนึ่งที่ทําให้ไทยสามารถดําเนินการในเรื่องดังกล่าวอย่างเป็นขั้นเป็นตอนได้ คือการได้รับความช่วยเหลือจากจีน ทั้งในเรื่องวัคซีน ยา และเวชภัณฑ์ เพื่อใช้ต่อสู้กับการแพร่ระบาดของโควิดในระยะที่ผ่านมา ดังนั้น ผมขอใช้โอกาสนี้ขอบคุณรัฐบาลและประชาชนจีนอีกครั้งหนึ่ง และรอที่จะได้ต้อนรับพี่น้องชาวจีนที่ประเทศไทยในเร็ววัน
สุดท้าย ผมขออวยพรให้ทุกท่านมีสุขภาพแข็งแรงและขอให้งานCIIEประสบความสําเร็จยิ่งขึ้นในทุกๆ ปีเพื่อเป็นเวทีหลักทางการค้าระหว่างไทย - จีนและกับประชาคมโลกต่อไป
ขอบคุณครับเซี่ย-เซี่ย
****************************** | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-คำกล่าวของนายกรัฐมนตรี สำหรับการบันทึกคลิปวีดิทัศน์งาน พิธีเปิดงานแสดงสินค้า China International Import Expo 2021 (CIIE 2021) และกิจกรรมคู่ขนาน
วันศุกร์ที่ 5 พฤศจิกายน 2564
คํากล่าวของนายกรัฐมนตรี สําหรับการบันทึกคลิปวีดิทัศน์งาน พิธีเปิดงานแสดงสินค้า China International Import Expo 2021 (CIIE 2021) และกิจกรรมคู่ขนาน
คํากล่าวของนายกรัฐมนตรี สําหรับการบันทึกคลิปวีดิทัศน์งานพิธีเปิดงานแสดงสินค้า China International Import Expo 2021 (CIIE 2021) และกิจกรรมคู่ขนาน
คํากล่าวของนายกรัฐมนตรี
สําหรับการบันทึกคลิปวีดิทัศน์งาน
พิธีเปิดงานแสดงสินค้าChina International Import Expo2021(CIIE2021)
และกิจกรรมคู่ขนาน
ท่านประธานาธิบดี สี จิ้นผิง
ผู้แทนภาครัฐและภาคเอกชนจากประเทศต่าง ๆ
แขกผู้มีเกียรติทุกท่าน
“ต้าเจีย-หว่านซ่างห่าว-สวัสดีครับ”
ก่อนอื่น ผมขอแสดงความยินดีในโอกาสครบรอบ 100 ปี การก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์จีน และขอเป็นกําลังใจให้ท่านประธานาธิบดีสี จิ้นผิงและรัฐบาลจีนประสบความสําเร็จในการสร้าง“Common Prosperity”ตามเป้าหมายที่วางไว้ประเทศไทยสนับสนุนการจัดงาน CIIE(ซีไอไออี) มาตลอด โดยเข้าร่วมงานทั้ง4ครั้งและครั้งนี้ในนามของรัฐบาลไทย ผมรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้เข้าร่วมในพิธีเปิดงานแสดงสินค้าที่มีความสําคัญระดับโลกในครั้งนี้
งานCIIE(ซีไอไออี) นอกจากจะเป็นงานที่รวบรวมผู้ค้าจากทั่วโลกแล้ว ยังเป็นพันธสัญญาที่แสดงถึงเจตนารมณ์อันแน่วแน่ในการเปิดเสรีและสร้างสมดุลทางการค้าระหว่างจีนกับทั่วโลกไม่ว่าจะต้องเผชิญกับความท้าทายใดใดก็ตาม ดังคํามั่นสัญญาของท่านประธานาธิบดีสีจิ้นผิง เมื่อครั้งเปิดงานCIIEปีที่ผ่านมา ว่า“จะทําให้ตลาดจีนเป็นตลาดโลก เป็นตลาดที่เอื้อประโยชน์ทุกฝ่าย และเป็นตลาดของทุกคน”
การร่วมงานCIIEจึงไม่เพียงเสริมสร้างความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างไทยกับจีน แต่ยังเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการไทยได้พบกับผู้ค้าทั่วโลก รวมถึงได้ศึกษาเทรนด์การค้าโลกในอนาคตอีกด้วยงานCIIEในปีนี้ ประเทศไทยโดยกระทรวงพาณิชย์ได้นําสินค้ากลุ่มอาหารและเครื่องดื่มมาแนะนําให้พี่น้องชาวจีนได้รู้จักเพิ่มมากขึ้น อุตสาหกรรมอาหารของเรามีความโดดเด่นและหลากหลาย ปัจจุบัน ไทยเป็นผู้ส่งออกอาหารและสินค้าเกษตรรายใหญ่ลําดับต้นของโลก โดยรัฐบาลไทยให้ความสําคัญและส่งเสริมการใช้นวัตกรรม เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมอาหารให้ดียิ่งขึ้น ทั้งในด้านคุณภาพและความปลอดภัย ตามแนวทางของโมเดลเศรษฐกิจBCGเพื่อส่งมอบสิ่งที่ดีที่สุดให้กับผู้บริโภคทั่วโลกนอกจากนี้หากท่านเคยเดินทางมาประเทศไทยคงทราบดีว่าหนึ่งในเอกลักษณ์ของอาหารไทยคือStreet foodซึ่งได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายทั้งจากชาวไทยและชาวต่างชาติ ในด้านรสชาติ ราคา และคุณภาพ
ในฐานะที่จีนเป็นคู่ค้าอันดับ1 ของไทยมายาวนาน ผมปรารถนาที่จะเห็นไทยและจีนมีความร่วมมือที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้นในทุกมิติ บนพื้นฐานของผลประโยชน์ร่วมกันโดยหลายปีที่ผ่านมา เราได้ทุ่มเททรัพยากร เพื่อให้EECเป็นหนึ่งในสะพานเชื่อมระหว่างอาเซียนกับBRI(บีอาร์ไอ) ของจีน ซึ่งผมหวังว่าจะช่วยให้เศรษฐกิจของทั้งสองประเทศเติบโตอย่างสมดุล ยั่งยืน และครอบคลุม ในทุกด้าน
ผมขอขอบคุณรัฐบาลจีนที่ได้เปิดด่านนําเข้าผลไม้จากไทยและอาเซียนเพิ่ม และหวังว่า จะมีเพิ่มขึ้นอีกในอนาคต เพราะนอกจากจะเป็นการสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรไทยแล้ว ผู้บริโภคชาวจีนยังได้มีโอกาสลิ้มรสผลไม้สดจากไทยอีกด้วย ซึ่งถือเป็นหนึ่งในตัวอย่างของความสําเร็จ ในการสร้างผลประโยชน์ร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรม ผมเชื่อว่าไทยและจีนยังสามารถขยายและพัฒนาความร่วมมือระหว่างกันได้อีกมาก โดยไทยพร้อมที่จะแสวงหาลู่ทางและโอกาสใหม่ ๆ เพื่อยกระดับความร่วมมือระหว่างกันต่อไป
ขณะนี้ ประเทศไทยอยู่ระหว่างการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม เพื่อนําไปสู่การ “พลิกโฉมประเทศ” อย่างรอบด้านโดยแรงขับเคลื่อนหนึ่งที่ทําให้ไทยสามารถดําเนินการในเรื่องดังกล่าวอย่างเป็นขั้นเป็นตอนได้ คือการได้รับความช่วยเหลือจากจีน ทั้งในเรื่องวัคซีน ยา และเวชภัณฑ์ เพื่อใช้ต่อสู้กับการแพร่ระบาดของโควิดในระยะที่ผ่านมา ดังนั้น ผมขอใช้โอกาสนี้ขอบคุณรัฐบาลและประชาชนจีนอีกครั้งหนึ่ง และรอที่จะได้ต้อนรับพี่น้องชาวจีนที่ประเทศไทยในเร็ววัน
สุดท้าย ผมขออวยพรให้ทุกท่านมีสุขภาพแข็งแรงและขอให้งานCIIEประสบความสําเร็จยิ่งขึ้นในทุกๆ ปีเพื่อเป็นเวทีหลักทางการค้าระหว่างไทย - จีนและกับประชาคมโลกต่อไป
ขอบคุณครับเซี่ย-เซี่ย
****************************** | https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/47833 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กรมทางหลวงชนบท เผยงบประมาณสมทบผ่านการเห็นชอบจากอนุกรรมาธิการฯ แล้ว | วันพฤหัสบดีที่ 11 สิงหาคม 2565
กรมทางหลวงชนบท เผยงบประมาณสมทบผ่านการเห็นชอบจากอนุกรรมาธิการฯ แล้ว
เตรียมเดินหน้าโครงการก่อสร้างสะพานข้ามทะเลสาบสงขลา จ.สงขลา จ.พัทลุง และโครงการก่อสร้างสะพานเชื่อมเกาะลันตา จ.กระบี่ คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างได้ในปลายปี 2566 นี้
กรมทางหลวงชนบท (ทช.) กระทรวงคมนาคม รายงานความคืบหน้าการเตรียมดําเนินโครงการก่อสร้างสะพานข้ามทะเลสาบสงขลา ต.เกาะใหญ่ อ.กระแสสินธุ์ จ.สงขลา - ต.จองถนน อ.เขาชัยสน จ.พัทลุง และโครงการก่อสร้างสะพานเชื่อมเกาะลันตาต.เกาะกลาง - ต.เกาะลันตาน้อ อ.เกาะลันตา จ.กระบี่ ซึ่งทั้งสองโครงการจะเป็นแลนด์มาร์ค (Landmark) ที่สําคัญอีกแห่งหนึ่งในอนาคต ช่วยส่งเสริมศักยภาพด้านการท่องเที่ยวและอํานวยความสะดวกในการคมนาคมขนส่งได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ตามนโยบายของนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
โครงการก่อสร้างสะพานข้ามทะเลสาบสงขลา ต.เกาะใหญ่ อ.กระแสสินธุ์ จ.สงขลา - ต.จองถนนอ.เขาชัยสน จ.พัทลุง จะช่วยเชื่อมโยงโครงข่ายการคมนาคมขนส่งให้เกิดความสมบูรณ์ เพิ่มศักยภาพในการเดินทางเชื่อมระหว่าง จ.พัทลุง กับ จ.สงขลา ลดระยะทางประมาณ 80 กิโลเมตร หรือ ลดระยะเวลาในการเดินทางราว 2 ชั่วโมง ซึ่งปัจจุบัน ทช.ได้ดําเนินการสํารวจออกแบบโครงการดังกล่าวแล้วเสร็จ และได้ผ่านการเห็นชอบรายงานประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) จากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กก.วล.) เรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2565 ที่ผ่านมา ขณะนี้อยู่ระหว่างการขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาอนุมัติก่อสร้าง
โดย ทช. ได้เสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณดําเนินโครงการรวมทั้งสิ้น จํานวน 4,829.25 ล้านบาท มีระยะเวลาก่อสร้าง 3 ปี (ปี 2566 - 2568) โดยจะใช้เงินกู้ต่างประเทศและงบสมทบจากงบประมาณประจําปี ทั้งนี้ งบประมาณประจําปี 2566 ได้ผ่านการเห็นชอบจากอนุกรรมาธิการฯ แล้ว คาดว่าโครงการดังกล่าวจะเริ่มก่อสร้างประมาณปลายปี 2566 และจะดําเนินการแล้วเสร็จพร้อมเปิดให้ใช้บริการได้ภายในปี 2569 ต่อไป โดยสะพานมีขนาด 2 ช่องจราจร (สามารถขยายเป็น 4 ช่องจราจรได้ในอนาคต) และมีรูปแบบสะพานที่เหมาะสม คือ สะพานคานขึง (Extradosed Bridge) และสะพานคานคอนกรีตรูปกล่องความหนาคงที่ (Box Segmental Bridge) รวมระยะทางทั้งสิ้น 7 กิโลเมตร นอกจากนี้ บริเวณราวสะพานได้ออกแบบให้มีความสวยงาม โดยนํารูปแบบทางจิตรกรรมมโนราห์ของท้องถิ่นมาประยุกต์อีกด้วย
สําหรับโครงการก่อสร้างสะพานเชื่อมเกาะลันตา ต.เกาะกลาง - ต.เกาะลันตาน้อย อ.เกาะลันตา จ.กระบี่ ปัจจุบัน ทช. ได้ดําเนินการสํารวจออกแบบโครงการดังกล่าวแล้วเสร็จและได้ผ่านการพิจารณารายงานการประเมินผลกระทบสิ่งเเวดล้อม (EIA) จากคณะกรรมการผู้ชํานาญการพิจารณารายงานประเมินผลกระทบสิ่งเเวดล้อม (คชก.)ของสํานักนโยบายเเละเเผนทรัพยากรธรรมชาติเเละสิ่งเเวดล้อม (สผ.) ขณะนี้ ทช.ได้ส่งเล่ม EIA ฉบับสมบูรณ์ให้ สผ. เพื่อที่เสนอให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กก.วล.) พิจารณาเห็นชอบ รวมทั้งอยู่ระหว่างการขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาอนุมัติก่อสร้างพร้อมกับโครงการก่อสร้างสะพานข้ามทะเลสาบสงขลา ซึ่งจะก่อสร้างสะพานเป็นรูปแบบสะพานคานขึง (Extradosed Bridge) และสะพานคานยื่น (Balanced Cantilever Bridge) ความยาวสะพาน 1,825 เมตร ขนาด 2 ช่องจราจร ช่องละ 3.75 เมตร ไหล่ทางข้างละ 2.5 เมตร พร้อมถนนต่อเชื่อมทั้งสองฝั่ง รวมระยะทาง 415 เมตร รวมระยะทางตลอดโครงการ 2,240 เมตร เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จจะช่วยลดระยะเวลาในการเดินทางโดยเฉพาะในช่วงวันหยุดหรือเทศกาลจากเดิมต้องใช้เวลา 2 ชั่วโมง เหลือเพียง 2 นาที สามารถเคลื่อนย้ายผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลในจังหวัดกระบี่ได้อย่างรวดเร็วหากมีเหตุเจ็บป่วยฉุกเฉินและเป็นเส้นทางสําหรับอพยพประชาชนในกรณีเกิดภัยพิบัติ โดย ทช. ได้เสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณดําเนินโครงการรวมทั้งสิ้น 1,849.50 ล้านบาท มีระยะเวลาก่อสร้าง 3 ปี (ปี 2566 - 2568) โดยจะใช้เงินกู้ต่างประเทศและงบสมทบจากงบประมาณประจําปีทั้งนี้ งบประมาณประจําปี 2566 ได้ผ่านการเห็นชอบจากอนุกรรมาธิการฯ แล้ว คาดว่าโครงการดังกล่าวจะเริ่มก่อสร้างประมาณปลายปี 2566 และจะดําเนินการแล้วเสร็จพร้อมเปิดให้ใช้บริการได้ภายในปี 2569
นอกจากนี้ ในวันที่ 15 สิงหาคม 2565 สํานักงานบริหารหนี้สาธารณะและกรมทางหลวงชนบท จะร่วมประชุม เพื่อเตรียมความพร้อมสําหรับแผนการดําเนินงานในส่วนของการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสังคม (Environmental and Social Framework) ร่วมกับธนาคารโลก (World Bank) | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กรมทางหลวงชนบท เผยงบประมาณสมทบผ่านการเห็นชอบจากอนุกรรมาธิการฯ แล้ว
วันพฤหัสบดีที่ 11 สิงหาคม 2565
กรมทางหลวงชนบท เผยงบประมาณสมทบผ่านการเห็นชอบจากอนุกรรมาธิการฯ แล้ว
เตรียมเดินหน้าโครงการก่อสร้างสะพานข้ามทะเลสาบสงขลา จ.สงขลา จ.พัทลุง และโครงการก่อสร้างสะพานเชื่อมเกาะลันตา จ.กระบี่ คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างได้ในปลายปี 2566 นี้
กรมทางหลวงชนบท (ทช.) กระทรวงคมนาคม รายงานความคืบหน้าการเตรียมดําเนินโครงการก่อสร้างสะพานข้ามทะเลสาบสงขลา ต.เกาะใหญ่ อ.กระแสสินธุ์ จ.สงขลา - ต.จองถนน อ.เขาชัยสน จ.พัทลุง และโครงการก่อสร้างสะพานเชื่อมเกาะลันตาต.เกาะกลาง - ต.เกาะลันตาน้อ อ.เกาะลันตา จ.กระบี่ ซึ่งทั้งสองโครงการจะเป็นแลนด์มาร์ค (Landmark) ที่สําคัญอีกแห่งหนึ่งในอนาคต ช่วยส่งเสริมศักยภาพด้านการท่องเที่ยวและอํานวยความสะดวกในการคมนาคมขนส่งได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ตามนโยบายของนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
โครงการก่อสร้างสะพานข้ามทะเลสาบสงขลา ต.เกาะใหญ่ อ.กระแสสินธุ์ จ.สงขลา - ต.จองถนนอ.เขาชัยสน จ.พัทลุง จะช่วยเชื่อมโยงโครงข่ายการคมนาคมขนส่งให้เกิดความสมบูรณ์ เพิ่มศักยภาพในการเดินทางเชื่อมระหว่าง จ.พัทลุง กับ จ.สงขลา ลดระยะทางประมาณ 80 กิโลเมตร หรือ ลดระยะเวลาในการเดินทางราว 2 ชั่วโมง ซึ่งปัจจุบัน ทช.ได้ดําเนินการสํารวจออกแบบโครงการดังกล่าวแล้วเสร็จ และได้ผ่านการเห็นชอบรายงานประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) จากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กก.วล.) เรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2565 ที่ผ่านมา ขณะนี้อยู่ระหว่างการขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาอนุมัติก่อสร้าง
โดย ทช. ได้เสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณดําเนินโครงการรวมทั้งสิ้น จํานวน 4,829.25 ล้านบาท มีระยะเวลาก่อสร้าง 3 ปี (ปี 2566 - 2568) โดยจะใช้เงินกู้ต่างประเทศและงบสมทบจากงบประมาณประจําปี ทั้งนี้ งบประมาณประจําปี 2566 ได้ผ่านการเห็นชอบจากอนุกรรมาธิการฯ แล้ว คาดว่าโครงการดังกล่าวจะเริ่มก่อสร้างประมาณปลายปี 2566 และจะดําเนินการแล้วเสร็จพร้อมเปิดให้ใช้บริการได้ภายในปี 2569 ต่อไป โดยสะพานมีขนาด 2 ช่องจราจร (สามารถขยายเป็น 4 ช่องจราจรได้ในอนาคต) และมีรูปแบบสะพานที่เหมาะสม คือ สะพานคานขึง (Extradosed Bridge) และสะพานคานคอนกรีตรูปกล่องความหนาคงที่ (Box Segmental Bridge) รวมระยะทางทั้งสิ้น 7 กิโลเมตร นอกจากนี้ บริเวณราวสะพานได้ออกแบบให้มีความสวยงาม โดยนํารูปแบบทางจิตรกรรมมโนราห์ของท้องถิ่นมาประยุกต์อีกด้วย
สําหรับโครงการก่อสร้างสะพานเชื่อมเกาะลันตา ต.เกาะกลาง - ต.เกาะลันตาน้อย อ.เกาะลันตา จ.กระบี่ ปัจจุบัน ทช. ได้ดําเนินการสํารวจออกแบบโครงการดังกล่าวแล้วเสร็จและได้ผ่านการพิจารณารายงานการประเมินผลกระทบสิ่งเเวดล้อม (EIA) จากคณะกรรมการผู้ชํานาญการพิจารณารายงานประเมินผลกระทบสิ่งเเวดล้อม (คชก.)ของสํานักนโยบายเเละเเผนทรัพยากรธรรมชาติเเละสิ่งเเวดล้อม (สผ.) ขณะนี้ ทช.ได้ส่งเล่ม EIA ฉบับสมบูรณ์ให้ สผ. เพื่อที่เสนอให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กก.วล.) พิจารณาเห็นชอบ รวมทั้งอยู่ระหว่างการขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาอนุมัติก่อสร้างพร้อมกับโครงการก่อสร้างสะพานข้ามทะเลสาบสงขลา ซึ่งจะก่อสร้างสะพานเป็นรูปแบบสะพานคานขึง (Extradosed Bridge) และสะพานคานยื่น (Balanced Cantilever Bridge) ความยาวสะพาน 1,825 เมตร ขนาด 2 ช่องจราจร ช่องละ 3.75 เมตร ไหล่ทางข้างละ 2.5 เมตร พร้อมถนนต่อเชื่อมทั้งสองฝั่ง รวมระยะทาง 415 เมตร รวมระยะทางตลอดโครงการ 2,240 เมตร เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จจะช่วยลดระยะเวลาในการเดินทางโดยเฉพาะในช่วงวันหยุดหรือเทศกาลจากเดิมต้องใช้เวลา 2 ชั่วโมง เหลือเพียง 2 นาที สามารถเคลื่อนย้ายผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลในจังหวัดกระบี่ได้อย่างรวดเร็วหากมีเหตุเจ็บป่วยฉุกเฉินและเป็นเส้นทางสําหรับอพยพประชาชนในกรณีเกิดภัยพิบัติ โดย ทช. ได้เสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณดําเนินโครงการรวมทั้งสิ้น 1,849.50 ล้านบาท มีระยะเวลาก่อสร้าง 3 ปี (ปี 2566 - 2568) โดยจะใช้เงินกู้ต่างประเทศและงบสมทบจากงบประมาณประจําปีทั้งนี้ งบประมาณประจําปี 2566 ได้ผ่านการเห็นชอบจากอนุกรรมาธิการฯ แล้ว คาดว่าโครงการดังกล่าวจะเริ่มก่อสร้างประมาณปลายปี 2566 และจะดําเนินการแล้วเสร็จพร้อมเปิดให้ใช้บริการได้ภายในปี 2569
นอกจากนี้ ในวันที่ 15 สิงหาคม 2565 สํานักงานบริหารหนี้สาธารณะและกรมทางหลวงชนบท จะร่วมประชุม เพื่อเตรียมความพร้อมสําหรับแผนการดําเนินงานในส่วนของการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสังคม (Environmental and Social Framework) ร่วมกับธนาคารโลก (World Bank) | https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/57908 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ครม.รับทราบรายงานผลการดำเนินโครงการช่วยเหลือชาวไร่อ้อยตัดอ้อยสดเพื่อลดฝุ่น PM 2.5 ปีผลิต 63-64 ช่วยลดปริมาณอ้อยไฟไหม้และพื้นที่ตัดอ้อยไฟไหม้ลงร้อยละ 23.23 | วันอังคารที่ 7 ธันวาคม 2564
ครม.รับทราบรายงานผลการดําเนินโครงการช่วยเหลือชาวไร่อ้อยตัดอ้อยสดเพื่อลดฝุ่น PM 2.5 ปีผลิต 63-64 ช่วยลดปริมาณอ้อยไฟไหม้และพื้นที่ตัดอ้อยไฟไหม้ลงร้อยละ 23.23
ครม.รับทราบรายงานผลการดําเนินโครงการช่วยเหลือชาวไร่อ้อยตัดอ้อยสดเพื่อลดฝุ่น PM 2.5 ปีผลิต 63-64 ช่วยลดปริมาณอ้อยไฟไหม้และพื้นที่ตัดอ้อยไฟไหม้ลงร้อยละ 23.23
นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2564 ว่า ครม.รับทราบรายงานผลการดําเนินโครงการช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อยตัดอ้อยสดเพื่อลดฝุ่น PM 2.5 ฤดูการผลิตปี 2563-2564 ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ โครงการนี้เป็นการส่งเสริมการให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยตัดอ้อยสดส่งโรงงานแทนการตัดอ้อยไฟไหม้ที่เป็นสาเหตุหนึ่งของฝุ่น PM 2.5 โดยเกษตรกรชาวไร่อ้อยที่ตัดอ้อยสดคุณภาพดีส่งโรงงานจะได้รับความช่วยเหลือในอัตรา 120 บาทต่อตัน ซึ่งโครงการได้จ่ายเงินช่วยเหลือเสร็จสิ้นแล้ว ณ วันที่ 30 กันยายน 2564 รวม 5,933 ล้านบาท (จากวงเงินโครงการทั้งสิ้น 6,065 ล้านบาท) มีเกษตรกรชาวไร่อ้อยได้ประโยชน์รวม 122,613 ราย มีปริมาณอ้อยสดส่งโรงงานรวม 49.4 ล้านตัน เมื่อเปรียบข้อมูลในฤดูกาลผลิตปี 2562/2563 พบว่า การช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อยที่ตัดอ้อยสดในฤดูการผลิตปี 2563/2564 ส่งผลให้พื้นที่เก็บเกี่ยวอ้อยไฟไหม้ลดลงจาก 5.71 ล้านไร่ เหลือ 2.87 ล้านไร่ หรือลดลงร้อยละ 23.23 และปริมาณอ้อยไฟไหม้ลดลงจาก 37.18 ล้านตัน เหลือ 17.61 ล้านตัน หรือลดลงร้อยละ 23.23 นอกจากนี้ โครงการดังกล่าว ยังจะเป็นการช่วยลดต้นทุนในการตัดอ้อยสดของชาวไร่อ้อยและจูงใจให้ชาวไร่อ้อยตัดอ้อยสดส่งโรงงานมากขึ้น ซึ่งเป็นการตอบสนองนโยบายรัฐบาลที่มุ่งแก้ไขปัญหามลพิษที่เกิดจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ด้วย
..................... | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ครม.รับทราบรายงานผลการดำเนินโครงการช่วยเหลือชาวไร่อ้อยตัดอ้อยสดเพื่อลดฝุ่น PM 2.5 ปีผลิต 63-64 ช่วยลดปริมาณอ้อยไฟไหม้และพื้นที่ตัดอ้อยไฟไหม้ลงร้อยละ 23.23
วันอังคารที่ 7 ธันวาคม 2564
ครม.รับทราบรายงานผลการดําเนินโครงการช่วยเหลือชาวไร่อ้อยตัดอ้อยสดเพื่อลดฝุ่น PM 2.5 ปีผลิต 63-64 ช่วยลดปริมาณอ้อยไฟไหม้และพื้นที่ตัดอ้อยไฟไหม้ลงร้อยละ 23.23
ครม.รับทราบรายงานผลการดําเนินโครงการช่วยเหลือชาวไร่อ้อยตัดอ้อยสดเพื่อลดฝุ่น PM 2.5 ปีผลิต 63-64 ช่วยลดปริมาณอ้อยไฟไหม้และพื้นที่ตัดอ้อยไฟไหม้ลงร้อยละ 23.23
นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2564 ว่า ครม.รับทราบรายงานผลการดําเนินโครงการช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อยตัดอ้อยสดเพื่อลดฝุ่น PM 2.5 ฤดูการผลิตปี 2563-2564 ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ โครงการนี้เป็นการส่งเสริมการให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยตัดอ้อยสดส่งโรงงานแทนการตัดอ้อยไฟไหม้ที่เป็นสาเหตุหนึ่งของฝุ่น PM 2.5 โดยเกษตรกรชาวไร่อ้อยที่ตัดอ้อยสดคุณภาพดีส่งโรงงานจะได้รับความช่วยเหลือในอัตรา 120 บาทต่อตัน ซึ่งโครงการได้จ่ายเงินช่วยเหลือเสร็จสิ้นแล้ว ณ วันที่ 30 กันยายน 2564 รวม 5,933 ล้านบาท (จากวงเงินโครงการทั้งสิ้น 6,065 ล้านบาท) มีเกษตรกรชาวไร่อ้อยได้ประโยชน์รวม 122,613 ราย มีปริมาณอ้อยสดส่งโรงงานรวม 49.4 ล้านตัน เมื่อเปรียบข้อมูลในฤดูกาลผลิตปี 2562/2563 พบว่า การช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อยที่ตัดอ้อยสดในฤดูการผลิตปี 2563/2564 ส่งผลให้พื้นที่เก็บเกี่ยวอ้อยไฟไหม้ลดลงจาก 5.71 ล้านไร่ เหลือ 2.87 ล้านไร่ หรือลดลงร้อยละ 23.23 และปริมาณอ้อยไฟไหม้ลดลงจาก 37.18 ล้านตัน เหลือ 17.61 ล้านตัน หรือลดลงร้อยละ 23.23 นอกจากนี้ โครงการดังกล่าว ยังจะเป็นการช่วยลดต้นทุนในการตัดอ้อยสดของชาวไร่อ้อยและจูงใจให้ชาวไร่อ้อยตัดอ้อยสดส่งโรงงานมากขึ้น ซึ่งเป็นการตอบสนองนโยบายรัฐบาลที่มุ่งแก้ไขปัญหามลพิษที่เกิดจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ด้วย
..................... | https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/49198 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ซาอุฯ รับสมัครพยาบาล พนักงานทำความสะอาด ผู้ช่วยสัตวแพทย์ และตำแหน่งอื่นรวม 1,415 อัตรา เริ่มสมัครวันนี้ – 23 ส.ค. 65 | วันพฤหัสบดีที่ 18 สิงหาคม 2565
ซาอุฯ รับสมัครพยาบาล พนักงานทําความสะอาด ผู้ช่วยสัตวแพทย์ และตําแหน่งอื่นรวม 1,415 อัตรา เริ่มสมัครวันนี้ – 23 ส.ค. 65
กระทรวงแรงงาน รับสมัคร พยาบาล ผู้ดูแลผู้ป่วย พนักงานทําความสะอาด ผู้ช่วยสัตวแพทย์ พนักงาน ตัดขนสัตว์เลี้ยง พนักงานบ้านพักสุนัข ผู้สนใจสมัครได้ระหว่างวันที่ 15 – 23 สิงหาคม 2565
นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า กระทรวงแรงงาน โดยกรมการจัดหางานเปิดรับสมัครคนหางานเพื่อไปทํางานซาอุดีอาระเบียกับนายจ้างบริษัท Saudi Manpower Solution Company (SMASCO) ซึ่งประกอบกิจการบริการทางการแพทย์ จํานวน 1,400 อัตรา ได้แก่ พนักงานทําความสะอาดเพศหญิง 1,000 อัตรา ผู้ดูแลผู้ป่วยหรือคนชรา จํานวน 300 อัตรา พยาบาลทั่วไป จํานวน 100 อัตรา และนายจ้างบริษัท Elite Art Co. ซึ่งประกอบกิจการคลินิกสัตวแพทย์ จํานวน 15 อัตรา ได้แก่ ผู้ช่วยสัตวแพทย์ จํานวน 5 อัตรา พนักงานตัดขนสัตว์เลี้ยง จํานวน 5 อัตรา และพนักงานบ้านพักสุนัข จํานวน 5 อัตรา รวมทั้งสิ้น 1,415 อัตรา ได้ตั้งแต่วันที่ 15 – 23 สิงหาคม 2565
“พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งกํากับดูแลกระทรวงแรงงาน ติดตามความคืบหน้าการจัดส่งแรงไทยไปทํางานประเทศซาอุดีอาระเบียอย่างใกล้ชิด ซึ่งกระทรวงแรงงานดําเนินการโดยให้ความสําคัญมาตลอด จนขณะนี้มีนายจ้างแจ้งความต้องการ ทั้งหมด 7 บริษัท ใน 16 ตําแหน่ง รวมแล้ว 2,161 อัตรา โดยตําแหน่งส่วนใหญ่เป็นตําแหน่งพยาบาล ผู้ช่วยพยาบาล และพนักงาน ทําความสะอาดซึ่งคาดว่าในอนาคตจะมีตําแหน่งงานที่หลากหลายเพิ่มเติมอีกโดยเฉพาะตําแหน่งงานในภาคอุตสาหกรรมบริการ เช่น โรงแรม ร้านอาหาร และพนักงานนวดสปา” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าว
ด้านนายไพโรจน์ โชติกเสถียร อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวว่า สําหรับคุณสมบัติของผู้สมัครงาน จะต้องสื่อสารภาษาอังกฤษได้ มีสุขภาพแข็งแรง โดยมีอัตราค่าจ้าง มีดังนี้
1.พนักงานตัดขนสัตว์เลี้ยง (Pet groomers) จํานวน 5 อัตรา ค่าจ้างเดือนละ 3,000 ริยาล หรือประมาณ 28,788 บาท
2.พนักงานบ้านพักสุนัข (Kennel workers) จํานวน 5 อัตรา ค่าจ้างเดือนละ 3,000 ริยาล หรือประมาณ 28,788 บาท
3.ผู้ช่วยสัตวแพทย์ (Veterinary assistants) จํานวน 5 อัตรา ค่าจ้างเดือนละ 2,300 ริยาล หรือประมาณ 22,071 บาท
4.พยาบาลทั่วไป (General nurse) จํานวน 100 อัตรา ค่าจ้างเดือนละ 3,500 ริยาล หรือประมาณ 33,586 บาท
5.ผู้ดูแลผู้ป่วยหรือคนชรา (Caregiver) จํานวน 300 อัตรา ค่าจ้างเดือนละ 2,500 ริยาล หรือประมาณ 23,990 บาท
6.พนักงานทําความสะอาดเพศหญิง (Female Cleaner) จํานวน 1,000 อัตรา ค่าจ้างเดือนละ 1,550 ริยาล หรือประมาณ 14,873 บาท (อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่ 1 สิงหาคม 2565 : 1 ริยาล เท่ากับ 9.5961 บาท)
ทั้งนี้ ผู้ที่มีความประสงค์สมัครงานสามารถตรวจสอบคุณสมบัติเบื้องต้น และยื่นใบสมัครได้ด้วยตนเอง ณ สํานักงานจัดหางานจังหวัดทุกจังหวัด สํานักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1 - 10 หรือกองบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ ฝ่ายจัดส่งไปทํางานไต้หวันและประเทศอื่น ๆ ชั้น 12 อาคารสํานักงานประกันสังคม กรุงเทพมหานครพื้นที่ 3 ถนนมิตรไมตรี แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 15 – 23 สิงหาคม 2565 ในวันและเวลาราชการ โดยจะประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ ทางเว็บไซต์ doe.go.th/overseas หลังจากนายจ้างคัดเลือกคนหางานด้วยตนเอง ผ่านการสอบสัมภาษณ์แบบออนไลน์ หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วนกระทรวงแรงงาน โทร. 1506 กด 2 กรมการจัดหางาน หรือสายด่วนกรมการจัดหางาน โทร. 1694 | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ซาอุฯ รับสมัครพยาบาล พนักงานทำความสะอาด ผู้ช่วยสัตวแพทย์ และตำแหน่งอื่นรวม 1,415 อัตรา เริ่มสมัครวันนี้ – 23 ส.ค. 65
วันพฤหัสบดีที่ 18 สิงหาคม 2565
ซาอุฯ รับสมัครพยาบาล พนักงานทําความสะอาด ผู้ช่วยสัตวแพทย์ และตําแหน่งอื่นรวม 1,415 อัตรา เริ่มสมัครวันนี้ – 23 ส.ค. 65
กระทรวงแรงงาน รับสมัคร พยาบาล ผู้ดูแลผู้ป่วย พนักงานทําความสะอาด ผู้ช่วยสัตวแพทย์ พนักงาน ตัดขนสัตว์เลี้ยง พนักงานบ้านพักสุนัข ผู้สนใจสมัครได้ระหว่างวันที่ 15 – 23 สิงหาคม 2565
นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า กระทรวงแรงงาน โดยกรมการจัดหางานเปิดรับสมัครคนหางานเพื่อไปทํางานซาอุดีอาระเบียกับนายจ้างบริษัท Saudi Manpower Solution Company (SMASCO) ซึ่งประกอบกิจการบริการทางการแพทย์ จํานวน 1,400 อัตรา ได้แก่ พนักงานทําความสะอาดเพศหญิง 1,000 อัตรา ผู้ดูแลผู้ป่วยหรือคนชรา จํานวน 300 อัตรา พยาบาลทั่วไป จํานวน 100 อัตรา และนายจ้างบริษัท Elite Art Co. ซึ่งประกอบกิจการคลินิกสัตวแพทย์ จํานวน 15 อัตรา ได้แก่ ผู้ช่วยสัตวแพทย์ จํานวน 5 อัตรา พนักงานตัดขนสัตว์เลี้ยง จํานวน 5 อัตรา และพนักงานบ้านพักสุนัข จํานวน 5 อัตรา รวมทั้งสิ้น 1,415 อัตรา ได้ตั้งแต่วันที่ 15 – 23 สิงหาคม 2565
“พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งกํากับดูแลกระทรวงแรงงาน ติดตามความคืบหน้าการจัดส่งแรงไทยไปทํางานประเทศซาอุดีอาระเบียอย่างใกล้ชิด ซึ่งกระทรวงแรงงานดําเนินการโดยให้ความสําคัญมาตลอด จนขณะนี้มีนายจ้างแจ้งความต้องการ ทั้งหมด 7 บริษัท ใน 16 ตําแหน่ง รวมแล้ว 2,161 อัตรา โดยตําแหน่งส่วนใหญ่เป็นตําแหน่งพยาบาล ผู้ช่วยพยาบาล และพนักงาน ทําความสะอาดซึ่งคาดว่าในอนาคตจะมีตําแหน่งงานที่หลากหลายเพิ่มเติมอีกโดยเฉพาะตําแหน่งงานในภาคอุตสาหกรรมบริการ เช่น โรงแรม ร้านอาหาร และพนักงานนวดสปา” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าว
ด้านนายไพโรจน์ โชติกเสถียร อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวว่า สําหรับคุณสมบัติของผู้สมัครงาน จะต้องสื่อสารภาษาอังกฤษได้ มีสุขภาพแข็งแรง โดยมีอัตราค่าจ้าง มีดังนี้
1.พนักงานตัดขนสัตว์เลี้ยง (Pet groomers) จํานวน 5 อัตรา ค่าจ้างเดือนละ 3,000 ริยาล หรือประมาณ 28,788 บาท
2.พนักงานบ้านพักสุนัข (Kennel workers) จํานวน 5 อัตรา ค่าจ้างเดือนละ 3,000 ริยาล หรือประมาณ 28,788 บาท
3.ผู้ช่วยสัตวแพทย์ (Veterinary assistants) จํานวน 5 อัตรา ค่าจ้างเดือนละ 2,300 ริยาล หรือประมาณ 22,071 บาท
4.พยาบาลทั่วไป (General nurse) จํานวน 100 อัตรา ค่าจ้างเดือนละ 3,500 ริยาล หรือประมาณ 33,586 บาท
5.ผู้ดูแลผู้ป่วยหรือคนชรา (Caregiver) จํานวน 300 อัตรา ค่าจ้างเดือนละ 2,500 ริยาล หรือประมาณ 23,990 บาท
6.พนักงานทําความสะอาดเพศหญิง (Female Cleaner) จํานวน 1,000 อัตรา ค่าจ้างเดือนละ 1,550 ริยาล หรือประมาณ 14,873 บาท (อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่ 1 สิงหาคม 2565 : 1 ริยาล เท่ากับ 9.5961 บาท)
ทั้งนี้ ผู้ที่มีความประสงค์สมัครงานสามารถตรวจสอบคุณสมบัติเบื้องต้น และยื่นใบสมัครได้ด้วยตนเอง ณ สํานักงานจัดหางานจังหวัดทุกจังหวัด สํานักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1 - 10 หรือกองบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ ฝ่ายจัดส่งไปทํางานไต้หวันและประเทศอื่น ๆ ชั้น 12 อาคารสํานักงานประกันสังคม กรุงเทพมหานครพื้นที่ 3 ถนนมิตรไมตรี แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 15 – 23 สิงหาคม 2565 ในวันและเวลาราชการ โดยจะประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ ทางเว็บไซต์ doe.go.th/overseas หลังจากนายจ้างคัดเลือกคนหางานด้วยตนเอง ผ่านการสอบสัมภาษณ์แบบออนไลน์ หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วนกระทรวงแรงงาน โทร. 1506 กด 2 กรมการจัดหางาน หรือสายด่วนกรมการจัดหางาน โทร. 1694 | https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/58165 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ครม.เห็นชอบให้ไทยเข้าร่วมเจรจาความตกลงการค้ากับสมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป (EFTA) 20 มิ.ย.นี้ | วันอังคารที่ 7 มิถุนายน 2565
ครม.เห็นชอบให้ไทยเข้าร่วมเจรจาความตกลงการค้ากับสมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป (EFTA) 20 มิ.ย.นี้
ครม.เห็นชอบให้ไทยเข้าร่วมเจรจาความตกลงการค้ากับสมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป (EFTA) 20 มิ.ย.นี้
นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2565 ว่า ครม.เห็นชอบให้ไทยเข้าร่วมเจรจาจัดทําความตกลงการค้าเสรีกับสมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป (European Free Trade Association: EFTA) พร้อมทั้งเห็นชอบกรอบการเจรจาการจัดทําความตกลง เพื่อใช้เป็นแนวทางในการเจรจาจัดทําความตกลงการค้าระหว่างกัน ซึ่งทั้งสองฝ่ายจะเริ่มเจรจาในวันที่ 20 มิถุนายน 2565 ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ สมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป (European Free Trade Association: EFTA) ประกอบด้วยสมาชิก 4 ประเทศ ได้แก่ สวิตเซอร์แลนด์ นอร์เวย์ ไอซ์แลนด์ และลิกเตนสไตน์ ซึ่งเป็นตลาดที่มีศักยภาพและมีความสนใจที่จะจัดทําความตกลงการค้าเสรีกับไทย กระทรวงพาณิชย์จึงได้หารือร่วมกับสมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป (EFTA) เพื่อจัดทําร่างกรอบการเจรจาขึ้น ซึ่งมีสาระสําคัญมีดังนี้
1) การค้าสินค้า มุ่งเน้นการลด/ยกเลิกอุปสรรคด้านภาษี
2) กฎว่าด้วยถิ่นกําเนิดสินค้า ปรับปรุงระเบียบปฏิบัติในการรับรองถิ่นกําเนิดสินค้าให้มีความโปร่งใส
3) พิธีการศุลกากรและการอํานวยความสะดวกทางการค้า
4) มาตรการปกป้องและเยียวยาทางการค้า กําหนดมาตรการเพื่อปกป้องและเยียวยาภาคการเกษตรและอุตสาหกรรมภายในประเทศ
5) มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช จัดตั้งกลไกการหารือเพื่อแลกเปลี่ยนความร่วมมือ
6) อุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า ส่งเสริมความร่วมมือเพื่อจัดการกับปัญหาและอุปสรรค
7) การค้าและบริการ กําหนดกฎเกณฑ์การค้าบริการที่มีมาตรฐานสูงในระดับสากล และให้มีการเปิดตลาดการค้าบริการอย่างค่อยเป็นค่อยไป
8) การลงทุน เปิดเสรีการลงทุนในสาขาที่ไทยมีศักยภาพ
9) พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ส่งเสริมและอํานวยความสะดวกทางการค้า ผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
10) ทรัพย์สินทางปัญญา ให้ระดับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาสอดคล้องกับกฎหมายและแนวทางปฏิบัติของไทย
11) การแข่งขัน ส่งเสริมให้มีนโยบายด้านการแข่งขันที่เป็นธรรม
12) การจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ ส่งเสริมให้มีความโปร่งใส
13) การค้าและการพัฒนาที่ยั่งยืน ส่งเสริมการคุ้มครองสิทธิแรงงานและการคุ้มครองด้านสิ่งแวดล้อมตามข้อตกลงระหว่างประเทศที่ไทยเป็นภาคี
14) ความร่วมมือและการเสริมสร้างศักยภาพ ส่งเสริมให้มีความร่วมมือด้านเทคนิคและด้านเศรษฐกิจ
15) ข้อบททั่วไป ให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อกํากับดูแลการดําเนินงานภายใต้ความตกลง
16) การระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐ ให้จัดตั้งกระบวนการระงับข้อพิพาท เปิดโอกาสให้ใช้อนุญาโตตุลาการสาหรับกรณีพิพาทที่ภาคีทั้งสองฝ่ายไม่สามารถแก้ปัญหากันด้วยการหารือได้
นางสาวรัชดากล่าวด้วยว่า หากประเทศไทยเข้าร่วมความตกลงการค้ากับ EFTA แล้ว จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการส่งออกสินค้าและการลงทุนไปยังกลุ่มประเทศ EFTA ได้มากขึ้น เช่น สินค้าเกษตร (ข้าว ข้าวโพดหวาน เนื้อสุกร) ยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ อุตสาหกรรมอาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป และมีสินค้าที่จะเข้ามายังประเทศไทยมากขึ้น เช่น ปุ๋ยเคมี พลังงานสะอาด เป็นต้น ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ทําให้ GDP ขยายตัวร้อยละ 0.179 ต่อปี ได้ดุลการค้าเพิ่มขึ้นประมาณ 2,269 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม อาจมีผลกระทบกับบางภาคส่วนที่ไม่สามารถปรับตัวได้และผู้ประกอบการอาจต้องเผชิญกับมาตรฐานกฎระเบียบที่เพิ่มมากขึ้น เช่น การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา การคุ้มครองสิทธิแรงงาน เป็นต้น ซึ่งรัฐบาลมีมาตรการดูแลและเยียวยากลุ่มผู้ได้รับผลกระทบ ทั้งนี้ ปัจจุบันไทยมี FTA 14 ฉบับ ส่งผลให้ไทยมีการค้ากับประเทศที่มี FTA ครอบคลุม ร้อยละ 64 ของการค้าทั้งหมดของประเทศ | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ครม.เห็นชอบให้ไทยเข้าร่วมเจรจาความตกลงการค้ากับสมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป (EFTA) 20 มิ.ย.นี้
วันอังคารที่ 7 มิถุนายน 2565
ครม.เห็นชอบให้ไทยเข้าร่วมเจรจาความตกลงการค้ากับสมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป (EFTA) 20 มิ.ย.นี้
ครม.เห็นชอบให้ไทยเข้าร่วมเจรจาความตกลงการค้ากับสมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป (EFTA) 20 มิ.ย.นี้
นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2565 ว่า ครม.เห็นชอบให้ไทยเข้าร่วมเจรจาจัดทําความตกลงการค้าเสรีกับสมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป (European Free Trade Association: EFTA) พร้อมทั้งเห็นชอบกรอบการเจรจาการจัดทําความตกลง เพื่อใช้เป็นแนวทางในการเจรจาจัดทําความตกลงการค้าระหว่างกัน ซึ่งทั้งสองฝ่ายจะเริ่มเจรจาในวันที่ 20 มิถุนายน 2565 ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ สมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป (European Free Trade Association: EFTA) ประกอบด้วยสมาชิก 4 ประเทศ ได้แก่ สวิตเซอร์แลนด์ นอร์เวย์ ไอซ์แลนด์ และลิกเตนสไตน์ ซึ่งเป็นตลาดที่มีศักยภาพและมีความสนใจที่จะจัดทําความตกลงการค้าเสรีกับไทย กระทรวงพาณิชย์จึงได้หารือร่วมกับสมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป (EFTA) เพื่อจัดทําร่างกรอบการเจรจาขึ้น ซึ่งมีสาระสําคัญมีดังนี้
1) การค้าสินค้า มุ่งเน้นการลด/ยกเลิกอุปสรรคด้านภาษี
2) กฎว่าด้วยถิ่นกําเนิดสินค้า ปรับปรุงระเบียบปฏิบัติในการรับรองถิ่นกําเนิดสินค้าให้มีความโปร่งใส
3) พิธีการศุลกากรและการอํานวยความสะดวกทางการค้า
4) มาตรการปกป้องและเยียวยาทางการค้า กําหนดมาตรการเพื่อปกป้องและเยียวยาภาคการเกษตรและอุตสาหกรรมภายในประเทศ
5) มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช จัดตั้งกลไกการหารือเพื่อแลกเปลี่ยนความร่วมมือ
6) อุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า ส่งเสริมความร่วมมือเพื่อจัดการกับปัญหาและอุปสรรค
7) การค้าและบริการ กําหนดกฎเกณฑ์การค้าบริการที่มีมาตรฐานสูงในระดับสากล และให้มีการเปิดตลาดการค้าบริการอย่างค่อยเป็นค่อยไป
8) การลงทุน เปิดเสรีการลงทุนในสาขาที่ไทยมีศักยภาพ
9) พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ส่งเสริมและอํานวยความสะดวกทางการค้า ผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
10) ทรัพย์สินทางปัญญา ให้ระดับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาสอดคล้องกับกฎหมายและแนวทางปฏิบัติของไทย
11) การแข่งขัน ส่งเสริมให้มีนโยบายด้านการแข่งขันที่เป็นธรรม
12) การจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ ส่งเสริมให้มีความโปร่งใส
13) การค้าและการพัฒนาที่ยั่งยืน ส่งเสริมการคุ้มครองสิทธิแรงงานและการคุ้มครองด้านสิ่งแวดล้อมตามข้อตกลงระหว่างประเทศที่ไทยเป็นภาคี
14) ความร่วมมือและการเสริมสร้างศักยภาพ ส่งเสริมให้มีความร่วมมือด้านเทคนิคและด้านเศรษฐกิจ
15) ข้อบททั่วไป ให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อกํากับดูแลการดําเนินงานภายใต้ความตกลง
16) การระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐ ให้จัดตั้งกระบวนการระงับข้อพิพาท เปิดโอกาสให้ใช้อนุญาโตตุลาการสาหรับกรณีพิพาทที่ภาคีทั้งสองฝ่ายไม่สามารถแก้ปัญหากันด้วยการหารือได้
นางสาวรัชดากล่าวด้วยว่า หากประเทศไทยเข้าร่วมความตกลงการค้ากับ EFTA แล้ว จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการส่งออกสินค้าและการลงทุนไปยังกลุ่มประเทศ EFTA ได้มากขึ้น เช่น สินค้าเกษตร (ข้าว ข้าวโพดหวาน เนื้อสุกร) ยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ อุตสาหกรรมอาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป และมีสินค้าที่จะเข้ามายังประเทศไทยมากขึ้น เช่น ปุ๋ยเคมี พลังงานสะอาด เป็นต้น ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ทําให้ GDP ขยายตัวร้อยละ 0.179 ต่อปี ได้ดุลการค้าเพิ่มขึ้นประมาณ 2,269 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม อาจมีผลกระทบกับบางภาคส่วนที่ไม่สามารถปรับตัวได้และผู้ประกอบการอาจต้องเผชิญกับมาตรฐานกฎระเบียบที่เพิ่มมากขึ้น เช่น การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา การคุ้มครองสิทธิแรงงาน เป็นต้น ซึ่งรัฐบาลมีมาตรการดูแลและเยียวยากลุ่มผู้ได้รับผลกระทบ ทั้งนี้ ปัจจุบันไทยมี FTA 14 ฉบับ ส่งผลให้ไทยมีการค้ากับประเทศที่มี FTA ครอบคลุม ร้อยละ 64 ของการค้าทั้งหมดของประเทศ | https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/55477 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กรมทางหลวงชนบทสร้างถนนเลียบชายฝั่งทะเลภาคใต้เสร็จสมบูรณ์แล้วกว่า 475 กิโลเมตร พร้อมเดินหน้าก่อสร้างส่วนที่เหลืออีกกว่า 38 กิโลเมตร คาดแล้วเสร็จในปี 2566 | วันอังคารที่ 1 มีนาคม 2565
กรมทางหลวงชนบทสร้างถนนเลียบชายฝั่งทะเลภาคใต้เสร็จสมบูรณ์แล้วกว่า 475 กิโลเมตร พร้อมเดินหน้าก่อสร้างส่วนที่เหลืออีกกว่า 38 กิโลเมตร คาดแล้วเสร็จในปี 2566
เพื่อพัฒนาโครงข่ายให้มีความสมบูรณ์ ส่งเสริมเศรษฐกิจการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ตามนโยบายของรัฐมนตรี
กรมทางหลวงชนบท (ทช.) กระทรวงคมนาคม เปิดเผยความคืบหน้าโครงการก่อสร้างถนนเลียบชายฝั่งทะเลภาคใต้ (Thailand Riviera) ซึ่งปัจจุบันได้ดําเนินการก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์แล้ว จํานวน 39 โครงการ และขณะนี้มีโครงการที่จะเตรียมดําเนินการก่อสร้างและอยู่ระหว่างการก่อสร้างอีก จํานวน 4 โครงการ โดยคาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จทั้งหมดในปี 2566
นายอภิรัฐ ไชยวงศ์น้อย อธิบดีกรมทางหลวงชนบท กล่าวว่า ทช. ได้ดําเนินการตามที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบในโครงการพัฒนาการท่องเที่ยวถนนเลียบชายฝั่งทะเลด้านตะวันตกของอ่าวไทยอย่างยั่งยืน ครอบคลุมพื้นที่จังหวัดสมุทรสงคราม เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และระนอง เพื่อพัฒนาโครงข่ายถนนดังกล่าวให้มีความต่อเนื่องให้เป็นถนนท่องเที่ยวชายฝั่งทะเลระดับสากล ส่งเสริมเศรษฐกิจการท่องเที่ยวกระจายรายได้สู่ชุมชมอย่างเป็นรูปธรรม ยกระดับคุณภาพชีวิตให้ประชาชน นักท่องเที่ยวได้รับความสะดวกปลอดภัยในการเดินทาง ตามนโยบายของ นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม โดย ทช. ได้เริ่มดําเนินการก่อสร้างถนนเลียบชายฝั่งทะเลฯ มาตั้งแต่ปี 2552 ถึงปัจจุบัน โดยได้ก่อสร้างไปแล้ว จํานวน 39 โครงการ รวมระยะทาง 475.896 กิโลเมตร และเพื่อให้โครงข่ายถนนเลียบชายฝั่งทะเลภาคใต้มีความสมบูรณ์ต่อเนื่องมากยิ่งขึ้น ในปี 2565 ทช. จึงได้ดําเนินการก่อสร้างอีก จํานวน 4 โครงการ รวมระยะทาง 38.72 กิโลเมตร ดังนี้
- ถนนทางหลวงชนบทสาย ชพ.4019 สายแยกทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4002 (กม. ที่ 13+100) - บ้านแหลมสันติ อําเภอหลังสวน และละแม จังหวัดชุมพร ระยะทาง 19.891 กิโลเมตร ปัจจุบัน มีความก้าวหน้าไปแล้วกว่าร้อยละ 82 คาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จในเดือนมีนาคม 2565 เร็วกว่าแผนที่กําหนดไว้ ใช้งบประมาณในการก่อสร้าง 172.082 ล้านบาท
- ถนนสายเพชรเกษม - สถานีรถไฟทุ่งประดู่ - วัดทับสะแก อําเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ระยะทาง 3.418 กิโลเมตร ปัจจุบันได้เริ่มเข้าพื้นที่ดําเนินการก่อสร้างแล้วเมื่อเดือนธันวาคม 2564 คาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จประมาณช่วงกลางปี 2565 นี้ ใช้งบประมาณในการก่อสร้าง 20.650 ล้านบาท
- ถนนสายบ้านบางคอย - บ้านทุ่งคาน้อย อําเภอเมือง จังหวัดชุมพร ระยะทาง 8.658 กิโลเมตร ปัจจุบันได้เริ่มเข้าพื้นที่ดําเนินการก่อสร้างแล้วเมื่อเดือนมกราคม 2565 คาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จในปี 2565 ใช้งบประมาณในการก่อสร้าง 31.984 ล้านบาท
- ถนนสายแยกทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4002 (กม. ที่ 13+100) - บ้านแหลมสันติ (ตอนที่ 2)
อําเภอหลังสวน และละแม จังหวัดชุมพร ระยะทาง 6.753 กิโลเมตร ซึ่งคาดว่าจะเริ่มเข้าพื้นที่ก่อสร้างได้ประมาณเดือนพฤษภาคม 2565 และคาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จในปี 2566 ใช้งบประมาณในการก่อสร้าง 105.440 ล้านบาท | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กรมทางหลวงชนบทสร้างถนนเลียบชายฝั่งทะเลภาคใต้เสร็จสมบูรณ์แล้วกว่า 475 กิโลเมตร พร้อมเดินหน้าก่อสร้างส่วนที่เหลืออีกกว่า 38 กิโลเมตร คาดแล้วเสร็จในปี 2566
วันอังคารที่ 1 มีนาคม 2565
กรมทางหลวงชนบทสร้างถนนเลียบชายฝั่งทะเลภาคใต้เสร็จสมบูรณ์แล้วกว่า 475 กิโลเมตร พร้อมเดินหน้าก่อสร้างส่วนที่เหลืออีกกว่า 38 กิโลเมตร คาดแล้วเสร็จในปี 2566
เพื่อพัฒนาโครงข่ายให้มีความสมบูรณ์ ส่งเสริมเศรษฐกิจการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ตามนโยบายของรัฐมนตรี
กรมทางหลวงชนบท (ทช.) กระทรวงคมนาคม เปิดเผยความคืบหน้าโครงการก่อสร้างถนนเลียบชายฝั่งทะเลภาคใต้ (Thailand Riviera) ซึ่งปัจจุบันได้ดําเนินการก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์แล้ว จํานวน 39 โครงการ และขณะนี้มีโครงการที่จะเตรียมดําเนินการก่อสร้างและอยู่ระหว่างการก่อสร้างอีก จํานวน 4 โครงการ โดยคาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จทั้งหมดในปี 2566
นายอภิรัฐ ไชยวงศ์น้อย อธิบดีกรมทางหลวงชนบท กล่าวว่า ทช. ได้ดําเนินการตามที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบในโครงการพัฒนาการท่องเที่ยวถนนเลียบชายฝั่งทะเลด้านตะวันตกของอ่าวไทยอย่างยั่งยืน ครอบคลุมพื้นที่จังหวัดสมุทรสงคราม เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และระนอง เพื่อพัฒนาโครงข่ายถนนดังกล่าวให้มีความต่อเนื่องให้เป็นถนนท่องเที่ยวชายฝั่งทะเลระดับสากล ส่งเสริมเศรษฐกิจการท่องเที่ยวกระจายรายได้สู่ชุมชมอย่างเป็นรูปธรรม ยกระดับคุณภาพชีวิตให้ประชาชน นักท่องเที่ยวได้รับความสะดวกปลอดภัยในการเดินทาง ตามนโยบายของ นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม โดย ทช. ได้เริ่มดําเนินการก่อสร้างถนนเลียบชายฝั่งทะเลฯ มาตั้งแต่ปี 2552 ถึงปัจจุบัน โดยได้ก่อสร้างไปแล้ว จํานวน 39 โครงการ รวมระยะทาง 475.896 กิโลเมตร และเพื่อให้โครงข่ายถนนเลียบชายฝั่งทะเลภาคใต้มีความสมบูรณ์ต่อเนื่องมากยิ่งขึ้น ในปี 2565 ทช. จึงได้ดําเนินการก่อสร้างอีก จํานวน 4 โครงการ รวมระยะทาง 38.72 กิโลเมตร ดังนี้
- ถนนทางหลวงชนบทสาย ชพ.4019 สายแยกทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4002 (กม. ที่ 13+100) - บ้านแหลมสันติ อําเภอหลังสวน และละแม จังหวัดชุมพร ระยะทาง 19.891 กิโลเมตร ปัจจุบัน มีความก้าวหน้าไปแล้วกว่าร้อยละ 82 คาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จในเดือนมีนาคม 2565 เร็วกว่าแผนที่กําหนดไว้ ใช้งบประมาณในการก่อสร้าง 172.082 ล้านบาท
- ถนนสายเพชรเกษม - สถานีรถไฟทุ่งประดู่ - วัดทับสะแก อําเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ระยะทาง 3.418 กิโลเมตร ปัจจุบันได้เริ่มเข้าพื้นที่ดําเนินการก่อสร้างแล้วเมื่อเดือนธันวาคม 2564 คาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จประมาณช่วงกลางปี 2565 นี้ ใช้งบประมาณในการก่อสร้าง 20.650 ล้านบาท
- ถนนสายบ้านบางคอย - บ้านทุ่งคาน้อย อําเภอเมือง จังหวัดชุมพร ระยะทาง 8.658 กิโลเมตร ปัจจุบันได้เริ่มเข้าพื้นที่ดําเนินการก่อสร้างแล้วเมื่อเดือนมกราคม 2565 คาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จในปี 2565 ใช้งบประมาณในการก่อสร้าง 31.984 ล้านบาท
- ถนนสายแยกทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4002 (กม. ที่ 13+100) - บ้านแหลมสันติ (ตอนที่ 2)
อําเภอหลังสวน และละแม จังหวัดชุมพร ระยะทาง 6.753 กิโลเมตร ซึ่งคาดว่าจะเริ่มเข้าพื้นที่ก่อสร้างได้ประมาณเดือนพฤษภาคม 2565 และคาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จในปี 2566 ใช้งบประมาณในการก่อสร้าง 105.440 ล้านบาท | https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/52059 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงคมนาคม ผนึก 2 พลัง พร้อมเคียงข้าง สร้างสุข ดูแลทุกชีวิตอย่างใส่ใจ ไม่ทอดทิ้งใครไว้ข้างหลัง | วันศุกร์ที่ 24 ธันวาคม 2564
กระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงคมนาคม ผนึก 2 พลัง พร้อมเคียงข้าง สร้างสุข ดูแลทุกชีวิตอย่างใส่ใจ ไม่ทอดทิ้งใครไว้ข้างหลัง
...
นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานร่วมกันในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการจัดสรรเงินเป็นค่าอุปกรณ์ช่วยเหลือผู้พิการ อันเนื่องมาจากการประสบภัยที่เกิดจากการใช้รถใช้ถนนระหว่าง กรมการขนส่งทางบก (ขบ.) โดยนายจิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมการขนส่งทางบก กับสํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข โดยนายแพทย์ธงชัย กีรติหัตถยากร รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข และกรมการแพทย์ โดยนายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ โดยนายชยธรรม์ พรหมศร ปลัดกระทรวงคมนาคม นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคมและประธานกรรมการกองทุนเพื่อความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน ผู้บริหารระดับสูงกระทรวงคมนาคม สํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และกรมการแพทย์ ร่วมเป็นเกียรติในพิธี ในวันที่ 24 ธันวาคม 2564 ณ ห้องประชุมอาคารสโมสรและหอประชุม กระทรวงคมนาคม
นายอนุทิน ชาญวีรกูล กล่าวว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ให้ความสําคัญในการพัฒนาศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ และมีเจตนารมณ์ที่จะสร้างสังคมแห่งโอกาส ที่มีความเสมอภาคและเท่าเทียมกัน “ไม่ทอดทิ้งใครไว้ข้างหลัง” โดยเฉพาะการดูแลคนพิการให้เข้าถึงสิทธิ สวัสดิการ และได้รับการพัฒนาศักยภาพไปพร้อมกัน ด้วยเหตุนี้ กระทรวงสาธารณสุขจึงมียุทธศาสตร์การสร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ําในสังคม โดยการสร้างหลักประกันทางสังคมที่ครอบคลุมและเหมาะสมกับคนทุกช่วงวัย ทุกเพศภาวะและทุกกลุ่ม สร้างสภาพแวดล้อมทางกายภาพและทางสังคมที่เอื้อต่อการดํารงชีวิตและการมีส่วนร่วมเป็นพลังในสังคมสําหรับคนทุกกลุ่ม โดยเฉพาะผู้พิการและผู้สูงวัย พัฒนาระบบบริการสุขภาพ ลดความเหลื่อมล้ําของคุณภาพการบริการในแต่ละระบบ เพื่อให้คนพิการสามารถเข้าถึงหน่วยบริการสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึง รวดเร็ว และได้รับบริการอย่างมีคุณภาพ โดยในการดําเนินงานตามยุทธศาสตร์ให้ประสบความสําเร็จ จะต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ในโอกาสนี้จึงได้ร่วมมือกับกระทรวงคมนาคม สนับสนุนอุปกรณ์ช่วยเหลือแก่ผู้พิการ เพื่อให้ผู้พิการสามารถดํารงชีวิตประจําวันและประกอบอาชีพได้ใกล้เคียงกับบุคคลทั่วไป
นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ กล่าวว่า กระทรวงคมนาคมได้สนองนโยบายของรัฐบาล โดยให้ความสําคัญอย่างยิ่งกับการวางแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทยทั้งในปัจจุบันและอนาคตให้สามารถรองรับผู้ใช้งานได้ทุกกลุ่มตามหลัก Universal Design โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มผู้พิการและผู้สูงอายุ เพื่อให้สามารถใช้บริการขนส่งสาธารณะและขนส่งมวลชนได้อย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกัน สะดวกปลอดภัย ทั่วถึง และเพียงพอ นอกจากนี้ กระทรวงคมนาคมยังแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ด้วยความมุ่งมั่นที่จะยกระดับและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้พิการให้สามารถช่วยเหลือตนเอง และดํารงชีวิตได้ใกล้เคียงกับบุคคลปกติมากที่สุด โดยได้ยกระดับมาตรฐานในการจัดหาอุปกรณ์ช่วยเหลือผู้พิการ อุปกรณ์ทุกชิ้นจะต้องผ่านการตรวจประเมินจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้มีคุณภาพและจัดสรรได้เหมาะสมกับผู้พิการมากที่สุด ทั้งนี้ ได้ให้กรมการขนส่งทางบกจัดสรรเงินจากกองทุนความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน (กปถ.) เพื่อเป็นค่าอุปกรณ์ช่วยเหลือผู้พิการที่ประสบภัยจากการใช้รถใช้ถนน มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 จนถึงปัจจุบัน รวมทั้งสิ้น 15,735 ราย เป็นเงินกว่า 1,148 ล้านบาท สําหรับในปีงบประมาณ 2565 นี้ กปถ. ได้อนุมัติจัดสรรเงินเป็นค่าอุปกรณ์ช่วยเหลือผู้พิการก้อนแรก เป็นเงิน 220 ล้านบาท เพื่อมอบเป็นของขวัญให้แก่ผู้พิการเนื่องในโอกาสขึ้นปีใหม่ พ.ศ. 2565 และจะดําเนินการจัดสรรเงินเป็นค่าอุปกรณ์ช่วยเหลือผู้พิการต่อไปอย่างต่อเนื่องทุกปี
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้กล่าวชื่นชมและส่งกําลังใจให้กรมการขนส่งทางบก กปถ. สํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และกรมการแพทย์ รวมถึงผู้ปฏิบัติงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องในทุกภาคส่วน ที่ได้ทุ่มเทแรงกายแรงใจผนึกกําลังร่วมมือกัน “ดูแลผู้พิการ ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น” และอวยพรให้การดําเนินโครงการนี้ประสบความสําเร็จ ลุล่วงตามเป้าหมายตลอดไป | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงคมนาคม ผนึก 2 พลัง พร้อมเคียงข้าง สร้างสุข ดูแลทุกชีวิตอย่างใส่ใจ ไม่ทอดทิ้งใครไว้ข้างหลัง
วันศุกร์ที่ 24 ธันวาคม 2564
กระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงคมนาคม ผนึก 2 พลัง พร้อมเคียงข้าง สร้างสุข ดูแลทุกชีวิตอย่างใส่ใจ ไม่ทอดทิ้งใครไว้ข้างหลัง
...
นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานร่วมกันในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการจัดสรรเงินเป็นค่าอุปกรณ์ช่วยเหลือผู้พิการ อันเนื่องมาจากการประสบภัยที่เกิดจากการใช้รถใช้ถนนระหว่าง กรมการขนส่งทางบก (ขบ.) โดยนายจิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมการขนส่งทางบก กับสํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข โดยนายแพทย์ธงชัย กีรติหัตถยากร รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข และกรมการแพทย์ โดยนายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ โดยนายชยธรรม์ พรหมศร ปลัดกระทรวงคมนาคม นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคมและประธานกรรมการกองทุนเพื่อความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน ผู้บริหารระดับสูงกระทรวงคมนาคม สํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และกรมการแพทย์ ร่วมเป็นเกียรติในพิธี ในวันที่ 24 ธันวาคม 2564 ณ ห้องประชุมอาคารสโมสรและหอประชุม กระทรวงคมนาคม
นายอนุทิน ชาญวีรกูล กล่าวว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ให้ความสําคัญในการพัฒนาศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ และมีเจตนารมณ์ที่จะสร้างสังคมแห่งโอกาส ที่มีความเสมอภาคและเท่าเทียมกัน “ไม่ทอดทิ้งใครไว้ข้างหลัง” โดยเฉพาะการดูแลคนพิการให้เข้าถึงสิทธิ สวัสดิการ และได้รับการพัฒนาศักยภาพไปพร้อมกัน ด้วยเหตุนี้ กระทรวงสาธารณสุขจึงมียุทธศาสตร์การสร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ําในสังคม โดยการสร้างหลักประกันทางสังคมที่ครอบคลุมและเหมาะสมกับคนทุกช่วงวัย ทุกเพศภาวะและทุกกลุ่ม สร้างสภาพแวดล้อมทางกายภาพและทางสังคมที่เอื้อต่อการดํารงชีวิตและการมีส่วนร่วมเป็นพลังในสังคมสําหรับคนทุกกลุ่ม โดยเฉพาะผู้พิการและผู้สูงวัย พัฒนาระบบบริการสุขภาพ ลดความเหลื่อมล้ําของคุณภาพการบริการในแต่ละระบบ เพื่อให้คนพิการสามารถเข้าถึงหน่วยบริการสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึง รวดเร็ว และได้รับบริการอย่างมีคุณภาพ โดยในการดําเนินงานตามยุทธศาสตร์ให้ประสบความสําเร็จ จะต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ในโอกาสนี้จึงได้ร่วมมือกับกระทรวงคมนาคม สนับสนุนอุปกรณ์ช่วยเหลือแก่ผู้พิการ เพื่อให้ผู้พิการสามารถดํารงชีวิตประจําวันและประกอบอาชีพได้ใกล้เคียงกับบุคคลทั่วไป
นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ กล่าวว่า กระทรวงคมนาคมได้สนองนโยบายของรัฐบาล โดยให้ความสําคัญอย่างยิ่งกับการวางแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทยทั้งในปัจจุบันและอนาคตให้สามารถรองรับผู้ใช้งานได้ทุกกลุ่มตามหลัก Universal Design โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มผู้พิการและผู้สูงอายุ เพื่อให้สามารถใช้บริการขนส่งสาธารณะและขนส่งมวลชนได้อย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกัน สะดวกปลอดภัย ทั่วถึง และเพียงพอ นอกจากนี้ กระทรวงคมนาคมยังแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ด้วยความมุ่งมั่นที่จะยกระดับและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้พิการให้สามารถช่วยเหลือตนเอง และดํารงชีวิตได้ใกล้เคียงกับบุคคลปกติมากที่สุด โดยได้ยกระดับมาตรฐานในการจัดหาอุปกรณ์ช่วยเหลือผู้พิการ อุปกรณ์ทุกชิ้นจะต้องผ่านการตรวจประเมินจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้มีคุณภาพและจัดสรรได้เหมาะสมกับผู้พิการมากที่สุด ทั้งนี้ ได้ให้กรมการขนส่งทางบกจัดสรรเงินจากกองทุนความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน (กปถ.) เพื่อเป็นค่าอุปกรณ์ช่วยเหลือผู้พิการที่ประสบภัยจากการใช้รถใช้ถนน มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 จนถึงปัจจุบัน รวมทั้งสิ้น 15,735 ราย เป็นเงินกว่า 1,148 ล้านบาท สําหรับในปีงบประมาณ 2565 นี้ กปถ. ได้อนุมัติจัดสรรเงินเป็นค่าอุปกรณ์ช่วยเหลือผู้พิการก้อนแรก เป็นเงิน 220 ล้านบาท เพื่อมอบเป็นของขวัญให้แก่ผู้พิการเนื่องในโอกาสขึ้นปีใหม่ พ.ศ. 2565 และจะดําเนินการจัดสรรเงินเป็นค่าอุปกรณ์ช่วยเหลือผู้พิการต่อไปอย่างต่อเนื่องทุกปี
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้กล่าวชื่นชมและส่งกําลังใจให้กรมการขนส่งทางบก กปถ. สํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และกรมการแพทย์ รวมถึงผู้ปฏิบัติงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องในทุกภาคส่วน ที่ได้ทุ่มเทแรงกายแรงใจผนึกกําลังร่วมมือกัน “ดูแลผู้พิการ ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น” และอวยพรให้การดําเนินโครงการนี้ประสบความสําเร็จ ลุล่วงตามเป้าหมายตลอดไป | https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/49859 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-พม.เดินหน้าจัดตั้งสถาบันเพาะกล้าคุณธรรม เพื่อขยายพื้นที่การศึกษาแก่เด็กกลุ่มเปราะบางใน จ.พิษณุโลกและกำแพงเพชร | วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม 2565
พม.เดินหน้าจัดตั้งสถาบันเพาะกล้าคุณธรรม เพื่อขยายพื้นที่การศึกษาแก่เด็กกลุ่มเปราะบางใน จ.พิษณุโลกและกําแพงเพชร
พม.เดินหน้าจัดตั้งสถาบันเพาะกล้าคุณธรรม เพื่อขยายพื้นที่การศึกษาแก่เด็กกลุ่มเปราะบางใน จ.พิษณุโลกและกําแพงเพชร
วันนี้ (21 ส.ค. 65) เวลา 09.29 นางพัชรี อาระยะกุล ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (ปลัด พม.) เป็นประธานในพิธีบวงสรวงพระประชาบดี โดยมีคณะผู้บริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่กระทรวง พม. ในพื้นที่เข้าร่วมพิธี ณ สถาบันเพาะกล้าคุณธรรม จังหวัดพิษณุโลก จากนั้น เดินทางไปตรวจเยี่ยมพื้นที่การจัดตั้งสถาบันเพาะกล้าคุณธรรม จังหวัดกําแพงเพชร พร้อมทั้งร่วมประชุมหน่วยงาน ทีม One Home พม. จังหวัดกําแพงเพชร เพื่อขับเคลื่อนงานพัฒนาคุณภาพชีวิตกลุ่มเปราะบางในพื้นที่ตามภารกิจกระทรวง พม.
นางพัชรี กล่าวว่า สถาบันเพาะกล้าคุณธรรมเป็นหน่วยงานสังกัดกระทรวง พม. ที่เราได้ให้ความสําคัญ โดยเรามีสถาบันเพาะกล้าคุณธรรมแห่งแรกที่จังหวัดกาญจนบุรีและแห่งที่สองที่จังหวัดพิษณุโลก เพื่อจะได้ดูแลกลุ่มเด็ก เยาวชนเปราะบาง ที่หลุดจากระบบการศึกษา หรืออาศัยในครอบครัวยากจน ลําบาก กําพร้า ถูกทอดทิ้ง แต่มีความใส่ใจในการศึกษา มีความประพฤติดีและอาจจะไม่มีทุนการศึกษา โดยกระทรวง พม. จะให้ความอุปการะและส่งเสริมการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาและอาชีวะศึกษา พร้อมทั้งให้ที่อยู่ที่พักและอาหาร โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด นอกจากนี้ เรายังจะมีการเสริมทักษะในการใช้ชีวิตเบื้องต้นและทักษะในการประกอบอาชีพไปพร้อมๆ กัน และสิ่งที่สําคัญคือเรื่องของการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม เพื่อให้เด็ก เยาวชนเป็นต้นกล้าคุณธรรมที่เป็นคนดีและเป็นอนาคตสําคัญของประเทศชาติต่อไป
นางพัชรี กล่าวเพิ่มเติมว่า นอกจากนี้ ยังได้ลงพื้นที่จังหวัดกําแพงเพชรเพื่อตรวจเยี่ยมการเตรียมพื้นที่สําหรับการจัดตั้งสถาบันเพาะกล้าคุณธรรม จังหวัดกําแพงเพชร ซึ่งจะเป็นแห่งที่ 3 เพื่อรองรับเด็ก เยาวชนกลุ่มเปราะบางที่ด้อยโอกาสให้สามารถเข้าถึงการศึกษา อีกทั้งได้มีที่อยู่ที่พักและอาหารที่ไม่มีค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด ซึ่งจะทําให้เด็ก เยาวชนดังกล่าวมีความรู้คู่คุณธรรม นําไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างมั่นคง | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-พม.เดินหน้าจัดตั้งสถาบันเพาะกล้าคุณธรรม เพื่อขยายพื้นที่การศึกษาแก่เด็กกลุ่มเปราะบางใน จ.พิษณุโลกและกำแพงเพชร
วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม 2565
พม.เดินหน้าจัดตั้งสถาบันเพาะกล้าคุณธรรม เพื่อขยายพื้นที่การศึกษาแก่เด็กกลุ่มเปราะบางใน จ.พิษณุโลกและกําแพงเพชร
พม.เดินหน้าจัดตั้งสถาบันเพาะกล้าคุณธรรม เพื่อขยายพื้นที่การศึกษาแก่เด็กกลุ่มเปราะบางใน จ.พิษณุโลกและกําแพงเพชร
วันนี้ (21 ส.ค. 65) เวลา 09.29 นางพัชรี อาระยะกุล ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (ปลัด พม.) เป็นประธานในพิธีบวงสรวงพระประชาบดี โดยมีคณะผู้บริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่กระทรวง พม. ในพื้นที่เข้าร่วมพิธี ณ สถาบันเพาะกล้าคุณธรรม จังหวัดพิษณุโลก จากนั้น เดินทางไปตรวจเยี่ยมพื้นที่การจัดตั้งสถาบันเพาะกล้าคุณธรรม จังหวัดกําแพงเพชร พร้อมทั้งร่วมประชุมหน่วยงาน ทีม One Home พม. จังหวัดกําแพงเพชร เพื่อขับเคลื่อนงานพัฒนาคุณภาพชีวิตกลุ่มเปราะบางในพื้นที่ตามภารกิจกระทรวง พม.
นางพัชรี กล่าวว่า สถาบันเพาะกล้าคุณธรรมเป็นหน่วยงานสังกัดกระทรวง พม. ที่เราได้ให้ความสําคัญ โดยเรามีสถาบันเพาะกล้าคุณธรรมแห่งแรกที่จังหวัดกาญจนบุรีและแห่งที่สองที่จังหวัดพิษณุโลก เพื่อจะได้ดูแลกลุ่มเด็ก เยาวชนเปราะบาง ที่หลุดจากระบบการศึกษา หรืออาศัยในครอบครัวยากจน ลําบาก กําพร้า ถูกทอดทิ้ง แต่มีความใส่ใจในการศึกษา มีความประพฤติดีและอาจจะไม่มีทุนการศึกษา โดยกระทรวง พม. จะให้ความอุปการะและส่งเสริมการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาและอาชีวะศึกษา พร้อมทั้งให้ที่อยู่ที่พักและอาหาร โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด นอกจากนี้ เรายังจะมีการเสริมทักษะในการใช้ชีวิตเบื้องต้นและทักษะในการประกอบอาชีพไปพร้อมๆ กัน และสิ่งที่สําคัญคือเรื่องของการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม เพื่อให้เด็ก เยาวชนเป็นต้นกล้าคุณธรรมที่เป็นคนดีและเป็นอนาคตสําคัญของประเทศชาติต่อไป
นางพัชรี กล่าวเพิ่มเติมว่า นอกจากนี้ ยังได้ลงพื้นที่จังหวัดกําแพงเพชรเพื่อตรวจเยี่ยมการเตรียมพื้นที่สําหรับการจัดตั้งสถาบันเพาะกล้าคุณธรรม จังหวัดกําแพงเพชร ซึ่งจะเป็นแห่งที่ 3 เพื่อรองรับเด็ก เยาวชนกลุ่มเปราะบางที่ด้อยโอกาสให้สามารถเข้าถึงการศึกษา อีกทั้งได้มีที่อยู่ที่พักและอาหารที่ไม่มีค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด ซึ่งจะทําให้เด็ก เยาวชนดังกล่าวมีความรู้คู่คุณธรรม นําไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างมั่นคง | https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/58305 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รฟท. จับมือภาคเอกชน จัดเดินขบวนรถสินค้าคอนเทนเนอร์บรรทุกเกลือ | วันศุกร์ที่ 10 มิถุนายน 2565
รฟท. จับมือภาคเอกชน จัดเดินขบวนรถสินค้าคอนเทนเนอร์บรรทุกเกลือ
ระหว่างสถานีมาบตาพุด - ชุมทางบัวใหญ่ เพิ่มขีดความสามารถในการขนส่งสินค้าภายในประเทศ
วันนี้ (10 มิถุนายน 2565 เวลา 10.30 น.) นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กระทรวงคมนาคม เป็นประธานในพิธีเปิดเดินขบวนรถสินค้าคอนเทนเนอร์บรรทุกเกลือ ระหว่างสถานีมาบตาพุด - ชุมทางบัวใหญ่ ระหว่าง รฟท. กับ บริษัท เอ็น. อี. (1992) จํากัด ณ สถานีมาบตาพุด อําเภอเมือง จังหวัดระยอง เพื่อเป็นการสนับสนุนการขนส่งสินค้าจากแหล่งวัตถุดิบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือโดยเส้นทางรถไฟเชื่อมโยงไปยังโรงงานผลิตในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด เพิ่มขีดความสามารถในการรองรับปริมาณการขนส่งสินค้า สอดรับกับแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศ
นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่ารฟท. เปิดเผยว่า ปัจจุบันรัฐบาลได้ส่งเสริมและสนับสนุนการลงทุนพัฒนาระบบรางให้เป็นหนึ่งในโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งของประเทศ อาทิ รถไฟทางคู่ ช่วงฉะเชิงเทรา - คลองสิบเก้า - แก่งคอย โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงมาบกะเบา - ชุมทางถนนจิระ และชุมทางถนนจิระ - ขอนแก่น เพื่อขนส่งสินค้าระหว่างภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กับภาคตะวันออก และท่าเรือแหลมฉบัง การใช้หัวรถจักรดีเซลไฟฟ้า น้ําหนักกดเพลา 20 ตัน ที่สามารถลากจูงได้สูงสุด 2,500 ตันต่อขบวน พร้อมแคร่บรรทุกตู้สินค้าที่สามารถเพิ่มปริมาณการขนส่ง รวมถึงการให้ความสําคัญต่อการเชื่อมโยงในการพัฒนาสิ่งอํานวยความสะดวกและศูนย์บริการโลจิสติกส์ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อรองรับการเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งสินค้า หรือการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ อาทิ ศูนย์รวบรวมและกระจายสินค้า สถานีขนส่งสินค้า รวมทั้งการจัดหาอุปกรณ์การยกขนตู้สินค้าทางรถไฟ ในแนวเส้นทางยุทธศาสตร์ที่สามารถเชื่อมโยงกับฐานการผลิตอุตสาหกรรมและเกษตรกรรมของประเทศ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของธุรกิจในการตอบสนองความต้องการของลูกค้า เนื่องจากการขนส่งสินค้าทางรางถือเป็นระบบโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพ ต้นทุนต่ํา ประหยัดพลังงาน ปลอดภัยและมีความคุ้มค่า สามารถขนส่งได้ครั้งละจํานวนมากกว่าทางถนนหลายเท่าตัว อีกทั้งยังเป็นช่องทางในการช่วยเพิ่มรายได้แก่รฟท. อีกทางหนึ่งด้วย
สําหรับความร่วมมือการเปิดเดินขบวนรถสินค้าคอนเทนเนอร์ บรรทุกเกลือ ระหว่างสถานีมาบตาพุด - ชุมทางบัวใหญ่ กับ บริษัท เอ็น. อี. (1992) จํากัด ในวันนี้จึงนับได้ว่าเป็นอีกหนึ่งความร่วมมือที่มีส่วนสําคัญที่รฟท. ให้การสนับสนุนการขนส่งสินค้าทางรถไฟจากแหล่งวัตถุดิบในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา ส่งต่อไปยังโรงงานนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ภายใต้กรอบระยะเวลา 1 ปี โดยขนส่งสินค้าจากศูนย์กองเก็บตู้คอนเทนเนอร์ (Container Yard) ที่สถานีชุมทางบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา ไปยังสถานีรถไฟมาบตาพุด จังหวัดระยอง ด้วยตู้คอนเทนเนอร์วางบนแคร่ จํานวน 25 แคร่ ความยาว 50 ตู้ บรรทุกน้ําหนัก 62 ตัน/เที่ยว อัตราค่าขนส่งแบบเหมาขบวนรถไปกลับเที่ยวละ 250,000.- บาท ปริมาณการขนส่งในแต่ละเดือน 15 ขบวน รวม 144 ขบวน คิดเป็นมูลค่าการขนส่งรวม 36 ล้านบาท ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้วางแผนที่จะพัฒนาความร่วมมือกับรฟท. ในระยะยาว โดยการลงทุนจัดหาตู้สินค้าเพื่อใช้ในการขนส่งสินค้าทางรถไฟโดยเฉพาะ เนื่องจากการขนส่งทางรถไฟสามารถอํานวยความสะดวกทั้งในด้านปริมาณการขนส่งและช่วยลดระยะเวลาการเดินทาง รวมทั้งช่วยประหยัดต้นทุนการขนส่งได้เป็นอย่างดี
รฟท. เชื่อมั่นว่า การขนส่งสินค้าทางรางมีโอกาสขยายตัวได้มากในอนาคต โดยมีปัจจัยสนับสนุน เช่น ราคาน้ํามันเชื้อเพลิงที่ปรับตัวสูง ทําให้ต้นทุนค่าขนส่งทางถนนเพิ่ม การขนส่งทางรางจึงเป็นทางเลือกที่ช่วยลดต้นทุนค่าขนส่งได้ ประกอบกับรัฐบาล กระทรวงคมนาคม และรฟท. มีการลงทุนโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ เส้นทางรถไฟสายใหม่ รวมถึงมีการจัดหาหัวรถจักรรุ่นใหม่ ซึ่งจะเชื่อมโยงเครือข่ายการขนส่งให้กว้างขึ้น ทําให้บริษัทขนส่งต่าง ๆ มีความเชื่อมั่นต่อการขนส่งสินค้าทางราง เห็นได้จากมีลูกค้าสนใจติดต่อเข้ามาเปลี่ยนโหมดมาใช้บริการขนส่งทางรถไฟอย่างต่อเนื่อง”
อย่างไรก็ตาม เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขัน โดยมีเป้าหมายในการยกระดับศักยภาพการขนส่งทางรถไฟได้อย่างมีประสิทธิภาพ รฟท. ได้มีการพัฒนาพื้นที่ย่านสถานีหนองคาย และ CY สถานีนาทา รวมถึงการเพิ่มขบวนรถสินค้า ทั้งรถจักร และรถพ่วง เพื่อรองรับการขนส่งสินค้าให้สอดรับกับยุทธศาสตร์การพัฒนาโลจิสติกส์ของประเทศ ในการสนับสนุนให้ไทยเป็นศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งของกลุ่มอนุภูมิภาคลุ่มน้ําโขง ตลอดจนรองรับปริมาณการขนส่งสินค้าข้ามแดนไทย-สปป.ลาว ที่มีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะหลังการเปิดให้บริการรถไฟความเร็วสูง สปป.ลาว-จีน
ท้ายนี้รฟท. มีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาโครงข่ายและเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งทางราง เพื่อเชื่อมโยงการคมนาคมขนส่งผู้โดยสารและสินค้าอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งเปิดให้บริการขนส่งสินค้าหลายประเภทในหลายเส้นทาง ทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ เพื่อเป็นทางเลือกในการแก้ไขปัญหาจราจร การประหยัดเชื้อเพลิง การลดมลพิษ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งของไทย ซึ่งจะเป็นกลไกสําคัญในการช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจในภูมิภาคให้เติบโต ตลอดจนสามารถขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การบริการของภาคคมนาคมขนส่งของกระทรวงคมนาคม ในการขนส่งเสริมขนส่งทางสินค้าทั้งภายในและระหว่างประเทศผ่านระบบราง ให้สามารถแข่งขันทัดเทียมกับอาณาประเทศ และก้าวไปสู่การเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของภูมิภาคอาเซียน | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รฟท. จับมือภาคเอกชน จัดเดินขบวนรถสินค้าคอนเทนเนอร์บรรทุกเกลือ
วันศุกร์ที่ 10 มิถุนายน 2565
รฟท. จับมือภาคเอกชน จัดเดินขบวนรถสินค้าคอนเทนเนอร์บรรทุกเกลือ
ระหว่างสถานีมาบตาพุด - ชุมทางบัวใหญ่ เพิ่มขีดความสามารถในการขนส่งสินค้าภายในประเทศ
วันนี้ (10 มิถุนายน 2565 เวลา 10.30 น.) นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กระทรวงคมนาคม เป็นประธานในพิธีเปิดเดินขบวนรถสินค้าคอนเทนเนอร์บรรทุกเกลือ ระหว่างสถานีมาบตาพุด - ชุมทางบัวใหญ่ ระหว่าง รฟท. กับ บริษัท เอ็น. อี. (1992) จํากัด ณ สถานีมาบตาพุด อําเภอเมือง จังหวัดระยอง เพื่อเป็นการสนับสนุนการขนส่งสินค้าจากแหล่งวัตถุดิบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือโดยเส้นทางรถไฟเชื่อมโยงไปยังโรงงานผลิตในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด เพิ่มขีดความสามารถในการรองรับปริมาณการขนส่งสินค้า สอดรับกับแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศ
นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่ารฟท. เปิดเผยว่า ปัจจุบันรัฐบาลได้ส่งเสริมและสนับสนุนการลงทุนพัฒนาระบบรางให้เป็นหนึ่งในโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งของประเทศ อาทิ รถไฟทางคู่ ช่วงฉะเชิงเทรา - คลองสิบเก้า - แก่งคอย โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงมาบกะเบา - ชุมทางถนนจิระ และชุมทางถนนจิระ - ขอนแก่น เพื่อขนส่งสินค้าระหว่างภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กับภาคตะวันออก และท่าเรือแหลมฉบัง การใช้หัวรถจักรดีเซลไฟฟ้า น้ําหนักกดเพลา 20 ตัน ที่สามารถลากจูงได้สูงสุด 2,500 ตันต่อขบวน พร้อมแคร่บรรทุกตู้สินค้าที่สามารถเพิ่มปริมาณการขนส่ง รวมถึงการให้ความสําคัญต่อการเชื่อมโยงในการพัฒนาสิ่งอํานวยความสะดวกและศูนย์บริการโลจิสติกส์ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อรองรับการเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งสินค้า หรือการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ อาทิ ศูนย์รวบรวมและกระจายสินค้า สถานีขนส่งสินค้า รวมทั้งการจัดหาอุปกรณ์การยกขนตู้สินค้าทางรถไฟ ในแนวเส้นทางยุทธศาสตร์ที่สามารถเชื่อมโยงกับฐานการผลิตอุตสาหกรรมและเกษตรกรรมของประเทศ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของธุรกิจในการตอบสนองความต้องการของลูกค้า เนื่องจากการขนส่งสินค้าทางรางถือเป็นระบบโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพ ต้นทุนต่ํา ประหยัดพลังงาน ปลอดภัยและมีความคุ้มค่า สามารถขนส่งได้ครั้งละจํานวนมากกว่าทางถนนหลายเท่าตัว อีกทั้งยังเป็นช่องทางในการช่วยเพิ่มรายได้แก่รฟท. อีกทางหนึ่งด้วย
สําหรับความร่วมมือการเปิดเดินขบวนรถสินค้าคอนเทนเนอร์ บรรทุกเกลือ ระหว่างสถานีมาบตาพุด - ชุมทางบัวใหญ่ กับ บริษัท เอ็น. อี. (1992) จํากัด ในวันนี้จึงนับได้ว่าเป็นอีกหนึ่งความร่วมมือที่มีส่วนสําคัญที่รฟท. ให้การสนับสนุนการขนส่งสินค้าทางรถไฟจากแหล่งวัตถุดิบในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา ส่งต่อไปยังโรงงานนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ภายใต้กรอบระยะเวลา 1 ปี โดยขนส่งสินค้าจากศูนย์กองเก็บตู้คอนเทนเนอร์ (Container Yard) ที่สถานีชุมทางบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา ไปยังสถานีรถไฟมาบตาพุด จังหวัดระยอง ด้วยตู้คอนเทนเนอร์วางบนแคร่ จํานวน 25 แคร่ ความยาว 50 ตู้ บรรทุกน้ําหนัก 62 ตัน/เที่ยว อัตราค่าขนส่งแบบเหมาขบวนรถไปกลับเที่ยวละ 250,000.- บาท ปริมาณการขนส่งในแต่ละเดือน 15 ขบวน รวม 144 ขบวน คิดเป็นมูลค่าการขนส่งรวม 36 ล้านบาท ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้วางแผนที่จะพัฒนาความร่วมมือกับรฟท. ในระยะยาว โดยการลงทุนจัดหาตู้สินค้าเพื่อใช้ในการขนส่งสินค้าทางรถไฟโดยเฉพาะ เนื่องจากการขนส่งทางรถไฟสามารถอํานวยความสะดวกทั้งในด้านปริมาณการขนส่งและช่วยลดระยะเวลาการเดินทาง รวมทั้งช่วยประหยัดต้นทุนการขนส่งได้เป็นอย่างดี
รฟท. เชื่อมั่นว่า การขนส่งสินค้าทางรางมีโอกาสขยายตัวได้มากในอนาคต โดยมีปัจจัยสนับสนุน เช่น ราคาน้ํามันเชื้อเพลิงที่ปรับตัวสูง ทําให้ต้นทุนค่าขนส่งทางถนนเพิ่ม การขนส่งทางรางจึงเป็นทางเลือกที่ช่วยลดต้นทุนค่าขนส่งได้ ประกอบกับรัฐบาล กระทรวงคมนาคม และรฟท. มีการลงทุนโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ เส้นทางรถไฟสายใหม่ รวมถึงมีการจัดหาหัวรถจักรรุ่นใหม่ ซึ่งจะเชื่อมโยงเครือข่ายการขนส่งให้กว้างขึ้น ทําให้บริษัทขนส่งต่าง ๆ มีความเชื่อมั่นต่อการขนส่งสินค้าทางราง เห็นได้จากมีลูกค้าสนใจติดต่อเข้ามาเปลี่ยนโหมดมาใช้บริการขนส่งทางรถไฟอย่างต่อเนื่อง”
อย่างไรก็ตาม เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขัน โดยมีเป้าหมายในการยกระดับศักยภาพการขนส่งทางรถไฟได้อย่างมีประสิทธิภาพ รฟท. ได้มีการพัฒนาพื้นที่ย่านสถานีหนองคาย และ CY สถานีนาทา รวมถึงการเพิ่มขบวนรถสินค้า ทั้งรถจักร และรถพ่วง เพื่อรองรับการขนส่งสินค้าให้สอดรับกับยุทธศาสตร์การพัฒนาโลจิสติกส์ของประเทศ ในการสนับสนุนให้ไทยเป็นศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งของกลุ่มอนุภูมิภาคลุ่มน้ําโขง ตลอดจนรองรับปริมาณการขนส่งสินค้าข้ามแดนไทย-สปป.ลาว ที่มีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะหลังการเปิดให้บริการรถไฟความเร็วสูง สปป.ลาว-จีน
ท้ายนี้รฟท. มีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาโครงข่ายและเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งทางราง เพื่อเชื่อมโยงการคมนาคมขนส่งผู้โดยสารและสินค้าอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งเปิดให้บริการขนส่งสินค้าหลายประเภทในหลายเส้นทาง ทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ เพื่อเป็นทางเลือกในการแก้ไขปัญหาจราจร การประหยัดเชื้อเพลิง การลดมลพิษ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งของไทย ซึ่งจะเป็นกลไกสําคัญในการช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจในภูมิภาคให้เติบโต ตลอดจนสามารถขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การบริการของภาคคมนาคมขนส่งของกระทรวงคมนาคม ในการขนส่งเสริมขนส่งทางสินค้าทั้งภายในและระหว่างประเทศผ่านระบบราง ให้สามารถแข่งขันทัดเทียมกับอาณาประเทศ และก้าวไปสู่การเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของภูมิภาคอาเซียน | https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/55591 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-จุรินทร์ เปิดใหญ่ "ตลาดต้องชม ตลาดกลางพลอยนานาชาติ จันทบุรี" บุกตลาดโลก นำรายได้เข้าประเทศ พร้อมเผยเป้าปี 65 ทำอัญมณีให้ได้ 233,711 ล้านบาท ส่วนผลไม้ให้ได้ 191,000 ล้านบาท | วันจันทร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ 2565
จุรินทร์ เปิดใหญ่ "ตลาดต้องชม ตลาดกลางพลอยนานาชาติ จันทบุรี" บุกตลาดโลก นํารายได้เข้าประเทศ พร้อมเผยเป้าปี 65 ทําอัญมณีให้ได้ 233,711 ล้านบาท ส่วนผลไม้ให้ได้ 191,000 ล้านบาท
ส่วนผลไม้ให้ได้ 191,000 ล้านบาท สั่งพาณิชย์ลุย! วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2565 นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานเปิดตลาดกลางพลอยนานาชาติจันทบุรี
ในงานเทศกาลนานาชาติพลอยและเครื่องประดับจันทบุรี 2021 - 2022 พร้อมด้วย นายสุธี ทองแย้ม ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี นางมัลลิกา บุญมีตระกูล มหาสุข ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายบุณย์ธีร์ พานิชประไพ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายอุดม ศรีสมทรง รองอธิบดีกรมการค้าภายใน นายสุเมธ ประสงค์พงษ์ชัย ผู้อํานวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) นายชายพงษ์ นิยมกิจ ประธานหอการค้าจังหวัดจันทบุรี นายยุคล ชนะวัฒน์ปัญญา อดีต ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์จังหวัดจันทบุรี เขต 3 นายอิทธิพล จังศิริมงคล ผู้สมัคร ส.ส.จังหวัดจันทบุรี เขต1 และนายชรัตน์ เนรัญชร ผู้สมัคร ส.ส.จังหวัดจันทบุรี เขต 2 ที่ตลาดกลางพลอย ถนนศรีจันทร์ ตําบลวัดใหม่ อําเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี และผู้ประกอบการอัญมณี
นายจุรินทร์ กล่าวว่า รู้สึกอบอุ่นมากที่ได้พบพวกเราที่นี่ ทุกครั้งที่มาได้รับการตอบต้อนรับอย่างดียิ่งไม่เปลี่ยนแปลง แม้สถานการณ์ปัจจุบันหลายท่านพยายามที่จะดูแลตนเอง ทั้งเรื่องโควิด และเศรษฐกิจ ในส่วนของ ฝรัฐบาลไม่นิ่งนอนใจ ที่ผ่านมาพยายามกําหนดมาตรการดูแลพี่น้องประชาชนคนไทยทั่วทั้งประเทศ รวมถึงชาวจันทบุรีด้วย ประเด็นสําคัญจะสร้างสมดุลอย่างไรระหว่างโควิดกับเศรษฐกิจ ต้องไปด้วยกัน ต้องถือว่ารัฐบาลสามารถพาประเทศฝันฝ่ามาได้ในระดับหนึ่งขณะนี้ถือว่าเราเดินมาในทิศทางที่ถูกต้อง โควิดอยู่ในระดับที่ควบคุมได้แม้ยังไม่หมดไป และเศรษฐกิจเริ่มเดินไปได้อย่างน้อยในความรับผิดชอบของตน แม้เจอพิษโควิดหนักหน่วงแต่ปีที่แล้ว 2564 ทั้งปี แต่การส่งออกขยายตัวสูงมาก ถึง 17.1% ทําเงินเข้าประเทศ 8.5 ล้านล้านบาท และปี 65 ยังมั่นใจว่าการส่งออกก็ยังทําตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจสําคัญขณะเดียวกันการค้าชายแดนก็มีความสําคัญจันทบุรีแม้ไม่ได้อยู่ชายแดน แต่ใกล้ชายแดนการค้าชายแดนข้ามไปกัมพูชาก็ช่วยกระจายมาถึงจันทบุรีได้เช่นเดียวกัน ส่วนการค้าใช้แดนปีที่ผ่านมาทําเงินเข้าประเทศได้ถึง 1,010,000 ล้านบาท เป็นบวกถึง 36.4% และจันทบุรีก็เป็นพระเอกในการทําเงินเข้าประเทศจากศักยภาพของพี่น้องชาวจันทบุรี โดยเฉพาะผลไม้
นายจุรินทร์ กล่าวว่า ด้วยว่าปีที่แล้ว 2564 ทั้งปีผลไม้ทั้งหมดสามารถทําเงินเข้าประเทศได้ถึง 150,000 ล้านบาท เป็นทุเรียน 110,000 ล้านบาท และส่วนใหญ่มาจากจันทบุรี ขอขอบคุณเกษตรกร พี่น้องชาวจันทบุรี แต่จันทบุรีไม่ได้มีเพียงผลไม้ยังมีอาชีพสําคัญ คือ พลอย ที่เป็นที่รู้จักไปทั่วโลก ที่ผ่านมาเพราะซบเซาเพราะพิษเศรษฐกิจและโควิด แต่ด้วยนโยบายที่ถูกทิศทางของรัฐบาลและกระทรวงพาณิชย์ ตนมั่นใจว่าจะกระเตื้องขึ้น
" ผมมาวันนี้เพราะให้สัญญากับพี่น้องไว้ตอนมาเยี่ยมเมื่อปีที่แล้วว่าชุมชนตลาดพลอย ซึ่งประกอบด้วยคนไทยเชื้อสายจีน เวียดนามและคนไทยดั้งเดิม 3 กลุ่ม ร่วมกันพัฒนาศักยภาพจนที่นี่กลายเป็นจุดศูนย์รวมพลอยของโลกแห่งหนึ่ง เราต้องกลับมาฟื้น สิ่งที่จะทําได้ภายในสถานการณ์ปัจจุบันคือทําอย่างไรที่จะจัดอีเวนท์และพัฒนาตลาดตรงนี้ให้เป็นระบบที่มีความชัดเจนโดย 1.ให้มีภูมิทัศน์ที่งดงามเป็นระบบระเบียบ ดูเป็นอินเตอร์มากขึ้น 2.เปิดเวทีให้ผู้ประกอบการรายย่อยเข้ามาค้าขายเพิ่มเติมขึ้น 3.นําระบบการบริหารจัดการแบบใหม่ที่มีระบบอิเล็กทรอนิกส์ดิจิทัลมาช่วย และ4.สําคัญที่สุดการมาค้าขายพลอยที่นี่มั่นใจได้ เพราะมีสถาบันอัญมณีสังกัดกระทรวงพาณิชย์มีเอกสารรับรองเชื่อมั่นได้ และต่อไปกรมการค้าภายในจะร่วมกับสถาบันอัญมณี พัฒนาเป็นตลาดต้องชมเพราะเรามีตลาดต้องชมเดิมอยู่แล้วขนานกับริมแม่น้ําการเปิดตลาดใหม่เป็นตลาดต้องชมเต็มรูปแบบ มีทั้งพลอยและสินค้าอื่น ขอบคุณชุมชนที่นี่มีความสามัคคีและให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี" นายจุรินทร์ กล่าว
รายงานข่าวกระทรวงพาณิชย์ ระบุด้วยว่า ปี 64 การส่งออกผลไม้สด มูลค่า 158,875 ล้านบาทเป็นบวก +52.39% ส่วนผลไม้แช่เย็นแช่แข็ง 11,597 ล้านบาท ผลไม้แห้ง = 21,049 ล้านบาท ผลไม้แปรรูป/กระป๋อง 58,638 ล้านบาท การทํางานส่งออกผลไม้รวม = 250,162 ล้านบาท ขยายตัว 39% ส่วนการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับ ปี 2564
มูลค่า 194,706.08 ล้านบาท (+29.64%) สินค้าส่งออกสําคัญ คือ เครื่องประดับแท้ อัญมณี โลหะมีค่า ส่วนเป้าปี 2565 คาดการณ์มูลค่าการส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับภาพรวม ขยายตัว 20% มูลค่า 233,711 ล้านบาท | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-จุรินทร์ เปิดใหญ่ "ตลาดต้องชม ตลาดกลางพลอยนานาชาติ จันทบุรี" บุกตลาดโลก นำรายได้เข้าประเทศ พร้อมเผยเป้าปี 65 ทำอัญมณีให้ได้ 233,711 ล้านบาท ส่วนผลไม้ให้ได้ 191,000 ล้านบาท
วันจันทร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ 2565
จุรินทร์ เปิดใหญ่ "ตลาดต้องชม ตลาดกลางพลอยนานาชาติ จันทบุรี" บุกตลาดโลก นํารายได้เข้าประเทศ พร้อมเผยเป้าปี 65 ทําอัญมณีให้ได้ 233,711 ล้านบาท ส่วนผลไม้ให้ได้ 191,000 ล้านบาท
ส่วนผลไม้ให้ได้ 191,000 ล้านบาท สั่งพาณิชย์ลุย! วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2565 นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานเปิดตลาดกลางพลอยนานาชาติจันทบุรี
ในงานเทศกาลนานาชาติพลอยและเครื่องประดับจันทบุรี 2021 - 2022 พร้อมด้วย นายสุธี ทองแย้ม ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี นางมัลลิกา บุญมีตระกูล มหาสุข ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายบุณย์ธีร์ พานิชประไพ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายอุดม ศรีสมทรง รองอธิบดีกรมการค้าภายใน นายสุเมธ ประสงค์พงษ์ชัย ผู้อํานวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) นายชายพงษ์ นิยมกิจ ประธานหอการค้าจังหวัดจันทบุรี นายยุคล ชนะวัฒน์ปัญญา อดีต ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์จังหวัดจันทบุรี เขต 3 นายอิทธิพล จังศิริมงคล ผู้สมัคร ส.ส.จังหวัดจันทบุรี เขต1 และนายชรัตน์ เนรัญชร ผู้สมัคร ส.ส.จังหวัดจันทบุรี เขต 2 ที่ตลาดกลางพลอย ถนนศรีจันทร์ ตําบลวัดใหม่ อําเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี และผู้ประกอบการอัญมณี
นายจุรินทร์ กล่าวว่า รู้สึกอบอุ่นมากที่ได้พบพวกเราที่นี่ ทุกครั้งที่มาได้รับการตอบต้อนรับอย่างดียิ่งไม่เปลี่ยนแปลง แม้สถานการณ์ปัจจุบันหลายท่านพยายามที่จะดูแลตนเอง ทั้งเรื่องโควิด และเศรษฐกิจ ในส่วนของ ฝรัฐบาลไม่นิ่งนอนใจ ที่ผ่านมาพยายามกําหนดมาตรการดูแลพี่น้องประชาชนคนไทยทั่วทั้งประเทศ รวมถึงชาวจันทบุรีด้วย ประเด็นสําคัญจะสร้างสมดุลอย่างไรระหว่างโควิดกับเศรษฐกิจ ต้องไปด้วยกัน ต้องถือว่ารัฐบาลสามารถพาประเทศฝันฝ่ามาได้ในระดับหนึ่งขณะนี้ถือว่าเราเดินมาในทิศทางที่ถูกต้อง โควิดอยู่ในระดับที่ควบคุมได้แม้ยังไม่หมดไป และเศรษฐกิจเริ่มเดินไปได้อย่างน้อยในความรับผิดชอบของตน แม้เจอพิษโควิดหนักหน่วงแต่ปีที่แล้ว 2564 ทั้งปี แต่การส่งออกขยายตัวสูงมาก ถึง 17.1% ทําเงินเข้าประเทศ 8.5 ล้านล้านบาท และปี 65 ยังมั่นใจว่าการส่งออกก็ยังทําตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจสําคัญขณะเดียวกันการค้าชายแดนก็มีความสําคัญจันทบุรีแม้ไม่ได้อยู่ชายแดน แต่ใกล้ชายแดนการค้าชายแดนข้ามไปกัมพูชาก็ช่วยกระจายมาถึงจันทบุรีได้เช่นเดียวกัน ส่วนการค้าใช้แดนปีที่ผ่านมาทําเงินเข้าประเทศได้ถึง 1,010,000 ล้านบาท เป็นบวกถึง 36.4% และจันทบุรีก็เป็นพระเอกในการทําเงินเข้าประเทศจากศักยภาพของพี่น้องชาวจันทบุรี โดยเฉพาะผลไม้
นายจุรินทร์ กล่าวว่า ด้วยว่าปีที่แล้ว 2564 ทั้งปีผลไม้ทั้งหมดสามารถทําเงินเข้าประเทศได้ถึง 150,000 ล้านบาท เป็นทุเรียน 110,000 ล้านบาท และส่วนใหญ่มาจากจันทบุรี ขอขอบคุณเกษตรกร พี่น้องชาวจันทบุรี แต่จันทบุรีไม่ได้มีเพียงผลไม้ยังมีอาชีพสําคัญ คือ พลอย ที่เป็นที่รู้จักไปทั่วโลก ที่ผ่านมาเพราะซบเซาเพราะพิษเศรษฐกิจและโควิด แต่ด้วยนโยบายที่ถูกทิศทางของรัฐบาลและกระทรวงพาณิชย์ ตนมั่นใจว่าจะกระเตื้องขึ้น
" ผมมาวันนี้เพราะให้สัญญากับพี่น้องไว้ตอนมาเยี่ยมเมื่อปีที่แล้วว่าชุมชนตลาดพลอย ซึ่งประกอบด้วยคนไทยเชื้อสายจีน เวียดนามและคนไทยดั้งเดิม 3 กลุ่ม ร่วมกันพัฒนาศักยภาพจนที่นี่กลายเป็นจุดศูนย์รวมพลอยของโลกแห่งหนึ่ง เราต้องกลับมาฟื้น สิ่งที่จะทําได้ภายในสถานการณ์ปัจจุบันคือทําอย่างไรที่จะจัดอีเวนท์และพัฒนาตลาดตรงนี้ให้เป็นระบบที่มีความชัดเจนโดย 1.ให้มีภูมิทัศน์ที่งดงามเป็นระบบระเบียบ ดูเป็นอินเตอร์มากขึ้น 2.เปิดเวทีให้ผู้ประกอบการรายย่อยเข้ามาค้าขายเพิ่มเติมขึ้น 3.นําระบบการบริหารจัดการแบบใหม่ที่มีระบบอิเล็กทรอนิกส์ดิจิทัลมาช่วย และ4.สําคัญที่สุดการมาค้าขายพลอยที่นี่มั่นใจได้ เพราะมีสถาบันอัญมณีสังกัดกระทรวงพาณิชย์มีเอกสารรับรองเชื่อมั่นได้ และต่อไปกรมการค้าภายในจะร่วมกับสถาบันอัญมณี พัฒนาเป็นตลาดต้องชมเพราะเรามีตลาดต้องชมเดิมอยู่แล้วขนานกับริมแม่น้ําการเปิดตลาดใหม่เป็นตลาดต้องชมเต็มรูปแบบ มีทั้งพลอยและสินค้าอื่น ขอบคุณชุมชนที่นี่มีความสามัคคีและให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี" นายจุรินทร์ กล่าว
รายงานข่าวกระทรวงพาณิชย์ ระบุด้วยว่า ปี 64 การส่งออกผลไม้สด มูลค่า 158,875 ล้านบาทเป็นบวก +52.39% ส่วนผลไม้แช่เย็นแช่แข็ง 11,597 ล้านบาท ผลไม้แห้ง = 21,049 ล้านบาท ผลไม้แปรรูป/กระป๋อง 58,638 ล้านบาท การทํางานส่งออกผลไม้รวม = 250,162 ล้านบาท ขยายตัว 39% ส่วนการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับ ปี 2564
มูลค่า 194,706.08 ล้านบาท (+29.64%) สินค้าส่งออกสําคัญ คือ เครื่องประดับแท้ อัญมณี โลหะมีค่า ส่วนเป้าปี 2565 คาดการณ์มูลค่าการส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับภาพรวม ขยายตัว 20% มูลค่า 233,711 ล้านบาท | https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/51300 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-คำกล่าว พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เปิดเสวนา ชี้แจงผลงานของรัฐบาล | วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤษภาคม 2565
คํากล่าว พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เปิดเสวนา ชี้แจงผลงานของรัฐบาล
คํากล่าว พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เปิดเสวนา ชี้แจงผลงานของรัฐบาล วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤษภาคม 2565
สวัสดีพี่น้องประชาชนคนไทยทุกคน
ผมมีความยินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่ได้มาพบทุกท่าน ณ ที่นี้ รวมถึงผู้รับชมผ่าน Live streaming ด้วยครับ
ผมย้อนคิดเสมอถึงวันที่ผมตัดสินใจเข้ามาบริหารประเทศเมื่อ 7 ปีก่อน วันนั้นประเทศไทยมีการแบ่งขั้ว สลับกันต่อต้านซึ่งกันและกัน โดยเหตุการณ์ดังกล่าวได้เกิดขึ้นต่อเนื่องกันมานับ 10 ปี เป็นเหตุให้บ้านเมืองเดินหน้าต่อไปไม่ได้ คนไทยไม่มีความสุข และประเทศไทยได้ชื่อว่าเป็นคนป่วยแห่งเอเชีย ซึ่งในวันนี้ พวกเราหลายคนอาจจะลืมกันไปแล้ว และเมื่อผมได้ตัดสินใจไปแล้ว ผมก็ได้เดินหน้าทําให้ดีที่สุด
การมีคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. ก็เข้าใจดีว่าต้องแลกกับการถูกกล่าวหาว่าประเทศเราไม่เป็นประชาธิปไตย ในเวลานั้น คสช.ได้พยายามพิสูจน์ให้ประชาชนเห็นว่าทุกคนสามารถมีเสรีภาพทางความคิด ภายใต้กรอบกฎหมายที่ผ่อนปรนกับทุกฝ่ายมากที่สุด ในช่วงเป็นรัฐบาล คสช. มีอํานาจพิเศษมากมาย แต่ผมก็ไม่ได้ใช้ในทุกกรณี ใช้เท่าที่จําเป็น เพื่อแก้ไขปัญหาเท่านั้น ในส่วนของกระบวนการยุติธรรม การตรวจสอบต่าง ๆ องค์กรอิสระยังคงทําหน้าที่เป็นอิสระ โดยผมจะไม่เข้าไปก้าวล่วงการทําหน้าที่ใด ๆ
วัตถุประสงค์ของการเข้ามาในช่วงเวลาดังกล่าว เพื่อดํารงไว้ซึ่งความสงบเรียบร้อยของประเทศ บ้านเมืองสามารถเดินหน้าต่อไปได้ และทําให้นานาชาติเกิดความเชื่อมั่นประเทศไทย ทุกคนก็ได้เห็นว่าในช่วงหลังจากนั้น รัฐบาลไทยได้รับการยอมรับจากนานาชาติ และประเทศเรามีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามาเยี่ยมเยียนกว่า 40 ล้านคน ในช่วงเวลานั้น รัฐบาลได้บริหารประเทศ ภายใต้วิสัยทัศน์ “ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”
การสร้างบ้านสร้างชาติให้เป็นบ้านที่มีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ตามวิสัยทัศน์ที่วางไว้ จําเป็นต้องมี Master Plan ซึ่งก็ คือ “ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี” ระหว่างปี พ.ศ. 2561 – 2580 ประกอบด้วย 1.ด้านความมั่นคง 2.ด้าน การสร้างความสามารถในการแข่งขัน 3.ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ 4.ด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม 5.ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และ 6.ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ
ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี เป็นแผนภาพรวมใหญ่ที่จะทําให้ทุกภาคส่วน ในสังคมเข้าใจและเห็นภาพบ้านของเราในอนาคตเดียวกัน เดินไปสู่เป้าหมายที่ตรงกัน โดยเป็นกรอบเป้าหมายในการพัฒนาประเทศ ที่ทําให้การพัฒนาเกิดความต่อเนื่อง มีแผนระยะสั้น และระยะปานกลาง ได้แก่ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ แผนปฏิรูปประเทศ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนความมั่นคงแห่งชาติ เป็นกลไกสําคัญในการถ่ายทอดการขับเคลื่อนประเทศ ให้บรรลุเป้าหมายและวิสัยทัศน์ตามยุทธศาสตร์ชาติ
เมื่อเข้าสู่รัฐบาลใหม่ที่มาจากการเลือกตั้งในปี 2562 ผมได้มีโอกาสกลับมาสานต่อการบริหารภายใต้รัฐธรรมนูญปัจจุบัน ผมและคณะรัฐมนตรีทุกคน ได้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและความมั่นคงของประเทศอย่างต่อเนื่อง รัฐบาลได้ดําเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ที่เป็นกรอบเป้าหมาย และแนวทางการพัฒนาประเทศ ให้กับหน่วยงานของรัฐ ทุกภาคส่วน ให้ปฏิบัติตาม โดยจะมีการวัดผลและทบทวนแผนอย่างสม่ําเสมอ ตามสถานการณ์และความจําเป็นของประเทศ ในช่วงเวลานั้น แม้หลายประเทศ รวมถึงประเทศไทยจะได้รับผลกระทบจากสงครามการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯ แต่ประเทศไทยก็ยังเติบโตได้ดีในระดับหนึ่ง ซึ่งในระหว่างนั้น รัฐบาลก็ได้พยายามพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ สร้างความเข้มแข็งของอุตสาหกรรมเดิม พร้อมทั้งมุ่งเน้นการยกระดับขีดความสามารถ โดยสร้างอุตสาหกรรมใหม่แห่งอนาคต เพื่อให้สอดรับกับบริบททางเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป
รัฐบาลนี้ ได้สานต่อนโยบายการส่งเสริม 12 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2558 เพื่อทําให้ประเทศไทยสามารถสร้างฐานรายได้และการจ้างงานใหม่ รวมทั้งการขยายโอกาสทางการค้าและการลงทุนในเวทีโลก โดยการต่อยอด-ยกระดับ 5 อุตสาหกรรมเดิมที่ไทยมีศักยภาพ และมีความได้เปรียบ โดยนํามาประยุกต์-ผสมผสานกับเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อให้สอดรับกับบริบทของเศรษฐกิจและสังคมโลกสมัยใหม่ ประกอบด้วย 5 อุตสาหกรรม (First S-curve) ได้แก่ ยานยนต์สมัยใหม่ อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ การท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและ การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ การเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ และการแปรรูปอาหาร
และการ “ต่อยอด” 7 อุตสาหกรรมใหม่ (New S-curve) ที่เป็นแนวโน้มของโลกในอนาคต ได้แก่ หุ่นยนต์เพื่ออุตสาหกรรม การบินและโลจิสติกส์ เชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ ดิจิทัล การแพทย์และสุขภาพครบวงจร การป้องกันประเทศ การพัฒนาบุคลากรและการศึกษาเพื่อรองรับอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ
โครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) เกิดขึ้นเพื่อเป็นพื้นที่ การลงทุนและแหล่งบ่มเพาะ 12 อุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ โครงการโครงสร้างพื้นฐานของ EEC ได้รับการพัฒนาแบบบูรณาการ เพื่อเป็นประตูสําคัญ ที่เชื่อมโยงการคมนาคมขนส่งและโลจิสติกส์ของไทย ทั้งทางบก ทางราง ทางน้ํา และทางอากาศ ในการเชื่อมโยงกับประเทศต่างๆ ทั้งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเอเชียแปซิฟิก / นอกจากนี้ มีการพัฒนา “เมืองแห่งนวัตกรรม” หรือเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EECi) ให้เป็น “ซิลิคอนวัลเลย์” ของเมืองไทย และ “เมืองใหม่อัจฉริยะด้วยนวัตกรรม” หรือเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล (EECd) ปัจจุบันการดําเนินงานมีความก้าวหน้าตามลําดับ โดย EEC จะเป็นโมเดลความสําเร็จสําหรับการดึงดูดการลงทุน และกระจายความเจริญไปสู่ทุกภูมิภาคของประเทศ ซึ่งขณะนี้ได้กําหนดเป้าหมายในการพัฒนาไว้ในแต่ละภาคไว้ด้วยแล้ว
ในส่วนของการเตรียมความพร้อมการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน ก็ได้ดําเนินการมาอย่างต่อเนื่อง เกิดการลงทุนจริง ที่มีอัตราการขยายตัวเฉลี่ยของการลงทุนของภาครัฐ ในช่วงปี 2558 – 2562 ถึงร้อยละ 7.9 ต่อปี เชื่อมโยงแต่ละภาคของประเทศ และเชื่อมต่อภูมิภาคอาเซียน ทุกทิศทาง ได้แก่
ทางถนน : ปี 2557 มี 4,271 กิโลเมตร ปี 2564 เพิ่มเป็น 11,583 กิโลเมตร
มอเตอร์เวย์ : สร้างเพิ่ม 3 เส้นทางสําคัญ บางปะอิน-โคราช บางใหญ่-กาญจนบุรี และพัทยา-มาบตาพุด
ทางราง : ปี 2557 ระยะทาง 4,073 กิโลเมตร ครอบคลุม 47 จังหวัด ส่วนใหญ่เป็นทางเดี่ยว มีทางคู่-ทางสาม 357 กิโลเมตร ปัจจุบันมีแผนสร้างเพิ่ม ระยะเวลา 20 ปี จะมีระยะทาง 8,900 กิโลเมตร ครอบคลุม 62 จังหวัด เป็นทางคู่-ทางสาม 5,640 กิโลเมตร สถานีกลางบางซื่อ เป็นชุมทางรถไฟขนาดใหญ่ ทันสมัยที่สุด ในอาเซียน เชื่อมรถไฟทางไกล – รถไฟความเร็วสูง – รถไฟฟ้าในกรุงเทพฯ – รถไฟชานเมือง – สถานี บขส. และสนามบิน รถไฟฟ้า (กทม.และปริมณฑล) สร้างเพิ่ม 10 สาย ระยะทางรวม 204.9 กิโลเมตร อยู่ระหว่างการพิจารณาอีก 2 สาย นอกจากนี้ ยังมีรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน และรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ที่อยู่ระหว่างดําเนินการ
ทางน้ํา : เพิ่มศักยภาพรองรับปริมาณการขนส่งทางน้ํา จากเดิมปี 2557 ประมาณ 279 ล้านตัน ปี 2564 เพิ่มเป็น 355 ล้านตัน โดยพัฒนาท่าเรือมาบตาพุด และท่าเรือแหลมฉบัง เปิดเดินเรือเฟอร์รี่ “พัทยา-หัวหิน” ใช้เวลา 2 ชั่วโมง เชื่อมแหล่งท่องเที่ยวสําคัญ กระตุ้นเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว ปีละ 4,000 ล้านบาท
ทางอากาศ : ปรับปรุงสนามบินทั่วประเทศ เพิ่มศักยภาพการรองรับผู้โดยสาร จากเดิมปี 57 รองรับ 118 ล้านคน ปี 64 เพิ่มเป็น 139 ล้านคน
โครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล รัฐบาลได้ให้ความสําคัญกับการลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลอย่างต่อเนื่อง ครอบคลุมถึงการพัฒนาเทคโนโลยี 5G ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ ประเทศไทยนับเป็นประเทศแรกๆ ในภูมิภาคอาเซียน ที่พร้อมเปิดประตูสู่โอกาส ในการเปลี่ยนผ่านสู่โลกดิจิทัล ทําให้การส่งผ่านข้อมูลรวดเร็วขึ้นมาก โดยในปี 2564 ความเร็วเฉลี่ยอินเตอร์เน็ตบ้านของไทย ที่ 308 ล้านบิทต่อวินาที (Mbps) ถือว่าแรงเป็นอันดับ 1 ของโลก
รัฐบาลได้ดําเนินโครงการเน็ตหมู่บ้าน 74,987 หมู่บ้าน ทั้งประเทศเข้าถึงบริการโทรคมนาคมอย่างทั่วถึง และเท่าเทียม เป็นโครงการที่ได้รับรางวัล The Winner ในงาน World Summit on the Information Society (WSIS) Prizes 2019 ซึ่งจัดโดยสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU)
นอกจากนี้ ยังมีโครงการสายเคเบิ้ลใต้น้ํา ที่รัฐบาลดําเนินการอยู่จะช่วยเสริมบทบาทของไทยเป็น “ศูนย์กลางดิจิทัลของอาเซียน” ซึ่งจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพโครงข่ายอินเทอร์เน็ตระหว่างประเทศ เชื่อมต่อจีน - อินเดีย - อาเซียน มีประชากรรวมกันกว่า 3,300 ล้านคน หรือเกือบ “ครึ่งโลก”
รัฐบาลได้นําเทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับใช้ในการบริหารราชการแผ่นดิน โดยมุ่งเป้าการเปลี่ยนแปลงสู่ (Transform) รัฐบาลดิจิทัล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการของภาครัฐ โดยได้บูรณาการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานภาครัฐ พัฒนาระบบรองรับการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล หรือ Digital ID พัฒนาแพลตฟอร์มการให้บริการภาคเอกชนและประชาชนแบบเบ็ดเสร็จ และเข้าถึงง่าย ซึ่งได้ทําอย่างเป็นระบบ เพื่อให้ทุกภาคส่วนได้เรียนรู้และปรับตัวเข้าสู่สังคมดิจิทัล อย่างเป็นขั้นเป็นตอน เริ่มจากการพัฒนาระบบ “พร้อมเพย์” เพื่อสนับสนุนการชําระเงินและโอนเงินแบบทันที (ปี 2558) ยกระดับระบบศูนย์กลางบริการภาครัฐเพื่อภาคธุรกิจ (Biz Portal) สําหรับการออกใบอนุญาต (ปี 2559) พัฒนาระบบพอร์ทัลกลางเพื่อประชาชน (Citizen Portal) เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ประชาชน ในการติดต่อขอรับบริการผ่านช่องทางออนไลน์ (ปี 2563)
การบริหารจัดการทรัพยากรน้ําของประเทศ จัดทําแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ํา 20 ปี เพื่อแก้ปัญหาน้ําท่วม-น้ําแล้ง และเตรียม “น้ําต้นทุน” สําหรับภาคการผลิต ทั้งเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม รวมทั้งเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ตลอดจนน้ําอุปโภค-บริโภค สําหรับทุกครัวเรือน อย่างทั่วถึง
โดยเร่งรัดขับเคลื่อนโครงการต่างๆ ภายใต้แผนบรรเทาอุทกภัยลุ่มน้ําเจ้าพระยาตอนล่าง เพื่อแก้ไขปัญหาน้ําท่วมบริเวณลุ่มน้ําเจ้าพระยาตอนล่าง เร่งรัดขับเคลื่อนโครงการพัฒนาแหล่งน้ํา และจัดการทรัพยากรน้ํารองรับเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) การฟื้นฟูแหล่งน้ําธรรมชาติขนาดใหญ่ เร่งรัดขับเคลื่อนโครงการขนาดใหญ่ และโครงการสําคัญๆ พัฒนาเครื่องมือการบริหารจัดการน้ํา ได้แก่ ผังน้ํา คลังข้อมูลน้ํา ในรูปแบบ One Map ผ่านเว็บไซต์และแอปพลิเคชัน National Thai Water ตัวอย่างโครงการพัฒนาแหล่งน้ําที่รัฐบาล ขับเคลื่อนและดําเนินการ ในแต่ละภาค ได้แก่ ภาคเหนือ อ่างเก็บน้ําน้ําปี้ อันเนื่องมาจากพระราชดําริ จ.พะเยา เริ่มโครงการฯ ปี 2559 จะแล้วเสร็จปี 2568 มีความจุ 91 ล้าน ลบ.ม. เพิ่มพื้นที่ชลประทาน 25,000 ไร่
ภาคกลาง โครงการบรรเทาอุทกภัยอําเภอบางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์ เริ่มโครงการฯ ปี 2560 จะแล้วเสร็จปี 2569 ช่วยระบายน้ําได้ 1,025 ลบ.ม/วินาที เพิ่มการเก็บกักน้ําได้ 31 ล้าน ลบ.ม. บรรเทาพื้นที่น้ําท่วมได้ 4,900 ไร่
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โครงการพัฒนาลุ่มน้ําห้วยหลวงตอนล่าง จ.หนองคาย เริ่มโครงการฯ ปี 2561 จะแล้วเสร็จปี 2569 เป็นการก่อสร้างประตูระบายน้ํา และสถานีสูบน้ํา 150 ลบ.ม/วินาที ช่วยบรรเทาปัญหาน้ําท่วมในเขตจังหวัดอุดรธานีและหนองคายได้ 54,390 ไร่ เพิ่มปริมาณน้ํา 246 ล้าน ลบ.ม. เพิ่มพื้นที่ชลประทาน 300,195 ไร่
ภาคตะวันออก โครงการอ่างเก็บน้ํานฤบดินทรจินดา อันเนื่องมาจากพระราชดําริ หรือ “เขื่อนห้วยโสมง” จ.ปราจีนบุรี เริ่มโครงการฯ ปี 2553 ขณะนี้ได้เปิดใช้งานแล้ว ความจุ 295 ล้าน ลบ.ม. ครอบคลุมพื้นที่ชลประทาน 111,300 ไร่
ภาคใต้ โครงการบรรเทาอุทกภัยหาดใหญ่ (ระยะที่ 2) จ.สงขลา เริ่มโครงการฯ ปี 2558 จะเปิดใช้งานปี 2565 นี้ เป็นการปรับปรุงคลองเดิม เพื่อเพิ่มศักยภาพ การระบายน้ํา จากเดิม 456 ลบ.ม/วินาที เป็น 1,200 ลบ.ม./วินาที พร้อมสถานี สูบน้ํา 90 ลบ.ม/วินาที
และโครงการแก้ปัญหาน้ําท่วมพื้นที่กรุงเทพมหานคร ได้แก่ อุโมงค์ระบายน้ําใต้คลองบางซื่อ บริเวณถนนรัชดาภิเษก ไปออกแม่น้ําเจ้าพระยาบริเวณเกียกกาย มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 5 ม. ยาวประมาณ 6.4 กม. สร้างแล้วเสร็จปี 2563 ระบายน้ําได้ 60 ลบ.ม./วินาที ครอบคลุมพื้นที่ 56 ตารางกิโลเมตร 8 เขต ประกอบด้วยเขตห้วยขวาง ดินแดง พญาไท จตุจักร ลาดพร้าว วังทองหลาง บางซื่อ และเขตดุสิต
ผลลัพธ์ที่ได้รับตั้งแต่ปี 2560 จนถึงปัจจุบัน ได้แก่ เพิ่มการกักเก็บน้ํารวม 1,452 ล้าน ลบ.ม. พัฒนาน้ําบาดาลเพื่อการเกษตร 124 ล้าน ลบ.ม. ลดพื้นที่ประสบภัยแล้งลงอย่างต่อเนื่อง จาก 36,944 หมู่บ้าน ในปี 2556 และในปี 2564/65 ไม่มีประกาศภัยแล้ง
การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้วย “การศึกษา” ระดับอาชีวศึกษา เน้นเรียนจบมีงานทํา โดยการจัดการศึกษารูปแบบ “ทวิศึกษา” คือ เรียนทฤษฎีจากโรงเรียน แล้วปฏิบัติจริงในสถานประกอบการ เพื่อผลิตแรงงานมีทักษะฝีมือป้อนตลาดแรงงานที่ตรงกับความต้องการพัฒนาประเทศ เช่น 12 อุตสาหกรรมเป้าหมาย เป็นต้น สําหรับระดับอุดมศึกษา มีการปฏิรูปการอุดมศึกษาครั้งใหญ่อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน โดยหลักการสําคัญ คือ การขับเคลื่อนทั้งสถานศึกษาและสถาบันวิจัยพัฒนา ในการสร้างคน-สร้างนวัตกรรม ให้ไปในทิศทางเดียวกัน ส่งเสริมซึ่งกันและกัน นับตั้งแต่ปี 2562 ได้วางแนวทางส่งเสริมการศึกษาแบบ Lifelong Learning หรือ การเรียนรู้ตลอดชีวิต เช่น (1) การลงทะเบียนเรียนข้ามสถาบัน ไร้ข้อจํากัดเรื่องสถาบัน ลดความเหลื่อมล้ําทางการเรียนการสอน (2) ธนาคารหน่วยกิตแห่งชาติ (National Credit Bank) เกษียณก็เรียนได้ ต่อยอดวุฒิการศึกษา-วิทยาการใหม่ๆ ได้ทุกช่วงวัย สะสมหน่วยกิตการันตีความรู้ เลือกเรียนตามความสนใจ หรือเสริมทักษะแบบ “สหวิทยาการ” อ่อนตัวเรื่องเวลาและวิธีการเรียน ทั้ง Online และ Onsite (3) ยกเลิกกรอบเวลาสูงสุดของหลักสูตร ไม่มีรีไทร์เพราะเรียนเกิน (4) การจัดทําหลักสูตร Higher Education Sandbox โดยจัดกลุ่มมหาวิทยาลัยตามเป้าหมายการพัฒนาประเทศ ดูแลตั้งแต่ “ต้นทาง--สถาบันการศึกษา” ไปจนถึง “ปลายทาง--ตลาดแรงงาน” ให้เป็นห่วงโซ่เดียวกัน
นอกจากนี้ ยังมีการแสวงหาความร่วมมือกับต่างประเทศ เพื่อเป็นแรงเสริมในการขับเคลื่อน EEC และเสริมทัพการศึกษายุคใหม่ ผลิตคนยุคใหม่ เตรียมพร้อมสําหรับโลกปัจจุบัน และอนาคต เช่น (1) มหาวิทยาลัยอมตะ ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวัน เปิดหลักสูตรสาขาวิศวกรรม Intelligent Manufacturing System (2) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยคาร์เนกีเมลลอน จากสหรัฐฯ เปิดสอนหลักสูตรสารสนเทศและวิทยาการคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
การเกิดวิกฤติโรคระบาดโควิด-19 ตั้งแต่ปี 2563 ซึ่งเป็นวิกฤติโลกที่เราไม่ได้ก่อ และเป็นมหาวิกฤติครั้งที่ใหญ่ที่สุด นับตั้งแต่สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อการถดถอยทางเศรษฐกิจของทุกประเทศในโลก รวมถึงประเทศไทย เราถูกประเมินว่าจะได้รับผลกระทบมากที่สุด ในระดับต้นๆ ของโลก เพราะเศรษฐกิจไทยพึ่งพาการท่องเที่ยวกว่าร้อยละ 20 ของ GDP การระบาดของโควิด-19 ทําให้ทั่วโลกหยุดเดินทาง และเครื่องจักรการท่องเที่ยวไม่สามารถสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยได้เหมือนก่อน
เมื่อมองย้อนกลับไป 2 ปี วิกฤติโรคระบาดโควิด-19 นี้ นับเป็นโจทย์ที่ยาก เพราะเราสู้อยู่กับศัตรูที่มองไม่เห็น ไม่มีอาวุธใดจะปราบได้ โดยในช่วงเริ่มการระบาด ทั่วโลกจําเป็นต้องปิดประเทศ รวมถึงประเทศไทย ทุกประเทศ รวมถึงประเทศไทยต้องใช้งบประมาณจํานวนมาก ในการเยียวยา ช่วยเหลือประชาชน เพื่อตั้งหลัก ประคับประคอง และกระตุ้นเศรษฐกิจ การต่อสู้กับการระบาดของโควิด-19 ไม่มีอะไรที่แน่นอน จึงได้สร้างมาตรฐานการต่อสู้ใหม่ในหลายระลอก มีวัคซีนก็ต้องแบ่งปัน กระจายการฉีดอย่างทั่วถึงและรวดเร็ว เพื่อความปลอดภัยของคนในประเทศ นโยบายต่างๆ ที่ออกมา ได้คํานึงถึงการสร้างความสมดุลทั้งมิติด้านสุขภาพและมิติทางเศรษฐกิจมาโดยตลอด รัฐบาลต้องบริหารจัดการให้ประเทศสามารถเดินหน้าต่อได้ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่สร้างงาน สร้างรายได้ให้กับประเทศ โดยในวันที่ 1 กรกฎาคม 2564 ประเทศไทยก็ได้นําร่องเปิดประเทศในโครงการ “ภูเก็ตแซนด์บอกซ์” และได้เปิดประเทศจริงจังเมื่อ 1 พฤศจิกายน ปีที่ผ่านมา ซึ่งได้กลายเป็นต้นแบบให้กับประเทศอื่นๆ ไปปฏิบัติ ทั้งนี้ แม้เปิดประเทศแล้ว เราก็ยังจําเป็นต้องระมัดระวัง ยังต้องตระเตรียมความพร้อม ทั้งวัคซีนและยารักษาไว้อย่างเพียงพอ เพราะวิกฤตการแพร่ระบาดยังไม่จบสิ้น ทั้งนี้ ผลสัมฤทธิ์จากความร่วมมือร่วมใจของคนไทย ทุกภาคส่วน ภาครัฐ ภาคเอกชน บุคลากรทางการแพทย์ เจ้าหน้าที่ อสม.และเจ้าหน้าที่ด่านหน้าที่เกี่ยวข้อง ทําให้องค์กรต่างประเทศหลายแห่ง รวมถึงองค์การอนามัยโลกได้ให้การยอมรับ และชื่นชมประเทศไทย ให้เป็นประเทศที่รับมือกับสถานการณ์โควิดได้ดีที่สุด เป็นลําดับต้นๆ ของโลก เมื่อมองในแง่บวกแล้ว แม้โควิดจะเป็นวิกฤตโลก แต่ก็เป็นโอกาสของไทยในหลายๆ ด้าน เช่น (1) ทั่วโลกได้เห็นศักยภาพระบบสาธารณสุขไทย ทั้งการรักษา การให้บริการ การรับมือ โรคอุบัติใหม่และภาวะฉุกเฉิน (2) ยกระดับความมั่นคงทางด้านสุขภาพ ตั้งแต่บริการสาธารณสุขระดับปฐมภูมิ ทีมหมอครอบครัว อสม. รวมถึงขีดความสามารถในการวิจัย พัฒนา และผลิตวัคซีนโควิด ซึ่งเป็นเทคโนโลยีชั้นสูงได้เองหลายชนิดในประเทศ และ (3) ส่งเสริมบทบาทการเป็น “ศูนย์กลางด้านการแพทย์และสาธารณสุข” (Medical and Wellness Hub) ของโลก โดยไทยได้รับเลือกให้เป็นที่ตั้งสํานักงานเลขาธิการของ “ศูนย์อาเซียนด้านการรับมือกับภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขและโรคอุบัติใหม่” (ASEAN Centre for Public Health Emergencies and Emerging Diseases : ACPHEED) ซึ่งจะเปิดทําการในเดือนสิงหาคมนี้ ยิ่งกว่านั้น ยังส่งเสริมโอกาสให้ประเทศไทยสามารถเปิดตลาดอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพได้อย่างเต็มที่ หลังวิกฤตโควิดอีกด้วย
อย่างที่ทุกท่านทราบดี เมื่อเร็วๆ นี้ ทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย ได้รับผลกระทบของวิกฤตจากความขัดแย้ง ระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ซึ่งเป็นการเผชิญวิกฤติซ้อนวิกฤติ หลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด–19 โดยโลกแบ่งเป็นสองขั้ว ทรัพยากรที่เคยสมดุลต้องขาดแคลน มีผลให้ราคาสินค้า ราคาพลังงาน และค่าครองชีพปรับตัวสูงขึ้น สร้างความหวาดกลัวว่าสงครามจะยืดเยื้อ สิ่งสําคัญที่สุดในวันนี้ คือ การแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน เช่น วิกฤติพลังงาน สินค้าขาดแคลน ความยากจน เพื่อให้ประชาชนอยู่รอดอย่างพอเพียง รัฐบาลจึงได้เข้ามาดูแลประชาชน เพื่อลดภาระค่าครองชีพของประชาชน ด้วยมาตรการต่างๆ โดยเฉพาะในกลุ่มที่ได้รับผลกระทบ อาทิ การช่วยเหลือเพื่อซื้อก๊าซหุงต้ม การช่วยเหลือค่าน้ํามันให้กับผู้ขับขี่มอเตอร์ไซค์รับจ้าง การช่วยลดภาระค่าไฟฟ้า การตรึงราคาขายปลีกน้ํามันดีเซล ตลอดจนการลดอัตราเงินสมทบของนายจ้างและลูกจ้างที่อยู่ในระบบประกันสังคม เป็นต้น ล่าสุดรัฐบาลก็ได้เสนอแก้ไขกฎหมายประกันสังคม เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น เพิ่มอายุผู้ประกันตนให้ถึง 65 ปี แก้ไขเพิ่มเติมสิทธิประโยชน์กรณีชราภาพ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนและเสริมสภาพคล่องทางการเงินแก่ผู้ประกันตน โดยสามารถนําเงินกรณีชราภาพบางส่วนออกมาใช้ก่อนครบกําหนดอายุ 55 ปีบริบูรณ์ มี 3 แนวทาง หรือ “3 ขอ” (1) ขอเลือก คือ จะรับเงินเป็นบําเหน็จ หรือบํานาญ ก็ได้ตามสมัครใจ (2) ขอคืน คือ ขอใช้เงินบางส่วนก่อนกําหนด เพราะมีเหตุจําเป็น (3) ขอกู้ คือ ใช้เงินสะสมเป็นหลักประกันเงินกู้กับสถาบันการเงินได้ และเพิ่มสิทธิประโยชน์อื่นๆ ให้ผู้ประกันตน ในระบบประกันสังคมอีก เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมมากขึ้น
รัฐบาลตระหนักว่าสถานการณ์ที่กําลังเกิดขึ้นในขณะนี้ มีความไม่แน่นอน และอาจยืดเยื้อ โดยรัฐบาลจะติดตามประเมินสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และต่อเนื่อง และพร้อมที่จะปรับปรุงแนวทางการช่วยเหลือ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด กับประเทศชาติ และประชาชน ในระยะต่อไป
เรื่องสําคัญอีกเรื่อง ผมได้ประกาศให้ปี 2565 เป็นปีแห่งการแก้ไขหนี้ครัวเรือน ครอบคลุมลูกหนี้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ซึ่งขณะนี้ ได้ปลดล็อคเงื่อนไขหลายประการ รวมถึงแก้ไขกฎหมายกองทุน กยศ. โดยจะช่วยผ่อนปรนภาระหนี้ของนักเรียนได้เป็นจํานวนมาก ตลอดจนลูกหนี้เช่าซื้อ ลูกหนี้บัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคลและข้าราชการ และหนี้ผู้ประกอบการ จะได้รับการผ่อนปรนลดภาระดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียม และปรับปรุงกระบวนการยุติธรรม ให้เอื้อต่อการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ทั้งนี้รายละเอียดจะอยู่ในหนังสือ “แก้หนี้ครบ จบในเล่มเดียว” ที่นํามาแจกประชาชน-ผู้เข้าร่วมสัมมนาในวันนี้ด้วย
นอกจากการแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือนทั้ง 8 ประเด็นข้างต้นแล้ว ความยากจนของแต่ละคน แต่ละบ้าน มีที่มาจากปัญหาที่แตกต่างกัน ดังนั้น สิ่งที่รัฐบาลกําลังเริ่มทําอยู่ในตอนนี้ คือ การแก้ปัญหาความยากจนแบบมุ่งเป้าแต่ละครัวเรือน หรือการตัดเสื้อให้พอดีตัว ซึ่งจะมีการตั้งทีมพี่เลี้ยง เข้าไปตรวจสอบข้อมูลทุกครัวเรือนยากจน ในแต่ละหมู่บ้าน เพื่อไปรับทราบปัญหา ช่วยหาทางแก้ไข และให้การสนับสนุนให้ครอบครัว มีการวางแผน หรือแก้ปัญหาความยากจนของแต่ละครัวเรือน ให้ตรงตามสภาพปัญหาที่แต่ละครอบครัวกําลังเผชิญ เมื่อทราบปัญหาของแต่ละครอบครัว ทีมพี่เลี้ยงก็จะมีมาตรการที่จะช่วยแก้ปัญหาที่แตกต่างกันไป ตามแต่ละครอบครัว ทั้ง “5 มิติ พร้อมๆ กัน” โดยมิติสุขภาพ (ตรวจสุขภาพประจําปี การดูแลสุขภาพ การติดตามผู้ป่วยเรื้อรัง) มิติความเป็นอยู่ (ปรับปรุงซ่อมแซมที่อยู่อาศัย) มิติการศึกษา (เข้าถึงการศึกษาขั้นพื้นฐาน และได้รับความรู้เพื่อพัฒนาตนเอง “ทุกช่วงวัย”) มิติด้านรายได้ (การจัดสรรที่ดินทํากิน ฝึกอาชีพ พัฒนาทักษะแรงงาน มีรายได้เสริม แก้หนี้นอกระบบ วิสาหกิจชุมชน เกษตรแปลงใหญ่) มิติการเข้าถึงบริการภาครัฐ (กลุ่มเปราะบาง-ผู้สูงอายุ-ผู้พิการ-ผู้ป่วยติดเตียง ต้องได้รับสิทธิ์ไม่ตกหล่น) เป็นต้น เพื่อแก้ปัญหาความยากจน อย่างเป็นระบบ แบบพุ่งเป้ารายครอบครัว โดยการแก้ปัญหาความยากจนนั้น เมื่อเราสร้างกลไกการทํางาน กลไกความร่วมมือในทุกระดับได้แล้ว ทุกอย่างก็จะทยอยดีขึ้น ไม่ใช่ว่าคนจนจะหมดไปในปีนี้ หรือในทันทีได้ มันต้องอาศัยเวลาและความร่วมมือด้วยกัน
ที่ผ่านมา แม้ประเทศไทยจะเจอกับเรื่องวิกฤติซ้อนวิกฤติ ไม่ว่าจะจากโรคโควิด-19 ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน รวมถึงเกิดความแตกแยกทางความคิดมากมายแค่ไหนก็ตาม รัฐบาลของผมก็ยังเดินหน้าพัฒนาประเทศอย่างต่อเนื่อง ดังที่ได้กล่าวมาแล้วก่อนหน้านี้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านต่างๆ โครงการ EEC การศึกษา เป็นต้น
ภายหลังจากที่สถานการณ์โควิด-19 คลี่คลายลง ประเทศไทยเองต้องมี การลงทุน และเตรียมความพร้อมที่จะเติบโต ด้วยการขับเคลื่อนเศรษฐกิจใหม่ ได้แก่
เรื่องที่ 1 เทคโนโลยีดิจิทัล
ในช่วงวิกฤตโควิด–19 ผลักดันให้เกิดเศรษฐกิจดิจิทัลเร็วขึ้น อย่างก้าวกระโดด ทั้งการทําธุรกรรมและการให้บริการรูปแบบต่างๆ ทางอิเล็กทรอนิกส์ ตลอดจน การเติบโตของเศรษฐกิจแพลตฟอร์ม (Platform Economy) การค้า e-Commerce และการใช้ Digital Banking ก็ขยายตัวอย่างรวดเร็ว จากการที่รัฐบาลได้มีการวางรากฐาน “เศรษฐกิจดิจิทัล” (Digital Economy) ตามที่ได้กล่าวมาในข้างต้น และจากแนวคิด National e-Payment ส่งเสริมให้เกิด “สังคมไร้เงินสด” (Cashless Society) รัฐบาลได้พัฒนาแพลตฟอร์มเพื่อเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนนโยบายและมาตรการต่างๆ จนประสบผลสําเร็จ ที่นําไปสู่การปฏิบัติได้จริงในขณะนี้ ได้แก่ (1) โครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ที่จ่ายเงินช่วยเหลือผ่านบัญชีธนาคาร ผู้มีรายได้น้อย 14 ล้านราย และกลุ่มเปราะบาง เช่น ผู้สูงอายุและผู้พิการ สําหรับ ซื้อขายสินค้าจากร้านธงฟ้า (กว่า 20,000 แห่ง) หรือร้านค้าที่ร่วมโครงการ สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากได้ (2) โครงการ “พร้อมเพย์” (Prompt pay) และ QR Payment ที่เป็นการชําระเงินผ่านอิเล็กทรอกนิกส์แบบ Any ID ที่เชื่อมโยงกับหมายเลขโทรศัพท์เคลื่อนที่ หรือหมายเลขบัตรประจําตัวประชาชน โดยไม่มีค่าธรรมเนียม สามารถต่อยอดไปสู่ระบบภาษีและการบริจาค e-Donation สําหรับขอลดหย่อนภาษีได้ (3) Government Wallet (G-Wallet) ถุงเงิน application สําหรับ SME ขนาดเล็ก คือการใช้จ่ายเงินดิจิทัลของผู้เข้าร่วมโครงการผ่าน แอป “เป๋าตัง” กว่า 50 ล้านคน และร้านค้า–SME ที่เข้าร่วมโครงการผ่าน แอป “ถุงเงิน” ในโครงการคนละครึ่ง – เราเที่ยวด้วยกัน – ชิม ช้อปใช้ เป็นต้น (4) การนําเทคโนโลยีบล็อกเชน (Blockchain) มาใช้กับการคืนภาษี VAT ให้กับนักท่องเที่ยว และการออกพันธบัตรรัฐบาลที่เชื่อมโยงกับระบบภาษี เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการนําส่งภาษี
ยิ่งกว่านั้น ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) และการลงทะเบียนด้วยระบบพิสูจน์และยืนยันตัวตน จากโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ โครงการ Prompt pay และ QR Payment รวมทั้งโครงการ G-Wallet และแอปถุงเงิน สามารถนํามาต่อยอดได้ ในอีกหลายๆ เรื่อง เช่น Digital Health Platform ที่เชื่อมโยงสิทธิ์ ในระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าของ สปสช.ผ่านแอปเป๋าตัง ใช้ในการจ่ายยา – แจก ATK ณ ร้านขายยา หรือหน่วยบริการที่เข้าร่วมโครงการ
นอกจากนี้ การวิเคราะห์ฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) และการให้บริการคลาวด์ (Cloud services) เป็นหัวใจสําคัญ ในการขับเคลื่อนของโลกดิจิทัล ในอนาคตด้วย โดยประเทศไทยตั้งเป้าที่จะเป็นศูนย์กลางระดับภูมิภาค ให้แก่บริษัทดิจิทัลต่างๆ ได้มีการหารือกับนักลงทุนระดับโลกอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีโอกาสที่จะได้รับทราบข่าวดีเร็วๆ นี้ เกี่ยวกับการตัดสินใจลงทุนในประเทศไทยจากนักลงทุนระดับโลก
สําหรับโครงข่าย 5G ที่รัฐบาลได้วางไว้ จะสามารถรองรับการพัฒนาต่อยอดในระบบอื่นๆ ตามมาอีกมากมาย นอกจากจะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน และเพิ่มประสิทธิภาพการทํางานของภาครัฐและเอกชนแล้ว ยังผลักดันให้เกิดธุรกิจแห่งอนาคตใหม่ๆ ของผู้ประกอบการ SME และ Startup เกิดขึ้นตามมาอีกหลากหลายสาขา เช่น (1) ด้านสาธารณสุข ได้แก่ โครงการศิริราช Smart Hospital หรือ โรงพยาบาลอัจฉริยะ (Smart Hospital) ซึ่งมีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี 5G - ระบบ Cloud และ AI Solutions เพื่อพัฒนาบริการสาธารณสุขในรูปแบบใหม่ ตั้งแต่กระบวนการพยากรณ์ความเสี่ยง การป้องกันโรคและการรักษา ทั้งการบริการการแพทย์ฉุกเฉิน ผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ไปจนถึงการบริหารจัดการทรัพยากรของโรงพยาบาล ตลอดจนเพิ่มคุณภาพในการรักษา เพิ่มความปลอดภัย เพิ่มโอกาสในการเข้าถึงบริการสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ห่างไกล ลดความเหลื่อมล้ํา ลดระยะเวลารอคอย และลดต้นทุนการรักษาพยาบาล (2) ด้านคมนาคม ได้แก่ สถานีกลางบางซื่อที่เป็นต้นแบบการพัฒนาให้เป็น สถานีอัจฉริยะ (Smart Station) ด้วยการใช้เทคโนโลยี 5G ในการเชื่อมต่อการเดินทางและการโดยสารทางบกในทุกรูปแบบ ยกระดับการให้บริการด้วยเทคโนโลยีหุ่นยนต์ ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และอื่นๆ ในการช่วยเหลือนักเดินทางรวมทั้งเด็ก ผู้สูงอายุ และคนพิการ รวมทั้งระบบการรักษาความปลอดภัยเป็นพื้นที่ การให้บริการข้อมูลการเดินทาง นําทางในสถานี ตลอดจนแนะนําสถานที่และเส้นทางการท่องเที่ยวต่างๆ โดยการสื่อสารกับหุ่นยนต์ช่วยเหลือในการเดินทาง
ทั้งหมดนี้ จะได้นําพาสังคมไทยก้าวสู่การพัฒนาเป็นสังคมดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบต่อไปในอนาคต
เรื่องที่ 2 อุตสาหกรรม การค้า การลงทุนที่เกี่ยวเนื่องกับการลดปริมาณคาร์บอน ประเทศไทยได้ประกาศกําหนดเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (CO2) โดยมีเป้าหมายบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอน ในปี พ.ศ.2593 (ค.ศ.2050) และเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ภายในปี พ.ศ.2608 (ค.ศ.2065) เพื่อสนับสนุนการบรรลุเป้าหมายในระดับโลก ในการประชุมสุดยอดผู้นําเวทีโลกใน COP26 นอกจากนี้ การตั้งเป้าหมายดังกล่าว จะทําให้ลดความเสี่ยงจากการถูกกีดกันทางการค้า และเพิ่มโอกาสที่จะเข้าร่วม ในเวทีการค้าได้มากขึ้น เนื่องจากเป้าหมายการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จะถูกใช้เป็นเงื่อนไขการค้าระหว่างประเทศ ที่มีความสําคัญมากกว่าข้อตกลงทางการค้า (FTA) ในอนาคต ขณะนี้เราก็ได้เห็นแล้ว จากการที่สหภาพยุโรปประกาศเก็บภาษีคาร์บอนบางรายการ สหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นตลาดคู่ค้าใหญ่ของไทยก็จะมีการเก็บภาษีคาร์บอนในสินค้าที่มีการปล่อยคาร์บอนสูงในการผลิต ดังนั้น ประเทศไทยจะต้องใช้โอกาสเร่งพัฒนาและประยุกต์ใช้นวัตกรรม คิดค้นอุตสาหกรรมสมัยใหม่ที่จะตอบสนองความต้องการที่เปลี่ยนไป ก้าวสู่การเป็นอุตสาหกรรมสมัยใหม่ที่มุ่งใช้พลังงานสะอาดมากขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคและภาคธุรกิจที่มุ่งไปสู่สินค้าและบริการ ที่สร้างผลกระทบให้โลกน้อยที่สุด ซึ่งจะสร้างประโยชน์ทางการค้า การส่งออก และภาคธุรกิจไทย
ภาคพลังงาน การผลิตไฟฟ้า รัฐบาลได้ปรับโครงสร้างพลังงานลดสัดส่วนการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล ไปสู่การใช้พลังงานหมุนเวียน ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การปรับโครงสร้างกิจการพลังงานเชื้อเพลิงที่ใช้ในโรงไฟฟ้าต่างๆ เพื่อรองรับแนวโน้มการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน รวมถึงขยายแนวคิดการใช้ พลังงานหมุนเวียนให้เป็นพลังงานทดแทนในทุกภาคส่วน เพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานโดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม
รถยนต์พลังงานไฟฟ้า (EV) รัฐบาลกําหนดแผนที่จะผลิตรถยนต์ไม่ปล่อยมลพิษร้อยละ 30 ของการผลิตในปี 2573 ทั้งรถยนต์นั่ง รถกระบะ รถจักรยานยนต์ รถบัส และรถบรรทุก โดยมีแผนระยะสั้นและระยะปานกลาง เพื่อเพิ่มความต้องการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในภาพรวม ตลอดจนออกมาตรการสนับสนุน สร้างแรงจูงใจและดึงดูดการลงทุนในอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าของผู้ประกอบการ นอกจากนี้ ยังมีเป้าหมายพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานรองรับยานยนต์ไฟฟ้า การส่งเสริมสถานีอัดประจุยานยนต์ไฟฟ้าสาธารณะแบบ Fast charge และสถานีสับเปลี่ยนแบตเตอรี่สําหรับรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า อีกด้วย
การปลูกและเพิ่มพื้นที่ป่า และการพัฒนาตลาดซื้อขายคาร์บอน เป็นมาตรการสําคัญที่ช่วยให้ประเทศไทยสามารถเข้าสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน รัฐบาลมีแผนในการเพิ่มพื้นที่ปลูกป่าในประเทศ จากร้อยละ 31.8 เป็นร้อยละ 40 ในปี 2579 เพื่อเพิ่มศักยภาพการดูดซับก๊าซเรือนกระจก ซึ่งเป็นการใช้จุดแข็งของประเทศไทยที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ มีพันธุ์พืชที่เหมาะกับ การดูดซับก๊าซเรือนกระจกสูงต่อพื้นที่หลายชนิด นอกจากนี้ รัฐบาลได้พัฒนากลไกตลาดคาร์บอนเครดิตในประเทศไทย โดยกําหนดแนวทางและกลไก การบริหารจัดการคาร์บอนเครดิต เพื่อสร้างแรงจูงใจให้กับภาคเอกชนในการลด การปล่อยก๊าซเรือนกระจก ภาคเอกชน ชุมชน และท้องถิ่นก็จะมีรายได้จากการปลูกป่า/ต้นไม้ ที่เข้าร่วมโครงการซื้อขายคาร์บอนเครดิต
เรื่องที่ 3 นโยบายเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (BCG Model) ที่มุ่งเน้นการใช้ความหลากหลายของทรัพยากรที่ไทยมีอยู่มาสร้างมูลค่าเพิ่ม โดยพัฒนาให้เป็นผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง เชื่อมโยงกับการนําวัสดุต่างๆ กลับมาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด ควบคู่การใช้เทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพ และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมได้อย่างสมดุล ให้เกิดความมั่นคงและยั่งยืน โดยรัฐบาลให้ความสําคัญกับนโยบายเศรษฐกิจ BCG ที่ในภาคการเกษตรและอาหาร การพัฒนาต่อยอดธุรกิจการเกษตรด้วยการสร้างมูลค่าเพิ่ม เน้นเกษตรคุณภาพสูงและการแปรรูปด้วยการส่งเสริมการนําเทคโนโลยีมาใช้ในการผลิตและแปรรูปอาหารจากวัตถุดิบทางการเกษตร ผ่านเทคโนโลยีและนวัตกรรม
สําหรับภาคเกษตรกรรมถือเป็นเป็นรากฐานสําคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ซึ่งรัฐบาลมีแนวทางการพัฒนาภาคเกษตรกรรมให้เข้มแข็ง ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตรแบบครบวงจร เพื่อยกระดับเกษตรกรไทยเป็น “เกษตรอัจฉริยะ” หรือ Smart Farmer ช่วยเพิ่มผลผลิตเพิ่มรายได้ ลดต้นทุน ลดเสี่ยงจากลมฟ้าอากาศและปัจจัยการผลิตที่เป็นปัญหาซ้ําซาก เป็นทั้งทางรอด และทางรุ่งของชาวนา - ชาวสวน - ชาวไร่ โดยรัฐจะระดมการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน เพื่อดําเนินการดังนี้ (1) ส่งเสริมให้มีข้อมูล Big Data ภาคการเกษตร และใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด (2) บริหารพื้นที่เกษตรกรรมเชิงรุกด้วย Agri-map (3) พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เช่น การติดตั้งสถานีวัดสภาพอากาศ (4) สร้างแพลตฟอร์มสนับสนุนการทําเกษตรแปลงใหญ่ เช่น ระบบการเช่า-การจัดหาผู้ว่าจ้างเครื่องจักรกลและโดรนทางการเกษตร (5) ขยายการตลาด ไปสู่ตลาดออนไลน์ โดยต่อยอดจากโครงการอินเตอร์เน็ตหมู่บ้านทั่วประเทศ (6) พัฒนาเกษตรรุ่นใหม่ด้วยนวัตกรรม และการสร้าง Startup สนับสนุนภาคการเกษตร เป็นต้น
ซึ่งวันนี้ ผมมีตัวอย่าง “เกษตรต้นแบบ” ชาวสวนทุเรียนในพื้นที่ EEC สามารถทําสวนทุเรียน ด้วยการใช้เทคโนโลยีมาควบคุมการปลูก ทั้งการให้น้ํา ให้ปุ๋ย เฝ้าดูการเจริญเติบโตขของทุเรียน แม้แต่ช่วยเลือกเวลาที่เหมาะสมในการรับแสงแดด ทําให้ชาวสวนทุเรียนสามารถลดต้นทุนการเพาะปลูกได้ครึ่งหนึ่งจากต้นทุนเดิม
การสร้างมูลค่าเพิ่มอุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพ เคมีชีวภาพ และพลาสติกชีวภาพ ด้วยศักยภาพของภาคเอกชนไทย นับว่าเป็นผู้นําของภูมิภาคในด้านนี้ โดยได้มีการร่วมลงทุนกับผู้นําระดับโลกในอุตสาหกรรมนี้ และมีความพร้อมทางด้านวัตถุดิบทางการเกษตร เช่น การที่ประเทศไทยเป็น ผู้ส่งออกมันสําปะหลังอันดับต้นๆ ของโลก และมีอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพ เช่น ไบโอดีเซลและเอทานอลที่พัฒนาแล้ว นอกจากนี้ ไทยยังเป็นผู้นําการแปรรูปผลิตภัณฑ์พลาสติกในอาเซียน โดยมีผู้ประกอบการหลายพันราย และเป็นผู้นําการผลิตเม็ดพลาสติก ในอาเซียนอยู่แล้ว เราจําเป็นที่ต้องสร้างความเข้มแข็งให้อุตสาหกรรมนี้มีระบบนิเวศ (Ecosystem) ที่ดี และราคาต้นทุนวัตถุดิบทางการเกษตรแข่งขันได้ เพื่อเป็นการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน (Competitiveness) ของอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพ เคมีชีวภาพ และพลาสติกชีวภาพ เพื่อต่อยอดความแข็งแกร่งของอุสาหกรรมนี้ต่อไป เศรษฐกิจ BCG ยังเกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ อาทิ การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ เพื่อการรักษา หรือชาร์ต แบตร่างกาย (Wellness Tourism) การท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ที่ให้ความสําคัญกับอัตลักษณ์ความเป็นไทย และมรดกทางวัฒนธรรม” (Soft Power) “5F” คือ (1) Food-อาหาร (2) Film-ภาพยนตร์และวิดีทัศน์ (3) Fashion-การออกแบบแฟชั่นไทย (4) Fighting-ศิลปะการป้องกันตัวแบบไทย (5) Festival-เทศกาลประเพณีไทย มาสร้าง “มูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ” จากระดับท้องถิ่นสู่เวทีระดับโลก
ในการพัฒนาอุตสาหกรรมใหม่ๆ เหล่านี้ รัฐบาลได้ปรับปรุงการให้สิทธิประโยชน์ ทั้งที่อยู่ในรูปภาษีและไม่ใช่ภาษี เพื่อให้เกิดการลงทุนดังกล่าว นอกจากนี้ เรื่องกําลังคนก็เป็นเรื่องสําคัญ รัฐบาลได้วางหลักสูตรการศึกษาและพัฒนาแรงงาน การเตรียมคน สร้างคนรุ่นใหม่ โดยจะเน้นในเรื่องของสาขาที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ ซึ่งขณะนี้ก็ได้มีมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงของโลกมาเปิดสาขาสอนหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเป้าหมาย หลายแห่งแล้ว ดังที่ได้กล่าวมาก่อนหน้านี้ อย่างไรก็ดี ในระหว่างที่การพัฒนาทักษะ ความรู้ ความสามารถของคนภายในประเทศ ในอุตสาหกรรมใหม่ๆ เหล่านี้ ต้องใช้เวลา ดังนั้น เรื่องที่ 4 ที่ต้องดําเนินการคือ รัฐบาลได้กําหนดมาตรการเพื่อดึงดูดชาวต่างชาติที่มีศักยภาพสูง ให้มาเป็นผู้พํานักระยะยาวในประเทศไทย เพื่อให้มาร่วมพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมาย S-curve ของประเทศไทย และส่งผลดีต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ ผ่านการลงทุน การท่องเที่ยว รวมถึงการจับจ่ายใช้สอยซื้อสินค้าและบริการในประเทศ โดยชาวต่างชาติที่มีศักยภาพนี้ คือ กลุ่มคนที่มีกําลังซื้อสูง หรือเป็นผู้มีทักษะสูง เช่น กลุ่มผู้เชี่ยวชาญพิเศษ กลุ่มประชากรผู้มีความมั่งคั่งสูง และกลุ่มผู้เกษียณอายุ จากต่างประเทศ ขณะนี้รัฐบาลได้ดําเนินการเพื่อรองรับมาตรการดังกล่าว เช่น การออกวีซ่าของผู้พํานักระยะยาว การประกาศใบอนุญาตทํางาน และการศึกษาโครงสร้างเพื่อจัดตั้ง OSS : One Stop Service ในการอํานวยความสะดวกแก่ผู้มีศักยภาพสูงให้เข้ามาในประเทศไทย
ยิ่งไปกว่านั้น ในทุกโอกาสที่ได้พบปะผู้นําประเทศแบบทวิภาคี หรือการประชุมสําคัญๆ แบบพหุภาคี ผมได้นําเสนอนโยบายเชิงรุก และแสวงหาความร่วมมือใหม่ๆ ในประเด็นหลักที่เป็น “วาระของโลก” ทั้งการพัฒนาที่ยั่งยืน SEP for SDG – เศรษฐกิจ BCG – การลดโลกร้อน – การฟื้นฟูยุค Next Normal เป็นต้น ตามที่กล่าวมาแล้ว โดยการแลกเปลี่ยน-เรียนรู้เทคโนโลยีสมัยใหม่ระหว่างกัน แบบไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง / ซึ่งไทยพร้อมที่จะเป็น “หุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์” เพื่อเชิญชวนเข้ามาลงทุนและเชื่อมโยงเป็นห่วงโซ่อุปทานเดียวกันที่เข้มแข็งกับ ทุกพันธมิตร และพร้อมขยายผลการพัฒนาไปสู่ประเทศเพื่อนบ้าน ตามนโยบาย “Thailand+1” หรือ +2 +3 ตามความพร้อมของแต่ละประเทศคู่เจรจา เพราะ “เราเป็นครอบครัวเดียวกัน” ซึ่งในปี 2565 นี้ ก็มีความคืบหน้าครั้งสําคัญๆ เช่น (1) การฟื้นความสัมพันธ์ไทย-ซาอุดีอาระเบีย ในวันประวัติศาสตร์ เมื่อ 25 ม.ค.65 หลังจากห่างหายมากว่า 30 ปี โดยเริ่มเกิดความร่วมมือในการเปิดประเทศ เพื่อท่องเที่ยว ไปมาหาสู่กันในทุกระดับอีกครั้ง – การส่งออกอาหาร สินค้าเกษตร และแรงงาน – การลงทุนและร่วมมือด้านพลังงาน เป็นต้น (2) ความร่วมมือไทย-ญี่ปุ่น โดยนายกญี่ปุ่นมาเยือนไทย ช่วงวันที่ 1-2 พ.ค.65 เพื่อเพิ่มพูนความร่วมมือใหม่ๆ เช่น การผลักดันให้ไทยเป็น “ผู้นําอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า” ในภูมิภาคและเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าอันดับต้นๆ ของโลก - การพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ระบบราง โครงข่ายดิจิทัล และ 5G – การพัฒนา 12 อุตสาหกรรมเป้าหมายและเพิ่มการลงทุนใน EEC เป็นต้น ทั้งนี้ ญี่ปุ่นถือว่าเป็นประเทศที่มีการลงทุนในไทยมากที่สุด ในปี 2564 ยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุน คิดเป็นมูลค่ากว่า 80,000 ล้านบาท ในปี 2565 มีการลงทุนใน EEC ราว 630 ล้านบาท / และล่าสุด (3) การประชุมสุดยอดอาเซียน-สหรัฐฯ เมื่อ 12-13 พ.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งมีเวทีการหารือความร่วมมือ ทั้งแบบหุภาคีและทวิภาคี ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ในเรื่อง การส่งเสริมความมั่นคงด้านสาธารณสุข ทั้งการวิจัยและผลิตยา-วัคซีน ซึ่งไทยมี “ศูนย์จีโนมิกส์” ใน EEC พร้อมต่อยอดความร่วมมือ – การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์-SME-Startup ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ซึ่งไทยมี Thailand Digital Valley ใน EECi – รวมทั้งการต่อต้านการประมง IUU – Soft Power – BCG และประเด็นอื่นๆ ที่เป็น ทิศทางการพัฒนาของโลก อีกด้วย โดยสหรัฐฯ ถือเป็นคู่ค้าทางด้านเศรษฐกิจที่สําคัญเป็นอันดับ 2 และเป็นแหล่งเงินทุนอันดับ 1 ของอาเซียน
ท่านผู้มีเกียรติทุกท่านครับ
ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ผมต้องขอขอบคุณทุกภาคส่วนที่ช่วยกัน รัฐบาลเข้าใจในความขุ่นเคือง ไม่พอใจของประชาชน กับวิกฤติที่ยืดเยื้อติดต่อกันกว่า 2 ปี และมีวิกฤติซ้อนวิกฤติขึ้นอีก รัฐบาลมีความปรารถนาเป็นอย่างยิ่งที่จะนําความสุขกลับมาสู่พี่น้องชาวไทยโดยเร็ว แต่วิกฤติเหล่านี้เป็นวิกฤติโลก เป็นเรื่องที่เราไม่ได้ก่อ หรือจะทําให้จบด้วยตัวเราเองได้ สิ่งที่รัฐบาลสามารถให้ความมั่นใจกับพี่น้องประชาชนได้ คือ ประเทศไทยในวันนี้ ยังมีเสถียรภาพทางการเงินและการคลังที่ดี พร้อมรับมือกับวิกฤติที่ยืดเยื้อได้ มีความพร้อมที่จะรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคตได้ และมีอุตสาหกรรมสําหรับรองรับ คนรุ่นใหม่ในด้านต่างๆ รวมทั้งมีโครงสร้างพื้นฐานที่จะเชื่อมต่อกับประเทศในอาเซียนทุกด้าน ดังที่ผมได้กล่าวมาให้ท่านรับทราบ
ในการเสวนาครั้งนี้ จะมีคําตอบในสิ่งเหล่านี้ จากรัฐมนตรีและผู้บริหารกระทรวงต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ขอให้ประชาชนเชื่อมั่น บางครั้งในยามวิกฤติ ไม่ว่ารัฐบาลนี้ หรือรัฐบาลหน้า อาจจะทํางานไม่ทันใจ ก็ขอให้เข้าใจ เห็นความจริงใจ “ทุกคน” มุ่งมั่นแก้ปัญหา ตั้งใจทํางาน ขอเพียงให้อดทน ร่วมมือ ร่วมใจกัน ไม่ใช่เวลาแห่งความขัดแย้ง หรือบ่อนทําลายชาติบ้านเมือง...เพราะนี้ คือ “ประเทศไทยของเรา” แผ่นดินนี้ ยังมีสิ่งที่งดงาม และอนาคตที่ดีๆ รอพวกเรา และลูกหลานอยู่ครับ
ขอบคุณครับ
สวัสดีครับ | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-คำกล่าว พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เปิดเสวนา ชี้แจงผลงานของรัฐบาล
วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤษภาคม 2565
คํากล่าว พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เปิดเสวนา ชี้แจงผลงานของรัฐบาล
คํากล่าว พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เปิดเสวนา ชี้แจงผลงานของรัฐบาล วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤษภาคม 2565
สวัสดีพี่น้องประชาชนคนไทยทุกคน
ผมมีความยินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่ได้มาพบทุกท่าน ณ ที่นี้ รวมถึงผู้รับชมผ่าน Live streaming ด้วยครับ
ผมย้อนคิดเสมอถึงวันที่ผมตัดสินใจเข้ามาบริหารประเทศเมื่อ 7 ปีก่อน วันนั้นประเทศไทยมีการแบ่งขั้ว สลับกันต่อต้านซึ่งกันและกัน โดยเหตุการณ์ดังกล่าวได้เกิดขึ้นต่อเนื่องกันมานับ 10 ปี เป็นเหตุให้บ้านเมืองเดินหน้าต่อไปไม่ได้ คนไทยไม่มีความสุข และประเทศไทยได้ชื่อว่าเป็นคนป่วยแห่งเอเชีย ซึ่งในวันนี้ พวกเราหลายคนอาจจะลืมกันไปแล้ว และเมื่อผมได้ตัดสินใจไปแล้ว ผมก็ได้เดินหน้าทําให้ดีที่สุด
การมีคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. ก็เข้าใจดีว่าต้องแลกกับการถูกกล่าวหาว่าประเทศเราไม่เป็นประชาธิปไตย ในเวลานั้น คสช.ได้พยายามพิสูจน์ให้ประชาชนเห็นว่าทุกคนสามารถมีเสรีภาพทางความคิด ภายใต้กรอบกฎหมายที่ผ่อนปรนกับทุกฝ่ายมากที่สุด ในช่วงเป็นรัฐบาล คสช. มีอํานาจพิเศษมากมาย แต่ผมก็ไม่ได้ใช้ในทุกกรณี ใช้เท่าที่จําเป็น เพื่อแก้ไขปัญหาเท่านั้น ในส่วนของกระบวนการยุติธรรม การตรวจสอบต่าง ๆ องค์กรอิสระยังคงทําหน้าที่เป็นอิสระ โดยผมจะไม่เข้าไปก้าวล่วงการทําหน้าที่ใด ๆ
วัตถุประสงค์ของการเข้ามาในช่วงเวลาดังกล่าว เพื่อดํารงไว้ซึ่งความสงบเรียบร้อยของประเทศ บ้านเมืองสามารถเดินหน้าต่อไปได้ และทําให้นานาชาติเกิดความเชื่อมั่นประเทศไทย ทุกคนก็ได้เห็นว่าในช่วงหลังจากนั้น รัฐบาลไทยได้รับการยอมรับจากนานาชาติ และประเทศเรามีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามาเยี่ยมเยียนกว่า 40 ล้านคน ในช่วงเวลานั้น รัฐบาลได้บริหารประเทศ ภายใต้วิสัยทัศน์ “ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”
การสร้างบ้านสร้างชาติให้เป็นบ้านที่มีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ตามวิสัยทัศน์ที่วางไว้ จําเป็นต้องมี Master Plan ซึ่งก็ คือ “ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี” ระหว่างปี พ.ศ. 2561 – 2580 ประกอบด้วย 1.ด้านความมั่นคง 2.ด้าน การสร้างความสามารถในการแข่งขัน 3.ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ 4.ด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม 5.ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และ 6.ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ
ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี เป็นแผนภาพรวมใหญ่ที่จะทําให้ทุกภาคส่วน ในสังคมเข้าใจและเห็นภาพบ้านของเราในอนาคตเดียวกัน เดินไปสู่เป้าหมายที่ตรงกัน โดยเป็นกรอบเป้าหมายในการพัฒนาประเทศ ที่ทําให้การพัฒนาเกิดความต่อเนื่อง มีแผนระยะสั้น และระยะปานกลาง ได้แก่ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ แผนปฏิรูปประเทศ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนความมั่นคงแห่งชาติ เป็นกลไกสําคัญในการถ่ายทอดการขับเคลื่อนประเทศ ให้บรรลุเป้าหมายและวิสัยทัศน์ตามยุทธศาสตร์ชาติ
เมื่อเข้าสู่รัฐบาลใหม่ที่มาจากการเลือกตั้งในปี 2562 ผมได้มีโอกาสกลับมาสานต่อการบริหารภายใต้รัฐธรรมนูญปัจจุบัน ผมและคณะรัฐมนตรีทุกคน ได้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและความมั่นคงของประเทศอย่างต่อเนื่อง รัฐบาลได้ดําเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ที่เป็นกรอบเป้าหมาย และแนวทางการพัฒนาประเทศ ให้กับหน่วยงานของรัฐ ทุกภาคส่วน ให้ปฏิบัติตาม โดยจะมีการวัดผลและทบทวนแผนอย่างสม่ําเสมอ ตามสถานการณ์และความจําเป็นของประเทศ ในช่วงเวลานั้น แม้หลายประเทศ รวมถึงประเทศไทยจะได้รับผลกระทบจากสงครามการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯ แต่ประเทศไทยก็ยังเติบโตได้ดีในระดับหนึ่ง ซึ่งในระหว่างนั้น รัฐบาลก็ได้พยายามพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ สร้างความเข้มแข็งของอุตสาหกรรมเดิม พร้อมทั้งมุ่งเน้นการยกระดับขีดความสามารถ โดยสร้างอุตสาหกรรมใหม่แห่งอนาคต เพื่อให้สอดรับกับบริบททางเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป
รัฐบาลนี้ ได้สานต่อนโยบายการส่งเสริม 12 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2558 เพื่อทําให้ประเทศไทยสามารถสร้างฐานรายได้และการจ้างงานใหม่ รวมทั้งการขยายโอกาสทางการค้าและการลงทุนในเวทีโลก โดยการต่อยอด-ยกระดับ 5 อุตสาหกรรมเดิมที่ไทยมีศักยภาพ และมีความได้เปรียบ โดยนํามาประยุกต์-ผสมผสานกับเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อให้สอดรับกับบริบทของเศรษฐกิจและสังคมโลกสมัยใหม่ ประกอบด้วย 5 อุตสาหกรรม (First S-curve) ได้แก่ ยานยนต์สมัยใหม่ อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ การท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและ การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ การเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ และการแปรรูปอาหาร
และการ “ต่อยอด” 7 อุตสาหกรรมใหม่ (New S-curve) ที่เป็นแนวโน้มของโลกในอนาคต ได้แก่ หุ่นยนต์เพื่ออุตสาหกรรม การบินและโลจิสติกส์ เชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ ดิจิทัล การแพทย์และสุขภาพครบวงจร การป้องกันประเทศ การพัฒนาบุคลากรและการศึกษาเพื่อรองรับอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ
โครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) เกิดขึ้นเพื่อเป็นพื้นที่ การลงทุนและแหล่งบ่มเพาะ 12 อุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ โครงการโครงสร้างพื้นฐานของ EEC ได้รับการพัฒนาแบบบูรณาการ เพื่อเป็นประตูสําคัญ ที่เชื่อมโยงการคมนาคมขนส่งและโลจิสติกส์ของไทย ทั้งทางบก ทางราง ทางน้ํา และทางอากาศ ในการเชื่อมโยงกับประเทศต่างๆ ทั้งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเอเชียแปซิฟิก / นอกจากนี้ มีการพัฒนา “เมืองแห่งนวัตกรรม” หรือเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EECi) ให้เป็น “ซิลิคอนวัลเลย์” ของเมืองไทย และ “เมืองใหม่อัจฉริยะด้วยนวัตกรรม” หรือเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล (EECd) ปัจจุบันการดําเนินงานมีความก้าวหน้าตามลําดับ โดย EEC จะเป็นโมเดลความสําเร็จสําหรับการดึงดูดการลงทุน และกระจายความเจริญไปสู่ทุกภูมิภาคของประเทศ ซึ่งขณะนี้ได้กําหนดเป้าหมายในการพัฒนาไว้ในแต่ละภาคไว้ด้วยแล้ว
ในส่วนของการเตรียมความพร้อมการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน ก็ได้ดําเนินการมาอย่างต่อเนื่อง เกิดการลงทุนจริง ที่มีอัตราการขยายตัวเฉลี่ยของการลงทุนของภาครัฐ ในช่วงปี 2558 – 2562 ถึงร้อยละ 7.9 ต่อปี เชื่อมโยงแต่ละภาคของประเทศ และเชื่อมต่อภูมิภาคอาเซียน ทุกทิศทาง ได้แก่
ทางถนน : ปี 2557 มี 4,271 กิโลเมตร ปี 2564 เพิ่มเป็น 11,583 กิโลเมตร
มอเตอร์เวย์ : สร้างเพิ่ม 3 เส้นทางสําคัญ บางปะอิน-โคราช บางใหญ่-กาญจนบุรี และพัทยา-มาบตาพุด
ทางราง : ปี 2557 ระยะทาง 4,073 กิโลเมตร ครอบคลุม 47 จังหวัด ส่วนใหญ่เป็นทางเดี่ยว มีทางคู่-ทางสาม 357 กิโลเมตร ปัจจุบันมีแผนสร้างเพิ่ม ระยะเวลา 20 ปี จะมีระยะทาง 8,900 กิโลเมตร ครอบคลุม 62 จังหวัด เป็นทางคู่-ทางสาม 5,640 กิโลเมตร สถานีกลางบางซื่อ เป็นชุมทางรถไฟขนาดใหญ่ ทันสมัยที่สุด ในอาเซียน เชื่อมรถไฟทางไกล – รถไฟความเร็วสูง – รถไฟฟ้าในกรุงเทพฯ – รถไฟชานเมือง – สถานี บขส. และสนามบิน รถไฟฟ้า (กทม.และปริมณฑล) สร้างเพิ่ม 10 สาย ระยะทางรวม 204.9 กิโลเมตร อยู่ระหว่างการพิจารณาอีก 2 สาย นอกจากนี้ ยังมีรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน และรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ที่อยู่ระหว่างดําเนินการ
ทางน้ํา : เพิ่มศักยภาพรองรับปริมาณการขนส่งทางน้ํา จากเดิมปี 2557 ประมาณ 279 ล้านตัน ปี 2564 เพิ่มเป็น 355 ล้านตัน โดยพัฒนาท่าเรือมาบตาพุด และท่าเรือแหลมฉบัง เปิดเดินเรือเฟอร์รี่ “พัทยา-หัวหิน” ใช้เวลา 2 ชั่วโมง เชื่อมแหล่งท่องเที่ยวสําคัญ กระตุ้นเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว ปีละ 4,000 ล้านบาท
ทางอากาศ : ปรับปรุงสนามบินทั่วประเทศ เพิ่มศักยภาพการรองรับผู้โดยสาร จากเดิมปี 57 รองรับ 118 ล้านคน ปี 64 เพิ่มเป็น 139 ล้านคน
โครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล รัฐบาลได้ให้ความสําคัญกับการลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลอย่างต่อเนื่อง ครอบคลุมถึงการพัฒนาเทคโนโลยี 5G ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ ประเทศไทยนับเป็นประเทศแรกๆ ในภูมิภาคอาเซียน ที่พร้อมเปิดประตูสู่โอกาส ในการเปลี่ยนผ่านสู่โลกดิจิทัล ทําให้การส่งผ่านข้อมูลรวดเร็วขึ้นมาก โดยในปี 2564 ความเร็วเฉลี่ยอินเตอร์เน็ตบ้านของไทย ที่ 308 ล้านบิทต่อวินาที (Mbps) ถือว่าแรงเป็นอันดับ 1 ของโลก
รัฐบาลได้ดําเนินโครงการเน็ตหมู่บ้าน 74,987 หมู่บ้าน ทั้งประเทศเข้าถึงบริการโทรคมนาคมอย่างทั่วถึง และเท่าเทียม เป็นโครงการที่ได้รับรางวัล The Winner ในงาน World Summit on the Information Society (WSIS) Prizes 2019 ซึ่งจัดโดยสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU)
นอกจากนี้ ยังมีโครงการสายเคเบิ้ลใต้น้ํา ที่รัฐบาลดําเนินการอยู่จะช่วยเสริมบทบาทของไทยเป็น “ศูนย์กลางดิจิทัลของอาเซียน” ซึ่งจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพโครงข่ายอินเทอร์เน็ตระหว่างประเทศ เชื่อมต่อจีน - อินเดีย - อาเซียน มีประชากรรวมกันกว่า 3,300 ล้านคน หรือเกือบ “ครึ่งโลก”
รัฐบาลได้นําเทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับใช้ในการบริหารราชการแผ่นดิน โดยมุ่งเป้าการเปลี่ยนแปลงสู่ (Transform) รัฐบาลดิจิทัล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการของภาครัฐ โดยได้บูรณาการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานภาครัฐ พัฒนาระบบรองรับการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล หรือ Digital ID พัฒนาแพลตฟอร์มการให้บริการภาคเอกชนและประชาชนแบบเบ็ดเสร็จ และเข้าถึงง่าย ซึ่งได้ทําอย่างเป็นระบบ เพื่อให้ทุกภาคส่วนได้เรียนรู้และปรับตัวเข้าสู่สังคมดิจิทัล อย่างเป็นขั้นเป็นตอน เริ่มจากการพัฒนาระบบ “พร้อมเพย์” เพื่อสนับสนุนการชําระเงินและโอนเงินแบบทันที (ปี 2558) ยกระดับระบบศูนย์กลางบริการภาครัฐเพื่อภาคธุรกิจ (Biz Portal) สําหรับการออกใบอนุญาต (ปี 2559) พัฒนาระบบพอร์ทัลกลางเพื่อประชาชน (Citizen Portal) เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ประชาชน ในการติดต่อขอรับบริการผ่านช่องทางออนไลน์ (ปี 2563)
การบริหารจัดการทรัพยากรน้ําของประเทศ จัดทําแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ํา 20 ปี เพื่อแก้ปัญหาน้ําท่วม-น้ําแล้ง และเตรียม “น้ําต้นทุน” สําหรับภาคการผลิต ทั้งเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม รวมทั้งเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ตลอดจนน้ําอุปโภค-บริโภค สําหรับทุกครัวเรือน อย่างทั่วถึง
โดยเร่งรัดขับเคลื่อนโครงการต่างๆ ภายใต้แผนบรรเทาอุทกภัยลุ่มน้ําเจ้าพระยาตอนล่าง เพื่อแก้ไขปัญหาน้ําท่วมบริเวณลุ่มน้ําเจ้าพระยาตอนล่าง เร่งรัดขับเคลื่อนโครงการพัฒนาแหล่งน้ํา และจัดการทรัพยากรน้ํารองรับเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) การฟื้นฟูแหล่งน้ําธรรมชาติขนาดใหญ่ เร่งรัดขับเคลื่อนโครงการขนาดใหญ่ และโครงการสําคัญๆ พัฒนาเครื่องมือการบริหารจัดการน้ํา ได้แก่ ผังน้ํา คลังข้อมูลน้ํา ในรูปแบบ One Map ผ่านเว็บไซต์และแอปพลิเคชัน National Thai Water ตัวอย่างโครงการพัฒนาแหล่งน้ําที่รัฐบาล ขับเคลื่อนและดําเนินการ ในแต่ละภาค ได้แก่ ภาคเหนือ อ่างเก็บน้ําน้ําปี้ อันเนื่องมาจากพระราชดําริ จ.พะเยา เริ่มโครงการฯ ปี 2559 จะแล้วเสร็จปี 2568 มีความจุ 91 ล้าน ลบ.ม. เพิ่มพื้นที่ชลประทาน 25,000 ไร่
ภาคกลาง โครงการบรรเทาอุทกภัยอําเภอบางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์ เริ่มโครงการฯ ปี 2560 จะแล้วเสร็จปี 2569 ช่วยระบายน้ําได้ 1,025 ลบ.ม/วินาที เพิ่มการเก็บกักน้ําได้ 31 ล้าน ลบ.ม. บรรเทาพื้นที่น้ําท่วมได้ 4,900 ไร่
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โครงการพัฒนาลุ่มน้ําห้วยหลวงตอนล่าง จ.หนองคาย เริ่มโครงการฯ ปี 2561 จะแล้วเสร็จปี 2569 เป็นการก่อสร้างประตูระบายน้ํา และสถานีสูบน้ํา 150 ลบ.ม/วินาที ช่วยบรรเทาปัญหาน้ําท่วมในเขตจังหวัดอุดรธานีและหนองคายได้ 54,390 ไร่ เพิ่มปริมาณน้ํา 246 ล้าน ลบ.ม. เพิ่มพื้นที่ชลประทาน 300,195 ไร่
ภาคตะวันออก โครงการอ่างเก็บน้ํานฤบดินทรจินดา อันเนื่องมาจากพระราชดําริ หรือ “เขื่อนห้วยโสมง” จ.ปราจีนบุรี เริ่มโครงการฯ ปี 2553 ขณะนี้ได้เปิดใช้งานแล้ว ความจุ 295 ล้าน ลบ.ม. ครอบคลุมพื้นที่ชลประทาน 111,300 ไร่
ภาคใต้ โครงการบรรเทาอุทกภัยหาดใหญ่ (ระยะที่ 2) จ.สงขลา เริ่มโครงการฯ ปี 2558 จะเปิดใช้งานปี 2565 นี้ เป็นการปรับปรุงคลองเดิม เพื่อเพิ่มศักยภาพ การระบายน้ํา จากเดิม 456 ลบ.ม/วินาที เป็น 1,200 ลบ.ม./วินาที พร้อมสถานี สูบน้ํา 90 ลบ.ม/วินาที
และโครงการแก้ปัญหาน้ําท่วมพื้นที่กรุงเทพมหานคร ได้แก่ อุโมงค์ระบายน้ําใต้คลองบางซื่อ บริเวณถนนรัชดาภิเษก ไปออกแม่น้ําเจ้าพระยาบริเวณเกียกกาย มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 5 ม. ยาวประมาณ 6.4 กม. สร้างแล้วเสร็จปี 2563 ระบายน้ําได้ 60 ลบ.ม./วินาที ครอบคลุมพื้นที่ 56 ตารางกิโลเมตร 8 เขต ประกอบด้วยเขตห้วยขวาง ดินแดง พญาไท จตุจักร ลาดพร้าว วังทองหลาง บางซื่อ และเขตดุสิต
ผลลัพธ์ที่ได้รับตั้งแต่ปี 2560 จนถึงปัจจุบัน ได้แก่ เพิ่มการกักเก็บน้ํารวม 1,452 ล้าน ลบ.ม. พัฒนาน้ําบาดาลเพื่อการเกษตร 124 ล้าน ลบ.ม. ลดพื้นที่ประสบภัยแล้งลงอย่างต่อเนื่อง จาก 36,944 หมู่บ้าน ในปี 2556 และในปี 2564/65 ไม่มีประกาศภัยแล้ง
การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้วย “การศึกษา” ระดับอาชีวศึกษา เน้นเรียนจบมีงานทํา โดยการจัดการศึกษารูปแบบ “ทวิศึกษา” คือ เรียนทฤษฎีจากโรงเรียน แล้วปฏิบัติจริงในสถานประกอบการ เพื่อผลิตแรงงานมีทักษะฝีมือป้อนตลาดแรงงานที่ตรงกับความต้องการพัฒนาประเทศ เช่น 12 อุตสาหกรรมเป้าหมาย เป็นต้น สําหรับระดับอุดมศึกษา มีการปฏิรูปการอุดมศึกษาครั้งใหญ่อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน โดยหลักการสําคัญ คือ การขับเคลื่อนทั้งสถานศึกษาและสถาบันวิจัยพัฒนา ในการสร้างคน-สร้างนวัตกรรม ให้ไปในทิศทางเดียวกัน ส่งเสริมซึ่งกันและกัน นับตั้งแต่ปี 2562 ได้วางแนวทางส่งเสริมการศึกษาแบบ Lifelong Learning หรือ การเรียนรู้ตลอดชีวิต เช่น (1) การลงทะเบียนเรียนข้ามสถาบัน ไร้ข้อจํากัดเรื่องสถาบัน ลดความเหลื่อมล้ําทางการเรียนการสอน (2) ธนาคารหน่วยกิตแห่งชาติ (National Credit Bank) เกษียณก็เรียนได้ ต่อยอดวุฒิการศึกษา-วิทยาการใหม่ๆ ได้ทุกช่วงวัย สะสมหน่วยกิตการันตีความรู้ เลือกเรียนตามความสนใจ หรือเสริมทักษะแบบ “สหวิทยาการ” อ่อนตัวเรื่องเวลาและวิธีการเรียน ทั้ง Online และ Onsite (3) ยกเลิกกรอบเวลาสูงสุดของหลักสูตร ไม่มีรีไทร์เพราะเรียนเกิน (4) การจัดทําหลักสูตร Higher Education Sandbox โดยจัดกลุ่มมหาวิทยาลัยตามเป้าหมายการพัฒนาประเทศ ดูแลตั้งแต่ “ต้นทาง--สถาบันการศึกษา” ไปจนถึง “ปลายทาง--ตลาดแรงงาน” ให้เป็นห่วงโซ่เดียวกัน
นอกจากนี้ ยังมีการแสวงหาความร่วมมือกับต่างประเทศ เพื่อเป็นแรงเสริมในการขับเคลื่อน EEC และเสริมทัพการศึกษายุคใหม่ ผลิตคนยุคใหม่ เตรียมพร้อมสําหรับโลกปัจจุบัน และอนาคต เช่น (1) มหาวิทยาลัยอมตะ ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวัน เปิดหลักสูตรสาขาวิศวกรรม Intelligent Manufacturing System (2) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยคาร์เนกีเมลลอน จากสหรัฐฯ เปิดสอนหลักสูตรสารสนเทศและวิทยาการคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
การเกิดวิกฤติโรคระบาดโควิด-19 ตั้งแต่ปี 2563 ซึ่งเป็นวิกฤติโลกที่เราไม่ได้ก่อ และเป็นมหาวิกฤติครั้งที่ใหญ่ที่สุด นับตั้งแต่สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อการถดถอยทางเศรษฐกิจของทุกประเทศในโลก รวมถึงประเทศไทย เราถูกประเมินว่าจะได้รับผลกระทบมากที่สุด ในระดับต้นๆ ของโลก เพราะเศรษฐกิจไทยพึ่งพาการท่องเที่ยวกว่าร้อยละ 20 ของ GDP การระบาดของโควิด-19 ทําให้ทั่วโลกหยุดเดินทาง และเครื่องจักรการท่องเที่ยวไม่สามารถสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยได้เหมือนก่อน
เมื่อมองย้อนกลับไป 2 ปี วิกฤติโรคระบาดโควิด-19 นี้ นับเป็นโจทย์ที่ยาก เพราะเราสู้อยู่กับศัตรูที่มองไม่เห็น ไม่มีอาวุธใดจะปราบได้ โดยในช่วงเริ่มการระบาด ทั่วโลกจําเป็นต้องปิดประเทศ รวมถึงประเทศไทย ทุกประเทศ รวมถึงประเทศไทยต้องใช้งบประมาณจํานวนมาก ในการเยียวยา ช่วยเหลือประชาชน เพื่อตั้งหลัก ประคับประคอง และกระตุ้นเศรษฐกิจ การต่อสู้กับการระบาดของโควิด-19 ไม่มีอะไรที่แน่นอน จึงได้สร้างมาตรฐานการต่อสู้ใหม่ในหลายระลอก มีวัคซีนก็ต้องแบ่งปัน กระจายการฉีดอย่างทั่วถึงและรวดเร็ว เพื่อความปลอดภัยของคนในประเทศ นโยบายต่างๆ ที่ออกมา ได้คํานึงถึงการสร้างความสมดุลทั้งมิติด้านสุขภาพและมิติทางเศรษฐกิจมาโดยตลอด รัฐบาลต้องบริหารจัดการให้ประเทศสามารถเดินหน้าต่อได้ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่สร้างงาน สร้างรายได้ให้กับประเทศ โดยในวันที่ 1 กรกฎาคม 2564 ประเทศไทยก็ได้นําร่องเปิดประเทศในโครงการ “ภูเก็ตแซนด์บอกซ์” และได้เปิดประเทศจริงจังเมื่อ 1 พฤศจิกายน ปีที่ผ่านมา ซึ่งได้กลายเป็นต้นแบบให้กับประเทศอื่นๆ ไปปฏิบัติ ทั้งนี้ แม้เปิดประเทศแล้ว เราก็ยังจําเป็นต้องระมัดระวัง ยังต้องตระเตรียมความพร้อม ทั้งวัคซีนและยารักษาไว้อย่างเพียงพอ เพราะวิกฤตการแพร่ระบาดยังไม่จบสิ้น ทั้งนี้ ผลสัมฤทธิ์จากความร่วมมือร่วมใจของคนไทย ทุกภาคส่วน ภาครัฐ ภาคเอกชน บุคลากรทางการแพทย์ เจ้าหน้าที่ อสม.และเจ้าหน้าที่ด่านหน้าที่เกี่ยวข้อง ทําให้องค์กรต่างประเทศหลายแห่ง รวมถึงองค์การอนามัยโลกได้ให้การยอมรับ และชื่นชมประเทศไทย ให้เป็นประเทศที่รับมือกับสถานการณ์โควิดได้ดีที่สุด เป็นลําดับต้นๆ ของโลก เมื่อมองในแง่บวกแล้ว แม้โควิดจะเป็นวิกฤตโลก แต่ก็เป็นโอกาสของไทยในหลายๆ ด้าน เช่น (1) ทั่วโลกได้เห็นศักยภาพระบบสาธารณสุขไทย ทั้งการรักษา การให้บริการ การรับมือ โรคอุบัติใหม่และภาวะฉุกเฉิน (2) ยกระดับความมั่นคงทางด้านสุขภาพ ตั้งแต่บริการสาธารณสุขระดับปฐมภูมิ ทีมหมอครอบครัว อสม. รวมถึงขีดความสามารถในการวิจัย พัฒนา และผลิตวัคซีนโควิด ซึ่งเป็นเทคโนโลยีชั้นสูงได้เองหลายชนิดในประเทศ และ (3) ส่งเสริมบทบาทการเป็น “ศูนย์กลางด้านการแพทย์และสาธารณสุข” (Medical and Wellness Hub) ของโลก โดยไทยได้รับเลือกให้เป็นที่ตั้งสํานักงานเลขาธิการของ “ศูนย์อาเซียนด้านการรับมือกับภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขและโรคอุบัติใหม่” (ASEAN Centre for Public Health Emergencies and Emerging Diseases : ACPHEED) ซึ่งจะเปิดทําการในเดือนสิงหาคมนี้ ยิ่งกว่านั้น ยังส่งเสริมโอกาสให้ประเทศไทยสามารถเปิดตลาดอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพได้อย่างเต็มที่ หลังวิกฤตโควิดอีกด้วย
อย่างที่ทุกท่านทราบดี เมื่อเร็วๆ นี้ ทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย ได้รับผลกระทบของวิกฤตจากความขัดแย้ง ระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ซึ่งเป็นการเผชิญวิกฤติซ้อนวิกฤติ หลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด–19 โดยโลกแบ่งเป็นสองขั้ว ทรัพยากรที่เคยสมดุลต้องขาดแคลน มีผลให้ราคาสินค้า ราคาพลังงาน และค่าครองชีพปรับตัวสูงขึ้น สร้างความหวาดกลัวว่าสงครามจะยืดเยื้อ สิ่งสําคัญที่สุดในวันนี้ คือ การแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน เช่น วิกฤติพลังงาน สินค้าขาดแคลน ความยากจน เพื่อให้ประชาชนอยู่รอดอย่างพอเพียง รัฐบาลจึงได้เข้ามาดูแลประชาชน เพื่อลดภาระค่าครองชีพของประชาชน ด้วยมาตรการต่างๆ โดยเฉพาะในกลุ่มที่ได้รับผลกระทบ อาทิ การช่วยเหลือเพื่อซื้อก๊าซหุงต้ม การช่วยเหลือค่าน้ํามันให้กับผู้ขับขี่มอเตอร์ไซค์รับจ้าง การช่วยลดภาระค่าไฟฟ้า การตรึงราคาขายปลีกน้ํามันดีเซล ตลอดจนการลดอัตราเงินสมทบของนายจ้างและลูกจ้างที่อยู่ในระบบประกันสังคม เป็นต้น ล่าสุดรัฐบาลก็ได้เสนอแก้ไขกฎหมายประกันสังคม เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น เพิ่มอายุผู้ประกันตนให้ถึง 65 ปี แก้ไขเพิ่มเติมสิทธิประโยชน์กรณีชราภาพ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนและเสริมสภาพคล่องทางการเงินแก่ผู้ประกันตน โดยสามารถนําเงินกรณีชราภาพบางส่วนออกมาใช้ก่อนครบกําหนดอายุ 55 ปีบริบูรณ์ มี 3 แนวทาง หรือ “3 ขอ” (1) ขอเลือก คือ จะรับเงินเป็นบําเหน็จ หรือบํานาญ ก็ได้ตามสมัครใจ (2) ขอคืน คือ ขอใช้เงินบางส่วนก่อนกําหนด เพราะมีเหตุจําเป็น (3) ขอกู้ คือ ใช้เงินสะสมเป็นหลักประกันเงินกู้กับสถาบันการเงินได้ และเพิ่มสิทธิประโยชน์อื่นๆ ให้ผู้ประกันตน ในระบบประกันสังคมอีก เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมมากขึ้น
รัฐบาลตระหนักว่าสถานการณ์ที่กําลังเกิดขึ้นในขณะนี้ มีความไม่แน่นอน และอาจยืดเยื้อ โดยรัฐบาลจะติดตามประเมินสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และต่อเนื่อง และพร้อมที่จะปรับปรุงแนวทางการช่วยเหลือ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด กับประเทศชาติ และประชาชน ในระยะต่อไป
เรื่องสําคัญอีกเรื่อง ผมได้ประกาศให้ปี 2565 เป็นปีแห่งการแก้ไขหนี้ครัวเรือน ครอบคลุมลูกหนี้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ซึ่งขณะนี้ ได้ปลดล็อคเงื่อนไขหลายประการ รวมถึงแก้ไขกฎหมายกองทุน กยศ. โดยจะช่วยผ่อนปรนภาระหนี้ของนักเรียนได้เป็นจํานวนมาก ตลอดจนลูกหนี้เช่าซื้อ ลูกหนี้บัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคลและข้าราชการ และหนี้ผู้ประกอบการ จะได้รับการผ่อนปรนลดภาระดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียม และปรับปรุงกระบวนการยุติธรรม ให้เอื้อต่อการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ทั้งนี้รายละเอียดจะอยู่ในหนังสือ “แก้หนี้ครบ จบในเล่มเดียว” ที่นํามาแจกประชาชน-ผู้เข้าร่วมสัมมนาในวันนี้ด้วย
นอกจากการแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือนทั้ง 8 ประเด็นข้างต้นแล้ว ความยากจนของแต่ละคน แต่ละบ้าน มีที่มาจากปัญหาที่แตกต่างกัน ดังนั้น สิ่งที่รัฐบาลกําลังเริ่มทําอยู่ในตอนนี้ คือ การแก้ปัญหาความยากจนแบบมุ่งเป้าแต่ละครัวเรือน หรือการตัดเสื้อให้พอดีตัว ซึ่งจะมีการตั้งทีมพี่เลี้ยง เข้าไปตรวจสอบข้อมูลทุกครัวเรือนยากจน ในแต่ละหมู่บ้าน เพื่อไปรับทราบปัญหา ช่วยหาทางแก้ไข และให้การสนับสนุนให้ครอบครัว มีการวางแผน หรือแก้ปัญหาความยากจนของแต่ละครัวเรือน ให้ตรงตามสภาพปัญหาที่แต่ละครอบครัวกําลังเผชิญ เมื่อทราบปัญหาของแต่ละครอบครัว ทีมพี่เลี้ยงก็จะมีมาตรการที่จะช่วยแก้ปัญหาที่แตกต่างกันไป ตามแต่ละครอบครัว ทั้ง “5 มิติ พร้อมๆ กัน” โดยมิติสุขภาพ (ตรวจสุขภาพประจําปี การดูแลสุขภาพ การติดตามผู้ป่วยเรื้อรัง) มิติความเป็นอยู่ (ปรับปรุงซ่อมแซมที่อยู่อาศัย) มิติการศึกษา (เข้าถึงการศึกษาขั้นพื้นฐาน และได้รับความรู้เพื่อพัฒนาตนเอง “ทุกช่วงวัย”) มิติด้านรายได้ (การจัดสรรที่ดินทํากิน ฝึกอาชีพ พัฒนาทักษะแรงงาน มีรายได้เสริม แก้หนี้นอกระบบ วิสาหกิจชุมชน เกษตรแปลงใหญ่) มิติการเข้าถึงบริการภาครัฐ (กลุ่มเปราะบาง-ผู้สูงอายุ-ผู้พิการ-ผู้ป่วยติดเตียง ต้องได้รับสิทธิ์ไม่ตกหล่น) เป็นต้น เพื่อแก้ปัญหาความยากจน อย่างเป็นระบบ แบบพุ่งเป้ารายครอบครัว โดยการแก้ปัญหาความยากจนนั้น เมื่อเราสร้างกลไกการทํางาน กลไกความร่วมมือในทุกระดับได้แล้ว ทุกอย่างก็จะทยอยดีขึ้น ไม่ใช่ว่าคนจนจะหมดไปในปีนี้ หรือในทันทีได้ มันต้องอาศัยเวลาและความร่วมมือด้วยกัน
ที่ผ่านมา แม้ประเทศไทยจะเจอกับเรื่องวิกฤติซ้อนวิกฤติ ไม่ว่าจะจากโรคโควิด-19 ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน รวมถึงเกิดความแตกแยกทางความคิดมากมายแค่ไหนก็ตาม รัฐบาลของผมก็ยังเดินหน้าพัฒนาประเทศอย่างต่อเนื่อง ดังที่ได้กล่าวมาแล้วก่อนหน้านี้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านต่างๆ โครงการ EEC การศึกษา เป็นต้น
ภายหลังจากที่สถานการณ์โควิด-19 คลี่คลายลง ประเทศไทยเองต้องมี การลงทุน และเตรียมความพร้อมที่จะเติบโต ด้วยการขับเคลื่อนเศรษฐกิจใหม่ ได้แก่
เรื่องที่ 1 เทคโนโลยีดิจิทัล
ในช่วงวิกฤตโควิด–19 ผลักดันให้เกิดเศรษฐกิจดิจิทัลเร็วขึ้น อย่างก้าวกระโดด ทั้งการทําธุรกรรมและการให้บริการรูปแบบต่างๆ ทางอิเล็กทรอนิกส์ ตลอดจน การเติบโตของเศรษฐกิจแพลตฟอร์ม (Platform Economy) การค้า e-Commerce และการใช้ Digital Banking ก็ขยายตัวอย่างรวดเร็ว จากการที่รัฐบาลได้มีการวางรากฐาน “เศรษฐกิจดิจิทัล” (Digital Economy) ตามที่ได้กล่าวมาในข้างต้น และจากแนวคิด National e-Payment ส่งเสริมให้เกิด “สังคมไร้เงินสด” (Cashless Society) รัฐบาลได้พัฒนาแพลตฟอร์มเพื่อเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนนโยบายและมาตรการต่างๆ จนประสบผลสําเร็จ ที่นําไปสู่การปฏิบัติได้จริงในขณะนี้ ได้แก่ (1) โครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ที่จ่ายเงินช่วยเหลือผ่านบัญชีธนาคาร ผู้มีรายได้น้อย 14 ล้านราย และกลุ่มเปราะบาง เช่น ผู้สูงอายุและผู้พิการ สําหรับ ซื้อขายสินค้าจากร้านธงฟ้า (กว่า 20,000 แห่ง) หรือร้านค้าที่ร่วมโครงการ สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากได้ (2) โครงการ “พร้อมเพย์” (Prompt pay) และ QR Payment ที่เป็นการชําระเงินผ่านอิเล็กทรอกนิกส์แบบ Any ID ที่เชื่อมโยงกับหมายเลขโทรศัพท์เคลื่อนที่ หรือหมายเลขบัตรประจําตัวประชาชน โดยไม่มีค่าธรรมเนียม สามารถต่อยอดไปสู่ระบบภาษีและการบริจาค e-Donation สําหรับขอลดหย่อนภาษีได้ (3) Government Wallet (G-Wallet) ถุงเงิน application สําหรับ SME ขนาดเล็ก คือการใช้จ่ายเงินดิจิทัลของผู้เข้าร่วมโครงการผ่าน แอป “เป๋าตัง” กว่า 50 ล้านคน และร้านค้า–SME ที่เข้าร่วมโครงการผ่าน แอป “ถุงเงิน” ในโครงการคนละครึ่ง – เราเที่ยวด้วยกัน – ชิม ช้อปใช้ เป็นต้น (4) การนําเทคโนโลยีบล็อกเชน (Blockchain) มาใช้กับการคืนภาษี VAT ให้กับนักท่องเที่ยว และการออกพันธบัตรรัฐบาลที่เชื่อมโยงกับระบบภาษี เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการนําส่งภาษี
ยิ่งกว่านั้น ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) และการลงทะเบียนด้วยระบบพิสูจน์และยืนยันตัวตน จากโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ โครงการ Prompt pay และ QR Payment รวมทั้งโครงการ G-Wallet และแอปถุงเงิน สามารถนํามาต่อยอดได้ ในอีกหลายๆ เรื่อง เช่น Digital Health Platform ที่เชื่อมโยงสิทธิ์ ในระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าของ สปสช.ผ่านแอปเป๋าตัง ใช้ในการจ่ายยา – แจก ATK ณ ร้านขายยา หรือหน่วยบริการที่เข้าร่วมโครงการ
นอกจากนี้ การวิเคราะห์ฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) และการให้บริการคลาวด์ (Cloud services) เป็นหัวใจสําคัญ ในการขับเคลื่อนของโลกดิจิทัล ในอนาคตด้วย โดยประเทศไทยตั้งเป้าที่จะเป็นศูนย์กลางระดับภูมิภาค ให้แก่บริษัทดิจิทัลต่างๆ ได้มีการหารือกับนักลงทุนระดับโลกอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีโอกาสที่จะได้รับทราบข่าวดีเร็วๆ นี้ เกี่ยวกับการตัดสินใจลงทุนในประเทศไทยจากนักลงทุนระดับโลก
สําหรับโครงข่าย 5G ที่รัฐบาลได้วางไว้ จะสามารถรองรับการพัฒนาต่อยอดในระบบอื่นๆ ตามมาอีกมากมาย นอกจากจะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน และเพิ่มประสิทธิภาพการทํางานของภาครัฐและเอกชนแล้ว ยังผลักดันให้เกิดธุรกิจแห่งอนาคตใหม่ๆ ของผู้ประกอบการ SME และ Startup เกิดขึ้นตามมาอีกหลากหลายสาขา เช่น (1) ด้านสาธารณสุข ได้แก่ โครงการศิริราช Smart Hospital หรือ โรงพยาบาลอัจฉริยะ (Smart Hospital) ซึ่งมีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี 5G - ระบบ Cloud และ AI Solutions เพื่อพัฒนาบริการสาธารณสุขในรูปแบบใหม่ ตั้งแต่กระบวนการพยากรณ์ความเสี่ยง การป้องกันโรคและการรักษา ทั้งการบริการการแพทย์ฉุกเฉิน ผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ไปจนถึงการบริหารจัดการทรัพยากรของโรงพยาบาล ตลอดจนเพิ่มคุณภาพในการรักษา เพิ่มความปลอดภัย เพิ่มโอกาสในการเข้าถึงบริการสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ห่างไกล ลดความเหลื่อมล้ํา ลดระยะเวลารอคอย และลดต้นทุนการรักษาพยาบาล (2) ด้านคมนาคม ได้แก่ สถานีกลางบางซื่อที่เป็นต้นแบบการพัฒนาให้เป็น สถานีอัจฉริยะ (Smart Station) ด้วยการใช้เทคโนโลยี 5G ในการเชื่อมต่อการเดินทางและการโดยสารทางบกในทุกรูปแบบ ยกระดับการให้บริการด้วยเทคโนโลยีหุ่นยนต์ ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และอื่นๆ ในการช่วยเหลือนักเดินทางรวมทั้งเด็ก ผู้สูงอายุ และคนพิการ รวมทั้งระบบการรักษาความปลอดภัยเป็นพื้นที่ การให้บริการข้อมูลการเดินทาง นําทางในสถานี ตลอดจนแนะนําสถานที่และเส้นทางการท่องเที่ยวต่างๆ โดยการสื่อสารกับหุ่นยนต์ช่วยเหลือในการเดินทาง
ทั้งหมดนี้ จะได้นําพาสังคมไทยก้าวสู่การพัฒนาเป็นสังคมดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบต่อไปในอนาคต
เรื่องที่ 2 อุตสาหกรรม การค้า การลงทุนที่เกี่ยวเนื่องกับการลดปริมาณคาร์บอน ประเทศไทยได้ประกาศกําหนดเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (CO2) โดยมีเป้าหมายบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอน ในปี พ.ศ.2593 (ค.ศ.2050) และเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ภายในปี พ.ศ.2608 (ค.ศ.2065) เพื่อสนับสนุนการบรรลุเป้าหมายในระดับโลก ในการประชุมสุดยอดผู้นําเวทีโลกใน COP26 นอกจากนี้ การตั้งเป้าหมายดังกล่าว จะทําให้ลดความเสี่ยงจากการถูกกีดกันทางการค้า และเพิ่มโอกาสที่จะเข้าร่วม ในเวทีการค้าได้มากขึ้น เนื่องจากเป้าหมายการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จะถูกใช้เป็นเงื่อนไขการค้าระหว่างประเทศ ที่มีความสําคัญมากกว่าข้อตกลงทางการค้า (FTA) ในอนาคต ขณะนี้เราก็ได้เห็นแล้ว จากการที่สหภาพยุโรปประกาศเก็บภาษีคาร์บอนบางรายการ สหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นตลาดคู่ค้าใหญ่ของไทยก็จะมีการเก็บภาษีคาร์บอนในสินค้าที่มีการปล่อยคาร์บอนสูงในการผลิต ดังนั้น ประเทศไทยจะต้องใช้โอกาสเร่งพัฒนาและประยุกต์ใช้นวัตกรรม คิดค้นอุตสาหกรรมสมัยใหม่ที่จะตอบสนองความต้องการที่เปลี่ยนไป ก้าวสู่การเป็นอุตสาหกรรมสมัยใหม่ที่มุ่งใช้พลังงานสะอาดมากขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคและภาคธุรกิจที่มุ่งไปสู่สินค้าและบริการ ที่สร้างผลกระทบให้โลกน้อยที่สุด ซึ่งจะสร้างประโยชน์ทางการค้า การส่งออก และภาคธุรกิจไทย
ภาคพลังงาน การผลิตไฟฟ้า รัฐบาลได้ปรับโครงสร้างพลังงานลดสัดส่วนการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล ไปสู่การใช้พลังงานหมุนเวียน ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การปรับโครงสร้างกิจการพลังงานเชื้อเพลิงที่ใช้ในโรงไฟฟ้าต่างๆ เพื่อรองรับแนวโน้มการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน รวมถึงขยายแนวคิดการใช้ พลังงานหมุนเวียนให้เป็นพลังงานทดแทนในทุกภาคส่วน เพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานโดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม
รถยนต์พลังงานไฟฟ้า (EV) รัฐบาลกําหนดแผนที่จะผลิตรถยนต์ไม่ปล่อยมลพิษร้อยละ 30 ของการผลิตในปี 2573 ทั้งรถยนต์นั่ง รถกระบะ รถจักรยานยนต์ รถบัส และรถบรรทุก โดยมีแผนระยะสั้นและระยะปานกลาง เพื่อเพิ่มความต้องการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในภาพรวม ตลอดจนออกมาตรการสนับสนุน สร้างแรงจูงใจและดึงดูดการลงทุนในอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าของผู้ประกอบการ นอกจากนี้ ยังมีเป้าหมายพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานรองรับยานยนต์ไฟฟ้า การส่งเสริมสถานีอัดประจุยานยนต์ไฟฟ้าสาธารณะแบบ Fast charge และสถานีสับเปลี่ยนแบตเตอรี่สําหรับรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า อีกด้วย
การปลูกและเพิ่มพื้นที่ป่า และการพัฒนาตลาดซื้อขายคาร์บอน เป็นมาตรการสําคัญที่ช่วยให้ประเทศไทยสามารถเข้าสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน รัฐบาลมีแผนในการเพิ่มพื้นที่ปลูกป่าในประเทศ จากร้อยละ 31.8 เป็นร้อยละ 40 ในปี 2579 เพื่อเพิ่มศักยภาพการดูดซับก๊าซเรือนกระจก ซึ่งเป็นการใช้จุดแข็งของประเทศไทยที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ มีพันธุ์พืชที่เหมาะกับ การดูดซับก๊าซเรือนกระจกสูงต่อพื้นที่หลายชนิด นอกจากนี้ รัฐบาลได้พัฒนากลไกตลาดคาร์บอนเครดิตในประเทศไทย โดยกําหนดแนวทางและกลไก การบริหารจัดการคาร์บอนเครดิต เพื่อสร้างแรงจูงใจให้กับภาคเอกชนในการลด การปล่อยก๊าซเรือนกระจก ภาคเอกชน ชุมชน และท้องถิ่นก็จะมีรายได้จากการปลูกป่า/ต้นไม้ ที่เข้าร่วมโครงการซื้อขายคาร์บอนเครดิต
เรื่องที่ 3 นโยบายเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (BCG Model) ที่มุ่งเน้นการใช้ความหลากหลายของทรัพยากรที่ไทยมีอยู่มาสร้างมูลค่าเพิ่ม โดยพัฒนาให้เป็นผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง เชื่อมโยงกับการนําวัสดุต่างๆ กลับมาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด ควบคู่การใช้เทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพ และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมได้อย่างสมดุล ให้เกิดความมั่นคงและยั่งยืน โดยรัฐบาลให้ความสําคัญกับนโยบายเศรษฐกิจ BCG ที่ในภาคการเกษตรและอาหาร การพัฒนาต่อยอดธุรกิจการเกษตรด้วยการสร้างมูลค่าเพิ่ม เน้นเกษตรคุณภาพสูงและการแปรรูปด้วยการส่งเสริมการนําเทคโนโลยีมาใช้ในการผลิตและแปรรูปอาหารจากวัตถุดิบทางการเกษตร ผ่านเทคโนโลยีและนวัตกรรม
สําหรับภาคเกษตรกรรมถือเป็นเป็นรากฐานสําคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ซึ่งรัฐบาลมีแนวทางการพัฒนาภาคเกษตรกรรมให้เข้มแข็ง ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตรแบบครบวงจร เพื่อยกระดับเกษตรกรไทยเป็น “เกษตรอัจฉริยะ” หรือ Smart Farmer ช่วยเพิ่มผลผลิตเพิ่มรายได้ ลดต้นทุน ลดเสี่ยงจากลมฟ้าอากาศและปัจจัยการผลิตที่เป็นปัญหาซ้ําซาก เป็นทั้งทางรอด และทางรุ่งของชาวนา - ชาวสวน - ชาวไร่ โดยรัฐจะระดมการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน เพื่อดําเนินการดังนี้ (1) ส่งเสริมให้มีข้อมูล Big Data ภาคการเกษตร และใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด (2) บริหารพื้นที่เกษตรกรรมเชิงรุกด้วย Agri-map (3) พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เช่น การติดตั้งสถานีวัดสภาพอากาศ (4) สร้างแพลตฟอร์มสนับสนุนการทําเกษตรแปลงใหญ่ เช่น ระบบการเช่า-การจัดหาผู้ว่าจ้างเครื่องจักรกลและโดรนทางการเกษตร (5) ขยายการตลาด ไปสู่ตลาดออนไลน์ โดยต่อยอดจากโครงการอินเตอร์เน็ตหมู่บ้านทั่วประเทศ (6) พัฒนาเกษตรรุ่นใหม่ด้วยนวัตกรรม และการสร้าง Startup สนับสนุนภาคการเกษตร เป็นต้น
ซึ่งวันนี้ ผมมีตัวอย่าง “เกษตรต้นแบบ” ชาวสวนทุเรียนในพื้นที่ EEC สามารถทําสวนทุเรียน ด้วยการใช้เทคโนโลยีมาควบคุมการปลูก ทั้งการให้น้ํา ให้ปุ๋ย เฝ้าดูการเจริญเติบโตขของทุเรียน แม้แต่ช่วยเลือกเวลาที่เหมาะสมในการรับแสงแดด ทําให้ชาวสวนทุเรียนสามารถลดต้นทุนการเพาะปลูกได้ครึ่งหนึ่งจากต้นทุนเดิม
การสร้างมูลค่าเพิ่มอุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพ เคมีชีวภาพ และพลาสติกชีวภาพ ด้วยศักยภาพของภาคเอกชนไทย นับว่าเป็นผู้นําของภูมิภาคในด้านนี้ โดยได้มีการร่วมลงทุนกับผู้นําระดับโลกในอุตสาหกรรมนี้ และมีความพร้อมทางด้านวัตถุดิบทางการเกษตร เช่น การที่ประเทศไทยเป็น ผู้ส่งออกมันสําปะหลังอันดับต้นๆ ของโลก และมีอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพ เช่น ไบโอดีเซลและเอทานอลที่พัฒนาแล้ว นอกจากนี้ ไทยยังเป็นผู้นําการแปรรูปผลิตภัณฑ์พลาสติกในอาเซียน โดยมีผู้ประกอบการหลายพันราย และเป็นผู้นําการผลิตเม็ดพลาสติก ในอาเซียนอยู่แล้ว เราจําเป็นที่ต้องสร้างความเข้มแข็งให้อุตสาหกรรมนี้มีระบบนิเวศ (Ecosystem) ที่ดี และราคาต้นทุนวัตถุดิบทางการเกษตรแข่งขันได้ เพื่อเป็นการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน (Competitiveness) ของอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพ เคมีชีวภาพ และพลาสติกชีวภาพ เพื่อต่อยอดความแข็งแกร่งของอุสาหกรรมนี้ต่อไป เศรษฐกิจ BCG ยังเกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ อาทิ การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ เพื่อการรักษา หรือชาร์ต แบตร่างกาย (Wellness Tourism) การท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ที่ให้ความสําคัญกับอัตลักษณ์ความเป็นไทย และมรดกทางวัฒนธรรม” (Soft Power) “5F” คือ (1) Food-อาหาร (2) Film-ภาพยนตร์และวิดีทัศน์ (3) Fashion-การออกแบบแฟชั่นไทย (4) Fighting-ศิลปะการป้องกันตัวแบบไทย (5) Festival-เทศกาลประเพณีไทย มาสร้าง “มูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ” จากระดับท้องถิ่นสู่เวทีระดับโลก
ในการพัฒนาอุตสาหกรรมใหม่ๆ เหล่านี้ รัฐบาลได้ปรับปรุงการให้สิทธิประโยชน์ ทั้งที่อยู่ในรูปภาษีและไม่ใช่ภาษี เพื่อให้เกิดการลงทุนดังกล่าว นอกจากนี้ เรื่องกําลังคนก็เป็นเรื่องสําคัญ รัฐบาลได้วางหลักสูตรการศึกษาและพัฒนาแรงงาน การเตรียมคน สร้างคนรุ่นใหม่ โดยจะเน้นในเรื่องของสาขาที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ ซึ่งขณะนี้ก็ได้มีมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงของโลกมาเปิดสาขาสอนหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเป้าหมาย หลายแห่งแล้ว ดังที่ได้กล่าวมาก่อนหน้านี้ อย่างไรก็ดี ในระหว่างที่การพัฒนาทักษะ ความรู้ ความสามารถของคนภายในประเทศ ในอุตสาหกรรมใหม่ๆ เหล่านี้ ต้องใช้เวลา ดังนั้น เรื่องที่ 4 ที่ต้องดําเนินการคือ รัฐบาลได้กําหนดมาตรการเพื่อดึงดูดชาวต่างชาติที่มีศักยภาพสูง ให้มาเป็นผู้พํานักระยะยาวในประเทศไทย เพื่อให้มาร่วมพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมาย S-curve ของประเทศไทย และส่งผลดีต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ ผ่านการลงทุน การท่องเที่ยว รวมถึงการจับจ่ายใช้สอยซื้อสินค้าและบริการในประเทศ โดยชาวต่างชาติที่มีศักยภาพนี้ คือ กลุ่มคนที่มีกําลังซื้อสูง หรือเป็นผู้มีทักษะสูง เช่น กลุ่มผู้เชี่ยวชาญพิเศษ กลุ่มประชากรผู้มีความมั่งคั่งสูง และกลุ่มผู้เกษียณอายุ จากต่างประเทศ ขณะนี้รัฐบาลได้ดําเนินการเพื่อรองรับมาตรการดังกล่าว เช่น การออกวีซ่าของผู้พํานักระยะยาว การประกาศใบอนุญาตทํางาน และการศึกษาโครงสร้างเพื่อจัดตั้ง OSS : One Stop Service ในการอํานวยความสะดวกแก่ผู้มีศักยภาพสูงให้เข้ามาในประเทศไทย
ยิ่งไปกว่านั้น ในทุกโอกาสที่ได้พบปะผู้นําประเทศแบบทวิภาคี หรือการประชุมสําคัญๆ แบบพหุภาคี ผมได้นําเสนอนโยบายเชิงรุก และแสวงหาความร่วมมือใหม่ๆ ในประเด็นหลักที่เป็น “วาระของโลก” ทั้งการพัฒนาที่ยั่งยืน SEP for SDG – เศรษฐกิจ BCG – การลดโลกร้อน – การฟื้นฟูยุค Next Normal เป็นต้น ตามที่กล่าวมาแล้ว โดยการแลกเปลี่ยน-เรียนรู้เทคโนโลยีสมัยใหม่ระหว่างกัน แบบไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง / ซึ่งไทยพร้อมที่จะเป็น “หุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์” เพื่อเชิญชวนเข้ามาลงทุนและเชื่อมโยงเป็นห่วงโซ่อุปทานเดียวกันที่เข้มแข็งกับ ทุกพันธมิตร และพร้อมขยายผลการพัฒนาไปสู่ประเทศเพื่อนบ้าน ตามนโยบาย “Thailand+1” หรือ +2 +3 ตามความพร้อมของแต่ละประเทศคู่เจรจา เพราะ “เราเป็นครอบครัวเดียวกัน” ซึ่งในปี 2565 นี้ ก็มีความคืบหน้าครั้งสําคัญๆ เช่น (1) การฟื้นความสัมพันธ์ไทย-ซาอุดีอาระเบีย ในวันประวัติศาสตร์ เมื่อ 25 ม.ค.65 หลังจากห่างหายมากว่า 30 ปี โดยเริ่มเกิดความร่วมมือในการเปิดประเทศ เพื่อท่องเที่ยว ไปมาหาสู่กันในทุกระดับอีกครั้ง – การส่งออกอาหาร สินค้าเกษตร และแรงงาน – การลงทุนและร่วมมือด้านพลังงาน เป็นต้น (2) ความร่วมมือไทย-ญี่ปุ่น โดยนายกญี่ปุ่นมาเยือนไทย ช่วงวันที่ 1-2 พ.ค.65 เพื่อเพิ่มพูนความร่วมมือใหม่ๆ เช่น การผลักดันให้ไทยเป็น “ผู้นําอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า” ในภูมิภาคและเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าอันดับต้นๆ ของโลก - การพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ระบบราง โครงข่ายดิจิทัล และ 5G – การพัฒนา 12 อุตสาหกรรมเป้าหมายและเพิ่มการลงทุนใน EEC เป็นต้น ทั้งนี้ ญี่ปุ่นถือว่าเป็นประเทศที่มีการลงทุนในไทยมากที่สุด ในปี 2564 ยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุน คิดเป็นมูลค่ากว่า 80,000 ล้านบาท ในปี 2565 มีการลงทุนใน EEC ราว 630 ล้านบาท / และล่าสุด (3) การประชุมสุดยอดอาเซียน-สหรัฐฯ เมื่อ 12-13 พ.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งมีเวทีการหารือความร่วมมือ ทั้งแบบหุภาคีและทวิภาคี ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ในเรื่อง การส่งเสริมความมั่นคงด้านสาธารณสุข ทั้งการวิจัยและผลิตยา-วัคซีน ซึ่งไทยมี “ศูนย์จีโนมิกส์” ใน EEC พร้อมต่อยอดความร่วมมือ – การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์-SME-Startup ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ซึ่งไทยมี Thailand Digital Valley ใน EECi – รวมทั้งการต่อต้านการประมง IUU – Soft Power – BCG และประเด็นอื่นๆ ที่เป็น ทิศทางการพัฒนาของโลก อีกด้วย โดยสหรัฐฯ ถือเป็นคู่ค้าทางด้านเศรษฐกิจที่สําคัญเป็นอันดับ 2 และเป็นแหล่งเงินทุนอันดับ 1 ของอาเซียน
ท่านผู้มีเกียรติทุกท่านครับ
ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ผมต้องขอขอบคุณทุกภาคส่วนที่ช่วยกัน รัฐบาลเข้าใจในความขุ่นเคือง ไม่พอใจของประชาชน กับวิกฤติที่ยืดเยื้อติดต่อกันกว่า 2 ปี และมีวิกฤติซ้อนวิกฤติขึ้นอีก รัฐบาลมีความปรารถนาเป็นอย่างยิ่งที่จะนําความสุขกลับมาสู่พี่น้องชาวไทยโดยเร็ว แต่วิกฤติเหล่านี้เป็นวิกฤติโลก เป็นเรื่องที่เราไม่ได้ก่อ หรือจะทําให้จบด้วยตัวเราเองได้ สิ่งที่รัฐบาลสามารถให้ความมั่นใจกับพี่น้องประชาชนได้ คือ ประเทศไทยในวันนี้ ยังมีเสถียรภาพทางการเงินและการคลังที่ดี พร้อมรับมือกับวิกฤติที่ยืดเยื้อได้ มีความพร้อมที่จะรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคตได้ และมีอุตสาหกรรมสําหรับรองรับ คนรุ่นใหม่ในด้านต่างๆ รวมทั้งมีโครงสร้างพื้นฐานที่จะเชื่อมต่อกับประเทศในอาเซียนทุกด้าน ดังที่ผมได้กล่าวมาให้ท่านรับทราบ
ในการเสวนาครั้งนี้ จะมีคําตอบในสิ่งเหล่านี้ จากรัฐมนตรีและผู้บริหารกระทรวงต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ขอให้ประชาชนเชื่อมั่น บางครั้งในยามวิกฤติ ไม่ว่ารัฐบาลนี้ หรือรัฐบาลหน้า อาจจะทํางานไม่ทันใจ ก็ขอให้เข้าใจ เห็นความจริงใจ “ทุกคน” มุ่งมั่นแก้ปัญหา ตั้งใจทํางาน ขอเพียงให้อดทน ร่วมมือ ร่วมใจกัน ไม่ใช่เวลาแห่งความขัดแย้ง หรือบ่อนทําลายชาติบ้านเมือง...เพราะนี้ คือ “ประเทศไทยของเรา” แผ่นดินนี้ ยังมีสิ่งที่งดงาม และอนาคตที่ดีๆ รอพวกเรา และลูกหลานอยู่ครับ
ขอบคุณครับ
สวัสดีครับ | https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/54766 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกฯ ชี้แจงรัฐบาลแก้ไขวิกฤตราคาพลังงานสูงเงินเฟ้อ ยืนยันดูแลทุกด้านเศรษฐกิจสาธารณสุขตามแนวทางสายกลางอย่างเต็มความสามารถ | วันศุกร์ที่ 22 กรกฎาคม 2565
นายกฯ ชี้แจงรัฐบาลแก้ไขวิกฤตราคาพลังงานสูงเงินเฟ้อ ยืนยันดูแลทุกด้านเศรษฐกิจสาธารณสุขตามแนวทางสายกลางอย่างเต็มความสามารถ
นายกฯ ชี้แจงรัฐบาลแก้ไขวิกฤตราคาพลังงานสูงเงินเฟ้อ ยืนยันดูแลทุกด้านเศรษฐกิจสาธารณสุขตามแนวทางสายกลางอย่างเต็มความสามารถ
นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี เผยว่า วันนี้ (21 กรกฎาคม 2565) เวลา 19.00 น. ณ ห้องประชุมพระสุริยัน ชั้น 2 อาคารรัฐสภา พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เข้าร่วมการประชุมการพิจารณาญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจ รัฐมนตรีเป็นรายบุคคล ตามมาตรา 151 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 โดยได้ชี้แจงต่อเรื่องวิกฤตด้านพลังงานสูง ของแพง น้ํามันแพง เป็นวิกฤตที่เกิดขึ้นจริงกับไทย และเกิดกับทุกประเทศทั่วโลก ซึ่งเกิดจากผลกระทบของโรคโควิด-19 สงคราม ผลพวงจากนโยบายการเงิน-การคลังของประเทศใหญ่ๆ ที่ใช้ในการแก้ปัญหาโควิด-19 โดยเฉพาะนโยบาย Zero Covid Policy ในบางประเทศ ก่อให้เกิดการผันผวนทางเศษฐกิจทั่วโลก ทั้งอัตราค่าเงิน เงินเฟ้อ ดอกเบี้ย เกิดปัญหาขึ้นกับทุกประเทศ เป็นไปตามหลักการเศรษฐศาสตร์
อัตราเงินเฟ้อโลกพุ่งสูงมากในช่วงโควิด เกิดกับทุกประเทศแม้กระทั่งประเทศมหาอํานาจก็ได้รับผลกระทบ หากดูราคาน้ํามันดิบ ช่วงโควิด ราคาน้ํามันต่ําลงมากในช่วงที่ไม่มีการเดินทาง เมื่อเปิดประเทศมีการเดินทางและปัญหาความขัดแย้งระหว่างประเทศ ทําให้ราคาน้ํามันดิบแพงขึ้น 100 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ซึ่งไทยต้องนําเข้ามากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ และได้มาจากประเทศเพื่อนบ้านซึ่งก็ไม่มากนัก สถานการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นอุบัติภัยครั้งใหญ่ของโลก เป็นคลื่นที่พัดพาความเสียหายเหล่านี้มายังประเทศไทย แม้ในบางพื้นที่จะดีขึ้น แต่ก็ยังฝากความเสียหายกับเศรษฐกิจและสังคมทั่วโลกอย่างมหาศาล ซึ่งรัฐบาลไม่ได้นิ่งนอนใจ เรียกประชุมหลายครั้ง และประชุมหารือใน
จํานวนคนเสียชีวิตจากโควิดทั่วโลกยังคงมีจํานวนสูง มีการปิดเมือง ปิดประเทศและการเดินทาง ทําให้ธุรกิจเสียหาย และกว่าจะตั้งหลักใหม่ต้องใช้เวลาพอสมควร หลายประเทศเลือกใช้นโยบายเศรษฐกิจนําหน้าสาธารณสุข ส่งผลให้จํานวนคนตายเยอะกว่าค่าเฉลี่ยโลก บางประเทศเป็นผู้ผลิตวัคซีนและยา เมื่อเกิดการผันผวนทางเศรษฐกิจ มีเกิดภาวะเงินเฟ้อและหนี้สาธารณะสูง เสถียรภาพทางเศรษฐกิจเสียหาย ทําให้เกิดเงินเฟ้อมหาศาล หลายประเทศต้องขึ้นดอกเบี้ย ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยกําลังจัดการดูแลสิ่งเหล่านี้อยู่
ขณะที่บางประเทศ ใช้สาธารณสุขนําหน้าเศรษฐกิจ ผลคืออัตราคนตายน้อยลง และเศรษฐกิจผันผวนน้อยกว่า อย่างไรก็ดี ไทยใช้ทางสายกลาง สร้างความสมดุลระหว่างสุขภาพและปากท้อง ยืดหยุ่นได้ตามสถานการณ์ ใช้มาตรการควบคุมเท่าที่จําเป็น ขอยืนยันว่า ไม่ได้ใช้เพื่อควบคุมการชุมนุม เพียงต้องการควบคุมสถานการณ์โควิด ไม่ต้องการให้มีการเสียชีวิต จึงต้องรักษาทางสายกลางให้ได้ ไม่ให้เกิดความเครียดจากโควิด เศรษฐกิจ และความขัดแย้ง สังคมไทยต้องไม่เครียดเกินไป กิจกรรมที่มีความเสี่ยงมากต้องควบคุม
อัตราการตายของไทยอยู่ระดับต่ํามาก อยู่ในลําดับ 127 ของโลก อันดับที่ 6 ของอาเซียน แต่นายกรัฐมนตรียังคงไม่พอใจ รัฐบาลทําทุกวิถีทางเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว ทั้งการกู้เงิน เพื่อจัดหาวัคซีน รักษาประชาชน ช่วยเหลือเยียวยาประชาชนและผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบ 1.5 ล้านล้านบาท ใช้เงินกว่า 854,000 ล้านบาท แก้ไขปัญหาและช่วยเหลือเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบกว่า 45 ล้านราย ยืนยันว่า รัฐบาลนําเงินช่วยเหลือตรงกลุ่มเป้าหมาย ผ่านโครงการเราชนะ โครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ม.33 ช่วยเหลือค่าน้ํา-ค่าไฟ คนละครึ่ง รักษาการจ้างงาน SMEs
การดําเนินการที่ผ่านมาเป็นผลดีพอสมควร ได้รับการร่วมมือจากนโยบายเปิดประเทศได้อย่างดี หลายประเทศชื่นชมไทย หารือความร่วมมือกับไทยเพื่อดูแลและแก้ไขปัญหาโควิด และมีการจัดตั้งศูนย์โรคระบาดใหม่ที่ไทย จึงขอขอบคุณทุกฝ่ายที่ทําให้ประเทศไทยมีชื่อเสียง องค์กรระหว่างประเทศชื่นชมไทยว่า ดูแลโควิดได้ดีที่สุด เป็นต้นแบบความสําเร็จอันดับ 3 ของโลก
นอกจากนี้ เรื่องสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP หลายประเทศมีนโยบายต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สาธารณะ ไทยก็เช่นกัน และมีการกําหนดเป็นไปตามหลักการสากล โดยไทยรักษาหนี้สาธารณะได้อย่างดี ซึ่งจากข้อมูลของ IMF ไทยมีหนี้สาธารณะเป็นเพียงสีส้มอ่อน ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับหลายๆประเทศ ไทยมีหนี้สาธารณะไม่มาก ทั้งนี้ ปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นทั่วโลก ความขัดแย้งระหว่างประเทศ และวิกฤตพลังงาน ซ้ําเติมภาวะเงินเฟ้อ ทําให้อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทอ่อนค่าลง รัฐบาลมีความพยายามในการแก้ไขปัญหามาตลอด เร่งแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนประชาชน เพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขันของไทยไว้ให้ได้ ดูแล ลดค่าครองชีพ ลดต้นทุนในการดําเนินธุรกิจ ลดผลกระทบภาระเงินเฟ้อ เพื่อให้ประชาชนได้มีเวลาปรับตัวด้วยมาตรการต่างๆ โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบาง เช่น การช่วยเหลือซื้อก๊าซหุงต้ม ค่าน้ํามันให้ผู้ขับขี่มอเตอร์ไซต์รับจ้าง ช่วยลดภาระค่าไฟฟ้า ก๊าซ NGV รักษาราคาน้ํามันดีเซล เป็นต้น รวมทั้งขอความร่วมมือผู้ประกอบการตรึงราคาสินค้าให้ได้มากที่สุด ขายสินค้าราคาถูกผ่านร้านธงฟ้า ตลอดจนได้เสริมสภาพคล่องให้แก่ภาคธุรกิจ และแรงงานในระบบประกันสังคม ด้วยการลดเงินสมทบประกันสังคม ในส่วนของนายจ้างและผู้ประกันตน ทุกมาตราเป็นระยะเวลา 3 เดือน เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม – กรกฎาคม 2565 โดยคิดเป็นมูลค่าประมาณ 34,540 ล้านบาท และได้ต่อมาตรการดูแลกลุ่มเปราะบางอย่างต่อเนื่อง จนถึงเดือนกันยายน 2565
รัฐบาลทํางานอย่างเต็มที่มาโดยตลอด และสามารถประคับประคองประเทศให้ผ่านพ้นวิกฤตต่างๆ มาได้ และแม้ปัจจุบันจะเผชิญหน้ากับแนวโน้มของอัตราเงินเฟ้อที่อาจจะสูงที่สุดในรอบ 13 ปี แต่ยังรักษาการเติบโตของเศรษฐกิจได้อย่างต่อเนื่อง และยังคงรักษาอันดับความน่าเชื่อถือทางการเงินของประเทศไว้ได้ในระดับที่ดีเหมือนก่อนเจอวิกฤต ต่อจากนี้ วิกฤตเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มที่จะแย่ลง หลายประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่ๆ กําลังจะเข้าสู่ภาวะถดถอย หรือ recession ในขณะที่เกิดภาวะเงินเฟ้อสูง ถึงสูงมาก รัฐบาล และธนาคารกลางทั่วโลก ต้องใช้นโยบายเศรษฐกิจตึงตัว รวมถึงการดึงเงินกลับเข้าประเทศ (Quantitative Tightening) และออกมาตรการต่าง ๆ ขึ้นดอกเบี้ย ขึ้นภาษี เพื่อสู้กับภาวะเงินเฟ้อที่เกิดขึ้น ซึ่งประเทศส่วนใหญ่ที่มีการกู้เงินในช่วงวิกฤตโควิด และกําลังเผชิญกับดอกเบี้ยที่สูงขึ้น จะทําให้รัฐบาลมีเงินเหลือใช้จ่ายประจํา และลงทุนน้อยลง ก็จะเป็นสถานการณ์ภาวะเศรษฐกิจที่ยากลําบาก
นายกรัฐมนตรีตระหนักดีว่าวิกฤตเศรษฐกิจโลก รวมถึงพลังงานและอาหารจะมีผลกระทบกับไทย อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จึงต้องเตรียมตัวรับมือวิกฤตพลังงานในระยะต่อไป โดยจัดทําแผนความมั่นคงทางพลังงาน ให้กระทรวงพลังงาน และกระทรวงการคลัง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หาแนวทางในการให้ความช่วยเหลือ และบรรเทาผลกระทบด้านราคาพลังงานที่เพิ่มสูงขึ้น แก่ประชาชน โดยเฉพาะประชาชนกลุ่มเปราะบาง รวมถึงให้กระทรวงการต่างประเทศ ใช้ความร่วมมือระหว่างประเทศในภูมิภาคอาเซียนเป็นกลไกรับมือต่อปัญหาวิกฤตพลังงานร่วมกัน
อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยยังถือว่ามีเสถียรภาพ และมีความสามารถในการสู้กับวิกฤตได้ดี ถึงแม้ว่าเป็นประเทศที่ต้องนําเข้าพลังงาน และพึ่งพานักท่องเที่ยว ราคาน้ํามันของไทยกับกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านอาเซียน ณ วันที่ 18 กรกฎาคม 2565 จะพบว่า ราคาน้ํามันของไทยยังอยู่ในระดับต่ํา ดีเซล 34.94 บาท/ลิตร และเบนซิน 38.75 บาท/ลิตร หากเรียงลําดับจากแพงสุดไปต่ําสุด น้ํามันดีเซลและน้ํามันเบนซินเราอยู่ในอันดับที่ 8 จากทั้งหมด 10 ประเทศ จะมีเพียงมาเลเซียและบรูไนที่สามารถขายน้ํามันได้ถูก เนื่องจากสามารถผลิตน้ํามันได้เองภายในประเทศ
เงินเฟ้อไทย ณ เดือน มิถุนายน 2565 ปรับขึ้นเป็น 7.66 % แต่ถ้าเทียบกันแล้วสถานการณ์ของเรายังดีกว่าหลายๆ ประเทศ อย่างสหรัฐฯ อังกฤษ ยุโรป ก็สูง 8-9% อินเดียสูงถึง 15.9% โดยจากการสํารวจของแม็คคินซีย์ โกลบอล เซอร์เวย์ (McKinsey Global Survey) ในเดือนมิถุนายน 2565 เกี่ยวกับสภาพเศรษฐกิจพบว่า อัตราเงินเฟ้อของไทยเป็นอันดับที่ 103 จาก 185 ประเทศทั่วโลก เห็นได้ชัดว่า ประเทศไทยได้รับผลกระทบด้านเงินเฟ้อระดับปานกลางเท่านั้น เมื่อเทียบกับทั่วโลก
ทุกวันนี้ หลายคนมุ่งเน้นข้อมูลในเชิงลบของประเทศไทย ผมอยากจะมาเล่าถึง “จุดแข็ง” ของเศรษฐกิจไทย ให้พี่น้องประชาชน และท่าน ส.ส.ผู้ทรงเกียรติ มีความมั่นใจว่า “เราพร้อมรับมือกับทุกวิกฤต” เพียงแต่เราต้องร่วมมือและสามัคคีกัน ที่สําคัญเรามีหลายๆ อย่าง ที่บางประเทศไม่มี เช่น เรามีหนี้ต่อ GDP ในระดับต่ํา และไม่มีหนี้เงินตราต่างประเทศ หรือมีน้อยมาก เรามีอันดับเครดิตความน่าเชื่อถือทางการเงินการคลังที่ดี แม้ผ่านวิกฤตสองปีที่ผ่านมา โดยสถาบันจัดอันดับก็ยังคงระดับความน่าเชื่อถือไว้ มีระบบธนาคารที่แข็งแรง มีสภาพคล่องในประเทศที่ดี มีเงินสํารองระหว่างประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 12 ของโลก ถือว่าเรามีเงินสํารองอยู่ในระดับสูง เมื่อเทียบกับหลายประเทศ ผลิตอาหารและมีอาหารเพียงพอ มีค่าครองชีพที่ต่ํา มีที่ดินราคาถูก ค่าที่อยู่อาศัยที่ถูกที่สุดแห่งหนึ่งในโลก
โดยนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ในเวลาที่เหลือกว่า 250 วันของรัฐบาล ผมและรัฐบาลจะทําทุกวิถีทาง เพื่อจะนําพาประเทศ และประชาชน ให้ออกจากวิกฤตที่หนักและยาวนาน ลดความเสียหายให้น้อยที่สุด และเตรียมตัวประเทศและประชาชนให้พร้อมกับการฟื้นตัวที่ยั่งยืน | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกฯ ชี้แจงรัฐบาลแก้ไขวิกฤตราคาพลังงานสูงเงินเฟ้อ ยืนยันดูแลทุกด้านเศรษฐกิจสาธารณสุขตามแนวทางสายกลางอย่างเต็มความสามารถ
วันศุกร์ที่ 22 กรกฎาคม 2565
นายกฯ ชี้แจงรัฐบาลแก้ไขวิกฤตราคาพลังงานสูงเงินเฟ้อ ยืนยันดูแลทุกด้านเศรษฐกิจสาธารณสุขตามแนวทางสายกลางอย่างเต็มความสามารถ
นายกฯ ชี้แจงรัฐบาลแก้ไขวิกฤตราคาพลังงานสูงเงินเฟ้อ ยืนยันดูแลทุกด้านเศรษฐกิจสาธารณสุขตามแนวทางสายกลางอย่างเต็มความสามารถ
นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี เผยว่า วันนี้ (21 กรกฎาคม 2565) เวลา 19.00 น. ณ ห้องประชุมพระสุริยัน ชั้น 2 อาคารรัฐสภา พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เข้าร่วมการประชุมการพิจารณาญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจ รัฐมนตรีเป็นรายบุคคล ตามมาตรา 151 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 โดยได้ชี้แจงต่อเรื่องวิกฤตด้านพลังงานสูง ของแพง น้ํามันแพง เป็นวิกฤตที่เกิดขึ้นจริงกับไทย และเกิดกับทุกประเทศทั่วโลก ซึ่งเกิดจากผลกระทบของโรคโควิด-19 สงคราม ผลพวงจากนโยบายการเงิน-การคลังของประเทศใหญ่ๆ ที่ใช้ในการแก้ปัญหาโควิด-19 โดยเฉพาะนโยบาย Zero Covid Policy ในบางประเทศ ก่อให้เกิดการผันผวนทางเศษฐกิจทั่วโลก ทั้งอัตราค่าเงิน เงินเฟ้อ ดอกเบี้ย เกิดปัญหาขึ้นกับทุกประเทศ เป็นไปตามหลักการเศรษฐศาสตร์
อัตราเงินเฟ้อโลกพุ่งสูงมากในช่วงโควิด เกิดกับทุกประเทศแม้กระทั่งประเทศมหาอํานาจก็ได้รับผลกระทบ หากดูราคาน้ํามันดิบ ช่วงโควิด ราคาน้ํามันต่ําลงมากในช่วงที่ไม่มีการเดินทาง เมื่อเปิดประเทศมีการเดินทางและปัญหาความขัดแย้งระหว่างประเทศ ทําให้ราคาน้ํามันดิบแพงขึ้น 100 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ซึ่งไทยต้องนําเข้ามากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ และได้มาจากประเทศเพื่อนบ้านซึ่งก็ไม่มากนัก สถานการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นอุบัติภัยครั้งใหญ่ของโลก เป็นคลื่นที่พัดพาความเสียหายเหล่านี้มายังประเทศไทย แม้ในบางพื้นที่จะดีขึ้น แต่ก็ยังฝากความเสียหายกับเศรษฐกิจและสังคมทั่วโลกอย่างมหาศาล ซึ่งรัฐบาลไม่ได้นิ่งนอนใจ เรียกประชุมหลายครั้ง และประชุมหารือใน
จํานวนคนเสียชีวิตจากโควิดทั่วโลกยังคงมีจํานวนสูง มีการปิดเมือง ปิดประเทศและการเดินทาง ทําให้ธุรกิจเสียหาย และกว่าจะตั้งหลักใหม่ต้องใช้เวลาพอสมควร หลายประเทศเลือกใช้นโยบายเศรษฐกิจนําหน้าสาธารณสุข ส่งผลให้จํานวนคนตายเยอะกว่าค่าเฉลี่ยโลก บางประเทศเป็นผู้ผลิตวัคซีนและยา เมื่อเกิดการผันผวนทางเศรษฐกิจ มีเกิดภาวะเงินเฟ้อและหนี้สาธารณะสูง เสถียรภาพทางเศรษฐกิจเสียหาย ทําให้เกิดเงินเฟ้อมหาศาล หลายประเทศต้องขึ้นดอกเบี้ย ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยกําลังจัดการดูแลสิ่งเหล่านี้อยู่
ขณะที่บางประเทศ ใช้สาธารณสุขนําหน้าเศรษฐกิจ ผลคืออัตราคนตายน้อยลง และเศรษฐกิจผันผวนน้อยกว่า อย่างไรก็ดี ไทยใช้ทางสายกลาง สร้างความสมดุลระหว่างสุขภาพและปากท้อง ยืดหยุ่นได้ตามสถานการณ์ ใช้มาตรการควบคุมเท่าที่จําเป็น ขอยืนยันว่า ไม่ได้ใช้เพื่อควบคุมการชุมนุม เพียงต้องการควบคุมสถานการณ์โควิด ไม่ต้องการให้มีการเสียชีวิต จึงต้องรักษาทางสายกลางให้ได้ ไม่ให้เกิดความเครียดจากโควิด เศรษฐกิจ และความขัดแย้ง สังคมไทยต้องไม่เครียดเกินไป กิจกรรมที่มีความเสี่ยงมากต้องควบคุม
อัตราการตายของไทยอยู่ระดับต่ํามาก อยู่ในลําดับ 127 ของโลก อันดับที่ 6 ของอาเซียน แต่นายกรัฐมนตรียังคงไม่พอใจ รัฐบาลทําทุกวิถีทางเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว ทั้งการกู้เงิน เพื่อจัดหาวัคซีน รักษาประชาชน ช่วยเหลือเยียวยาประชาชนและผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบ 1.5 ล้านล้านบาท ใช้เงินกว่า 854,000 ล้านบาท แก้ไขปัญหาและช่วยเหลือเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบกว่า 45 ล้านราย ยืนยันว่า รัฐบาลนําเงินช่วยเหลือตรงกลุ่มเป้าหมาย ผ่านโครงการเราชนะ โครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ม.33 ช่วยเหลือค่าน้ํา-ค่าไฟ คนละครึ่ง รักษาการจ้างงาน SMEs
การดําเนินการที่ผ่านมาเป็นผลดีพอสมควร ได้รับการร่วมมือจากนโยบายเปิดประเทศได้อย่างดี หลายประเทศชื่นชมไทย หารือความร่วมมือกับไทยเพื่อดูแลและแก้ไขปัญหาโควิด และมีการจัดตั้งศูนย์โรคระบาดใหม่ที่ไทย จึงขอขอบคุณทุกฝ่ายที่ทําให้ประเทศไทยมีชื่อเสียง องค์กรระหว่างประเทศชื่นชมไทยว่า ดูแลโควิดได้ดีที่สุด เป็นต้นแบบความสําเร็จอันดับ 3 ของโลก
นอกจากนี้ เรื่องสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP หลายประเทศมีนโยบายต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สาธารณะ ไทยก็เช่นกัน และมีการกําหนดเป็นไปตามหลักการสากล โดยไทยรักษาหนี้สาธารณะได้อย่างดี ซึ่งจากข้อมูลของ IMF ไทยมีหนี้สาธารณะเป็นเพียงสีส้มอ่อน ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับหลายๆประเทศ ไทยมีหนี้สาธารณะไม่มาก ทั้งนี้ ปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นทั่วโลก ความขัดแย้งระหว่างประเทศ และวิกฤตพลังงาน ซ้ําเติมภาวะเงินเฟ้อ ทําให้อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทอ่อนค่าลง รัฐบาลมีความพยายามในการแก้ไขปัญหามาตลอด เร่งแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนประชาชน เพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขันของไทยไว้ให้ได้ ดูแล ลดค่าครองชีพ ลดต้นทุนในการดําเนินธุรกิจ ลดผลกระทบภาระเงินเฟ้อ เพื่อให้ประชาชนได้มีเวลาปรับตัวด้วยมาตรการต่างๆ โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบาง เช่น การช่วยเหลือซื้อก๊าซหุงต้ม ค่าน้ํามันให้ผู้ขับขี่มอเตอร์ไซต์รับจ้าง ช่วยลดภาระค่าไฟฟ้า ก๊าซ NGV รักษาราคาน้ํามันดีเซล เป็นต้น รวมทั้งขอความร่วมมือผู้ประกอบการตรึงราคาสินค้าให้ได้มากที่สุด ขายสินค้าราคาถูกผ่านร้านธงฟ้า ตลอดจนได้เสริมสภาพคล่องให้แก่ภาคธุรกิจ และแรงงานในระบบประกันสังคม ด้วยการลดเงินสมทบประกันสังคม ในส่วนของนายจ้างและผู้ประกันตน ทุกมาตราเป็นระยะเวลา 3 เดือน เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม – กรกฎาคม 2565 โดยคิดเป็นมูลค่าประมาณ 34,540 ล้านบาท และได้ต่อมาตรการดูแลกลุ่มเปราะบางอย่างต่อเนื่อง จนถึงเดือนกันยายน 2565
รัฐบาลทํางานอย่างเต็มที่มาโดยตลอด และสามารถประคับประคองประเทศให้ผ่านพ้นวิกฤตต่างๆ มาได้ และแม้ปัจจุบันจะเผชิญหน้ากับแนวโน้มของอัตราเงินเฟ้อที่อาจจะสูงที่สุดในรอบ 13 ปี แต่ยังรักษาการเติบโตของเศรษฐกิจได้อย่างต่อเนื่อง และยังคงรักษาอันดับความน่าเชื่อถือทางการเงินของประเทศไว้ได้ในระดับที่ดีเหมือนก่อนเจอวิกฤต ต่อจากนี้ วิกฤตเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มที่จะแย่ลง หลายประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่ๆ กําลังจะเข้าสู่ภาวะถดถอย หรือ recession ในขณะที่เกิดภาวะเงินเฟ้อสูง ถึงสูงมาก รัฐบาล และธนาคารกลางทั่วโลก ต้องใช้นโยบายเศรษฐกิจตึงตัว รวมถึงการดึงเงินกลับเข้าประเทศ (Quantitative Tightening) และออกมาตรการต่าง ๆ ขึ้นดอกเบี้ย ขึ้นภาษี เพื่อสู้กับภาวะเงินเฟ้อที่เกิดขึ้น ซึ่งประเทศส่วนใหญ่ที่มีการกู้เงินในช่วงวิกฤตโควิด และกําลังเผชิญกับดอกเบี้ยที่สูงขึ้น จะทําให้รัฐบาลมีเงินเหลือใช้จ่ายประจํา และลงทุนน้อยลง ก็จะเป็นสถานการณ์ภาวะเศรษฐกิจที่ยากลําบาก
นายกรัฐมนตรีตระหนักดีว่าวิกฤตเศรษฐกิจโลก รวมถึงพลังงานและอาหารจะมีผลกระทบกับไทย อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จึงต้องเตรียมตัวรับมือวิกฤตพลังงานในระยะต่อไป โดยจัดทําแผนความมั่นคงทางพลังงาน ให้กระทรวงพลังงาน และกระทรวงการคลัง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หาแนวทางในการให้ความช่วยเหลือ และบรรเทาผลกระทบด้านราคาพลังงานที่เพิ่มสูงขึ้น แก่ประชาชน โดยเฉพาะประชาชนกลุ่มเปราะบาง รวมถึงให้กระทรวงการต่างประเทศ ใช้ความร่วมมือระหว่างประเทศในภูมิภาคอาเซียนเป็นกลไกรับมือต่อปัญหาวิกฤตพลังงานร่วมกัน
อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยยังถือว่ามีเสถียรภาพ และมีความสามารถในการสู้กับวิกฤตได้ดี ถึงแม้ว่าเป็นประเทศที่ต้องนําเข้าพลังงาน และพึ่งพานักท่องเที่ยว ราคาน้ํามันของไทยกับกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านอาเซียน ณ วันที่ 18 กรกฎาคม 2565 จะพบว่า ราคาน้ํามันของไทยยังอยู่ในระดับต่ํา ดีเซล 34.94 บาท/ลิตร และเบนซิน 38.75 บาท/ลิตร หากเรียงลําดับจากแพงสุดไปต่ําสุด น้ํามันดีเซลและน้ํามันเบนซินเราอยู่ในอันดับที่ 8 จากทั้งหมด 10 ประเทศ จะมีเพียงมาเลเซียและบรูไนที่สามารถขายน้ํามันได้ถูก เนื่องจากสามารถผลิตน้ํามันได้เองภายในประเทศ
เงินเฟ้อไทย ณ เดือน มิถุนายน 2565 ปรับขึ้นเป็น 7.66 % แต่ถ้าเทียบกันแล้วสถานการณ์ของเรายังดีกว่าหลายๆ ประเทศ อย่างสหรัฐฯ อังกฤษ ยุโรป ก็สูง 8-9% อินเดียสูงถึง 15.9% โดยจากการสํารวจของแม็คคินซีย์ โกลบอล เซอร์เวย์ (McKinsey Global Survey) ในเดือนมิถุนายน 2565 เกี่ยวกับสภาพเศรษฐกิจพบว่า อัตราเงินเฟ้อของไทยเป็นอันดับที่ 103 จาก 185 ประเทศทั่วโลก เห็นได้ชัดว่า ประเทศไทยได้รับผลกระทบด้านเงินเฟ้อระดับปานกลางเท่านั้น เมื่อเทียบกับทั่วโลก
ทุกวันนี้ หลายคนมุ่งเน้นข้อมูลในเชิงลบของประเทศไทย ผมอยากจะมาเล่าถึง “จุดแข็ง” ของเศรษฐกิจไทย ให้พี่น้องประชาชน และท่าน ส.ส.ผู้ทรงเกียรติ มีความมั่นใจว่า “เราพร้อมรับมือกับทุกวิกฤต” เพียงแต่เราต้องร่วมมือและสามัคคีกัน ที่สําคัญเรามีหลายๆ อย่าง ที่บางประเทศไม่มี เช่น เรามีหนี้ต่อ GDP ในระดับต่ํา และไม่มีหนี้เงินตราต่างประเทศ หรือมีน้อยมาก เรามีอันดับเครดิตความน่าเชื่อถือทางการเงินการคลังที่ดี แม้ผ่านวิกฤตสองปีที่ผ่านมา โดยสถาบันจัดอันดับก็ยังคงระดับความน่าเชื่อถือไว้ มีระบบธนาคารที่แข็งแรง มีสภาพคล่องในประเทศที่ดี มีเงินสํารองระหว่างประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 12 ของโลก ถือว่าเรามีเงินสํารองอยู่ในระดับสูง เมื่อเทียบกับหลายประเทศ ผลิตอาหารและมีอาหารเพียงพอ มีค่าครองชีพที่ต่ํา มีที่ดินราคาถูก ค่าที่อยู่อาศัยที่ถูกที่สุดแห่งหนึ่งในโลก
โดยนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ในเวลาที่เหลือกว่า 250 วันของรัฐบาล ผมและรัฐบาลจะทําทุกวิถีทาง เพื่อจะนําพาประเทศ และประชาชน ให้ออกจากวิกฤตที่หนักและยาวนาน ลดความเสียหายให้น้อยที่สุด และเตรียมตัวประเทศและประชาชนให้พร้อมกับการฟื้นตัวที่ยั่งยืน | https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/57120 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กองทัพเรือ ชี้แจงการจัดซื้ออากาศยานไร้คนขับ Hermer 900 ของกองทัพเรือ | วันพุธที่ 23 มีนาคม 2565
กองทัพเรือ ชี้แจงการจัดซื้ออากาศยานไร้คนขับ Hermer 900 ของกองทัพเรือ
กองทัพเรือ ยืนยันจัดหาอากาศยานไร้คนขับไม่เกี่ยวพันผลประโยชน์ร่วมโครงการท่าเรือดําน้ํา ส่วนครูสอนภาษา ตรวจพบ ตั้งแต่ปี 64 พร้อมสั่งห้ามเข้าพื้นที่
จากกรณีนายยุทธพงศ์ จรัสเสถียร รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ระบุมีข้อสงสัยต่อโครงการจัดซื้ออากาศยานไร้คนขับ Hermers 900 ของกองทัพเรือ งบประมาณ 4.1 พันล้านบาท ซึ่งระหว่างที่มีการพิจารณางบประมาณรายจ่ายประจําปี 2565 กมธ.ได้คัดค้านเรื่องนี้ เพราะไม่มีเหตุผลที่ ทร.จะต้องซื้อโดรน โดยช่วงแรก ทร.ได้ให้ใบเสนอราคาของ 2 บริษัท ส่งมาที่ กมธ. คือ บริษัทแรก China National AeroTechnology Import & Export Corporation หรือ CATIC จากประเทศจีน ซึ่งเสนอ UAV แบบ Wing Loong ll จํานวน 3 ลํา แต่วันนี้ ทร.กลับถอยและไม่กล้าซื้อ เพราะเคยซื้อเรือดําน้ําจากจีน 3 ลํา แต่ไม่มีเครื่องยนต์ เมื่อเป็นเช่นนี้ ทร.จึงเปลี่ยนไปซื้อโดรน Hermers 900 จากบริษัทของอิสราเอลแทน ซึ่งมีรายงานข่าวว่าเคยเกิดอุบัติเหตุตกเสียหายจากเครื่องยนต์มีปัญหา ดังนั้น จึงขอเรียนไปถึง พล.ร.อ.สมประสงค์ นิลสมัย ผบ.ทร.ให้ตรวจสอบการจัดซื้อ เพราะ ทร.ทั่วโลกไม่เคยนําโดรนรุ่นนี้มาใช้ จึงเกรงว่าจะซ้ํารอยเรือดําน้ําที่ซื้อมาแล้วไม่มีเครื่องยนต์ และสงสัยว่าหากได้รับงบประมาณจํานวนมากแล้วทําไม ทร.จึงไม่ซื้อของดีๆ ไปเลยนั้น
วันที่ 22 มีนาคม 2565 นาวาเอก รุ่ง ดีรูป รองผู้อํานวยกองประชาสัมพันธ์ สํานักจิตวิทยา กรมกิจการพลเรือนทหารเรือ ชี้แจงว่า ได้ตรวจสอบเบื้องต้นแล้ว ไม่พบว่าบริษัทที่มายื่นข้อเสนอ UAV มีความเกี่ยวพันกับบริษัทเรือดําน้ํา และขอยืนยันว่ากองทัพเรือได้ดําเนินการจัดหา UAV ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กําหนด มีใช้งานจริงในกองทัพของหลายประเทศ มีประสิทธิภาพและความน่าเชื่อถือในการใช้งานสูง รวมถึง ประเด็นครูภาษานั้น ทร.ได้ตรวจพบเองตั้งแต่ต้น และได้ดําเนินสั่งห้ามบุคคลเหล่านั้นเข้าพื้นที่ ตั้งแต่ ธ.ค.๖๔ โดยขอแยกเป็นประเด็นต่างๆ ดังนี้
1. ประเด็นที่ระบุว่า กองทัพเรือเปลี่ยนแบบ UAV จาก Wing Loong ของประเทศจีน เป็น UAV แบบ Hermes 900 ของประเทศอิสราเอล เนื่องจากปัญหาความไม่โปร่งใสในโครงการจัดหาเรือดําน้ําของจีนโดย บริษัทที่นํา UAV แบบ Hermes 900 เข้ามาอยู่ในเครือข่ายบริษัทนายหน้าของเรือดําน้ําจีนเช่นกันนั้น กองทัพเรือขอชี้แจงว่า ได้ตรวจสอบความความสัมพันธ์ของผู้ยื่นข้อเสนอ UAV ทุกรายเบื้องต้นแล้ว ไม่มีผลประโยชน์ร่วมกันและไม่พบว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดหาเรือดําน้ําแต่อย่างใด ทั้งนี้การดําเนินโครงการจัดหา UAV ในครั้งนี้ เป็นการจัดซื้อโดยวิธีคัดเลือก โดยกําหนดคุณสมบัติและขีดสมรรถนะตามความต้องการของกองทัพเรือ ซึ่งจะต้องมีการรับรองมาตรฐานด้านการบิน มีความน่าเชื่อถือและความพร้อมใช้งาน รวมทั้งมีความสามารถในการอยู่รอดสูง ในการปฏิบัติภารกิจทั้งทางทะเลและทางบก มีใช้งานในกองทัพของประเทศผู้ผลิต มีค่าใช้จ่ายต่ํา มีการฝึกอบรมและการถ่ายทอดเทคโนโลยี ตลอดจนมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลของโครงการฯ สูงสุด แต่เนื่องจากการดําเนินการจัดซื้อยังไม่เสร็จสิ้น จึงยังไม่สามารถให้รายละเอียดทั้งหมดได้
2. ประเด็นข้อกล่าวหาว่า UAV แบบ Hermes 900 ของอิสราเอล เป็น UAV ที่ กองทัพเรือประเทศอื่นไม่เคยใช้งานมาก่อน รวมถึงมีประวัติการตกนั้น ขอนําเรียนว่า UAV ของทุกบริษัทที่ ทร.เชิญชวนยื่นข้อเสนอ มีใช้กันในหลายประเทศ และได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ จึงขอให้วางใจว่ากองทัพเรือจะได้รับ UAV ที่ได้มาตรฐาน คุ้มค่ากับภาษีของประชาชนมาใช้งาน ส่วนเรื่องการตกของ UAV นั้น เป็นเรื่องเป็นไปได้ เหมือนการตกของเครื่องบินชนิดอื่นๆ ซึ่งจากข้อมูลการตกของ UAV ทั่วโลก อ้างอิงจากเว็บไชต์ https://dronewars.net/drone-crash-database/ พบว่ามี UAV หลายประเทศทั้งของ อิสราเอล สหรัฐอเมริกา จีน อิตาลี ตุรกี รวมถึง ประเทศอื่นๆ มีประวัติเกิดอุบัติเหตุเหมือนกันหมด ดังนั้นการตกของ UAV อาจจะไม่ได้เกิดจากความบกพร่องของระบบหรือความผิดปกติของเครื่องยนต์ แต่เกิดจากสาเหตุอื่นๆ เช่น การโดนต่อต้านจากฝ่ายตรงข้าม สภาพอากาศที่แปรปรวน /ทักษะ หรือประสบการณ์ของผู้บังคับเครื่อง UAV อย่างไรก็ตาม กองทัพเรือได้ให้ความสําคัญอย่างมากกับความน่าเชื่อถือของระบบ มั่นใจได้ว่า ระบบ UAV ที่ ทร.จะได้รับดีที่สุดตามวัตถุประสงค์การใช้งานและความต้องการของ ทร. ในวงเงินที่กําหนด
3. การจัดหา UAV ในครั้งนี้ ได้ดําเนินการด้วยความโปร่งใส เป็นธรรม เป็นไปตามกฎหมาย และปฏิบัติต่อผู้ประกอบการทุกรายอย่างเท่าเทียมกัน มีเอกสารหลักฐานการดําเนินงานอย่างชัดเจน มีขั้นตอน ตอบข้อสงสัยและข้อซักถาม รวมทั้งโครงการนี้ได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมการจัดทํา “ข้อตกลงคุณธรรม ประจําปี งป.๖๕” โดยคณะกรรมการความร่วมมือการป้องกันการทุจริต (ค.ป.ท.) ได้จัดคณะผู้สังเกตการณ์จากองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) ซึ่งเป็นตัวแทนจากภาคประชาชน ร่วมสังเกตและให้คําแนะนําตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุดโครงการ
4. ส่วนภาพที่นายยุทธพงศ์ นํามาเผยแพร่และบอกว่าเป็นครูสอนภาษา นั้นกองทัพเรือ ตรวจพบว่า บ.CSOC ได้จ้างบุคคลเหล่านี้จริง โดยทําหน้าที่ฝ่ายจัดซื้อ ไม่ได้ควบคุมงานทางวิศวกรรม ต่อมาภายหลัง กองทัพเรือตรวจพบด้วยตนเองว่าบุคคลดังกล่าวไม่มีใบอนุญาตทํางานที่ถูกต้อง จึงไม่อนุญาตให้เข้ามาในพื้นที่โครงการก่อสร้างตั้งแต่ ธ.ค.64 ซึ่ง กองทัพเรือได้ดําเนินการเรียบร้อยก่อนที่จะถูกกล่าวหาใน ก.พ.65 | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กองทัพเรือ ชี้แจงการจัดซื้ออากาศยานไร้คนขับ Hermer 900 ของกองทัพเรือ
วันพุธที่ 23 มีนาคม 2565
กองทัพเรือ ชี้แจงการจัดซื้ออากาศยานไร้คนขับ Hermer 900 ของกองทัพเรือ
กองทัพเรือ ยืนยันจัดหาอากาศยานไร้คนขับไม่เกี่ยวพันผลประโยชน์ร่วมโครงการท่าเรือดําน้ํา ส่วนครูสอนภาษา ตรวจพบ ตั้งแต่ปี 64 พร้อมสั่งห้ามเข้าพื้นที่
จากกรณีนายยุทธพงศ์ จรัสเสถียร รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ระบุมีข้อสงสัยต่อโครงการจัดซื้ออากาศยานไร้คนขับ Hermers 900 ของกองทัพเรือ งบประมาณ 4.1 พันล้านบาท ซึ่งระหว่างที่มีการพิจารณางบประมาณรายจ่ายประจําปี 2565 กมธ.ได้คัดค้านเรื่องนี้ เพราะไม่มีเหตุผลที่ ทร.จะต้องซื้อโดรน โดยช่วงแรก ทร.ได้ให้ใบเสนอราคาของ 2 บริษัท ส่งมาที่ กมธ. คือ บริษัทแรก China National AeroTechnology Import & Export Corporation หรือ CATIC จากประเทศจีน ซึ่งเสนอ UAV แบบ Wing Loong ll จํานวน 3 ลํา แต่วันนี้ ทร.กลับถอยและไม่กล้าซื้อ เพราะเคยซื้อเรือดําน้ําจากจีน 3 ลํา แต่ไม่มีเครื่องยนต์ เมื่อเป็นเช่นนี้ ทร.จึงเปลี่ยนไปซื้อโดรน Hermers 900 จากบริษัทของอิสราเอลแทน ซึ่งมีรายงานข่าวว่าเคยเกิดอุบัติเหตุตกเสียหายจากเครื่องยนต์มีปัญหา ดังนั้น จึงขอเรียนไปถึง พล.ร.อ.สมประสงค์ นิลสมัย ผบ.ทร.ให้ตรวจสอบการจัดซื้อ เพราะ ทร.ทั่วโลกไม่เคยนําโดรนรุ่นนี้มาใช้ จึงเกรงว่าจะซ้ํารอยเรือดําน้ําที่ซื้อมาแล้วไม่มีเครื่องยนต์ และสงสัยว่าหากได้รับงบประมาณจํานวนมากแล้วทําไม ทร.จึงไม่ซื้อของดีๆ ไปเลยนั้น
วันที่ 22 มีนาคม 2565 นาวาเอก รุ่ง ดีรูป รองผู้อํานวยกองประชาสัมพันธ์ สํานักจิตวิทยา กรมกิจการพลเรือนทหารเรือ ชี้แจงว่า ได้ตรวจสอบเบื้องต้นแล้ว ไม่พบว่าบริษัทที่มายื่นข้อเสนอ UAV มีความเกี่ยวพันกับบริษัทเรือดําน้ํา และขอยืนยันว่ากองทัพเรือได้ดําเนินการจัดหา UAV ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กําหนด มีใช้งานจริงในกองทัพของหลายประเทศ มีประสิทธิภาพและความน่าเชื่อถือในการใช้งานสูง รวมถึง ประเด็นครูภาษานั้น ทร.ได้ตรวจพบเองตั้งแต่ต้น และได้ดําเนินสั่งห้ามบุคคลเหล่านั้นเข้าพื้นที่ ตั้งแต่ ธ.ค.๖๔ โดยขอแยกเป็นประเด็นต่างๆ ดังนี้
1. ประเด็นที่ระบุว่า กองทัพเรือเปลี่ยนแบบ UAV จาก Wing Loong ของประเทศจีน เป็น UAV แบบ Hermes 900 ของประเทศอิสราเอล เนื่องจากปัญหาความไม่โปร่งใสในโครงการจัดหาเรือดําน้ําของจีนโดย บริษัทที่นํา UAV แบบ Hermes 900 เข้ามาอยู่ในเครือข่ายบริษัทนายหน้าของเรือดําน้ําจีนเช่นกันนั้น กองทัพเรือขอชี้แจงว่า ได้ตรวจสอบความความสัมพันธ์ของผู้ยื่นข้อเสนอ UAV ทุกรายเบื้องต้นแล้ว ไม่มีผลประโยชน์ร่วมกันและไม่พบว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดหาเรือดําน้ําแต่อย่างใด ทั้งนี้การดําเนินโครงการจัดหา UAV ในครั้งนี้ เป็นการจัดซื้อโดยวิธีคัดเลือก โดยกําหนดคุณสมบัติและขีดสมรรถนะตามความต้องการของกองทัพเรือ ซึ่งจะต้องมีการรับรองมาตรฐานด้านการบิน มีความน่าเชื่อถือและความพร้อมใช้งาน รวมทั้งมีความสามารถในการอยู่รอดสูง ในการปฏิบัติภารกิจทั้งทางทะเลและทางบก มีใช้งานในกองทัพของประเทศผู้ผลิต มีค่าใช้จ่ายต่ํา มีการฝึกอบรมและการถ่ายทอดเทคโนโลยี ตลอดจนมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลของโครงการฯ สูงสุด แต่เนื่องจากการดําเนินการจัดซื้อยังไม่เสร็จสิ้น จึงยังไม่สามารถให้รายละเอียดทั้งหมดได้
2. ประเด็นข้อกล่าวหาว่า UAV แบบ Hermes 900 ของอิสราเอล เป็น UAV ที่ กองทัพเรือประเทศอื่นไม่เคยใช้งานมาก่อน รวมถึงมีประวัติการตกนั้น ขอนําเรียนว่า UAV ของทุกบริษัทที่ ทร.เชิญชวนยื่นข้อเสนอ มีใช้กันในหลายประเทศ และได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ จึงขอให้วางใจว่ากองทัพเรือจะได้รับ UAV ที่ได้มาตรฐาน คุ้มค่ากับภาษีของประชาชนมาใช้งาน ส่วนเรื่องการตกของ UAV นั้น เป็นเรื่องเป็นไปได้ เหมือนการตกของเครื่องบินชนิดอื่นๆ ซึ่งจากข้อมูลการตกของ UAV ทั่วโลก อ้างอิงจากเว็บไชต์ https://dronewars.net/drone-crash-database/ พบว่ามี UAV หลายประเทศทั้งของ อิสราเอล สหรัฐอเมริกา จีน อิตาลี ตุรกี รวมถึง ประเทศอื่นๆ มีประวัติเกิดอุบัติเหตุเหมือนกันหมด ดังนั้นการตกของ UAV อาจจะไม่ได้เกิดจากความบกพร่องของระบบหรือความผิดปกติของเครื่องยนต์ แต่เกิดจากสาเหตุอื่นๆ เช่น การโดนต่อต้านจากฝ่ายตรงข้าม สภาพอากาศที่แปรปรวน /ทักษะ หรือประสบการณ์ของผู้บังคับเครื่อง UAV อย่างไรก็ตาม กองทัพเรือได้ให้ความสําคัญอย่างมากกับความน่าเชื่อถือของระบบ มั่นใจได้ว่า ระบบ UAV ที่ ทร.จะได้รับดีที่สุดตามวัตถุประสงค์การใช้งานและความต้องการของ ทร. ในวงเงินที่กําหนด
3. การจัดหา UAV ในครั้งนี้ ได้ดําเนินการด้วยความโปร่งใส เป็นธรรม เป็นไปตามกฎหมาย และปฏิบัติต่อผู้ประกอบการทุกรายอย่างเท่าเทียมกัน มีเอกสารหลักฐานการดําเนินงานอย่างชัดเจน มีขั้นตอน ตอบข้อสงสัยและข้อซักถาม รวมทั้งโครงการนี้ได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมการจัดทํา “ข้อตกลงคุณธรรม ประจําปี งป.๖๕” โดยคณะกรรมการความร่วมมือการป้องกันการทุจริต (ค.ป.ท.) ได้จัดคณะผู้สังเกตการณ์จากองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) ซึ่งเป็นตัวแทนจากภาคประชาชน ร่วมสังเกตและให้คําแนะนําตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุดโครงการ
4. ส่วนภาพที่นายยุทธพงศ์ นํามาเผยแพร่และบอกว่าเป็นครูสอนภาษา นั้นกองทัพเรือ ตรวจพบว่า บ.CSOC ได้จ้างบุคคลเหล่านี้จริง โดยทําหน้าที่ฝ่ายจัดซื้อ ไม่ได้ควบคุมงานทางวิศวกรรม ต่อมาภายหลัง กองทัพเรือตรวจพบด้วยตนเองว่าบุคคลดังกล่าวไม่มีใบอนุญาตทํางานที่ถูกต้อง จึงไม่อนุญาตให้เข้ามาในพื้นที่โครงการก่อสร้างตั้งแต่ ธ.ค.64 ซึ่ง กองทัพเรือได้ดําเนินการเรียบร้อยก่อนที่จะถูกกล่าวหาใน ก.พ.65 | https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/52832 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-คกก.โรคติดต่อแห่งชาติ เห็นชอบกรอบนโยบาย/แนวทางปฏิบัติ บริหารจัดการโรคโควิด 19 สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน | วันจันทร์ที่ 8 สิงหาคม 2565
คกก.โรคติดต่อแห่งชาติ เห็นชอบกรอบนโยบาย/แนวทางปฏิบัติ บริหารจัดการโรคโควิด 19 สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน
ที่ประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ มีมติเห็นชอบกรอบนโยบายและแนวทางปฏิบัติ เฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคโควิด 19 ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ให้สถานพยาบาลบริหารจัดการยา วัคซีน เวชภัณฑ์ ใช้กระบวนการเดียวกับโรคติดเชื้ออื่น ๆ ประชาชนสามารถเข้ารับการ
ที่ประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ มีมติเห็นชอบกรอบนโยบายและแนวทางปฏิบัติ เฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคโควิด 19 ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ให้สถานพยาบาลบริหารจัดการยา วัคซีน เวชภัณฑ์ใช้กระบวนการเดียวกับโรคติดเชื้ออื่น ๆ ประชาชนสามารถเข้ารับการรักษาได้ตามสิทธิ์ พร้อมพิจารณาปรับโรคโควิด 19จากโรคติดต่ออันตรายเป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง
วันนี้ (8 สิงหาคม 2565) ที่กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี ที่สํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ ครั้งที่ 6/2565 โดยมี นพ.โสภณ เมฆธน ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจํากระทรวงสาธารณสุข นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ร่วมประชุม
นายอนุทิน กล่าวว่า วันนี้ ที่ประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ มีการหารือใน 4 ประเด็นสําคัญ คือ 1) มีมติเห็นชอบกรอบนโยบายในการเฝ้าระวัง ป้องกันควบคุมโรคโควิด 19 ได้แก่ สามารถควบคุมการระบาดให้สถานการณ์อยู่ในระดับรุนแรงน้อย โดยพิจารณาตามจํานวนผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลต่อวัน อัตราครองเตียงผู้ป่วยหนัก และผู้เสียชีวิต, สามารถเข้าถึงบริการวัคซีน ยาต้านไวรัสได้ง่ายและสะดวก และประชาชนมีพฤติกรรมป้องกันตนเองอย่างถูกต้องเหมาะสม ส่วนแนวทางปฏิบัติ แบ่งเป็น ด้านกฎหมายปรับสถานะโรคโควิด19 ตาม พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ.2558 ให้สอดคล้องกับสถานการณ์, ด้านการแพทย์ ปรับแนวทางแยกกักผู้ป่วย สถานพยาบาลเอกชน และคลินิก สามารถจัดหายาต้านไวรัสเพื่อให้บริการ, ด้านสาธารณสุข ปรับระบบรายงานโรคและกักกันผู้สัมผัส, ด้านการสื่อสารสังคม สร้างความรู้ความเข้าใจประโยชน์ของวัคซีน การจัดการเมื่อมีผู้ติดเชื้อ ในครอบครัว มาตรการบุคคลและองค์กร ทั้งนี้ เพื่อให้การบริหารจัดการหลังการระบาดใหญ่ (Post Pandemic)มีความสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน และการบริหารยา วัคซีน เวชภัณฑ์ ซึ่งได้สื่อสารให้โรงพยาบาลในสังกัดต่างๆเตรียมการจัดหายาต้านไวรัสเอง ซึ่งจะเริ่มดําเนินการได้ในเร็วๆ นี้ โดยใช้กระบวนการเบิกค่ารักษาพยาบาลจากกองทุนเช่นเดียวกับโรคติดเชื้ออื่น ๆ เพื่อให้ประชาชนยังสามารถเข้ารับการรักษาได้ตามสิทธิ์
2) เห็นชอบร่างประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ยกเลิกชื่อและอาการสําคัญของโรคติดต่ออันตราย พ.ศ. ....และร่างประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ชื่อและอาการสําคัญของโรคติดต่อ ที่ต้องเฝ้าระวัง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... โดยได้พิจารณาปรับโรคโควิด 19 จากโรคติดต่ออันตรายเป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง 3) รับทราบสถานการณ์ และการเฝ้าระวังสายพันธุ์โควิด 19 ซึ่งพบแนวโน้มพบผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น และประชาชนเริ่มมีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลรักษา อย่างไรก็ตามกระทรวงสาธารณสุขยังคงเน้นให้ทุกจังหวัดเตรียมพร้อมเรื่องเตียง การใช้ยาอย่างเหมาะสม และการฉีดวัคซีน รวมถึงให้โรงพยาบาลพิจารณาการใช้ภูมิคุ้มกันสําเร็จรูป (Long Acting Antibody : LAAB) ซึ่งกระจายไปยังจังหวัดต่าง ๆ และกรุงเทพมหานครแล้ว และ 4) โรคฝีดาษวานร ปัจจุบันพบผู้ป่วยยืนยันในประเทศไทยแล้ว 4 ราย ซึ่งประเทศไทยได้มีการเฝ้าระวังอย่างเข้มงวด ทั้งที่สนามบิน สถานพยาบาล ชุมชนแหล่ง ท่องเที่ยว โดยได้มีการสั่งวัคซีนป้องกันฝีดาษมาใช้สําหรับบุคลากรทางการแพทย์ด่านหน้า ผู้ปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ แบบ pre-exposure prophylaxis และ ผู้มีความเสี่ยงสูงสัมผัสผู้ป่วยแบบ post-exposure prophylaxis
“ขอให้ทุกคนใช้ชีวิตประจําวันโดยยึดหลัก “ประชาชนอยู่ร่วมกับโควิดอย่างปลอดภัย” เนื่องจากการระบาดของโรคโควิด 19 จะคล้ายคลึงกับไข้หวัดใหญ่ พบผู้ป่วยได้ตลอดทั้งปีอาจมีการระบาดในบางช่วงเวลา ซึ่งการป่วยรุนแรงและเสียชีวิตมักเกิดกับกลุ่มที่ไม่ได้รับวัคซีนและกลุ่มเสี่ยง 608 โดยให้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันตัวเอง ล้างมือบ่อยๆ เว้นระยะห่าง สวมหน้ากากอนามัย ไม่ใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น กินอาหารร้อนปรุงสุก ซึ่งสามารถป้องกันได้ทั้งโรคโควิด 19 และฝีดาษวานร นอกจากนี้ให้หลีกเลี่ยงสัมผัสใกล้ชิดผู้ที่มีอาการเข้าข่ายของโรคฝีดาษวานรโดยเฉพาะผู้ที่มีผื่น ตุ่ม หนอง ตามผิวหนัง หรือคนแปลกหน้า งดการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่ไม่รู้จักเพราะมีความเสี่ยงหากสงสัยว่ามีอาการป่วยเข้าข่าย สามารถติดต่อสถานพยาบาลใกล้บ้านเพื่อรับการตรวจหาเชื้อได้ทันที” นายอนุทินกล่าว
************************************ 8 สิงหาคม 2565 | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-คกก.โรคติดต่อแห่งชาติ เห็นชอบกรอบนโยบาย/แนวทางปฏิบัติ บริหารจัดการโรคโควิด 19 สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน
วันจันทร์ที่ 8 สิงหาคม 2565
คกก.โรคติดต่อแห่งชาติ เห็นชอบกรอบนโยบาย/แนวทางปฏิบัติ บริหารจัดการโรคโควิด 19 สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน
ที่ประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ มีมติเห็นชอบกรอบนโยบายและแนวทางปฏิบัติ เฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคโควิด 19 ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ให้สถานพยาบาลบริหารจัดการยา วัคซีน เวชภัณฑ์ ใช้กระบวนการเดียวกับโรคติดเชื้ออื่น ๆ ประชาชนสามารถเข้ารับการ
ที่ประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ มีมติเห็นชอบกรอบนโยบายและแนวทางปฏิบัติ เฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคโควิด 19 ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ให้สถานพยาบาลบริหารจัดการยา วัคซีน เวชภัณฑ์ใช้กระบวนการเดียวกับโรคติดเชื้ออื่น ๆ ประชาชนสามารถเข้ารับการรักษาได้ตามสิทธิ์ พร้อมพิจารณาปรับโรคโควิด 19จากโรคติดต่ออันตรายเป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง
วันนี้ (8 สิงหาคม 2565) ที่กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี ที่สํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ ครั้งที่ 6/2565 โดยมี นพ.โสภณ เมฆธน ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจํากระทรวงสาธารณสุข นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ร่วมประชุม
นายอนุทิน กล่าวว่า วันนี้ ที่ประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ มีการหารือใน 4 ประเด็นสําคัญ คือ 1) มีมติเห็นชอบกรอบนโยบายในการเฝ้าระวัง ป้องกันควบคุมโรคโควิด 19 ได้แก่ สามารถควบคุมการระบาดให้สถานการณ์อยู่ในระดับรุนแรงน้อย โดยพิจารณาตามจํานวนผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลต่อวัน อัตราครองเตียงผู้ป่วยหนัก และผู้เสียชีวิต, สามารถเข้าถึงบริการวัคซีน ยาต้านไวรัสได้ง่ายและสะดวก และประชาชนมีพฤติกรรมป้องกันตนเองอย่างถูกต้องเหมาะสม ส่วนแนวทางปฏิบัติ แบ่งเป็น ด้านกฎหมายปรับสถานะโรคโควิด19 ตาม พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ.2558 ให้สอดคล้องกับสถานการณ์, ด้านการแพทย์ ปรับแนวทางแยกกักผู้ป่วย สถานพยาบาลเอกชน และคลินิก สามารถจัดหายาต้านไวรัสเพื่อให้บริการ, ด้านสาธารณสุข ปรับระบบรายงานโรคและกักกันผู้สัมผัส, ด้านการสื่อสารสังคม สร้างความรู้ความเข้าใจประโยชน์ของวัคซีน การจัดการเมื่อมีผู้ติดเชื้อ ในครอบครัว มาตรการบุคคลและองค์กร ทั้งนี้ เพื่อให้การบริหารจัดการหลังการระบาดใหญ่ (Post Pandemic)มีความสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน และการบริหารยา วัคซีน เวชภัณฑ์ ซึ่งได้สื่อสารให้โรงพยาบาลในสังกัดต่างๆเตรียมการจัดหายาต้านไวรัสเอง ซึ่งจะเริ่มดําเนินการได้ในเร็วๆ นี้ โดยใช้กระบวนการเบิกค่ารักษาพยาบาลจากกองทุนเช่นเดียวกับโรคติดเชื้ออื่น ๆ เพื่อให้ประชาชนยังสามารถเข้ารับการรักษาได้ตามสิทธิ์
2) เห็นชอบร่างประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ยกเลิกชื่อและอาการสําคัญของโรคติดต่ออันตราย พ.ศ. ....และร่างประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ชื่อและอาการสําคัญของโรคติดต่อ ที่ต้องเฝ้าระวัง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... โดยได้พิจารณาปรับโรคโควิด 19 จากโรคติดต่ออันตรายเป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง 3) รับทราบสถานการณ์ และการเฝ้าระวังสายพันธุ์โควิด 19 ซึ่งพบแนวโน้มพบผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น และประชาชนเริ่มมีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลรักษา อย่างไรก็ตามกระทรวงสาธารณสุขยังคงเน้นให้ทุกจังหวัดเตรียมพร้อมเรื่องเตียง การใช้ยาอย่างเหมาะสม และการฉีดวัคซีน รวมถึงให้โรงพยาบาลพิจารณาการใช้ภูมิคุ้มกันสําเร็จรูป (Long Acting Antibody : LAAB) ซึ่งกระจายไปยังจังหวัดต่าง ๆ และกรุงเทพมหานครแล้ว และ 4) โรคฝีดาษวานร ปัจจุบันพบผู้ป่วยยืนยันในประเทศไทยแล้ว 4 ราย ซึ่งประเทศไทยได้มีการเฝ้าระวังอย่างเข้มงวด ทั้งที่สนามบิน สถานพยาบาล ชุมชนแหล่ง ท่องเที่ยว โดยได้มีการสั่งวัคซีนป้องกันฝีดาษมาใช้สําหรับบุคลากรทางการแพทย์ด่านหน้า ผู้ปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ แบบ pre-exposure prophylaxis และ ผู้มีความเสี่ยงสูงสัมผัสผู้ป่วยแบบ post-exposure prophylaxis
“ขอให้ทุกคนใช้ชีวิตประจําวันโดยยึดหลัก “ประชาชนอยู่ร่วมกับโควิดอย่างปลอดภัย” เนื่องจากการระบาดของโรคโควิด 19 จะคล้ายคลึงกับไข้หวัดใหญ่ พบผู้ป่วยได้ตลอดทั้งปีอาจมีการระบาดในบางช่วงเวลา ซึ่งการป่วยรุนแรงและเสียชีวิตมักเกิดกับกลุ่มที่ไม่ได้รับวัคซีนและกลุ่มเสี่ยง 608 โดยให้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันตัวเอง ล้างมือบ่อยๆ เว้นระยะห่าง สวมหน้ากากอนามัย ไม่ใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น กินอาหารร้อนปรุงสุก ซึ่งสามารถป้องกันได้ทั้งโรคโควิด 19 และฝีดาษวานร นอกจากนี้ให้หลีกเลี่ยงสัมผัสใกล้ชิดผู้ที่มีอาการเข้าข่ายของโรคฝีดาษวานรโดยเฉพาะผู้ที่มีผื่น ตุ่ม หนอง ตามผิวหนัง หรือคนแปลกหน้า งดการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่ไม่รู้จักเพราะมีความเสี่ยงหากสงสัยว่ามีอาการป่วยเข้าข่าย สามารถติดต่อสถานพยาบาลใกล้บ้านเพื่อรับการตรวจหาเชื้อได้ทันที” นายอนุทินกล่าว
************************************ 8 สิงหาคม 2565 | https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/57785 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ครม.อนุมัติโครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ชาวไร่อ้อย ปี 65-67 ปล่อยกู้ปลูกอ้อยและบริหารจัดการไร่อ้อย 6,000 ลบ. รัฐช่วยดอกเบี้ย 2-3% | วันจันทร์ที่ 30 พฤษภาคม 2565
ครม.อนุมัติโครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ชาวไร่อ้อย ปี 65-67 ปล่อยกู้ปลูกอ้อยและบริหารจัดการไร่อ้อย 6,000 ลบ. รัฐช่วยดอกเบี้ย 2-3%
ครม.อนุมัติโครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ชาวไร่อ้อย ปี 65-67 ปล่อยกู้ปลูกอ้อยและบริหารจัดการไร่อ้อย 6,000 ลบ. รัฐช่วยดอกเบี้ย 2-3%
นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2565 ว่า ครม.เห็นชอบโครงการชดเชยดอกเบี้ยให้กับเกษตรกรชาวไร่อ้อย เพื่อใช้ในการบริหารจัดการแหล่งน้ําและซื้อเครื่องจักรกลการเกษตร นําไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอ้อยและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ปี 2565 - 2567 โดยธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เป็นผู้สนับสนุนสินเชื่อให้แก่เกษตรกรชาวไร่อ้อย วงเงินปีละ 2,000 ล้านบาท รวมเป็นเงิน 6,000 ล้านบาท และรัฐบาลเป็นผู้ชดเชยดอกเบี้ยร้อยละ 2 - 3% ให้เกษตรกรชาวไร่อ้อย ซึ่ง ครม.อนุมัติกรอบวงเงินงบประมาณชดเชยดอกเบี้ยให้ ธ.ก.ส. เป็นเงิน 789.75 ล้านบาท ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ
โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้กับเกษตรกรชาวไร่อ้อยนี้ มีเป้าหมายเพื่อจัดหาแหล่งเงินกู้อัตราดอกเบี้ยต่ําเพื่อพัฒนาการบริหารจัดการน้ําในไร่อ้อย การปรับพื้นที่ปลูกอ้อยเป็นแปลงใหญ่ และการจัดซื้อเครื่องจักรกลการเกษตร ใช้ในการปลูกอ้อยและบริหารจัดการไร่อ้อยอย่างครบวงจร โดยวงเงินกู้แยกตามวัตถุประสงค์การกู้ ซึ่งวงเงินกู้แต่ละรายรวมทุกวัตถุประสงค์แล้วต้องไม่เกิน 38.05 ล้านบาท ดังนี้ 1)เพื่อพัฒนาแหล่งน้ําและการบริหารจัดการน้ําในไร่อ้อย รายละไม่เกิน 500,000 บาท เช่น การขุดบ่อสระ กักเก็บน้ํา การเจาะบ่อบาดาล การจัดทําระบบน้ํา 2)เพื่อปรับพื้นที่ปลูกอ้อย เป็นแปลงใหญ่ให้เหมาะสมกับเครื่องจักรกลการเกษตร รายละไม่เกิน 500,000 บาท ในอัตราไม่เกินไร่ละ 2,500 บาท 3)เพื่อจัดซื้อเครื่องจักรกลการเกษตร เช่น รถตัดอ้อย รายละไม่เกิน 15 ล้านบาท รถคีบอ้อย รายละไม่เกิน 2 ล้านบาท รถแทรกเตอร์ รายละไม่เกิน 6 ล้านบาท มีระยะเวลาจ่ายเงินกู้ 3 ปี (1 ต.ค.2564 – 30 ก.ย.2567)
สําหรับระยะเวลาการชําคืน แบ่งเป็นเงินกู้การบริหารจัดการน้ําและปรับพื้นที่ปลูกอ้อย ไม่เกิน 6 ปี ส่วนการซื้อเครื่องจักรกลชําระคืนไม่เกิน 8 ปี โดยคิดอัตราดอกเบี้ยจากผู้กู้ร้อยละ 2 รัฐบาลจะชดเชยให้ ธ.ก.ส.ร้อยละ 2 - 3 ขึ้นอยู่กับประเภทผู้กู้ ยกเว้นการซื้อรถบรรทุก คิดจากผู้กู้ร้อยละ 4 และรัฐบาลจะไม่ชดเชยให้
นางสาวรัชดากล่าวด้วยว่า โครงการนี้จะมีพื้นที่ปลูกอ้อยได้รับประโยชน์ประมาณ 1.5 ล้านไร่ ซึ่งในปี 2562 – 2564 ปล่อยสินเชื่อไปแล้ว 4,579 ล้านบาท มีพื้นที่ปลูกอ้อยได้รับประโยชน์ 8.4 แสนไร่ | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ครม.อนุมัติโครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ชาวไร่อ้อย ปี 65-67 ปล่อยกู้ปลูกอ้อยและบริหารจัดการไร่อ้อย 6,000 ลบ. รัฐช่วยดอกเบี้ย 2-3%
วันจันทร์ที่ 30 พฤษภาคม 2565
ครม.อนุมัติโครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ชาวไร่อ้อย ปี 65-67 ปล่อยกู้ปลูกอ้อยและบริหารจัดการไร่อ้อย 6,000 ลบ. รัฐช่วยดอกเบี้ย 2-3%
ครม.อนุมัติโครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ชาวไร่อ้อย ปี 65-67 ปล่อยกู้ปลูกอ้อยและบริหารจัดการไร่อ้อย 6,000 ลบ. รัฐช่วยดอกเบี้ย 2-3%
นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2565 ว่า ครม.เห็นชอบโครงการชดเชยดอกเบี้ยให้กับเกษตรกรชาวไร่อ้อย เพื่อใช้ในการบริหารจัดการแหล่งน้ําและซื้อเครื่องจักรกลการเกษตร นําไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอ้อยและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ปี 2565 - 2567 โดยธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เป็นผู้สนับสนุนสินเชื่อให้แก่เกษตรกรชาวไร่อ้อย วงเงินปีละ 2,000 ล้านบาท รวมเป็นเงิน 6,000 ล้านบาท และรัฐบาลเป็นผู้ชดเชยดอกเบี้ยร้อยละ 2 - 3% ให้เกษตรกรชาวไร่อ้อย ซึ่ง ครม.อนุมัติกรอบวงเงินงบประมาณชดเชยดอกเบี้ยให้ ธ.ก.ส. เป็นเงิน 789.75 ล้านบาท ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ
โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้กับเกษตรกรชาวไร่อ้อยนี้ มีเป้าหมายเพื่อจัดหาแหล่งเงินกู้อัตราดอกเบี้ยต่ําเพื่อพัฒนาการบริหารจัดการน้ําในไร่อ้อย การปรับพื้นที่ปลูกอ้อยเป็นแปลงใหญ่ และการจัดซื้อเครื่องจักรกลการเกษตร ใช้ในการปลูกอ้อยและบริหารจัดการไร่อ้อยอย่างครบวงจร โดยวงเงินกู้แยกตามวัตถุประสงค์การกู้ ซึ่งวงเงินกู้แต่ละรายรวมทุกวัตถุประสงค์แล้วต้องไม่เกิน 38.05 ล้านบาท ดังนี้ 1)เพื่อพัฒนาแหล่งน้ําและการบริหารจัดการน้ําในไร่อ้อย รายละไม่เกิน 500,000 บาท เช่น การขุดบ่อสระ กักเก็บน้ํา การเจาะบ่อบาดาล การจัดทําระบบน้ํา 2)เพื่อปรับพื้นที่ปลูกอ้อย เป็นแปลงใหญ่ให้เหมาะสมกับเครื่องจักรกลการเกษตร รายละไม่เกิน 500,000 บาท ในอัตราไม่เกินไร่ละ 2,500 บาท 3)เพื่อจัดซื้อเครื่องจักรกลการเกษตร เช่น รถตัดอ้อย รายละไม่เกิน 15 ล้านบาท รถคีบอ้อย รายละไม่เกิน 2 ล้านบาท รถแทรกเตอร์ รายละไม่เกิน 6 ล้านบาท มีระยะเวลาจ่ายเงินกู้ 3 ปี (1 ต.ค.2564 – 30 ก.ย.2567)
สําหรับระยะเวลาการชําคืน แบ่งเป็นเงินกู้การบริหารจัดการน้ําและปรับพื้นที่ปลูกอ้อย ไม่เกิน 6 ปี ส่วนการซื้อเครื่องจักรกลชําระคืนไม่เกิน 8 ปี โดยคิดอัตราดอกเบี้ยจากผู้กู้ร้อยละ 2 รัฐบาลจะชดเชยให้ ธ.ก.ส.ร้อยละ 2 - 3 ขึ้นอยู่กับประเภทผู้กู้ ยกเว้นการซื้อรถบรรทุก คิดจากผู้กู้ร้อยละ 4 และรัฐบาลจะไม่ชดเชยให้
นางสาวรัชดากล่าวด้วยว่า โครงการนี้จะมีพื้นที่ปลูกอ้อยได้รับประโยชน์ประมาณ 1.5 ล้านไร่ ซึ่งในปี 2562 – 2564 ปล่อยสินเชื่อไปแล้ว 4,579 ล้านบาท มีพื้นที่ปลูกอ้อยได้รับประโยชน์ 8.4 แสนไร่ | https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/55179 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กบข. คว้ารางวัลองค์กรต้นแบบด้านสิทธิมนุษยชน ปี 2564 ระดับดีเด่น ตอกย้ำบทบาทมุ่งสู่การเป็นองค์กรยั่งยืน | วันพุธที่ 29 กันยายน 2564
กบข. คว้ารางวัลองค์กรต้นแบบด้านสิทธิมนุษยชน ปี 2564 ระดับดีเด่น ตอกย้ําบทบาทมุ่งสู่การเป็นองค์กรยั่งยืน
กบข. เข้ารับการประเมินองค์กรต้นแบบด้านสิทธิมนุษยชนครั้งแรก คว้ารางวัลดีเด่น ประเภทองค์กรภาครัฐ เผยภารกิจองค์กรภายใต้หลักการ “เสมอภาค เป็นธรรม และไม่เลือกปฎิบัติ” ครอบคลุมทุกมิติตามมาตรฐานสากล มุ่งขับเคลื่อน กบข. สู่การเป็นองค์กรยั่งยืน
ดร.ศรีกัญญา ยาทิพย์ เลขาธิการคณะกรรมการกองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ (กบข.) เปิดเผยว่า กบข. ได้รับรางวัลองค์กรต้นแบบด้านสิทธิมนุษยชน ประจําปี 2564 ในระดับดีเด่น ประเภทองค์กรภาครัฐ จัดโดยกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ ซึ่งเป็น 1 ใน 31 องค์กรภาครัฐที่ได้รับรางวัล จากการประเมินองค์กรทั่วประเทศ โดย กบข. เข้าร่วมรับการประเมินองค์กรต้นแบบด้านสิทธิมนุษยชนเป็นปีแรก
สําหรับเกณฑ์การประเมินได้พิจารณาจากการดําเนินงานขององค์กรตามภารกิจที่เคารพในหลักการสิทธิมนุษยชน รวมทั้งเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับองค์กรอื่น เพื่อเสริมสร้างสังคมแห่งการเคารพสิทธิมนุษยชนอย่างยั่งยืน ซึ่ง กบข. ได้ดําเนินภารกิจขององค์กรภายใต้หลักการ “เสมอภาค เป็นธรรม และไม่เลือกปฎิบัติ” ครอบคลุมห่วงโซ่อุปทานทุกมิติ อาทิ สมาชิก กบข. พนักงาน พันธมิตรธุรกิจ และสังคม
กบข. มุ่งมั่นผลักดันการดําเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน โดยให้ความสําคัญและเคารพสิทธิมนุษยชนตามหลักปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน และหลักปฏิบัติของสหประชาชาติว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชน (United Nations Guiding Principles on Business and Human Rights : UNGPs) ที่เน้นย้ําในเสาหลัก 3 ประการ ได้แก่ การคุ้มครอง การเคารพ และการเยียวยา อีกทั้งยังบูรณาการหลักสิทธิมนุษยชนในทุกภาคส่วน โดยกําหนดนโยบาย แผนยุทธศาสตร์องค์กร ตลอดจนนําไปปฏิบัติ ทั้งในด้านการบริหารจัดการลงทุน การบริการงานสมาชิก ตลอดจนการบริหารองค์กร เพื่อสร้างกระบวนการบริหารจัดการด้านสิทธิมนุษยชนในกิจการขององค์กรทุกกระบวนการให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล
ทั้งนี้ กบข. เชื่อว่า การปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาลและสิทธิมนุษยชนที่ดีจะนํามาสู่ความมีศักดิ์ศรี ตลอดจนความน่าเชื่อถือขององค์กร อันเป็นปัจจัยสําคัญที่จะนําองค์กรไปสู่การเป็นองค์กรที่ยั่งยืน (Sustainable Organization) อีกทั้งยังเป็นพลังเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมให้กับประเทศและสังคมโลก ซึ่งเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กบข. คว้ารางวัลองค์กรต้นแบบด้านสิทธิมนุษยชน ปี 2564 ระดับดีเด่น ตอกย้ำบทบาทมุ่งสู่การเป็นองค์กรยั่งยืน
วันพุธที่ 29 กันยายน 2564
กบข. คว้ารางวัลองค์กรต้นแบบด้านสิทธิมนุษยชน ปี 2564 ระดับดีเด่น ตอกย้ําบทบาทมุ่งสู่การเป็นองค์กรยั่งยืน
กบข. เข้ารับการประเมินองค์กรต้นแบบด้านสิทธิมนุษยชนครั้งแรก คว้ารางวัลดีเด่น ประเภทองค์กรภาครัฐ เผยภารกิจองค์กรภายใต้หลักการ “เสมอภาค เป็นธรรม และไม่เลือกปฎิบัติ” ครอบคลุมทุกมิติตามมาตรฐานสากล มุ่งขับเคลื่อน กบข. สู่การเป็นองค์กรยั่งยืน
ดร.ศรีกัญญา ยาทิพย์ เลขาธิการคณะกรรมการกองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ (กบข.) เปิดเผยว่า กบข. ได้รับรางวัลองค์กรต้นแบบด้านสิทธิมนุษยชน ประจําปี 2564 ในระดับดีเด่น ประเภทองค์กรภาครัฐ จัดโดยกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ ซึ่งเป็น 1 ใน 31 องค์กรภาครัฐที่ได้รับรางวัล จากการประเมินองค์กรทั่วประเทศ โดย กบข. เข้าร่วมรับการประเมินองค์กรต้นแบบด้านสิทธิมนุษยชนเป็นปีแรก
สําหรับเกณฑ์การประเมินได้พิจารณาจากการดําเนินงานขององค์กรตามภารกิจที่เคารพในหลักการสิทธิมนุษยชน รวมทั้งเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับองค์กรอื่น เพื่อเสริมสร้างสังคมแห่งการเคารพสิทธิมนุษยชนอย่างยั่งยืน ซึ่ง กบข. ได้ดําเนินภารกิจขององค์กรภายใต้หลักการ “เสมอภาค เป็นธรรม และไม่เลือกปฎิบัติ” ครอบคลุมห่วงโซ่อุปทานทุกมิติ อาทิ สมาชิก กบข. พนักงาน พันธมิตรธุรกิจ และสังคม
กบข. มุ่งมั่นผลักดันการดําเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน โดยให้ความสําคัญและเคารพสิทธิมนุษยชนตามหลักปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน และหลักปฏิบัติของสหประชาชาติว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชน (United Nations Guiding Principles on Business and Human Rights : UNGPs) ที่เน้นย้ําในเสาหลัก 3 ประการ ได้แก่ การคุ้มครอง การเคารพ และการเยียวยา อีกทั้งยังบูรณาการหลักสิทธิมนุษยชนในทุกภาคส่วน โดยกําหนดนโยบาย แผนยุทธศาสตร์องค์กร ตลอดจนนําไปปฏิบัติ ทั้งในด้านการบริหารจัดการลงทุน การบริการงานสมาชิก ตลอดจนการบริหารองค์กร เพื่อสร้างกระบวนการบริหารจัดการด้านสิทธิมนุษยชนในกิจการขององค์กรทุกกระบวนการให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล
ทั้งนี้ กบข. เชื่อว่า การปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาลและสิทธิมนุษยชนที่ดีจะนํามาสู่ความมีศักดิ์ศรี ตลอดจนความน่าเชื่อถือขององค์กร อันเป็นปัจจัยสําคัญที่จะนําองค์กรไปสู่การเป็นองค์กรที่ยั่งยืน (Sustainable Organization) อีกทั้งยังเป็นพลังเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมให้กับประเทศและสังคมโลก ซึ่งเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป | https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/46365 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รัฐบาลลาวมอบ “ประกาศเกียรติคุณสูงย้องยอ” แด่ “ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รมว.เกษตรฯ” | วันศุกร์ที่ 11 มีนาคม 2565
รัฐบาลลาวมอบ “ประกาศเกียรติคุณสูงย้องยอ” แด่ “ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รมว.เกษตรฯ”
รัฐบาลลาวมอบ “ประกาศเกียรติคุณสูงย้องยอ” แด่ “ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รมว.เกษตรฯ” ในวาระ 70 ปีความสัมพันธ์ลาว - ไทย
รัฐบาลสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวได้มอบประกาศเกียรติคุณสูงสุดระดับ“ประกาศเกียรติคุณสูงย้องยอ”แด่ดร.เฉลิมชัยศรีอ่อนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในฐานะผู้ทําคุณประโยชน์ให้แก่รัฐบาลและประชาชนสปป.ลาวในโอกาสครบรอบ70ปีแห่งการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างสปป.ลาวกับราชอาณาจักรไทยณสถานเอกอัครราชทูตแห่งสปป.ลาวโดยฯพณฯแสงสุขะทิวง(H.E. Mr. Seng Soukhathivong)เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวเป็นผู้มอบในนามรัฐบาลลาว
ดร.เฉลิมชัยกล่าวว่าขอขอบคุณรัฐบาลสปป.ลาวและรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้รับประกาศเกียรติคุณสูงย้องยอในวาระ70ปีแห่งความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับสปป.ลาวซึ่งเสมือนบ้านพี่เมืองน้องที่มีความสัมพันธ์อันแนบแน่นและจะต้องช่วยกันเสริมสร้างความร่วมมือในทุกมิติระหว่าง2ประเทศให้ยั่งยืนตลอดไป. | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รัฐบาลลาวมอบ “ประกาศเกียรติคุณสูงย้องยอ” แด่ “ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รมว.เกษตรฯ”
วันศุกร์ที่ 11 มีนาคม 2565
รัฐบาลลาวมอบ “ประกาศเกียรติคุณสูงย้องยอ” แด่ “ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รมว.เกษตรฯ”
รัฐบาลลาวมอบ “ประกาศเกียรติคุณสูงย้องยอ” แด่ “ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รมว.เกษตรฯ” ในวาระ 70 ปีความสัมพันธ์ลาว - ไทย
รัฐบาลสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวได้มอบประกาศเกียรติคุณสูงสุดระดับ“ประกาศเกียรติคุณสูงย้องยอ”แด่ดร.เฉลิมชัยศรีอ่อนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในฐานะผู้ทําคุณประโยชน์ให้แก่รัฐบาลและประชาชนสปป.ลาวในโอกาสครบรอบ70ปีแห่งการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างสปป.ลาวกับราชอาณาจักรไทยณสถานเอกอัครราชทูตแห่งสปป.ลาวโดยฯพณฯแสงสุขะทิวง(H.E. Mr. Seng Soukhathivong)เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวเป็นผู้มอบในนามรัฐบาลลาว
ดร.เฉลิมชัยกล่าวว่าขอขอบคุณรัฐบาลสปป.ลาวและรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้รับประกาศเกียรติคุณสูงย้องยอในวาระ70ปีแห่งความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับสปป.ลาวซึ่งเสมือนบ้านพี่เมืองน้องที่มีความสัมพันธ์อันแนบแน่นและจะต้องช่วยกันเสริมสร้างความร่วมมือในทุกมิติระหว่าง2ประเทศให้ยั่งยืนตลอดไป. | https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/52458 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-“ชัยวุฒิ” ร่วมเป็นสักขีพยาน MOU Signing Ceremony ระหว่าง สกมช. กับ Huawei มุ่งเพิ่มทักษะด้านความปลอดภัยทางไขเบอร์ให้แก่บุคลากรด้านไอทีของไทย | วันพุธที่ 3 สิงหาคม 2565
“ชัยวุฒิ” ร่วมเป็นสักขีพยาน MOU Signing Ceremony ระหว่าง สกมช. กับ Huawei มุ่งเพิ่มทักษะด้านความปลอดภัยทางไขเบอร์ให้แก่บุคลากรด้านไอทีของไทย
“ชัยวุฒิ” ร่วมเป็นสักขีพยาน MOU Signing Ceremony ระหว่าง สกมช. กับ Huawei มุ่งเพิ่มทักษะด้านความปลอดภัยทางไขเบอร์ให้แก่บุคลากรด้านไอทีของไทย
เมื่อวันที่2สิงหาคม2565นายชัยวุฒิธนาคมานุสรณ์รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมให้เกียรติเป็นสักขีพยานในงานMOU Signing Ceremonyระหว่างสกมช.กับHuaweiณSiam Kempinski Hotel Bangkokโดยมีนางสาวอัจฉรินทร์พัฒนพันธ์ชัยปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมและผู้บริหารหน่วยงานต่างๆร่วมเป็นสักขีพยานทั้งนี้การลงนามบันทึกข้อตกลงดังกล่าวมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มทักษะด้านความปลอดภัยทางไขเบอร์ให้แก่บุคลากรด้านไอทีของไทยผ่านการผลักดันแพลตฟอร์มการเรียนรู้ออนไลน์e-labของหัวเว่ยในการนี้รัฐมนตรีดีอีเอสกล่าวย้ําถึงความร่วมมือกับหัวเว่ยในครั้งนี้ว่า"ประเด็นเรื่องข้อมูลรั่วไหลและการโจมตีทางไซเบอร์มีจํานวนครั้งที่เกิดถี่ขึ้นเรื่อยๆและมีความสลับซับซ้อนมากขึ้นทําให้ปัญหาเรื่องความเหลื่อมล้ําด้านองค์ความรู้และทักษะทางดิจิทัลเริ่มส่งผลกระทบกับองค์กรต่างๆอย่างรุนแรงยิ่งกว่าเดิมนั่นเป็นสาเหตุที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมได้ร่วมจับมือกับผู้นําด้านนวัตกรรมด้านดิจิทัลอย่างหัวเว่ยในการรับมือกับปัญหานี้ด้วยการแบ่งปันองค์ความรู้ด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์รวมถึงแบ่งปันกรณีตัวอย่างจากภาคอุตสาหกรรมต่างๆเพื่อเพิ่มศักยภาพด้านดิจิทัลในภาพรวมและนําเสนอทรัพยากรด้านการเรียนรู้ที่มีคุณภาพยิ่งขึ้นความร่วมมือครั้งนี้จะช่วยกระตุ้นให้ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนประยุกต์ใช้ข้อปฏิบัติสําคัญในต้านความปลอดภัยทางไซเบอร์โดยมีเป้าหมายคือการวางโครงสร้างพื้นฐานด้านทักษะที่แข็งแกร่งสําหรับประเทศไทยเพื่อช่วยผลักดันประเทศไทยให้เข้าสู่ยุคดิจิทัลแห่งอนาคตที่มีความปลอดภัย"
*************** | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-“ชัยวุฒิ” ร่วมเป็นสักขีพยาน MOU Signing Ceremony ระหว่าง สกมช. กับ Huawei มุ่งเพิ่มทักษะด้านความปลอดภัยทางไขเบอร์ให้แก่บุคลากรด้านไอทีของไทย
วันพุธที่ 3 สิงหาคม 2565
“ชัยวุฒิ” ร่วมเป็นสักขีพยาน MOU Signing Ceremony ระหว่าง สกมช. กับ Huawei มุ่งเพิ่มทักษะด้านความปลอดภัยทางไขเบอร์ให้แก่บุคลากรด้านไอทีของไทย
“ชัยวุฒิ” ร่วมเป็นสักขีพยาน MOU Signing Ceremony ระหว่าง สกมช. กับ Huawei มุ่งเพิ่มทักษะด้านความปลอดภัยทางไขเบอร์ให้แก่บุคลากรด้านไอทีของไทย
เมื่อวันที่2สิงหาคม2565นายชัยวุฒิธนาคมานุสรณ์รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมให้เกียรติเป็นสักขีพยานในงานMOU Signing Ceremonyระหว่างสกมช.กับHuaweiณSiam Kempinski Hotel Bangkokโดยมีนางสาวอัจฉรินทร์พัฒนพันธ์ชัยปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมและผู้บริหารหน่วยงานต่างๆร่วมเป็นสักขีพยานทั้งนี้การลงนามบันทึกข้อตกลงดังกล่าวมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มทักษะด้านความปลอดภัยทางไขเบอร์ให้แก่บุคลากรด้านไอทีของไทยผ่านการผลักดันแพลตฟอร์มการเรียนรู้ออนไลน์e-labของหัวเว่ยในการนี้รัฐมนตรีดีอีเอสกล่าวย้ําถึงความร่วมมือกับหัวเว่ยในครั้งนี้ว่า"ประเด็นเรื่องข้อมูลรั่วไหลและการโจมตีทางไซเบอร์มีจํานวนครั้งที่เกิดถี่ขึ้นเรื่อยๆและมีความสลับซับซ้อนมากขึ้นทําให้ปัญหาเรื่องความเหลื่อมล้ําด้านองค์ความรู้และทักษะทางดิจิทัลเริ่มส่งผลกระทบกับองค์กรต่างๆอย่างรุนแรงยิ่งกว่าเดิมนั่นเป็นสาเหตุที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมได้ร่วมจับมือกับผู้นําด้านนวัตกรรมด้านดิจิทัลอย่างหัวเว่ยในการรับมือกับปัญหานี้ด้วยการแบ่งปันองค์ความรู้ด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์รวมถึงแบ่งปันกรณีตัวอย่างจากภาคอุตสาหกรรมต่างๆเพื่อเพิ่มศักยภาพด้านดิจิทัลในภาพรวมและนําเสนอทรัพยากรด้านการเรียนรู้ที่มีคุณภาพยิ่งขึ้นความร่วมมือครั้งนี้จะช่วยกระตุ้นให้ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนประยุกต์ใช้ข้อปฏิบัติสําคัญในต้านความปลอดภัยทางไซเบอร์โดยมีเป้าหมายคือการวางโครงสร้างพื้นฐานด้านทักษะที่แข็งแกร่งสําหรับประเทศไทยเพื่อช่วยผลักดันประเทศไทยให้เข้าสู่ยุคดิจิทัลแห่งอนาคตที่มีความปลอดภัย"
*************** | https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/57556 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-อนุทิน เตรียมปรับมาตรการรับมือ "โอมิครอน" | วันจันทร์ที่ 20 ธันวาคม 2564
อนุทิน เตรียมปรับมาตรการรับมือ "โอมิครอน"
รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข มอบกรมควบคุมโรคเตรียมข้อเสนอ ศบค. ปรับมาตรการป้องกันควบคุมโรคโควิด 19 สายพันธุ์โอมิครอนในผู้เดินทางมาจากต่างประเทศ พร้อมเพิ่มจุดบริการฉีดวัคซีนในสถานีขนส่งผู้โดยสารทุกประเภท
วันนี้ (20 ธันวาคม 2564 ) ที่โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ อ.เมือง จ.อุบลราชธานี นายอนุทิน ชาญวีรกูลรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า สถานการณ์เชื้อไวรัสโควิด19 กลายพันธุ์เป็นสิ่งที่น่ากังวล โดยเฉพาะสายพันธุ์โอมิครอน เนื่องจากมีการเปิดให้เดินทางระหว่างประเทศ โดยขณะนี้ประเทศไทยพบผู้ติดเชื้อสายพันธุ์โอมิครอนแล้ว 63 ราย จึงต้องมีการพิจารณายกระดับและปรับมาตรการในผู้ที่เดินทางเข้าประเทศให้เข้มข้นขึ้น เช่นเดียวกับหลายๆ ประเทศ ทั้งยุโรป ตะวันออกกลาง อเมริกา และแอฟริกา เป็นต้น โดยอาจกักตัวเพื่อเฝ้าสังเกตอาการก่อน และตรวจ RT- PCR เป็นระยะ เมื่อพบว่าปลอดเชื้อ จึงจะอนุญาตให้เดินทางต่อได้
นายอนุทินกล่าวว่า มาตรการต่างๆ ที่กระทรวงสาธารณสุขกําหนดอาจทําให้บางคนเกิดความไม่สะดวกโดยเฉพาะผู้ที่มีความจําเป็นในการเดินทาง แต่เป็นสิ่งที่ต้องทําเพื่อความปลอดภัยของประชาชนส่วนใหญ่ เพราะแม้ผ่านระบบคัดกรองจากประเทศต้นทาง ก็ไม่สามารถยืนยันได้ว่าจะไม่พบเชื้อ ทั้งนี้ ได้มอบให้กรมควบคุมโรคจัดทําแนวทางนําเสนอต่อที่ประชุม ศบค. เพื่อประกาศเป็นแนวทางปฎิบัติต่อไป
ส่วนการฉีดวัคซีนขณะนี้ภาพรวมประเทศไทยสามารถฉีดได้ เกิน100 ล้านโดส ซึ่งช่วยลดความเสี่ยง สร้างความปลอดภัย ไม่ให้ป่วยหนัก และเสียชีวิตได้ และขณะนี้กระทรวงสาธารณสุขได้เร่งรณรงค์ฉีดเข็มกระตุ้นเข็ม 3 ให้กับผู้ที่ครบระยะเวลาการฉีด เพื่อช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกัน ช่วยลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อ พร้อมให้สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดแต่ละจังหวัด ประสานคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดเพิ่มพื้นที่ให้บริการฉีดวัคซีนมากขึ้น เช่น สถานีขนส่งผู้โดยสารทางบก น้ํา และอากาศ เป็นต้น
สําหรับเทศกาลปีใหม่2565 นี้ การจัดกิจกรรมต่างๆ ต้องมีการขออนุญาตจากคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด โดยเฉพาะกิจกรรมรื่นเริงที่มีการรวมกลุ่มคนจํานวนมากต้องมีมาตรการเสริมเพื่อความปลอดภัย เช่นกรณีของจังหวัดสุรินทร์ เป็นตัวอย่างให้พื้นที่อื่นๆ ได้มีความเข้มงวดมากขึ้น
*********************************** 20 ธันวาคม 2564 | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-อนุทิน เตรียมปรับมาตรการรับมือ "โอมิครอน"
วันจันทร์ที่ 20 ธันวาคม 2564
อนุทิน เตรียมปรับมาตรการรับมือ "โอมิครอน"
รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข มอบกรมควบคุมโรคเตรียมข้อเสนอ ศบค. ปรับมาตรการป้องกันควบคุมโรคโควิด 19 สายพันธุ์โอมิครอนในผู้เดินทางมาจากต่างประเทศ พร้อมเพิ่มจุดบริการฉีดวัคซีนในสถานีขนส่งผู้โดยสารทุกประเภท
วันนี้ (20 ธันวาคม 2564 ) ที่โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ อ.เมือง จ.อุบลราชธานี นายอนุทิน ชาญวีรกูลรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า สถานการณ์เชื้อไวรัสโควิด19 กลายพันธุ์เป็นสิ่งที่น่ากังวล โดยเฉพาะสายพันธุ์โอมิครอน เนื่องจากมีการเปิดให้เดินทางระหว่างประเทศ โดยขณะนี้ประเทศไทยพบผู้ติดเชื้อสายพันธุ์โอมิครอนแล้ว 63 ราย จึงต้องมีการพิจารณายกระดับและปรับมาตรการในผู้ที่เดินทางเข้าประเทศให้เข้มข้นขึ้น เช่นเดียวกับหลายๆ ประเทศ ทั้งยุโรป ตะวันออกกลาง อเมริกา และแอฟริกา เป็นต้น โดยอาจกักตัวเพื่อเฝ้าสังเกตอาการก่อน และตรวจ RT- PCR เป็นระยะ เมื่อพบว่าปลอดเชื้อ จึงจะอนุญาตให้เดินทางต่อได้
นายอนุทินกล่าวว่า มาตรการต่างๆ ที่กระทรวงสาธารณสุขกําหนดอาจทําให้บางคนเกิดความไม่สะดวกโดยเฉพาะผู้ที่มีความจําเป็นในการเดินทาง แต่เป็นสิ่งที่ต้องทําเพื่อความปลอดภัยของประชาชนส่วนใหญ่ เพราะแม้ผ่านระบบคัดกรองจากประเทศต้นทาง ก็ไม่สามารถยืนยันได้ว่าจะไม่พบเชื้อ ทั้งนี้ ได้มอบให้กรมควบคุมโรคจัดทําแนวทางนําเสนอต่อที่ประชุม ศบค. เพื่อประกาศเป็นแนวทางปฎิบัติต่อไป
ส่วนการฉีดวัคซีนขณะนี้ภาพรวมประเทศไทยสามารถฉีดได้ เกิน100 ล้านโดส ซึ่งช่วยลดความเสี่ยง สร้างความปลอดภัย ไม่ให้ป่วยหนัก และเสียชีวิตได้ และขณะนี้กระทรวงสาธารณสุขได้เร่งรณรงค์ฉีดเข็มกระตุ้นเข็ม 3 ให้กับผู้ที่ครบระยะเวลาการฉีด เพื่อช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกัน ช่วยลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อ พร้อมให้สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดแต่ละจังหวัด ประสานคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดเพิ่มพื้นที่ให้บริการฉีดวัคซีนมากขึ้น เช่น สถานีขนส่งผู้โดยสารทางบก น้ํา และอากาศ เป็นต้น
สําหรับเทศกาลปีใหม่2565 นี้ การจัดกิจกรรมต่างๆ ต้องมีการขออนุญาตจากคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด โดยเฉพาะกิจกรรมรื่นเริงที่มีการรวมกลุ่มคนจํานวนมากต้องมีมาตรการเสริมเพื่อความปลอดภัย เช่นกรณีของจังหวัดสุรินทร์ เป็นตัวอย่างให้พื้นที่อื่นๆ ได้มีความเข้มงวดมากขึ้น
*********************************** 20 ธันวาคม 2564 | https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/49675 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นรม. และ รมว.กห. ห่วงใยสถานการณ์ความรุนแรงใต้ สั่งคุมเข้มความปลอดภัยประชาชนและให้การช่วยเหลือดูแลเจ้าหน้าที่บาดเจ็บและเสียชีวิตต่อเนื่องไป | วันพฤหัสบดีที่ 17 มีนาคม 2565
นรม. และ รมว.กห. ห่วงใยสถานการณ์ความรุนแรงใต้ สั่งคุมเข้มความปลอดภัยประชาชนและให้การช่วยเหลือดูแลเจ้าหน้าที่บาดเจ็บและเสียชีวิตต่อเนื่องไป
โฆษก กห. เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นรม.และรมว.กห. ได้แสดงความเสียใจกับญาติและเจ้าหน้าที่ทหารพราน จากร้อย 4204 ฉก.ทพ.42 ที่เสียชีวิต 1 นาย และได้รับบาดเจ็บสาหัส 3 นาย
จากเหตุลอบวางระเบิดโดยกลุ่มก่อความไม่สงบในพื้นที่ บ้านเมาะโง ม.5 ต.กระหวะ อ.มายอ จ.ปัตตานี เมื่อ 0900 ของวันนี้ที่ผ่านมา
โดย นรม.และ รมว.กห. ได้สั่งการ กอ.รมน.ภาค 4 ประสานให้การช่วยเหลือผู้ได้รับบาดเจ็บ เข้ารับการรักษาเป็นการเร่งด่วนและให้การดูแลต่อเนื่องไป จนกว่าสภาพร่างกายและจิตใจเป็นปกติ สําหรับผู้ที่เสียชีวิต ขอให้สนับสนุนร่วมประกอบพิธีทางศาสนาอย่างสมเกียรติและให้การดูแลช่วยเหลือญาติผู้เสียชีวิตตามสิทธิ์อันสมควร
พร้อมกันนี้ ได้แสดงความห่วงใย ถึงเหตุความรุนแรงในพื้นที่ 3 จชต.ที่เกิดขึ้นต่อเนื่องที่ผ่านมา เป็นเหตุให้ประชาชนบริสุทธิ์ได้รับบาดเจ็บหลายราย ซึ่งต่อมามีหลายกลุ่มทางสังคมและญาติของผู้ได้รับผลกระทบ ออกมาประณามกลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรงว่า เป็นการกระทําที่ไร้มนุษยธรรมและละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง โดย พล.อ.ประยุทธ์’ ได้กําชับหน่วยงานความมั่นคงในพื้นที่ ให้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความระมัดระวังและไม่ประมาท โดยเน้น ให้คุมเข้มคุ้มครองดูแลความปลอดภัยประชาชนต่อเนื่องกันไป ควบคู่กับ ให้ความสําคัญการพัฒนาพื้นที่แบบมีส่วนร่วมไปพร้อมกัน พร้อมย้ําว่า รัฐบาล ยังคงมุ่งมั่นและคงความพยายามที่จะยกระดับรายได้และพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนระดับครัวเรือนในพื้นที่ เพื่อลดเงื่อนไขและปัญหาการใช้ความรุนแรงต่อกันและเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขในที่สุด
#กลาโหม135ปี | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นรม. และ รมว.กห. ห่วงใยสถานการณ์ความรุนแรงใต้ สั่งคุมเข้มความปลอดภัยประชาชนและให้การช่วยเหลือดูแลเจ้าหน้าที่บาดเจ็บและเสียชีวิตต่อเนื่องไป
วันพฤหัสบดีที่ 17 มีนาคม 2565
นรม. และ รมว.กห. ห่วงใยสถานการณ์ความรุนแรงใต้ สั่งคุมเข้มความปลอดภัยประชาชนและให้การช่วยเหลือดูแลเจ้าหน้าที่บาดเจ็บและเสียชีวิตต่อเนื่องไป
โฆษก กห. เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นรม.และรมว.กห. ได้แสดงความเสียใจกับญาติและเจ้าหน้าที่ทหารพราน จากร้อย 4204 ฉก.ทพ.42 ที่เสียชีวิต 1 นาย และได้รับบาดเจ็บสาหัส 3 นาย
จากเหตุลอบวางระเบิดโดยกลุ่มก่อความไม่สงบในพื้นที่ บ้านเมาะโง ม.5 ต.กระหวะ อ.มายอ จ.ปัตตานี เมื่อ 0900 ของวันนี้ที่ผ่านมา
โดย นรม.และ รมว.กห. ได้สั่งการ กอ.รมน.ภาค 4 ประสานให้การช่วยเหลือผู้ได้รับบาดเจ็บ เข้ารับการรักษาเป็นการเร่งด่วนและให้การดูแลต่อเนื่องไป จนกว่าสภาพร่างกายและจิตใจเป็นปกติ สําหรับผู้ที่เสียชีวิต ขอให้สนับสนุนร่วมประกอบพิธีทางศาสนาอย่างสมเกียรติและให้การดูแลช่วยเหลือญาติผู้เสียชีวิตตามสิทธิ์อันสมควร
พร้อมกันนี้ ได้แสดงความห่วงใย ถึงเหตุความรุนแรงในพื้นที่ 3 จชต.ที่เกิดขึ้นต่อเนื่องที่ผ่านมา เป็นเหตุให้ประชาชนบริสุทธิ์ได้รับบาดเจ็บหลายราย ซึ่งต่อมามีหลายกลุ่มทางสังคมและญาติของผู้ได้รับผลกระทบ ออกมาประณามกลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรงว่า เป็นการกระทําที่ไร้มนุษยธรรมและละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง โดย พล.อ.ประยุทธ์’ ได้กําชับหน่วยงานความมั่นคงในพื้นที่ ให้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความระมัดระวังและไม่ประมาท โดยเน้น ให้คุมเข้มคุ้มครองดูแลความปลอดภัยประชาชนต่อเนื่องกันไป ควบคู่กับ ให้ความสําคัญการพัฒนาพื้นที่แบบมีส่วนร่วมไปพร้อมกัน พร้อมย้ําว่า รัฐบาล ยังคงมุ่งมั่นและคงความพยายามที่จะยกระดับรายได้และพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนระดับครัวเรือนในพื้นที่ เพื่อลดเงื่อนไขและปัญหาการใช้ความรุนแรงต่อกันและเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขในที่สุด
#กลาโหม135ปี | https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/52642 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-โฆษกดีอีเอสเตือนอย่าหลงเชื่อข่าวปลอม รพ.ศิริราช รับ walk in ฉีดวัคซีนโควิด-19 สำหรับผู้ที่ไม่สามารถหาจองได้ | วันอาทิตย์ที่ 29 สิงหาคม 2564
โฆษกดีอีเอสเตือนอย่าหลงเชื่อข่าวปลอม รพ.ศิริราช รับ walk in ฉีดวัคซีนโควิด-19 สําหรับผู้ที่ไม่สามารถหาจองได้
โฆษกดีอีเอสเตือนอย่าหลงเชื่อข่าวปลอม รพ.ศิริราช รับ walk in ฉีดวัคซีนโควิด-19 สําหรับผู้ที่ไม่สามารถหาจองได้
นางสาวนพวรรณหัวใจมั่นโฆษกกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฝ่ายการเมือง(ดีอีเอส)กล่าวว่าตามที่มีการแนะนําเกี่ยวกับประเด็นเรื่องรพ.ศิริราชรับwalk inฉีดวัคซีนโควิด-19สําหรับผู้ที่ไม่สามารถหาจองได้ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดําเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับทางคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลมหาวิทยาลัยมหิดลพบว่าประเด็นดังกล่าวนั้นเป็นข้อมูลเท็จ
ในกรณีการส่งต่อข้อมูลโดยระบุว่าบอกต่อสําหรับใครที่อยากฉีดวัคซีนโควิด-19แต่หาจองไม่ได้ให้walk inไปที่รพ.ศิริราชได้ทุกวันเสาร์-อาทิตย์ทางคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลมหาวิทยาลัยมหิดลได้ตรวจสอบและชี้แจงว่าปัจจุบันโรงพยาบาลศิริราชยังไม่มีนโยบายให้ผู้ป่วยwalk inเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19ได้ซึ่งโรงพยาบาลศิริราชจะพิจารณาเฉพาะผู้ป่วยที่มีนัดตรวจที่โรงพยาบาลเท่านั้น
ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าวและขอความร่วมมือไม่ส่งหรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆหากต้องการรับรู้ข่าวสารเพิ่มเติมจากข่าวประชาสัมพันธ์คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลสามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์www.si.mahidol.ac.thหรือโทร. 02 4197646ต่อ50และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์ของเชื้อไวรัสCOVID-19ในประเทศไทยรวมถึงข้อแนะนําในการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันตนเองจากกระทรวงสาธารณสุขสามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์www.moph.go.thหรือโทร. 1422
นอกจากนี้ประชาชนสามารถติดตามและแจ้งเบาะแสข่าวปลอมได้ผ่านช่องทางต่างๆของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมดังนี้ไลน์@antifakenewscenter เว็บไซต์https://www.antifakenewscenter.com/ทวิตเตอร์https://twitter.com/AFNCThailandและช่องทางโทรศัพท์โทรสายด่วนGCC 1111ต่อ87ได้ตลอด24ชั่วโมง
********* | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-โฆษกดีอีเอสเตือนอย่าหลงเชื่อข่าวปลอม รพ.ศิริราช รับ walk in ฉีดวัคซีนโควิด-19 สำหรับผู้ที่ไม่สามารถหาจองได้
วันอาทิตย์ที่ 29 สิงหาคม 2564
โฆษกดีอีเอสเตือนอย่าหลงเชื่อข่าวปลอม รพ.ศิริราช รับ walk in ฉีดวัคซีนโควิด-19 สําหรับผู้ที่ไม่สามารถหาจองได้
โฆษกดีอีเอสเตือนอย่าหลงเชื่อข่าวปลอม รพ.ศิริราช รับ walk in ฉีดวัคซีนโควิด-19 สําหรับผู้ที่ไม่สามารถหาจองได้
นางสาวนพวรรณหัวใจมั่นโฆษกกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฝ่ายการเมือง(ดีอีเอส)กล่าวว่าตามที่มีการแนะนําเกี่ยวกับประเด็นเรื่องรพ.ศิริราชรับwalk inฉีดวัคซีนโควิด-19สําหรับผู้ที่ไม่สามารถหาจองได้ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดําเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับทางคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลมหาวิทยาลัยมหิดลพบว่าประเด็นดังกล่าวนั้นเป็นข้อมูลเท็จ
ในกรณีการส่งต่อข้อมูลโดยระบุว่าบอกต่อสําหรับใครที่อยากฉีดวัคซีนโควิด-19แต่หาจองไม่ได้ให้walk inไปที่รพ.ศิริราชได้ทุกวันเสาร์-อาทิตย์ทางคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลมหาวิทยาลัยมหิดลได้ตรวจสอบและชี้แจงว่าปัจจุบันโรงพยาบาลศิริราชยังไม่มีนโยบายให้ผู้ป่วยwalk inเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19ได้ซึ่งโรงพยาบาลศิริราชจะพิจารณาเฉพาะผู้ป่วยที่มีนัดตรวจที่โรงพยาบาลเท่านั้น
ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าวและขอความร่วมมือไม่ส่งหรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆหากต้องการรับรู้ข่าวสารเพิ่มเติมจากข่าวประชาสัมพันธ์คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลสามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์www.si.mahidol.ac.thหรือโทร. 02 4197646ต่อ50และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์ของเชื้อไวรัสCOVID-19ในประเทศไทยรวมถึงข้อแนะนําในการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันตนเองจากกระทรวงสาธารณสุขสามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์www.moph.go.thหรือโทร. 1422
นอกจากนี้ประชาชนสามารถติดตามและแจ้งเบาะแสข่าวปลอมได้ผ่านช่องทางต่างๆของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมดังนี้ไลน์@antifakenewscenter เว็บไซต์https://www.antifakenewscenter.com/ทวิตเตอร์https://twitter.com/AFNCThailandและช่องทางโทรศัพท์โทรสายด่วนGCC 1111ต่อ87ได้ตลอด24ชั่วโมง
********* | https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/45286 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมว.เฮ้ง ติดตาม แฟคทอรี่แซนด์บ็อกซ์ และการฉีดวัคซีนผู้ประกันตนในสถานประกอบการ จ.ชลบุรี | วันเสาร์ที่ 28 สิงหาคม 2564
รมว.เฮ้ง ติดตาม แฟคทอรี่แซนด์บ็อกซ์ และการฉีดวัคซีนผู้ประกันตนในสถานประกอบการ จ.ชลบุรี
รมว.เฮ้ง ติดตาม แฟคทอรี่แซนด์บ็อกซ์ และการฉีดวัคซีนผู้ประกันตนในสถานประกอบการ จ.ชลบุรี
เมื่อวันที่28สิงหาคม2564นายสุชาติชมกลิ่นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานลงพื้นที่ติดตามการดําเนินงานโครงการแฟคทอรี่แซนด์บ็อกซ์(Factory Sandbox)พร้อมตรวจเยี่ยมการฉีดวัคซีนและให้กําลังใจแก่ผู้ประกันตนในสถานประกอบการณบริษัทเอดับเบิ้ลยู(ไทยแลนด์)จํากัดตําบลเขาคันทรงอําเภอศรีราชาจังหวัดชลบุรีและบริษัทแวนด้าแพคจํากัดตําบลคลองตําหรุอําเภอเมืองจังหวัดชลบุรีโดยมีนายสุรชัยชัยตระกูลทองผู้ช่วยรัฐมนตรีประจํากระทรวงแรงงานนางธิวัลรัตน์อังกินันทน์ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานนายสุเทพชิตยวงษ์เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานพล.ต.ต.นันทชาติศุภมงคลประจําสํานักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประจํากระทรวงแรงงานนางเธียรรัตน์นะวะมะวัฒน์โฆษกกระทรวงแรงงาน(ฝ่ายการเมือง)นายสุทธิสุโกศลปลัดกระทรวงแรงงานนายภัครธรณ์เทียนไชยผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรีนายธวัชชัยศรีทองรองผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรีนายยูกิฮิโรโทริยามาประธานกรรมการบริษัทริโก้แมนูแฟคเจอริ่ง(ประเทศไทย)จํากัดนายวราวงศ์ตั้งกิจเวทย์ประธานกรรมการบริษัทแวนด้าแพคจํากัดพร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูงกระทรวงแรงงานเข้าร่วมในครั้งนี้ด้วยโดยนายสุชาติกล่าวว่ารัฐบาลภายใต้การบริหารของท่านนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมพล.อ.ประยุทธ์จันทร์โอชาและท่านรองนายกรัฐมนตรีพล.อ.ประวิตรวงษ์สุวรรณได้ให้ความห่วงใยและติดตามผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19ในด้านเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ของพี่น้องประชาชนได้สั่งการให้ทุกกระทรวงทํางานบูรณาการร่วมกันเพื่อแก้ไขปัญหาที่เป็นความเดือดร้อนเร่งด่วนเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างเป็นรูปธรรมรวดเร็วและทันเหตุการณ์
นายสุชาติกล่าวต่อว่าผมในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานได้เล็งเห็นถึงความสําคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและการดูแลคุณภาพชีวิตของพี่น้องผู้ใช้แรงงานโดยแฟคทอรี่แซนด์บ็อกซ์มุ่งเป้าหมายที่โรงงานภาคการผลิตส่งออกขนาดใหญ่ซึ่งเป็นกลไกหลักที่พยุงเศรษฐกิจประเทศสําหรับจังหวัดชลบุรีมีสถานประกอบการ11แห่งที่ดําเนินโครงการแฟคทอรี่แซนด์บ็อกซ์มีผู้ประกันตน12,836คนโดยหน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงานจังหวัดชลบุรีสาธารณสุขชลบุรีและโรงพยาบาลในเครือข่ายประกันสังคมได้ร่วมดําเนินการตรวจสถานประกอบกิจการดําเนินการตรวจRT – PCRแล้วและในวันนี้ได้ดําเนินการฉีดวัคซีนให้แก่ผู้ประกันตนที่เข้าร่วมโครงการฯจํานวน2บริษัทได้แก่บริษัทเอดับเบิ้ลยู(ไทยแลนด์)จํากัดและบริษัทแวนด้าแพคจํากัด
จากนั้นรมว.แรงงานและคณะได้พบปะพูดคุยกับสมาคมนักลงทุนชาวญี่ปุ่น(CRJA)ซึ่งทางสมาคมได้กล่าวขอบคุณรัฐบาลและกระทรวงแรงงานที่ได้ดําเนินการเร่งฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19ให้แก่ผู้ประกันตนเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุนในประเทศไทยโดยเฉพาะการที่ประเทศไทยมีมาตรการในการดูแลคนงานของบริษัทเป็นอย่างดีรวมทั้งมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ให้แรงงานและทําให้ภาคธุรกิจเดินหน้าต่อไปได้
“ผมขอชื่นชมผู้บริหารของบริษัทเอดับเบิ้ลยู(ไทยแลนด์)จํากัดและบริษัทแวนด้าแพคจํากัดที่ได้ดําเนินกิจกรรมของบริษัทตามแนวทางแฟคทอรี่แซนด์บ็อกซ์ซึ่งมีหัวใจหลักคือตรวจรักษาควบคุมและดูแลโดยดําเนินการในลักษณะ“เศรษฐศาสตร์สาธารณสุข”คือการดําเนินการควบคู่กันระหว่าง“สาธารณสุข”และ“เศรษฐกิจ”เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้พนักงานและสร้างความเชื่อมั่นในการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจนับเป็นการช่วยประเทศชาติให้ก้าวพ้นวิกฤตโควิดนี้ไปด้วยกัน”นายสุชาติกล่าวในท้ายสุด
สําหรับโครงการแฟคทอรี่แซนด์บ็อกซ์เป็นมาตรการการป้องการและควบคุมการแพร่ระบาดในโรงงานในพื้นที่เฉพาะร่วมมือดําเนินการโดยกระทรวงอุตสาหกรรมร่วมกับกระทรวงแรงงานกระทรวงมหาดไทยและกระทรวงสาธารณสุขซึ่งมีหัวใจหลักในการดําเนินงานตรวจรักษาควบคุมและดูแลให้กับผู้ใช้แรงงานในโรงงานภาคการผลิตส่งออกหลักขนาดใหญ่ซึ่งเป็นกลไกที่พยุงเศรษฐกิจประเทศซึ่งมี4 sectorได้แก่ยานยนต์ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์อาหารและอุปกรณ์ทางการแพทย์สําหรับโรงงานขนาดใหญ่ที่มีผู้ประกันตน500คนขึ้นไปโดยมีโครงการนําร่องการป้องการและควบคุมการแพร่ระบาดในโรงงาน(Factory Sandbox)ในเฟสแรกดําเนินการไปแล้วใน4จังหวัดประกอบด้วยนนทบุรีปทุมธานีสมุทรสาครและชลบุรีสําหรับในเฟส2จะขยายไปยังจังหวัดพระนครศรีอยุธยาฉะเชิงเทราและสมุทรปราการในช่วงต้นเดือนกันยายน2564ที่จะถึงนี้ต่อไป
+++++++++++++++++++
กองเผยแพร่และประชาสัมพันธ์
28สิงหาคม2564 | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมว.เฮ้ง ติดตาม แฟคทอรี่แซนด์บ็อกซ์ และการฉีดวัคซีนผู้ประกันตนในสถานประกอบการ จ.ชลบุรี
วันเสาร์ที่ 28 สิงหาคม 2564
รมว.เฮ้ง ติดตาม แฟคทอรี่แซนด์บ็อกซ์ และการฉีดวัคซีนผู้ประกันตนในสถานประกอบการ จ.ชลบุรี
รมว.เฮ้ง ติดตาม แฟคทอรี่แซนด์บ็อกซ์ และการฉีดวัคซีนผู้ประกันตนในสถานประกอบการ จ.ชลบุรี
เมื่อวันที่28สิงหาคม2564นายสุชาติชมกลิ่นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานลงพื้นที่ติดตามการดําเนินงานโครงการแฟคทอรี่แซนด์บ็อกซ์(Factory Sandbox)พร้อมตรวจเยี่ยมการฉีดวัคซีนและให้กําลังใจแก่ผู้ประกันตนในสถานประกอบการณบริษัทเอดับเบิ้ลยู(ไทยแลนด์)จํากัดตําบลเขาคันทรงอําเภอศรีราชาจังหวัดชลบุรีและบริษัทแวนด้าแพคจํากัดตําบลคลองตําหรุอําเภอเมืองจังหวัดชลบุรีโดยมีนายสุรชัยชัยตระกูลทองผู้ช่วยรัฐมนตรีประจํากระทรวงแรงงานนางธิวัลรัตน์อังกินันทน์ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานนายสุเทพชิตยวงษ์เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานพล.ต.ต.นันทชาติศุภมงคลประจําสํานักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประจํากระทรวงแรงงานนางเธียรรัตน์นะวะมะวัฒน์โฆษกกระทรวงแรงงาน(ฝ่ายการเมือง)นายสุทธิสุโกศลปลัดกระทรวงแรงงานนายภัครธรณ์เทียนไชยผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรีนายธวัชชัยศรีทองรองผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรีนายยูกิฮิโรโทริยามาประธานกรรมการบริษัทริโก้แมนูแฟคเจอริ่ง(ประเทศไทย)จํากัดนายวราวงศ์ตั้งกิจเวทย์ประธานกรรมการบริษัทแวนด้าแพคจํากัดพร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูงกระทรวงแรงงานเข้าร่วมในครั้งนี้ด้วยโดยนายสุชาติกล่าวว่ารัฐบาลภายใต้การบริหารของท่านนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมพล.อ.ประยุทธ์จันทร์โอชาและท่านรองนายกรัฐมนตรีพล.อ.ประวิตรวงษ์สุวรรณได้ให้ความห่วงใยและติดตามผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19ในด้านเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ของพี่น้องประชาชนได้สั่งการให้ทุกกระทรวงทํางานบูรณาการร่วมกันเพื่อแก้ไขปัญหาที่เป็นความเดือดร้อนเร่งด่วนเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างเป็นรูปธรรมรวดเร็วและทันเหตุการณ์
นายสุชาติกล่าวต่อว่าผมในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานได้เล็งเห็นถึงความสําคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและการดูแลคุณภาพชีวิตของพี่น้องผู้ใช้แรงงานโดยแฟคทอรี่แซนด์บ็อกซ์มุ่งเป้าหมายที่โรงงานภาคการผลิตส่งออกขนาดใหญ่ซึ่งเป็นกลไกหลักที่พยุงเศรษฐกิจประเทศสําหรับจังหวัดชลบุรีมีสถานประกอบการ11แห่งที่ดําเนินโครงการแฟคทอรี่แซนด์บ็อกซ์มีผู้ประกันตน12,836คนโดยหน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงานจังหวัดชลบุรีสาธารณสุขชลบุรีและโรงพยาบาลในเครือข่ายประกันสังคมได้ร่วมดําเนินการตรวจสถานประกอบกิจการดําเนินการตรวจRT – PCRแล้วและในวันนี้ได้ดําเนินการฉีดวัคซีนให้แก่ผู้ประกันตนที่เข้าร่วมโครงการฯจํานวน2บริษัทได้แก่บริษัทเอดับเบิ้ลยู(ไทยแลนด์)จํากัดและบริษัทแวนด้าแพคจํากัด
จากนั้นรมว.แรงงานและคณะได้พบปะพูดคุยกับสมาคมนักลงทุนชาวญี่ปุ่น(CRJA)ซึ่งทางสมาคมได้กล่าวขอบคุณรัฐบาลและกระทรวงแรงงานที่ได้ดําเนินการเร่งฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19ให้แก่ผู้ประกันตนเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุนในประเทศไทยโดยเฉพาะการที่ประเทศไทยมีมาตรการในการดูแลคนงานของบริษัทเป็นอย่างดีรวมทั้งมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ให้แรงงานและทําให้ภาคธุรกิจเดินหน้าต่อไปได้
“ผมขอชื่นชมผู้บริหารของบริษัทเอดับเบิ้ลยู(ไทยแลนด์)จํากัดและบริษัทแวนด้าแพคจํากัดที่ได้ดําเนินกิจกรรมของบริษัทตามแนวทางแฟคทอรี่แซนด์บ็อกซ์ซึ่งมีหัวใจหลักคือตรวจรักษาควบคุมและดูแลโดยดําเนินการในลักษณะ“เศรษฐศาสตร์สาธารณสุข”คือการดําเนินการควบคู่กันระหว่าง“สาธารณสุข”และ“เศรษฐกิจ”เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้พนักงานและสร้างความเชื่อมั่นในการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจนับเป็นการช่วยประเทศชาติให้ก้าวพ้นวิกฤตโควิดนี้ไปด้วยกัน”นายสุชาติกล่าวในท้ายสุด
สําหรับโครงการแฟคทอรี่แซนด์บ็อกซ์เป็นมาตรการการป้องการและควบคุมการแพร่ระบาดในโรงงานในพื้นที่เฉพาะร่วมมือดําเนินการโดยกระทรวงอุตสาหกรรมร่วมกับกระทรวงแรงงานกระทรวงมหาดไทยและกระทรวงสาธารณสุขซึ่งมีหัวใจหลักในการดําเนินงานตรวจรักษาควบคุมและดูแลให้กับผู้ใช้แรงงานในโรงงานภาคการผลิตส่งออกหลักขนาดใหญ่ซึ่งเป็นกลไกที่พยุงเศรษฐกิจประเทศซึ่งมี4 sectorได้แก่ยานยนต์ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์อาหารและอุปกรณ์ทางการแพทย์สําหรับโรงงานขนาดใหญ่ที่มีผู้ประกันตน500คนขึ้นไปโดยมีโครงการนําร่องการป้องการและควบคุมการแพร่ระบาดในโรงงาน(Factory Sandbox)ในเฟสแรกดําเนินการไปแล้วใน4จังหวัดประกอบด้วยนนทบุรีปทุมธานีสมุทรสาครและชลบุรีสําหรับในเฟส2จะขยายไปยังจังหวัดพระนครศรีอยุธยาฉะเชิงเทราและสมุทรปราการในช่วงต้นเดือนกันยายน2564ที่จะถึงนี้ต่อไป
+++++++++++++++++++
กองเผยแพร่และประชาสัมพันธ์
28สิงหาคม2564 | https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/45258 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ธ.ก.ส. โอนเงินประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวต่อเนื่อง งวดที่ 12 อีก 57,000 ครัวเรือน | วันพฤหัสบดีที่ 6 มกราคม 2565
ธ.ก.ส. โอนเงินประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวต่อเนื่อง งวดที่ 12 อีก 57,000 ครัวเรือน
ธ.ก.ส.โอนเงินโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวปี 2564/65 งวดที่ 1-11 (เพิ่มเติม) และงวดที่ 12 ให้เกษตรกรอีกกว่า 57,000 ครัวเรือน วงเงินกว่า 700 ล้านบาท เผยยอดรวมการโอนเงิน รวมแล้วกว่า 85,000 ล้านบาท มีเกษตรกรได้รับประโยชน์กว่า 4.56 ล้านครัวเรือน
นายกษาปณ์ เงินรวง รองผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2564 และมติที่ประชุมคณะกรรมการ ธ.ก.ส. เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2564 เห็นชอบกรอบแนวทางการดําเนินงานเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรตามโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2564/65 นั้น ซึ่งในวันนี้ (6 มกราคม 2565) ธ.ก.ส. ได้ดําเนินการโอนเงินประกันรายได้ในงวดที่ 1-11 (เพิ่มเติม) พร้อมงวดที่ 12 อีกจํานวน 731 ล้านบาท จํานวนเกษตรกร 57,965 ครัวเรือน ส่งผลให้ภาพรวมการโอนเงินโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2564/65 ไปแล้วจํานวน 85,113.24 ล้านบาท มีเกษตรกรได้รับประโยชน์แล้ว 4,564,768 ครัวเรือน
การประกันรายได้ดังกล่าวเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวให้ได้รับผลตอบแทนจากการผลิตที่เหมาะสม เป็นการป้องกันความเสี่ยงด้านราคาไม่ให้ประสบปัญหาขาดทุน และช่วยแก้ไขปัญหาราคาผลผลิตตกต่ําจากสถานการณ์เศรษฐกิจโลก การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 และอุทกภัย โดยที่กลไกตลาดยังคงทํางานเป็นปกติ โดยประกันรายได้แก่เกษตรกรผู้ปลูกข้าว 5 ชนิด ได้แก่ ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 15,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 14 ตัน ข้าวเปลือกหอมมะลินอกเขต ตันละ 14,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 10,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 30 ตัน ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ตันละ 11,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 25 ตัน และข้าวเปลือกเหนียว ตันละ 12,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน
ทั้งนี้ เกษตรกรสามารถตรวจสอบผลการโอนเงินได้ทางแอปพลิเคชัน ธ.ก.ส. A-Mobile ตลอด 24 ชั่วโมง และจะมีข้อความแจ้งเตือนเงินเข้าบัญชีผ่าน LINE Official BAAC Family กรณีที่ลูกค้าสมัครใช้บริการ BAAC Connect รวมถึงสามารถเบิกถอนเงินสดผ่านตู้ ATM ของ ธ.ก.ส. ทั่วประเทศ | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ธ.ก.ส. โอนเงินประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวต่อเนื่อง งวดที่ 12 อีก 57,000 ครัวเรือน
วันพฤหัสบดีที่ 6 มกราคม 2565
ธ.ก.ส. โอนเงินประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวต่อเนื่อง งวดที่ 12 อีก 57,000 ครัวเรือน
ธ.ก.ส.โอนเงินโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวปี 2564/65 งวดที่ 1-11 (เพิ่มเติม) และงวดที่ 12 ให้เกษตรกรอีกกว่า 57,000 ครัวเรือน วงเงินกว่า 700 ล้านบาท เผยยอดรวมการโอนเงิน รวมแล้วกว่า 85,000 ล้านบาท มีเกษตรกรได้รับประโยชน์กว่า 4.56 ล้านครัวเรือน
นายกษาปณ์ เงินรวง รองผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2564 และมติที่ประชุมคณะกรรมการ ธ.ก.ส. เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2564 เห็นชอบกรอบแนวทางการดําเนินงานเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรตามโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2564/65 นั้น ซึ่งในวันนี้ (6 มกราคม 2565) ธ.ก.ส. ได้ดําเนินการโอนเงินประกันรายได้ในงวดที่ 1-11 (เพิ่มเติม) พร้อมงวดที่ 12 อีกจํานวน 731 ล้านบาท จํานวนเกษตรกร 57,965 ครัวเรือน ส่งผลให้ภาพรวมการโอนเงินโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2564/65 ไปแล้วจํานวน 85,113.24 ล้านบาท มีเกษตรกรได้รับประโยชน์แล้ว 4,564,768 ครัวเรือน
การประกันรายได้ดังกล่าวเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวให้ได้รับผลตอบแทนจากการผลิตที่เหมาะสม เป็นการป้องกันความเสี่ยงด้านราคาไม่ให้ประสบปัญหาขาดทุน และช่วยแก้ไขปัญหาราคาผลผลิตตกต่ําจากสถานการณ์เศรษฐกิจโลก การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 และอุทกภัย โดยที่กลไกตลาดยังคงทํางานเป็นปกติ โดยประกันรายได้แก่เกษตรกรผู้ปลูกข้าว 5 ชนิด ได้แก่ ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 15,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 14 ตัน ข้าวเปลือกหอมมะลินอกเขต ตันละ 14,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 10,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 30 ตัน ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ตันละ 11,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 25 ตัน และข้าวเปลือกเหนียว ตันละ 12,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน
ทั้งนี้ เกษตรกรสามารถตรวจสอบผลการโอนเงินได้ทางแอปพลิเคชัน ธ.ก.ส. A-Mobile ตลอด 24 ชั่วโมง และจะมีข้อความแจ้งเตือนเงินเข้าบัญชีผ่าน LINE Official BAAC Family กรณีที่ลูกค้าสมัครใช้บริการ BAAC Connect รวมถึงสามารถเบิกถอนเงินสดผ่านตู้ ATM ของ ธ.ก.ส. ทั่วประเทศ | https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/50281 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานภาพวาดฝีพระหัตถ์และข้อความให้กำลังใจ พร้อมมอบถุงพลังใจพระราชทานให้แก่บุคลากรทางการแพทย์ที่ปฏิบัติงานใ | วันอังคารที่ 29 มิถุนายน 2564
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานภาพวาดฝีพระหัตถ์และข้อความให้กําลังใจ พร้อมมอบถุงพลังใจพระราชทานให้แก่บุคลากรทางการแพทย์ที่ปฏิบัติงานใ
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานภาพวาดฝีพระหัตถ์และข้อความให้กําลังใจบุคลากรทางการแพทย์ในนามมูลนิธิชัยพัฒนา พร้อมมอบถุงพลังใจพระราชทานให้แก่บุคลากรทางการแพทย์ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลสนามในสังกัดกระทรวง
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานภาพวาดฝีพระหัตถ์และข้อความให้กําลังใจบุคลากรทางการแพทย์ในนามมูลนิธิชัยพัฒนา พร้อมมอบถุงพลังใจพระราชทานให้แก่บุคลากรทางการแพทย์ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลสนามในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข จํานวน 2,000 ถุงโดยมีนายเตชพล ฐิตยารักษ์ รองเลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา เป็นผู้แทนพระองค์
วันนี้ (29 มิถุนายน 2564) ณ ห้องเทวะเวสม์ อาคารสํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้นายเตชพล ฐิตยารักษ์ รองเลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา เป็นผู้แทนพระองค์ มอบภาพวาดฝีพระหัตถ์และข้อความให้กําลังใจบุคลากรทางการแพทย์ในนามมูลนิธิชัยพัฒนา และกองทุนชัยพัฒนาสู้ภัยโควิด 19 ฯ ความว่า“ชัยพัฒนาสนับสนุนผู้ดูแลรักษาผู้ป่วย ขอบคุณครับ/ค่ะ” โดยพระราชทานภาพวาดฝีพระหัตถ์พร้อม “ถุงพลังใจพระราชทาน” จํานวน 2,000 ถุง เพื่อเป็นขวัญและกําลังใจแก่บุคลากรทางการแพทย์ ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลสนามในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ด้วยทรงตระหนักถึงความทุ่มเทเสียสละของบุคลากรทางการแพทย์ ซึ่งมูลนิธิชัยพัฒนาพร้อมสนับสนุนในการต่อสู้กับโรคระบาดครั้งนี้เคียงข้างกับบุคลากรทางการแพทย์ทุกคน
ในการนี้ นายแพทย์เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ผู้บริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่กระทรวงสาธารณสุข เข้าร่วมพิธี พร้อมกล่าวสํานึกในพระมหากรุณาธิคุณ ขอพระองค์ทรงพระเจริญ
************************************* 29 มิถุนายน 2564
******************************* | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานภาพวาดฝีพระหัตถ์และข้อความให้กำลังใจ พร้อมมอบถุงพลังใจพระราชทานให้แก่บุคลากรทางการแพทย์ที่ปฏิบัติงานใ
วันอังคารที่ 29 มิถุนายน 2564
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานภาพวาดฝีพระหัตถ์และข้อความให้กําลังใจ พร้อมมอบถุงพลังใจพระราชทานให้แก่บุคลากรทางการแพทย์ที่ปฏิบัติงานใ
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานภาพวาดฝีพระหัตถ์และข้อความให้กําลังใจบุคลากรทางการแพทย์ในนามมูลนิธิชัยพัฒนา พร้อมมอบถุงพลังใจพระราชทานให้แก่บุคลากรทางการแพทย์ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลสนามในสังกัดกระทรวง
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานภาพวาดฝีพระหัตถ์และข้อความให้กําลังใจบุคลากรทางการแพทย์ในนามมูลนิธิชัยพัฒนา พร้อมมอบถุงพลังใจพระราชทานให้แก่บุคลากรทางการแพทย์ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลสนามในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข จํานวน 2,000 ถุงโดยมีนายเตชพล ฐิตยารักษ์ รองเลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา เป็นผู้แทนพระองค์
วันนี้ (29 มิถุนายน 2564) ณ ห้องเทวะเวสม์ อาคารสํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้นายเตชพล ฐิตยารักษ์ รองเลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา เป็นผู้แทนพระองค์ มอบภาพวาดฝีพระหัตถ์และข้อความให้กําลังใจบุคลากรทางการแพทย์ในนามมูลนิธิชัยพัฒนา และกองทุนชัยพัฒนาสู้ภัยโควิด 19 ฯ ความว่า“ชัยพัฒนาสนับสนุนผู้ดูแลรักษาผู้ป่วย ขอบคุณครับ/ค่ะ” โดยพระราชทานภาพวาดฝีพระหัตถ์พร้อม “ถุงพลังใจพระราชทาน” จํานวน 2,000 ถุง เพื่อเป็นขวัญและกําลังใจแก่บุคลากรทางการแพทย์ ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลสนามในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ด้วยทรงตระหนักถึงความทุ่มเทเสียสละของบุคลากรทางการแพทย์ ซึ่งมูลนิธิชัยพัฒนาพร้อมสนับสนุนในการต่อสู้กับโรคระบาดครั้งนี้เคียงข้างกับบุคลากรทางการแพทย์ทุกคน
ในการนี้ นายแพทย์เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ผู้บริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่กระทรวงสาธารณสุข เข้าร่วมพิธี พร้อมกล่าวสํานึกในพระมหากรุณาธิคุณ ขอพระองค์ทรงพระเจริญ
************************************* 29 มิถุนายน 2564
******************************* | https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/43239 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-เยี่ยมชมโครงการ The BCG Initiative @CMU Mae Hia | วันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน 2565
เยี่ยมชมโครงการ The BCG Initiative @CMU Mae Hia
เยี่ยมชมโครงการ The BCG Initiative @CMU Mae Hia
เมื่อวันพุธที่ 15 มิถุนายน 2565 ณ ศูนย์วิจัยข้าวล้านนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เยี่ยมชมโครงการ The BCG Initiative @CMU Mae Hia ส่งเสริมการบูรณาการศาสตร์ความรู้ที่หลากหลายเกิดงานวิจัยที่มุ่งเป้าและเกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนผ่าน CMU BCG Platform @ Mae Hia และเยี่ยมชมโรงงานต้นแบบนวัตกรรมอาหารครบวงจร (Innovation Food Fabrication Pilot Plant) โดยมีศาสตราจารย์คลินิก นพ.นิเวศ นันทจิต อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.ปิติวัฒน์ วัฒนชัย รองผู้อํานวยการอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รองศาสตราจารย์ ดร.ชนากานต์ เทโบลต์ พรมอุทัย ผู้อํานวยการศูนย์วิจัยข้าวล้านนา และคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมให้การต้อนรับ | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-เยี่ยมชมโครงการ The BCG Initiative @CMU Mae Hia
วันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน 2565
เยี่ยมชมโครงการ The BCG Initiative @CMU Mae Hia
เยี่ยมชมโครงการ The BCG Initiative @CMU Mae Hia
เมื่อวันพุธที่ 15 มิถุนายน 2565 ณ ศูนย์วิจัยข้าวล้านนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เยี่ยมชมโครงการ The BCG Initiative @CMU Mae Hia ส่งเสริมการบูรณาการศาสตร์ความรู้ที่หลากหลายเกิดงานวิจัยที่มุ่งเป้าและเกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนผ่าน CMU BCG Platform @ Mae Hia และเยี่ยมชมโรงงานต้นแบบนวัตกรรมอาหารครบวงจร (Innovation Food Fabrication Pilot Plant) โดยมีศาสตราจารย์คลินิก นพ.นิเวศ นันทจิต อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.ปิติวัฒน์ วัฒนชัย รองผู้อํานวยการอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รองศาสตราจารย์ ดร.ชนากานต์ เทโบลต์ พรมอุทัย ผู้อํานวยการศูนย์วิจัยข้าวล้านนา และคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมให้การต้อนรับ | https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/56095 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-โฆษกรัฐบาลเผย ตัวเลขผู้โดยสารระหว่างประเทศเดินทางเข้าไทยตั้งแต่ 1 เม.ย. 65 เพิ่มขึ้นกว่า 65.97% หลัง ศบค. ผ่อนคลายมาตรการการเดินทางเข้าราชอาณาจักร | วันพฤหัสบดีที่ 7 เมษายน 2565
โฆษกรัฐบาลเผย ตัวเลขผู้โดยสารระหว่างประเทศเดินทางเข้าไทยตั้งแต่ 1 เม.ย. 65 เพิ่มขึ้นกว่า 65.97% หลัง ศบค. ผ่อนคลายมาตรการการเดินทางเข้าราชอาณาจักร
โฆษกรัฐบาลเผย ตัวเลขผู้โดยสารระหว่างประเทศเดินทางเข้าไทยตั้งแต่ 1 เม.ย. 65 เพิ่มขึ้นกว่า 65.97% หลัง ศบค. ผ่อนคลายมาตรการการเดินทางเข้าราชอาณาจักร สะท้อนนักท่องเที่ยวเชื่อมั่นนโยบายเปิดประเทศของรัฐบาล
วันนี้ (7 เมษายน 2565) นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรีเผยว่า ภายหลังจากคณะกรรมการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. ได้ผ่อนคลายมาตรการการเดินทางเข้าราชอาณาจักร โดยยกเลิกการตรวจ RT-PCR ก่อนเดินทางเข้าประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2565 เป็นต้นมา ผู้อํานวยการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ บมจ. ท่าอากาศยานไทย (AOT) หรือ ทอท. ได้รายงานว่า ส่งผลให้มีจํานวนผู้โดยสารระหว่างประเทศเดินทางเข้าประเทศไทยเฉลี่ยวันละ 11,623 คน เพิ่มขึ้นจากเดือน มี.ค. ที่มีจํานวนผู้โดยสารขาเข้าระหว่างประเทศเฉลี่ยวันละ 7,003 คน หรือคิดเป็นเพิ่มขึ้นร้อยละ 65.97 ส่วนของเที่ยวบินขาเข้าระหว่างประเทศ มีจํานวนเฉลี่ยวันละ 141 เที่ยวบิน เพิ่มขึ้นจากเดือน มี.ค. ที่เฉลี่ยวันละ 137 เที่ยวบิน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.92 และคาดว่าจากนี้ไปจะมีผู้โดยสารระหว่างประเทศเดินทางเข้าประเทศไทยเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง
นายธนกรกล่าวย้ําว่า ที่ประชุม ศบค. เมื่อ 18 มี.ค. 65 มีมติเห็นชอบในหลักการการปรับมาตรการป้องกันโรคสําหรับการเดินทางเข้าราชอาณาจักร ซึ่งเป็นการปรับมาตรการในระยะที่ 2 (วันที่ 1 เม.ย. 65) สําหรับผู้เดินทางประเภท Test & Go ทางบก ทางน้ํา และทางอากาศ Sandbox Quarantine และผู้ควบคุมยานพาหนะที่ไม่มีฐานปฏิบัติการในประเทศไทย ตั้งแต่ 1 เม.ย 65 โดยให้ยกเลิกการตรวจ RT-PCR ก่อนเดินทางเข้าราชอาณาจักรทุกกลุ่ม และเห็นชอบในหลักการแผนการเปิดรับผู้เดินทางเข้าราชอาณาจักร (เดือน เม.ย. – พ.ค. 65) โดยการปรับมาตรการในระยะถัดไป เดือน พ.ค. 65 ให้ลงทะเบียนผ่านระบบ Thailand Pass และยกเลิกการตรวจ RT-PCR ระยะเวลาไม่เกิน 72 ชั่วโมง ก่อนเดินทางเข้าราชอาณาจักร เมื่อเดินทางมาถึงและระหว่างพํานักให้มีการตรวจหาเชื้อ ได้แก่ (1) กรณี Test & Go และ Sandbox ให้ตรวจแบบ ATK ที่สนามบิน หรือสถานที่ที่ทางราชการกําหนด ใน Day 0 (2) กรณี Sandbox อยู่ในพื้นที่ 5 วัน (3) กรณี Quarantine กักตัว 5 วัน ให้ตรวจ RT-PCR Day 4 – 5 และ (4) กรณีผู้ควบคุมยานพาหนะฯ ให้ตรวจ Self – ATK Day 5
“ภายหลังจาก ศบค. ผ่อนคลายมาตรการการเดินทางเข้าราชอาณาจักรตั้งแต่ 1 เม.ย. ส่งผลให้มีจํานวนผู้โดยสารระหว่างประเทศเดินทางเข้าประเทศไทยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวจากเดือนก่อนหน้า กล่าวได้ว่านักท่องเที่ยวเชื่อมั่นในนโยบายเปิดประเทศของรัฐบาล อีกทั้งการปรับมาตรการระยะถัดไปในเดือน พ.ค. ตามที่ ศบค. เห็นชอบแล้ว ก็คาดว่าจากนี้ไปจะมีจํานวนผู้โดยสารระหว่างประเทศ/นักท่องเที่ยว เดินทางเข้าไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้เศรษฐกิจภาคการท่องเที่ยวของไทยกลับมาฟื้นตัวได้เร็วขึ้น ขณะที่การกระตุ้นการท่องเที่ยวในระดับพื้นที่ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ก็ให้ความสําคัญโดยได้สั่งการให้กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ติดตามและประเมินสถานการณ์ระดับพื้นที่ รวมถึงพิจารณาการขยายพื้นที่นําร่องการท่องเที่ยวเพิ่มเติม ให้พิจารณาจากรายจังหวัดเป็นรายอําเภอ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวและขับเคลื่อนเศรษฐกิจต่อไป ให้ทุกภาคส่วนของเศรษฐกิจไทยเดินหน้าต่อไปได้ภายใต้มาตรการทางสาธารณสุข” โฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรีกล่าว
............................. | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-โฆษกรัฐบาลเผย ตัวเลขผู้โดยสารระหว่างประเทศเดินทางเข้าไทยตั้งแต่ 1 เม.ย. 65 เพิ่มขึ้นกว่า 65.97% หลัง ศบค. ผ่อนคลายมาตรการการเดินทางเข้าราชอาณาจักร
วันพฤหัสบดีที่ 7 เมษายน 2565
โฆษกรัฐบาลเผย ตัวเลขผู้โดยสารระหว่างประเทศเดินทางเข้าไทยตั้งแต่ 1 เม.ย. 65 เพิ่มขึ้นกว่า 65.97% หลัง ศบค. ผ่อนคลายมาตรการการเดินทางเข้าราชอาณาจักร
โฆษกรัฐบาลเผย ตัวเลขผู้โดยสารระหว่างประเทศเดินทางเข้าไทยตั้งแต่ 1 เม.ย. 65 เพิ่มขึ้นกว่า 65.97% หลัง ศบค. ผ่อนคลายมาตรการการเดินทางเข้าราชอาณาจักร สะท้อนนักท่องเที่ยวเชื่อมั่นนโยบายเปิดประเทศของรัฐบาล
วันนี้ (7 เมษายน 2565) นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรีเผยว่า ภายหลังจากคณะกรรมการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. ได้ผ่อนคลายมาตรการการเดินทางเข้าราชอาณาจักร โดยยกเลิกการตรวจ RT-PCR ก่อนเดินทางเข้าประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2565 เป็นต้นมา ผู้อํานวยการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ บมจ. ท่าอากาศยานไทย (AOT) หรือ ทอท. ได้รายงานว่า ส่งผลให้มีจํานวนผู้โดยสารระหว่างประเทศเดินทางเข้าประเทศไทยเฉลี่ยวันละ 11,623 คน เพิ่มขึ้นจากเดือน มี.ค. ที่มีจํานวนผู้โดยสารขาเข้าระหว่างประเทศเฉลี่ยวันละ 7,003 คน หรือคิดเป็นเพิ่มขึ้นร้อยละ 65.97 ส่วนของเที่ยวบินขาเข้าระหว่างประเทศ มีจํานวนเฉลี่ยวันละ 141 เที่ยวบิน เพิ่มขึ้นจากเดือน มี.ค. ที่เฉลี่ยวันละ 137 เที่ยวบิน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.92 และคาดว่าจากนี้ไปจะมีผู้โดยสารระหว่างประเทศเดินทางเข้าประเทศไทยเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง
นายธนกรกล่าวย้ําว่า ที่ประชุม ศบค. เมื่อ 18 มี.ค. 65 มีมติเห็นชอบในหลักการการปรับมาตรการป้องกันโรคสําหรับการเดินทางเข้าราชอาณาจักร ซึ่งเป็นการปรับมาตรการในระยะที่ 2 (วันที่ 1 เม.ย. 65) สําหรับผู้เดินทางประเภท Test & Go ทางบก ทางน้ํา และทางอากาศ Sandbox Quarantine และผู้ควบคุมยานพาหนะที่ไม่มีฐานปฏิบัติการในประเทศไทย ตั้งแต่ 1 เม.ย 65 โดยให้ยกเลิกการตรวจ RT-PCR ก่อนเดินทางเข้าราชอาณาจักรทุกกลุ่ม และเห็นชอบในหลักการแผนการเปิดรับผู้เดินทางเข้าราชอาณาจักร (เดือน เม.ย. – พ.ค. 65) โดยการปรับมาตรการในระยะถัดไป เดือน พ.ค. 65 ให้ลงทะเบียนผ่านระบบ Thailand Pass และยกเลิกการตรวจ RT-PCR ระยะเวลาไม่เกิน 72 ชั่วโมง ก่อนเดินทางเข้าราชอาณาจักร เมื่อเดินทางมาถึงและระหว่างพํานักให้มีการตรวจหาเชื้อ ได้แก่ (1) กรณี Test & Go และ Sandbox ให้ตรวจแบบ ATK ที่สนามบิน หรือสถานที่ที่ทางราชการกําหนด ใน Day 0 (2) กรณี Sandbox อยู่ในพื้นที่ 5 วัน (3) กรณี Quarantine กักตัว 5 วัน ให้ตรวจ RT-PCR Day 4 – 5 และ (4) กรณีผู้ควบคุมยานพาหนะฯ ให้ตรวจ Self – ATK Day 5
“ภายหลังจาก ศบค. ผ่อนคลายมาตรการการเดินทางเข้าราชอาณาจักรตั้งแต่ 1 เม.ย. ส่งผลให้มีจํานวนผู้โดยสารระหว่างประเทศเดินทางเข้าประเทศไทยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวจากเดือนก่อนหน้า กล่าวได้ว่านักท่องเที่ยวเชื่อมั่นในนโยบายเปิดประเทศของรัฐบาล อีกทั้งการปรับมาตรการระยะถัดไปในเดือน พ.ค. ตามที่ ศบค. เห็นชอบแล้ว ก็คาดว่าจากนี้ไปจะมีจํานวนผู้โดยสารระหว่างประเทศ/นักท่องเที่ยว เดินทางเข้าไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้เศรษฐกิจภาคการท่องเที่ยวของไทยกลับมาฟื้นตัวได้เร็วขึ้น ขณะที่การกระตุ้นการท่องเที่ยวในระดับพื้นที่ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ก็ให้ความสําคัญโดยได้สั่งการให้กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ติดตามและประเมินสถานการณ์ระดับพื้นที่ รวมถึงพิจารณาการขยายพื้นที่นําร่องการท่องเที่ยวเพิ่มเติม ให้พิจารณาจากรายจังหวัดเป็นรายอําเภอ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวและขับเคลื่อนเศรษฐกิจต่อไป ให้ทุกภาคส่วนของเศรษฐกิจไทยเดินหน้าต่อไปได้ภายใต้มาตรการทางสาธารณสุข” โฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรีกล่าว
............................. | https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/53384 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-จับกุมผู้ก่อเหตุลักลอบตัดสายเคเบิลรถไฟชานเมืองสายสีแดง | วันจันทร์ที่ 27 กันยายน 2564
จับกุมผู้ก่อเหตุลักลอบตัดสายเคเบิลรถไฟชานเมืองสายสีแดง
ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย สั่งเร่งขยายผลการจับกุมผู้ก่อเหตุลักลอบตัดสายเคเบิลรถไฟชานเมืองสายสีแดง พร้อมดําเนินคดีทางแพ่งและอาญาถึงที่สุด ประสานตํารวจรถไฟและเจ้าหน้าที่ จัดชุดตรวจลาดตระเวนจุดเสี่ยงตลอด 24 ชั่วโมง
ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย สั่งเร่งขยายผลการจับกุมผู้ก่อเหตุลักลอบตัดสายเคเบิลรถไฟชานเมืองสายสีแดง พร้อมดําเนินคดีทางแพ่งและอาญาถึงที่สุด ประสานตํารวจรถไฟและเจ้าหน้าที่ จัดชุดตรวจลาดตระเวนจุดเสี่ยงตลอด 24 ชั่วโมง ยืนยันไม่กระทบต่อความปลอดภัยการให้บริการแก่ประชาชน
นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ตามที่มีผู้ก่อเหตุลักลอบตัดสายเคเบิลโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดง ได้มอบหมายให้นายสถานีรถไฟรังสิต แจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน สถานีตํารวจภูธรประตูน้ําจุฬาลงกรณ์นั้น ล่าสุดได้รับแจ้งจากเจ้าหน้าที่ฯ ว่าสามารถดําเนินการจับกุมผู้ก่อเหตุได้แล้ว 1 ราย คือ นายอรรณพ คําพรมมา อายุ 31 ปี โดยขณะนี้อยู่ระหว่างสอบสวนขยายผลการจับกุมเพิ่มเติม ซึ่งเบื้องต้นได้รับแจ้งมีการก่อเหตุลักสายเคเบิลทั้งสิ้น 8 จุด ส่วนมูลค่าความเสียหายอยู่ระหว่างการประเมิน ทั้งนี้ จากตรวจสอบการลักลอบตัดสายเคเบิล ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยในการให้บริการแก่ประชาชน แต่อาจทําให้การเดินรถสายสีแดงมีความช้าลงบ้างโดยหลังจากนี้ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) จะเร่งประสานข้อมูลกับเจ้าหน้าที่ตํารวจ เพื่อติดตามขยายผล จับกุมผู้กระทําผิดอย่างใกล้ชิด นอกจากนี้ทางผู้บังคับการตํารวจรถไฟ และฝ่ายสืบสวน ได้มีคําสั่งแต่งตั้งชุดสืบสวนเพื่อติดตามคนร้ายและทรัพย์สินของการรถไฟฯ เป็นการเฉพาะ โดยมีบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จํากัด ซึ่งให้บริการเดินรถไฟชานเมืองสายสีแดง และบริษัทรักษาความปลอดภัย จัดชุดเจ้าหน้าที่ออกลาดตระเวน และสุ่มตรวจในพื้นที่เสี่ยงตลอด 24 ชั่วโมง ในส่วนมาตรการป้องกันและแก้ปัญหาในระยะยาว ทาง รฟท. ได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดําเนินการกําจัดวัชพืชตลอดแนวรั้วให้โล่งเพื่อให้เกิดความสะดวกในการสอดส่องดูแลอย่างทั่วถึงและเป็นการป้องกันไม่ให้ใช้เป็นพื้นที่ก่อเหตุ นอกจากนี้ เร่งดําเนินการซ่อมแซมรั้วที่ได้รับความเสียหายและเสริมแนวรั้วป้องกันเพิ่มเติมในจุดเสี่ยง พร้อมทั้งติดตั้งกล้องวงจรปิดเพิ่มเติมเพื่อเสริมมาตรการรักษาความปลอดภัยอีกชั้นหนึ่ง
นายนิรุฒกล่าวว่า ได้สั่งการให้ติดตามดําเนินคดีกับผู้กระทําผิดอย่างถึงที่สุด ทั้งทางแพ่งและอาญา โดยให้มีการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย คดีเป็นความผิดคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องคดีอาญา ซึ่งได้รวบรวมค่าเสียหายส่งพนักงานสอบสวนเพื่อให้พนักงานอัยการเรียกค่าเสียหายรวมในคดีอาญาแล้ว นอกจากนี้จะดําเนินคดีที่เกี่ยวข้อง ทั้งข้อหาบุกรุกพื้นที่ รฟท. และก่อกวนให้เป็นอุปสรรคการเดินรถ รวมถึงการก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินทางราชการ ทั้งนี้ มีกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ พ.ร.บ.จัดวางทางรถไฟแลทางหลวง พ.ศ.2464 มาตรา 84 ได้ระบุผู้ใดที่เข้าไปในที่ดินรถไฟนอกเขตที่อนุญาตให้ประชาชนเข้าออก ถือมีความผิดฐานลหุโทษ ต้องระวางโทษชั้น 1 และมาตรา 87 ระบุไว้ว่า ผู้ใดทําให้รถ สิ่งปลูกสร้าง เครื่องจักรหรือสิ่งใดๆ อันเป็นทรัพย์สินของรถไฟเสียหายหรือชํารุด มีความผิดฐานลหุโทษต้องระวางโทษชั้น 1 นอกจากนี้ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 362 ระบุว่า ผู้ใดเข้าไปในอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่น เพื่อถือการครอบครองอสังหาริมทรัพย์นั้นทั้งหมดหรือแต่บางส่วน หรือเข้าไปกระทําการใด ๆ อันเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์เขาโดยปกติสุข ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ ขณะเดียวกันยังเข้าข่ายคดีทําลายทรัพย์สินทางราชการ ซึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 231 ระบุว่าผู้ใดกระทําด้วยประการใดๆ ให้ประภาคาร ทุ่น สัญญาณ หรือสิ่งอื่นใดซึ่งจัดไว้เป็นสัญญาณเพื่อความปลอดภัยในการจราจรทางบก การเดินเรือ หรือการเดินอากาศ อยู่ในลักษณะอันน่าจะเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่การจราจรทางบกการเดินเรือ หรือการเดินอากาศ ตั้งระวาโทษจําคุกตั้งแต่ 6 เดือนถึง 7 ปี และปรับตั้งแต่ 10,000 - 140,000 บาท และตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 ผู้ใดลักทรัพย์ที่ใช้หรือมีไว้เพื่อสาธารณประโยชน์ ต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่ 1 ปี ถึง 5 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000 - 100,000 บาท | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-จับกุมผู้ก่อเหตุลักลอบตัดสายเคเบิลรถไฟชานเมืองสายสีแดง
วันจันทร์ที่ 27 กันยายน 2564
จับกุมผู้ก่อเหตุลักลอบตัดสายเคเบิลรถไฟชานเมืองสายสีแดง
ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย สั่งเร่งขยายผลการจับกุมผู้ก่อเหตุลักลอบตัดสายเคเบิลรถไฟชานเมืองสายสีแดง พร้อมดําเนินคดีทางแพ่งและอาญาถึงที่สุด ประสานตํารวจรถไฟและเจ้าหน้าที่ จัดชุดตรวจลาดตระเวนจุดเสี่ยงตลอด 24 ชั่วโมง
ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย สั่งเร่งขยายผลการจับกุมผู้ก่อเหตุลักลอบตัดสายเคเบิลรถไฟชานเมืองสายสีแดง พร้อมดําเนินคดีทางแพ่งและอาญาถึงที่สุด ประสานตํารวจรถไฟและเจ้าหน้าที่ จัดชุดตรวจลาดตระเวนจุดเสี่ยงตลอด 24 ชั่วโมง ยืนยันไม่กระทบต่อความปลอดภัยการให้บริการแก่ประชาชน
นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ตามที่มีผู้ก่อเหตุลักลอบตัดสายเคเบิลโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดง ได้มอบหมายให้นายสถานีรถไฟรังสิต แจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน สถานีตํารวจภูธรประตูน้ําจุฬาลงกรณ์นั้น ล่าสุดได้รับแจ้งจากเจ้าหน้าที่ฯ ว่าสามารถดําเนินการจับกุมผู้ก่อเหตุได้แล้ว 1 ราย คือ นายอรรณพ คําพรมมา อายุ 31 ปี โดยขณะนี้อยู่ระหว่างสอบสวนขยายผลการจับกุมเพิ่มเติม ซึ่งเบื้องต้นได้รับแจ้งมีการก่อเหตุลักสายเคเบิลทั้งสิ้น 8 จุด ส่วนมูลค่าความเสียหายอยู่ระหว่างการประเมิน ทั้งนี้ จากตรวจสอบการลักลอบตัดสายเคเบิล ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยในการให้บริการแก่ประชาชน แต่อาจทําให้การเดินรถสายสีแดงมีความช้าลงบ้างโดยหลังจากนี้ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) จะเร่งประสานข้อมูลกับเจ้าหน้าที่ตํารวจ เพื่อติดตามขยายผล จับกุมผู้กระทําผิดอย่างใกล้ชิด นอกจากนี้ทางผู้บังคับการตํารวจรถไฟ และฝ่ายสืบสวน ได้มีคําสั่งแต่งตั้งชุดสืบสวนเพื่อติดตามคนร้ายและทรัพย์สินของการรถไฟฯ เป็นการเฉพาะ โดยมีบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จํากัด ซึ่งให้บริการเดินรถไฟชานเมืองสายสีแดง และบริษัทรักษาความปลอดภัย จัดชุดเจ้าหน้าที่ออกลาดตระเวน และสุ่มตรวจในพื้นที่เสี่ยงตลอด 24 ชั่วโมง ในส่วนมาตรการป้องกันและแก้ปัญหาในระยะยาว ทาง รฟท. ได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดําเนินการกําจัดวัชพืชตลอดแนวรั้วให้โล่งเพื่อให้เกิดความสะดวกในการสอดส่องดูแลอย่างทั่วถึงและเป็นการป้องกันไม่ให้ใช้เป็นพื้นที่ก่อเหตุ นอกจากนี้ เร่งดําเนินการซ่อมแซมรั้วที่ได้รับความเสียหายและเสริมแนวรั้วป้องกันเพิ่มเติมในจุดเสี่ยง พร้อมทั้งติดตั้งกล้องวงจรปิดเพิ่มเติมเพื่อเสริมมาตรการรักษาความปลอดภัยอีกชั้นหนึ่ง
นายนิรุฒกล่าวว่า ได้สั่งการให้ติดตามดําเนินคดีกับผู้กระทําผิดอย่างถึงที่สุด ทั้งทางแพ่งและอาญา โดยให้มีการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย คดีเป็นความผิดคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องคดีอาญา ซึ่งได้รวบรวมค่าเสียหายส่งพนักงานสอบสวนเพื่อให้พนักงานอัยการเรียกค่าเสียหายรวมในคดีอาญาแล้ว นอกจากนี้จะดําเนินคดีที่เกี่ยวข้อง ทั้งข้อหาบุกรุกพื้นที่ รฟท. และก่อกวนให้เป็นอุปสรรคการเดินรถ รวมถึงการก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินทางราชการ ทั้งนี้ มีกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ พ.ร.บ.จัดวางทางรถไฟแลทางหลวง พ.ศ.2464 มาตรา 84 ได้ระบุผู้ใดที่เข้าไปในที่ดินรถไฟนอกเขตที่อนุญาตให้ประชาชนเข้าออก ถือมีความผิดฐานลหุโทษ ต้องระวางโทษชั้น 1 และมาตรา 87 ระบุไว้ว่า ผู้ใดทําให้รถ สิ่งปลูกสร้าง เครื่องจักรหรือสิ่งใดๆ อันเป็นทรัพย์สินของรถไฟเสียหายหรือชํารุด มีความผิดฐานลหุโทษต้องระวางโทษชั้น 1 นอกจากนี้ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 362 ระบุว่า ผู้ใดเข้าไปในอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่น เพื่อถือการครอบครองอสังหาริมทรัพย์นั้นทั้งหมดหรือแต่บางส่วน หรือเข้าไปกระทําการใด ๆ อันเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์เขาโดยปกติสุข ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ ขณะเดียวกันยังเข้าข่ายคดีทําลายทรัพย์สินทางราชการ ซึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 231 ระบุว่าผู้ใดกระทําด้วยประการใดๆ ให้ประภาคาร ทุ่น สัญญาณ หรือสิ่งอื่นใดซึ่งจัดไว้เป็นสัญญาณเพื่อความปลอดภัยในการจราจรทางบก การเดินเรือ หรือการเดินอากาศ อยู่ในลักษณะอันน่าจะเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่การจราจรทางบกการเดินเรือ หรือการเดินอากาศ ตั้งระวาโทษจําคุกตั้งแต่ 6 เดือนถึง 7 ปี และปรับตั้งแต่ 10,000 - 140,000 บาท และตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 ผู้ใดลักทรัพย์ที่ใช้หรือมีไว้เพื่อสาธารณประโยชน์ ต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่ 1 ปี ถึง 5 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000 - 100,000 บาท | https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/46213 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สธ.เผยสถานการณ์โควิด กทม.ยังสูง พบร้านอาหารกึ่งผับ-หอพักติดเชื้อสูง | วันพฤหัสบดีที่ 13 มกราคม 2565
สธ.เผยสถานการณ์โควิด กทม.ยังสูง พบร้านอาหารกึ่งผับ-หอพักติดเชื้อสูง
กระทรวงสาธารณสุขเผยสถานการณ์โควิด กทม.ยังสูง พบสถานที่ปิด ร้านอาหารกึ่งผับ หอพักนักศึกษาและแฟลตตํารวจแนวโน้มติดเชื้อสูง
กระทรวงสาธารณสุขเผยสถานการณ์โควิด กทม.ยังสูง พบสถานที่ปิด ร้านอาหารกึ่งผับ หอพักนักศึกษาและแฟลตตํารวจแนวโน้มติดเชื้อสูง ขณะที่กลุ่มสัมผัสผู้ป่วย บุคลากรทางการแพทย์ พบการติดเชื้อเพิ่มขึ้น ร่วม กทม.จัดทีมสุ่มตรวจร้านอาหาร หากไม่ทําตามมาตรฐานอาจถอนใบรับรอง พร้อมกําชับสถานพยาบาลเข้มป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล แนะประชาชนหลีกเลี่ยงสถานที่เสี่ยง
วันนี้ (13 มกราคม 2565) ที่ศูนย์แถลงข่าวสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กระทรวงสาธารณสุขจ.นนทบุรี นพ.สุทัศน์ โชตนะพันธ์ ผู้อํานวยการสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง กรมควบคุมโรค แถลงมาตรการป้องกันควบคุมโรคโควิด 19 พื้นที่ กทม. ว่า วันนี้ประเทศไทยมีผู้ติดเชื้อโควิด 8,167 รายรักษาหาย 3,845 ราย และเสียชีวิต 14 ราย เฉพาะพื้นที่ กทม.รายงานติดเชื้อ 939 ราย เสียชีวิต 3 ราย และรักษาหาย300 กว่าราย การติดเชื้อกระจายทุกกลุ่มอายุและทุกเขต ปัจจัยเสี่ยงที่ทําให้ติดเชื้อสูง คือ 1.พื้นที่เสี่ยงและแหล่งชุมชนคือ สถานที่ปิด ส่วนใหญ่เป็นร้านอาหารกึ่งผับที่มีการระบายอากาศไม่ดี โดยพบผู้ติดเชื้อมากกว่า 5 รายในทุกคลัสเตอร์และที่เริ่มพบมากขึ้น คือ หอพักนักศึกษาและแฟลตตํารวจที่มีความแออัด และ 2.กลุ่มที่สัมผัสผู้ป่วยยืนยันหรือพบผู้ป่วยยืนยัน
นพ.สุทัศน์กล่าวว่า ขณะนี้ กทม.มีการระบาดและแนวโน้มตัวเลขเพิ่มขึ้น โดยกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง คือ 1.ร้านอาหารกึ่งผับ ซึ่งร้านที่เปิดได้นั้นจะผ่านการประเมินและได้รับใบรับรอง โดยกระทรวงสาธารณสุขร่วมกับ กทม.จัดทีมเคลื่อนที่เร็ว ลงพื้นที่สุ่มตรวจมาตรฐานSHA+ และ COVID Free Setting หากเป็นไปตามข้อร้องเรียนจะให้ปิดปรับปรุง แต่ถ้าเกิดเป็นกลุ่มก้อนหรือเกิดซ้ําก็กําลังพิจารณาว่าอาจจะเพิกถอนการรับรองมาตรฐาน 2.กลุ่มบุคลากรทางการแพทย์และด่านหน้า ส่วนใหญ่รับเชื้อจากชุมชนและบุคคลใกล้ชิด ไม่ได้รับเชื้อจากการเข้ารับบริการของผู้ป่วย ส่วนใหญ่ได้รับวัคซีนเข็ม 3 แล้ว อาการจึงไม่รุนแรง และสถานการณ์ยังไม่ถึงขั้นกระทบการรักษาพยาบาล โดยคณะกรรมการโรคติดต่อ กทม.ได้ทําจดหมายไปยังสถานพยาบาลทุกแห่งเน้นย้ําให้เพิ่มความระมัดระวังในการดูแลผู้ป่วยสงสัยโควิด 19 เนื่องจากไม่อยากให้มีการติดเชื้อในสถานพยาบาล และ 3.กลุ่มผู้มีประวัติสัมผัสผู้ป่วยยืน อย่างไรก็ตาม ตัวเลขการติดเชื้อใน กทม.ที่เพิ่มขึ้นมา ยังมาจากผู้อาศัยแถบปริมณฑล เมื่อป่วยแล้วพยายามเข้ามารักษาใน กทม. และบริษัทห้างร้านรอบ ๆ กทม. ที่มีสัญญาดูแลรักษาสถานพยาบาลเอกชน ก็จะมีผู้ป่วยกลุ่มนี้เข้ามาใน กทม.ด้วย
“คําแนะนําสําหรับประชาชนและผู้ประกอบการ คือ หลีกเลี่ยงสถานที่ระบายอากาศไม่ดี สถานที่แออัด งดร่วมกิจกรรมเป็นเวลานานที่ไม่สวมหน้ากาก เช่น วงเหล้าชะลอการเดินทางหากไม่จําเป็น หากกลับต่างจังหวัดสังเกตอาการตนเอง 14 วัน ใช้มาตรการทํางานที่บ้าน หากมีอาการสงสัยให้รีบตรวจ ATK และหากผลเป็นบวกให้ประสาน 1330 เพื่อลงทะเบียนเข้าระบบดูแลที่บ้าน (Home Isolation : HI) และเร่งไปฉีดวัคซีนทั้งเข็มปกติและเข็มกระตุ้น โดย กทม.เปิดพื้นที่บริการ 20 กว่าจุด ส่วนสถานประกอบการขอให้ทําตาม COVID Free Setting” นพ.สุทัศน์กล่าว
******************************* 13 มกราคม 2565 | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สธ.เผยสถานการณ์โควิด กทม.ยังสูง พบร้านอาหารกึ่งผับ-หอพักติดเชื้อสูง
วันพฤหัสบดีที่ 13 มกราคม 2565
สธ.เผยสถานการณ์โควิด กทม.ยังสูง พบร้านอาหารกึ่งผับ-หอพักติดเชื้อสูง
กระทรวงสาธารณสุขเผยสถานการณ์โควิด กทม.ยังสูง พบสถานที่ปิด ร้านอาหารกึ่งผับ หอพักนักศึกษาและแฟลตตํารวจแนวโน้มติดเชื้อสูง
กระทรวงสาธารณสุขเผยสถานการณ์โควิด กทม.ยังสูง พบสถานที่ปิด ร้านอาหารกึ่งผับ หอพักนักศึกษาและแฟลตตํารวจแนวโน้มติดเชื้อสูง ขณะที่กลุ่มสัมผัสผู้ป่วย บุคลากรทางการแพทย์ พบการติดเชื้อเพิ่มขึ้น ร่วม กทม.จัดทีมสุ่มตรวจร้านอาหาร หากไม่ทําตามมาตรฐานอาจถอนใบรับรอง พร้อมกําชับสถานพยาบาลเข้มป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล แนะประชาชนหลีกเลี่ยงสถานที่เสี่ยง
วันนี้ (13 มกราคม 2565) ที่ศูนย์แถลงข่าวสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กระทรวงสาธารณสุขจ.นนทบุรี นพ.สุทัศน์ โชตนะพันธ์ ผู้อํานวยการสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง กรมควบคุมโรค แถลงมาตรการป้องกันควบคุมโรคโควิด 19 พื้นที่ กทม. ว่า วันนี้ประเทศไทยมีผู้ติดเชื้อโควิด 8,167 รายรักษาหาย 3,845 ราย และเสียชีวิต 14 ราย เฉพาะพื้นที่ กทม.รายงานติดเชื้อ 939 ราย เสียชีวิต 3 ราย และรักษาหาย300 กว่าราย การติดเชื้อกระจายทุกกลุ่มอายุและทุกเขต ปัจจัยเสี่ยงที่ทําให้ติดเชื้อสูง คือ 1.พื้นที่เสี่ยงและแหล่งชุมชนคือ สถานที่ปิด ส่วนใหญ่เป็นร้านอาหารกึ่งผับที่มีการระบายอากาศไม่ดี โดยพบผู้ติดเชื้อมากกว่า 5 รายในทุกคลัสเตอร์และที่เริ่มพบมากขึ้น คือ หอพักนักศึกษาและแฟลตตํารวจที่มีความแออัด และ 2.กลุ่มที่สัมผัสผู้ป่วยยืนยันหรือพบผู้ป่วยยืนยัน
นพ.สุทัศน์กล่าวว่า ขณะนี้ กทม.มีการระบาดและแนวโน้มตัวเลขเพิ่มขึ้น โดยกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง คือ 1.ร้านอาหารกึ่งผับ ซึ่งร้านที่เปิดได้นั้นจะผ่านการประเมินและได้รับใบรับรอง โดยกระทรวงสาธารณสุขร่วมกับ กทม.จัดทีมเคลื่อนที่เร็ว ลงพื้นที่สุ่มตรวจมาตรฐานSHA+ และ COVID Free Setting หากเป็นไปตามข้อร้องเรียนจะให้ปิดปรับปรุง แต่ถ้าเกิดเป็นกลุ่มก้อนหรือเกิดซ้ําก็กําลังพิจารณาว่าอาจจะเพิกถอนการรับรองมาตรฐาน 2.กลุ่มบุคลากรทางการแพทย์และด่านหน้า ส่วนใหญ่รับเชื้อจากชุมชนและบุคคลใกล้ชิด ไม่ได้รับเชื้อจากการเข้ารับบริการของผู้ป่วย ส่วนใหญ่ได้รับวัคซีนเข็ม 3 แล้ว อาการจึงไม่รุนแรง และสถานการณ์ยังไม่ถึงขั้นกระทบการรักษาพยาบาล โดยคณะกรรมการโรคติดต่อ กทม.ได้ทําจดหมายไปยังสถานพยาบาลทุกแห่งเน้นย้ําให้เพิ่มความระมัดระวังในการดูแลผู้ป่วยสงสัยโควิด 19 เนื่องจากไม่อยากให้มีการติดเชื้อในสถานพยาบาล และ 3.กลุ่มผู้มีประวัติสัมผัสผู้ป่วยยืน อย่างไรก็ตาม ตัวเลขการติดเชื้อใน กทม.ที่เพิ่มขึ้นมา ยังมาจากผู้อาศัยแถบปริมณฑล เมื่อป่วยแล้วพยายามเข้ามารักษาใน กทม. และบริษัทห้างร้านรอบ ๆ กทม. ที่มีสัญญาดูแลรักษาสถานพยาบาลเอกชน ก็จะมีผู้ป่วยกลุ่มนี้เข้ามาใน กทม.ด้วย
“คําแนะนําสําหรับประชาชนและผู้ประกอบการ คือ หลีกเลี่ยงสถานที่ระบายอากาศไม่ดี สถานที่แออัด งดร่วมกิจกรรมเป็นเวลานานที่ไม่สวมหน้ากาก เช่น วงเหล้าชะลอการเดินทางหากไม่จําเป็น หากกลับต่างจังหวัดสังเกตอาการตนเอง 14 วัน ใช้มาตรการทํางานที่บ้าน หากมีอาการสงสัยให้รีบตรวจ ATK และหากผลเป็นบวกให้ประสาน 1330 เพื่อลงทะเบียนเข้าระบบดูแลที่บ้าน (Home Isolation : HI) และเร่งไปฉีดวัคซีนทั้งเข็มปกติและเข็มกระตุ้น โดย กทม.เปิดพื้นที่บริการ 20 กว่าจุด ส่วนสถานประกอบการขอให้ทําตาม COVID Free Setting” นพ.สุทัศน์กล่าว
******************************* 13 มกราคม 2565 | https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/50509 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกรัฐมนตรี ตรวจราชการ จ.เชียงใหม่ | วันศุกร์ที่ 1 กรกฎาคม 2565
นายกรัฐมนตรี ตรวจราชการ จ.เชียงใหม่
วันพุธที่ 29 มิถุนายน 2565
ต่อจากนี้ไป ขอเชิญรับฟังไทยคู่ฟ้า ค่ะ
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ตรวจราชการ จ.เชียงใหม่ ติดตามผลการดําเนินงานด้านการพัฒนากําลังคนดิจิทัลในกลุ่มเด็กและเยาวชน ที่โรงเรียนวัดเวฬุวัน ต.ยางเนิ้ง อ.สารภี จ.เชียงใหม่ เป็น 1 ใน 99 โรงเรียน ในโครงการยกระดับโรงเรียนสู่การเรียนรู้ด้าน Coding STEM IoT และ AI ที่ได้รับการสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลจากรัฐบาล ได้แก่ ศูนย์การเรียนรู้ และอุปกรณ์ส่งเสริมการเรียนรู้ ซึ่งโรงเรียนใช้ในการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะด้านวิทยาการแก่นักเรียนชั้นประถมและมัธยมศึกษา ส่วนในปี 2565 นี้ รัฐบาลตั้งเป้าต่อยอดพัฒนาศักยภาพโรงเรียนเดิมในเครือข่ายเพิ่มเติม 80 โรงเรียน และจะขยายผลสู่อีก 2,000 โรงเรียน ให้ครอบคลุม 77 จังหวัดทั่วประเทศภายในปี 2569
“สื่อสารภารกิจรัฐบาล” กับสํานักโฆษก สํานักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกรัฐมนตรี ตรวจราชการ จ.เชียงใหม่
วันศุกร์ที่ 1 กรกฎาคม 2565
นายกรัฐมนตรี ตรวจราชการ จ.เชียงใหม่
วันพุธที่ 29 มิถุนายน 2565
ต่อจากนี้ไป ขอเชิญรับฟังไทยคู่ฟ้า ค่ะ
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ตรวจราชการ จ.เชียงใหม่ ติดตามผลการดําเนินงานด้านการพัฒนากําลังคนดิจิทัลในกลุ่มเด็กและเยาวชน ที่โรงเรียนวัดเวฬุวัน ต.ยางเนิ้ง อ.สารภี จ.เชียงใหม่ เป็น 1 ใน 99 โรงเรียน ในโครงการยกระดับโรงเรียนสู่การเรียนรู้ด้าน Coding STEM IoT และ AI ที่ได้รับการสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลจากรัฐบาล ได้แก่ ศูนย์การเรียนรู้ และอุปกรณ์ส่งเสริมการเรียนรู้ ซึ่งโรงเรียนใช้ในการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะด้านวิทยาการแก่นักเรียนชั้นประถมและมัธยมศึกษา ส่วนในปี 2565 นี้ รัฐบาลตั้งเป้าต่อยอดพัฒนาศักยภาพโรงเรียนเดิมในเครือข่ายเพิ่มเติม 80 โรงเรียน และจะขยายผลสู่อีก 2,000 โรงเรียน ให้ครอบคลุม 77 จังหวัดทั่วประเทศภายในปี 2569
“สื่อสารภารกิจรัฐบาล” กับสํานักโฆษก สํานักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี | https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/56336 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สธ. มอบโล่รางวัล จังหวัดที่มีผลการฉีดวัคซีนโควิด 19 เข็มกระตุ้นกลุ่มผู้สูงอายุได้ตามเป้าหมาย | วันพฤหัสบดีที่ 7 เมษายน 2565
สธ. มอบโล่รางวัล จังหวัดที่มีผลการฉีดวัคซีนโควิด 19 เข็มกระตุ้นกลุ่มผู้สูงอายุได้ตามเป้าหมาย
รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข มอบโล่รางวัล 7 จังหวัดที่มีผลการดําเนินการฉีดวัคซีนโควิด 19 เข็มกระตุ้นในกลุ่มผู้สูงอายุยอดเยี่ยม และ 12 จังหวัดที่มีผลการดําเนินการดีเด่น เพื่อเป็นขวัญกําลังใจแก่บุคลากร
รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข มอบโล่รางวัล 7 จังหวัดที่มีผลการดําเนินการฉีดวัคซีนโควิด 19 เข็มกระตุ้นในกลุ่มผู้สูงอายุยอดเยี่ยม และ 12 จังหวัดที่มีผลการดําเนินการดีเด่น เพื่อเป็นขวัญกําลังใจแก่บุคลากร พร้อมมอบโล่ขอบคุณ กทม. ที่ให้ความร่วมมือฉีดวัคซีนอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกันให้กับผู้สูงอายุได้ต้อนรับลูกหลานกลับบ้านช่วงสงกรานต์อย่างปลอดภัย
วันนี้ (7 เมษายน 2565) ที่ สํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี นายอนุทิน ชาญวีรกูลรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานการจัดงานแสดงความสําเร็จการฉีดวัคซีนโควิด 19และมอบโล่ประกาศเกียรติคุณแก่จังหวัดที่ร่วมดําเนินการฉีดวัคซีนโควิด 19 เข็มกระตุ้นให้กับกลุ่มผู้สูงอายุ “สงกรานต์สุขใจ ปลอดภัยทั่วไทย สูงวัยได้วัคซีนSave 608 by Booster dose” โดยมี นายเเพทย์โอภาสการย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค ผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุขทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค และผู้ว่าราชการจังหวัด ร่วมงาน
นายอนุทิน กล่าวว่า ขณะนี้ประเทศไทยฉีดวัคซีนโควิด 19 ไปแล้วกว่า 130 ล้านเข็ม แต่ยังมีกลุ่มผู้สูงอายุและผู้มีโรคประจําตัวจํานวนหนึ่งที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีนหรือยังไม่ได้ฉีดเข็มกระตุ้นตามกําหนด ซึ่งมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อมีอาการหนักและเสียชีวิตได้ โดยจากรายงานผู้เสียชีวิตในแต่ละวัน พบว่าเป็นผู้สูงอายุถึง 75% และเป็นผู้ที่ไม่ได้รับการฉีดวัคซีนมากกว่า 60% กระทรวงสาธารณสุขจึงร่วมกับหน่วยงานและภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องจัดโครงการ “สงกรานต์สุขใจ ปลอดภัยทั่วไทย สูงวัยได้วัคซีนSave 608 by Booster dose” เพื่อเร่งรัดการฉีดวัคซีนโควิด 19 ในผู้สูงอายุก่อนถึงเทศกาลสงกรานต์ที่จะมีลูกหลานเดินทางกลับภูมิลําเนาไปเยี่ยม ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันให้กับผู้สูงอายุและลดความเสี่ยงที่อาจได้รับเชื้อจากลูกหลานแล้วป่วยหนักเสียชีวิต
นายอนุทิน กล่าวเพิ่มเติมว่า สําหรับลูกหลานที่จะเดินทางกลับภูมิลําเนาในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ขอให้ทําตัวเองให้ปลอดเชื้อโควิด 19 ด้วยการฉีดวัคซีนทั้งเข็มปกติและเข็มกระตุ้น และ 1 สัปดาห์ก่อนเดินทางให้งดการรวมกลุ่มสังสรรค์หรือพบปะผู้คนจํานวนมาก หรือเข้าไปยังสถานที่เสี่ยง และตรวจATK ก่อนเดินทาง เพื่อคัดกรองตนเอง ลดความเสี่ยงในการนําเชื้อกลับไปแพร่ให้ผู้สูงอายุที่บ้านโดยไม่รู้ตัว ทั้งนี้ หลังเทศกาลสงกรานต์เป็นช่วงสําคัญที่กระทรวงสาธารณสุขต้องเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคอย่างใกล้ชิด ซึ่งหากประชาชนและภาครัฐร่วมมือกันตามมาตรการต่างๆที่กําหนด มั่นใจว่าจะสามารถควบคุมสถานการณ์ให้อยู่ในระดับที่สามารถรับมือได้
โดยในวันนี้ ได้มอบโล่ประกาศเกียรติคุณให้กับจังหวัดที่สามารถฉีดวัคซีนได้ตามเป้าหมายที่กําหนดไว้ เพื่อเป็นกําลังใจให้กับบุคลากรทางการแพทย์ที่ทุ่มเทอย่างหนักในการฉีดวัคซีนให้กับประชาชน ทั้งการจัดบริการในสถานพยาบาล และการออกฉีดวัคซีนเชิงรุกให้กับกลุ่มผู้สูงอายุที่บ้านและในชุมชน ประกอบด้วย 1) จังหวัดที่ฉีดวัคซีนโควิด 19 เข็มกระตุ้นให้กับผู้สูงอายุ ยอดเยี่ยม ได้แก่ จังหวัดน่าน นนทบุรี สมุทรปราการ ชัยนาท ภูเก็ต มหาสารคาม และลําพูน 2) จังหวัดที่ฉีดวัคซีนโควิด 19 เข็มกระตุ้นให้กับผู้สูงอายุ ดีเด่น ได้แก่ จังหวัดอ่างทอง เชียงใหม่ พระนครศรีอยุธยา ยโสธร ลําปาง สมุทรสงคราม เชียงราย ระยอง ลพบุรี ชลบุรี แพร่ และสระบุรีพร้อมทั้งมอบโล่ขอบคุณกรุงเทพมหานคร ที่ร่วมดําเนินการฉีดวัคซีนโควิด 19 เข็มกระตุ้นให้กับผู้สูงอายุอย่างเข้มแข็งและต่อเนื่อง
************************************** 7 เมษายน 2565 | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สธ. มอบโล่รางวัล จังหวัดที่มีผลการฉีดวัคซีนโควิด 19 เข็มกระตุ้นกลุ่มผู้สูงอายุได้ตามเป้าหมาย
วันพฤหัสบดีที่ 7 เมษายน 2565
สธ. มอบโล่รางวัล จังหวัดที่มีผลการฉีดวัคซีนโควิด 19 เข็มกระตุ้นกลุ่มผู้สูงอายุได้ตามเป้าหมาย
รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข มอบโล่รางวัล 7 จังหวัดที่มีผลการดําเนินการฉีดวัคซีนโควิด 19 เข็มกระตุ้นในกลุ่มผู้สูงอายุยอดเยี่ยม และ 12 จังหวัดที่มีผลการดําเนินการดีเด่น เพื่อเป็นขวัญกําลังใจแก่บุคลากร
รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข มอบโล่รางวัล 7 จังหวัดที่มีผลการดําเนินการฉีดวัคซีนโควิด 19 เข็มกระตุ้นในกลุ่มผู้สูงอายุยอดเยี่ยม และ 12 จังหวัดที่มีผลการดําเนินการดีเด่น เพื่อเป็นขวัญกําลังใจแก่บุคลากร พร้อมมอบโล่ขอบคุณ กทม. ที่ให้ความร่วมมือฉีดวัคซีนอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกันให้กับผู้สูงอายุได้ต้อนรับลูกหลานกลับบ้านช่วงสงกรานต์อย่างปลอดภัย
วันนี้ (7 เมษายน 2565) ที่ สํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี นายอนุทิน ชาญวีรกูลรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานการจัดงานแสดงความสําเร็จการฉีดวัคซีนโควิด 19และมอบโล่ประกาศเกียรติคุณแก่จังหวัดที่ร่วมดําเนินการฉีดวัคซีนโควิด 19 เข็มกระตุ้นให้กับกลุ่มผู้สูงอายุ “สงกรานต์สุขใจ ปลอดภัยทั่วไทย สูงวัยได้วัคซีนSave 608 by Booster dose” โดยมี นายเเพทย์โอภาสการย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค ผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุขทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค และผู้ว่าราชการจังหวัด ร่วมงาน
นายอนุทิน กล่าวว่า ขณะนี้ประเทศไทยฉีดวัคซีนโควิด 19 ไปแล้วกว่า 130 ล้านเข็ม แต่ยังมีกลุ่มผู้สูงอายุและผู้มีโรคประจําตัวจํานวนหนึ่งที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีนหรือยังไม่ได้ฉีดเข็มกระตุ้นตามกําหนด ซึ่งมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อมีอาการหนักและเสียชีวิตได้ โดยจากรายงานผู้เสียชีวิตในแต่ละวัน พบว่าเป็นผู้สูงอายุถึง 75% และเป็นผู้ที่ไม่ได้รับการฉีดวัคซีนมากกว่า 60% กระทรวงสาธารณสุขจึงร่วมกับหน่วยงานและภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องจัดโครงการ “สงกรานต์สุขใจ ปลอดภัยทั่วไทย สูงวัยได้วัคซีนSave 608 by Booster dose” เพื่อเร่งรัดการฉีดวัคซีนโควิด 19 ในผู้สูงอายุก่อนถึงเทศกาลสงกรานต์ที่จะมีลูกหลานเดินทางกลับภูมิลําเนาไปเยี่ยม ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันให้กับผู้สูงอายุและลดความเสี่ยงที่อาจได้รับเชื้อจากลูกหลานแล้วป่วยหนักเสียชีวิต
นายอนุทิน กล่าวเพิ่มเติมว่า สําหรับลูกหลานที่จะเดินทางกลับภูมิลําเนาในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ขอให้ทําตัวเองให้ปลอดเชื้อโควิด 19 ด้วยการฉีดวัคซีนทั้งเข็มปกติและเข็มกระตุ้น และ 1 สัปดาห์ก่อนเดินทางให้งดการรวมกลุ่มสังสรรค์หรือพบปะผู้คนจํานวนมาก หรือเข้าไปยังสถานที่เสี่ยง และตรวจATK ก่อนเดินทาง เพื่อคัดกรองตนเอง ลดความเสี่ยงในการนําเชื้อกลับไปแพร่ให้ผู้สูงอายุที่บ้านโดยไม่รู้ตัว ทั้งนี้ หลังเทศกาลสงกรานต์เป็นช่วงสําคัญที่กระทรวงสาธารณสุขต้องเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคอย่างใกล้ชิด ซึ่งหากประชาชนและภาครัฐร่วมมือกันตามมาตรการต่างๆที่กําหนด มั่นใจว่าจะสามารถควบคุมสถานการณ์ให้อยู่ในระดับที่สามารถรับมือได้
โดยในวันนี้ ได้มอบโล่ประกาศเกียรติคุณให้กับจังหวัดที่สามารถฉีดวัคซีนได้ตามเป้าหมายที่กําหนดไว้ เพื่อเป็นกําลังใจให้กับบุคลากรทางการแพทย์ที่ทุ่มเทอย่างหนักในการฉีดวัคซีนให้กับประชาชน ทั้งการจัดบริการในสถานพยาบาล และการออกฉีดวัคซีนเชิงรุกให้กับกลุ่มผู้สูงอายุที่บ้านและในชุมชน ประกอบด้วย 1) จังหวัดที่ฉีดวัคซีนโควิด 19 เข็มกระตุ้นให้กับผู้สูงอายุ ยอดเยี่ยม ได้แก่ จังหวัดน่าน นนทบุรี สมุทรปราการ ชัยนาท ภูเก็ต มหาสารคาม และลําพูน 2) จังหวัดที่ฉีดวัคซีนโควิด 19 เข็มกระตุ้นให้กับผู้สูงอายุ ดีเด่น ได้แก่ จังหวัดอ่างทอง เชียงใหม่ พระนครศรีอยุธยา ยโสธร ลําปาง สมุทรสงคราม เชียงราย ระยอง ลพบุรี ชลบุรี แพร่ และสระบุรีพร้อมทั้งมอบโล่ขอบคุณกรุงเทพมหานคร ที่ร่วมดําเนินการฉีดวัคซีนโควิด 19 เข็มกระตุ้นให้กับผู้สูงอายุอย่างเข้มแข็งและต่อเนื่อง
************************************** 7 เมษายน 2565 | https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/53387 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม บุกถิ่นหอยใหญ่ลุยจัดงานแก้หนี้ มีพระวัดไชยาร่วมช่วยไกล่เกลี่ย ชี้ต้องเร่งสร้างงานสร้างอาชีพให้ปชช.มีรายได้ยั่งยืน | วันศุกร์ที่ 6 พฤษภาคม 2565
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม บุกถิ่นหอยใหญ่ลุยจัดงานแก้หนี้ มีพระวัดไชยาร่วมช่วยไกล่เกลี่ย ชี้ต้องเร่งสร้างงานสร้างอาชีพให้ปชช.มีรายได้ยั่งยืน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม บุกถิ่นหอยใหญ่ลุยจัดงานแก้หนี้ มีพระวัดไชยาร่วมช่วยไกล่เกลี่ย ชี้ต้องเร่งสร้างงานสร้างอาชีพให้ปชช.มีรายได้ยั่งยืน ผุดไอเดียเลี้ยงแพะส่งนอก สั่งดีเอสไอเร่งสืบสวนคดียักยอกสหกรณ์ปาล์มน้ํามันกระบี่
เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2565 ที่โรงแรมแก้วสมุย จ.สุราษฎร์ธานี มีการจัดงานมหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้สินครัวเรือน ครั้งที่ 7 จ.สุราษฎร์ธานี และยุติธรรมพบประชาชน โดยมีนายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่ากระทรวงยุติธรรม เป็นประธานเปิดงาน พร้อมด้วย นายวิชวุทย์ จินโต ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี ว่าที่ ร.ต.ธนกฤต จิตรอารีย์รัตน์ เลขานุการ รมว.ยุติธรรม นายวัลลภ นาคบัว รองปลัดกระทรวงยุติธรรม นายนิมิต ทัพวนานต์ หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงยุติธรรม นายเรืองศักดิ์ สุวารี อธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ นางทัศนีย์ เปาอินทร์ อธิบดีกรมบังคับคดี นายไตรยฤทธิ์ เตมหิวงศ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ พันตํารวจโท พงษ์ธร ธัญญสิริ ผู้อํานวยการสํานักงานกิจการยุติธรรม นายวิชัย ไชยมงคล เลขาธิการ ป.ป.ส. นายนิพันธ์ ศิริธร ส.ส.ตรัง นายนัทธี ถิ่นสาคู ส.ส.ภูเก็ต นายสายัณห์ ยุติธรรม นายอาญาสิทธิ์ ศรีสุวรรณ นายสัญหพจน์ สุขศรีเมือง ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคพลังประชารัฐ นายชัยณรงค์ กัจฉปานันท์ ผอ.กยศ. ข้าราชการและเจ้าหน้าที่กระทรวงยุติธรรม และประชาชนร่วมงาน
นายวิชวุทย์ กล่าวว่า ขอบคุณ รมว.ยุติธรรม ที่ตระหนักถึงปัญหา และลงพื้นที่ช่วยเหลือประชาชนที่เดือดร้อนจากภาวะหนี้สิน และได้สร้างงานสร้างอาชีพ โดยเฉพาะการปลดล็อกพืชกระท่อม จนชาวบ้านสามารถใช้ตามวิถีชีวิตและเป็นการสร้างรายได้อีกทางหนึ่ง จนนายสมศักดิ์ได้รับการเรียกขานว่า บิดาแห่งพืชกระท่อมไทย ตนขอเป็นตัวแทนขอบคุณ และขอให้งานนี้และประสบความสําเร็จ
นายสมศักดิ์ กล่าวว่า งานวันนี้เรามีจํานวนลูกหนี้ที่เชิญเข้าร่วมงาน 7,553 ราย แบ่งออกเป็น ก่อนฟ้อง 5,998 ราย หลังศาลพิพากษา 1,555 ราย ทุนทรัพย์ทั้งสิ้น 1,692 ล้านบาท โดยที่ผ่านมาจัดงานมหกรรมไกล่เกลี่ยไปแล้ว 6 ครั้ง ไกล่เกลี่ยสําเร็จ 7,929 ราย ทุนทรัพย์ 2,155 ล้านบาท ขอบคุณกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) และสถาบันการเงินที่เข้าร่วมมหกรรม คือ บริหารสินทรัพย์ เจ บริษัท KBJ แคปปิตอล ธนาคารออมสิน ธ.ก.ส. ธ.อ.ส. ธนาคารอิสลาม บริษัท JMT บริการสินทรัพย์สุขุมวิท และบริษัทโตโยต้า ลิสซิ่ง
นายสมศักดิ์ กล่าวอีกว่า เมื่อท่านไกล่เกลี่ยจบแล้ว เราก็มานั่งคิดว่าจะทําอย่างไรให้ชาวบ้านมีรายได้เพิ่ม ซึ่งจากการลงพื้นที่ของ ครม. พบว่า เรื่องปศุสัตว์นั้นไปได้ เพราะมีเป็นล้านคนทั่วประเทศ โดยเฉพาะภาคใต้ที่นิยมวัวกีฬา เป็นอย่างมาก เราสามารถขับเคลื่อนให้คนลงทุนได้ ถ้าย้อนหลังไป 20 ปี สมัยตนเป็น รมว.เกษตรและสหกรณ์ มีแนวคิดเรื่องการเลี้ยงสัตว์ควบคู่กับการปลูกพืช ขณะนี้ตนได้มีโอกาสหารือกับ รมต.สํานักนายกฯ นํากองทุนหมู่บ้านมาช่วยให้เงินกู้ เลี้ยงวัว ซึ่งนําร่องไปที่ จ.สุโขทัยแล้ว แต่ภาคใต้เลี้ยงเยอะแล้ว เราอาจจะปรับมาเลี้ยงแพะ โดยรวมกลุ่มกัน และขอตราฮาลาล เพื่อส่งออกไปยังซาอุดิอาระเบียซึ่งเป็นตลาดใหญ่ จะเป็นอีกทางหนึ่งในการสร้างอาชีพ เพิ่มรายได้ให้ประชาชน
"เราจะไม่ทอดทิ้งกัน เมื่อรัฐบาลช่วยแก้หนี้ให้แล้ว เราก็ยังจะสร้างงานสร้างอาชีพให้ทุกท่านด้วย เพราะการแก้หนี้เป็นเพียงปลายน้ํา แต่ต้นน้ําคือการทําให้ทุกคนมีงานทํามีรายได้เลี้ยงตัวเองและครอบครัวได้อย่างยั่งยืน" นายสมศักดิ์ กล่าว
จากนั้น นายสมศักดิ์ ได้มอบเงินเยียวยาให้กับผู้เสียหาย 25 ราย รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 1,360,248 บาท และได้มอบป้ายศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี 11 ศูนย์ และได้รับมอบดอกไม้แสดงความขอบคุณจาก กลุ่มชุมนุมสหกรณ์ชาวสวนปาล์มน้ํามันกระบี่ ที่ ดีเอสไอ ช่วยสืบสวนสอบสวนกรณีการทุจริตในสหกรณ์
นายสมศักดิ์ แถลงว่า กรณีการทุจริตและยักยอกทรัพย์ในชุมนุมสหกรณ์ชาวสวนปาล์มน้ํามันกระบี่ จํากัด วันที่ 25 ม.ค. 2565 คณะกรรมการคดีพิเศษมีมติเห็นชอบให้เป็นคดีพิเศษ
จากนั้น วันที่ 22 มี.ค. 2565 คณะพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ ได้ร่วมกับเจ้าหน้าที่จากสถาบันนิติวิทยาศาสตร์เข้าตรวจค้นเป้าหมายบ้านพักของอดีตผู้บริหารของชุมนุมสหกรณ์ 9 จุด เพื่อหาพยานหลักฐาน และรับสํานวนการสอบสวนคดีอาญาของ สภ. อ่าวลึก มาเป็นส่วนหนึ่งของสํานวนการสอบสวนคดีพิเศษ สอบปากคํา ผู้กล่าวหา และสอบสวนปากคําพยานบุคคลที่เกี่ยวข้อง เพื่อรวบรวมพยานหลักฐาน และมีหนังสือขอตรวจสอบเอกสารทางการเงินของบุคคลที่เกี่ยวข้องจากธนาคาร เพื่อนํามาประกอบการสอบสวน ขณะนี้อยู่ระหว่างการสอบสวนรวบรวมพยานหลักฐาน รอการแจ้งข้อกล่าวหา ซึ่งคดีนี้มีผู้เสียหายจํานวนมาก เราต้องเร่งสืบสวนให้เสร็จโดยเร็ว
ต่อมานายสมศักดิ์ ได้ร่วมการไกล่เกลี่ย โดยมีพระครูมหาเจติยารักษ์ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระบรมธาตุไชยา จ.สุราษฎ์ธานี ซึ่งเป็นผู้ไกล่เกลี่ยรุ่นแรก มาช่วยไกล่เกลี่ยด้วย รายแรกเป็นหนี้ กยศ. 167,000 บาท ดอกเบี้ยและเบี้ยปรับ 67,000 บาท รวม 235,000 บาท แต่ส่งมาตลอด 16 ปี 194,865 บาท เหลืออีก 40,000 บาท ซึ่งผลการไกล่เกลี่ย กยศ. ได้ยกหนี้ให้ปิดบัญชี โดยผู้กู้ กล่าวว่า ดีใจมากที่มางานในวันนี้ ขอบคุณนายกฯและรัฐบาลที่ช่วยเหลือประชาชน อีกรายเป็นลูกหนี้โตโยต้า ลิสซิ่ง 396,000 บาท ทางโตโยต้า ลดให้ 130,000 บาท จ่ายมาแล้วเหลือยอดชําระ 10,000 บาท และเจ้าตัวจ่ายหมดปิดบัญชี | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม บุกถิ่นหอยใหญ่ลุยจัดงานแก้หนี้ มีพระวัดไชยาร่วมช่วยไกล่เกลี่ย ชี้ต้องเร่งสร้างงานสร้างอาชีพให้ปชช.มีรายได้ยั่งยืน
วันศุกร์ที่ 6 พฤษภาคม 2565
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม บุกถิ่นหอยใหญ่ลุยจัดงานแก้หนี้ มีพระวัดไชยาร่วมช่วยไกล่เกลี่ย ชี้ต้องเร่งสร้างงานสร้างอาชีพให้ปชช.มีรายได้ยั่งยืน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม บุกถิ่นหอยใหญ่ลุยจัดงานแก้หนี้ มีพระวัดไชยาร่วมช่วยไกล่เกลี่ย ชี้ต้องเร่งสร้างงานสร้างอาชีพให้ปชช.มีรายได้ยั่งยืน ผุดไอเดียเลี้ยงแพะส่งนอก สั่งดีเอสไอเร่งสืบสวนคดียักยอกสหกรณ์ปาล์มน้ํามันกระบี่
เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2565 ที่โรงแรมแก้วสมุย จ.สุราษฎร์ธานี มีการจัดงานมหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้สินครัวเรือน ครั้งที่ 7 จ.สุราษฎร์ธานี และยุติธรรมพบประชาชน โดยมีนายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่ากระทรวงยุติธรรม เป็นประธานเปิดงาน พร้อมด้วย นายวิชวุทย์ จินโต ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี ว่าที่ ร.ต.ธนกฤต จิตรอารีย์รัตน์ เลขานุการ รมว.ยุติธรรม นายวัลลภ นาคบัว รองปลัดกระทรวงยุติธรรม นายนิมิต ทัพวนานต์ หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงยุติธรรม นายเรืองศักดิ์ สุวารี อธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ นางทัศนีย์ เปาอินทร์ อธิบดีกรมบังคับคดี นายไตรยฤทธิ์ เตมหิวงศ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ พันตํารวจโท พงษ์ธร ธัญญสิริ ผู้อํานวยการสํานักงานกิจการยุติธรรม นายวิชัย ไชยมงคล เลขาธิการ ป.ป.ส. นายนิพันธ์ ศิริธร ส.ส.ตรัง นายนัทธี ถิ่นสาคู ส.ส.ภูเก็ต นายสายัณห์ ยุติธรรม นายอาญาสิทธิ์ ศรีสุวรรณ นายสัญหพจน์ สุขศรีเมือง ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคพลังประชารัฐ นายชัยณรงค์ กัจฉปานันท์ ผอ.กยศ. ข้าราชการและเจ้าหน้าที่กระทรวงยุติธรรม และประชาชนร่วมงาน
นายวิชวุทย์ กล่าวว่า ขอบคุณ รมว.ยุติธรรม ที่ตระหนักถึงปัญหา และลงพื้นที่ช่วยเหลือประชาชนที่เดือดร้อนจากภาวะหนี้สิน และได้สร้างงานสร้างอาชีพ โดยเฉพาะการปลดล็อกพืชกระท่อม จนชาวบ้านสามารถใช้ตามวิถีชีวิตและเป็นการสร้างรายได้อีกทางหนึ่ง จนนายสมศักดิ์ได้รับการเรียกขานว่า บิดาแห่งพืชกระท่อมไทย ตนขอเป็นตัวแทนขอบคุณ และขอให้งานนี้และประสบความสําเร็จ
นายสมศักดิ์ กล่าวว่า งานวันนี้เรามีจํานวนลูกหนี้ที่เชิญเข้าร่วมงาน 7,553 ราย แบ่งออกเป็น ก่อนฟ้อง 5,998 ราย หลังศาลพิพากษา 1,555 ราย ทุนทรัพย์ทั้งสิ้น 1,692 ล้านบาท โดยที่ผ่านมาจัดงานมหกรรมไกล่เกลี่ยไปแล้ว 6 ครั้ง ไกล่เกลี่ยสําเร็จ 7,929 ราย ทุนทรัพย์ 2,155 ล้านบาท ขอบคุณกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) และสถาบันการเงินที่เข้าร่วมมหกรรม คือ บริหารสินทรัพย์ เจ บริษัท KBJ แคปปิตอล ธนาคารออมสิน ธ.ก.ส. ธ.อ.ส. ธนาคารอิสลาม บริษัท JMT บริการสินทรัพย์สุขุมวิท และบริษัทโตโยต้า ลิสซิ่ง
นายสมศักดิ์ กล่าวอีกว่า เมื่อท่านไกล่เกลี่ยจบแล้ว เราก็มานั่งคิดว่าจะทําอย่างไรให้ชาวบ้านมีรายได้เพิ่ม ซึ่งจากการลงพื้นที่ของ ครม. พบว่า เรื่องปศุสัตว์นั้นไปได้ เพราะมีเป็นล้านคนทั่วประเทศ โดยเฉพาะภาคใต้ที่นิยมวัวกีฬา เป็นอย่างมาก เราสามารถขับเคลื่อนให้คนลงทุนได้ ถ้าย้อนหลังไป 20 ปี สมัยตนเป็น รมว.เกษตรและสหกรณ์ มีแนวคิดเรื่องการเลี้ยงสัตว์ควบคู่กับการปลูกพืช ขณะนี้ตนได้มีโอกาสหารือกับ รมต.สํานักนายกฯ นํากองทุนหมู่บ้านมาช่วยให้เงินกู้ เลี้ยงวัว ซึ่งนําร่องไปที่ จ.สุโขทัยแล้ว แต่ภาคใต้เลี้ยงเยอะแล้ว เราอาจจะปรับมาเลี้ยงแพะ โดยรวมกลุ่มกัน และขอตราฮาลาล เพื่อส่งออกไปยังซาอุดิอาระเบียซึ่งเป็นตลาดใหญ่ จะเป็นอีกทางหนึ่งในการสร้างอาชีพ เพิ่มรายได้ให้ประชาชน
"เราจะไม่ทอดทิ้งกัน เมื่อรัฐบาลช่วยแก้หนี้ให้แล้ว เราก็ยังจะสร้างงานสร้างอาชีพให้ทุกท่านด้วย เพราะการแก้หนี้เป็นเพียงปลายน้ํา แต่ต้นน้ําคือการทําให้ทุกคนมีงานทํามีรายได้เลี้ยงตัวเองและครอบครัวได้อย่างยั่งยืน" นายสมศักดิ์ กล่าว
จากนั้น นายสมศักดิ์ ได้มอบเงินเยียวยาให้กับผู้เสียหาย 25 ราย รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 1,360,248 บาท และได้มอบป้ายศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี 11 ศูนย์ และได้รับมอบดอกไม้แสดงความขอบคุณจาก กลุ่มชุมนุมสหกรณ์ชาวสวนปาล์มน้ํามันกระบี่ ที่ ดีเอสไอ ช่วยสืบสวนสอบสวนกรณีการทุจริตในสหกรณ์
นายสมศักดิ์ แถลงว่า กรณีการทุจริตและยักยอกทรัพย์ในชุมนุมสหกรณ์ชาวสวนปาล์มน้ํามันกระบี่ จํากัด วันที่ 25 ม.ค. 2565 คณะกรรมการคดีพิเศษมีมติเห็นชอบให้เป็นคดีพิเศษ
จากนั้น วันที่ 22 มี.ค. 2565 คณะพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ ได้ร่วมกับเจ้าหน้าที่จากสถาบันนิติวิทยาศาสตร์เข้าตรวจค้นเป้าหมายบ้านพักของอดีตผู้บริหารของชุมนุมสหกรณ์ 9 จุด เพื่อหาพยานหลักฐาน และรับสํานวนการสอบสวนคดีอาญาของ สภ. อ่าวลึก มาเป็นส่วนหนึ่งของสํานวนการสอบสวนคดีพิเศษ สอบปากคํา ผู้กล่าวหา และสอบสวนปากคําพยานบุคคลที่เกี่ยวข้อง เพื่อรวบรวมพยานหลักฐาน และมีหนังสือขอตรวจสอบเอกสารทางการเงินของบุคคลที่เกี่ยวข้องจากธนาคาร เพื่อนํามาประกอบการสอบสวน ขณะนี้อยู่ระหว่างการสอบสวนรวบรวมพยานหลักฐาน รอการแจ้งข้อกล่าวหา ซึ่งคดีนี้มีผู้เสียหายจํานวนมาก เราต้องเร่งสืบสวนให้เสร็จโดยเร็ว
ต่อมานายสมศักดิ์ ได้ร่วมการไกล่เกลี่ย โดยมีพระครูมหาเจติยารักษ์ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระบรมธาตุไชยา จ.สุราษฎ์ธานี ซึ่งเป็นผู้ไกล่เกลี่ยรุ่นแรก มาช่วยไกล่เกลี่ยด้วย รายแรกเป็นหนี้ กยศ. 167,000 บาท ดอกเบี้ยและเบี้ยปรับ 67,000 บาท รวม 235,000 บาท แต่ส่งมาตลอด 16 ปี 194,865 บาท เหลืออีก 40,000 บาท ซึ่งผลการไกล่เกลี่ย กยศ. ได้ยกหนี้ให้ปิดบัญชี โดยผู้กู้ กล่าวว่า ดีใจมากที่มางานในวันนี้ ขอบคุณนายกฯและรัฐบาลที่ช่วยเหลือประชาชน อีกรายเป็นลูกหนี้โตโยต้า ลิสซิ่ง 396,000 บาท ทางโตโยต้า ลดให้ 130,000 บาท จ่ายมาแล้วเหลือยอดชําระ 10,000 บาท และเจ้าตัวจ่ายหมดปิดบัญชี | https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/54296 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กรมการขนส่งทางราง เปิดตัวเลขการเดินทางในระบบขนส่งทางราง เมื่อวันที่ 9 - 10 เม.ย. 2565 | วันจันทร์ที่ 11 เมษายน 2565
กรมการขนส่งทางราง เปิดตัวเลขการเดินทางในระบบขนส่งทางราง เมื่อวันที่ 9 - 10 เม.ย. 2565
ซึ่งเป็นช่วงเริ่มต้นของการเดินทางกลับภูมิลําเนา ช่วงเทศกาลสงกรานต์
นายพิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางราง กระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ในช่วงวันเสาร์ - อาทิตย์ที่ผ่านมา (วันที่ 9 - 10 เม.ย. 2565) มีประชาชนเริ่มทยอยเดินทางกลับภูมิลําเนาในช่วงเทศกาลสงกรานต์ และบางส่วนยังคงมาทํางานหรือทํากิจกรรมในกรุงเทพฯ ตามปกติ โดยจากตัวเลขการเดินทางระบบขนส่งทางรางที่ กรมการขนส่งทางราง (ขร.) ได้รวบรวมช่วงวันดังกล่าวพบว่า มีผู้มาใช้บริการระบบรถไฟระหว่างเมืองของ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ทั้ง 2 วัน รวมกันประมาณ 7 หมื่นกว่าคน และมีผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าในกรุงเทพฯ ทุกระบบรวมกว่า 9 แสนคน ซึ่งจากตัวเลขการใช้ระบบรถไฟระหว่างเมืองอาจยังจะไม่มากนัก แต่ทาง ขร. คาดว่าประชาชนจะทยอยมาใช้บริการเพิ่มขึ้นอีกในช่วงใกล้วันหยุดที่จะถึงนี้ ซึ่งทาง รฟท. จะมีการดําเนินการพ่วงตู้โดยสารเพิ่มไปกับขบวนรถปกติ 184 ขบวน ให้เต็มหน่วยลากจูง พร้อมทั้งเพิ่มขบวนรถพิเศษช่วยการโดยสาร รวม 13 ขบวน (เที่ยวไป 7 ขบวน และเที่ยวกลับ 6 ขบวน) ใน 4 เส้นทาง ได้แก่ อุบลราชธานี อุดรธานี เชียงใหม่ ศิลาอาสน์ พร้อมทั้งเปิดเดินรถขบวนสายใต้ที่ 167/168 กรุงเทพ-กันตัง-กรุงเทพ อีก 2 เที่ยวต่อวัน เพื่อให้สามารถรองรับการเดินทางของประชาชนได้อย่างเพียงพอ
สําหรับมาตรการด้านความปลอดภัย กระทรวงคมนาคมได้มีหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัดที่มีทางรถไฟผ่านให้จัดเจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรืออาสาสมัครในพื้นที่มาประจําจุดตัดทางถนนและทางรถไฟที่เป็นทางลักผ่าน เพื่อป้องกันอุบัติเหตุขบวนรถไฟชนยานพาหนะ รวมทั้งประสานผู้ให้บริการระบบรางจัดเจ้าหน้าที่ตรวจสอบเส้นทาง เพิ่มเจ้าหน้าที่ดูแลรักษาความปลอดภัยและอํานวยความสะดวกแก่ผู้โดยสาร ผู้ปฏิบัติงานด้านการเดินรถระดับแอลกอฮอล์ต้องเป็นศูนย์ การเฝ้าระวังผ่านระบบโทรทัศน์วงจรปิด รวมทั้งประสานจัดสุนัขตํารวจ/สุนัขทหารมาช่วยดูแลความเรียบร้อย พร้อมทั้งดําเนินการตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (COVID-19) และขอความร่วมมือประชาชนผู้ใช้บริการระบบรางสวมใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา ตรวจวัดอุณหภูมิและหมั่นใช้เจลแอลกอฮอล์ สแกนแอปพลิเคชันไทยชนะก่อนเข้าใช้บริการระบบราง
ทั้งนี้ ขร. ได้จัดเจ้าหน้าที่ประสานงานกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินหรือขัดข้องตลอดเวลา พร้อมทั้งจัดเจ้าหน้าที่สุ่มตรวจการดําเนินการตามมาตรการอํานวยความสะดวกและความปลอดภัยรองรับการเดินทางระบบขนส่งทางรางของประชาชนช่วงเทศกาลสงกรานต์ 2565
นอกจากนี้ จัดทํารายงานสรุปการให้บริการประชาชนและความปลอดภัยในการขนส่งรางประจําวัน และร่วมรณรงค์การกระจายการเดินทาง "คนบ้านใกล้ออกทีหลังกลับไว" เพื่อลดความหนาแน่นและลดเสี่ยงต่อการติดเชื้อ COVID-19 | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กรมการขนส่งทางราง เปิดตัวเลขการเดินทางในระบบขนส่งทางราง เมื่อวันที่ 9 - 10 เม.ย. 2565
วันจันทร์ที่ 11 เมษายน 2565
กรมการขนส่งทางราง เปิดตัวเลขการเดินทางในระบบขนส่งทางราง เมื่อวันที่ 9 - 10 เม.ย. 2565
ซึ่งเป็นช่วงเริ่มต้นของการเดินทางกลับภูมิลําเนา ช่วงเทศกาลสงกรานต์
นายพิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางราง กระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ในช่วงวันเสาร์ - อาทิตย์ที่ผ่านมา (วันที่ 9 - 10 เม.ย. 2565) มีประชาชนเริ่มทยอยเดินทางกลับภูมิลําเนาในช่วงเทศกาลสงกรานต์ และบางส่วนยังคงมาทํางานหรือทํากิจกรรมในกรุงเทพฯ ตามปกติ โดยจากตัวเลขการเดินทางระบบขนส่งทางรางที่ กรมการขนส่งทางราง (ขร.) ได้รวบรวมช่วงวันดังกล่าวพบว่า มีผู้มาใช้บริการระบบรถไฟระหว่างเมืองของ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ทั้ง 2 วัน รวมกันประมาณ 7 หมื่นกว่าคน และมีผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าในกรุงเทพฯ ทุกระบบรวมกว่า 9 แสนคน ซึ่งจากตัวเลขการใช้ระบบรถไฟระหว่างเมืองอาจยังจะไม่มากนัก แต่ทาง ขร. คาดว่าประชาชนจะทยอยมาใช้บริการเพิ่มขึ้นอีกในช่วงใกล้วันหยุดที่จะถึงนี้ ซึ่งทาง รฟท. จะมีการดําเนินการพ่วงตู้โดยสารเพิ่มไปกับขบวนรถปกติ 184 ขบวน ให้เต็มหน่วยลากจูง พร้อมทั้งเพิ่มขบวนรถพิเศษช่วยการโดยสาร รวม 13 ขบวน (เที่ยวไป 7 ขบวน และเที่ยวกลับ 6 ขบวน) ใน 4 เส้นทาง ได้แก่ อุบลราชธานี อุดรธานี เชียงใหม่ ศิลาอาสน์ พร้อมทั้งเปิดเดินรถขบวนสายใต้ที่ 167/168 กรุงเทพ-กันตัง-กรุงเทพ อีก 2 เที่ยวต่อวัน เพื่อให้สามารถรองรับการเดินทางของประชาชนได้อย่างเพียงพอ
สําหรับมาตรการด้านความปลอดภัย กระทรวงคมนาคมได้มีหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัดที่มีทางรถไฟผ่านให้จัดเจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรืออาสาสมัครในพื้นที่มาประจําจุดตัดทางถนนและทางรถไฟที่เป็นทางลักผ่าน เพื่อป้องกันอุบัติเหตุขบวนรถไฟชนยานพาหนะ รวมทั้งประสานผู้ให้บริการระบบรางจัดเจ้าหน้าที่ตรวจสอบเส้นทาง เพิ่มเจ้าหน้าที่ดูแลรักษาความปลอดภัยและอํานวยความสะดวกแก่ผู้โดยสาร ผู้ปฏิบัติงานด้านการเดินรถระดับแอลกอฮอล์ต้องเป็นศูนย์ การเฝ้าระวังผ่านระบบโทรทัศน์วงจรปิด รวมทั้งประสานจัดสุนัขตํารวจ/สุนัขทหารมาช่วยดูแลความเรียบร้อย พร้อมทั้งดําเนินการตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (COVID-19) และขอความร่วมมือประชาชนผู้ใช้บริการระบบรางสวมใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา ตรวจวัดอุณหภูมิและหมั่นใช้เจลแอลกอฮอล์ สแกนแอปพลิเคชันไทยชนะก่อนเข้าใช้บริการระบบราง
ทั้งนี้ ขร. ได้จัดเจ้าหน้าที่ประสานงานกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินหรือขัดข้องตลอดเวลา พร้อมทั้งจัดเจ้าหน้าที่สุ่มตรวจการดําเนินการตามมาตรการอํานวยความสะดวกและความปลอดภัยรองรับการเดินทางระบบขนส่งทางรางของประชาชนช่วงเทศกาลสงกรานต์ 2565
นอกจากนี้ จัดทํารายงานสรุปการให้บริการประชาชนและความปลอดภัยในการขนส่งรางประจําวัน และร่วมรณรงค์การกระจายการเดินทาง "คนบ้านใกล้ออกทีหลังกลับไว" เพื่อลดความหนาแน่นและลดเสี่ยงต่อการติดเชื้อ COVID-19 | https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/53527 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ประธานคณะกรรมาธิการกิจการศาล องค์กรอิสระ องค์กรอัยการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และกองทุนสภาผู้เเทนราษฏร | วันเสาร์ที่ 20 พฤศจิกายน 2564
ประธานคณะกรรมาธิการกิจการศาล องค์กรอิสระ องค์กรอัยการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และกองทุนสภาผู้เเทนราษฏร
นําคณะตรวจเยี่ยมศูนย์ฝึกการบิน สถาบันการบินพลเรือน
นางสาวภัคณัฏฐ์ มากช่วย รองผู้ว่าการฝ่ายบริหาร รักษาการแทนผู้ว่าการสถาบันการบินพลเรือน พันจ่าอากาศเอก พันศักดิ์ เนินทราย ผู้อํานวยการกองวิชาบริการการจราจรทางอากาศ รักษาการรองผู้ว่าการฝ่ายวิชาการ สถาบันการบินพลเรือน นาวาอากาศโท อภิชาติ วาทะวัฒนะ ผู้อํานวยการศูนย์ฝึกการบิน คณะผู้บริหาร และครูการบิน ร่วมให้การต้อนรับนายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ประธานคณะกรรมาธิการกิจการศาล องค์กรอิสระ องค์กรอัยการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และกองทุนสภาผู้เเทนราษฏร พร้อมด้วยคณะทํางาน ในโอกาสเดินทางมาตรวจเยี่ยมการดําเนินงานของศูนย์ฝึกการบิน สบพ. และรับฟังการบรรยายสรุปภารกิจและหน้าที่ ผลการดําเนินงานโครงการสําคัญทั้งในปัจจุบันและอนาคต ยุทธศาสตร์การดําเนินงาน ปัญหาและอุปสรรค พร้อมมอบข้อเสนอแนะให้ สบพ. ในการเพิ่มขีดความสามารถในการผลิตและพัฒนาบุคลากรด้านการบิน ด้วยการสร้างเครือข่ายพันธมิตรทางวิชาการทั้งภาครัฐ และเอกชน รวมถึงหน่วยงานในอุตสาหกรรมการบินที่เกี่ยวข้อง โดยในวันเดียวกันนี้ ทางคณะฯ ได้เข้าเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการการเรียนการสอนของศูนย์ฝึกการบิน อาทิ ห้องปฏิบัติการ Flight Simulator และโรงเก็บอากาศยานและศูนย์ซ่อมอากาศยาน ในระหว่างวันที่ 19 - 20 พฤศจิกายน 2564 ณ ศูนย์ฝึกการบิน สบพ. อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ประธานคณะกรรมาธิการกิจการศาล องค์กรอิสระ องค์กรอัยการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และกองทุนสภาผู้เเทนราษฏร
วันเสาร์ที่ 20 พฤศจิกายน 2564
ประธานคณะกรรมาธิการกิจการศาล องค์กรอิสระ องค์กรอัยการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และกองทุนสภาผู้เเทนราษฏร
นําคณะตรวจเยี่ยมศูนย์ฝึกการบิน สถาบันการบินพลเรือน
นางสาวภัคณัฏฐ์ มากช่วย รองผู้ว่าการฝ่ายบริหาร รักษาการแทนผู้ว่าการสถาบันการบินพลเรือน พันจ่าอากาศเอก พันศักดิ์ เนินทราย ผู้อํานวยการกองวิชาบริการการจราจรทางอากาศ รักษาการรองผู้ว่าการฝ่ายวิชาการ สถาบันการบินพลเรือน นาวาอากาศโท อภิชาติ วาทะวัฒนะ ผู้อํานวยการศูนย์ฝึกการบิน คณะผู้บริหาร และครูการบิน ร่วมให้การต้อนรับนายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ประธานคณะกรรมาธิการกิจการศาล องค์กรอิสระ องค์กรอัยการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และกองทุนสภาผู้เเทนราษฏร พร้อมด้วยคณะทํางาน ในโอกาสเดินทางมาตรวจเยี่ยมการดําเนินงานของศูนย์ฝึกการบิน สบพ. และรับฟังการบรรยายสรุปภารกิจและหน้าที่ ผลการดําเนินงานโครงการสําคัญทั้งในปัจจุบันและอนาคต ยุทธศาสตร์การดําเนินงาน ปัญหาและอุปสรรค พร้อมมอบข้อเสนอแนะให้ สบพ. ในการเพิ่มขีดความสามารถในการผลิตและพัฒนาบุคลากรด้านการบิน ด้วยการสร้างเครือข่ายพันธมิตรทางวิชาการทั้งภาครัฐ และเอกชน รวมถึงหน่วยงานในอุตสาหกรรมการบินที่เกี่ยวข้อง โดยในวันเดียวกันนี้ ทางคณะฯ ได้เข้าเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการการเรียนการสอนของศูนย์ฝึกการบิน อาทิ ห้องปฏิบัติการ Flight Simulator และโรงเก็บอากาศยานและศูนย์ซ่อมอากาศยาน ในระหว่างวันที่ 19 - 20 พฤศจิกายน 2564 ณ ศูนย์ฝึกการบิน สบพ. อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ | https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/48500 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายอำเภอสันกำแพงเข้ม นำทีมลงพื้นที่ตรวจสถานบันเทิงและจับผู้ลักลอบเล่นการพนันตู้สล็อต เพื่อดูแลความสงบเรียบร้อยในพื้นที่ ให้ประชาชนเกิดความสุข มีความไว้วางใจ และเป็นที่พึงของประชาชน | วันเสาร์ที่ 6 สิงหาคม 2565
นายอําเภอสันกําแพงเข้ม นําทีมลงพื้นที่ตรวจสถานบันเทิงและจับผู้ลักลอบเล่นการพนันตู้สล็อต เพื่อดูแลความสงบเรียบร้อยในพื้นที่ ให้ประชาชนเกิดความสุข มีความไว้วางใจ และเป็นที่พึงของประชาชน
นายอําเภอสันกําแพงเข้ม นําทีมลงพื้นที่ตรวจสถานบันเทิงและจับผู้ลักลอบเล่นการพนันตู้สล็อต เพื่อดูแลความสงบเรียบร้อยในพื้นที่ ให้ประชาชนเกิดความสุข มีความไว้วางใจ และเป็นที่พึงของประชาชนได้ทุกเวลา
วันนี้ (6 สิงหาคม 2565) นายภิญโญ พัวศรีพันธุ์ นายอําเภอสันกําแพง กล่าวว่า เมื่อวานนี้ลงพื้นที่ตรวจสถานประกอบการที่มีลักษณะคล้ายกับสถานบริการ ร้านอาหาร ร้านเหล้าในพื้นที่รวม 8 แห่งพร้อมปลัดอําเภอฝ่ายความมั่นคง ปลัดอําเภอฝ่ายอํานวยความเป็นธรรม สมาชิกอาสารักษาดินแดน เจ้าหน้าที่ตํารวจ สถานีตํารวจภูธรสันกําแพง และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขอําเภอสันกําแพง
นายภิญโญ พงศ์ศรีพันธุ์ นายอําเภอสันกําแพง กล่าวว่า พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และนายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทยให้ความสําคัญ และเน้นย้ําในการประชุมมอบนโยบายและข้อสั่งการของกระทรวงมหาดไทยให้กับผู้ว่าราชการจังหวัด และนายอําเภอ ในการดําเนินการตามนโยบาย "ลดอบายมุข สร้างสุขให้สังคม" มาอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งกําชับให้เข้มงวดกวดขัน ตรวจตราสถานบริการและสถานประกอบการที่มีลักษณะคล้ายสถานบริการให้ปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด เพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของผู้ที่เข้าไปใช้บริการ ทั้งการตรวจสอบสถานบริการที่มีสภาพอาคารเสี่ยงต่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของผู้เข้าไปใช้บริการจากการลงพื้นที่ตรวจสถานประกอบการที่มีลักษณะคล้ายกับสถานบริการร้านอาหาร ร้านเหล้าในพื้นที่ ได้กําชับเจ้าของร้านทุกประเภทในเรื่องของการปฏิบัติมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อายุผู้เข้าใช้บริการเวลาปิดบริการ ปัญหาเสียงดัง และการปฏิบัติตาม พ.ร.บ. ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยหากพบว่ามีการกระทําความผิดจะดําเนินคดีตามกฎหมายอย่างเด็ดขาด รวมทั้งได้ให้คําแนะนําเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยการตรวจอาวุธของผู้มาใช้บริการ การจัดให้มีทางหนีไฟ ป้ายแจ้งเตือนทางออกฉุกเฉิน และถังดับเพลิง เป็นต้น
นายภิญโญ พัวศรีพันธุ์ ยังกล่าวเพิ่มเติมว่า ได้มอบหมายให้นายณัฐพงษ์ สมบูรณ์กิจ ปลัดอําเภอหัวหน้าฝ่ายความมั่นคง นายธชชัย สุยะ ปลัดฝ่ายปกครอง พร้อมสมาชิกกองอาสารักษาดินแดนอําเภอสันกําแพง ลงพื้นที่ตรวจสอบหลังจากได้รับแจ้งจากสายข่าวว่ามีการลักลอบจัดให้มีการเล่นการพนันตู้สล็อต (ตู้เครื่องเล่นซึ่งใช้เครื่องกลพลังงานไฟฟ้า) จากการตรวจสอบสถานที่ดังกล่าว พบเป็นร้านขายของชําตั้งอยู่หมู่ที่ 10 ตําบลแช่ช้าง อําเภอสันกําแพง มีตู้สล็อตจํานวน 3 ตู้อยู่บริเวณหลังร้านโดยเปิดไว้พร้อมใช้งานให้บริการกับลูกค้า เจ้าของร้านขายของชํายอมรับว่ายินยอมให้นําตู้ดังกล่าวมาลงที่ร้านและให้บริการลูกค้าที่มาใช้บริการตู้ดังกล่าวเป็นประจํา จึงได้ทําการแจ้งข้อกล่าวหาแก่เจ้าของร้านขายของชําคือจัดให้มีการเล่นการพนันในการเล่นอันระบุไว้ในบัญชี ข ลําดับที่ 28 นําส่ง สภ. สันกําแพงดําเนินคดีต่อไป
ในการปฏิบัติงานครั้งนี้ เป็นการทําหน้าที่เพื่อดูแลความสงบเรียบร้อยในพื้นที่ และให้ประชาชนในพื้นที่เกิดความสุข และมีความไว้วางใจว่า นายอําเภอเป็นที่พึงของประชาชนได้ทุกเวลา นายภิญโญ กล่าวทิ้งท้าย | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายอำเภอสันกำแพงเข้ม นำทีมลงพื้นที่ตรวจสถานบันเทิงและจับผู้ลักลอบเล่นการพนันตู้สล็อต เพื่อดูแลความสงบเรียบร้อยในพื้นที่ ให้ประชาชนเกิดความสุข มีความไว้วางใจ และเป็นที่พึงของประชาชน
วันเสาร์ที่ 6 สิงหาคม 2565
นายอําเภอสันกําแพงเข้ม นําทีมลงพื้นที่ตรวจสถานบันเทิงและจับผู้ลักลอบเล่นการพนันตู้สล็อต เพื่อดูแลความสงบเรียบร้อยในพื้นที่ ให้ประชาชนเกิดความสุข มีความไว้วางใจ และเป็นที่พึงของประชาชน
นายอําเภอสันกําแพงเข้ม นําทีมลงพื้นที่ตรวจสถานบันเทิงและจับผู้ลักลอบเล่นการพนันตู้สล็อต เพื่อดูแลความสงบเรียบร้อยในพื้นที่ ให้ประชาชนเกิดความสุข มีความไว้วางใจ และเป็นที่พึงของประชาชนได้ทุกเวลา
วันนี้ (6 สิงหาคม 2565) นายภิญโญ พัวศรีพันธุ์ นายอําเภอสันกําแพง กล่าวว่า เมื่อวานนี้ลงพื้นที่ตรวจสถานประกอบการที่มีลักษณะคล้ายกับสถานบริการ ร้านอาหาร ร้านเหล้าในพื้นที่รวม 8 แห่งพร้อมปลัดอําเภอฝ่ายความมั่นคง ปลัดอําเภอฝ่ายอํานวยความเป็นธรรม สมาชิกอาสารักษาดินแดน เจ้าหน้าที่ตํารวจ สถานีตํารวจภูธรสันกําแพง และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขอําเภอสันกําแพง
นายภิญโญ พงศ์ศรีพันธุ์ นายอําเภอสันกําแพง กล่าวว่า พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และนายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทยให้ความสําคัญ และเน้นย้ําในการประชุมมอบนโยบายและข้อสั่งการของกระทรวงมหาดไทยให้กับผู้ว่าราชการจังหวัด และนายอําเภอ ในการดําเนินการตามนโยบาย "ลดอบายมุข สร้างสุขให้สังคม" มาอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งกําชับให้เข้มงวดกวดขัน ตรวจตราสถานบริการและสถานประกอบการที่มีลักษณะคล้ายสถานบริการให้ปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด เพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของผู้ที่เข้าไปใช้บริการ ทั้งการตรวจสอบสถานบริการที่มีสภาพอาคารเสี่ยงต่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของผู้เข้าไปใช้บริการจากการลงพื้นที่ตรวจสถานประกอบการที่มีลักษณะคล้ายกับสถานบริการร้านอาหาร ร้านเหล้าในพื้นที่ ได้กําชับเจ้าของร้านทุกประเภทในเรื่องของการปฏิบัติมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อายุผู้เข้าใช้บริการเวลาปิดบริการ ปัญหาเสียงดัง และการปฏิบัติตาม พ.ร.บ. ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยหากพบว่ามีการกระทําความผิดจะดําเนินคดีตามกฎหมายอย่างเด็ดขาด รวมทั้งได้ให้คําแนะนําเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยการตรวจอาวุธของผู้มาใช้บริการ การจัดให้มีทางหนีไฟ ป้ายแจ้งเตือนทางออกฉุกเฉิน และถังดับเพลิง เป็นต้น
นายภิญโญ พัวศรีพันธุ์ ยังกล่าวเพิ่มเติมว่า ได้มอบหมายให้นายณัฐพงษ์ สมบูรณ์กิจ ปลัดอําเภอหัวหน้าฝ่ายความมั่นคง นายธชชัย สุยะ ปลัดฝ่ายปกครอง พร้อมสมาชิกกองอาสารักษาดินแดนอําเภอสันกําแพง ลงพื้นที่ตรวจสอบหลังจากได้รับแจ้งจากสายข่าวว่ามีการลักลอบจัดให้มีการเล่นการพนันตู้สล็อต (ตู้เครื่องเล่นซึ่งใช้เครื่องกลพลังงานไฟฟ้า) จากการตรวจสอบสถานที่ดังกล่าว พบเป็นร้านขายของชําตั้งอยู่หมู่ที่ 10 ตําบลแช่ช้าง อําเภอสันกําแพง มีตู้สล็อตจํานวน 3 ตู้อยู่บริเวณหลังร้านโดยเปิดไว้พร้อมใช้งานให้บริการกับลูกค้า เจ้าของร้านขายของชํายอมรับว่ายินยอมให้นําตู้ดังกล่าวมาลงที่ร้านและให้บริการลูกค้าที่มาใช้บริการตู้ดังกล่าวเป็นประจํา จึงได้ทําการแจ้งข้อกล่าวหาแก่เจ้าของร้านขายของชําคือจัดให้มีการเล่นการพนันในการเล่นอันระบุไว้ในบัญชี ข ลําดับที่ 28 นําส่ง สภ. สันกําแพงดําเนินคดีต่อไป
ในการปฏิบัติงานครั้งนี้ เป็นการทําหน้าที่เพื่อดูแลความสงบเรียบร้อยในพื้นที่ และให้ประชาชนในพื้นที่เกิดความสุข และมีความไว้วางใจว่า นายอําเภอเป็นที่พึงของประชาชนได้ทุกเวลา นายภิญโญ กล่าวทิ้งท้าย | https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/57722 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รัฐมนตรีว่าการกะรทรวงยุติธรรม บุกตลาดเทิดไท ตาลคู่ จ.นครราชสีมา ลุยประชาสัมพันธ์การเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมกรณีเหยื่อคดีอาญา | วันเสาร์ที่ 22 มกราคม 2565
รัฐมนตรีว่าการกะรทรวงยุติธรรม บุกตลาดเทิดไท ตาลคู่ จ.นครราชสีมา ลุยประชาสัมพันธ์การเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมกรณีเหยื่อคดีอาญา
รัฐมนตรีว่าการกะรทรวงยุติธรรม บุกตลาดเทิดไท ตาลคู่ จ.นครราชสีมา ลุยประชาสัมพันธ์การเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมกรณีเหยื่อคดีอาญา หวังลดความเหลื่อมล้ําในสังคม เพียงโทร 1111 กด 77
จากกรณีรัฐบาลมีโครงการแก้ปัญหาราคาหมูที่สูงขึ้นหลังปริมาณหมูในระบบขาดหายไป โดยกําหนดให้ขายหมูเนื้อแดงราคาถูกกิโลกรัมละไม่เกิน 150 บาท นั้น
ล่าสุด วันที่ 22 ม.ค. 65 เวลา 11.00 น. นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ได้ลงพื้นที่ให้กําลังใจเยี่ยมเยียนผู้ค้า ตลาดเทิดไท ตาลคู่จ.นครราชสีมา โดยได้มีการเดินเยี่ยมชมทั้งตลาดพร้อมสังเกตการณ์ราคาสินค้าเกษตร นอกจากนี้ยังได้มีการพูดคุยกับพ่อค้าแม่ค้าผักผลไม้ ซึ่งภาพรวมที่เห็นในตลาดพบว่าสินค้าต่าง ๆ เหล่านี้ยังมีราคาปกติ อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ตนได้เห็นคือการแก้ไขปัญหาราคาหมูแพงซึ่งพบว่า ราคาหมูเนื้อแดงอยู่ที่ 150 บาท ต่อกิโลกรัม เท่านั้นตามโครงการของรัฐบาลและนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งตลาดเทิดไท ตาลคู่แห่งนี้ได้สนองนโยบายรัฐเพื่อช่วยแบ่งเบาภาระของประชาชนด้วยเช่นกัน
นอกจากนี้ นายสมศักดิ์ ยังได้เดินประชาสัมพันธ์ในเรื่องการช่วยเหลือเยียวยาประชาชนที่ตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมหรือผู้เสียหายในคดีอาญา รวมทั้งการคุ้มครองพยานในคดีอาญา และกรณีที่ประชาชนไม่มีทนายความเพื่อต่อสู้คดีเพื่ออํานวยความยุติธรรม ลดความเหลื่อมล้ํา โดยสามารถติดต่อขอรับความช่วยเหลือได้ที่ส่วนกลาง คือ กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ และส่วนภูมิภาค ได้แก่สํานักงานยุติธรรมจังหวัดทุกแห่งทั่วประเทศ หรือติดต่อที่ สายด่วนยุติธรรม โทร. 1111 กด 77 โดยเวลานี้ตนยืนยันว่าเรามีงบประมาณเพียงพอที่จะสามารถดูแลประชาชน
“การเดินทางลงพื้นที่เยี่ยมเยียนผู้ค้าในวันนี้ เพราะผมอยากดูชีวิตความเป็นอยู่ของพวกเขา เนื่องจากขณะนี้ราคาสินค้ามีการขยับสูงขึ้น แต่รัฐบาลไม่ได้ทอดทิ้งยังทํางานเต็มที่เพื่อช่วยเหลือประชาชน ในส่วนงานของกระทรวงยุติธรรมผมอยากลงพื้นที่แบบนี้บ่อย ๆ เพราะอยากให้ประชาชนเข้าถึงสิทธิและรับรู้เรื่องของกระบวนการยุติธรรมอย่างเสมอภาค ซึ่งยอมรับว่าเวลานี้ประชาชนรู้จักกระทรวงยุติธรรมมากขึ้นแล้ว โดยผมและกรมต่าง ๆ จะคอยขับเคลื่อนบริการเอาความยุติธรรมใส่มือประชาชน” นายสมศักดิ์ ระบุ | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รัฐมนตรีว่าการกะรทรวงยุติธรรม บุกตลาดเทิดไท ตาลคู่ จ.นครราชสีมา ลุยประชาสัมพันธ์การเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมกรณีเหยื่อคดีอาญา
วันเสาร์ที่ 22 มกราคม 2565
รัฐมนตรีว่าการกะรทรวงยุติธรรม บุกตลาดเทิดไท ตาลคู่ จ.นครราชสีมา ลุยประชาสัมพันธ์การเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมกรณีเหยื่อคดีอาญา
รัฐมนตรีว่าการกะรทรวงยุติธรรม บุกตลาดเทิดไท ตาลคู่ จ.นครราชสีมา ลุยประชาสัมพันธ์การเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมกรณีเหยื่อคดีอาญา หวังลดความเหลื่อมล้ําในสังคม เพียงโทร 1111 กด 77
จากกรณีรัฐบาลมีโครงการแก้ปัญหาราคาหมูที่สูงขึ้นหลังปริมาณหมูในระบบขาดหายไป โดยกําหนดให้ขายหมูเนื้อแดงราคาถูกกิโลกรัมละไม่เกิน 150 บาท นั้น
ล่าสุด วันที่ 22 ม.ค. 65 เวลา 11.00 น. นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ได้ลงพื้นที่ให้กําลังใจเยี่ยมเยียนผู้ค้า ตลาดเทิดไท ตาลคู่จ.นครราชสีมา โดยได้มีการเดินเยี่ยมชมทั้งตลาดพร้อมสังเกตการณ์ราคาสินค้าเกษตร นอกจากนี้ยังได้มีการพูดคุยกับพ่อค้าแม่ค้าผักผลไม้ ซึ่งภาพรวมที่เห็นในตลาดพบว่าสินค้าต่าง ๆ เหล่านี้ยังมีราคาปกติ อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ตนได้เห็นคือการแก้ไขปัญหาราคาหมูแพงซึ่งพบว่า ราคาหมูเนื้อแดงอยู่ที่ 150 บาท ต่อกิโลกรัม เท่านั้นตามโครงการของรัฐบาลและนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งตลาดเทิดไท ตาลคู่แห่งนี้ได้สนองนโยบายรัฐเพื่อช่วยแบ่งเบาภาระของประชาชนด้วยเช่นกัน
นอกจากนี้ นายสมศักดิ์ ยังได้เดินประชาสัมพันธ์ในเรื่องการช่วยเหลือเยียวยาประชาชนที่ตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมหรือผู้เสียหายในคดีอาญา รวมทั้งการคุ้มครองพยานในคดีอาญา และกรณีที่ประชาชนไม่มีทนายความเพื่อต่อสู้คดีเพื่ออํานวยความยุติธรรม ลดความเหลื่อมล้ํา โดยสามารถติดต่อขอรับความช่วยเหลือได้ที่ส่วนกลาง คือ กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ และส่วนภูมิภาค ได้แก่สํานักงานยุติธรรมจังหวัดทุกแห่งทั่วประเทศ หรือติดต่อที่ สายด่วนยุติธรรม โทร. 1111 กด 77 โดยเวลานี้ตนยืนยันว่าเรามีงบประมาณเพียงพอที่จะสามารถดูแลประชาชน
“การเดินทางลงพื้นที่เยี่ยมเยียนผู้ค้าในวันนี้ เพราะผมอยากดูชีวิตความเป็นอยู่ของพวกเขา เนื่องจากขณะนี้ราคาสินค้ามีการขยับสูงขึ้น แต่รัฐบาลไม่ได้ทอดทิ้งยังทํางานเต็มที่เพื่อช่วยเหลือประชาชน ในส่วนงานของกระทรวงยุติธรรมผมอยากลงพื้นที่แบบนี้บ่อย ๆ เพราะอยากให้ประชาชนเข้าถึงสิทธิและรับรู้เรื่องของกระบวนการยุติธรรมอย่างเสมอภาค ซึ่งยอมรับว่าเวลานี้ประชาชนรู้จักกระทรวงยุติธรรมมากขึ้นแล้ว โดยผมและกรมต่าง ๆ จะคอยขับเคลื่อนบริการเอาความยุติธรรมใส่มือประชาชน” นายสมศักดิ์ ระบุ | https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/50783 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล- สรรพากรจับมือ 11 ธนาคาร นำเทคโนโลยี Blockchain ของ NDID ยกระดับการยืนยันตัวตน และเชื่อมข้อมูลการให้บริการภาษี | วันอังคารที่ 24 พฤษภาคม 2565
สรรพากรจับมือ 11 ธนาคาร นําเทคโนโลยี Blockchain ของ NDID ยกระดับการยืนยันตัวตน และเชื่อมข้อมูลการให้บริการภาษี
กรมสรรพากร และ บริษัท เนชั่นแนลดิจิทัลไอดี จํากัด (NDID) ร่วมด้วยธนาคารอีก 11 ธนาคาร ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจ เรื่อง การเข้าถึงระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล เพื่อสนับสนุนข้อมูลสําหรับการให้บริการธุรกรรมภาษี
วันที่ 23 พฤษภาคม 2565 กรมสรรพากร และ บริษัท เนชั่นแนลดิจิทัลไอดี จํากัด (NDID) ร่วมด้วยธนาคารอีก 11 ธนาคาร ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจ เรื่อง การเข้าถึงระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล เพื่อสนับสนุนข้อมูลสําหรับการให้บริการธุรกรรมภาษี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการให้บริการธุรกรรมภาษีของกรมสรรพากร โดยเชื่อมต่อกับระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลของ NDID เพื่อให้การพิสูจน์และยืนยันตัวตนผ่านระบบดิจิทัล สามารถนํามาใช้ในการสนับสนุนข้อมูลการให้บริการธุรกรรมภาษีของกรมสรรพากร ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นที่ยอมรับจากผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน สร้างการอํานวยความสะดวก ปลอดภัย สร้างความโปร่งใส และลดภาระของประชาชนและภาคเอกชนในการติดต่อหรือใช้บริการจากกรมสรรพากร โดยการลงนามในบันทึกข้อตกลงครั้งนี้ ได้จัดพิธีการลงนามบันทึกข้อตกลงแบบ Online ผ่านโปรแกรม Zoom
ดร.เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยว่า “ความร่วมมือกับ NDID ร่วมด้วยธนาคารอีก 11 ธนาคาร ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์สําคัญ เพื่อการยกระดับการให้บริการธุรกรรมภาษี 2 เรื่อง คือ 1. การพิสูจน์ตัวตน 2. การเชื่อมโยงข้อมูลการให้บริการภาษี ซึ่งกรมสรรพากรคํานึงถึงความสะดวกของผู้เสียภาษีเป็นหลัก จึงร่วมมือกับหน่วยงานที่เป็น ID Platform เช่น NDID เพื่อให้ผู้เสียภาษีมีทางเลือกให้การยืนยันตัวตนของตนเอง นอกจากนี้กรมสรรพากรให้ความสําคัญในเรื่องการเชื่อมโยงข้อมูลอย่างปลอดภัยและการให้สิทธิ์ผู้เสียภาษีในการควบคุมข้อมูลของตนเอง ด้วยเทคโนโลยีของ NDID ซึ่งเบื้องหลังเป็น Blockchain จะทําให้ผู้เสียภาษีหรือลูกค้าของธนาคารเชื่อถือได้ว่าตัวเองมีสิทธิ์ขาดในการร้องขอให้รับ/ส่งข้อมูลของตนเองที่เก็บไว้ในหน่วยงานในกลุ่มและหน่วยงานในกลุ่มจะเชื่อถือได้ว่าไม่ได้ปลอมแปลงเอกสารและมีการร้องขอให้รับ/ส่งข้อมูลที่ได้รับการยินยอมแล้วจริง สร้างความสะดวก ความรวดเร็ว โปร่งใส และต้นทุนต่ําให้กับประเทศ ตามเป้าประสงค์ที่กําหนดในยุทธศาสตร์ชาติด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ และแผนการปฏิรูปประเทศด้านการบริหารราชการแผ่นดิน
ทั้งนี้ กรมสรรพากรขอขอบคุณ บริษัท เนชั่นแนลดิจิทัลไอดี จํากัด (NDID) สมาคมธนาคารไทย สมาคมสถาบันการเงินของรัฐ และธนาคารอีก 11 ธนาคาร ได้แก่ ธนาคารกรุงเทพ จํากัด (มหาชน) ธนาคารกรุงไทย จํากัด (มหาชน) ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จํากัด (มหาชน) ธนาคารกสิกรไทย จํากัด (มหาชน) ธนาคารเกียรตินาคินภัทร จํากัด (มหาชน) ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย จํากัด (มหาชน) ธนาคารทหารไทยธนชาต จํากัด (มหาชน) ธนาคารไทยพาณิชย์ จํากัด (มหาชน) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ที่เห็นถึงความสําคัญและให้ความร่วมมือกับกรมสรรพากรในการดําเนินงานในครั้งนี้”
สมาคมธนาคารไทย โดยนายผยง ศรีวณิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ในฐานะประธานสมาคมธนาคารไทย เปิดเผยว่า “สมาคมธนาคารไทยและธนาคารสมาชิก มุ่งส่งเสริมแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพ และความเชื่อมั่นในระบบสถาบันการเงิน พร้อมให้ความร่วมมือตอบสนองนโยบายของภาครัฐ โดยเฉพาะการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อให้บริการประชาชน ล่าสุด สถาบันการเงินของภาครัฐและเอกชนรวม 11 แห่ง และ บริษัท เนชั่นแนลดิจิทัลไอดี จํากัด หรือ NDID ได้ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจกับกรมสรรพากร เรื่อง “การเข้าถึงระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลเพื่อสนับสนุนข้อมูลสําหรับการให้บริการธุรกรรมภาษี” ซึ่งถือเป็นอีกก้าวสําคัญของกรมสรรพากรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการร่วมมือกัน เพื่อยกระดับบริการธุรกรรมภาษีให้รวดเร็ว โปร่งใสและมีต้นทุนต่ํา โดยเชื่อมต่อกับระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลของ NDID เพื่อให้การพิสูจน์และยืนยันตัวตนผ่านระบบดิจิทัล สามารถนํามาใช้ในการสนับสนุนข้อมูลการให้บริการธุรกรรมภาษีของกรมสรรพากร ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดบนเทคโนโลยีความปลอดภัยตามมาตรฐานสากล
นอกจากนี้ กรมสรรพากร สถาบันการเงินที่เข้าร่วมโครงการ และ NDID จะนําโครงการนี้ เข้าสู่การทดสอบ Digital Service Sandbox ของสํานักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ร่วมกับธนาคาร แห่งประเทศไทย เพื่อให้ระบบอยู่ภายใต้การดูแลของหน่วยงานกํากับดูแลทั้งสองแห่ง และเพิ่มความมั่นใจให้แก่ทุกภาคส่วน ก่อนจะเปิดให้บริการแก่ประชาชนในวงกว้างต่อไป โดยเชื่อมั่นว่า ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง จะร่วมกันส่งมอบบริการที่ดีให้กับภาคประชาชนและภาคธุรกิจได้อย่างไร้รอยต่อ มีประสิทธิภาพ ก่อให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุดต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ
ที่ผ่านมา ภาคธนาคารได้ให้ความร่วมมือในการตอบสนองนโยบายด้านบริการอิเล็กทรอนิกส์ของกรมสรรพากรหลายด้าน อาทิ การคืนภาษีผ่านพร้อมเพย์ การจ่ายชําระภาษีต่างๆ ผ่าน Bill Payment การให้บริการ e - Withholding Tax และในปี 2564 ได้ร่วมมือกับกรมสรรพากรผ่านการให้บริการของ NDID ที่มีภาคธนาคารเป็นผู้ถือหุ้นหลักในการให้บริการพิสูจน์ตัวตนเพื่อประกอบการยื่นเสียภาษีผ่านช่องทางอิเล็คทรอนิกส์ และการตรวจสอบข้อมูลลดหย่อนผ่านแพลตฟอร์ม NDID ซึ่งถือเป็นแพลตฟอร์มแรก และแพลตฟอร์มเดียวที่ผ่านการทดสอบนวัตกรรมหรือบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (Digital Service Sandbox) ของสํานักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์”
สมาคมสถาบันการเงินของรัฐ นายฉัตรชัย ศิริไล กรรมการผู้จัดการธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ในฐานะประธานกรรมการสมาคมสถาบันการเงินของรัฐ เปิดเผยว่า “สมาคมสถาบันการเงินของรัฐ พร้อมให้ความร่วมมือกับกรมสรรพากร ในการสนับสนุนให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ เข้ามามีบทบาทสําคัญในการส่งเสริมให้ประชาชนสามารถเข้าถึงการใช้บริการผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างคล่องตัวมากขึ้น โดยพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจ เรื่อง “การเข้าถึงระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลเพื่อสนับสนุนข้อมูลสําหรับการให้บริการธุรกรรมภาษี” ในครั้งนี้ นับเป็นการพัฒนาการเข้าถึงระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลผ่าน NDID Platform โดยเฉพาะการขอรับบริการธุรกรรมภาษี ตามแผนของกรมสรรพากรของประชาชนได้เป็นอย่างดี เพราะระบบดังกล่าว เป็นการยกระดับการให้บริการด้านดิจิทัลที่จะทําให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลธุรกรรมทางภาษีของตนเองได้อย่างสะดวก รวดเร็ว โปร่งใส และมีต้นทุนต่ําลง ขณะเดียวกันยังช่วยยกระดับการทําธุรกรรมออนไลน์ของคนไทยให้มีความปลอดภัยตามมาตรฐานสากล เนื่องจากระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลผ่าน NDID Platform นั้น เป็นระบบที่มีมาตรฐานความปลอดภัยและยังคงรักษาความเป็นส่วนตัวของข้อมูล (Data Privacy and Security by design) ด้วย
ทั้งนี้การพัฒนาและเชื่อมโยงระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลผ่าน NDID Platform ระหว่างกรมสรรพากร และภาคสถาบันการเงินในครั้งนี้ ยังสามารถสร้างความมั่นใจในการเข้าถึงการให้บริการด้านดิจิทัลและการนําข้อมูลด้านภาษีไปใช้ประโยชน์ และอํานวยความสะดวกให้กับประชาชนและภาคธุรกิจในการทําธุรกรรมด้านภาษีกับกรมสรรพากรได้มากขึ้น สมาคมสถาบันการเงินของรัฐ จึงสนับสนุนให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ ยกเว้นค่าธรรมเนียมการใช้บริการดังกล่าว เพื่อสนับสนุนให้ประชาชนเข้าถึงบริการมากขึ้น โดยปัจจุบันมีสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ จํานวน 3 แห่ง ประกอบด้วย ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ธนาคารออมสิน และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ที่ให้บริการทางการเงินด้วยระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลผ่าน NDID Platform และในระยะต่อไป ธนาคารสมาชิกสมาคมสถาบันการเงินของรัฐ จะเร่งพัฒนาระบบในการให้บริการประชาชนต่อไป ซึ่งเชื่อว่าจะส่งผลให้การบริการด้านภาษีมีประสิทธิภาพ และเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลให้ขยายวงกว้างได้มากขึ้น ตามนโยบายของรัฐบาลอีกด้วย”
การลงนามบันทึกความเข้าใจ เรื่อง การเข้าถึงระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล เพื่อสนับสนุนข้อมูลสําหรับการให้บริการธุรกรรมภาษี ในครั้งนี้ เป็นการร่วมมือกันพัฒนาและศึกษาระบบ เพื่อเพิ่มความสามารถในการเชื่อมต่อระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และก้าวสู่ยุคดิจิทัลอย่างยั่งยืน | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล- สรรพากรจับมือ 11 ธนาคาร นำเทคโนโลยี Blockchain ของ NDID ยกระดับการยืนยันตัวตน และเชื่อมข้อมูลการให้บริการภาษี
วันอังคารที่ 24 พฤษภาคม 2565
สรรพากรจับมือ 11 ธนาคาร นําเทคโนโลยี Blockchain ของ NDID ยกระดับการยืนยันตัวตน และเชื่อมข้อมูลการให้บริการภาษี
กรมสรรพากร และ บริษัท เนชั่นแนลดิจิทัลไอดี จํากัด (NDID) ร่วมด้วยธนาคารอีก 11 ธนาคาร ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจ เรื่อง การเข้าถึงระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล เพื่อสนับสนุนข้อมูลสําหรับการให้บริการธุรกรรมภาษี
วันที่ 23 พฤษภาคม 2565 กรมสรรพากร และ บริษัท เนชั่นแนลดิจิทัลไอดี จํากัด (NDID) ร่วมด้วยธนาคารอีก 11 ธนาคาร ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจ เรื่อง การเข้าถึงระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล เพื่อสนับสนุนข้อมูลสําหรับการให้บริการธุรกรรมภาษี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการให้บริการธุรกรรมภาษีของกรมสรรพากร โดยเชื่อมต่อกับระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลของ NDID เพื่อให้การพิสูจน์และยืนยันตัวตนผ่านระบบดิจิทัล สามารถนํามาใช้ในการสนับสนุนข้อมูลการให้บริการธุรกรรมภาษีของกรมสรรพากร ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นที่ยอมรับจากผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน สร้างการอํานวยความสะดวก ปลอดภัย สร้างความโปร่งใส และลดภาระของประชาชนและภาคเอกชนในการติดต่อหรือใช้บริการจากกรมสรรพากร โดยการลงนามในบันทึกข้อตกลงครั้งนี้ ได้จัดพิธีการลงนามบันทึกข้อตกลงแบบ Online ผ่านโปรแกรม Zoom
ดร.เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยว่า “ความร่วมมือกับ NDID ร่วมด้วยธนาคารอีก 11 ธนาคาร ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์สําคัญ เพื่อการยกระดับการให้บริการธุรกรรมภาษี 2 เรื่อง คือ 1. การพิสูจน์ตัวตน 2. การเชื่อมโยงข้อมูลการให้บริการภาษี ซึ่งกรมสรรพากรคํานึงถึงความสะดวกของผู้เสียภาษีเป็นหลัก จึงร่วมมือกับหน่วยงานที่เป็น ID Platform เช่น NDID เพื่อให้ผู้เสียภาษีมีทางเลือกให้การยืนยันตัวตนของตนเอง นอกจากนี้กรมสรรพากรให้ความสําคัญในเรื่องการเชื่อมโยงข้อมูลอย่างปลอดภัยและการให้สิทธิ์ผู้เสียภาษีในการควบคุมข้อมูลของตนเอง ด้วยเทคโนโลยีของ NDID ซึ่งเบื้องหลังเป็น Blockchain จะทําให้ผู้เสียภาษีหรือลูกค้าของธนาคารเชื่อถือได้ว่าตัวเองมีสิทธิ์ขาดในการร้องขอให้รับ/ส่งข้อมูลของตนเองที่เก็บไว้ในหน่วยงานในกลุ่มและหน่วยงานในกลุ่มจะเชื่อถือได้ว่าไม่ได้ปลอมแปลงเอกสารและมีการร้องขอให้รับ/ส่งข้อมูลที่ได้รับการยินยอมแล้วจริง สร้างความสะดวก ความรวดเร็ว โปร่งใส และต้นทุนต่ําให้กับประเทศ ตามเป้าประสงค์ที่กําหนดในยุทธศาสตร์ชาติด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ และแผนการปฏิรูปประเทศด้านการบริหารราชการแผ่นดิน
ทั้งนี้ กรมสรรพากรขอขอบคุณ บริษัท เนชั่นแนลดิจิทัลไอดี จํากัด (NDID) สมาคมธนาคารไทย สมาคมสถาบันการเงินของรัฐ และธนาคารอีก 11 ธนาคาร ได้แก่ ธนาคารกรุงเทพ จํากัด (มหาชน) ธนาคารกรุงไทย จํากัด (มหาชน) ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จํากัด (มหาชน) ธนาคารกสิกรไทย จํากัด (มหาชน) ธนาคารเกียรตินาคินภัทร จํากัด (มหาชน) ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย จํากัด (มหาชน) ธนาคารทหารไทยธนชาต จํากัด (มหาชน) ธนาคารไทยพาณิชย์ จํากัด (มหาชน) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ที่เห็นถึงความสําคัญและให้ความร่วมมือกับกรมสรรพากรในการดําเนินงานในครั้งนี้”
สมาคมธนาคารไทย โดยนายผยง ศรีวณิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ในฐานะประธานสมาคมธนาคารไทย เปิดเผยว่า “สมาคมธนาคารไทยและธนาคารสมาชิก มุ่งส่งเสริมแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพ และความเชื่อมั่นในระบบสถาบันการเงิน พร้อมให้ความร่วมมือตอบสนองนโยบายของภาครัฐ โดยเฉพาะการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อให้บริการประชาชน ล่าสุด สถาบันการเงินของภาครัฐและเอกชนรวม 11 แห่ง และ บริษัท เนชั่นแนลดิจิทัลไอดี จํากัด หรือ NDID ได้ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจกับกรมสรรพากร เรื่อง “การเข้าถึงระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลเพื่อสนับสนุนข้อมูลสําหรับการให้บริการธุรกรรมภาษี” ซึ่งถือเป็นอีกก้าวสําคัญของกรมสรรพากรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการร่วมมือกัน เพื่อยกระดับบริการธุรกรรมภาษีให้รวดเร็ว โปร่งใสและมีต้นทุนต่ํา โดยเชื่อมต่อกับระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลของ NDID เพื่อให้การพิสูจน์และยืนยันตัวตนผ่านระบบดิจิทัล สามารถนํามาใช้ในการสนับสนุนข้อมูลการให้บริการธุรกรรมภาษีของกรมสรรพากร ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดบนเทคโนโลยีความปลอดภัยตามมาตรฐานสากล
นอกจากนี้ กรมสรรพากร สถาบันการเงินที่เข้าร่วมโครงการ และ NDID จะนําโครงการนี้ เข้าสู่การทดสอบ Digital Service Sandbox ของสํานักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ร่วมกับธนาคาร แห่งประเทศไทย เพื่อให้ระบบอยู่ภายใต้การดูแลของหน่วยงานกํากับดูแลทั้งสองแห่ง และเพิ่มความมั่นใจให้แก่ทุกภาคส่วน ก่อนจะเปิดให้บริการแก่ประชาชนในวงกว้างต่อไป โดยเชื่อมั่นว่า ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง จะร่วมกันส่งมอบบริการที่ดีให้กับภาคประชาชนและภาคธุรกิจได้อย่างไร้รอยต่อ มีประสิทธิภาพ ก่อให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุดต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ
ที่ผ่านมา ภาคธนาคารได้ให้ความร่วมมือในการตอบสนองนโยบายด้านบริการอิเล็กทรอนิกส์ของกรมสรรพากรหลายด้าน อาทิ การคืนภาษีผ่านพร้อมเพย์ การจ่ายชําระภาษีต่างๆ ผ่าน Bill Payment การให้บริการ e - Withholding Tax และในปี 2564 ได้ร่วมมือกับกรมสรรพากรผ่านการให้บริการของ NDID ที่มีภาคธนาคารเป็นผู้ถือหุ้นหลักในการให้บริการพิสูจน์ตัวตนเพื่อประกอบการยื่นเสียภาษีผ่านช่องทางอิเล็คทรอนิกส์ และการตรวจสอบข้อมูลลดหย่อนผ่านแพลตฟอร์ม NDID ซึ่งถือเป็นแพลตฟอร์มแรก และแพลตฟอร์มเดียวที่ผ่านการทดสอบนวัตกรรมหรือบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (Digital Service Sandbox) ของสํานักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์”
สมาคมสถาบันการเงินของรัฐ นายฉัตรชัย ศิริไล กรรมการผู้จัดการธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ในฐานะประธานกรรมการสมาคมสถาบันการเงินของรัฐ เปิดเผยว่า “สมาคมสถาบันการเงินของรัฐ พร้อมให้ความร่วมมือกับกรมสรรพากร ในการสนับสนุนให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ เข้ามามีบทบาทสําคัญในการส่งเสริมให้ประชาชนสามารถเข้าถึงการใช้บริการผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างคล่องตัวมากขึ้น โดยพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจ เรื่อง “การเข้าถึงระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลเพื่อสนับสนุนข้อมูลสําหรับการให้บริการธุรกรรมภาษี” ในครั้งนี้ นับเป็นการพัฒนาการเข้าถึงระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลผ่าน NDID Platform โดยเฉพาะการขอรับบริการธุรกรรมภาษี ตามแผนของกรมสรรพากรของประชาชนได้เป็นอย่างดี เพราะระบบดังกล่าว เป็นการยกระดับการให้บริการด้านดิจิทัลที่จะทําให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลธุรกรรมทางภาษีของตนเองได้อย่างสะดวก รวดเร็ว โปร่งใส และมีต้นทุนต่ําลง ขณะเดียวกันยังช่วยยกระดับการทําธุรกรรมออนไลน์ของคนไทยให้มีความปลอดภัยตามมาตรฐานสากล เนื่องจากระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลผ่าน NDID Platform นั้น เป็นระบบที่มีมาตรฐานความปลอดภัยและยังคงรักษาความเป็นส่วนตัวของข้อมูล (Data Privacy and Security by design) ด้วย
ทั้งนี้การพัฒนาและเชื่อมโยงระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลผ่าน NDID Platform ระหว่างกรมสรรพากร และภาคสถาบันการเงินในครั้งนี้ ยังสามารถสร้างความมั่นใจในการเข้าถึงการให้บริการด้านดิจิทัลและการนําข้อมูลด้านภาษีไปใช้ประโยชน์ และอํานวยความสะดวกให้กับประชาชนและภาคธุรกิจในการทําธุรกรรมด้านภาษีกับกรมสรรพากรได้มากขึ้น สมาคมสถาบันการเงินของรัฐ จึงสนับสนุนให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ ยกเว้นค่าธรรมเนียมการใช้บริการดังกล่าว เพื่อสนับสนุนให้ประชาชนเข้าถึงบริการมากขึ้น โดยปัจจุบันมีสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ จํานวน 3 แห่ง ประกอบด้วย ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ธนาคารออมสิน และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ที่ให้บริการทางการเงินด้วยระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลผ่าน NDID Platform และในระยะต่อไป ธนาคารสมาชิกสมาคมสถาบันการเงินของรัฐ จะเร่งพัฒนาระบบในการให้บริการประชาชนต่อไป ซึ่งเชื่อว่าจะส่งผลให้การบริการด้านภาษีมีประสิทธิภาพ และเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลให้ขยายวงกว้างได้มากขึ้น ตามนโยบายของรัฐบาลอีกด้วย”
การลงนามบันทึกความเข้าใจ เรื่อง การเข้าถึงระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล เพื่อสนับสนุนข้อมูลสําหรับการให้บริการธุรกรรมภาษี ในครั้งนี้ เป็นการร่วมมือกันพัฒนาและศึกษาระบบ เพื่อเพิ่มความสามารถในการเชื่อมต่อระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และก้าวสู่ยุคดิจิทัลอย่างยั่งยืน | https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/54919 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-๕ เมษายน วันคล้ายวันประสูติ ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี | วันอังคารที่ 5 เมษายน 2565
๕ เมษายน วันคล้ายวันประสูติ ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด ข้าพระพุทธเจ้า ข้าราชการ พนักงานราชการ และลูกจ้าง กระทรวงกลาโหม | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-๕ เมษายน วันคล้ายวันประสูติ ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี
วันอังคารที่ 5 เมษายน 2565
๕ เมษายน วันคล้ายวันประสูติ ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด ข้าพระพุทธเจ้า ข้าราชการ พนักงานราชการ และลูกจ้าง กระทรวงกลาโหม | https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/53293 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-เพิ่มการดูแลผู้ป่วยโควิด-19 แบบผู้ป่วยนอก | วันจันทร์ที่ 7 มีนาคม 2565
เพิ่มการดูแลผู้ป่วยโควิด-19 แบบผู้ป่วยนอก
วันศุกร์ที่ 4 มีนาคม 2565
ต่อจากนี้ไป ขอเชิญรับฟังไทยคู่ฟ้า ค่ะ
กระทรวงสาธารณสุขเพิ่มการดูแลรักษาผู้ป่วยโควิด-19 แบบผู้ป่วยนอกในแนวทางเวชปฏิบัติ สําหรับกลุ่มที่ไม่มีอาการหรือมีอาการน้อยมากและไม่มีความเสี่ยง ซึ่งผู้ป่วยกลุ่มนี้สามารถหายเองได้ จึงจะให้การรักษาแบบผู้ป่วยนอกโดยแยกกักตัวที่บ้านและให้ยารักษาตามอาการ โดยความแตกต่างจากระบบ Home Isolation คือ ไม่มีอุปกรณ์ตรวจประเมินอาการและอาหารให้ และจะโทรเพื่อติดตามอาการเพียงครั้งเดียวเมื่อครบ 48 ชั่วโมง ทั้งนี้ ระบบการรักษาแบบ Home Isolation / Community Isolation และ Hospitel ยังมีอยู่เช่นเดิม ซึ่งทุกรูปแบบจะมีช่องทางให้ประชาชนสามารถติดต่อกลับสถานพยาบาล และมีระบบส่งต่อหากอาการรุนแรงขึ้น โดยยืนยันว่ามีเตียงและยาเพียงพอรองรับกลุ่มอาการรุนแรง
“สื่อสารภารกิจรัฐบาล” กับสํานักโฆษก สํานักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-เพิ่มการดูแลผู้ป่วยโควิด-19 แบบผู้ป่วยนอก
วันจันทร์ที่ 7 มีนาคม 2565
เพิ่มการดูแลผู้ป่วยโควิด-19 แบบผู้ป่วยนอก
วันศุกร์ที่ 4 มีนาคม 2565
ต่อจากนี้ไป ขอเชิญรับฟังไทยคู่ฟ้า ค่ะ
กระทรวงสาธารณสุขเพิ่มการดูแลรักษาผู้ป่วยโควิด-19 แบบผู้ป่วยนอกในแนวทางเวชปฏิบัติ สําหรับกลุ่มที่ไม่มีอาการหรือมีอาการน้อยมากและไม่มีความเสี่ยง ซึ่งผู้ป่วยกลุ่มนี้สามารถหายเองได้ จึงจะให้การรักษาแบบผู้ป่วยนอกโดยแยกกักตัวที่บ้านและให้ยารักษาตามอาการ โดยความแตกต่างจากระบบ Home Isolation คือ ไม่มีอุปกรณ์ตรวจประเมินอาการและอาหารให้ และจะโทรเพื่อติดตามอาการเพียงครั้งเดียวเมื่อครบ 48 ชั่วโมง ทั้งนี้ ระบบการรักษาแบบ Home Isolation / Community Isolation และ Hospitel ยังมีอยู่เช่นเดิม ซึ่งทุกรูปแบบจะมีช่องทางให้ประชาชนสามารถติดต่อกลับสถานพยาบาล และมีระบบส่งต่อหากอาการรุนแรงขึ้น โดยยืนยันว่ามีเตียงและยาเพียงพอรองรับกลุ่มอาการรุนแรง
“สื่อสารภารกิจรัฐบาล” กับสํานักโฆษก สํานักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี | https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/52122 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-พณ. เปิดจุด “ขายหมูราคาถูก” 667 จุดทั่วประเทศ 150 บาท/กก. ถึงสิ้น ม.ค. 65 | วันจันทร์ที่ 10 มกราคม 2565
พณ. เปิดจุด “ขายหมูราคาถูก” 667 จุดทั่วประเทศ 150 บาท/กก. ถึงสิ้น ม.ค. 65
.....
กระทรวงพาณิชย์จัดโครงการ "พาณิชย์ลดราคา! ช่วยประชาชน" เปิดจุด “ขายหมูเนื้อแดง” ครั้งที่ 2 ในราคา 150 บาท/กก. เพื่อบรรเทาภาระค่าครองชีพ รวม 667 แห่งทั่วประเทศ สําหรับในพื้นที่ กทม. มี 116 แห่ง ได้แก่ รถโมบายเคลื่อนที่ไปตามพื้นที่ต่าง ๆ จํานวน 50 คัน ตั้งจุดบริการ 50 แห่ง และสมาคมอีก 16 แห่ง
.
ส่วนในต่างจังหวัด มีทั้งสิ้น 551 แห่ง โดยสํานักงานพาณิชย์จังหวัดได้ประสานกับตลาดหรือสถานที่จัดจุดจําหน่ายให้แก่ประชาชน ตั้งแต่วันนี้ - 31 ม.ค. 65
.
ผู้สนใจตรวจสอบสถานที่จําหน่ายในแต่ละจังหวัดได้ที่https://www.dit.go.th/Content.aspx?m=8&c=36749
#ไทยคู่ฟ้า#ร่วมต้านโควิด19
------------------- | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-พณ. เปิดจุด “ขายหมูราคาถูก” 667 จุดทั่วประเทศ 150 บาท/กก. ถึงสิ้น ม.ค. 65
วันจันทร์ที่ 10 มกราคม 2565
พณ. เปิดจุด “ขายหมูราคาถูก” 667 จุดทั่วประเทศ 150 บาท/กก. ถึงสิ้น ม.ค. 65
.....
กระทรวงพาณิชย์จัดโครงการ "พาณิชย์ลดราคา! ช่วยประชาชน" เปิดจุด “ขายหมูเนื้อแดง” ครั้งที่ 2 ในราคา 150 บาท/กก. เพื่อบรรเทาภาระค่าครองชีพ รวม 667 แห่งทั่วประเทศ สําหรับในพื้นที่ กทม. มี 116 แห่ง ได้แก่ รถโมบายเคลื่อนที่ไปตามพื้นที่ต่าง ๆ จํานวน 50 คัน ตั้งจุดบริการ 50 แห่ง และสมาคมอีก 16 แห่ง
.
ส่วนในต่างจังหวัด มีทั้งสิ้น 551 แห่ง โดยสํานักงานพาณิชย์จังหวัดได้ประสานกับตลาดหรือสถานที่จัดจุดจําหน่ายให้แก่ประชาชน ตั้งแต่วันนี้ - 31 ม.ค. 65
.
ผู้สนใจตรวจสอบสถานที่จําหน่ายในแต่ละจังหวัดได้ที่https://www.dit.go.th/Content.aspx?m=8&c=36749
#ไทยคู่ฟ้า#ร่วมต้านโควิด19
------------------- | https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/50391 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ธอส. มอบ 1 ล้านบาท สนับสนุนโครงการผ่าตัดข้อไหล่ข้อศอกและข้อเท้าเทียมเพื่อผู้ป่วยยากไร้ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี | วันพุธที่ 22 ธันวาคม 2564
ธอส. มอบ 1 ล้านบาท สนับสนุนโครงการผ่าตัดข้อไหล่ข้อศอกและข้อเท้าเทียมเพื่อผู้ป่วยยากไร้ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ธอส.มอบเงินจํานวน 1 ล้านบาท ให้แก่ คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาลมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช เพื่อสนับสนุนโครงการ “ผ่าตัดข้อไหล่ ข้อศอกและข้อเท้าเทียมเพื่อผู้ป่วยยากไร้เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ธนาคารอาคารสงเคราะห์ มอบเงินจํานวน 1 ล้านบาท ให้แก่ คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาลมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช เพื่อสนับสนุนโครงการ “ผ่าตัดข้อไหล่ ข้อศอกและข้อเท้าเทียมเพื่อผู้ป่วยยากไร้เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในโอกาสมหามงคล พระชนมายุ 66 พรรษา” เพื่อช่วยเหลือผู้ยากไร้ที่มีภาวะกระดูกข้อไหล่หักซับซ้อน ให้ได้มีโอกาสเข้าถึงบริการและได้รับการรักษาพยาบาลด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ชั้นสูง
นายฉัตรชัย ศิริไล กรรมการผู้จัดการ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เปิดเผยว่า เพื่อเป็นการแสดงความจงรักภักดี สํานึกในพระมหากรุณาธิคุณ และเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่บําเพ็ญพระราชกรณียกิจนานัปการ เพื่อความร่มเย็นของประชาชนตลอดมา และเนื่องในโอกาสมหามงคล ทรงเจริญพระชนมายุ 66 พรรษา เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2564 ธอส. ในฐานะสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ จึงได้มอบเงินจํานวน 1,000,000 บาท ให้แก่คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช เพื่อสนับสนุนในโครงการ “ผ่าตัดข้อไหล่ข้อศอกและข้อเท้าเทียมเพื่อผู้ป่วยยากไร้เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในโอกาสมหามงคล พระชนมายุ 66 พรรษา” ซึ่งเป็นโครงการที่จัดทําขึ้นเพื่อช่วยเหลือผู้เริ่มทําการผ่าตัดผู้ป่วยยากไร้ที่มีปัญหาทางด้านข้อไหล่เสื่อม ข้อศอกเสื่อม และข้อเท้าเสื่อม หรือผู้ป่วยที่มีภาวะกระดูกข้อไหล่หักซับซ้อน ให้ได้มีโอกาสเข้าถึงบริการและได้รับการรักษาพยาบาลด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ชั้นสูง จากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญระดับประเทศ โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์จักราวุธ มณีฤทธิ์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช เป็นผู้รับมอบเงินสนับสนุนจาก ดร.กิริฎา เภาพิจิตร กรรมการธนาคาร ธอส. ในฐานะประธานกรรมการกํากับดูแลกิจการที่ดีและความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม (CG&CSR) ธอส. และนายฉัตรชัย ศิริไล กรรมการผู้จัดการ ธอส. พร้อมด้วยคณะผู้บริหารระดับสูงของธนาคารร่วมในพิธี
ทั้งนี้ ที่ผ่านมา ธอส. ได้ให้การสนับสนุนงบประมาณ ให้แก่ โรงพยาบาลวชิรพยาบาล ในการจัดสร้างหอผู้ป่วยไอซียูความดันลบแบบห้องแยก “เตียงต่อชีวิต” พร้อมทั้งอาหารกลางวันและน้ําดื่มธนาคาร รวมถึงหน้ากากอนามัยพร้อมสายคล้องที่จัดทําโดยพนักงานจิตอาสาของธนาคาร ให้แก่บุคลากรการทางการแพทย์ และประชาชนที่มาใช้บริการ โรงพยาบาลวชิรพยาบาล คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช มาแล้วอีกด้วย สําหรับกิจกรรมดังกล่าวสอดคล้องกับนโยบายการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม หรือ CSR ของธนาคาร ด้วยความห่วงใยและตระหนักถึงปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน อีกทั้งเป็นการสร้างจิตสํานึกในการเป็นจิตอาสาเพื่อช่วยเหลือสังคมให้ดียิ่งขึ้นต่อไป | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ธอส. มอบ 1 ล้านบาท สนับสนุนโครงการผ่าตัดข้อไหล่ข้อศอกและข้อเท้าเทียมเพื่อผู้ป่วยยากไร้ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
วันพุธที่ 22 ธันวาคม 2564
ธอส. มอบ 1 ล้านบาท สนับสนุนโครงการผ่าตัดข้อไหล่ข้อศอกและข้อเท้าเทียมเพื่อผู้ป่วยยากไร้ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ธอส.มอบเงินจํานวน 1 ล้านบาท ให้แก่ คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาลมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช เพื่อสนับสนุนโครงการ “ผ่าตัดข้อไหล่ ข้อศอกและข้อเท้าเทียมเพื่อผู้ป่วยยากไร้เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ธนาคารอาคารสงเคราะห์ มอบเงินจํานวน 1 ล้านบาท ให้แก่ คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาลมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช เพื่อสนับสนุนโครงการ “ผ่าตัดข้อไหล่ ข้อศอกและข้อเท้าเทียมเพื่อผู้ป่วยยากไร้เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในโอกาสมหามงคล พระชนมายุ 66 พรรษา” เพื่อช่วยเหลือผู้ยากไร้ที่มีภาวะกระดูกข้อไหล่หักซับซ้อน ให้ได้มีโอกาสเข้าถึงบริการและได้รับการรักษาพยาบาลด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ชั้นสูง
นายฉัตรชัย ศิริไล กรรมการผู้จัดการ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เปิดเผยว่า เพื่อเป็นการแสดงความจงรักภักดี สํานึกในพระมหากรุณาธิคุณ และเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่บําเพ็ญพระราชกรณียกิจนานัปการ เพื่อความร่มเย็นของประชาชนตลอดมา และเนื่องในโอกาสมหามงคล ทรงเจริญพระชนมายุ 66 พรรษา เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2564 ธอส. ในฐานะสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ จึงได้มอบเงินจํานวน 1,000,000 บาท ให้แก่คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช เพื่อสนับสนุนในโครงการ “ผ่าตัดข้อไหล่ข้อศอกและข้อเท้าเทียมเพื่อผู้ป่วยยากไร้เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในโอกาสมหามงคล พระชนมายุ 66 พรรษา” ซึ่งเป็นโครงการที่จัดทําขึ้นเพื่อช่วยเหลือผู้เริ่มทําการผ่าตัดผู้ป่วยยากไร้ที่มีปัญหาทางด้านข้อไหล่เสื่อม ข้อศอกเสื่อม และข้อเท้าเสื่อม หรือผู้ป่วยที่มีภาวะกระดูกข้อไหล่หักซับซ้อน ให้ได้มีโอกาสเข้าถึงบริการและได้รับการรักษาพยาบาลด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ชั้นสูง จากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญระดับประเทศ โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์จักราวุธ มณีฤทธิ์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช เป็นผู้รับมอบเงินสนับสนุนจาก ดร.กิริฎา เภาพิจิตร กรรมการธนาคาร ธอส. ในฐานะประธานกรรมการกํากับดูแลกิจการที่ดีและความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม (CG&CSR) ธอส. และนายฉัตรชัย ศิริไล กรรมการผู้จัดการ ธอส. พร้อมด้วยคณะผู้บริหารระดับสูงของธนาคารร่วมในพิธี
ทั้งนี้ ที่ผ่านมา ธอส. ได้ให้การสนับสนุนงบประมาณ ให้แก่ โรงพยาบาลวชิรพยาบาล ในการจัดสร้างหอผู้ป่วยไอซียูความดันลบแบบห้องแยก “เตียงต่อชีวิต” พร้อมทั้งอาหารกลางวันและน้ําดื่มธนาคาร รวมถึงหน้ากากอนามัยพร้อมสายคล้องที่จัดทําโดยพนักงานจิตอาสาของธนาคาร ให้แก่บุคลากรการทางการแพทย์ และประชาชนที่มาใช้บริการ โรงพยาบาลวชิรพยาบาล คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช มาแล้วอีกด้วย สําหรับกิจกรรมดังกล่าวสอดคล้องกับนโยบายการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม หรือ CSR ของธนาคาร ด้วยความห่วงใยและตระหนักถึงปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน อีกทั้งเป็นการสร้างจิตสํานึกในการเป็นจิตอาสาเพื่อช่วยเหลือสังคมให้ดียิ่งขึ้นต่อไป | https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/49749 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-เด็กชายวัย 10 ปี อัดอั้น ไม่มีทางออก หลังแม่ติดคุก ต้องอยู่ลำพัง เขียนจดหมายน้อยร้อง”รมว.ยุติธรรม” ช่วยดูโทษถูกต้องหรือไม่ “สมศักดิ์” สั่ง ยุติธรรมจังหวัด-ราชทัณฑ์ ลงตรวจสอบด่วน | วันพุธที่ 1 มิถุนายน 2565
เด็กชายวัย 10 ปี อัดอั้น ไม่มีทางออก หลังแม่ติดคุก ต้องอยู่ลําพัง เขียนจดหมายน้อยร้อง”รมว.ยุติธรรม” ช่วยดูโทษถูกต้องหรือไม่ “สมศักดิ์” สั่ง ยุติธรรมจังหวัด-ราชทัณฑ์ ลงตรวจสอบด่วน
เด็กชายวัย 10 ปี อัดอั้น ไม่มีทางออก หลังแม่ติดคุก ต้องอยู่ลําพัง เขียนจดหมายน้อยร้อง”รมว.ยุติธรรม” ช่วยดูโทษถูกต้องหรือไม่ “สมศักดิ์” สั่ง ยุติธรรมจังหวัด-ราชทัณฑ์ ลงตรวจสอบด่วน พบคดีมีคําพิพากษาแล้ว รับโทษ 3 เดือน พ้น 31 ส.ค.นี้
วันที่ 1 มิถุนายน 2565 นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าวว่า ตนได้รับจดหมายร้องเรียนจาก ด.ช.เอ นามสมมุติ อายุ 10 ปี เกี่ยวกับมารดาที่ถูกคุมขังอยู่ในเรือนจํา จากคดีเรื่องเงินว่า อาจไม่ได้รับความเป็นธรรม โดยในจดหมายระบุมาว่า แม่ของ ด.ช.เอ ถูกจําคุก เพราะเรื่องเงิน ซึ่งด.ช.เอ มองว่า ไม่ยุติธรรม เนื่องจากแม่ของเขา ได้จ่ายเงินคืนไปแล้วส่วนหนึ่ง แต่ก็ยังถูกฟ้อง จนต้องติดคุก ซึ่งแม่ของ ด.ช.เอ เป็นคนดูแลลูกทั้งสองคนเอง ส่วนพ่อนั้น ไม่ถูกกัน ทําให้ขณะนี้ พี่สาวของ ด.ช.เอ ต้องออกมาเรียน กศน.เพื่อช่วยประหยัดเงิน รวมถึงต้องอยู่กันเพียงลําพัง ไม่มีผู้ใหญ่ดูแล จะมีเพียงเพื่อนของแม่ ที่มาช่วยดูแลบ้าง จึงอยากให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ช่วยตรวจสอบว่า การจําคุกแม่ของเขา มีอัตราโทษที่ถูกต้องหรือไม่
นายสมศักดิ์ กล่าวต่อว่า เมื่อตนได้อ่านจดหมาย ที่เป็นลายมือของเด็กชายเอ ก็ทําให้รู้สึกได้ว่า เขาไม่มีที่พึ่งพิง จึงลองเขียนจดหมายมา แต่ก็เป็นสิ่งที่ถูกต้อง เพราะกระทรวงยุติธรรม มีหน้าที่ช่วยเหลือประชาชน ตามภารกิจของกองทุนยุติธรรม ที่ช่วยทั้งปรึกษาคดี มีทนายความให้ รวมถึงช่วยประกันตัว เพื่อต่อสู้คดีความ ดังนั้น เมื่อตนทราบเรื่อง จึงได้ให้คณะทํางาน โทรศัพท์ไปสอบถามเรื่องราวที่เกิดขึ้น พร้อมประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งลงพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพื่อช่วยเหลือเป็นการเร่งด่วน ซึ่งทราบว่า ว่าที่พันตรี อดิศักดิ์ น้อยสุวรรณ รองผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ รองนายกเทศมนตรีหัวหิน พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด ยุติธรรมจังหวัด และกรมราชทัณฑ์ ได้ร่วมลงพื้นที่ตรวจสอบ และให้การช่วยเหลือแล้ว
นายสมศักดิ์ กล่าวอีกว่า จากการสอบถามหน่วยงานที่ลงพื้นที่ ได้รายงานมาว่า จุดประสงค์ของด.ช.เอ จะอยู่ร่วมกับแม่ แต่คดีความ ได้มีคําพิพากษาไปแล้ว จึงไม่สามารถดําเนินการได้ ซึ่งแม่ของด.ช.เอ ได้รับโทษ 3 เดือน 15 วัน จะพ้นโทษ วันที่ 31 ส.ค.65 ดังนั้น จากนี้ ผู้บัญชาการเรือนจํา จะอํานวยความสะดวกให้กับด.ช.เอ ได้คุยกับแม่ผ่านวีดีโอคอนเฟอเรนซ์ ตามความเหมาะสม เพื่อช่วยเยียวยา ส่วนการเยี่ยมแบบพบหน้า ก็สามารถทําได้ แต่เป็นความประสงค์ของแม่ ที่ไม่ต้องการให้ลูกมาเห็นภาพในเรือนจํา จึงตกลงเยี่ยมกันแบบออนไลน์
“จากการลงพื้นที่ พบว่า คุณภาพชีวิตของน้องไม่มีปัญหา โดยมีพ่อเป็นชาวต่างประเทศ ส่งเงินให้ใช้คนละ 2,500 บาท ต่อสัปดาห์ และมีเพื่อนแม่ มาช่วยดูแล ส่วนการศึกษา ด.ช.เอ ยังคงเรียนตามปกติ แต่พี่สาว ถูกเพื่อนบูลลี่ที่โรงเรียน จึงสมัครใจเรียน กศน. ซึ่งหน่วยงานที่ลงพื้นที่ พยายามช่วยให้ย้ายโรงเรียน แต่น้องไม่สมัครใจเรียนในระบบ จึงตกลงให้เรียนกศน.ไปก่อน 1 ปี เมื่อแม่ของน้องออกมา ค่อยพูดคุยกันใหม่ แต่ก็ทราบว่า ทางครอบครัวได้วางแผนว่า เมื่อน้องจบ ม.6 ก็จะย้ายไปเรียนต่างประเทศ โดยจากนี้ จะมีทุกหน่วยงานช่วยดูแลอย่างใกล้ชิด จึงไม่น่าเป็นห่วงแล้ว” รมว.ยุติธรรม กล่าว | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-เด็กชายวัย 10 ปี อัดอั้น ไม่มีทางออก หลังแม่ติดคุก ต้องอยู่ลำพัง เขียนจดหมายน้อยร้อง”รมว.ยุติธรรม” ช่วยดูโทษถูกต้องหรือไม่ “สมศักดิ์” สั่ง ยุติธรรมจังหวัด-ราชทัณฑ์ ลงตรวจสอบด่วน
วันพุธที่ 1 มิถุนายน 2565
เด็กชายวัย 10 ปี อัดอั้น ไม่มีทางออก หลังแม่ติดคุก ต้องอยู่ลําพัง เขียนจดหมายน้อยร้อง”รมว.ยุติธรรม” ช่วยดูโทษถูกต้องหรือไม่ “สมศักดิ์” สั่ง ยุติธรรมจังหวัด-ราชทัณฑ์ ลงตรวจสอบด่วน
เด็กชายวัย 10 ปี อัดอั้น ไม่มีทางออก หลังแม่ติดคุก ต้องอยู่ลําพัง เขียนจดหมายน้อยร้อง”รมว.ยุติธรรม” ช่วยดูโทษถูกต้องหรือไม่ “สมศักดิ์” สั่ง ยุติธรรมจังหวัด-ราชทัณฑ์ ลงตรวจสอบด่วน พบคดีมีคําพิพากษาแล้ว รับโทษ 3 เดือน พ้น 31 ส.ค.นี้
วันที่ 1 มิถุนายน 2565 นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าวว่า ตนได้รับจดหมายร้องเรียนจาก ด.ช.เอ นามสมมุติ อายุ 10 ปี เกี่ยวกับมารดาที่ถูกคุมขังอยู่ในเรือนจํา จากคดีเรื่องเงินว่า อาจไม่ได้รับความเป็นธรรม โดยในจดหมายระบุมาว่า แม่ของ ด.ช.เอ ถูกจําคุก เพราะเรื่องเงิน ซึ่งด.ช.เอ มองว่า ไม่ยุติธรรม เนื่องจากแม่ของเขา ได้จ่ายเงินคืนไปแล้วส่วนหนึ่ง แต่ก็ยังถูกฟ้อง จนต้องติดคุก ซึ่งแม่ของ ด.ช.เอ เป็นคนดูแลลูกทั้งสองคนเอง ส่วนพ่อนั้น ไม่ถูกกัน ทําให้ขณะนี้ พี่สาวของ ด.ช.เอ ต้องออกมาเรียน กศน.เพื่อช่วยประหยัดเงิน รวมถึงต้องอยู่กันเพียงลําพัง ไม่มีผู้ใหญ่ดูแล จะมีเพียงเพื่อนของแม่ ที่มาช่วยดูแลบ้าง จึงอยากให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ช่วยตรวจสอบว่า การจําคุกแม่ของเขา มีอัตราโทษที่ถูกต้องหรือไม่
นายสมศักดิ์ กล่าวต่อว่า เมื่อตนได้อ่านจดหมาย ที่เป็นลายมือของเด็กชายเอ ก็ทําให้รู้สึกได้ว่า เขาไม่มีที่พึ่งพิง จึงลองเขียนจดหมายมา แต่ก็เป็นสิ่งที่ถูกต้อง เพราะกระทรวงยุติธรรม มีหน้าที่ช่วยเหลือประชาชน ตามภารกิจของกองทุนยุติธรรม ที่ช่วยทั้งปรึกษาคดี มีทนายความให้ รวมถึงช่วยประกันตัว เพื่อต่อสู้คดีความ ดังนั้น เมื่อตนทราบเรื่อง จึงได้ให้คณะทํางาน โทรศัพท์ไปสอบถามเรื่องราวที่เกิดขึ้น พร้อมประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งลงพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพื่อช่วยเหลือเป็นการเร่งด่วน ซึ่งทราบว่า ว่าที่พันตรี อดิศักดิ์ น้อยสุวรรณ รองผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ รองนายกเทศมนตรีหัวหิน พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด ยุติธรรมจังหวัด และกรมราชทัณฑ์ ได้ร่วมลงพื้นที่ตรวจสอบ และให้การช่วยเหลือแล้ว
นายสมศักดิ์ กล่าวอีกว่า จากการสอบถามหน่วยงานที่ลงพื้นที่ ได้รายงานมาว่า จุดประสงค์ของด.ช.เอ จะอยู่ร่วมกับแม่ แต่คดีความ ได้มีคําพิพากษาไปแล้ว จึงไม่สามารถดําเนินการได้ ซึ่งแม่ของด.ช.เอ ได้รับโทษ 3 เดือน 15 วัน จะพ้นโทษ วันที่ 31 ส.ค.65 ดังนั้น จากนี้ ผู้บัญชาการเรือนจํา จะอํานวยความสะดวกให้กับด.ช.เอ ได้คุยกับแม่ผ่านวีดีโอคอนเฟอเรนซ์ ตามความเหมาะสม เพื่อช่วยเยียวยา ส่วนการเยี่ยมแบบพบหน้า ก็สามารถทําได้ แต่เป็นความประสงค์ของแม่ ที่ไม่ต้องการให้ลูกมาเห็นภาพในเรือนจํา จึงตกลงเยี่ยมกันแบบออนไลน์
“จากการลงพื้นที่ พบว่า คุณภาพชีวิตของน้องไม่มีปัญหา โดยมีพ่อเป็นชาวต่างประเทศ ส่งเงินให้ใช้คนละ 2,500 บาท ต่อสัปดาห์ และมีเพื่อนแม่ มาช่วยดูแล ส่วนการศึกษา ด.ช.เอ ยังคงเรียนตามปกติ แต่พี่สาว ถูกเพื่อนบูลลี่ที่โรงเรียน จึงสมัครใจเรียน กศน. ซึ่งหน่วยงานที่ลงพื้นที่ พยายามช่วยให้ย้ายโรงเรียน แต่น้องไม่สมัครใจเรียนในระบบ จึงตกลงให้เรียนกศน.ไปก่อน 1 ปี เมื่อแม่ของน้องออกมา ค่อยพูดคุยกันใหม่ แต่ก็ทราบว่า ทางครอบครัวได้วางแผนว่า เมื่อน้องจบ ม.6 ก็จะย้ายไปเรียนต่างประเทศ โดยจากนี้ จะมีทุกหน่วยงานช่วยดูแลอย่างใกล้ชิด จึงไม่น่าเป็นห่วงแล้ว” รมว.ยุติธรรม กล่าว | https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/55270 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค (Thailand Regional Economic Sentiment Index: RSI) ประจำเดือนกรกฎาคม2564 | วันพุธที่ 28 กรกฎาคม 2564
ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค (Thailand Regional Economic Sentiment Index: RSI) ประจําเดือนกรกฎาคม2564
ดัชนี RSI เดือน ก.ค.2564 ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้าทุกภูมิภาคเนื่องจากได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 อย่างไรก็ดี ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคเหนือยังมีความเชื่อมั่นเศรษฐกิจที่ดีขึ้นในอนาคต
นางสาวกุลยา ตันติเตมิท ผู้อํานวยการสํานักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยรายงานดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาคประจําเดือนกรกฎาคม2564จากการประมวลผลข้อมูลการสํารวจภาวะเศรษฐกิจรายจังหวัดจากสํานักงานคลังจังหวัด76 จังหวัดทั่วประเทศสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยเพื่อจัดทําดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาคพบว่า “ดัชนี RSI เดือนกรกฎาคม 2564 ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้าทุกภูมิภาค เนื่องจากได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Coronavirus Disease 2019: COVID-19) อย่างไรก็ดี ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคเหนือ ยังมีความเชื่อมั่นเศรษฐกิจที่ดีขึ้นในอนาคต”
ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนืออยู่ที่ระดับ 57.6 แสดงถึงความเชื่อมั่นเศรษฐกิจในอนาคตที่มีทิศทางที่ดีขึ้นโดยเฉพาะภาคเกษตรและภาคอุตสาหกรรม เนื่องจากเข้าสู่ช่วงฤดูเก็บเกี่ยวผลผลิตพืชเศรษฐกิจที่สําคัญเช่นข้าวนาปีอ้อยโรงงานและมันสําปะหลัง ประกอบกับการสนับสนุนจากนโยบายภาครัฐในการช่วยเหลือเกษตรกรสําหรับภาคอุตสาหกรรมคาดว่าความต้องการสินค้าอุตสาหกรรมจะเพิ่มขึ้นจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคตะวันออกอยู่ที่ระดับ 56.1แสดงถึงความเชื่อมั่นเศรษฐกิจในอนาคตที่ดีขึ้นเช่นกันโดยมีปัจจัยสนับสนุนจากภาคเกษตรและภาคอุตสาหกรรม เนื่องจากสภาพภูมิอากาศที่เอื้ออํานวยต่อการทําการเกษตร ส่งผลให้มีแนวโน้มผลผลิตที่เพิ่มขึ้นนอกจากนี้ ยังมีความต้องการสินค้าเกษตรจากตลาดในประเทศที่เพิ่มขึ้นอีกด้วย ในส่วนของภาคอุตสาหกรรมคาดว่าความต้องการสินค้าอุตสาหกรรมในตลาดต่างประเทศจะเพิ่มสูงขึ้นตามการส่งออกของไทยมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจของภาคเหนืออยู่ที่ระดับ 51.7สะท้อนถึงความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจในอนาคตที่ดีขึ้น โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากภาคเกษตรและภาคอุตสาหกรรรม เนื่องจากปริมาณน้ํามีเพียงพอต่อการเพาะปลูก ประกอบกับการเริ่มเข้าสู่ฤดูเก็บเกี่ยวพืชเศรษฐกิจสําคัญ เช่น ลําไย และน้อยหน่า เป็นต้นสําหรับภาคอุตสาหกรรม คาดว่าความต้องการสินค้าอุตสาหกรรมภายในประเทศจะเพิ่มขึ้นดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคใต้อยู่ที่ระดับ 46.8 สะท้อนถึงความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจที่ปรับตัวชะลอลง แต่ยังมีปัจจัยสนับสนุนจากภาคเกษตร เนื่องจากปริมาณผลผลิตทางการเกษตรที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เช่น มังคุด และทุเรียน เป็นต้นดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคตะวันตกอยู่ที่ 41.7 สะท้อนถึงความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจที่ชะลอลงเช่นกัน แต่ยังมีปัจจัยสนับสนุนจากภาคเกษตรซึ่งยังมีแนวโน้มความเชื่อมั่นที่ดีขึ้น เนื่องจากเข้าสู่ฤดูการเก็บเกี่ยวข้าว และคาดว่าจะมีความต้องการสินค้าเกษตรภายในประเทศที่เพิ่มขึ้นดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจของ กทม. และปริมณฑลอยู่ที่ 40.2 สะท้อนความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงโดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคการลงทุนและการจ้างงานที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ทําให้ต้องลดปริมาณการผลิต และลดชั่วโมงการทํางานลงในส่วนของดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจของภาคกลางอยู่ที่ระดับ 37.7 สะท้อนภาวะอนาคตเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงเนื่องจากได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เช่นกันโดยเฉพาะในภาคการลงทุน ส่งผลให้ผู้ประกอบการชะลอการลงทุนลง
สํานักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค สํานักงานเศรษฐกิจการคลัง
โทร. 0-2273-9020ต่อ 3254 | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค (Thailand Regional Economic Sentiment Index: RSI) ประจำเดือนกรกฎาคม2564
วันพุธที่ 28 กรกฎาคม 2564
ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค (Thailand Regional Economic Sentiment Index: RSI) ประจําเดือนกรกฎาคม2564
ดัชนี RSI เดือน ก.ค.2564 ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้าทุกภูมิภาคเนื่องจากได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 อย่างไรก็ดี ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคเหนือยังมีความเชื่อมั่นเศรษฐกิจที่ดีขึ้นในอนาคต
นางสาวกุลยา ตันติเตมิท ผู้อํานวยการสํานักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยรายงานดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาคประจําเดือนกรกฎาคม2564จากการประมวลผลข้อมูลการสํารวจภาวะเศรษฐกิจรายจังหวัดจากสํานักงานคลังจังหวัด76 จังหวัดทั่วประเทศสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยเพื่อจัดทําดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาคพบว่า “ดัชนี RSI เดือนกรกฎาคม 2564 ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้าทุกภูมิภาค เนื่องจากได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Coronavirus Disease 2019: COVID-19) อย่างไรก็ดี ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคเหนือ ยังมีความเชื่อมั่นเศรษฐกิจที่ดีขึ้นในอนาคต”
ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนืออยู่ที่ระดับ 57.6 แสดงถึงความเชื่อมั่นเศรษฐกิจในอนาคตที่มีทิศทางที่ดีขึ้นโดยเฉพาะภาคเกษตรและภาคอุตสาหกรรม เนื่องจากเข้าสู่ช่วงฤดูเก็บเกี่ยวผลผลิตพืชเศรษฐกิจที่สําคัญเช่นข้าวนาปีอ้อยโรงงานและมันสําปะหลัง ประกอบกับการสนับสนุนจากนโยบายภาครัฐในการช่วยเหลือเกษตรกรสําหรับภาคอุตสาหกรรมคาดว่าความต้องการสินค้าอุตสาหกรรมจะเพิ่มขึ้นจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคตะวันออกอยู่ที่ระดับ 56.1แสดงถึงความเชื่อมั่นเศรษฐกิจในอนาคตที่ดีขึ้นเช่นกันโดยมีปัจจัยสนับสนุนจากภาคเกษตรและภาคอุตสาหกรรม เนื่องจากสภาพภูมิอากาศที่เอื้ออํานวยต่อการทําการเกษตร ส่งผลให้มีแนวโน้มผลผลิตที่เพิ่มขึ้นนอกจากนี้ ยังมีความต้องการสินค้าเกษตรจากตลาดในประเทศที่เพิ่มขึ้นอีกด้วย ในส่วนของภาคอุตสาหกรรมคาดว่าความต้องการสินค้าอุตสาหกรรมในตลาดต่างประเทศจะเพิ่มสูงขึ้นตามการส่งออกของไทยมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจของภาคเหนืออยู่ที่ระดับ 51.7สะท้อนถึงความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจในอนาคตที่ดีขึ้น โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากภาคเกษตรและภาคอุตสาหกรรรม เนื่องจากปริมาณน้ํามีเพียงพอต่อการเพาะปลูก ประกอบกับการเริ่มเข้าสู่ฤดูเก็บเกี่ยวพืชเศรษฐกิจสําคัญ เช่น ลําไย และน้อยหน่า เป็นต้นสําหรับภาคอุตสาหกรรม คาดว่าความต้องการสินค้าอุตสาหกรรมภายในประเทศจะเพิ่มขึ้นดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคใต้อยู่ที่ระดับ 46.8 สะท้อนถึงความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจที่ปรับตัวชะลอลง แต่ยังมีปัจจัยสนับสนุนจากภาคเกษตร เนื่องจากปริมาณผลผลิตทางการเกษตรที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เช่น มังคุด และทุเรียน เป็นต้นดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคตะวันตกอยู่ที่ 41.7 สะท้อนถึงความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจที่ชะลอลงเช่นกัน แต่ยังมีปัจจัยสนับสนุนจากภาคเกษตรซึ่งยังมีแนวโน้มความเชื่อมั่นที่ดีขึ้น เนื่องจากเข้าสู่ฤดูการเก็บเกี่ยวข้าว และคาดว่าจะมีความต้องการสินค้าเกษตรภายในประเทศที่เพิ่มขึ้นดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจของ กทม. และปริมณฑลอยู่ที่ 40.2 สะท้อนความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงโดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคการลงทุนและการจ้างงานที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ทําให้ต้องลดปริมาณการผลิต และลดชั่วโมงการทํางานลงในส่วนของดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจของภาคกลางอยู่ที่ระดับ 37.7 สะท้อนภาวะอนาคตเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงเนื่องจากได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เช่นกันโดยเฉพาะในภาคการลงทุน ส่งผลให้ผู้ประกอบการชะลอการลงทุนลง
สํานักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค สํานักงานเศรษฐกิจการคลัง
โทร. 0-2273-9020ต่อ 3254 | https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/44206 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ครม.อนุมัติกฎหมายเพิ่มความปลอดภัยแก่ผู้ใช้ยานพาหนะ กำหนดให้ยางล้อแบบสูบลมหล่อดอกซ้ำ รถบัส-รถพ่วง ต้องผ่านมาตรฐาน มอก. สอดคล้องกับข้อกำหนดสากล | วันอังคารที่ 22 มิถุนายน 2564
ครม.อนุมัติกฎหมายเพิ่มความปลอดภัยแก่ผู้ใช้ยานพาหนะ กําหนดให้ยางล้อแบบสูบลมหล่อดอกซ้ํา รถบัส-รถพ่วง ต้องผ่านมาตรฐาน มอก. สอดคล้องกับข้อกําหนดสากล
ครม.อนุมัติกฎหมายเพิ่มความปลอดภัยแก่ผู้ใช้ยานพาหนะ กําหนดให้ยางล้อแบบสูบลมหล่อดอกซ้ํา รถบัส-รถพ่วง ต้องผ่านมาตรฐาน มอก. สอดคล้องกับข้อกําหนดสากล
นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2564 ว่า เนื่องจากปัจจุบันได้มีการนํายางล้อแบบสูบลมของรถบัส รถบรรทุก หรือรถพ่วง ซึ่งเป็นยางเก่าผ่านการใช้งานมานานและดอกยางสึกเสื่อมสภาพ นํากลับมาหล่อดอกยางใหม่แล้ววางขายในท้องตลาดจํานวนมาก และมีราคาถูกกว่ายางใหม่ แต่ยางหล่อดอกซ้ําเหล่านี้ไม่ได้รับการตรวจสอบคุณภาพและผ่านมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ส่งผลให้เกิดความไม่ปลอดภัยแก่ผู้บริโภค ดังนั้น ครม.จึงอนุมัติร่างกฎกระทรวงกําหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมยางล้อแบบสูบลมหล่อดอกซ้ํา สําหรับยานยนต์เชิงพาณิชย์และส่วนพ่วง ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. ....ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ เพื่อให้สอดคล้องกับข้อกําหนดทางเทคนิคยานยนต์ของสหประชาชาติ (UN Regulation No. 109) และส่งเสริมให้เป็นสินค้าที่มีคุณภาพตามมาตรฐานและเพิ่มความปลอดภัยแก่ผู้บริโภค ซึ่งร่างกฎกระทรวงมีสาระสําคัญ เป็นการกําหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมยางล้อแบบสูบลมหล่อดอกซ้ํา สําหรับยานยนต์เชิงพาณิชย์และส่วนพ่วง ต้องเป็นไปตามมาตรฐานเลขที่ มอก. 2979 - 2562 ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 5471 พ.ศ.2562 โดยจะมีผลบังคับใช้เมื่อพ้นกําหนด 180 วัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ทั้งนี้ ผู้ผลิตหรือผู้นําเข้ายางล้อแบบสูบลมหล่อดอกซ้ํา สําหรับเชิงพาณิชย์และส่วนพ่วง จะต้องได้รับใบอนุญาตผลิตหรือนําเข้า ตามพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 และผู้จําหน่ายจะต้องจําหน่ายสินค้าที่ได้รับใบอนุญาตและมีการแสดงเครื่องหมายมาตรฐานถูกต้องครบถ้วน
ที่ผ่านมา กระทรวงอุตสาหกรรม โดยสํานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ได้จัดรับฟังความคิดเห็นผ่านทางเว็บไซต์ สมอ. (www.tisi.go.th) และแจ้งไปยังกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียให้ร่วมแสดงความคิดเห็นเรียบร้อยแล้ว เช่น สมาคมวิศวกรรมยานยนต์ไทย กรมการขนส่งทางบก สถาบันยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สมาคมผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทย สมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย และผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้อง รวม 140 ราย ซึ่งส่วนใหญ่เห็นด้วยกับร่างกฎกระทรวง
นางสาวรัชดา กล่าวด้วยว่า ประโยชน์ที่จะได้รับ เมื่อร่างกฎกระทรวงฉบับนี้มีผลบังคับใช้ คือ 1) เพิ่มขีดความสามารถของผู้ประกอบการยางล้อแบบสูบลมหล่อดอกซ้ําในการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ และป้องกันการนํายางล้อหล่อดอกซ้ําที่ไม่ได้มาตรฐานเข้ามาจําหน่ายในประเทศ 2) เป็นการสร้างความมั่นใจแก่ผู้บริโภคในการซื้อสินค้าที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐานรับรอง และคุ้มครองความปลอดภัยแก่ผู้บริโภค
..........................................
กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สํานักโฆษก | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ครม.อนุมัติกฎหมายเพิ่มความปลอดภัยแก่ผู้ใช้ยานพาหนะ กำหนดให้ยางล้อแบบสูบลมหล่อดอกซ้ำ รถบัส-รถพ่วง ต้องผ่านมาตรฐาน มอก. สอดคล้องกับข้อกำหนดสากล
วันอังคารที่ 22 มิถุนายน 2564
ครม.อนุมัติกฎหมายเพิ่มความปลอดภัยแก่ผู้ใช้ยานพาหนะ กําหนดให้ยางล้อแบบสูบลมหล่อดอกซ้ํา รถบัส-รถพ่วง ต้องผ่านมาตรฐาน มอก. สอดคล้องกับข้อกําหนดสากล
ครม.อนุมัติกฎหมายเพิ่มความปลอดภัยแก่ผู้ใช้ยานพาหนะ กําหนดให้ยางล้อแบบสูบลมหล่อดอกซ้ํา รถบัส-รถพ่วง ต้องผ่านมาตรฐาน มอก. สอดคล้องกับข้อกําหนดสากล
นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2564 ว่า เนื่องจากปัจจุบันได้มีการนํายางล้อแบบสูบลมของรถบัส รถบรรทุก หรือรถพ่วง ซึ่งเป็นยางเก่าผ่านการใช้งานมานานและดอกยางสึกเสื่อมสภาพ นํากลับมาหล่อดอกยางใหม่แล้ววางขายในท้องตลาดจํานวนมาก และมีราคาถูกกว่ายางใหม่ แต่ยางหล่อดอกซ้ําเหล่านี้ไม่ได้รับการตรวจสอบคุณภาพและผ่านมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ส่งผลให้เกิดความไม่ปลอดภัยแก่ผู้บริโภค ดังนั้น ครม.จึงอนุมัติร่างกฎกระทรวงกําหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมยางล้อแบบสูบลมหล่อดอกซ้ํา สําหรับยานยนต์เชิงพาณิชย์และส่วนพ่วง ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. ....ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ เพื่อให้สอดคล้องกับข้อกําหนดทางเทคนิคยานยนต์ของสหประชาชาติ (UN Regulation No. 109) และส่งเสริมให้เป็นสินค้าที่มีคุณภาพตามมาตรฐานและเพิ่มความปลอดภัยแก่ผู้บริโภค ซึ่งร่างกฎกระทรวงมีสาระสําคัญ เป็นการกําหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมยางล้อแบบสูบลมหล่อดอกซ้ํา สําหรับยานยนต์เชิงพาณิชย์และส่วนพ่วง ต้องเป็นไปตามมาตรฐานเลขที่ มอก. 2979 - 2562 ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 5471 พ.ศ.2562 โดยจะมีผลบังคับใช้เมื่อพ้นกําหนด 180 วัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ทั้งนี้ ผู้ผลิตหรือผู้นําเข้ายางล้อแบบสูบลมหล่อดอกซ้ํา สําหรับเชิงพาณิชย์และส่วนพ่วง จะต้องได้รับใบอนุญาตผลิตหรือนําเข้า ตามพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 และผู้จําหน่ายจะต้องจําหน่ายสินค้าที่ได้รับใบอนุญาตและมีการแสดงเครื่องหมายมาตรฐานถูกต้องครบถ้วน
ที่ผ่านมา กระทรวงอุตสาหกรรม โดยสํานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ได้จัดรับฟังความคิดเห็นผ่านทางเว็บไซต์ สมอ. (www.tisi.go.th) และแจ้งไปยังกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียให้ร่วมแสดงความคิดเห็นเรียบร้อยแล้ว เช่น สมาคมวิศวกรรมยานยนต์ไทย กรมการขนส่งทางบก สถาบันยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สมาคมผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทย สมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย และผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้อง รวม 140 ราย ซึ่งส่วนใหญ่เห็นด้วยกับร่างกฎกระทรวง
นางสาวรัชดา กล่าวด้วยว่า ประโยชน์ที่จะได้รับ เมื่อร่างกฎกระทรวงฉบับนี้มีผลบังคับใช้ คือ 1) เพิ่มขีดความสามารถของผู้ประกอบการยางล้อแบบสูบลมหล่อดอกซ้ําในการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ และป้องกันการนํายางล้อหล่อดอกซ้ําที่ไม่ได้มาตรฐานเข้ามาจําหน่ายในประเทศ 2) เป็นการสร้างความมั่นใจแก่ผู้บริโภคในการซื้อสินค้าที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐานรับรอง และคุ้มครองความปลอดภัยแก่ผู้บริโภค
..........................................
กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สํานักโฆษก | https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/42976 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกฯ หารือเอกอัครราชทูตนิวซีแลนด์ฯ ผลักดันความร่วมมือทางการค้าและการลงทุน เกษตรและอาหาร พร้อมสนับสนุนไทยอย่างเต็มที่ในการเป็นเจ้าภาพเอเปค 2565 | วันจันทร์ที่ 8 สิงหาคม 2565
นายกฯ หารือเอกอัครราชทูตนิวซีแลนด์ฯ ผลักดันความร่วมมือทางการค้าและการลงทุน เกษตรและอาหาร พร้อมสนับสนุนไทยอย่างเต็มที่ในการเป็นเจ้าภาพเอเปค 2565
นายกฯ หารือเอกอัครราชทูตนิวซีแลนด์ฯ ผลักดันความร่วมมือทางการค้าและการลงทุน เกษตรและอาหาร พร้อมสนับสนุนไทยอย่างเต็มที่ในการเป็นเจ้าภาพเอเปค 2565
วันนี้ (8 สิงหาคม 2565) เวลา 13.30 น. ณ ห้องสีงาช้าง ตึกไทยคู่ฟ้า ทําเนียบรัฐบาล นายโจนาทาน เดล คิงส์ (H.E. Mr. Jonathan Dale Kings) เอกอัครราชทูตนิวซีแลนด์ประจําประเทศไทยเข้าเยี่ยมคารวะ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในโอกาสเข้ารับหน้าที่ โดยภายหลังเสร็จสิ้นการหารือ นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยสาระสําคัญ ดังนี้
นายกรัฐมนตรียินดีกับการเข้ารับตําแหน่งในประเทศไทย หวังว่าจะสานต่อและขยายความร่วมมือทวิภาคี รวมทั้งเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างกันมากยิ่งขึ้นทั้งในระดับภูมิภาค อนุภูมิภาค และเวทีพหุภาคี นอกจากนี้ ยังฝากความระลึกถึงไปยังนายกรัฐมนตรีจาซินดา อาร์เดิร์น ของนิวซีแลนด์ ซึ่งได้มีโอกาสหารือทวิภาคีกันในหลายโอกาสถึงความร่วมมือของทั้งสองประเทศ ไทยเป็นเจ้าภาพการประชุมเอเปคต่อจากนิวซีแลนด์เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2564 หวังว่าจะได้ต้อนรับนายกรัฐมนตรีนิวซีแลนด์ในการประชุมผู้นําเอเปคที่ประเทศไทยในเดือนพฤศจิกายน 2565 นี้
เอกอัครราชทูตนิวซีแลนด์ฯ ยินดีที่ได้รับตําแหน่งในประเทศไทย โดยไทยและนิวซีแลนด์มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดและความร่วมมือที่ครอบคลุมทุกมิติต่อเนื่องตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ไทยถือเป็นมิตรประเทศที่สําคัญ พร้อมยืนยันจะกระชับความสัมพันธ์ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น และสานต่อความร่วมมือต่าง ๆ ของสองประเทศ ทั้งการเพิ่มมูลค้าทางการค้าและการลงทุน การส่งเสริมความร่วมมือด้านท่องเที่ยวเพื่อยกระดับความสัมพันธ์ระหว่างประชาชน ความร่วมมือในกรอบพหุภาคี ทั้งในอนุภูมิภาคลุ่มน้ําโขง อาเซียน ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก และความร่วมมือในประเด็นระดับโลก
ทั้งสองฝ่ายยินดีที่การค้าระหว่างไทยกับนิวซีแลนด์ในปี 2564 ขยายตัวเพิ่มขึ้น สะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพของทั้งสองประเทศแม้ต้องเผชิญกับโควิด - 19 นายกรัฐมนตรีเชิญชวนนักธุรกิจและนักลงทุนจากนิวซีแลนด์ให้มาร่วมลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษ EEC โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมที่นิวซีแลนด์มีความเชี่ยวชาญ อาทิ การเกษตรอัจฉริยะ และเทคโนโลยีชีวภาพ ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดเศรษฐกิจ BCG ของไทย และแผนเศรษฐกิจ 30 ปีของนิวซีแลนด์ โดยไทยมุ่งที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจใหม่ควบคู่กับการพัฒนาเทคโนโลยีและดิจิทัลเพื่อเชื่อมโยงกับห่วงโซ่อุปทานของโลกอย่างมีศักยภาพ ซึ่งเอกอัครราชทูตนิวซีแลนด์ฯ ยินดีผลักดันให้มูลค้าการค้าของทั้งสองฝ่ายเพิ่มมากขึ้น และจะพิจารณาส่งเสริมให้ภาคเอกชนของนิวซีแลนด์เข้ามาลงทุนใน EEC
ด้านการเกษตรและอาหาร นายกรัฐมนตรีหวังว่าทั้งสองฝ่ายจะแสวงหาความร่วมมือด้านเทคโนโลยีการเกษตรและปศุสัตว์ภายใต้โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตน้ํานมดิบอย่างยั่งยืนของเกษตรกรโคนมไทย เพื่อพัฒนาโคนมระหว่างกัน ตลอดจนความร่วมมือด้านนวัตกรรมอาหารที่นิวซีแลนด์มีศักยภาพ ซึ่งเอกอัครราชทูตนิวซีแลนด์ฯ ยินดีแลกเปลี่ยนความร่วมมือและประสบการณ์กับไทย เพื่อส่งเสริมความร่วมมือในด้านดังกล่าวให้มากยิ่งขึ้น
ในตอนท้าย ทั้งสองได้หารือถึงความร่วมมือในกรอบพหุภาคี โดยนายกรัฐมนตรีชื่นชมบทบาทของอาเซียน-นิวซีแลนด์ที่ดําเนินมาอย่างราบรื่นตลอด 47 ปี และขอบคุณนิวซีแลนด์ที่ช่วยอาเซียนในการรับมือกับโควิด - 19 รวมทั้งยินดีที่นิวซีแลนด์ได้แสดงความประสงค์เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาอนุภูมิภาคลุ่มน้ําโขง นอกจากนี้ เอกอัครราชทูตนิวซีแลนด์ฯ ยังได้หารือและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นอย่างสร้างสรรค์ในประเด็นสถานการณ์ในภูมิภาค โดยเอกอัครราชทูตชื่นชมบทบาทของไทยในการช่วยเหลือทางมนุษยธรรมแก่เมียนมา พร้อมทั้งยินดีสนับสนุนไทยอย่างเต็มที่ในการเป็นเจ้าภาพเอเปคในปีนี้ | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกฯ หารือเอกอัครราชทูตนิวซีแลนด์ฯ ผลักดันความร่วมมือทางการค้าและการลงทุน เกษตรและอาหาร พร้อมสนับสนุนไทยอย่างเต็มที่ในการเป็นเจ้าภาพเอเปค 2565
วันจันทร์ที่ 8 สิงหาคม 2565
นายกฯ หารือเอกอัครราชทูตนิวซีแลนด์ฯ ผลักดันความร่วมมือทางการค้าและการลงทุน เกษตรและอาหาร พร้อมสนับสนุนไทยอย่างเต็มที่ในการเป็นเจ้าภาพเอเปค 2565
นายกฯ หารือเอกอัครราชทูตนิวซีแลนด์ฯ ผลักดันความร่วมมือทางการค้าและการลงทุน เกษตรและอาหาร พร้อมสนับสนุนไทยอย่างเต็มที่ในการเป็นเจ้าภาพเอเปค 2565
วันนี้ (8 สิงหาคม 2565) เวลา 13.30 น. ณ ห้องสีงาช้าง ตึกไทยคู่ฟ้า ทําเนียบรัฐบาล นายโจนาทาน เดล คิงส์ (H.E. Mr. Jonathan Dale Kings) เอกอัครราชทูตนิวซีแลนด์ประจําประเทศไทยเข้าเยี่ยมคารวะ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในโอกาสเข้ารับหน้าที่ โดยภายหลังเสร็จสิ้นการหารือ นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยสาระสําคัญ ดังนี้
นายกรัฐมนตรียินดีกับการเข้ารับตําแหน่งในประเทศไทย หวังว่าจะสานต่อและขยายความร่วมมือทวิภาคี รวมทั้งเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างกันมากยิ่งขึ้นทั้งในระดับภูมิภาค อนุภูมิภาค และเวทีพหุภาคี นอกจากนี้ ยังฝากความระลึกถึงไปยังนายกรัฐมนตรีจาซินดา อาร์เดิร์น ของนิวซีแลนด์ ซึ่งได้มีโอกาสหารือทวิภาคีกันในหลายโอกาสถึงความร่วมมือของทั้งสองประเทศ ไทยเป็นเจ้าภาพการประชุมเอเปคต่อจากนิวซีแลนด์เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2564 หวังว่าจะได้ต้อนรับนายกรัฐมนตรีนิวซีแลนด์ในการประชุมผู้นําเอเปคที่ประเทศไทยในเดือนพฤศจิกายน 2565 นี้
เอกอัครราชทูตนิวซีแลนด์ฯ ยินดีที่ได้รับตําแหน่งในประเทศไทย โดยไทยและนิวซีแลนด์มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดและความร่วมมือที่ครอบคลุมทุกมิติต่อเนื่องตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ไทยถือเป็นมิตรประเทศที่สําคัญ พร้อมยืนยันจะกระชับความสัมพันธ์ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น และสานต่อความร่วมมือต่าง ๆ ของสองประเทศ ทั้งการเพิ่มมูลค้าทางการค้าและการลงทุน การส่งเสริมความร่วมมือด้านท่องเที่ยวเพื่อยกระดับความสัมพันธ์ระหว่างประชาชน ความร่วมมือในกรอบพหุภาคี ทั้งในอนุภูมิภาคลุ่มน้ําโขง อาเซียน ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก และความร่วมมือในประเด็นระดับโลก
ทั้งสองฝ่ายยินดีที่การค้าระหว่างไทยกับนิวซีแลนด์ในปี 2564 ขยายตัวเพิ่มขึ้น สะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพของทั้งสองประเทศแม้ต้องเผชิญกับโควิด - 19 นายกรัฐมนตรีเชิญชวนนักธุรกิจและนักลงทุนจากนิวซีแลนด์ให้มาร่วมลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษ EEC โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมที่นิวซีแลนด์มีความเชี่ยวชาญ อาทิ การเกษตรอัจฉริยะ และเทคโนโลยีชีวภาพ ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดเศรษฐกิจ BCG ของไทย และแผนเศรษฐกิจ 30 ปีของนิวซีแลนด์ โดยไทยมุ่งที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจใหม่ควบคู่กับการพัฒนาเทคโนโลยีและดิจิทัลเพื่อเชื่อมโยงกับห่วงโซ่อุปทานของโลกอย่างมีศักยภาพ ซึ่งเอกอัครราชทูตนิวซีแลนด์ฯ ยินดีผลักดันให้มูลค้าการค้าของทั้งสองฝ่ายเพิ่มมากขึ้น และจะพิจารณาส่งเสริมให้ภาคเอกชนของนิวซีแลนด์เข้ามาลงทุนใน EEC
ด้านการเกษตรและอาหาร นายกรัฐมนตรีหวังว่าทั้งสองฝ่ายจะแสวงหาความร่วมมือด้านเทคโนโลยีการเกษตรและปศุสัตว์ภายใต้โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตน้ํานมดิบอย่างยั่งยืนของเกษตรกรโคนมไทย เพื่อพัฒนาโคนมระหว่างกัน ตลอดจนความร่วมมือด้านนวัตกรรมอาหารที่นิวซีแลนด์มีศักยภาพ ซึ่งเอกอัครราชทูตนิวซีแลนด์ฯ ยินดีแลกเปลี่ยนความร่วมมือและประสบการณ์กับไทย เพื่อส่งเสริมความร่วมมือในด้านดังกล่าวให้มากยิ่งขึ้น
ในตอนท้าย ทั้งสองได้หารือถึงความร่วมมือในกรอบพหุภาคี โดยนายกรัฐมนตรีชื่นชมบทบาทของอาเซียน-นิวซีแลนด์ที่ดําเนินมาอย่างราบรื่นตลอด 47 ปี และขอบคุณนิวซีแลนด์ที่ช่วยอาเซียนในการรับมือกับโควิด - 19 รวมทั้งยินดีที่นิวซีแลนด์ได้แสดงความประสงค์เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาอนุภูมิภาคลุ่มน้ําโขง นอกจากนี้ เอกอัครราชทูตนิวซีแลนด์ฯ ยังได้หารือและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นอย่างสร้างสรรค์ในประเด็นสถานการณ์ในภูมิภาค โดยเอกอัครราชทูตชื่นชมบทบาทของไทยในการช่วยเหลือทางมนุษยธรรมแก่เมียนมา พร้อมทั้งยินดีสนับสนุนไทยอย่างเต็มที่ในการเป็นเจ้าภาพเอเปคในปีนี้ | https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/57784 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกรัฐมนตรีขอบคุณทีมแพทย์ชนบท 38 ทีม เร่งคัดกรองเชิงรุกในพื้นที่กทม. ระหว่าง 4-10 สิงหาคม ลดการแพร่ระบาดไวรัสโควิด -19 | วันอาทิตย์ที่ 8 สิงหาคม 2564
นายกรัฐมนตรีขอบคุณทีมแพทย์ชนบท 38 ทีม เร่งคัดกรองเชิงรุกในพื้นที่กทม. ระหว่าง 4-10 สิงหาคม ลดการแพร่ระบาดไวรัสโควิด -19
นายกรัฐมนตรีขอบคุณทีมแพทย์ชนบท 38 ทีม เร่งคัดกรองเชิงรุกในพื้นที่กทม. ระหว่าง 4-10 สิงหาคม ลดการแพร่ระบาดไวรัสโควิด -19
วันนี้ 8 ส.ค. 64 นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตี เปิดเผยว่า พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ชื่นชมทีมแพทย์ชนบท 38 ทีมจากทั่วประเทศ ร่วมดําเนินการเชิงรุกในพื้นที่ กทม. ตามแนวทางของศบค. และกระทรวงสาธารณสุข คีอเร่งตรวจหาเชื้อ เพื่อคัดแยกผู้ป่วยออกให้เร็วที่สุด ซึ่งผู้ติดเชื้อที่ไม่มีอาการหรือมีอาการเพียงเล็กน้อย จะถูกจัดระบบการดูแลรักษาที่บ้าน (Home Isolation) และที่ชุมชน (Community Isolation) พร้อมจ่ายยาฟ้าทะลายโจรหรือยาฟาวิพิราเวียร์ (Favipiravir) ช่วยลดการแพร่ระบาด ทําให้สามารถควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ในพื้นที่กรุงเทพมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ทั้งนี้ ทีมแพทย์ชนบท 38 ทีมจากทั่วประเทศ ประกอบด้วย ภาคเหนือ 6 ทีม ภาคกลาง 10 ทีม ภาคตะวันออก 2 ทีม ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 12 ทีม และภาคใต้ 8 ทีม เดินหน้าตรวจเชิงรุกในพื้นที่ กทม. ระหว่างวันที่ 4-10 สิงหาคมนี้ โดยในวันที่ 4 ส.ค. ตรวจ ATK ไป 14,715 คน พบติดเชื้อ 1,992 คน (13.5%) วันที่ 5 ส.ค ตรวจ ATK ไป 15,692 คน สะสม ณ วันที่ 5 ส.ค. ตรวจคัดกรองแล้ว จํานวน 30,407 คน พบติดเชื้อ 3,298 คน (10.8%) และได้มีการจ่ายยาฟาวิฟิราเวียร์ไป 66,700 เม็ด ทั้งนี้ มีเป้าหมายคัดกรองผู้ป่วย จํานวน 250,000 ราย และตั้งแต่วันที่ 6 ส.ค. ที่ผ่านมา ยังได้ให้บริการฉีดวัคซีนโควิด-19 ในกลุ่มผู้สูงอายุและผู้มีโรคเรื้อรังเพื่อให้บริการครบวงจรด้วย
"ท่านนายกรัฐมนตรีแสดงความชื่นชมความเสียสละและอุทิศตนของทีมแพทย์ชนบทที่เข้ามาสนับสนุนการควบคุมการแพร่ระบาดโควิด-19 ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข สํานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กรุงเทพมหานคร รวมทั้งทีมอาสาจากภาคประชาชน ซึ่งมั่นใจว่า ความสามัคคีของคนไทย จะเป็นพลังของชาติ ให้ไทยสามารถฝ่าวิกฤตโควิด-19 ครั้งนี้ไปได้" นายอนุชา ฯ กล่าว
...... | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกรัฐมนตรีขอบคุณทีมแพทย์ชนบท 38 ทีม เร่งคัดกรองเชิงรุกในพื้นที่กทม. ระหว่าง 4-10 สิงหาคม ลดการแพร่ระบาดไวรัสโควิด -19
วันอาทิตย์ที่ 8 สิงหาคม 2564
นายกรัฐมนตรีขอบคุณทีมแพทย์ชนบท 38 ทีม เร่งคัดกรองเชิงรุกในพื้นที่กทม. ระหว่าง 4-10 สิงหาคม ลดการแพร่ระบาดไวรัสโควิด -19
นายกรัฐมนตรีขอบคุณทีมแพทย์ชนบท 38 ทีม เร่งคัดกรองเชิงรุกในพื้นที่กทม. ระหว่าง 4-10 สิงหาคม ลดการแพร่ระบาดไวรัสโควิด -19
วันนี้ 8 ส.ค. 64 นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตี เปิดเผยว่า พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ชื่นชมทีมแพทย์ชนบท 38 ทีมจากทั่วประเทศ ร่วมดําเนินการเชิงรุกในพื้นที่ กทม. ตามแนวทางของศบค. และกระทรวงสาธารณสุข คีอเร่งตรวจหาเชื้อ เพื่อคัดแยกผู้ป่วยออกให้เร็วที่สุด ซึ่งผู้ติดเชื้อที่ไม่มีอาการหรือมีอาการเพียงเล็กน้อย จะถูกจัดระบบการดูแลรักษาที่บ้าน (Home Isolation) และที่ชุมชน (Community Isolation) พร้อมจ่ายยาฟ้าทะลายโจรหรือยาฟาวิพิราเวียร์ (Favipiravir) ช่วยลดการแพร่ระบาด ทําให้สามารถควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ในพื้นที่กรุงเทพมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ทั้งนี้ ทีมแพทย์ชนบท 38 ทีมจากทั่วประเทศ ประกอบด้วย ภาคเหนือ 6 ทีม ภาคกลาง 10 ทีม ภาคตะวันออก 2 ทีม ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 12 ทีม และภาคใต้ 8 ทีม เดินหน้าตรวจเชิงรุกในพื้นที่ กทม. ระหว่างวันที่ 4-10 สิงหาคมนี้ โดยในวันที่ 4 ส.ค. ตรวจ ATK ไป 14,715 คน พบติดเชื้อ 1,992 คน (13.5%) วันที่ 5 ส.ค ตรวจ ATK ไป 15,692 คน สะสม ณ วันที่ 5 ส.ค. ตรวจคัดกรองแล้ว จํานวน 30,407 คน พบติดเชื้อ 3,298 คน (10.8%) และได้มีการจ่ายยาฟาวิฟิราเวียร์ไป 66,700 เม็ด ทั้งนี้ มีเป้าหมายคัดกรองผู้ป่วย จํานวน 250,000 ราย และตั้งแต่วันที่ 6 ส.ค. ที่ผ่านมา ยังได้ให้บริการฉีดวัคซีนโควิด-19 ในกลุ่มผู้สูงอายุและผู้มีโรคเรื้อรังเพื่อให้บริการครบวงจรด้วย
"ท่านนายกรัฐมนตรีแสดงความชื่นชมความเสียสละและอุทิศตนของทีมแพทย์ชนบทที่เข้ามาสนับสนุนการควบคุมการแพร่ระบาดโควิด-19 ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข สํานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กรุงเทพมหานคร รวมทั้งทีมอาสาจากภาคประชาชน ซึ่งมั่นใจว่า ความสามัคคีของคนไทย จะเป็นพลังของชาติ ให้ไทยสามารถฝ่าวิกฤตโควิด-19 ครั้งนี้ไปได้" นายอนุชา ฯ กล่าว
...... | https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/44556 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สุพัฒนพงษ์ฯ เผยผลการเยือนญี่ปุ่นชื่นมื่นสองประเทศพร้อมจับมือขับเคลื่อนเศรษฐกิจสู่ยุคใหม่ | วันอังคารที่ 26 เมษายน 2565
สุพัฒนพงษ์ฯ เผยผลการเยือนญี่ปุ่นชื่นมื่นสองประเทศพร้อมจับมือขับเคลื่อนเศรษฐกิจสู่ยุคใหม่
สุพัฒนพงษ์ฯ เผยผลการเยือนญี่ปุ่นชื่นมื่นสองประเทศพร้อมจับมือขับเคลื่อนเศรษฐกิจสู่ยุคใหม่
สุพัฒนพงษ์ฯ เผยผลการเยือนญี่ปุ่นชื่นมื่น สองประเทศพร้อมจับมือขับเคลื่อนเศรษฐกิจสู่ยุคใหม่
สุพัฒนพงษ์ฯ เผยผลการเดินทางไปชักจูงการลงทุน ณ ประเทศญี่ปุ่น ภายใต้การเป็นหุ้นส่วนการร่วมสร้างสรรค์ (co - creation) ระหว่างไทย – ญี่ปุ่น เพื่อนําไปสู่การลงทุนในอนาคต บริษัทชั้นนําให้ความสนใจขยายการลงทุนในประเทศไทย โดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ พร้อมพิจารณาจัดตั้งสํานักงานภูมิภาคในประเทศไทยด้วย
นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า ระหว่างวันที่ 20 - 23 เมษายนที่ผ่านมา ได้นําคณะประกอบด้วย หม่อมหลวงชโยทิต กฤดากร ผู้แทนการค้าไทย นางสาวดวงใจ อัศวจินตจิตร์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน และผู้แทนหน่วยงานด้านเศรษฐกิจของไทย เดินทางไปชักจูงการลงทุน ณ กรุงโตเกียว และจังหวัดคานากาวะ ประเทศญี่ปุ่น โดยได้เข้าพบนายฮิโรคาสึ มัตสึโนะ เลขาธิการคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่น นายฮากิอูดะ โคอิจิ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ การค้าและอุตสาหกรรมญี่ปุ่น (METI) ประธานองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (JETRO) รวมทั้งประธานสมาพันธ์สมาคมธุรกิจที่ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น (Keidanren) และบริษัทเอกชนรายใหญ่ของญี่ปุ่น
ผลการหารือกับนายมัตสึโนะ ฮิโรคาสึ เลขาธิการคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่น ในฐานะผู้แทนของนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น และนายฮากิอูดะ โคอิจิ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ การค้าและอุตสาหกรรมญี่ปุ่น ทั้งสองฝ่ายได้ย้ําถึงความเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ที่ใกล้ชิดระหว่างไทยกับญี่ปุ่น ซึ่งในปีนี้เป็นโอกาสครบรอบ 135 ปี ของการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยกับญี่ปุ่น ญี่ปุ่นมีความมุ่งมั่นที่จะเสริมสร้างความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจระหว่างกันให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น และสนับสนุนให้เกิดการลงทุนอุตสาหกรรมใหม่ ๆ ขึ้นในประเทศไทย รวมทั้งเห็นพ้องร่วมกันที่จะเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างนโยบายเศรษฐกิจ BCG ของไทย และยุทธศาสตร์การเติบโตสีเขียวของญี่ปุ่น ซึ่งมีความสอดคล้องกัน
นอกจากนี้ ญี่ปุ่นเห็นว่าการสร้างความมั่นคงด้านพลังงานควบคู่ไปกับการลดการปล่อยคาร์บอนมีความสําคัญ จึงประสงค์ที่จะร่วมมือกับไทยผ่านการให้ความช่วยเหลือภายใต้ข้อริเริ่ม Asia Energy Transition Initiative (AETI) ของญี่ปุ่น และความร่วมมือในด้านพลังงานสะอาดด้วย
สําหรับการพบนักลงทุนรายสําคัญในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย ทั้งยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ และการแพทย์ ทุกบริษัทยืนยันให้ความเชื่อมั่นในศักยภาพของประเทศไทย พร้อมพิจารณาไทยเป็นฐานธุรกิจหลักของภูมิภาค และวางแผนขยายการลงทุนอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งการจัดตั้งสํานักงานภูมิภาคในประเทศไทย นอกจากนี้ ทุกรายยังให้ความสําคัญกับการมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน ซึ่งเป็นเป้าหมายที่สอดคล้องกับนโยบายของประเทศไทย และมีโอกาสสร้างความร่วมมือกันได้อีกมากด้วย
ในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า รองนายกรัฐมนตรีฯ ได้เน้นย้ํากับบริษัทว่ารัฐบาลไทยมีเจตจํานงที่ชัดเจนในการส่งเสริมให้ไทยเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าระดับโลก โดยได้หารือกับผู้ประกอบการทุกรายและได้ออกมาตรการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้า รวมทั้งระบบนิเวศของยานยนต์ไฟฟ้าแบบครบวงจร เช่น แบตเตอรี่ ชิ้นส่วนต่าง ๆ และสถานีชาร์จยานยนต์ไฟฟ้า ซึ่งทุกบริษัทยินดีให้ความร่วมมือกับมาตรการดังกล่าว โดยส่วนใหญ่มีแผนการพัฒนายานยนต์ไฟฟ้าที่สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลไทย และคาดว่าจะทยอยเข้าร่วมมาตรการสนับสนุน EV ได้ภายใน 1 - 2 ปีข้างหน้า นอกจากนี้ ได้มีการหารือเกี่ยวกับโอกาสในการสร้างความร่วมมือเพื่อส่งเสริมให้เกิดการผลิตแบตเตอรี่สําหรับยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย ซึ่งถือเป็นหัวใจสําคัญของการพัฒนาอุตสาหกรรมนี้ รวมถึงการส่งเสริมธุรกิจรีไซเคิลแบตเตอรี่ด้วย
ในกลุ่มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ บริษัทญี่ปุ่นมองไทยเป็นฐานการผลิตอิเล็กทรอนิกส์กลางน้ําและปลายน้ําที่แข็งแกร่ง และมีศักยภาพที่จะต่อยอดไปสู่การผลิตอิเล็กทรอนิกส์ต้นน้ําในกลุ่มเซมิคอนดักเตอร์ได้ในอนาคต รวมทั้งการผลิตอิเล็กทรอนิกส์สําหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าที่มีแนวโน้มความต้องการสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยประเทศไทยต้องให้ความสําคัญกับการเตรียมพร้อมด้านบุคลากรมากขึ้น นอกจากนี้ หลายบริษัทยังได้ขอบคุณรัฐบาลไทยและบีโอไอที่ได้ช่วยให้บริษัทสามารถรักษาการผลิตอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาดของโควิด ซึ่งได้ช่วยสร้างความมั่นใจในการยึดไทยเป็นฐานการผลิตสําคัญของภูมิภาคในระยะยาว
สําหรับกลุ่มอุตสาหกรรมการแพทย์ บริษัทได้แสดงความเชื่อมั่นในศักยภาพของบุคลากรด้านการแพทย์ของไทย โดยจะพิจารณาขยายธุรกิจในอุตสาหกรรมยาและการวิจัยทางคลินิกร่วมกับมหาวิทยาลัยและโรงพยาบาลต่าง ๆ ต่อไป นอกจากนี้ ยังได้หารือถึงเรื่องการใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์ในการดูแลผู้สูงอายุให้มีอายุยืน มีสุขภาพแข็งแรง และสามารถทํางานได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อประเทศไทยที่กําลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุด้วย
“ผลการเยือนเพื่อชักจูงการลงทุนประเทศญี่ปุ่นครั้งนี้เป็นที่น่าพอใจ และมีการหารือร่วมกันในหลายประเด็นกับญี่ปุ่นในฐานะหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ของไทย ซึ่งจะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้ก้าวสู่การเป็นฐานการผลิตของอุตสาหกรรมสมัยใหม่ที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง รวมถึงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจใหม่ตามโมเดล BCG ที่จะช่วยสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนระหว่างสองประเทศ” นายสุพัฒนพงษ์ กล่าว
ทั้งนี้ นายฟูมิโอะ คิชิดะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น มีกําหนดการเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการในเร็ว ๆ นี้ ซึ่งจะมีการหารือร่วมกันเพิ่มเติม รวมถึงติดตามความคืบหน้าด้านความร่วมมือ และสานต่อข้อริเริ่มการเป็นหุ้นส่วนการร่วมสร้างสรรค์ (co - creation) ระหว่างไทย – ญี่ปุ่น และนําไปสู่การลงทุนเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจในอนาคตร่วมกันของทั้งสองประเทศ นอกจากนี้ สมาพันธ์สมาคมธุรกิจญี่ปุ่น (Keidanren) มีแผนจะนําสมาชิกของกลุ่มเศรษฐกิจและการค้าไทย - ญี่ปุ่นกว่า 70 บริษัท เดินทางมาเยือนไทยเพื่อพบกับหน่วยงานภาครัฐและพันธมิตรทางธุรกิจในปีนี้อีกด้วย | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สุพัฒนพงษ์ฯ เผยผลการเยือนญี่ปุ่นชื่นมื่นสองประเทศพร้อมจับมือขับเคลื่อนเศรษฐกิจสู่ยุคใหม่
วันอังคารที่ 26 เมษายน 2565
สุพัฒนพงษ์ฯ เผยผลการเยือนญี่ปุ่นชื่นมื่นสองประเทศพร้อมจับมือขับเคลื่อนเศรษฐกิจสู่ยุคใหม่
สุพัฒนพงษ์ฯ เผยผลการเยือนญี่ปุ่นชื่นมื่นสองประเทศพร้อมจับมือขับเคลื่อนเศรษฐกิจสู่ยุคใหม่
สุพัฒนพงษ์ฯ เผยผลการเยือนญี่ปุ่นชื่นมื่น สองประเทศพร้อมจับมือขับเคลื่อนเศรษฐกิจสู่ยุคใหม่
สุพัฒนพงษ์ฯ เผยผลการเดินทางไปชักจูงการลงทุน ณ ประเทศญี่ปุ่น ภายใต้การเป็นหุ้นส่วนการร่วมสร้างสรรค์ (co - creation) ระหว่างไทย – ญี่ปุ่น เพื่อนําไปสู่การลงทุนในอนาคต บริษัทชั้นนําให้ความสนใจขยายการลงทุนในประเทศไทย โดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ พร้อมพิจารณาจัดตั้งสํานักงานภูมิภาคในประเทศไทยด้วย
นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า ระหว่างวันที่ 20 - 23 เมษายนที่ผ่านมา ได้นําคณะประกอบด้วย หม่อมหลวงชโยทิต กฤดากร ผู้แทนการค้าไทย นางสาวดวงใจ อัศวจินตจิตร์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน และผู้แทนหน่วยงานด้านเศรษฐกิจของไทย เดินทางไปชักจูงการลงทุน ณ กรุงโตเกียว และจังหวัดคานากาวะ ประเทศญี่ปุ่น โดยได้เข้าพบนายฮิโรคาสึ มัตสึโนะ เลขาธิการคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่น นายฮากิอูดะ โคอิจิ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ การค้าและอุตสาหกรรมญี่ปุ่น (METI) ประธานองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (JETRO) รวมทั้งประธานสมาพันธ์สมาคมธุรกิจที่ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น (Keidanren) และบริษัทเอกชนรายใหญ่ของญี่ปุ่น
ผลการหารือกับนายมัตสึโนะ ฮิโรคาสึ เลขาธิการคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่น ในฐานะผู้แทนของนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น และนายฮากิอูดะ โคอิจิ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ การค้าและอุตสาหกรรมญี่ปุ่น ทั้งสองฝ่ายได้ย้ําถึงความเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ที่ใกล้ชิดระหว่างไทยกับญี่ปุ่น ซึ่งในปีนี้เป็นโอกาสครบรอบ 135 ปี ของการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยกับญี่ปุ่น ญี่ปุ่นมีความมุ่งมั่นที่จะเสริมสร้างความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจระหว่างกันให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น และสนับสนุนให้เกิดการลงทุนอุตสาหกรรมใหม่ ๆ ขึ้นในประเทศไทย รวมทั้งเห็นพ้องร่วมกันที่จะเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างนโยบายเศรษฐกิจ BCG ของไทย และยุทธศาสตร์การเติบโตสีเขียวของญี่ปุ่น ซึ่งมีความสอดคล้องกัน
นอกจากนี้ ญี่ปุ่นเห็นว่าการสร้างความมั่นคงด้านพลังงานควบคู่ไปกับการลดการปล่อยคาร์บอนมีความสําคัญ จึงประสงค์ที่จะร่วมมือกับไทยผ่านการให้ความช่วยเหลือภายใต้ข้อริเริ่ม Asia Energy Transition Initiative (AETI) ของญี่ปุ่น และความร่วมมือในด้านพลังงานสะอาดด้วย
สําหรับการพบนักลงทุนรายสําคัญในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย ทั้งยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ และการแพทย์ ทุกบริษัทยืนยันให้ความเชื่อมั่นในศักยภาพของประเทศไทย พร้อมพิจารณาไทยเป็นฐานธุรกิจหลักของภูมิภาค และวางแผนขยายการลงทุนอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งการจัดตั้งสํานักงานภูมิภาคในประเทศไทย นอกจากนี้ ทุกรายยังให้ความสําคัญกับการมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน ซึ่งเป็นเป้าหมายที่สอดคล้องกับนโยบายของประเทศไทย และมีโอกาสสร้างความร่วมมือกันได้อีกมากด้วย
ในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า รองนายกรัฐมนตรีฯ ได้เน้นย้ํากับบริษัทว่ารัฐบาลไทยมีเจตจํานงที่ชัดเจนในการส่งเสริมให้ไทยเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าระดับโลก โดยได้หารือกับผู้ประกอบการทุกรายและได้ออกมาตรการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้า รวมทั้งระบบนิเวศของยานยนต์ไฟฟ้าแบบครบวงจร เช่น แบตเตอรี่ ชิ้นส่วนต่าง ๆ และสถานีชาร์จยานยนต์ไฟฟ้า ซึ่งทุกบริษัทยินดีให้ความร่วมมือกับมาตรการดังกล่าว โดยส่วนใหญ่มีแผนการพัฒนายานยนต์ไฟฟ้าที่สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลไทย และคาดว่าจะทยอยเข้าร่วมมาตรการสนับสนุน EV ได้ภายใน 1 - 2 ปีข้างหน้า นอกจากนี้ ได้มีการหารือเกี่ยวกับโอกาสในการสร้างความร่วมมือเพื่อส่งเสริมให้เกิดการผลิตแบตเตอรี่สําหรับยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย ซึ่งถือเป็นหัวใจสําคัญของการพัฒนาอุตสาหกรรมนี้ รวมถึงการส่งเสริมธุรกิจรีไซเคิลแบตเตอรี่ด้วย
ในกลุ่มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ บริษัทญี่ปุ่นมองไทยเป็นฐานการผลิตอิเล็กทรอนิกส์กลางน้ําและปลายน้ําที่แข็งแกร่ง และมีศักยภาพที่จะต่อยอดไปสู่การผลิตอิเล็กทรอนิกส์ต้นน้ําในกลุ่มเซมิคอนดักเตอร์ได้ในอนาคต รวมทั้งการผลิตอิเล็กทรอนิกส์สําหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าที่มีแนวโน้มความต้องการสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยประเทศไทยต้องให้ความสําคัญกับการเตรียมพร้อมด้านบุคลากรมากขึ้น นอกจากนี้ หลายบริษัทยังได้ขอบคุณรัฐบาลไทยและบีโอไอที่ได้ช่วยให้บริษัทสามารถรักษาการผลิตอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาดของโควิด ซึ่งได้ช่วยสร้างความมั่นใจในการยึดไทยเป็นฐานการผลิตสําคัญของภูมิภาคในระยะยาว
สําหรับกลุ่มอุตสาหกรรมการแพทย์ บริษัทได้แสดงความเชื่อมั่นในศักยภาพของบุคลากรด้านการแพทย์ของไทย โดยจะพิจารณาขยายธุรกิจในอุตสาหกรรมยาและการวิจัยทางคลินิกร่วมกับมหาวิทยาลัยและโรงพยาบาลต่าง ๆ ต่อไป นอกจากนี้ ยังได้หารือถึงเรื่องการใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์ในการดูแลผู้สูงอายุให้มีอายุยืน มีสุขภาพแข็งแรง และสามารถทํางานได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อประเทศไทยที่กําลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุด้วย
“ผลการเยือนเพื่อชักจูงการลงทุนประเทศญี่ปุ่นครั้งนี้เป็นที่น่าพอใจ และมีการหารือร่วมกันในหลายประเด็นกับญี่ปุ่นในฐานะหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ของไทย ซึ่งจะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้ก้าวสู่การเป็นฐานการผลิตของอุตสาหกรรมสมัยใหม่ที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง รวมถึงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจใหม่ตามโมเดล BCG ที่จะช่วยสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนระหว่างสองประเทศ” นายสุพัฒนพงษ์ กล่าว
ทั้งนี้ นายฟูมิโอะ คิชิดะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น มีกําหนดการเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการในเร็ว ๆ นี้ ซึ่งจะมีการหารือร่วมกันเพิ่มเติม รวมถึงติดตามความคืบหน้าด้านความร่วมมือ และสานต่อข้อริเริ่มการเป็นหุ้นส่วนการร่วมสร้างสรรค์ (co - creation) ระหว่างไทย – ญี่ปุ่น และนําไปสู่การลงทุนเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจในอนาคตร่วมกันของทั้งสองประเทศ นอกจากนี้ สมาพันธ์สมาคมธุรกิจญี่ปุ่น (Keidanren) มีแผนจะนําสมาชิกของกลุ่มเศรษฐกิจและการค้าไทย - ญี่ปุ่นกว่า 70 บริษัท เดินทางมาเยือนไทยเพื่อพบกับหน่วยงานภาครัฐและพันธมิตรทางธุรกิจในปีนี้อีกด้วย | https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/53915 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-วธ.เผย “รัสเซล โครว์” นักแสดงระดับโลกชื่นชม “Soft Power” ความเป็นไทย แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมและธรรมชาติ ติดใจรสชาติอาหารไทย “แกงพะแนง-ข้าวซอย” หนุนเผยแพร่สู่ทั่วโลก | วันอาทิตย์ที่ 24 ตุลาคม 2564
วธ.เผย “รัสเซล โครว์” นักแสดงระดับโลกชื่นชม “Soft Power” ความเป็นไทย แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมและธรรมชาติ ติดใจรสชาติอาหารไทย “แกงพะแนง-ข้าวซอย” หนุนเผยแพร่สู่ทั่วโลก
วธ.เผย “รัสเซล โครว์” นักแสดงระดับโลกชื่นชม “Soft Power” ความเป็นไทย แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมและธรรมชาติ ติดใจรสชาติอาหารไทย “แกงพะแนง-ข้าวซอย” หนุนเผยแพร่สู่ทั่วโลก
วธ.เผย “รัสเซล โครว์” นักแสดงระดับโลกชื่นชม “Soft Power” ความเป็นไทย แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมและธรรมชาติ ติดใจรสชาติอาหารไทย “แกงพะแนง-ข้าวซอย” หนุนเผยแพร่สู่ทั่วโลก ชมทีมกองถ่ายภาพยนตร์ไทยมีฝีมือและคุณภาพ
นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เปิดเผยว่า ได้รับมอบหมายจากพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ให้แสดงความขอบคุณและพบปะพูดคุยกับรัสเซล โครว์ นักแสดงชาวนิวซีแลนด์-ออสเตรเลียที่มีชื่อเสียงระดับโลก เจ้าของรางวัลออสการ์ สาขานักแสดงนําฝ่ายชายยอดเยี่ยมจากภาพยนตร์ เรื่อง Gladiator ในปี ค.ศ.2000 ที่โรงแรมแมนดารินโอเรียนเต็ล กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม ที่ผ่านมา เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเรื่อง "Soft Power” ความเป็นไทย โดยรัสเซล โครว์ ที่เดินทางมาประเทศไทยเพื่อถ่ายทําภาพยนตร์ “Beer Run” ช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคม 2564 ได้กล่าวแสดงความชื่นชมและบอกเล่าถึงประทับใจในความเป็นไทยทั้งในเรื่องของเมืองไทยที่มีความงดงามด้วยศิลปะและวัฒนธรรมไทย นิสัยและความมีน้ําใจมิตรไมตรีของคนไทย แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมและแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติเหมาะแก่การมาท่องเที่ยวพักผ่อน ซึ่งรัสเซล โครว์ได้เดินทางไปท่องเที่ยวทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด เช่น แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติในจ.ภูเก็ต บางกะเจ้า จ.สมุทรปราการ พร้อมกล่าวอยากให้เพิ่มป้ายบอกทางภาษาอังกฤษในพื้นที่ต่างๆให้มากขึ้นโดยเฉพาะแหล่งท่องเที่ยวใหม่ๆ และชื่นชอบอาหารไทย เช่น แกงพะแนง แกงเผ็ด ผัดไทยและชอบข้าวซอยเป็นพิเศษ รวมทั้งชื่นชมนโยบายรัฐบาลที่ส่งเสริมให้อาหารไทยเผยแพร่ไปทั่วโลก ขณะเดียวกันรัสเซล โครว์ ได้ชื่นชมกองถ่ายภาพยนตร์ไทย เป็นทีมงานที่มีฝีมือและมีคุณภาพ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวอีกว่า ได้กล่าวขอบคุณรัสเซล โครว์ที่ถ่ายทอดความประทับใจเกี่ยวกับ"Soft Power”ความเป็นไทย นับเป็นเรื่องน่ายินดีที่นักแสดงระดับโลกชื่นชมความเป็นไทยทั้งในด้านวัฒนธรรม ศิลปะ แหล่งทางวัฒนธรรมและแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ อาหารไทยและภาพยนตร์ไทย ทําให้แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติและอาหารไทยได้รับการเผยแพร่ไปสู่นานาชาติมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ วธ.จะนําข้อคิดเห็นที่ได้รับมาปรับใช้ในการขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาลและนโยบายนายกรัฐมนตรีที่มุ่งผลักดันการใช้ "Soft Power” ความเป็นไทยและอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (Creative Economy) ของไทยใน 15 สาขา เช่น ภาพยนตร์ ศิลปะการแสดง แฟชั่น อาหารไทยและการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม รวมถึงนโยบายวธ.ในการนําคุณค่าของวัฒนธรรมมาต่อยอดสร้างสรรค์สินค้าและบริการ (Creative Culture) ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมวัฒนธรรมที่มีศักยภาพ 5 F ได้แก่ อาหาร (Food) ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ (Film) ผ้าไทยและการออกแบบแฟชั่น (Fashion) มวยไทย (Fighting) และการอนุรักษ์และขับเคลื่อนเทศกาล ประเพณีสู่ระดับโลก (Festival) รวมถึงยุทธศาสตร์การส่งเสริมอุตสาหกรรมภาพยนตร์และวีดิทัศน์ ระยะที่ 3 (พ.ศ.2560 - 2564) โดยเฉพาะยุทธศาสตร์ที่ 4 การส่งเสริมให้ต่างชาติเข้ามาผลิตภาพยนตร์และวีดิทัศน์ ในประเทศไทยโดยร่วมกับกระทรวงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องส่งเสริมให้กองถ่ายทําภาพยนตร์ต่างชาติเข้ามาถ่ายทําในไทยอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างงาน สร้างรายได้ให้แก่ชุมชนและประเทศอย่างยั่งยืน | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-วธ.เผย “รัสเซล โครว์” นักแสดงระดับโลกชื่นชม “Soft Power” ความเป็นไทย แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมและธรรมชาติ ติดใจรสชาติอาหารไทย “แกงพะแนง-ข้าวซอย” หนุนเผยแพร่สู่ทั่วโลก
วันอาทิตย์ที่ 24 ตุลาคม 2564
วธ.เผย “รัสเซล โครว์” นักแสดงระดับโลกชื่นชม “Soft Power” ความเป็นไทย แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมและธรรมชาติ ติดใจรสชาติอาหารไทย “แกงพะแนง-ข้าวซอย” หนุนเผยแพร่สู่ทั่วโลก
วธ.เผย “รัสเซล โครว์” นักแสดงระดับโลกชื่นชม “Soft Power” ความเป็นไทย แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมและธรรมชาติ ติดใจรสชาติอาหารไทย “แกงพะแนง-ข้าวซอย” หนุนเผยแพร่สู่ทั่วโลก
วธ.เผย “รัสเซล โครว์” นักแสดงระดับโลกชื่นชม “Soft Power” ความเป็นไทย แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมและธรรมชาติ ติดใจรสชาติอาหารไทย “แกงพะแนง-ข้าวซอย” หนุนเผยแพร่สู่ทั่วโลก ชมทีมกองถ่ายภาพยนตร์ไทยมีฝีมือและคุณภาพ
นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เปิดเผยว่า ได้รับมอบหมายจากพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ให้แสดงความขอบคุณและพบปะพูดคุยกับรัสเซล โครว์ นักแสดงชาวนิวซีแลนด์-ออสเตรเลียที่มีชื่อเสียงระดับโลก เจ้าของรางวัลออสการ์ สาขานักแสดงนําฝ่ายชายยอดเยี่ยมจากภาพยนตร์ เรื่อง Gladiator ในปี ค.ศ.2000 ที่โรงแรมแมนดารินโอเรียนเต็ล กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม ที่ผ่านมา เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเรื่อง "Soft Power” ความเป็นไทย โดยรัสเซล โครว์ ที่เดินทางมาประเทศไทยเพื่อถ่ายทําภาพยนตร์ “Beer Run” ช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคม 2564 ได้กล่าวแสดงความชื่นชมและบอกเล่าถึงประทับใจในความเป็นไทยทั้งในเรื่องของเมืองไทยที่มีความงดงามด้วยศิลปะและวัฒนธรรมไทย นิสัยและความมีน้ําใจมิตรไมตรีของคนไทย แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมและแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติเหมาะแก่การมาท่องเที่ยวพักผ่อน ซึ่งรัสเซล โครว์ได้เดินทางไปท่องเที่ยวทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด เช่น แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติในจ.ภูเก็ต บางกะเจ้า จ.สมุทรปราการ พร้อมกล่าวอยากให้เพิ่มป้ายบอกทางภาษาอังกฤษในพื้นที่ต่างๆให้มากขึ้นโดยเฉพาะแหล่งท่องเที่ยวใหม่ๆ และชื่นชอบอาหารไทย เช่น แกงพะแนง แกงเผ็ด ผัดไทยและชอบข้าวซอยเป็นพิเศษ รวมทั้งชื่นชมนโยบายรัฐบาลที่ส่งเสริมให้อาหารไทยเผยแพร่ไปทั่วโลก ขณะเดียวกันรัสเซล โครว์ ได้ชื่นชมกองถ่ายภาพยนตร์ไทย เป็นทีมงานที่มีฝีมือและมีคุณภาพ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวอีกว่า ได้กล่าวขอบคุณรัสเซล โครว์ที่ถ่ายทอดความประทับใจเกี่ยวกับ"Soft Power”ความเป็นไทย นับเป็นเรื่องน่ายินดีที่นักแสดงระดับโลกชื่นชมความเป็นไทยทั้งในด้านวัฒนธรรม ศิลปะ แหล่งทางวัฒนธรรมและแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ อาหารไทยและภาพยนตร์ไทย ทําให้แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติและอาหารไทยได้รับการเผยแพร่ไปสู่นานาชาติมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ วธ.จะนําข้อคิดเห็นที่ได้รับมาปรับใช้ในการขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาลและนโยบายนายกรัฐมนตรีที่มุ่งผลักดันการใช้ "Soft Power” ความเป็นไทยและอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (Creative Economy) ของไทยใน 15 สาขา เช่น ภาพยนตร์ ศิลปะการแสดง แฟชั่น อาหารไทยและการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม รวมถึงนโยบายวธ.ในการนําคุณค่าของวัฒนธรรมมาต่อยอดสร้างสรรค์สินค้าและบริการ (Creative Culture) ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมวัฒนธรรมที่มีศักยภาพ 5 F ได้แก่ อาหาร (Food) ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ (Film) ผ้าไทยและการออกแบบแฟชั่น (Fashion) มวยไทย (Fighting) และการอนุรักษ์และขับเคลื่อนเทศกาล ประเพณีสู่ระดับโลก (Festival) รวมถึงยุทธศาสตร์การส่งเสริมอุตสาหกรรมภาพยนตร์และวีดิทัศน์ ระยะที่ 3 (พ.ศ.2560 - 2564) โดยเฉพาะยุทธศาสตร์ที่ 4 การส่งเสริมให้ต่างชาติเข้ามาผลิตภาพยนตร์และวีดิทัศน์ ในประเทศไทยโดยร่วมกับกระทรวงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องส่งเสริมให้กองถ่ายทําภาพยนตร์ต่างชาติเข้ามาถ่ายทําในไทยอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างงาน สร้างรายได้ให้แก่ชุมชนและประเทศอย่างยั่งยืน | https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/47327 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-โฆษกรัฐบาลเผย "นายกฯ" พอใจดัชนีความเชื่อมั่น SME เดือน พ.ย. เพิ่มขึ้นเกินระดับค่าฐานเป็นครั้งแรกที่ 50.5 ฝากผู้ประกอบการเฝ้าระวังโควิด-19 ในสถานประกอบการ | วันศุกร์ที่ 24 ธันวาคม 2564
โฆษกรัฐบาลเผย "นายกฯ" พอใจดัชนีความเชื่อมั่น SME เดือน พ.ย. เพิ่มขึ้นเกินระดับค่าฐานเป็นครั้งแรกที่ 50.5 ฝากผู้ประกอบการเฝ้าระวังโควิด-19 ในสถานประกอบการ
โฆษกรัฐบาลเผย "นายกฯ" พอใจดัชนีความเชื่อมั่น SME เดือน พ.ย. เพิ่มขึ้นเกินระดับค่าฐานเป็นครั้งแรกที่ 50.5 ฝากผู้ประกอบการเฝ้าระวังโควิด-19 ในสถานประกอบการ หวั่นเป็นปัจจัยลบต่อความเชื่อมั่นและกําลังการผลิต
วันนี้ 24 ธ.ค. 64นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่าพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมพอใจรับทราบรายงานดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการ SME เดือน พ.ย. 2564 ปรับเพิ่มขึ้น มาอยู่ที่ระดับ 50.5 ปรับตัวเพิ่มขึ้นเกินระดับค่าฐานที่ 50 เป็นครั้งแรกตั้งแต่เกิดการระบาดของไวรัสโควิด-19 ตั้งแต่เม.ย. 64 เช่นเดียวกับความเชื่อมั่นฯ ผู้ประกอบการ SME รายภูมิภาค ปรับตัวเพิ่มขึ้นทุกภูมิภาค โดยเฉพาะ กรุงเทพฯ และปริมณฑล เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 46.1 มาอยู่ที่ 52.1 ซึ่งเป็นผลจากการผ่อนปรนให้มีการดําเนินธุรกิจมากขึ้น รวมถึงมาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายของรัฐบาลที่มุ่งสนับสนุนผู้ประกอบการและธุรกิจรายย่อยทั้งนี้ สํานักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมรายงานดัชนี SME ภาคการผลิต การค้า การบริการ และธุรกิจการเกษตร เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 49.4, 49.5 , 51.1 และ 57.2 ตามลําดับ โดยภาคการบริการ มีการปรับเพิ่มขึ้นมากที่สุด ได้แก่ สาขาบริการการท่องเที่ยว การขนส่งมวลชน (ไม่ประจําทาง) บริการเสริมความงาม/สปา/นวดเพื่อสุขภาพ ร้านอาหาร บริการสันทนาการ/วัฒนธรรม/กีฬา และโรงแรม/ที่พัก ขณะที่ ภาคการบริการ มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นมากที่สุด เมื่อเทียบกับภาคธุรกิจอื่นๆ ทั้งดัชนีด้านคําสั่งซื้อ ปริมาณการผลิต/การค้า/บริการ การลงทุน กําไร และการจ้างงาน เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 55.7 53.0 52.5 52.6 และ 50.5 ตามลําดับ เป็นผลเนื่องมาจากนโยบายการเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย. 2564
นายธนกร ยังกล่าวถึงการคาดการณ์ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในอีก 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 58.1 จากแนวโน้มการขยายตัวของยอดขายสินค้าและการให้บริการที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
นายกรัฐมนตรี สั่งการให้ทุกหน่วยงานให้หมั่นประเมินและปรับปรุงมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการ SME เพื่อเสริมแกร่งให้กลุ่มธุรกิจสามารถฟื้นตัว และกลับมาเติบโตได้ในระยะยาว ซึ่งล่าสุด กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม อนุมัติสินเชื่อพิเศษ “ดีพร้อมเปย์” กรอบวงเงิน 30 ล้านบาท เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียนในการประกอบกิจการ และต่อยอดธุรกิจ โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือ ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) ที่เข้าร่วมโครงการฯ อย่างไรก็ตาม นายกรัฐมนตรียังฝากถึงผู้ประกอบทุกไซส์ทุกกลุ่มอุตสาหกรรม ต้องเคร่งครัดมาตรการควบคุมโควิด-19 ป้องกันการแพร่ระบาดในสถานประกอบการ เพราะจะเป็นปัจจัยลบส่งผลต่อกําลังการผลิตและความเชื่อมั่นด้วย | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-โฆษกรัฐบาลเผย "นายกฯ" พอใจดัชนีความเชื่อมั่น SME เดือน พ.ย. เพิ่มขึ้นเกินระดับค่าฐานเป็นครั้งแรกที่ 50.5 ฝากผู้ประกอบการเฝ้าระวังโควิด-19 ในสถานประกอบการ
วันศุกร์ที่ 24 ธันวาคม 2564
โฆษกรัฐบาลเผย "นายกฯ" พอใจดัชนีความเชื่อมั่น SME เดือน พ.ย. เพิ่มขึ้นเกินระดับค่าฐานเป็นครั้งแรกที่ 50.5 ฝากผู้ประกอบการเฝ้าระวังโควิด-19 ในสถานประกอบการ
โฆษกรัฐบาลเผย "นายกฯ" พอใจดัชนีความเชื่อมั่น SME เดือน พ.ย. เพิ่มขึ้นเกินระดับค่าฐานเป็นครั้งแรกที่ 50.5 ฝากผู้ประกอบการเฝ้าระวังโควิด-19 ในสถานประกอบการ หวั่นเป็นปัจจัยลบต่อความเชื่อมั่นและกําลังการผลิต
วันนี้ 24 ธ.ค. 64นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่าพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมพอใจรับทราบรายงานดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการ SME เดือน พ.ย. 2564 ปรับเพิ่มขึ้น มาอยู่ที่ระดับ 50.5 ปรับตัวเพิ่มขึ้นเกินระดับค่าฐานที่ 50 เป็นครั้งแรกตั้งแต่เกิดการระบาดของไวรัสโควิด-19 ตั้งแต่เม.ย. 64 เช่นเดียวกับความเชื่อมั่นฯ ผู้ประกอบการ SME รายภูมิภาค ปรับตัวเพิ่มขึ้นทุกภูมิภาค โดยเฉพาะ กรุงเทพฯ และปริมณฑล เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 46.1 มาอยู่ที่ 52.1 ซึ่งเป็นผลจากการผ่อนปรนให้มีการดําเนินธุรกิจมากขึ้น รวมถึงมาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายของรัฐบาลที่มุ่งสนับสนุนผู้ประกอบการและธุรกิจรายย่อยทั้งนี้ สํานักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมรายงานดัชนี SME ภาคการผลิต การค้า การบริการ และธุรกิจการเกษตร เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 49.4, 49.5 , 51.1 และ 57.2 ตามลําดับ โดยภาคการบริการ มีการปรับเพิ่มขึ้นมากที่สุด ได้แก่ สาขาบริการการท่องเที่ยว การขนส่งมวลชน (ไม่ประจําทาง) บริการเสริมความงาม/สปา/นวดเพื่อสุขภาพ ร้านอาหาร บริการสันทนาการ/วัฒนธรรม/กีฬา และโรงแรม/ที่พัก ขณะที่ ภาคการบริการ มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นมากที่สุด เมื่อเทียบกับภาคธุรกิจอื่นๆ ทั้งดัชนีด้านคําสั่งซื้อ ปริมาณการผลิต/การค้า/บริการ การลงทุน กําไร และการจ้างงาน เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 55.7 53.0 52.5 52.6 และ 50.5 ตามลําดับ เป็นผลเนื่องมาจากนโยบายการเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย. 2564
นายธนกร ยังกล่าวถึงการคาดการณ์ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในอีก 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 58.1 จากแนวโน้มการขยายตัวของยอดขายสินค้าและการให้บริการที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
นายกรัฐมนตรี สั่งการให้ทุกหน่วยงานให้หมั่นประเมินและปรับปรุงมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการ SME เพื่อเสริมแกร่งให้กลุ่มธุรกิจสามารถฟื้นตัว และกลับมาเติบโตได้ในระยะยาว ซึ่งล่าสุด กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม อนุมัติสินเชื่อพิเศษ “ดีพร้อมเปย์” กรอบวงเงิน 30 ล้านบาท เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียนในการประกอบกิจการ และต่อยอดธุรกิจ โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือ ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) ที่เข้าร่วมโครงการฯ อย่างไรก็ตาม นายกรัฐมนตรียังฝากถึงผู้ประกอบทุกไซส์ทุกกลุ่มอุตสาหกรรม ต้องเคร่งครัดมาตรการควบคุมโควิด-19 ป้องกันการแพร่ระบาดในสถานประกอบการ เพราะจะเป็นปัจจัยลบส่งผลต่อกําลังการผลิตและความเชื่อมั่นด้วย | https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/49849 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกรัฐมนตรีพอใจภาพรวมเกษตรแปลงใหญ่ กำชับส่วนราชการสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง ส่งเสริมเกษตรกรนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่มีความหลากหลายมาประยุกต์ใช้พัฒนาศักยภาพสร้างความเข้มแข็ง | วันพุธที่ 6 กรกฎาคม 2565
นายกรัฐมนตรีพอใจภาพรวมเกษตรแปลงใหญ่ กําชับส่วนราชการสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง ส่งเสริมเกษตรกรนําเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่มีความหลากหลายมาประยุกต์ใช้พัฒนาศักยภาพสร้างความเข้มแข็ง
นายกรัฐมนตรีพอใจภาพรวมเกษตรแปลงใหญ่ กําชับส่วนราชการสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง ส่งเสริมเกษตรกรนําเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่มีความหลากหลายมาประยุกต์ใช้พัฒนาศักยภาพสร้างความเข้มแข็ง
วันนี้ (6 กรกฎาคม 2565) นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่าตามข้อสั่งการของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เรื่อง ส่งเสริมระบบเกษตรแปลงใหญ่เพื่อลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มผลผลิตต่อหน่วย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ร่วมกับกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงมหาดไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเดินหน้าขับเคลื่อนข้อสั่งการฯ ส่งเสริมการทําเกษตรกรรมแบบใหม่ตามแนวทางการตลาดนําการผลิตแบบครบวงจร สร้างการเชื่อมโยงตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง และปลายทาง การลดต้นทุนการผลิตโดยส่งเสริมการรวมกลุ่มเกษตรแปลงใหญ่การใช้แผนที่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการเชิงรุก (Agri-Map)
นางสาวรัชดาฯ กล่าวว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้กําหนดแนวทางการพัฒนาของกระทรวง (Road map) ในเรื่อง ตลาดนําการผลิตและการลดต้นทุนการผลิต ด้วยการรวมแปลงเป็นแปลงใหญ่ก่อให้เกิดกิจกรรมลดต้นทุนการผลิต โดยข้อมูลล่าสุด (1 กรกฎาคม 2565) ได้รับรองและขึ้นทะเบียนแปลงใหญ่ทั้งสิ้น 8,942 แปลง เกษตรกร 496,559 ราย พื้นที่ 8,012,325 ไร่ ซึ่งจาการดําเนินการเกษตรแปลงใหญ่ พบว่ามีมูลค่าเพิ่มจากการลดต้นทุนการผลิต จํานวน 31,145.73 ล้านบาท เพิ่มผลผลิต จํานวน 40,429.37 ล้านบาท รวมทั้งสิ้น จํานวน 71,575.10 ล้านบาท สามารถพัฒนาคุณภาพเกษตรกรแปลงใหญ่ให้ได้รับรองมาตรฐานการผลิตสินค้า รวม 188,540 ราย
ในด้านการตลาด มีการเชื่อมโยงการตลาดของเกษตรกรสมาชิกแปลงใหญ่ ตลาดข้อตกลงล่วงหน้า จํานวน 921 แปลง ตลาดอื่น ๆ จํานวน 8,045 แปลง และตลาด Online จํานวน 489 แปลง และแปลงผักใหญ่ผักเชื่อมโยงกับ Modern Trade และตลาดออนไลน์ จํานวน 17 แปลง สําหรับแปลงที่มีศักยภาพได้พัฒนาต่อยอดสู่โครงการยกระดับแปลงใหญ่ด้วยเกษตรสมัยใหม่และเชื่อมโยงตลาด ด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เหมาะสม จํานวน 3,377 แปลงทั่วประเทศ
“นายกรัฐมนตรี พอใจผลการดําเนินงานตามนโยบายเกษตรแปลงใหญ่ เพื่อส่งเสริมการรวมกลุ่มเกษตรกร สร้างความเข้มแข็ง และพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือระหว่างกลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และสหกรณ์ รวมถึงเชื่อมโยงไปถึงผู้ประกอบการภาคเอกชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้เกษตรกรสามารถลดต้นทุนการผลิต กําชับส่วนราชการสร้างความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง ส่งเสริมให้เกษตรกรมีการนําเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่มีความหลากหลายมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาศักยภาพความเข้มแข็งในการบริหารจัดการแปลงใหญ่” นางสาวรัชดาฯ กล่าว | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกรัฐมนตรีพอใจภาพรวมเกษตรแปลงใหญ่ กำชับส่วนราชการสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง ส่งเสริมเกษตรกรนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่มีความหลากหลายมาประยุกต์ใช้พัฒนาศักยภาพสร้างความเข้มแข็ง
วันพุธที่ 6 กรกฎาคม 2565
นายกรัฐมนตรีพอใจภาพรวมเกษตรแปลงใหญ่ กําชับส่วนราชการสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง ส่งเสริมเกษตรกรนําเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่มีความหลากหลายมาประยุกต์ใช้พัฒนาศักยภาพสร้างความเข้มแข็ง
นายกรัฐมนตรีพอใจภาพรวมเกษตรแปลงใหญ่ กําชับส่วนราชการสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง ส่งเสริมเกษตรกรนําเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่มีความหลากหลายมาประยุกต์ใช้พัฒนาศักยภาพสร้างความเข้มแข็ง
วันนี้ (6 กรกฎาคม 2565) นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่าตามข้อสั่งการของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เรื่อง ส่งเสริมระบบเกษตรแปลงใหญ่เพื่อลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มผลผลิตต่อหน่วย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ร่วมกับกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงมหาดไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเดินหน้าขับเคลื่อนข้อสั่งการฯ ส่งเสริมการทําเกษตรกรรมแบบใหม่ตามแนวทางการตลาดนําการผลิตแบบครบวงจร สร้างการเชื่อมโยงตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง และปลายทาง การลดต้นทุนการผลิตโดยส่งเสริมการรวมกลุ่มเกษตรแปลงใหญ่การใช้แผนที่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการเชิงรุก (Agri-Map)
นางสาวรัชดาฯ กล่าวว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้กําหนดแนวทางการพัฒนาของกระทรวง (Road map) ในเรื่อง ตลาดนําการผลิตและการลดต้นทุนการผลิต ด้วยการรวมแปลงเป็นแปลงใหญ่ก่อให้เกิดกิจกรรมลดต้นทุนการผลิต โดยข้อมูลล่าสุด (1 กรกฎาคม 2565) ได้รับรองและขึ้นทะเบียนแปลงใหญ่ทั้งสิ้น 8,942 แปลง เกษตรกร 496,559 ราย พื้นที่ 8,012,325 ไร่ ซึ่งจาการดําเนินการเกษตรแปลงใหญ่ พบว่ามีมูลค่าเพิ่มจากการลดต้นทุนการผลิต จํานวน 31,145.73 ล้านบาท เพิ่มผลผลิต จํานวน 40,429.37 ล้านบาท รวมทั้งสิ้น จํานวน 71,575.10 ล้านบาท สามารถพัฒนาคุณภาพเกษตรกรแปลงใหญ่ให้ได้รับรองมาตรฐานการผลิตสินค้า รวม 188,540 ราย
ในด้านการตลาด มีการเชื่อมโยงการตลาดของเกษตรกรสมาชิกแปลงใหญ่ ตลาดข้อตกลงล่วงหน้า จํานวน 921 แปลง ตลาดอื่น ๆ จํานวน 8,045 แปลง และตลาด Online จํานวน 489 แปลง และแปลงผักใหญ่ผักเชื่อมโยงกับ Modern Trade และตลาดออนไลน์ จํานวน 17 แปลง สําหรับแปลงที่มีศักยภาพได้พัฒนาต่อยอดสู่โครงการยกระดับแปลงใหญ่ด้วยเกษตรสมัยใหม่และเชื่อมโยงตลาด ด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เหมาะสม จํานวน 3,377 แปลงทั่วประเทศ
“นายกรัฐมนตรี พอใจผลการดําเนินงานตามนโยบายเกษตรแปลงใหญ่ เพื่อส่งเสริมการรวมกลุ่มเกษตรกร สร้างความเข้มแข็ง และพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือระหว่างกลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และสหกรณ์ รวมถึงเชื่อมโยงไปถึงผู้ประกอบการภาคเอกชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้เกษตรกรสามารถลดต้นทุนการผลิต กําชับส่วนราชการสร้างความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง ส่งเสริมให้เกษตรกรมีการนําเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่มีความหลากหลายมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาศักยภาพความเข้มแข็งในการบริหารจัดการแปลงใหญ่” นางสาวรัชดาฯ กล่าว | https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/56606 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กรมเจ้าท่า ขานรับนโยบายรัฐบาลและกระทรวงคมนาคม เร่งกำจัดตบชวา พร้อมพิจารณาอนุญาตขุดลอกต่างตอบแทน แก้ไขปัญหาภัยแล้ง และอุทกภัยให้ประชาชน | วันพุธที่ 18 สิงหาคม 2564
กรมเจ้าท่า ขานรับนโยบายรัฐบาลและกระทรวงคมนาคม เร่งกําจัดตบชวา พร้อมพิจารณาอนุญาตขุดลอกต่างตอบแทน แก้ไขปัญหาภัยแล้ง และอุทกภัยให้ประชาชน
...
การแก้ไขปัญหาผักตบชวาและวัชพืชในแม่น้ํา ลําคลอง แหล่งน้ําสาธารณะต่าง ๆ เป็นภารกิจหลักที่กรมเจ้าท่า ให้ความสําคัญ โดยดําเนินการตามแผนการกําจัดผักตบชวาและวัชพืชในแหล่งน้ําที่รับผิดชอบอย่างต่อเนื่อง เพื่อไม่ให้เกิดการสะสมตัวสร้างปัญหาการสัญจรทางน้ําและการระบายน้ํา โดยนําเครื่องจักรบูรณาการ ร่วมกับกรมชลประทาน และกรมโยธาธิการและผังเมือง ทั้งในส่วนกลางและระดับจังหวัด เร่งแก้ไขปัญหาผักตบชวา สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล ในการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาผักตบชวาและวัชพืช เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวให้เป็นรูปธรรมและมีความยั่งยืน สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ร่วมกันขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการน้ําของประเทศ
ปัจจุบัน กรมเจ้าท่าได้เปิดหน่วยกําจัดผักตบชวาและวัชพืช โดยมีสํานักงานพัฒนาและบํารุงรักษาทางน้ําที่ 1 และสํานักงานพัฒนาและบํารุงรักษาทางน้ําที่ 2 เป็นหลักในการดําเนินงาน โดยมีผลสํารวจของสํานักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (Gisda) จํานวน 640 จุด ปริมาณผักตบชวา 436,773.06 ตัน ผลสํารวจพบผักตบชวา ในพื้นที่รับผิดชอบของกรมเจ้าท่าจํานวน 156,714.13 ตัน ปัจจุบันจัดเก็บได้ 132,499.86 ตัน คิดเป็นผลงานร้อยละ 84.55 ตามพื้นที่รับผิดชอบดังนี้
สํานักงานพัฒนาและบํารุงรักษาทางน้ําที่ 1 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
1. แม่น้ําเจ้าพระยา ตั้งแต่ใต้เขื่อนเจ้าพระยา จังหวัดชัยนาท จนสุดเขต จังหวัดนนทบุรี (สะพานพระราม 7 ) ระยะทาง 160 กิโลเมตร
2. แม่น้ําลพบุรี ตั้งแต่จุดเริ่มต้นแม่น้ําลพบุรี จังหวัดสิงห์บุรี จนถึงจุดที่บรรจบ แม่น้ําป่าสัก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ระยะทาง 67 กิโลเมตร
3. แม่น้ําป่าสัก ตั้งแต่ใต้เขื่อนพระราม 6 อําเภอท่าเรือ จนถึงจุดที่บรรจบกับแม่น้ําเจ้าพระยา (วัดพนัญเชิง) ระยะทาง 50 กิโลเมตร
4. แม่น้ําน้อย ตั้งแต่ประตูระบายน้ําผักไห่ อําเภอผักไห่ จนถึงจุดบรรจบกับแม่น้ําเจ้าพระยา อําเภอบางไทร ระยะทาง 42 กิโลเมตร
สํานักพัฒนาและบํารุงรักษาทางน้ําที่ 2 จังหวัดนครสวรรค์
1. แม่น้ําเจ้าพระยา ตั้งแต่ปากน้ําโพ จังหวัด นครสวรรค์ ถึง อําเภอเมือง จังหวัดชัยนาท
2. แม่น้ําสะแกกรัง เขตพื้นที่ จังหวัดอุทัยธานี
3. แม่น้ําท่าจีน เขตพื้นที่ จังหวัดชัยนาท
นอกจากนี้ กรมเจ้าท่า ได้ดําเนินการออกใบอนุญาตโครงการขุดลอกต่างตอบแทน จํานวน 138 แห่ง 38 จังหวัด เนื้อดินรวมประมาณ 6,252,224.29 ลูกบาศก์เมตร และอยู่ระหว่างพิจารณาอีก 61 แห่ง เนื้อดินรวมประมาณ 4,675,124.62 ลูกบาศก์เมตร สามารถประหยัดงบประมาณแผ่นดินได้ถึง 601 ล้านบาท แบ่งเป็น
1. สํานักงานเจ้าท่าภูมิภาคที่ 1 (จังหวัดเชียงใหม่) อนุญาต 87 จุด คิวดิน 2,885,190.73 ลูกบาศก์เมตร อยู่ระหว่างพิจารณาใบอนุญาต 28 จุด คิวดิน 722,080.37 ลูกบาศก์เมตร
2. สํานักงานเจ้าท่าภูมิภาคที่ 2 (จังหวัดพระนครศรีอยุธยา) ใบอนุญาต 5 จุด คิวดิน 478,225.50 ลูกบาศก์เมตร อยู่ระหว่างพิจารณาใบอนุญาต 1 จุด
3. สํานักงานเจ้าท่าภูมิภาคที่ 3 (จังหวัดสมุทรสงคราม) ใบอนุญาต 3 จุด คิวดิน 121,527.50 ลูกบาศก์เมตร อยู่ระหว่างพิจารณาใบอนุญาต 2 จุด
4. สํานักงานเจ้าท่าภูมิภาคที่ 4 (จังหวัดสงขลา) ใบอนุญาต 4 จุด คิวดิน 223,738.56 ลูกบาศก์เมตร
5. สํานักงานเจ้าท่าภูมิภาคที่ 5 (จังหวัดภูเก็ต) ใบอนุญาต 1 จุด คิวดิน 88,242 ลูกบาศก์เมตร อยู่ระหว่างพิจารณาใบอนุญาต 1 จุด
6. สํานักงานเจ้าท่าภูมิภาคที่ 6 (จังหวัดชลบุรี) ใบอนุญาต 1 จุด คิวดิน 172,174 ลูกบาศก์เมตร อยู่ระหว่างพิจารณาใบอนุญาต6 จุด คิวดิน 129,103.41 ลูกบาศก์เมตร
7. สํานักงานเจ้าท่าภูมิภาคที่ 7(จังหวัดหนองคาย) ใบอนุญาต 37 จุด คิวดิน 2,283,126 ลูกบาศก์เมตร อยู่ระหว่างพิจารณาใบอนุญาต 23 จุด คิวดิน 3,823,940.84 ลูกบาศก์เมตร
ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ) และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม (นายอธิรัฐ รัตนเศรษฐ) ได้ผลักดันโครงการขุดลอกต่างตอบแทน โดยมอบหมายกรมเจ้าท่าพิจารณาอนุญาตการขุดลอก ให้เป็นไปตาม กฎ ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยวิธีการขุดลอกแหล่งน้ําสาธารณประโยชน์ พ.ศ. 2547 เพื่อฟื้นฟูสภาพของแหล่งน้ําไม่ให้มีการตื้นเขิน การคมนาคมทางน้ําสะดวก สามารถกักเก็บน้ําไว้ในฤดูแล้ง เกิดการระบายน้ําได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งโครงการดังกล่าวสามารถช่วยเติมเต็มการขุดลอกตามแผนฯ ให้เกิดความสมบูรณ์ พร้อมประหยัดงบประมาณแผ่นดินได้อย่างเป็นรูปธรรม | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กรมเจ้าท่า ขานรับนโยบายรัฐบาลและกระทรวงคมนาคม เร่งกำจัดตบชวา พร้อมพิจารณาอนุญาตขุดลอกต่างตอบแทน แก้ไขปัญหาภัยแล้ง และอุทกภัยให้ประชาชน
วันพุธที่ 18 สิงหาคม 2564
กรมเจ้าท่า ขานรับนโยบายรัฐบาลและกระทรวงคมนาคม เร่งกําจัดตบชวา พร้อมพิจารณาอนุญาตขุดลอกต่างตอบแทน แก้ไขปัญหาภัยแล้ง และอุทกภัยให้ประชาชน
...
การแก้ไขปัญหาผักตบชวาและวัชพืชในแม่น้ํา ลําคลอง แหล่งน้ําสาธารณะต่าง ๆ เป็นภารกิจหลักที่กรมเจ้าท่า ให้ความสําคัญ โดยดําเนินการตามแผนการกําจัดผักตบชวาและวัชพืชในแหล่งน้ําที่รับผิดชอบอย่างต่อเนื่อง เพื่อไม่ให้เกิดการสะสมตัวสร้างปัญหาการสัญจรทางน้ําและการระบายน้ํา โดยนําเครื่องจักรบูรณาการ ร่วมกับกรมชลประทาน และกรมโยธาธิการและผังเมือง ทั้งในส่วนกลางและระดับจังหวัด เร่งแก้ไขปัญหาผักตบชวา สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล ในการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาผักตบชวาและวัชพืช เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวให้เป็นรูปธรรมและมีความยั่งยืน สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ร่วมกันขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการน้ําของประเทศ
ปัจจุบัน กรมเจ้าท่าได้เปิดหน่วยกําจัดผักตบชวาและวัชพืช โดยมีสํานักงานพัฒนาและบํารุงรักษาทางน้ําที่ 1 และสํานักงานพัฒนาและบํารุงรักษาทางน้ําที่ 2 เป็นหลักในการดําเนินงาน โดยมีผลสํารวจของสํานักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (Gisda) จํานวน 640 จุด ปริมาณผักตบชวา 436,773.06 ตัน ผลสํารวจพบผักตบชวา ในพื้นที่รับผิดชอบของกรมเจ้าท่าจํานวน 156,714.13 ตัน ปัจจุบันจัดเก็บได้ 132,499.86 ตัน คิดเป็นผลงานร้อยละ 84.55 ตามพื้นที่รับผิดชอบดังนี้
สํานักงานพัฒนาและบํารุงรักษาทางน้ําที่ 1 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
1. แม่น้ําเจ้าพระยา ตั้งแต่ใต้เขื่อนเจ้าพระยา จังหวัดชัยนาท จนสุดเขต จังหวัดนนทบุรี (สะพานพระราม 7 ) ระยะทาง 160 กิโลเมตร
2. แม่น้ําลพบุรี ตั้งแต่จุดเริ่มต้นแม่น้ําลพบุรี จังหวัดสิงห์บุรี จนถึงจุดที่บรรจบ แม่น้ําป่าสัก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ระยะทาง 67 กิโลเมตร
3. แม่น้ําป่าสัก ตั้งแต่ใต้เขื่อนพระราม 6 อําเภอท่าเรือ จนถึงจุดที่บรรจบกับแม่น้ําเจ้าพระยา (วัดพนัญเชิง) ระยะทาง 50 กิโลเมตร
4. แม่น้ําน้อย ตั้งแต่ประตูระบายน้ําผักไห่ อําเภอผักไห่ จนถึงจุดบรรจบกับแม่น้ําเจ้าพระยา อําเภอบางไทร ระยะทาง 42 กิโลเมตร
สํานักพัฒนาและบํารุงรักษาทางน้ําที่ 2 จังหวัดนครสวรรค์
1. แม่น้ําเจ้าพระยา ตั้งแต่ปากน้ําโพ จังหวัด นครสวรรค์ ถึง อําเภอเมือง จังหวัดชัยนาท
2. แม่น้ําสะแกกรัง เขตพื้นที่ จังหวัดอุทัยธานี
3. แม่น้ําท่าจีน เขตพื้นที่ จังหวัดชัยนาท
นอกจากนี้ กรมเจ้าท่า ได้ดําเนินการออกใบอนุญาตโครงการขุดลอกต่างตอบแทน จํานวน 138 แห่ง 38 จังหวัด เนื้อดินรวมประมาณ 6,252,224.29 ลูกบาศก์เมตร และอยู่ระหว่างพิจารณาอีก 61 แห่ง เนื้อดินรวมประมาณ 4,675,124.62 ลูกบาศก์เมตร สามารถประหยัดงบประมาณแผ่นดินได้ถึง 601 ล้านบาท แบ่งเป็น
1. สํานักงานเจ้าท่าภูมิภาคที่ 1 (จังหวัดเชียงใหม่) อนุญาต 87 จุด คิวดิน 2,885,190.73 ลูกบาศก์เมตร อยู่ระหว่างพิจารณาใบอนุญาต 28 จุด คิวดิน 722,080.37 ลูกบาศก์เมตร
2. สํานักงานเจ้าท่าภูมิภาคที่ 2 (จังหวัดพระนครศรีอยุธยา) ใบอนุญาต 5 จุด คิวดิน 478,225.50 ลูกบาศก์เมตร อยู่ระหว่างพิจารณาใบอนุญาต 1 จุด
3. สํานักงานเจ้าท่าภูมิภาคที่ 3 (จังหวัดสมุทรสงคราม) ใบอนุญาต 3 จุด คิวดิน 121,527.50 ลูกบาศก์เมตร อยู่ระหว่างพิจารณาใบอนุญาต 2 จุด
4. สํานักงานเจ้าท่าภูมิภาคที่ 4 (จังหวัดสงขลา) ใบอนุญาต 4 จุด คิวดิน 223,738.56 ลูกบาศก์เมตร
5. สํานักงานเจ้าท่าภูมิภาคที่ 5 (จังหวัดภูเก็ต) ใบอนุญาต 1 จุด คิวดิน 88,242 ลูกบาศก์เมตร อยู่ระหว่างพิจารณาใบอนุญาต 1 จุด
6. สํานักงานเจ้าท่าภูมิภาคที่ 6 (จังหวัดชลบุรี) ใบอนุญาต 1 จุด คิวดิน 172,174 ลูกบาศก์เมตร อยู่ระหว่างพิจารณาใบอนุญาต6 จุด คิวดิน 129,103.41 ลูกบาศก์เมตร
7. สํานักงานเจ้าท่าภูมิภาคที่ 7(จังหวัดหนองคาย) ใบอนุญาต 37 จุด คิวดิน 2,283,126 ลูกบาศก์เมตร อยู่ระหว่างพิจารณาใบอนุญาต 23 จุด คิวดิน 3,823,940.84 ลูกบาศก์เมตร
ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ) และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม (นายอธิรัฐ รัตนเศรษฐ) ได้ผลักดันโครงการขุดลอกต่างตอบแทน โดยมอบหมายกรมเจ้าท่าพิจารณาอนุญาตการขุดลอก ให้เป็นไปตาม กฎ ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยวิธีการขุดลอกแหล่งน้ําสาธารณประโยชน์ พ.ศ. 2547 เพื่อฟื้นฟูสภาพของแหล่งน้ําไม่ให้มีการตื้นเขิน การคมนาคมทางน้ําสะดวก สามารถกักเก็บน้ําไว้ในฤดูแล้ง เกิดการระบายน้ําได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งโครงการดังกล่าวสามารถช่วยเติมเต็มการขุดลอกตามแผนฯ ให้เกิดความสมบูรณ์ พร้อมประหยัดงบประมาณแผ่นดินได้อย่างเป็นรูปธรรม | https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/44872 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รอง นรม. นายจุรินทร์ฯ นั่งประธาน แก้ไขปัญหาผลกระทบจากโครงการฝายราษีไศล กำชับ เร่งจ่ายค่าเยียวยาก่อนสิ้นปี 64 | วันพุธที่ 3 พฤศจิกายน 2564
รอง นรม. นายจุรินทร์ฯ นั่งประธาน แก้ไขปัญหาผลกระทบจากโครงการฝายราษีไศล กําชับ เร่งจ่ายค่าเยียวยาก่อนสิ้นปี 64
รอง นรม. นายจุรินทร์ฯ นั่งประธาน แก้ไขปัญหาผลกระทบจากโครงการฝายราษีไศล กําชับ เร่งจ่ายค่าเยียวยาก่อนสิ้นปี64
(3 พฤศจิกายน 2564) เวลา 13:30 น. ณ อาคารรัฐสภา นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกรัฐบาล เปิดเผยว่า นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการแก้ไขปัญหาผลกระทบจากโครงการฝายราษีไศล ครั้งที่ 2/2564 ที่ อาคารรัฐสภา โดยได้ พิจารณาและเห็นชอบใน 3 ประเด็น ได้แก่
1. พิจารณาอุทธรณ์การทําประโยชน์ตามหลักเกณฑ์มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2543 ประกอบผลการประชุมร่วมระหว่างตัวแทนคณะกรรมการแก้ไขปัญหาฯ (ชุดใหญ่) กับคณะทํางานพิจารณาคําร้องคัดค้านฯ (อุทธรณ์) ทั้ง 3 จังหวัด เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2552 และตามความเห็นของคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาฯ จังหวัดสุรินทร์ จํานวน 169 แปลง เนื้อที่ 701-3-85 ไร่ เป็นเงินจํานวน 22,462,800 บาท
2. ผลการตรวจสอบพิสูจน์สิทธิของราษฎรที่ได้ทําประโยชน์ตามหลักเกณฑ์มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2543 และตามความเห็นของคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาฯ จังหวัดสุรินทร์ จํานวน 196 แปลง เนื้อที่ 575-1-33 ไร่ เป็นเงินจํานวน 18,410,640 บาท
3. การจัดสรรที่ดินเพื่ออพยพราษฎรออกจากเขตน้ําท่วมเนื่องจากการก่อสร้างโครงการฝายราษีไศล มีมติพิจารณาตามความเห็นของประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนและได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างนี้ให้คณะกรรมการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของมวลชน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อดําเนินการในส่วนที่ เกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนต่อไป
ทั้งนี้ ระหว่างการประชุมฯ นายจุรินทร์ ได้กําชับเรื่องการดําเนินการเบิกจ่ายค่าเยียวยา ซึ่งที่ประชุมมีมติพิจารณาเห็นชอบและให้ดําเนินการอย่างรวดเร็ว เพื่อช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการดังกล่าวภายในเดือนธันวาคม 2564 | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รอง นรม. นายจุรินทร์ฯ นั่งประธาน แก้ไขปัญหาผลกระทบจากโครงการฝายราษีไศล กำชับ เร่งจ่ายค่าเยียวยาก่อนสิ้นปี 64
วันพุธที่ 3 พฤศจิกายน 2564
รอง นรม. นายจุรินทร์ฯ นั่งประธาน แก้ไขปัญหาผลกระทบจากโครงการฝายราษีไศล กําชับ เร่งจ่ายค่าเยียวยาก่อนสิ้นปี 64
รอง นรม. นายจุรินทร์ฯ นั่งประธาน แก้ไขปัญหาผลกระทบจากโครงการฝายราษีไศล กําชับ เร่งจ่ายค่าเยียวยาก่อนสิ้นปี64
(3 พฤศจิกายน 2564) เวลา 13:30 น. ณ อาคารรัฐสภา นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกรัฐบาล เปิดเผยว่า นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการแก้ไขปัญหาผลกระทบจากโครงการฝายราษีไศล ครั้งที่ 2/2564 ที่ อาคารรัฐสภา โดยได้ พิจารณาและเห็นชอบใน 3 ประเด็น ได้แก่
1. พิจารณาอุทธรณ์การทําประโยชน์ตามหลักเกณฑ์มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2543 ประกอบผลการประชุมร่วมระหว่างตัวแทนคณะกรรมการแก้ไขปัญหาฯ (ชุดใหญ่) กับคณะทํางานพิจารณาคําร้องคัดค้านฯ (อุทธรณ์) ทั้ง 3 จังหวัด เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2552 และตามความเห็นของคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาฯ จังหวัดสุรินทร์ จํานวน 169 แปลง เนื้อที่ 701-3-85 ไร่ เป็นเงินจํานวน 22,462,800 บาท
2. ผลการตรวจสอบพิสูจน์สิทธิของราษฎรที่ได้ทําประโยชน์ตามหลักเกณฑ์มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2543 และตามความเห็นของคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาฯ จังหวัดสุรินทร์ จํานวน 196 แปลง เนื้อที่ 575-1-33 ไร่ เป็นเงินจํานวน 18,410,640 บาท
3. การจัดสรรที่ดินเพื่ออพยพราษฎรออกจากเขตน้ําท่วมเนื่องจากการก่อสร้างโครงการฝายราษีไศล มีมติพิจารณาตามความเห็นของประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนและได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างนี้ให้คณะกรรมการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของมวลชน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อดําเนินการในส่วนที่ เกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนต่อไป
ทั้งนี้ ระหว่างการประชุมฯ นายจุรินทร์ ได้กําชับเรื่องการดําเนินการเบิกจ่ายค่าเยียวยา ซึ่งที่ประชุมมีมติพิจารณาเห็นชอบและให้ดําเนินการอย่างรวดเร็ว เพื่อช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการดังกล่าวภายในเดือนธันวาคม 2564 | https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/47779 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ก.แรงงาน เคาะมาตรการช่วยผู้ประกอบการ ลดเงินสมทบเข้ากองทุนเหลือ 0.5 | วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม 2565
ก.แรงงาน เคาะมาตรการช่วยผู้ประกอบการ ลดเงินสมทบเข้ากองทุนเหลือ 0.5
คณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน เคาะมาตรการช่วยเหลือสถานประกอบกิจการ มีมติเห็นชอบปรับลดการนําส่งเงินสมทบเข้ากองทุนพัฒนาฝีมือแรงงาน จากร้อยละ 1 เหลือร้อยละ 0.5 | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ก.แรงงาน เคาะมาตรการช่วยผู้ประกอบการ ลดเงินสมทบเข้ากองทุนเหลือ 0.5
วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม 2565
ก.แรงงาน เคาะมาตรการช่วยผู้ประกอบการ ลดเงินสมทบเข้ากองทุนเหลือ 0.5
คณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน เคาะมาตรการช่วยเหลือสถานประกอบกิจการ มีมติเห็นชอบปรับลดการนําส่งเงินสมทบเข้ากองทุนพัฒนาฝีมือแรงงาน จากร้อยละ 1 เหลือร้อยละ 0.5 | https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/58549 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กรมทางหลวงชนบท รายงานสถานการณ์สายทางที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยประจำวันที่ 21 ตุลาคม 2564 เวลา 08.30 น. สามารถสัญจรได้ 35 สายทาง ไม่สามารถสัญจรได้ 29 สายทาง | วันพฤหัสบดีที่ 21 ตุลาคม 2564
กรมทางหลวงชนบท รายงานสถานการณ์สายทางที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยประจําวันที่ 21 ตุลาคม 2564 เวลา 08.30 น. สามารถสัญจรได้ 35 สายทาง ไม่สามารถสัญจรได้ 29 สายทาง
กรมทางหลวงชนบท (ทช.) กระทรวงคมนาคม โดยสํานักบํารุงทาง รายงานถึงสถานการณ์อุทกภัยประจําวันที่ 21 ตุลาคม 2564 เวลา 08.30 น. ว่ามีถนนทางหลวงชนบทที่ประสบอุทกภัยในพื้นที่ 18 จังหวัด รวม 64 สายทาง สามารถสัญจรผ่านได้ 35 สายทาง และไม่สามารถสัญจรผ่านได้ 29 สายทาง
กรมทางหลวงชนบท (ทช.) กระทรวงคมนาคม โดยสํานักบํารุงทาง รายงานถึงสถานการณ์อุทกภัยประจําวันที่ 21 ตุลาคม 2564 เวลา 08.30 น. ว่า มีถนนทางหลวงชนบทที่ประสบอุทกภัยในพื้นที่ 18 จังหวัด ได้แก่ พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง ลพบุรี สิงห์บุรี นครราชสีมา ชัยภูมิ สุรินทร์ บุรีรัมย์ ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด นครสวรรค์ อุทัยธานี นครนายก สระแก้ว สุพรรณบุรี นครปฐม และกาญจนบุรี รวม 64 สายทาง สามารถสัญจรผ่านได้ 35 สายทาง และไม่สามารถสัญจรผ่านได้ 29 สายทาง แบ่งเป็น น้ําท่วมสูง 21 สายทาง (21 แห่ง) ทางขาด โครงสร้างทางชํารุด กัดเซาะ 6 สายทาง (6 แห่ง) สะพานขาด คอสะพานขาด ทรุดตัว กัดเซาะ 1 สายทาง (1 แห่ง) ไหล่ทาง คันทางพังทลาย ดินไหล่เขาสไลด์ 1 สายทาง (1 แห่ง) รายละเอียดดังนี้
1. สายทาง นว.3102 แยก ทล.117 - บ้านเนิน อําเภอเก้าเลี้ยว และชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ น้ําท่วมสูง 45 เซนติเมตร (ช่วง กม. ที่ 8+300 - 11+100)
2. สายทาง นว.017 สะพานบางเคียน อําเภอเก้าเลี้ยว และชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ น้ําท่วมสูง 30 เซนติเมตร (ช่วง กม. ที่ 0+000 - 1+619)
3. สายทาง ชย.3002 แยก ทล.201 - บ้านเขว้า อําเภอเมือง และบ้านเขว้า จังหวัดชัยภูมิ น้ําท่วมสูง 45 เซนติเมตร (ช่วง กม. ที่ 2+800 - 3+900)
4. สายทาง ชย.3010 แยก ทล.205 - อ่างเก็บน้ําลําคันฉู อําเภอบําเหน็จณรงค์ จังหวัดชัยภูมิ เส้นทางขาด (ช่วง กม. ที่ 2+600 - 2+800)
5. สายทาง ชย.3033 แยก ทล.225 - แยกทางหลวงชนบท ชย.3019 อําเภอบ้านเขว้า และหนองบัวระเหว จังหวัดชัยภูมิ น้ําท่วมสูง 50 เซนติเมตร (ช่วง กม. ที่ 9+500 - 10+100)
6. สายทาง ชย.024 สะพานข้ามแม่น้ําชี ท่านกโง่ อําเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ เส้นทางขาด (ช่วง กม. ที่ 2+000 - 3+600)
7. สายทาง สร.012 ถนนเชิงลาดสะพานใหม่นาหนองไผ่ - กระโพ อําเภอท่าตูม และชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์ น้ําท่วมสูง 45 เซนติเมตร (ช่วง กม. ที่ 2+000 - 6+600)
8. สายทาง สร.021 ถนนเชิงลาดสะพานมิตรภาพสระขุด อําเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์ น้ําท่วมสูง 65 เซนติเมตร (ช่วง กม. ที่ 1+200 - 3+800)
9. สายทาง สร.022 สะพานมิตรภาพบะ - หนองเรือ อําเภอท่าตูม และชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์ น้ําท่วมสูง 70 เซนติเมตร (ช่วง กม. ที่ 3+600 - 4+200)
10. สายทาง บร.018 สะพานชุมชนข้ามแม่น้ํามูล อําเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ น้ําท่วมสูง 90 เซนติเมตร (ช่วง กม. ที่ 1+300 - 1+700)
11. สายทาง ขก.1011 แยก ทล.2 - บ้านพระยืน อําเภอเมือง และพระยืน จังหวัดขอนแก่น เส้นทางขาด (ช่วง กม. ที่ 1+900 - 2+100)
12. สายทาง ขก.020 สะพานข้ามลําน้ําชี อําเภอโคกโพธิ์ไชย และแวงใหญ่ จังหวัดขอนแก่น เส้นทางขาด (ช่วง กม. ที่ 0+500 - 5+400)
13. สายทาง ขก.1039 แยก ทล.2 - บ้านหนองไห อําเภอบ้านแฮด และมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น เส้นทางขาด (ช่วง กม. ที่ 12+800 - 13+000)
14. สายทาง ขก.2071 แยก ทล. 12 (กม. ที่ 492+750) - บ้านสามสวน อําเภอหนองเรือ และบ้านแท่น จังหวัดขอนแก่น น้ําท่วมสูง 40 เซนติเมตร (ช่วง กม. ที่ 6+612 - 7+751)
15. สายทาง มค.005 ถนนเชิงลาดสะพานลดาวัลย์ข้ามลําน้ําชี อําเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม น้ําท่วมสูง 50 เซนติเมตร
16. สายทาง มค.009 ถนนเชิงลาดสะพานบ้านคุยเชือก อําเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม น้ําท่วมสูง 50 เซนติเมตร
17. สายทาง รอ.033 ถนนเชิงลาดสะพานข้ามลําน้ําชี สะพานคุยโพธิ์ - หนองแก่ง อําเภอโพธิ์ชัย จังหวัดร้อยเอ็ด น้ําท่วมสูง 65 เซนติเมตร (ช่วง กม. ที่ 2+130 - 3+220)
18. สายทาง อย.019 สะพานข้ามแม่น้ําน้อย อําเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา น้ําท่วมสูง 39 เซนติเมตร (ช่วง กม. ที่ 0+000 - 0+050)
19. สายทาง อย.026 สะพานวัดอินทาราม อําเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา น้ําท่วมสูง 70 เซนติเมตร (ช่วง กม. ที่ 0+000 - 0+075)
20. สายทาง อท.2034 แยก ทล.32 - บ้านมหานาม อําเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง น้ําท่วมสูง 50 เซนติเมตร (ช่วง กม. ที่ 0+500 - 7+300)
21. สายทาง ลบ.5183 แยกทางหลวงชนบท ลบ.4056 - บ้านเขาราบ อําเภอยางราก จังหวัดลพบุรี น้ํากัดเซาะคอสะพาน (ช่วง กม. ที่ 1+130 - 1+135)
22. สายทาง สพ.3015 แยกทางหลวงหมายเลข 333 - บ้านหนองหญ้าไซ อําเภอหนองหญ้าไซ จังหวัดสุพรรณบุรี น้ําท่วมสูง 50 เซนติเมตร (ช่วง กม. ที่ 0+000 - 1+100)
23. สายทาง สพ.005 สะพานบางแม่หม้าย - บางเลน อําเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี น้ําท่วมสูง 50 เซนติเมตร (ช่วง กม. ที่ 0+100 - 0+800)
24. สายทาง นฐ.058 สะพานบางไผ่นารถข้ามแม่น้ําท่าจีน อําเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม น้ําท่วมสูง 30 เซนติเมตร (ช่วง กม. ที่ 0+000 - 0+563)
25. สายทาง กจ.4022 แยก ทล.3443 - บ้านหนองไก่เหลือง อําเภอเลาขวัญ จังหวัดกาญจนบุรี เส้นทางขาด (ช่วง กม. ที่ 4+885 - 4+915)
26. สายทาง กจ.4041 แยก ทล.3199 - บ้านท่าลําใย อําเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี ดินไหล่เขาสไลด์ (ช่วง กม. ที่ 22+000 - 25+000)
27. สายทาง กจ.4051 แยก ทล.3086 - บ้านสลอบ อําเภอบ่อพลอย จังหวัดกาญจนบุรี น้ําท่วมสูง 100 เซนติเมตร (ช่วง กม. ที่ 2+200 - 2+300)
28. สายทาง กจ.4062 แยก ทล.3086 - บ้านหนองกร่าง อําเภอบ่อพลอย จังหวัดกาญจนบุรี น้ําท่วมสูง 40 เซนติเมตร (ช่วง กม. ที่ 0+000 - 0+500)
29. สายทาง กจ.4063 แยก ทล.3086 - บ้านน้ําลัด อําเภอหนองปรือ และบ่อพลอย จังหวัดกาญจนบุรี น้ําท่วมสูง 40 เซนติเมตร (ช่วง กม. ที่ 3+300 - 3+350)
ทั้งนี้ ทช. ขอความร่วมมือประชาชนหลีกเลี่ยงเส้นทางดังกล่าว โปรดสังเกตป้ายเตือน ป้ายแนะนําทางเลี่ยงบริเวณสายทางที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย และใช้ความระมัดระวังในการใช้รถใช้ถนน โดย ทช. ได้เตรียมพร้อมเฝ้าระวังสถานการณ์อุทกภัย เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้ประชาชนทันที และเมื่อสถานการณ์กลับเข้าสู่สภาวะปกติจะเร่งดําเนินการซ่อมแซม ฟื้นฟูให้เส้นทางกลับมาใช้สัญจรได้อย่างปลอดภัยโดยเร็วที่สุด ตามนโยบายของนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม โดยประชาชนสามารถแจ้งเหตุอุทกภัยหรือสอบถามเส้นทางได้ที่สายด่วนกรมทางหลวงชนบท โทร. 1146 | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กรมทางหลวงชนบท รายงานสถานการณ์สายทางที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยประจำวันที่ 21 ตุลาคม 2564 เวลา 08.30 น. สามารถสัญจรได้ 35 สายทาง ไม่สามารถสัญจรได้ 29 สายทาง
วันพฤหัสบดีที่ 21 ตุลาคม 2564
กรมทางหลวงชนบท รายงานสถานการณ์สายทางที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยประจําวันที่ 21 ตุลาคม 2564 เวลา 08.30 น. สามารถสัญจรได้ 35 สายทาง ไม่สามารถสัญจรได้ 29 สายทาง
กรมทางหลวงชนบท (ทช.) กระทรวงคมนาคม โดยสํานักบํารุงทาง รายงานถึงสถานการณ์อุทกภัยประจําวันที่ 21 ตุลาคม 2564 เวลา 08.30 น. ว่ามีถนนทางหลวงชนบทที่ประสบอุทกภัยในพื้นที่ 18 จังหวัด รวม 64 สายทาง สามารถสัญจรผ่านได้ 35 สายทาง และไม่สามารถสัญจรผ่านได้ 29 สายทาง
กรมทางหลวงชนบท (ทช.) กระทรวงคมนาคม โดยสํานักบํารุงทาง รายงานถึงสถานการณ์อุทกภัยประจําวันที่ 21 ตุลาคม 2564 เวลา 08.30 น. ว่า มีถนนทางหลวงชนบทที่ประสบอุทกภัยในพื้นที่ 18 จังหวัด ได้แก่ พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง ลพบุรี สิงห์บุรี นครราชสีมา ชัยภูมิ สุรินทร์ บุรีรัมย์ ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด นครสวรรค์ อุทัยธานี นครนายก สระแก้ว สุพรรณบุรี นครปฐม และกาญจนบุรี รวม 64 สายทาง สามารถสัญจรผ่านได้ 35 สายทาง และไม่สามารถสัญจรผ่านได้ 29 สายทาง แบ่งเป็น น้ําท่วมสูง 21 สายทาง (21 แห่ง) ทางขาด โครงสร้างทางชํารุด กัดเซาะ 6 สายทาง (6 แห่ง) สะพานขาด คอสะพานขาด ทรุดตัว กัดเซาะ 1 สายทาง (1 แห่ง) ไหล่ทาง คันทางพังทลาย ดินไหล่เขาสไลด์ 1 สายทาง (1 แห่ง) รายละเอียดดังนี้
1. สายทาง นว.3102 แยก ทล.117 - บ้านเนิน อําเภอเก้าเลี้ยว และชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ น้ําท่วมสูง 45 เซนติเมตร (ช่วง กม. ที่ 8+300 - 11+100)
2. สายทาง นว.017 สะพานบางเคียน อําเภอเก้าเลี้ยว และชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ น้ําท่วมสูง 30 เซนติเมตร (ช่วง กม. ที่ 0+000 - 1+619)
3. สายทาง ชย.3002 แยก ทล.201 - บ้านเขว้า อําเภอเมือง และบ้านเขว้า จังหวัดชัยภูมิ น้ําท่วมสูง 45 เซนติเมตร (ช่วง กม. ที่ 2+800 - 3+900)
4. สายทาง ชย.3010 แยก ทล.205 - อ่างเก็บน้ําลําคันฉู อําเภอบําเหน็จณรงค์ จังหวัดชัยภูมิ เส้นทางขาด (ช่วง กม. ที่ 2+600 - 2+800)
5. สายทาง ชย.3033 แยก ทล.225 - แยกทางหลวงชนบท ชย.3019 อําเภอบ้านเขว้า และหนองบัวระเหว จังหวัดชัยภูมิ น้ําท่วมสูง 50 เซนติเมตร (ช่วง กม. ที่ 9+500 - 10+100)
6. สายทาง ชย.024 สะพานข้ามแม่น้ําชี ท่านกโง่ อําเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ เส้นทางขาด (ช่วง กม. ที่ 2+000 - 3+600)
7. สายทาง สร.012 ถนนเชิงลาดสะพานใหม่นาหนองไผ่ - กระโพ อําเภอท่าตูม และชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์ น้ําท่วมสูง 45 เซนติเมตร (ช่วง กม. ที่ 2+000 - 6+600)
8. สายทาง สร.021 ถนนเชิงลาดสะพานมิตรภาพสระขุด อําเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์ น้ําท่วมสูง 65 เซนติเมตร (ช่วง กม. ที่ 1+200 - 3+800)
9. สายทาง สร.022 สะพานมิตรภาพบะ - หนองเรือ อําเภอท่าตูม และชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์ น้ําท่วมสูง 70 เซนติเมตร (ช่วง กม. ที่ 3+600 - 4+200)
10. สายทาง บร.018 สะพานชุมชนข้ามแม่น้ํามูล อําเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ น้ําท่วมสูง 90 เซนติเมตร (ช่วง กม. ที่ 1+300 - 1+700)
11. สายทาง ขก.1011 แยก ทล.2 - บ้านพระยืน อําเภอเมือง และพระยืน จังหวัดขอนแก่น เส้นทางขาด (ช่วง กม. ที่ 1+900 - 2+100)
12. สายทาง ขก.020 สะพานข้ามลําน้ําชี อําเภอโคกโพธิ์ไชย และแวงใหญ่ จังหวัดขอนแก่น เส้นทางขาด (ช่วง กม. ที่ 0+500 - 5+400)
13. สายทาง ขก.1039 แยก ทล.2 - บ้านหนองไห อําเภอบ้านแฮด และมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น เส้นทางขาด (ช่วง กม. ที่ 12+800 - 13+000)
14. สายทาง ขก.2071 แยก ทล. 12 (กม. ที่ 492+750) - บ้านสามสวน อําเภอหนองเรือ และบ้านแท่น จังหวัดขอนแก่น น้ําท่วมสูง 40 เซนติเมตร (ช่วง กม. ที่ 6+612 - 7+751)
15. สายทาง มค.005 ถนนเชิงลาดสะพานลดาวัลย์ข้ามลําน้ําชี อําเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม น้ําท่วมสูง 50 เซนติเมตร
16. สายทาง มค.009 ถนนเชิงลาดสะพานบ้านคุยเชือก อําเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม น้ําท่วมสูง 50 เซนติเมตร
17. สายทาง รอ.033 ถนนเชิงลาดสะพานข้ามลําน้ําชี สะพานคุยโพธิ์ - หนองแก่ง อําเภอโพธิ์ชัย จังหวัดร้อยเอ็ด น้ําท่วมสูง 65 เซนติเมตร (ช่วง กม. ที่ 2+130 - 3+220)
18. สายทาง อย.019 สะพานข้ามแม่น้ําน้อย อําเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา น้ําท่วมสูง 39 เซนติเมตร (ช่วง กม. ที่ 0+000 - 0+050)
19. สายทาง อย.026 สะพานวัดอินทาราม อําเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา น้ําท่วมสูง 70 เซนติเมตร (ช่วง กม. ที่ 0+000 - 0+075)
20. สายทาง อท.2034 แยก ทล.32 - บ้านมหานาม อําเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง น้ําท่วมสูง 50 เซนติเมตร (ช่วง กม. ที่ 0+500 - 7+300)
21. สายทาง ลบ.5183 แยกทางหลวงชนบท ลบ.4056 - บ้านเขาราบ อําเภอยางราก จังหวัดลพบุรี น้ํากัดเซาะคอสะพาน (ช่วง กม. ที่ 1+130 - 1+135)
22. สายทาง สพ.3015 แยกทางหลวงหมายเลข 333 - บ้านหนองหญ้าไซ อําเภอหนองหญ้าไซ จังหวัดสุพรรณบุรี น้ําท่วมสูง 50 เซนติเมตร (ช่วง กม. ที่ 0+000 - 1+100)
23. สายทาง สพ.005 สะพานบางแม่หม้าย - บางเลน อําเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี น้ําท่วมสูง 50 เซนติเมตร (ช่วง กม. ที่ 0+100 - 0+800)
24. สายทาง นฐ.058 สะพานบางไผ่นารถข้ามแม่น้ําท่าจีน อําเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม น้ําท่วมสูง 30 เซนติเมตร (ช่วง กม. ที่ 0+000 - 0+563)
25. สายทาง กจ.4022 แยก ทล.3443 - บ้านหนองไก่เหลือง อําเภอเลาขวัญ จังหวัดกาญจนบุรี เส้นทางขาด (ช่วง กม. ที่ 4+885 - 4+915)
26. สายทาง กจ.4041 แยก ทล.3199 - บ้านท่าลําใย อําเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี ดินไหล่เขาสไลด์ (ช่วง กม. ที่ 22+000 - 25+000)
27. สายทาง กจ.4051 แยก ทล.3086 - บ้านสลอบ อําเภอบ่อพลอย จังหวัดกาญจนบุรี น้ําท่วมสูง 100 เซนติเมตร (ช่วง กม. ที่ 2+200 - 2+300)
28. สายทาง กจ.4062 แยก ทล.3086 - บ้านหนองกร่าง อําเภอบ่อพลอย จังหวัดกาญจนบุรี น้ําท่วมสูง 40 เซนติเมตร (ช่วง กม. ที่ 0+000 - 0+500)
29. สายทาง กจ.4063 แยก ทล.3086 - บ้านน้ําลัด อําเภอหนองปรือ และบ่อพลอย จังหวัดกาญจนบุรี น้ําท่วมสูง 40 เซนติเมตร (ช่วง กม. ที่ 3+300 - 3+350)
ทั้งนี้ ทช. ขอความร่วมมือประชาชนหลีกเลี่ยงเส้นทางดังกล่าว โปรดสังเกตป้ายเตือน ป้ายแนะนําทางเลี่ยงบริเวณสายทางที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย และใช้ความระมัดระวังในการใช้รถใช้ถนน โดย ทช. ได้เตรียมพร้อมเฝ้าระวังสถานการณ์อุทกภัย เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้ประชาชนทันที และเมื่อสถานการณ์กลับเข้าสู่สภาวะปกติจะเร่งดําเนินการซ่อมแซม ฟื้นฟูให้เส้นทางกลับมาใช้สัญจรได้อย่างปลอดภัยโดยเร็วที่สุด ตามนโยบายของนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม โดยประชาชนสามารถแจ้งเหตุอุทกภัยหรือสอบถามเส้นทางได้ที่สายด่วนกรมทางหลวงชนบท โทร. 1146 | https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/47260 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-“ชัยวุฒิ” ตรวจเยี่ยมความคืบหน้า Thailand Digital Valley ปักหมุดพื้นที่พัฒนานวัตกรรมขั้นสูงใหญ่สุดในอาเซียน | วันจันทร์ที่ 11 ตุลาคม 2564
“ชัยวุฒิ” ตรวจเยี่ยมความคืบหน้า Thailand Digital Valley ปักหมุดพื้นที่พัฒนานวัตกรรมขั้นสูงใหญ่สุดในอาเซียน
“ชัยวุฒิ” ตรวจเยี่ยมความคืบหน้า Thailand Digital Valley ปักหมุดพื้นที่พัฒนานวัตกรรมขั้นสูงใหญ่สุดในอาเซียน
“ชัยวุฒิ”รมว.ดีอีเอสลงพื้นที่Thailand Digital Valleyติดตามความคืบหน้าการก่อสร้างพบปะดิจิทัลสตาร์ทอัพหวังปั้นพื้นที่สร้างสรรค์และพัฒนานวัตกรรมขั้นสูงใหญ่ที่สุดในอาเซียนสร้างการจ้างงานด้านดิจิทัลในพื้นที่กว่า20,000คนและเกิดมูลค่าการลงทุนมากกว่า50,000ล้านบาท
นายชัยวุฒิธนาคมานุสรณ์รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม(ดีอีเอส)กล่าวว่าวันนี้ได้นําคณะผู้บริหารลงพื้นที่เขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล(EEC)พร้อมติดตามความคืบหน้าโครงการThailand Digital Valleyในอําเภอศรีราชาจังหวัดชลบุรีซึ่งอยู่ระหว่างการก่อสร้างอาคารTDV2 : Digital Startup Knowledge Exchange Centerและพบปะดิจิทัลสตาร์ทอัพ
สําหรับอาคารTDV2 : Digital Startup Knowledge Exchange Centerขนาดพื้นที่4,500ตารางเมตรเป็นอาคารหลังที่สองต่อจากอาคารTVD1 : depa Digital One Stop Serviceโดยมีเป้าหมายสร้างเพื่อเป็นสถานที่แลกเปลี่ยนข้อมูลด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลเป็นชุมชนของดิจิทัลสตาร์ทอัพ(Digital Startup Community)และพื้นที่ต่อยอดธุรกิจปัจจุบันการก่อสร้างคืบหน้าแล้วกว่า80%และคาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนธันวาคมนี้
โดยล่าสุดมีนักพัฒนาดิจิทัลสตาร์ทอัพรวมถึงบริษัทเทคโนโลยีสัญชาติไทยครอบคลุมตั้งแต่ยักษ์ใหญ่ในอุตสาหกรรมสื่อสารบริษัทแอนิเมชั่นสัญชาติไทยที่มีผลงานคว้ารางวัลระดับโลกผู้ให้บริการแพลตฟอร์มสําหรับการตลาดโซเชียลผู้ให้บริการแพลตฟอร์มด้านSmart Communityและผู้ให้บริการแอปด้านฟินเทคเป็นต้นร่วมจองสิทธิและแสดงความจํานงเช่าพื้นที่ในอาคารเต็มแล้ว100%
“ที่สําคัญในปัจจุบันได้มีความพยายามส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่EECโดยเฉพาะด้านดิจิทัลหรือด้านnew technologyเป็นปัจจัยสําคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจของประเทศถ้าเราเปิดพื้นที่EECdสําหรับดิจิทัลเชื่อว่าจะทําให้เกิดความเชื่อมั่นจากนักลงทุนจากต่างประเทศในด้านเทคโนโลยีสมัยใหม่ด้านดิจิทัลให้มาลงทุนมากขึ้นเรายังมีกระบวนการเชิญชวนให้นักลงทุนด้านดิจิทัลเข้ามาลงทุนในประเทศไทยโดยรวมจะมีการวางโครงสร้างพื้นฐานที่มีความพร้อมทั้งหมดไว้รองรับการพัฒนาธุรกิจดิจิทัลที่สําคัญทางEECจะเข้ามาดูแลเรื่องสิทธิประโยชน์ให้ด้วยเรื่องภาษีเป็นเรื่องสําคัญโดยเฉพาะเรื่องCapital gain taxซึ่งจะมีการติดตามและผลักดันเรื่องนี้ให้ดีที่สุด”นายชัยวุฒิกล่าว
นอกจากนี้ยังได้มอบหมายสํานักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล(ดีป้า)หน่วยงานในสังกัดเร่งสร้างTDV3 : Digital Innovation Centerซึ่งเป็นหัวใจสําคัญของโครงการฯเพื่อเป็นพื้นที่สร้างสรรค์พัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลขั้นสูงที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคอาเซียนด้วยพื้นที่40,000ตารางเมตรคาดว่าจะใช้เวลาราว2ปีในการก่อสร้างส่วนนี้ซึ่งถ้าThailand Digital Valleyแล้วเสร็จสมบูรณ์ทั้งโครงการคาดว่าจะช่วยส่งเสริมให้ดิจิทัลสตาร์ทอัพไทยสามารถเติบโตและก้าวสู่เวทีระดับสากลเกิดการจ้างงานด้านดิจิทัลในพื้นที่กว่า20,000คนและเกิดมูลค่าการลงทุนมากกว่า50,000ล้านบาท
ทั้งนี้เป้าหมายการใช้งานของอาคารTDV3มุ่งหวังสร้างให้เป็นพื้นที่เรียนรู้เพื่อการสร้างสรรค์ขนาดใหญ่(Super Maker Space)พื้นที่ทดลองทดสอบนวัตกรรม5G (Next Gen Telecom Lab)พื้นที่ล้ําสมัยด้านปัญญาประดิษฐ์(AI Lab)พื้นที่ปฏิบัติการและพัฒนาเทคโนโลยีไอโอที(IoT Lab)พื้นที่ปฏิบัติการและพัฒนาเทคโนโลยีโลกเสมือน(XR Lab)พื้นที่ปฏิบัติการนวัตกรรมระบบการประมวลผลแบบคลาวด์(Cloud Innovation Lab)และศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ(Design Center)สําหรับบริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่และดิจิทัลสตาร์ทอัพไทยในระดับภูมิภาค
นายชัยวุฒิกล่าวว่าโครงการThailand Digital Valleyจะมีบทบาทในการเป็นศูนย์กลางการออกแบบพัฒนาวิเคราะห์ทดสอบทดลองเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลขั้นสูงสําหรับดิจิทัลสตาร์ทอัพและบริษัทเทคดิจิทัลชั้นนําระดับประเทศและระดับโลกก่อนต่อยอดสู่ตลาดเชิงพาณิชย์เป็นระบบนิเวศที่เชื่อมโยงบริษัทชั้นนํากับดิจิทัลสตาร์ทอัพในเทคโนโลยีเป้าหมายได้แก่เทคโนโลยีเพื่อการเงิน(FinTech)เทคโนโลยีเพื่อการเกษตร(AgTech)เทคโนโลยีเพื่อการท่องเที่ยว(Travel Tech)เทคโนโลยีเพื่อสุขภาพ(Health Tech)เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา(EdTech)และเทคโนโลยีเพื่อการบริการภาครัฐ(GovTech)
************** | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-“ชัยวุฒิ” ตรวจเยี่ยมความคืบหน้า Thailand Digital Valley ปักหมุดพื้นที่พัฒนานวัตกรรมขั้นสูงใหญ่สุดในอาเซียน
วันจันทร์ที่ 11 ตุลาคม 2564
“ชัยวุฒิ” ตรวจเยี่ยมความคืบหน้า Thailand Digital Valley ปักหมุดพื้นที่พัฒนานวัตกรรมขั้นสูงใหญ่สุดในอาเซียน
“ชัยวุฒิ” ตรวจเยี่ยมความคืบหน้า Thailand Digital Valley ปักหมุดพื้นที่พัฒนานวัตกรรมขั้นสูงใหญ่สุดในอาเซียน
“ชัยวุฒิ”รมว.ดีอีเอสลงพื้นที่Thailand Digital Valleyติดตามความคืบหน้าการก่อสร้างพบปะดิจิทัลสตาร์ทอัพหวังปั้นพื้นที่สร้างสรรค์และพัฒนานวัตกรรมขั้นสูงใหญ่ที่สุดในอาเซียนสร้างการจ้างงานด้านดิจิทัลในพื้นที่กว่า20,000คนและเกิดมูลค่าการลงทุนมากกว่า50,000ล้านบาท
นายชัยวุฒิธนาคมานุสรณ์รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม(ดีอีเอส)กล่าวว่าวันนี้ได้นําคณะผู้บริหารลงพื้นที่เขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล(EEC)พร้อมติดตามความคืบหน้าโครงการThailand Digital Valleyในอําเภอศรีราชาจังหวัดชลบุรีซึ่งอยู่ระหว่างการก่อสร้างอาคารTDV2 : Digital Startup Knowledge Exchange Centerและพบปะดิจิทัลสตาร์ทอัพ
สําหรับอาคารTDV2 : Digital Startup Knowledge Exchange Centerขนาดพื้นที่4,500ตารางเมตรเป็นอาคารหลังที่สองต่อจากอาคารTVD1 : depa Digital One Stop Serviceโดยมีเป้าหมายสร้างเพื่อเป็นสถานที่แลกเปลี่ยนข้อมูลด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลเป็นชุมชนของดิจิทัลสตาร์ทอัพ(Digital Startup Community)และพื้นที่ต่อยอดธุรกิจปัจจุบันการก่อสร้างคืบหน้าแล้วกว่า80%และคาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนธันวาคมนี้
โดยล่าสุดมีนักพัฒนาดิจิทัลสตาร์ทอัพรวมถึงบริษัทเทคโนโลยีสัญชาติไทยครอบคลุมตั้งแต่ยักษ์ใหญ่ในอุตสาหกรรมสื่อสารบริษัทแอนิเมชั่นสัญชาติไทยที่มีผลงานคว้ารางวัลระดับโลกผู้ให้บริการแพลตฟอร์มสําหรับการตลาดโซเชียลผู้ให้บริการแพลตฟอร์มด้านSmart Communityและผู้ให้บริการแอปด้านฟินเทคเป็นต้นร่วมจองสิทธิและแสดงความจํานงเช่าพื้นที่ในอาคารเต็มแล้ว100%
“ที่สําคัญในปัจจุบันได้มีความพยายามส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่EECโดยเฉพาะด้านดิจิทัลหรือด้านnew technologyเป็นปัจจัยสําคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจของประเทศถ้าเราเปิดพื้นที่EECdสําหรับดิจิทัลเชื่อว่าจะทําให้เกิดความเชื่อมั่นจากนักลงทุนจากต่างประเทศในด้านเทคโนโลยีสมัยใหม่ด้านดิจิทัลให้มาลงทุนมากขึ้นเรายังมีกระบวนการเชิญชวนให้นักลงทุนด้านดิจิทัลเข้ามาลงทุนในประเทศไทยโดยรวมจะมีการวางโครงสร้างพื้นฐานที่มีความพร้อมทั้งหมดไว้รองรับการพัฒนาธุรกิจดิจิทัลที่สําคัญทางEECจะเข้ามาดูแลเรื่องสิทธิประโยชน์ให้ด้วยเรื่องภาษีเป็นเรื่องสําคัญโดยเฉพาะเรื่องCapital gain taxซึ่งจะมีการติดตามและผลักดันเรื่องนี้ให้ดีที่สุด”นายชัยวุฒิกล่าว
นอกจากนี้ยังได้มอบหมายสํานักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล(ดีป้า)หน่วยงานในสังกัดเร่งสร้างTDV3 : Digital Innovation Centerซึ่งเป็นหัวใจสําคัญของโครงการฯเพื่อเป็นพื้นที่สร้างสรรค์พัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลขั้นสูงที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคอาเซียนด้วยพื้นที่40,000ตารางเมตรคาดว่าจะใช้เวลาราว2ปีในการก่อสร้างส่วนนี้ซึ่งถ้าThailand Digital Valleyแล้วเสร็จสมบูรณ์ทั้งโครงการคาดว่าจะช่วยส่งเสริมให้ดิจิทัลสตาร์ทอัพไทยสามารถเติบโตและก้าวสู่เวทีระดับสากลเกิดการจ้างงานด้านดิจิทัลในพื้นที่กว่า20,000คนและเกิดมูลค่าการลงทุนมากกว่า50,000ล้านบาท
ทั้งนี้เป้าหมายการใช้งานของอาคารTDV3มุ่งหวังสร้างให้เป็นพื้นที่เรียนรู้เพื่อการสร้างสรรค์ขนาดใหญ่(Super Maker Space)พื้นที่ทดลองทดสอบนวัตกรรม5G (Next Gen Telecom Lab)พื้นที่ล้ําสมัยด้านปัญญาประดิษฐ์(AI Lab)พื้นที่ปฏิบัติการและพัฒนาเทคโนโลยีไอโอที(IoT Lab)พื้นที่ปฏิบัติการและพัฒนาเทคโนโลยีโลกเสมือน(XR Lab)พื้นที่ปฏิบัติการนวัตกรรมระบบการประมวลผลแบบคลาวด์(Cloud Innovation Lab)และศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ(Design Center)สําหรับบริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่และดิจิทัลสตาร์ทอัพไทยในระดับภูมิภาค
นายชัยวุฒิกล่าวว่าโครงการThailand Digital Valleyจะมีบทบาทในการเป็นศูนย์กลางการออกแบบพัฒนาวิเคราะห์ทดสอบทดลองเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลขั้นสูงสําหรับดิจิทัลสตาร์ทอัพและบริษัทเทคดิจิทัลชั้นนําระดับประเทศและระดับโลกก่อนต่อยอดสู่ตลาดเชิงพาณิชย์เป็นระบบนิเวศที่เชื่อมโยงบริษัทชั้นนํากับดิจิทัลสตาร์ทอัพในเทคโนโลยีเป้าหมายได้แก่เทคโนโลยีเพื่อการเงิน(FinTech)เทคโนโลยีเพื่อการเกษตร(AgTech)เทคโนโลยีเพื่อการท่องเที่ยว(Travel Tech)เทคโนโลยีเพื่อสุขภาพ(Health Tech)เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา(EdTech)และเทคโนโลยีเพื่อการบริการภาครัฐ(GovTech)
************** | https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/46870 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สธ.เตือนอย่าหลงเชื่อข่าวปลอม ย้ำบุคลากรทางการแพทย์/ด่านหน้า ได้รับวัคซีนไฟเซอร์ บูสเตอร์ไม่น้อยกว่า 5 แสนโดส | วันอาทิตย์ที่ 25 กรกฎาคม 2564
สธ.เตือนอย่าหลงเชื่อข่าวปลอม ย้ําบุคลากรทางการแพทย์/ด่านหน้า ได้รับวัคซีนไฟเซอร์ บูสเตอร์ไม่น้อยกว่า 5 แสนโดส
กระทรวงสาธารณสุข ย้ําบุคลากรทางการแพทย์และบุคลากรด่านหน้า ได้รับวัคซีนบูสเตอร์โดสทุกคนตามรายชื่อที่ได้แจ้งไว้ จัดสรรไฟเซอร์ให้ไม่น้อยกว่า 5 แสนโดส ฉีดต้นสิงหาคม 2564 ส่วนที่จะเข้ามาอีก 20 ล้านโดส
กระทรวงสาธารณสุข ย้ําบุคลากรทางการแพทย์และบุคลากรด่านหน้า ได้รับวัคซีนบูสเตอร์โดสทุกคนตามรายชื่อที่ได้แจ้งไว้ จัดสรรไฟเซอร์ให้ไม่น้อยกว่า 5 แสนโดส ฉีดต้นสิงหาคม 2564 ส่วนที่จะเข้ามาอีก 20 ล้านโดสฉีดในไตรมาส 4 โดยคณะทํางานด้านบริหารจัดการการให้บริการวัคซีนโควิด 19 กรณีวัคซีนไฟเซอร์ (Pfizer) เป็นผู้พิจารณา ไม่มีค่าใช้จ่าย เตือนอย่าหลงเชื่อข่าวปลอม ให้ฟังข้อมูลที่ถูกต้องจากกระทรวงสาธารณสุข
วันนี้ (25 กรกฎาคม 2564) ที่ศูนย์แถลงข่าวโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กระทรวงสาธารณสุขจ.นนทบุรี นพ.รุ่งเรือง กิจผาติ ที่ปรึกษาระดับกระทรวง และโฆษกกระทรวงสาธารณสุข แถลงข่าวประเด็น การบริหารจัดการวัคซีนไฟเซอร์ ว่า กระทรวงสาธารณสุข โดยคณะอนุกรรมการอํานวยการบริหารจัดการการให้วัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) ได้ตั้งคณะทํางานด้านบริหารจัดการการให้บริการวัคซีนโควิด 19กรณีวัคซีนไฟเซอร์ (Pfizer) ซึ่งมีผู้แทนและผู้ทรงคุณวุฒิจากทุกภาคส่วน ร่วมกันพิจารณาจัดสรร และกระจายวัคซีนไฟเซอร์ ให้กับกลุ่มเป้าหมายตามมติที่ประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด 19 (ศบค.) โดยวัคซีนไฟเซอร์ล็อตแรก จํานวน 1.54 ล้านโดสจะเข้ามาภายในเดือนกรกฎาคมนี้ เริ่มฉีดต้นเดือนสิงหาคม 2564 ในกลุ่มบุคลากรการแพทย์และสาธารณสุข/บุคลากรด่านหน้า ไม่น้อยกว่า 5 แสนโดส ที่เหลือจัดสรรไปยังกลุ่มเสี่ยง พื้นที่เสี่ยงอื่น ๆ และเพื่อควบคุมการระบาดในพื้นที่
นายแพทย์รุ่งเรืองกล่าวต่อว่า กรณีข่าวการจัดสรรวัคซีนไฟเซอร์ให้กับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข/ด่านหน้าเหลือ 2 แสนโดสนั้น ขอย้ําไม่เป็นความจริง การจัดสรรวัคซีน กระทรวงสาธารณสุขให้ความสําคัญของบุคลากรด้านการแพทย์และด่านหน้า เพื่อธํารงรักษาระบบสาธารณสุขของประเทศรับมือกับสถานการณ์การระบาดของโควิด 19บุคลากรด่านหน้าทุกคนต้องได้รับวัคซีนเข็มที่ 3 เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ซึ่งขณะนี้บุคลากรบางส่วนที่ฉีดวัคซีนซิโนแวค 2 เข็ม และฉีดเข็ม 3 เป็นแอสตร้าเซนเนก้า ผลการศึกษาพบว่ามีระดับภูมิคุ้มกันสูงมาก มากกว่าฉีดเข็ม 1 ซิโนแวค เข็ม 2 แอสตร้าเซนเนก้า, แอสตร้าเซนเนก้า 2 เข็ม, ไฟเซอร์ 2 เข็ม, ซิโนแวค 2 เข็ม และสูงกว่าภูมิคุ้มกันหลังการติดเชื้อ รวมทั้งไม่มีการบังคับให้ฉีดเข็มกระตุ้นเป็นแอสตร้าเซนเนก้า การฉีดเป็นไปตามความสมัครใจ ขณะนี้ได้ให้ทุกโรงพยาบาลสํารวจข้อมูลบุคลากรด่านหน้าและจะฉีดให้ตามที่ได้แจ้งไว้ สําหรับวัคซีนไฟเซอร์อีกจํานวน 20 ล้านโดสจะเข้ามาในประเทศไทยและเริ่มฉีดได้ในช่วงเดือนตุลาคมถึงธันวาคม 2564 การจัดสรรจะอยู่ภายใต้การพิจารณาของคณะทํางานฯ วัคซีนไฟเซอร์ และจะแจ้งให้ทราบต่อไป
“ขณะนี้มีการแอบอ้าง หลอกลวงเรื่องการฉีดวัคซีนไฟเซอร์และเรียกเก็บเงิน ขอย้ําว่าวัคซีนไฟเซอร์ทั้ง 21.54 ล้านโดส เป็นการฉีดฟรี ไม่มีการเรียกเก็บค่าใช้จ่าย กระทรวงสาธารณสุขจะดําเนินคดีกับผู้แอบอ้างถึงที่สุดขอให้อย่าหลงเชื่อ และติดตามข้อมูลที่ถูกต้องจากกระทรวงสาธารณสุข” นายแพทย์รุ่งเรืองกล่าว
นายแพทย์รุ่งเรืองกล่าวอีกว่า สิ่งสําคัญที่จะช่วยให้เราผ่านพ้นสถานการณ์โควิด 19 ไปได้ คือความร่วมมือของประชาชนทุกคนและทุกภาคส่วน เข้มข้นมาตรการป้องกันโรค ขอเรียนว่า บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขทุกคนทํางานอย่างหนักมากเพื่อดูแลประชาชนอย่างดีที่สุด ทั้งทีมเชิงรุกสู่ชุมชน การบริหารจัดการเตียงรับผู้ป่วยอาการวิกฤตรุนแรง รวมทั้งปรับมาตรการดูแลผู้ป่วยที่บ้านและชุมชน
****************************************** 25 กรกฎาคม 2564
******************************************** | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สธ.เตือนอย่าหลงเชื่อข่าวปลอม ย้ำบุคลากรทางการแพทย์/ด่านหน้า ได้รับวัคซีนไฟเซอร์ บูสเตอร์ไม่น้อยกว่า 5 แสนโดส
วันอาทิตย์ที่ 25 กรกฎาคม 2564
สธ.เตือนอย่าหลงเชื่อข่าวปลอม ย้ําบุคลากรทางการแพทย์/ด่านหน้า ได้รับวัคซีนไฟเซอร์ บูสเตอร์ไม่น้อยกว่า 5 แสนโดส
กระทรวงสาธารณสุข ย้ําบุคลากรทางการแพทย์และบุคลากรด่านหน้า ได้รับวัคซีนบูสเตอร์โดสทุกคนตามรายชื่อที่ได้แจ้งไว้ จัดสรรไฟเซอร์ให้ไม่น้อยกว่า 5 แสนโดส ฉีดต้นสิงหาคม 2564 ส่วนที่จะเข้ามาอีก 20 ล้านโดส
กระทรวงสาธารณสุข ย้ําบุคลากรทางการแพทย์และบุคลากรด่านหน้า ได้รับวัคซีนบูสเตอร์โดสทุกคนตามรายชื่อที่ได้แจ้งไว้ จัดสรรไฟเซอร์ให้ไม่น้อยกว่า 5 แสนโดส ฉีดต้นสิงหาคม 2564 ส่วนที่จะเข้ามาอีก 20 ล้านโดสฉีดในไตรมาส 4 โดยคณะทํางานด้านบริหารจัดการการให้บริการวัคซีนโควิด 19 กรณีวัคซีนไฟเซอร์ (Pfizer) เป็นผู้พิจารณา ไม่มีค่าใช้จ่าย เตือนอย่าหลงเชื่อข่าวปลอม ให้ฟังข้อมูลที่ถูกต้องจากกระทรวงสาธารณสุข
วันนี้ (25 กรกฎาคม 2564) ที่ศูนย์แถลงข่าวโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กระทรวงสาธารณสุขจ.นนทบุรี นพ.รุ่งเรือง กิจผาติ ที่ปรึกษาระดับกระทรวง และโฆษกกระทรวงสาธารณสุข แถลงข่าวประเด็น การบริหารจัดการวัคซีนไฟเซอร์ ว่า กระทรวงสาธารณสุข โดยคณะอนุกรรมการอํานวยการบริหารจัดการการให้วัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) ได้ตั้งคณะทํางานด้านบริหารจัดการการให้บริการวัคซีนโควิด 19กรณีวัคซีนไฟเซอร์ (Pfizer) ซึ่งมีผู้แทนและผู้ทรงคุณวุฒิจากทุกภาคส่วน ร่วมกันพิจารณาจัดสรร และกระจายวัคซีนไฟเซอร์ ให้กับกลุ่มเป้าหมายตามมติที่ประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด 19 (ศบค.) โดยวัคซีนไฟเซอร์ล็อตแรก จํานวน 1.54 ล้านโดสจะเข้ามาภายในเดือนกรกฎาคมนี้ เริ่มฉีดต้นเดือนสิงหาคม 2564 ในกลุ่มบุคลากรการแพทย์และสาธารณสุข/บุคลากรด่านหน้า ไม่น้อยกว่า 5 แสนโดส ที่เหลือจัดสรรไปยังกลุ่มเสี่ยง พื้นที่เสี่ยงอื่น ๆ และเพื่อควบคุมการระบาดในพื้นที่
นายแพทย์รุ่งเรืองกล่าวต่อว่า กรณีข่าวการจัดสรรวัคซีนไฟเซอร์ให้กับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข/ด่านหน้าเหลือ 2 แสนโดสนั้น ขอย้ําไม่เป็นความจริง การจัดสรรวัคซีน กระทรวงสาธารณสุขให้ความสําคัญของบุคลากรด้านการแพทย์และด่านหน้า เพื่อธํารงรักษาระบบสาธารณสุขของประเทศรับมือกับสถานการณ์การระบาดของโควิด 19บุคลากรด่านหน้าทุกคนต้องได้รับวัคซีนเข็มที่ 3 เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ซึ่งขณะนี้บุคลากรบางส่วนที่ฉีดวัคซีนซิโนแวค 2 เข็ม และฉีดเข็ม 3 เป็นแอสตร้าเซนเนก้า ผลการศึกษาพบว่ามีระดับภูมิคุ้มกันสูงมาก มากกว่าฉีดเข็ม 1 ซิโนแวค เข็ม 2 แอสตร้าเซนเนก้า, แอสตร้าเซนเนก้า 2 เข็ม, ไฟเซอร์ 2 เข็ม, ซิโนแวค 2 เข็ม และสูงกว่าภูมิคุ้มกันหลังการติดเชื้อ รวมทั้งไม่มีการบังคับให้ฉีดเข็มกระตุ้นเป็นแอสตร้าเซนเนก้า การฉีดเป็นไปตามความสมัครใจ ขณะนี้ได้ให้ทุกโรงพยาบาลสํารวจข้อมูลบุคลากรด่านหน้าและจะฉีดให้ตามที่ได้แจ้งไว้ สําหรับวัคซีนไฟเซอร์อีกจํานวน 20 ล้านโดสจะเข้ามาในประเทศไทยและเริ่มฉีดได้ในช่วงเดือนตุลาคมถึงธันวาคม 2564 การจัดสรรจะอยู่ภายใต้การพิจารณาของคณะทํางานฯ วัคซีนไฟเซอร์ และจะแจ้งให้ทราบต่อไป
“ขณะนี้มีการแอบอ้าง หลอกลวงเรื่องการฉีดวัคซีนไฟเซอร์และเรียกเก็บเงิน ขอย้ําว่าวัคซีนไฟเซอร์ทั้ง 21.54 ล้านโดส เป็นการฉีดฟรี ไม่มีการเรียกเก็บค่าใช้จ่าย กระทรวงสาธารณสุขจะดําเนินคดีกับผู้แอบอ้างถึงที่สุดขอให้อย่าหลงเชื่อ และติดตามข้อมูลที่ถูกต้องจากกระทรวงสาธารณสุข” นายแพทย์รุ่งเรืองกล่าว
นายแพทย์รุ่งเรืองกล่าวอีกว่า สิ่งสําคัญที่จะช่วยให้เราผ่านพ้นสถานการณ์โควิด 19 ไปได้ คือความร่วมมือของประชาชนทุกคนและทุกภาคส่วน เข้มข้นมาตรการป้องกันโรค ขอเรียนว่า บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขทุกคนทํางานอย่างหนักมากเพื่อดูแลประชาชนอย่างดีที่สุด ทั้งทีมเชิงรุกสู่ชุมชน การบริหารจัดการเตียงรับผู้ป่วยอาการวิกฤตรุนแรง รวมทั้งปรับมาตรการดูแลผู้ป่วยที่บ้านและชุมชน
****************************************** 25 กรกฎาคม 2564
******************************************** | https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/44106 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ประธานรัฐสภา ร่วมกับ พม. มอบหน้ากากอนามัยช่วยกลุ่มเปราะบางและเด็กป้องกันโควิด-19 ในพื้นที่ 3 จังหวัดภาคเหนือ พร้อมมอบนมผงสำหรับเด็ก พม. ปันสุข | วันจันทร์ที่ 27 กันยายน 2564
ประธานรัฐสภา ร่วมกับ พม. มอบหน้ากากอนามัยช่วยกลุ่มเปราะบางและเด็กป้องกันโควิด-19 ในพื้นที่ 3 จังหวัดภาคเหนือ พร้อมมอบนมผงสําหรับเด็ก พม. ปันสุข
ประธานรัฐสภา ร่วมกับ พม. มอบหน้ากากอนามัยช่วยกลุ่มเปราะบางและเด็กป้องกันโควิด-19 ในพื้นที่ 3 จังหวัดภาคเหนือ พร้อมมอบนมผงสําหรับเด็ก พม. ปันสุข
เมื่อวันที่ 26 ก.ย. 64นางพัชรี อาระยะกุล ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (ปลัด พม.)เปิดเผยว่า ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ได้ส่งผลกระทบทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคมต่อประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมายในวงกว้างทั่วประเทศอย่างต่อเนื่องและมีแนวโน้มความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น กระทรวง พม. จึงมีความห่วงใยกลุ่มเปราะบางที่มีความเสี่ยงสูง ได้แก่ เด็ก ผู้สูงอายุ คนพิการ คนเร่ร่อน คนไร้บ้าน ผู้ป่วยติดเตียง พ่อแม่เลี้ยงเดี่ยว และผู้ด้อยโอกาส ทั้งนี้ ในเบื้องต้น จึงจําเป็นต้องให้ความช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางในการป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งวานนี้ (25 ก.ย. 64) นายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภาในฐานะประธานมูลนิธิเพื่อการศึกษาและสังคมพร้อมด้วยตน และคณะผู้บริหารกระทรวง พม. ได้บูรณาการร่วมกันลงพื้นที่ 3 จังหวัดภาคเหนือ ได้แก่ จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ และแม่ฮ่องสอน เพื่อมอบหน้ากากอนามัยสําหรับผู้ใหญ่ จังหวัดละ 10,000 ชิ้น รวมทั้งสิ้น 30,000 ชิ้น และหน้ากากอนามัยสําหรับเด็ก จังหวัดละ 2,000 ชิ้น รวมทั้งสิ้น 6,000 ชิ้น ให้กับผู้ว่าราชการจังหวัดและรองผู้ว่าราชการจังหวัด เพื่อส่งต่อให้พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดนําไปแจกจ่ายช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางสําหรับป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 อีกทั้งได้มอบนมผงสําหรับเด็ก พม. ปันสุข เพื่อนําไปช่วยเหลือครอบครัวกลุ่มเปราะบางที่ขาดแคลน โดยเฉพาะครอบครัวแม่เลี้ยงเดี่ยว ทั้งนี้ อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) ในพื้นที่จะช่วยแจกจ่ายอย่างทั่วถึงต่อไป
นางพัชรีกล่าวเพิ่มเติมว่า หากกลุ่มเปราะบางและประชาชนประสบปัญหาทางสังคมและได้รับความเดือดร้อนจากผลกระทบของโควิด-19 สามารถติดต่อขอความช่วยเหลือได้ที่ ศูนย์ช่วยเหลือสังคม สายด่วน พม. โทร. 1300 บริการ 24 ชั่วโมง และสํานักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด และ อาสาสมัครพัฒนาสังคมฯ (อพม.) ในพื้นที่ | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ประธานรัฐสภา ร่วมกับ พม. มอบหน้ากากอนามัยช่วยกลุ่มเปราะบางและเด็กป้องกันโควิด-19 ในพื้นที่ 3 จังหวัดภาคเหนือ พร้อมมอบนมผงสำหรับเด็ก พม. ปันสุข
วันจันทร์ที่ 27 กันยายน 2564
ประธานรัฐสภา ร่วมกับ พม. มอบหน้ากากอนามัยช่วยกลุ่มเปราะบางและเด็กป้องกันโควิด-19 ในพื้นที่ 3 จังหวัดภาคเหนือ พร้อมมอบนมผงสําหรับเด็ก พม. ปันสุข
ประธานรัฐสภา ร่วมกับ พม. มอบหน้ากากอนามัยช่วยกลุ่มเปราะบางและเด็กป้องกันโควิด-19 ในพื้นที่ 3 จังหวัดภาคเหนือ พร้อมมอบนมผงสําหรับเด็ก พม. ปันสุข
เมื่อวันที่ 26 ก.ย. 64นางพัชรี อาระยะกุล ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (ปลัด พม.)เปิดเผยว่า ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ได้ส่งผลกระทบทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคมต่อประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมายในวงกว้างทั่วประเทศอย่างต่อเนื่องและมีแนวโน้มความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น กระทรวง พม. จึงมีความห่วงใยกลุ่มเปราะบางที่มีความเสี่ยงสูง ได้แก่ เด็ก ผู้สูงอายุ คนพิการ คนเร่ร่อน คนไร้บ้าน ผู้ป่วยติดเตียง พ่อแม่เลี้ยงเดี่ยว และผู้ด้อยโอกาส ทั้งนี้ ในเบื้องต้น จึงจําเป็นต้องให้ความช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางในการป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งวานนี้ (25 ก.ย. 64) นายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภาในฐานะประธานมูลนิธิเพื่อการศึกษาและสังคมพร้อมด้วยตน และคณะผู้บริหารกระทรวง พม. ได้บูรณาการร่วมกันลงพื้นที่ 3 จังหวัดภาคเหนือ ได้แก่ จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ และแม่ฮ่องสอน เพื่อมอบหน้ากากอนามัยสําหรับผู้ใหญ่ จังหวัดละ 10,000 ชิ้น รวมทั้งสิ้น 30,000 ชิ้น และหน้ากากอนามัยสําหรับเด็ก จังหวัดละ 2,000 ชิ้น รวมทั้งสิ้น 6,000 ชิ้น ให้กับผู้ว่าราชการจังหวัดและรองผู้ว่าราชการจังหวัด เพื่อส่งต่อให้พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดนําไปแจกจ่ายช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางสําหรับป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 อีกทั้งได้มอบนมผงสําหรับเด็ก พม. ปันสุข เพื่อนําไปช่วยเหลือครอบครัวกลุ่มเปราะบางที่ขาดแคลน โดยเฉพาะครอบครัวแม่เลี้ยงเดี่ยว ทั้งนี้ อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) ในพื้นที่จะช่วยแจกจ่ายอย่างทั่วถึงต่อไป
นางพัชรีกล่าวเพิ่มเติมว่า หากกลุ่มเปราะบางและประชาชนประสบปัญหาทางสังคมและได้รับความเดือดร้อนจากผลกระทบของโควิด-19 สามารถติดต่อขอความช่วยเหลือได้ที่ ศูนย์ช่วยเหลือสังคม สายด่วน พม. โทร. 1300 บริการ 24 ชั่วโมง และสํานักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด และ อาสาสมัครพัฒนาสังคมฯ (อพม.) ในพื้นที่ | https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/46251 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-คำกล่าว พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี “อนาคต และโอกาสในการทำงานของคนพิการไทย ในทศวรรษหน้า” วันที่ 23 พฤศจิกายน 2564 | วันอังคารที่ 23 พฤศจิกายน 2564
คํากล่าว พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี “อนาคต และโอกาสในการทํางานของคนพิการไทย ในทศวรรษหน้า” วันที่ 23 พฤศจิกายน 2564
คํากล่าว พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี “อนาคต และโอกาสในการทํางานของคนพิการไทย ในทศวรรษหน้า” วันที่ 23 พฤศจิกายน 2564
พี่น้องคนพิการที่รักทุกท่าน
ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี การเมือง เศรษฐกิจและสังคมของโลก โดยเฉพาะในช่วงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ส่งผลกระทบในวงกว้าง ยิ่งเร่งให้ทุกประเทศเกิดการเปลี่ยนแปลงในทุกมิติเร็วมากยิ่งขึ้น รัฐบาลได้เล็งเห็นความสําคัญของการสร้างและพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้มีความสามารถเท่าทันการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ซึ่งรวมไปถึงพี่น้องคนพิการทุกท่าน
ที่ผ่านมารัฐบาลได้มีมาตรการเร่งด่วนเพื่อช่วยเหลือเยียวยาพี่น้องคนพิการที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ดังกล่าว โดยมอบเงินช่วยเหลือเยียวยา การพักชําระหนี้ และการให้กู้ยืมเงินฉุกเฉินจากกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคนพิการ โดยไม่ต้องมีผู้ค้ําประกันและไม่มีดอกเบี้ย พร้อมทั้งปรับเพิ่มสวัสดิการเบี้ยคนพิการจากคนละ 800 บาท เป็น 1,000 บาท เพื่อให้ทุกท่านสามารถผ่านพ้นสถานการณ์วิกฤตที่เกิดขึ้นได้
นอกจากนี้ รัฐบาลได้ศึกษาและผลักดันนโยบายเพื่อสร้างสภาพแวดล้อม ที่ทุกคนเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ ซึ่งถือเป็นหนึ่งในแผนการปฏิรูปประเทศตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และเป็นไปตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ ที่มีเจตนารมณ์อย่างชัดเจนว่า เราจะ “ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง” เพื่อสร้างความเสมอภาคเท่าเทียมให้แก่กลุ่มเปราะบางทุกกลุ่ม
โอกาสนี้ ผมขอชื่นชมกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และภาคเอกชนที่ได้เล็งเห็นถึงศักยภาพของผู้พิการที่ไม่ได้ด้อยไม่กว่าคนปกติ และได้ร่วมกันขับเคลื่อนการนําเทคโนโลยีขั้นสูงมาเสริมสร้างประสิทธิภาพการทํางานของพี่น้องคนพิการ และส่งเสริมให้ได้แสดงความรู้ความสามารถของตน โดยผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าพี่น้องผู้พิการทุกท่านจะใช้โอกาสดังกล่าวในการเรียนรู้และพัฒนาตน เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาชีพ และเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาประเทศชาติของเราต่อไป
สุดท้ายนี้ ผมขออาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัย และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ท่านเคารพนับถือ อีกทั้งเดชะพระบารมีแห่งองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี โปรดดลบันดาลประทานพรให้พี่น้องผู้พิการ และผู้มีส่วนร่วมในโครงการทุกท่าน ประสบแต่ความสุข ความเจริญ และขอให้การจัดงานสําเร็จตามวัตถุประสงค์ทุกประการ
สวัสดีครับ | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-คำกล่าว พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี “อนาคต และโอกาสในการทำงานของคนพิการไทย ในทศวรรษหน้า” วันที่ 23 พฤศจิกายน 2564
วันอังคารที่ 23 พฤศจิกายน 2564
คํากล่าว พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี “อนาคต และโอกาสในการทํางานของคนพิการไทย ในทศวรรษหน้า” วันที่ 23 พฤศจิกายน 2564
คํากล่าว พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี “อนาคต และโอกาสในการทํางานของคนพิการไทย ในทศวรรษหน้า” วันที่ 23 พฤศจิกายน 2564
พี่น้องคนพิการที่รักทุกท่าน
ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี การเมือง เศรษฐกิจและสังคมของโลก โดยเฉพาะในช่วงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ส่งผลกระทบในวงกว้าง ยิ่งเร่งให้ทุกประเทศเกิดการเปลี่ยนแปลงในทุกมิติเร็วมากยิ่งขึ้น รัฐบาลได้เล็งเห็นความสําคัญของการสร้างและพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้มีความสามารถเท่าทันการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ซึ่งรวมไปถึงพี่น้องคนพิการทุกท่าน
ที่ผ่านมารัฐบาลได้มีมาตรการเร่งด่วนเพื่อช่วยเหลือเยียวยาพี่น้องคนพิการที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ดังกล่าว โดยมอบเงินช่วยเหลือเยียวยา การพักชําระหนี้ และการให้กู้ยืมเงินฉุกเฉินจากกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคนพิการ โดยไม่ต้องมีผู้ค้ําประกันและไม่มีดอกเบี้ย พร้อมทั้งปรับเพิ่มสวัสดิการเบี้ยคนพิการจากคนละ 800 บาท เป็น 1,000 บาท เพื่อให้ทุกท่านสามารถผ่านพ้นสถานการณ์วิกฤตที่เกิดขึ้นได้
นอกจากนี้ รัฐบาลได้ศึกษาและผลักดันนโยบายเพื่อสร้างสภาพแวดล้อม ที่ทุกคนเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ ซึ่งถือเป็นหนึ่งในแผนการปฏิรูปประเทศตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และเป็นไปตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ ที่มีเจตนารมณ์อย่างชัดเจนว่า เราจะ “ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง” เพื่อสร้างความเสมอภาคเท่าเทียมให้แก่กลุ่มเปราะบางทุกกลุ่ม
โอกาสนี้ ผมขอชื่นชมกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และภาคเอกชนที่ได้เล็งเห็นถึงศักยภาพของผู้พิการที่ไม่ได้ด้อยไม่กว่าคนปกติ และได้ร่วมกันขับเคลื่อนการนําเทคโนโลยีขั้นสูงมาเสริมสร้างประสิทธิภาพการทํางานของพี่น้องคนพิการ และส่งเสริมให้ได้แสดงความรู้ความสามารถของตน โดยผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าพี่น้องผู้พิการทุกท่านจะใช้โอกาสดังกล่าวในการเรียนรู้และพัฒนาตน เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาชีพ และเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาประเทศชาติของเราต่อไป
สุดท้ายนี้ ผมขออาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัย และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ท่านเคารพนับถือ อีกทั้งเดชะพระบารมีแห่งองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี โปรดดลบันดาลประทานพรให้พี่น้องผู้พิการ และผู้มีส่วนร่วมในโครงการทุกท่าน ประสบแต่ความสุข ความเจริญ และขอให้การจัดงานสําเร็จตามวัตถุประสงค์ทุกประการ
สวัสดีครับ | https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/48594 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ปลัดฯ กอบชัย เข้าเฝ้ารับเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ไปในการพระราชกุศลทักษิณานุปทานและพระราชพิธีฉัตรมงคล | วันพุธที่ 4 พฤษภาคม 2565
ปลัดฯ กอบชัย เข้าเฝ้ารับเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดําเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ไปในการพระราชกุศลทักษิณานุปทานและพระราชพิธีฉัตรมงคล
ปลัดฯ กอบชัย เข้าเฝ้ารับเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดําเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ไปในการพระราชกุศลทักษิณานุปทานและพระราชพิธีฉัตรมงคล
ปลัดฯ กอบชัย เข้าเฝ้ารับเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดําเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ไปในการพระราชกุศลทักษิณานุปทานและพระราชพิธีฉัตรมงคล
วันนี้ (3 พฤษภาคม 2565) เวลา 17.00 น. นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เข้าเฝ้ารับเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดําเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ไปในการพระราชกุศลทักษิณานุปทานและพระราชพิธีฉัตรมงคล พฤษภาคม พุทธศักราช 2565 ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ในพระบรมมหาราชวัง
#กระทรวงอุตสาหกรรม
#พระราชพิธีฉัตรมงคล2565 | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ปลัดฯ กอบชัย เข้าเฝ้ารับเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ไปในการพระราชกุศลทักษิณานุปทานและพระราชพิธีฉัตรมงคล
วันพุธที่ 4 พฤษภาคม 2565
ปลัดฯ กอบชัย เข้าเฝ้ารับเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดําเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ไปในการพระราชกุศลทักษิณานุปทานและพระราชพิธีฉัตรมงคล
ปลัดฯ กอบชัย เข้าเฝ้ารับเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดําเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ไปในการพระราชกุศลทักษิณานุปทานและพระราชพิธีฉัตรมงคล
ปลัดฯ กอบชัย เข้าเฝ้ารับเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดําเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ไปในการพระราชกุศลทักษิณานุปทานและพระราชพิธีฉัตรมงคล
วันนี้ (3 พฤษภาคม 2565) เวลา 17.00 น. นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เข้าเฝ้ารับเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดําเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ไปในการพระราชกุศลทักษิณานุปทานและพระราชพิธีฉัตรมงคล พฤษภาคม พุทธศักราช 2565 ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ในพระบรมมหาราชวัง
#กระทรวงอุตสาหกรรม
#พระราชพิธีฉัตรมงคล2565 | https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/54200 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ปลัด วธ. เป็นประธานสักการะพระพุทธสิริวัฒนธรรโมภาส พระพุทธรูปประจำกระทรวง ไหว้ศาลพระภูมิ และศาลตายาย | วันจันทร์ที่ 28 มิถุนายน 2564
ปลัด วธ. เป็นประธานสักการะพระพุทธสิริวัฒนธรรโมภาส พระพุทธรูปประจํากระทรวง ไหว้ศาลพระภูมิ และศาลตายาย
พิธีอัญเชิญพระพุทธรูปประดิษฐาน ณ อาคารที่ทําการชั่วคราวหลังใหม่ของกองพิธีการศพที่ได้รับพระราชทาน
วันที่ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๖๔ เวลา ๐๗.๔๕ น. นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานสักการะพระพุทธสิริวัฒนธรรโมภาส พระพุทธรูปประจํากระทรวง ไหว้ศาลพระภูมิ และศาลตายาย จากนั้น อัญเชิญพระพุทธรูปประดิษฐาน ณ อาคารที่ทําการชั่วคราวหลังใหม่ของกองพิธีการศพที่ได้รับพระราชทาน โดยมีนายประสพ เรียงเงิน รองปลัดกระทรวงวัฒนธรรม นายเกรียงศักดิ์ บุญประสิทธิ์ อธิบดีกรมการศาสนา ผู้บริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม ณ อาคารวัฒนธรรมวิศิษฏ์ และอาคารที่ทําการชั่วคราวหลังใหม่ของกองพิธีการศพที่ได้รับพระราชทาน กระทรวงวัฒนธรรม | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ปลัด วธ. เป็นประธานสักการะพระพุทธสิริวัฒนธรรโมภาส พระพุทธรูปประจำกระทรวง ไหว้ศาลพระภูมิ และศาลตายาย
วันจันทร์ที่ 28 มิถุนายน 2564
ปลัด วธ. เป็นประธานสักการะพระพุทธสิริวัฒนธรรโมภาส พระพุทธรูปประจํากระทรวง ไหว้ศาลพระภูมิ และศาลตายาย
พิธีอัญเชิญพระพุทธรูปประดิษฐาน ณ อาคารที่ทําการชั่วคราวหลังใหม่ของกองพิธีการศพที่ได้รับพระราชทาน
วันที่ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๖๔ เวลา ๐๗.๔๕ น. นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานสักการะพระพุทธสิริวัฒนธรรโมภาส พระพุทธรูปประจํากระทรวง ไหว้ศาลพระภูมิ และศาลตายาย จากนั้น อัญเชิญพระพุทธรูปประดิษฐาน ณ อาคารที่ทําการชั่วคราวหลังใหม่ของกองพิธีการศพที่ได้รับพระราชทาน โดยมีนายประสพ เรียงเงิน รองปลัดกระทรวงวัฒนธรรม นายเกรียงศักดิ์ บุญประสิทธิ์ อธิบดีกรมการศาสนา ผู้บริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม ณ อาคารวัฒนธรรมวิศิษฏ์ และอาคารที่ทําการชั่วคราวหลังใหม่ของกองพิธีการศพที่ได้รับพระราชทาน กระทรวงวัฒนธรรม | https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/43182 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-บขส. ปรับรถร่วมฯ ขายตั๋วเกินราคา 5,000 บาท พร้อมเพิ่มโทษพักใช้รถอีก 15 วัน | วันอาทิตย์ที่ 28 พฤศจิกายน 2564
บขส. ปรับรถร่วมฯ ขายตั๋วเกินราคา 5,000 บาท พร้อมเพิ่มโทษพักใช้รถอีก 15 วัน
...
ตามที่มีผู้โดยสารร้องเรียน ประเด็น "VIP ทิพย์ จองตั๋วรถร่วมฯ 32 ที่นั่ง ปรากฎว่าได้นั่งรถ ที่ไม่ใช่แบบที่ระบุไว้ ทั้งที่มีการจองตั๋วจ่ายเงินเรียบร้อย"
นายสัญลักข์ ปัญวัฒนลิขิต กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ขนส่ง จํากัด (บขส.) กระทรวงคมนาคม ขอแจ้งว่า บขส. ในฐานะผู้กํากับดูแลการให้บริการของรถร่วมเอกชน ได้รับทราบเรื่องร้องเรียนดังกล่าว และได้มอบหมายนางวราภรณ์ ชัยฤกษ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ฝ่ายบริหารการเดินรถ บขส. ดําเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงทันที
พบว่า รถร่วมฯ คันดังกล่าว เป็นของ บริษัท ไทยศรีราม และได้กระทําผิดจริง ฐานจําหน่ายตั๋วเกินราคา จึงได้ดําเนินการตามระเบียบของบริษัทฯ โดยปรับเป็นเงิน 5,000 บาท และให้เพิ่มโทษหยุดพักรถ โดยห้ามนํารถมาวิ่ง เป็นเวลา 15 วัน
ทั้งนี้ กระทรวงคมนาคม และ บขส. ขออภัยต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และได้กําชับไปยังผู้ประกอบการรถร่วมฯ ให้ปฏิบัติตามกฏระเบียบฯ อย่างเคร่งครัด เพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้ใช้บริการ
สอบถามข้อมูลการเดินทางและร้องเรียนบริการได้ที่ call center 1490 เรียก บขส. | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-บขส. ปรับรถร่วมฯ ขายตั๋วเกินราคา 5,000 บาท พร้อมเพิ่มโทษพักใช้รถอีก 15 วัน
วันอาทิตย์ที่ 28 พฤศจิกายน 2564
บขส. ปรับรถร่วมฯ ขายตั๋วเกินราคา 5,000 บาท พร้อมเพิ่มโทษพักใช้รถอีก 15 วัน
...
ตามที่มีผู้โดยสารร้องเรียน ประเด็น "VIP ทิพย์ จองตั๋วรถร่วมฯ 32 ที่นั่ง ปรากฎว่าได้นั่งรถ ที่ไม่ใช่แบบที่ระบุไว้ ทั้งที่มีการจองตั๋วจ่ายเงินเรียบร้อย"
นายสัญลักข์ ปัญวัฒนลิขิต กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ขนส่ง จํากัด (บขส.) กระทรวงคมนาคม ขอแจ้งว่า บขส. ในฐานะผู้กํากับดูแลการให้บริการของรถร่วมเอกชน ได้รับทราบเรื่องร้องเรียนดังกล่าว และได้มอบหมายนางวราภรณ์ ชัยฤกษ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ฝ่ายบริหารการเดินรถ บขส. ดําเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงทันที
พบว่า รถร่วมฯ คันดังกล่าว เป็นของ บริษัท ไทยศรีราม และได้กระทําผิดจริง ฐานจําหน่ายตั๋วเกินราคา จึงได้ดําเนินการตามระเบียบของบริษัทฯ โดยปรับเป็นเงิน 5,000 บาท และให้เพิ่มโทษหยุดพักรถ โดยห้ามนํารถมาวิ่ง เป็นเวลา 15 วัน
ทั้งนี้ กระทรวงคมนาคม และ บขส. ขออภัยต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และได้กําชับไปยังผู้ประกอบการรถร่วมฯ ให้ปฏิบัติตามกฏระเบียบฯ อย่างเคร่งครัด เพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้ใช้บริการ
สอบถามข้อมูลการเดินทางและร้องเรียนบริการได้ที่ call center 1490 เรียก บขส. | https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/48806 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ตรวจการทดลองการผลิตฟ้าทะลายโจรอัดเม็ด หลังให้องค์การเภสัชกรรมซ่อมเครื่องปั๊มยาบ้า พร้อมกินโชว์ ยันสะอาดปลอดภัยตามมาตรฐาน | วันเสาร์ที่ 21 สิงหาคม 2564
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ตรวจการทดลองการผลิตฟ้าทะลายโจรอัดเม็ด หลังให้องค์การเภสัชกรรมซ่อมเครื่องปั๊มยาบ้า พร้อมกินโชว์ ยันสะอาดปลอดภัยตามมาตรฐาน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ตรวจการทดลองการผลิตฟ้าทะลายโจรอัดเม็ด หลังให้องค์การเภสัชกรรมซ่อมเครื่องปั๊มยาบ้า พร้อมกินโชว์ ยันสะอาดปลอดภัยตามมาตรฐาน ล้าง - เปลี่ยนหัวตอกอย่างดี ให้โรงพยาบาลราชทัณฑ์ดูแลการผลิต เผยภาคเอกชนสนใจเยอะพร้อมช่วยบริจาคผง
ในวันเสาร์ที่ ๒๑ สิงหาคม ๒๕๖๔ เวลา ๑๐.๐๐ น. ณ สํานักงาน ป.ป.ส. นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ตรวจเยี่ยมการทดลองทดสอบการผลิตฟ้าทะลายโจรแบบอัดเม็ด จากเครื่องปั๊มยาบ้าที่ยึดมาจากผู้ผลิต โดยมี น.ส.ณัฐธ์ภัสส์ ยงใจยุทธ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจํากระทรวงยุติธรรม นายโฆสิต สุวินิจจิต คณะที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม นายวิชัย ไชยมงคล เลขาธิการ ป.ป.ส. และ นพ.วัฒน์ชัย มิ่งบรรเจิด รักษาการผู้อํานวยการทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ ร่วมตรวจเยี่ยม
นายสมศักดิ์ กล่าวว่า วันนี้ ป.ป.ส. กําลังจะผลิตฟ้าทะลายโจรแบบอัดเม็ด กํากับดูแลโดยโรงพยาบาลราชทัณฑ์ ซึ่งวันนี้มีเจ้าหน้าที่ของกรมราชทัณฑ์มาช่วยให้คําแนะนําต่างๆ ให้เป็นไปตามกฎหมายด้วย ในส่วนของฟ้าทะลายโจรผงวันนี้ได้ บริษัท กุยลิ้มฮึ้ง ปราชญา จํากัด บริษัทที่มีความชํานาญด้านสมุนไพรไทย-จีน มากว่า ๑๐๐ ปี บริจาคฟ้าทะลายโจร ๖๐๐ กิโลกรัม โดยนายชุติพงษ์ กอร์ปอริยจิต เป็นตัวแทนมอบ ซึ่งจะผลิตได้ถึง ๑.๕ ล้านเม็ด โดยการดําเนินการวันนี้เป็นการเริ่มทดลองหลังเราซ่อมเครื่องจักรได้ หลังจากที่ช่างจากองค์กรเภสัชกรรมมาซ่อมให้และเปลี่ยนหัวตอกใหม่ โดยเครื่องนี้เป็นเครื่องรูปแบบเดียวกับที่องค์การเภสัชกรรมใช้ ซึ่งเรายึดมาได้จากลุ่มผู้ค้ายา โดยกลุ่มผู้ค้าได้นําไปแปลงหัวตอก เราจึงนํามาซ่อม ทําความสะอาดและเปลี่ยนไปเป็นหัวตอกเดิมสําหรับผลิตยา
นายสมศักดิ์ กล่าวอีกว่า ส่วนที่มีคนกังวลถึงความสะอาดเพราะเคยผลิตยาบ้ามาก่อน ตรงนี้ไม่ต้องห่วงเราได้ทําความสะอาดล้างทุกซอกทุกมุมอย่างดี และที่ตรงหัวตอกเราได้ถอดทิ้งไปทั้งหมด และมีการตรวจจากองค์การเภสัชกรรม ขอให้ทุกท่านสบายใจได้ โดยเมื่อเราผลิตในการใช้ผู้ต้องขังในเรือนจําแล้ว หากมีเหลือเราจะแจกจ่ายได้ตามกฎระเบียบของกฎหมาย ส่วนเรื่องของวัตถุดิบ นอกจากทุกเรือนจําจะปลูกแล้ว ทาง ป.ป.ส. มีงานที่เกี่ยวข้องกับกองทุนแม่ของแผ่นดิน มี ๒๔,๔๕๕ หมู่บ้านทั่วประเทศ เป็นหมู่บ้านพัฒนา เราหาอาสาสมัครประมาณ ๑,๐๐๐ หมู่บ้าน และเตรียมเงินเพื่อสนับสนุนต้นกล้า ๑๒ ล้านต้น ปลูกไร่ละ ๑๒,๐๐๐ ต้น เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นของการปลูก จะเริ่มในวันที่ ๒๓ สิงหาคม ซึ่งเป็นเดือนของวันแม่ จะเก็บได้ช่วงเดือนธันวาคม ซึ่งเป็นช่วงเดือนของวันพ่อ ตนเชื่อว่าเมื่อเวลาผ่านไปเรื่อยๆ จะมีฟ้าทะลายโจรมากขึ้น ตนทําการบ้านตลอดเวลาเพราะมีเรือนจําติดเชื้อเรื่อยๆ แต่เราให้ยาเร็ว ทํางานกันเร็วทําให้เชื้อไม่ลงปอดลดการเสียชีวิตได้ ซึ่งหากประชาชนมีฟ้าทะลายโจรแล้วไม่มีที่ผลิตสามารถติดต่อ ป.ป.ส. และเรือนจําทั่วประเทศได้ จะช่วยผลิตให้
นายวิชัย กล่าวว่า เครื่องอัดเม็ดยาตัวนี้เป็นเครื่องสําหรับอัดยาเพื่อรักษาโรคที่ผู้ค้ายานําไปแปลงหัวนําไปผลิตยาบ้า แต่เราได้ซ่อมแซมทําความสะอาดเรียบร้อย ขอให้สบายใจได้ว่ามีมาตรฐาน ส่วนการผลิตยาในครั้งนี้ เราดําเนินการตาม พ.ร.บ.ผลิตภัณฑ์พืชสมุนไพร ๒๕๖๒ ที่กําหนดการผลิต การซื้อนําเข้าส่งออก ต้องขออนุญาต อย. แต่ พ.ร.บ.พืชสมุนไพร ๒๕๖๒ มีข้อยกเว้นให้กับกระทรวง ทบวง กรม และสถาบันการศึกษา รวมทั้งหน่วยงานอื่นของรัฐ สามารถทําเพื่อรักษาโรคได้ แต่เราต้องปรึกษากับ อย.ก่อน เพื่อให้ถูกต้อง
นพ.วัฒน์ชัย กล่าวว่า ที่ผ่านมาเราเป็นหน่วยบริการสุขภาพตามมาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งในเรื่องนี้ เราจะกํากับดูแลการผลิต มีแพทย์ พยาบาล และเภสัชกร มาช่วยดูแลและควบคุมทุกขั้นตอน เมื่อผลผลิตออกมาแล้ว เราจะกํากับการใช้กับผู้ป่วยให้ถูกต้องตามมาตรฐานด้วย เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
นายโฆสิต กล่าวว่า โครงการนี้เป็นที่สนใจของภาคประชาชนมาก จึงมีบริษัทที่ทราบข่าวอยากมาสนับสนุนโครงการ เพื่อสนับสนุนประชาชนในภาวะวิกฤต วันนี้ผงฟ้าทะลายโจรหายาก และเรากําลังเผยแพร่ให้อาสาสมัครยุติธรรม เผยแพร่ความรู้ในการรักษา ป้องกัน และการปลูกฟ้าทะลายโจร เพื่อขยายผลในเรื่องนี้
จากนั้นนายสมศักดิ์ และคณะได้เดินรับชมขั้นตอนการผลิต รวมทั้งได้ทดลองกินยาฟ้าทะลายโจรเพื่อยืนยันว่าสามารถกินได้จริง มีความสะอาดและปลอดภัยตามมาตรฐาน | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ตรวจการทดลองการผลิตฟ้าทะลายโจรอัดเม็ด หลังให้องค์การเภสัชกรรมซ่อมเครื่องปั๊มยาบ้า พร้อมกินโชว์ ยันสะอาดปลอดภัยตามมาตรฐาน
วันเสาร์ที่ 21 สิงหาคม 2564
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ตรวจการทดลองการผลิตฟ้าทะลายโจรอัดเม็ด หลังให้องค์การเภสัชกรรมซ่อมเครื่องปั๊มยาบ้า พร้อมกินโชว์ ยันสะอาดปลอดภัยตามมาตรฐาน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ตรวจการทดลองการผลิตฟ้าทะลายโจรอัดเม็ด หลังให้องค์การเภสัชกรรมซ่อมเครื่องปั๊มยาบ้า พร้อมกินโชว์ ยันสะอาดปลอดภัยตามมาตรฐาน ล้าง - เปลี่ยนหัวตอกอย่างดี ให้โรงพยาบาลราชทัณฑ์ดูแลการผลิต เผยภาคเอกชนสนใจเยอะพร้อมช่วยบริจาคผง
ในวันเสาร์ที่ ๒๑ สิงหาคม ๒๕๖๔ เวลา ๑๐.๐๐ น. ณ สํานักงาน ป.ป.ส. นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ตรวจเยี่ยมการทดลองทดสอบการผลิตฟ้าทะลายโจรแบบอัดเม็ด จากเครื่องปั๊มยาบ้าที่ยึดมาจากผู้ผลิต โดยมี น.ส.ณัฐธ์ภัสส์ ยงใจยุทธ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจํากระทรวงยุติธรรม นายโฆสิต สุวินิจจิต คณะที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม นายวิชัย ไชยมงคล เลขาธิการ ป.ป.ส. และ นพ.วัฒน์ชัย มิ่งบรรเจิด รักษาการผู้อํานวยการทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ ร่วมตรวจเยี่ยม
นายสมศักดิ์ กล่าวว่า วันนี้ ป.ป.ส. กําลังจะผลิตฟ้าทะลายโจรแบบอัดเม็ด กํากับดูแลโดยโรงพยาบาลราชทัณฑ์ ซึ่งวันนี้มีเจ้าหน้าที่ของกรมราชทัณฑ์มาช่วยให้คําแนะนําต่างๆ ให้เป็นไปตามกฎหมายด้วย ในส่วนของฟ้าทะลายโจรผงวันนี้ได้ บริษัท กุยลิ้มฮึ้ง ปราชญา จํากัด บริษัทที่มีความชํานาญด้านสมุนไพรไทย-จีน มากว่า ๑๐๐ ปี บริจาคฟ้าทะลายโจร ๖๐๐ กิโลกรัม โดยนายชุติพงษ์ กอร์ปอริยจิต เป็นตัวแทนมอบ ซึ่งจะผลิตได้ถึง ๑.๕ ล้านเม็ด โดยการดําเนินการวันนี้เป็นการเริ่มทดลองหลังเราซ่อมเครื่องจักรได้ หลังจากที่ช่างจากองค์กรเภสัชกรรมมาซ่อมให้และเปลี่ยนหัวตอกใหม่ โดยเครื่องนี้เป็นเครื่องรูปแบบเดียวกับที่องค์การเภสัชกรรมใช้ ซึ่งเรายึดมาได้จากลุ่มผู้ค้ายา โดยกลุ่มผู้ค้าได้นําไปแปลงหัวตอก เราจึงนํามาซ่อม ทําความสะอาดและเปลี่ยนไปเป็นหัวตอกเดิมสําหรับผลิตยา
นายสมศักดิ์ กล่าวอีกว่า ส่วนที่มีคนกังวลถึงความสะอาดเพราะเคยผลิตยาบ้ามาก่อน ตรงนี้ไม่ต้องห่วงเราได้ทําความสะอาดล้างทุกซอกทุกมุมอย่างดี และที่ตรงหัวตอกเราได้ถอดทิ้งไปทั้งหมด และมีการตรวจจากองค์การเภสัชกรรม ขอให้ทุกท่านสบายใจได้ โดยเมื่อเราผลิตในการใช้ผู้ต้องขังในเรือนจําแล้ว หากมีเหลือเราจะแจกจ่ายได้ตามกฎระเบียบของกฎหมาย ส่วนเรื่องของวัตถุดิบ นอกจากทุกเรือนจําจะปลูกแล้ว ทาง ป.ป.ส. มีงานที่เกี่ยวข้องกับกองทุนแม่ของแผ่นดิน มี ๒๔,๔๕๕ หมู่บ้านทั่วประเทศ เป็นหมู่บ้านพัฒนา เราหาอาสาสมัครประมาณ ๑,๐๐๐ หมู่บ้าน และเตรียมเงินเพื่อสนับสนุนต้นกล้า ๑๒ ล้านต้น ปลูกไร่ละ ๑๒,๐๐๐ ต้น เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นของการปลูก จะเริ่มในวันที่ ๒๓ สิงหาคม ซึ่งเป็นเดือนของวันแม่ จะเก็บได้ช่วงเดือนธันวาคม ซึ่งเป็นช่วงเดือนของวันพ่อ ตนเชื่อว่าเมื่อเวลาผ่านไปเรื่อยๆ จะมีฟ้าทะลายโจรมากขึ้น ตนทําการบ้านตลอดเวลาเพราะมีเรือนจําติดเชื้อเรื่อยๆ แต่เราให้ยาเร็ว ทํางานกันเร็วทําให้เชื้อไม่ลงปอดลดการเสียชีวิตได้ ซึ่งหากประชาชนมีฟ้าทะลายโจรแล้วไม่มีที่ผลิตสามารถติดต่อ ป.ป.ส. และเรือนจําทั่วประเทศได้ จะช่วยผลิตให้
นายวิชัย กล่าวว่า เครื่องอัดเม็ดยาตัวนี้เป็นเครื่องสําหรับอัดยาเพื่อรักษาโรคที่ผู้ค้ายานําไปแปลงหัวนําไปผลิตยาบ้า แต่เราได้ซ่อมแซมทําความสะอาดเรียบร้อย ขอให้สบายใจได้ว่ามีมาตรฐาน ส่วนการผลิตยาในครั้งนี้ เราดําเนินการตาม พ.ร.บ.ผลิตภัณฑ์พืชสมุนไพร ๒๕๖๒ ที่กําหนดการผลิต การซื้อนําเข้าส่งออก ต้องขออนุญาต อย. แต่ พ.ร.บ.พืชสมุนไพร ๒๕๖๒ มีข้อยกเว้นให้กับกระทรวง ทบวง กรม และสถาบันการศึกษา รวมทั้งหน่วยงานอื่นของรัฐ สามารถทําเพื่อรักษาโรคได้ แต่เราต้องปรึกษากับ อย.ก่อน เพื่อให้ถูกต้อง
นพ.วัฒน์ชัย กล่าวว่า ที่ผ่านมาเราเป็นหน่วยบริการสุขภาพตามมาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งในเรื่องนี้ เราจะกํากับดูแลการผลิต มีแพทย์ พยาบาล และเภสัชกร มาช่วยดูแลและควบคุมทุกขั้นตอน เมื่อผลผลิตออกมาแล้ว เราจะกํากับการใช้กับผู้ป่วยให้ถูกต้องตามมาตรฐานด้วย เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
นายโฆสิต กล่าวว่า โครงการนี้เป็นที่สนใจของภาคประชาชนมาก จึงมีบริษัทที่ทราบข่าวอยากมาสนับสนุนโครงการ เพื่อสนับสนุนประชาชนในภาวะวิกฤต วันนี้ผงฟ้าทะลายโจรหายาก และเรากําลังเผยแพร่ให้อาสาสมัครยุติธรรม เผยแพร่ความรู้ในการรักษา ป้องกัน และการปลูกฟ้าทะลายโจร เพื่อขยายผลในเรื่องนี้
จากนั้นนายสมศักดิ์ และคณะได้เดินรับชมขั้นตอนการผลิต รวมทั้งได้ทดลองกินยาฟ้าทะลายโจรเพื่อยืนยันว่าสามารถกินได้จริง มีความสะอาดและปลอดภัยตามมาตรฐาน | https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/44999 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กรมการขนส่งทางราง กระทรวงคมนาคม จัดประชุมจัดทำมาตรฐานไฟฟ้าในระบบขนส่งทางราง | วันอังคารที่ 17 สิงหาคม 2564
กรมการขนส่งทางราง กระทรวงคมนาคม จัดประชุมจัดทํามาตรฐานไฟฟ้าในระบบขนส่งทางราง
เพื่อการขนส่งทางรางไทยเทียบเท่ามาตรฐานสากล
กรมการขนส่งทางราง จัดประชุมคณะกรรมการจัดทํามาตรฐานการขนส่งทางราง ครั้งที่ 5-3/2564ณ ห้องประชุมมนังคสิลา ชั้น 2 อาคาร ณ ถลาง กรมการขนส่งทางราง โดยมีนายกิตติพันธ์ ปานจันทร์อธิบดีกรมการขนส่งทางราง เป็นประธานการประชุม พร้อมด้วยผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมทางไกลผ่านระบบ Zoom ได้แก่ สํานักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร การรถไฟแห่งประเทศไทย การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จํากัด บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จํากัด (มหาชน) บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จํากัด (มหาชน) สํานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย สํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สมาคมวิศวกรที่ปรึกษาแห่งประเทศไทย และกองมาตรฐานความปลอดภัยและบํารุงทาง กรมการขนส่งทางราง ในฐานะฝ่ายเลขานุการ ที่ประชุมได้ร่วมกันพิจารณาร่างมาตรฐาน จํานวน 3 มาตรฐาน ได้แก่
1) มาตรฐานระบบการจ่ายไฟฟ้ากระแสสลับ (AC electrification system) เพื่อใช้เป็นแนวทางการออกแบบ ติดตั้ง การทดสอบ และการตรวจสอบของระบบการจ่ายไฟฟ้า สถานีไฟฟ้าขับเคลื่อน รวมถึงอุปกรณ์ของระบบจ่ายไฟฟ้ากระแสสลับ โดยมาตรฐานดังกล่าวจะนํามาใช้สําหรับระบบรถไฟสายประธาน (main line) ซึ่งรวมถึงระบบรถไฟชานเมือง (commuter train) และระบบรถไฟระหว่างเมือง (intercity train) ที่ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้ากระแสสลับ
2) มาตรฐานรูปแบบการต่อหม้อแปลงสําหรับระบบไฟฟ้ากระแสสลับ (Transformer arrangement standard for AC electrification system) ซึ่งมาตรฐานนี้ระบุข้อกําหนดของหม้อแปลงไฟฟ้ากําลังสําหรับโหลดขับเคลื่อน ที่ใช้ในสถานีไฟฟ้าขับเคลื่อน หรือใช้ตามเส้นทางเดินรถไฟ เพื่อจ่ายกําลังให้กับระบบขับเคลื่อนแบบกระแสสลับ หรือเพื่อจ่ายกําลังให้กับบริการเสริมต่าง ๆ สําหรับรถไฟสายประธานทุกเส้นทางใหม่และเส้นทางเก่าที่ปรับปรุงเป็นระบบขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้ากระแสสลับ
3) มาตรฐานแนะนําคุณลักษณะรถขนส่งทางราง (Recommended general standard for rolling stock) เพื่อกําหนดมาตรฐานแนะนําสําหรับคุณลักษณะรถขนส่งทางราง โดยระบุข้อแนะนําทางเทคนิค และมาตรฐานจากต่างประเทศที่สามารถใช้อ้างอิงได้กับประเภทของรถขนส่งทางราง ดังต่อไปนี้ 1. รถไฟโดยสารและรถไฟขนส่งสินค้า ( Locomotive, Diesel Multiple Units, Diesel Electric Multiple Units, Passenger Coaches, Freight Wagon) 2. รถไฟฟ้า (Electric Multiple Units) 3. รถไฟฟ้าความเร็วสูง (High Speed Trains) 4. รถราง (Tram) 5. รถไฟรางเดียว (Monorail) 6. ระบบขนส่งผู้โดยสารอัตโนมัติ (Automated People Mover : APM) หรือ7. รถขนส่งทางรางประเภทอื่น ซึ่งมาตรฐานนี้เป็นข้อแนะนําสําหรับผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อนําไปใช้ประโยชน์ต่อไป โดยได้คํานึงถึงเรื่องความปลอดภัยและ universal design ของตัวรถขนส่งทางรางไว้แล้วด้วย
โดยที่ประชุมมีมติเห็นชอบร่างมาตรฐานทั้ง 3 มาตรฐานดังกล่าว พร้อมทั้งมอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการฯ ปรับปรุงมาตรฐานตามความเห็นที่ประชุม ก่อนนําเสนอกระทรวงคมนาคมเพื่อพิจารณามอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับมาตรฐานดังกล่าวข้างต้นไปบังคับใช้เพื่อเป็นประโยชน์ต่อไป ทั้งนี้ กรมการขนส่งทางรางอยู่ระหว่างจัดทํามาตรฐานโครงสร้างพื้นฐานด้านโยธา มาตรฐานด้านเครื่องกลและตัวรถขนส่งทางราง มาตรฐานด้านไฟฟ้าและอาณัติสัญญาณ มาตรฐานด้านความปลอดภัยที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งทางรางอื่น ๆ เพื่อลดอุบัติเหตุและเพิ่มความปลอดภัยในการขนส่งทางรางของประเทศไทยให้เทียบเท่ามาตรฐานสากลต่อไป | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กรมการขนส่งทางราง กระทรวงคมนาคม จัดประชุมจัดทำมาตรฐานไฟฟ้าในระบบขนส่งทางราง
วันอังคารที่ 17 สิงหาคม 2564
กรมการขนส่งทางราง กระทรวงคมนาคม จัดประชุมจัดทํามาตรฐานไฟฟ้าในระบบขนส่งทางราง
เพื่อการขนส่งทางรางไทยเทียบเท่ามาตรฐานสากล
กรมการขนส่งทางราง จัดประชุมคณะกรรมการจัดทํามาตรฐานการขนส่งทางราง ครั้งที่ 5-3/2564ณ ห้องประชุมมนังคสิลา ชั้น 2 อาคาร ณ ถลาง กรมการขนส่งทางราง โดยมีนายกิตติพันธ์ ปานจันทร์อธิบดีกรมการขนส่งทางราง เป็นประธานการประชุม พร้อมด้วยผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมทางไกลผ่านระบบ Zoom ได้แก่ สํานักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร การรถไฟแห่งประเทศไทย การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จํากัด บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จํากัด (มหาชน) บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จํากัด (มหาชน) สํานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย สํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สมาคมวิศวกรที่ปรึกษาแห่งประเทศไทย และกองมาตรฐานความปลอดภัยและบํารุงทาง กรมการขนส่งทางราง ในฐานะฝ่ายเลขานุการ ที่ประชุมได้ร่วมกันพิจารณาร่างมาตรฐาน จํานวน 3 มาตรฐาน ได้แก่
1) มาตรฐานระบบการจ่ายไฟฟ้ากระแสสลับ (AC electrification system) เพื่อใช้เป็นแนวทางการออกแบบ ติดตั้ง การทดสอบ และการตรวจสอบของระบบการจ่ายไฟฟ้า สถานีไฟฟ้าขับเคลื่อน รวมถึงอุปกรณ์ของระบบจ่ายไฟฟ้ากระแสสลับ โดยมาตรฐานดังกล่าวจะนํามาใช้สําหรับระบบรถไฟสายประธาน (main line) ซึ่งรวมถึงระบบรถไฟชานเมือง (commuter train) และระบบรถไฟระหว่างเมือง (intercity train) ที่ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้ากระแสสลับ
2) มาตรฐานรูปแบบการต่อหม้อแปลงสําหรับระบบไฟฟ้ากระแสสลับ (Transformer arrangement standard for AC electrification system) ซึ่งมาตรฐานนี้ระบุข้อกําหนดของหม้อแปลงไฟฟ้ากําลังสําหรับโหลดขับเคลื่อน ที่ใช้ในสถานีไฟฟ้าขับเคลื่อน หรือใช้ตามเส้นทางเดินรถไฟ เพื่อจ่ายกําลังให้กับระบบขับเคลื่อนแบบกระแสสลับ หรือเพื่อจ่ายกําลังให้กับบริการเสริมต่าง ๆ สําหรับรถไฟสายประธานทุกเส้นทางใหม่และเส้นทางเก่าที่ปรับปรุงเป็นระบบขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้ากระแสสลับ
3) มาตรฐานแนะนําคุณลักษณะรถขนส่งทางราง (Recommended general standard for rolling stock) เพื่อกําหนดมาตรฐานแนะนําสําหรับคุณลักษณะรถขนส่งทางราง โดยระบุข้อแนะนําทางเทคนิค และมาตรฐานจากต่างประเทศที่สามารถใช้อ้างอิงได้กับประเภทของรถขนส่งทางราง ดังต่อไปนี้ 1. รถไฟโดยสารและรถไฟขนส่งสินค้า ( Locomotive, Diesel Multiple Units, Diesel Electric Multiple Units, Passenger Coaches, Freight Wagon) 2. รถไฟฟ้า (Electric Multiple Units) 3. รถไฟฟ้าความเร็วสูง (High Speed Trains) 4. รถราง (Tram) 5. รถไฟรางเดียว (Monorail) 6. ระบบขนส่งผู้โดยสารอัตโนมัติ (Automated People Mover : APM) หรือ7. รถขนส่งทางรางประเภทอื่น ซึ่งมาตรฐานนี้เป็นข้อแนะนําสําหรับผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อนําไปใช้ประโยชน์ต่อไป โดยได้คํานึงถึงเรื่องความปลอดภัยและ universal design ของตัวรถขนส่งทางรางไว้แล้วด้วย
โดยที่ประชุมมีมติเห็นชอบร่างมาตรฐานทั้ง 3 มาตรฐานดังกล่าว พร้อมทั้งมอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการฯ ปรับปรุงมาตรฐานตามความเห็นที่ประชุม ก่อนนําเสนอกระทรวงคมนาคมเพื่อพิจารณามอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับมาตรฐานดังกล่าวข้างต้นไปบังคับใช้เพื่อเป็นประโยชน์ต่อไป ทั้งนี้ กรมการขนส่งทางรางอยู่ระหว่างจัดทํามาตรฐานโครงสร้างพื้นฐานด้านโยธา มาตรฐานด้านเครื่องกลและตัวรถขนส่งทางราง มาตรฐานด้านไฟฟ้าและอาณัติสัญญาณ มาตรฐานด้านความปลอดภัยที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งทางรางอื่น ๆ เพื่อลดอุบัติเหตุและเพิ่มความปลอดภัยในการขนส่งทางรางของประเทศไทยให้เทียบเท่ามาตรฐานสากลต่อไป | https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/44843 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-“ยุติธรรม เผย สถานการณ์โควิด-19 กรมราชทัณฑ์ มีเรือนจำที่อยู่ในแผนสิ้นสุดการระบาดแล้ว ๑๔ แห่ง ซึ่งจะเริ่มทยอยพ้นจากการระบาดอย่างต่อเนื่องตั้งแต่วันที่ ๑๑ พ.ย.นี้” | วันอังคารที่ 16 พฤศจิกายน 2564
“ยุติธรรม เผย สถานการณ์โควิด-19 กรมราชทัณฑ์ มีเรือนจําที่อยู่ในแผนสิ้นสุดการระบาดแล้ว ๑๔ แห่ง ซึ่งจะเริ่มทยอยพ้นจากการระบาดอย่างต่อเนื่องตั้งแต่วันที่ ๑๑ พ.ย.นี้”
ศาตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงยุติธรรม ในฐานะผู้อํานวยการศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ภายในสถานที่ควบคุมของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงยุติธรรม หรือ ศบค.ยธ เป็นประธานการประชุมติดตามการดําเนินงานตาม ๕
ในวันจันทร์ที่ ๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๔ เวลา ๑๑.๐๐ น. ศาตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงยุติธรรม ในฐานะผู้อํานวยการศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ภายในสถานที่ควบคุมของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงยุติธรรม หรือ ศบค.ยธ เป็นประธานการประชุมติดตามการดําเนินงานตาม ๕ แผนงานการป้องกันและแก้ไขสถานการณ์ Covid-19 ภายในสถานที่ควบคุมของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงยุติธรรม ครั้งที่ ๗๘/๒๕๖๔ โดยมี นางสาวณัฐธ์ภัสส์ ยงใจยุทธ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจํากระทรวงยุติธรรม นายอายุตม์ สินธพพันธุ์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ พ.ต.ท.วรรณพงษ์ คชรักษ์ อธิบดีกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน นายธวัชชัย ชัยวัฒน์ รองอธิบดีกรมราชทัณฑ์ พ.ต.ท.มนตรี บุณยโยธิน รองอธิบดีกรมคุมประพฤติ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุม ผ่านระบบการประชุมทางไกล (Video Conference) ร่วมกับผู้บัญชาการเรือนจําในจังหวัดที่มีสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
นายวัลลภ นาคบัว รองปลัดกระทรวงยุติธรรม และโฆษก ศบค.ยธ. เปิดเผยว่า ภาพรวมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ในเรือนจํา/ทัณฑสถานวันนี้ ยังคงไม่พบเรือนจําระบาดใหม่ต่อเนื่องเป็นวันที่ ๓ จึงมีจํานวนเรือนจําสีขาวอยู่ที่ ๑๒๔ แห่ง และเรือนจําสีแดง ๑๘ แห่งคงเดิม โดยในจํานวนดังกล่าว เป็นเรือนจําที่ยังอยู่ระหว่างควบคุมการระบาดเพียง ๔ แห่ง (ระบาดใหม่ ๓ แห่ง และระบาดซ้ํา ๑ แห่ง) ขณะที่มีเรือนจําที่สามารถลดการระบาดและอยู่ในแผนสิ้นสุดการระบาดของโรค หรือ EXIT แล้วทั้งสิ้น ๑๔ แห่ง ซึ่งจะเริ่มทยอยพ้นจากการระบาดอย่างต่อเนื่องตั้งแต่วันที่ ๑๑ พฤศจิกายนเป็นต้นไป
ขณะที่ผู้ติดเชื้อรายใหม่วันนี้ พบเพิ่ม ๗๑๑ ราย (พบในเรือนจําสีแดง ๖๗๙ ราย และในห้องแยกกักโรคผู้ต้องขังรับใหม่ ๓๒ ราย) รักษาหายเพิ่ม ๑๐๕ ราย เสียชีวิต ๓ ราย (จากเรือนจํากลางยะลา) ทําให้มีผู้ติดเชื้อที่ยังอยู่ในการดูแลของกรมราชทัณฑ์ ๕,๖๑๘ ราย (กลุ่มสีเขียว ๘๗.๘% สีเหลือง ๑๑.๙% และสีแดง ๐.๓%) โดยมีผู้ติดเชื้อรักษาหายสะสม ๗๐,๓๗๗ ราย หรือ ๙๐% ของผู้ติดเชื้อสะสม ๗๘,๑๔๗ ราย เสียชีวิตสะสม ๑๗๓ ราย คิดเป็นอัตรา ๐.๒% ของผู้ติดเชื้อสะสมทั้งหมด
นายวัลลภ กล่าวต่อว่า ในที่ประชุม ศบค.ยธ. โดยมีปลัดกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานการประชุม ได้ติดตามสถานการณ์ของเรือนจําที่พบการระบาดแต่ละแห่ง โดยพบว่า สถานการณ์ของเรือนจําส่วนใหญ่เริ่มคลี่คลายและมีแนวโน้มที่ดีขึ้นอย่างชัดเจน รวมถึงมีการดําเนินการเพื่อป้องกัน ดูแลรักษาผู้ติดเชื้อ พร้อมจัดทําแผนสิ้นสุดการระบาดโรคเพื่อให้เรือนจําสามารถกลับมาปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบ พร้อมเน้นย้ําให้ทุกฝ่ายปฏิบัติตามแผนการควบคุมและป้องกันการระบาดของเรือนจําอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะการแยกกักโรคผู้ต้องขังเข้าใหม่ หากเป็นไปได้ให้หาพื้นที่บริเวณภายนอกเรือนจํา หรือเรือนจําชั่วคราวในการแยกกักโรค และแยกผู้ปฏิบัติงานระหว่างแดนกักโรคและแดนในออกจากกันอย่างชัดเจน เพื่อไม่ให้มีการปนเปื้อนหรือแพร่เชื้อไปมาระหว่างกันได้
สําหรับการบริหารจัดการวัคซีนแก่ผู้ต้องขัง ปัจจุบัน กรมราชทัณฑ์ได้ดําเนินการฉีดวัคซีนแก่ผู้ต้องขังไปแล้วทั้งสิ้น ๔๐๘,๐๕๘ โดส แบ่งเป็นการฉีดวัคซีนแก่ผู้ต้องขังเข็มที่ ๑ จํานวน ๒๔๖,๐๑๘ ราย และเข็มที่ ๒ จํานวน ๑๖๒,๐๔๐ ราย ซึ่งยังอยู่ระหว่างการประสานโรงพยาบาลแม่ข่ายเพื่อเข้าฉีดวัคซีนแก่ผู้ต้องขังเพิ่มเติม จนครอบคลุมทุกรายในที่สุด
ด้านสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน ประจําวันจันทร์ที่ ๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๔ มีผู้ติดเชื้อและอยู่ระหว่างการรักษาตัว จํานวน ๑๐ ราย เป็นเจ้าหน้าที่ ๘ ราย และเยาวชน ๒ ราย ด้านผลการดําเนินงานสถานพินิจฯ/ศูนย์ฝึกและอบรมฯ สีขาว มีจํานวน ๔๙ แห่ง จากทั้งหมด ๕๖ แห่ง อีก ๗ แห่ง แยกเป็นติดเชื้อ ๔ แห่ง และหมดสถานะสีขาว ๓ แห่ง ขณะที่สถิติการฉีดวัคซีนของเด็กและเยาวชนเพิ่มขึ้นเป็นจํานวน ๑,๙๘๙ ราย หรือคิดเป็น ๕๐.๕๕% จากทั้งหมด ๓,๙๓๕ ราย และเจ้าหน้าที่ได้รับการฉีดวัคซีนจํานวน ๓,๘๖๙ ราย หรือคิดเป็น ๙๑.๘๖% จากทั้งหมด ๔,๒๑๒ ราย | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-“ยุติธรรม เผย สถานการณ์โควิด-19 กรมราชทัณฑ์ มีเรือนจำที่อยู่ในแผนสิ้นสุดการระบาดแล้ว ๑๔ แห่ง ซึ่งจะเริ่มทยอยพ้นจากการระบาดอย่างต่อเนื่องตั้งแต่วันที่ ๑๑ พ.ย.นี้”
วันอังคารที่ 16 พฤศจิกายน 2564
“ยุติธรรม เผย สถานการณ์โควิด-19 กรมราชทัณฑ์ มีเรือนจําที่อยู่ในแผนสิ้นสุดการระบาดแล้ว ๑๔ แห่ง ซึ่งจะเริ่มทยอยพ้นจากการระบาดอย่างต่อเนื่องตั้งแต่วันที่ ๑๑ พ.ย.นี้”
ศาตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงยุติธรรม ในฐานะผู้อํานวยการศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ภายในสถานที่ควบคุมของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงยุติธรรม หรือ ศบค.ยธ เป็นประธานการประชุมติดตามการดําเนินงานตาม ๕
ในวันจันทร์ที่ ๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๔ เวลา ๑๑.๐๐ น. ศาตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงยุติธรรม ในฐานะผู้อํานวยการศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ภายในสถานที่ควบคุมของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงยุติธรรม หรือ ศบค.ยธ เป็นประธานการประชุมติดตามการดําเนินงานตาม ๕ แผนงานการป้องกันและแก้ไขสถานการณ์ Covid-19 ภายในสถานที่ควบคุมของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงยุติธรรม ครั้งที่ ๗๘/๒๕๖๔ โดยมี นางสาวณัฐธ์ภัสส์ ยงใจยุทธ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจํากระทรวงยุติธรรม นายอายุตม์ สินธพพันธุ์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ พ.ต.ท.วรรณพงษ์ คชรักษ์ อธิบดีกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน นายธวัชชัย ชัยวัฒน์ รองอธิบดีกรมราชทัณฑ์ พ.ต.ท.มนตรี บุณยโยธิน รองอธิบดีกรมคุมประพฤติ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุม ผ่านระบบการประชุมทางไกล (Video Conference) ร่วมกับผู้บัญชาการเรือนจําในจังหวัดที่มีสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
นายวัลลภ นาคบัว รองปลัดกระทรวงยุติธรรม และโฆษก ศบค.ยธ. เปิดเผยว่า ภาพรวมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ในเรือนจํา/ทัณฑสถานวันนี้ ยังคงไม่พบเรือนจําระบาดใหม่ต่อเนื่องเป็นวันที่ ๓ จึงมีจํานวนเรือนจําสีขาวอยู่ที่ ๑๒๔ แห่ง และเรือนจําสีแดง ๑๘ แห่งคงเดิม โดยในจํานวนดังกล่าว เป็นเรือนจําที่ยังอยู่ระหว่างควบคุมการระบาดเพียง ๔ แห่ง (ระบาดใหม่ ๓ แห่ง และระบาดซ้ํา ๑ แห่ง) ขณะที่มีเรือนจําที่สามารถลดการระบาดและอยู่ในแผนสิ้นสุดการระบาดของโรค หรือ EXIT แล้วทั้งสิ้น ๑๔ แห่ง ซึ่งจะเริ่มทยอยพ้นจากการระบาดอย่างต่อเนื่องตั้งแต่วันที่ ๑๑ พฤศจิกายนเป็นต้นไป
ขณะที่ผู้ติดเชื้อรายใหม่วันนี้ พบเพิ่ม ๗๑๑ ราย (พบในเรือนจําสีแดง ๖๗๙ ราย และในห้องแยกกักโรคผู้ต้องขังรับใหม่ ๓๒ ราย) รักษาหายเพิ่ม ๑๐๕ ราย เสียชีวิต ๓ ราย (จากเรือนจํากลางยะลา) ทําให้มีผู้ติดเชื้อที่ยังอยู่ในการดูแลของกรมราชทัณฑ์ ๕,๖๑๘ ราย (กลุ่มสีเขียว ๘๗.๘% สีเหลือง ๑๑.๙% และสีแดง ๐.๓%) โดยมีผู้ติดเชื้อรักษาหายสะสม ๗๐,๓๗๗ ราย หรือ ๙๐% ของผู้ติดเชื้อสะสม ๗๘,๑๔๗ ราย เสียชีวิตสะสม ๑๗๓ ราย คิดเป็นอัตรา ๐.๒% ของผู้ติดเชื้อสะสมทั้งหมด
นายวัลลภ กล่าวต่อว่า ในที่ประชุม ศบค.ยธ. โดยมีปลัดกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานการประชุม ได้ติดตามสถานการณ์ของเรือนจําที่พบการระบาดแต่ละแห่ง โดยพบว่า สถานการณ์ของเรือนจําส่วนใหญ่เริ่มคลี่คลายและมีแนวโน้มที่ดีขึ้นอย่างชัดเจน รวมถึงมีการดําเนินการเพื่อป้องกัน ดูแลรักษาผู้ติดเชื้อ พร้อมจัดทําแผนสิ้นสุดการระบาดโรคเพื่อให้เรือนจําสามารถกลับมาปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบ พร้อมเน้นย้ําให้ทุกฝ่ายปฏิบัติตามแผนการควบคุมและป้องกันการระบาดของเรือนจําอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะการแยกกักโรคผู้ต้องขังเข้าใหม่ หากเป็นไปได้ให้หาพื้นที่บริเวณภายนอกเรือนจํา หรือเรือนจําชั่วคราวในการแยกกักโรค และแยกผู้ปฏิบัติงานระหว่างแดนกักโรคและแดนในออกจากกันอย่างชัดเจน เพื่อไม่ให้มีการปนเปื้อนหรือแพร่เชื้อไปมาระหว่างกันได้
สําหรับการบริหารจัดการวัคซีนแก่ผู้ต้องขัง ปัจจุบัน กรมราชทัณฑ์ได้ดําเนินการฉีดวัคซีนแก่ผู้ต้องขังไปแล้วทั้งสิ้น ๔๐๘,๐๕๘ โดส แบ่งเป็นการฉีดวัคซีนแก่ผู้ต้องขังเข็มที่ ๑ จํานวน ๒๔๖,๐๑๘ ราย และเข็มที่ ๒ จํานวน ๑๖๒,๐๔๐ ราย ซึ่งยังอยู่ระหว่างการประสานโรงพยาบาลแม่ข่ายเพื่อเข้าฉีดวัคซีนแก่ผู้ต้องขังเพิ่มเติม จนครอบคลุมทุกรายในที่สุด
ด้านสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน ประจําวันจันทร์ที่ ๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๔ มีผู้ติดเชื้อและอยู่ระหว่างการรักษาตัว จํานวน ๑๐ ราย เป็นเจ้าหน้าที่ ๘ ราย และเยาวชน ๒ ราย ด้านผลการดําเนินงานสถานพินิจฯ/ศูนย์ฝึกและอบรมฯ สีขาว มีจํานวน ๔๙ แห่ง จากทั้งหมด ๕๖ แห่ง อีก ๗ แห่ง แยกเป็นติดเชื้อ ๔ แห่ง และหมดสถานะสีขาว ๓ แห่ง ขณะที่สถิติการฉีดวัคซีนของเด็กและเยาวชนเพิ่มขึ้นเป็นจํานวน ๑,๙๘๙ ราย หรือคิดเป็น ๕๐.๕๕% จากทั้งหมด ๓,๙๓๕ ราย และเจ้าหน้าที่ได้รับการฉีดวัคซีนจํานวน ๓,๘๖๙ ราย หรือคิดเป็น ๙๑.๘๖% จากทั้งหมด ๔,๒๑๒ ราย | https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/47944 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สธ. เดินหน้านโยบายมะเร็งรักษาทุกที่ ผู้ป่วยมะเร็งเลือกรักษาในสถานพยาบาลได้กว่า 190 แห่งทั่วประเทศ | วันศุกร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ 2565
สธ. เดินหน้านโยบายมะเร็งรักษาทุกที่ ผู้ป่วยมะเร็งเลือกรักษาในสถานพยาบาลได้กว่า 190 แห่งทั่วประเทศ
รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เผย กระทรวงสาธารณสุขมุ่งพัฒนาระบบบริการบําบัดรักษาโรคมะเร็ง ซึ่งเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สําคัญของประเทศ พร้อมเดินหน้านโยบายมะเร็งรักษาทุกที่ ให้ผู้ป่วยสามารถเลือกสถานที่รักษาได้มากกว่า 190 แห่งทั่วประเทศ
รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เผย กระทรวงสาธารณสุขมุ่งพัฒนาระบบบริการบําบัดรักษาโรคมะเร็ง ซึ่งเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สําคัญของประเทศ พร้อมเดินหน้านโยบายมะเร็งรักษาทุกที่ ให้ผู้ป่วยสามารถเลือกสถานที่รักษาได้มากกว่า 190 แห่งทั่วประเทศ โดยไม่ต้องใช้ใบส่งตัว ช่วยลดขั้นตอนให้เข้าถึงการรักษาอย่างรวดเร็วในสถานพยาบาลใกล้บ้าน เพิ่มโอกาสการรอดชีวิต
วันนี้ (4 กุมภาพันธ์ 2565) ที่ โรงพยาบาลร้อยเอ็ด จ.ร้อยเอ็ด นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ภายหลังเป็นประธานเปิดการประชุมวิชาการวันมะเร็งโลกปี 2565 ภายใต้หัวข้อ “ยกระดับหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน” ของเขตสุขภาพที่ 7 ว่า รัฐบาลและกระทรวงสาธารณสุขให้ความสําคัญกับการพัฒนาระบบบริการบําบัดรักษาโรคมะเร็ง ซึ่งเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สําคัญของประเทศ อาทิ การยกระดับบริการคัดกรองปากมดลูก จากวิธีPAP smear และวิธี VIA เป็นการหาการติดเชื้อ HPV บริเวณช่องคลอด ซึ่งมีความแม่นยําสูง เก็บตัวอย่างได้ด้วยตัวเอง ช่วยแก้ปัญหาการเข้าไม่ถึงบริการของผู้หญิงจํานวนมาก, การคัดกรองมะเร็งลําไส้ใหญ่ด้วยการตรวจหาเลือดในอุจจาระ,การป้องกันมะเร็งเต้านม โดยเพิ่มสิทธิประโยชน์การตรวจยีนเสี่ยงมะเร็งสําหรับสตรีที่มีประวัติโรคมะเร็งในครอบครัว, การป้องกันมะเร็งช่องปาก ด้วยการคัดกรองรอยโรคระยะก่อนมะเร็งโดยทันตบุคลากรในชุมชนร่วมกับการรักษาที่เหมาะสม, การเพิ่มสิทธิประโยชน์การตรวจ PET/CT Scan สําหรับมะเร็งปอดและมะเร็งต่อมน้ําเหลือง, การผ่าตัดแบบวันเดียวกลับสําหรับมะเร็งลําไส้ใหญ่ มะเร็งปอด มะเร็งไต มะเร็งตับอ่อนและมะเร็งท่อน้ําดี, การให้เคมีบําบัดที่บ้านสําหรับผู้ป่วยมะเร็งลําไส้ใหญ่ รวมถึงการใช้กัญชาทางการแพทย์ในการบรรเทาอาการข้างเคียงสําหรับผู้ป่วยมะเร็งที่รับเคมีบําบัด และผู้ป่วยมะเร็งที่รับการรักษาแบบประคับประคอง ช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น นอกจากนี้ ได้กําหนดนโยบาย “มะเร็งรักษาทุกที่” (Cancer Anywhere) พร้อมกับพัฒนาศักยภาพโรงพยาบาลในการให้บริการบําบัดรักษาโรคมะเร็ง เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถเลือกสถานที่รักษาได้มากกว่า 190 แห่งทั่วประเทศ โดยไม่ต้องใช้ใบส่งตัว ช่วยลดขั้นตอนให้ได้รับการรักษาอย่างรวดเร็วในสถานพยาบาลใกล้บ้าน เพิ่มโอกาสการรอดชีวิต
สําหรับศูนย์มะเร็งเฉลิมพระเกียรติจุฬาภรณ์ โรงพยาบาลร้อยเอ็ด เป็นศูนย์เชี่ยวชาญระดับสูงด้านมะเร็งตับและท่อทางเดินน้ําดีแบบครบวงจรของภูมิภาคอาเซียน มีหน่วยรังสีรักษาด้วยเครื่องฉายแสงชนิด 3 มิติ (LINAC)ให้บริการฉายรังสีให้กับผู้ป่วยมะเร็งในจังหวัดร้อยเอ็ด มหาสารคาม กาฬสินธุ์ และจังหวัดอื่นๆ ได้ 1,000 รายต่อปีได้จัดหาเครื่องเร่งอนุภาคพลังงานสูงชนิดแปรความเข้มเชิงปริมาตร (LINAC) ด้วยงบประมาณภายใต้โครงการจัดหาครุภัณฑ์เครื่องฉายรังสีสําหรับแก้ปัญหาผลกระทบจากโรคโควิด 19 ด้านการแพทย์ เพิ่มอีก 1 เครื่องช่วยเสริมศักยภาพการให้บริการผู้ป่วยได้เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคมะเร็งท่อน้ําดีจากพยาธิใบไม้ตับ ซึ่งภาคอีสานมีอัตราป่วยและเสียชีวิตสูงที่สุด ทั้งนี้ สิ่งสําคัญไม่ใช่เพียงการเพิ่มศักยภาพในการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็ง แต่ต้องสื่อสารให้ความรู้แก่ประชาชน ในการป้องกันตัวเองให้ห่างไกลจากโรคมะเร็งด้วย นายอนุทิน กล่าวในตอนท้าย
**************************************4 กุมภาพันธ์ 2565 | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สธ. เดินหน้านโยบายมะเร็งรักษาทุกที่ ผู้ป่วยมะเร็งเลือกรักษาในสถานพยาบาลได้กว่า 190 แห่งทั่วประเทศ
วันศุกร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ 2565
สธ. เดินหน้านโยบายมะเร็งรักษาทุกที่ ผู้ป่วยมะเร็งเลือกรักษาในสถานพยาบาลได้กว่า 190 แห่งทั่วประเทศ
รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เผย กระทรวงสาธารณสุขมุ่งพัฒนาระบบบริการบําบัดรักษาโรคมะเร็ง ซึ่งเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สําคัญของประเทศ พร้อมเดินหน้านโยบายมะเร็งรักษาทุกที่ ให้ผู้ป่วยสามารถเลือกสถานที่รักษาได้มากกว่า 190 แห่งทั่วประเทศ
รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เผย กระทรวงสาธารณสุขมุ่งพัฒนาระบบบริการบําบัดรักษาโรคมะเร็ง ซึ่งเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สําคัญของประเทศ พร้อมเดินหน้านโยบายมะเร็งรักษาทุกที่ ให้ผู้ป่วยสามารถเลือกสถานที่รักษาได้มากกว่า 190 แห่งทั่วประเทศ โดยไม่ต้องใช้ใบส่งตัว ช่วยลดขั้นตอนให้เข้าถึงการรักษาอย่างรวดเร็วในสถานพยาบาลใกล้บ้าน เพิ่มโอกาสการรอดชีวิต
วันนี้ (4 กุมภาพันธ์ 2565) ที่ โรงพยาบาลร้อยเอ็ด จ.ร้อยเอ็ด นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ภายหลังเป็นประธานเปิดการประชุมวิชาการวันมะเร็งโลกปี 2565 ภายใต้หัวข้อ “ยกระดับหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน” ของเขตสุขภาพที่ 7 ว่า รัฐบาลและกระทรวงสาธารณสุขให้ความสําคัญกับการพัฒนาระบบบริการบําบัดรักษาโรคมะเร็ง ซึ่งเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สําคัญของประเทศ อาทิ การยกระดับบริการคัดกรองปากมดลูก จากวิธีPAP smear และวิธี VIA เป็นการหาการติดเชื้อ HPV บริเวณช่องคลอด ซึ่งมีความแม่นยําสูง เก็บตัวอย่างได้ด้วยตัวเอง ช่วยแก้ปัญหาการเข้าไม่ถึงบริการของผู้หญิงจํานวนมาก, การคัดกรองมะเร็งลําไส้ใหญ่ด้วยการตรวจหาเลือดในอุจจาระ,การป้องกันมะเร็งเต้านม โดยเพิ่มสิทธิประโยชน์การตรวจยีนเสี่ยงมะเร็งสําหรับสตรีที่มีประวัติโรคมะเร็งในครอบครัว, การป้องกันมะเร็งช่องปาก ด้วยการคัดกรองรอยโรคระยะก่อนมะเร็งโดยทันตบุคลากรในชุมชนร่วมกับการรักษาที่เหมาะสม, การเพิ่มสิทธิประโยชน์การตรวจ PET/CT Scan สําหรับมะเร็งปอดและมะเร็งต่อมน้ําเหลือง, การผ่าตัดแบบวันเดียวกลับสําหรับมะเร็งลําไส้ใหญ่ มะเร็งปอด มะเร็งไต มะเร็งตับอ่อนและมะเร็งท่อน้ําดี, การให้เคมีบําบัดที่บ้านสําหรับผู้ป่วยมะเร็งลําไส้ใหญ่ รวมถึงการใช้กัญชาทางการแพทย์ในการบรรเทาอาการข้างเคียงสําหรับผู้ป่วยมะเร็งที่รับเคมีบําบัด และผู้ป่วยมะเร็งที่รับการรักษาแบบประคับประคอง ช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น นอกจากนี้ ได้กําหนดนโยบาย “มะเร็งรักษาทุกที่” (Cancer Anywhere) พร้อมกับพัฒนาศักยภาพโรงพยาบาลในการให้บริการบําบัดรักษาโรคมะเร็ง เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถเลือกสถานที่รักษาได้มากกว่า 190 แห่งทั่วประเทศ โดยไม่ต้องใช้ใบส่งตัว ช่วยลดขั้นตอนให้ได้รับการรักษาอย่างรวดเร็วในสถานพยาบาลใกล้บ้าน เพิ่มโอกาสการรอดชีวิต
สําหรับศูนย์มะเร็งเฉลิมพระเกียรติจุฬาภรณ์ โรงพยาบาลร้อยเอ็ด เป็นศูนย์เชี่ยวชาญระดับสูงด้านมะเร็งตับและท่อทางเดินน้ําดีแบบครบวงจรของภูมิภาคอาเซียน มีหน่วยรังสีรักษาด้วยเครื่องฉายแสงชนิด 3 มิติ (LINAC)ให้บริการฉายรังสีให้กับผู้ป่วยมะเร็งในจังหวัดร้อยเอ็ด มหาสารคาม กาฬสินธุ์ และจังหวัดอื่นๆ ได้ 1,000 รายต่อปีได้จัดหาเครื่องเร่งอนุภาคพลังงานสูงชนิดแปรความเข้มเชิงปริมาตร (LINAC) ด้วยงบประมาณภายใต้โครงการจัดหาครุภัณฑ์เครื่องฉายรังสีสําหรับแก้ปัญหาผลกระทบจากโรคโควิด 19 ด้านการแพทย์ เพิ่มอีก 1 เครื่องช่วยเสริมศักยภาพการให้บริการผู้ป่วยได้เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคมะเร็งท่อน้ําดีจากพยาธิใบไม้ตับ ซึ่งภาคอีสานมีอัตราป่วยและเสียชีวิตสูงที่สุด ทั้งนี้ สิ่งสําคัญไม่ใช่เพียงการเพิ่มศักยภาพในการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็ง แต่ต้องสื่อสารให้ความรู้แก่ประชาชน ในการป้องกันตัวเองให้ห่างไกลจากโรคมะเร็งด้วย นายอนุทิน กล่าวในตอนท้าย
**************************************4 กุมภาพันธ์ 2565 | https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/51251 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม มอบกรมการขนส่งทางบกช่วยเหลือกลุ่มผู้ขับรถแท็กซี่ - รถจักรยานยนต์รับจ้าง อายุเกิน 65 ปี ใน 29 จังหวัด ตามประกาศ ศบค. | วันพฤหัสบดีที่ 14 ตุลาคม 2564
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม มอบกรมการขนส่งทางบกช่วยเหลือกลุ่มผู้ขับรถแท็กซี่ - รถจักรยานยนต์รับจ้าง อายุเกิน 65 ปี ใน 29 จังหวัด ตามประกาศ ศบค.
...
นายจิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมการขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ตามที่นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้สั่งการให้กรมการขนส่งทางบก (ขบ.) จัดทําโครงการเพื่อให้ความช่วยเหลือกลุ่มอาชีพผู้ขับรถแท็กซี่และรถจักรยานยนต์สาธารณะที่มีอายุเกิน 65 ปี ที่ไม่สามารถสมัครเป็นผู้ประกันตนตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ได้ โดยเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2564 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบโครงการช่วยเหลือกลุ่มอาชีพผู้ขับรถแท็กซี่ และรถจักรยานยนต์สาธารณะที่มีอายุเกิน 65 ปี ซึ่งได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 29 จังหวัดแล้ว โดยเงื่อนไขสําหรับผู้ที่จะได้รับเงินช่วยเหลือตามโครงการนี้ต้องเป็นผู้ขับรถแท็กซี่ และรถจักรยานยนต์สาธารณะที่มีอายุเกิน 65 ปี ก่อนวันที่ 11 สิงหาคม 2564 มีศักยภาพในการขับรถมีใบอนุญาตขับรถสาธารณะ และบัตรประจําตัวผู้ขับรถสาธารณะ รถที่ใช้ประกอบอาชีพต้องชําระภาษีครบถ้วน มีรายชื่อในฐานข้อมูลของ ขบ. และไม่เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 มาตรา 39 และมาตรา 40 แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 และที่แก้ไขเพิ่มเติม กรณีรถเช่าต้องยืนยันทะเบียนรถและผู้ให้เช่าโดย ขบ. จะทําการตรวจสอบก่อนรับสิทธิ แบ่งเป็นการช่วยเหลือผู้ขับรถแท็กซี่และรถจักรยานยนต์สาธารณะ ที่ประกอบอาชีพใน 13 จังหวัด ตามข้อกําหนดฉบับที่ 25 และฉบับที่ 28 จะได้รับเงินช่วยเหลือในอัตรา10,000 บาทต่อคน (กรุงเทพมหานคร นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร ฉะเชิงเทรา ชลบุรี พระนครศรีอยุธยา นราธิวาส ปัตตานี ยะลา สงขลา) และการช่วยเหลือผู้ขับรถแท็กซี่และรถจักรยานยนต์สาธารณะที่ประกอบอาชีพใน 16 จังหวัด ตามข้อกําหนดฉบับที่ 30 จะได้รับเงินช่วยเหลือในอัตรา 5,000 บาทต่อคน (กาญจนบุรี ตาก นครนายก นครราชสีมา ประจวบคีรีขันธ์ ปราจีนบุรี เพชรบุรี เพชรบูรณ์ ระยอง ราชบุรี ลพบุรี สิงห์บุรี สมุทรสงคราม สระบุรี สุพรรณบุรี อ่างทอง) โดยจ่ายเงินผ่านบัญชีพร้อมเพย์เฉพาะการผูกบัญชี พร้อมเพย์กับเลขบัตรประจําตัวประชาชน 2 รอบ ดังนี้
- รอบที่ 1 ระหว่างวันที่ 8 - 12 พฤศจิกายน 2564 สําหรับรถจักรยานยนต์สาธารณะและรถแท็กซี่ส่วนบุคคล
- รอบที่ 2 ระหว่างวันที่ 22 - 26 พฤศจิกายน 2564 สําหรับรถแท็กซี่ที่เช่าขับ
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก กล่าวเพิ่มเติมว่า ผู้ที่มีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือตามโครงการดังกล่าว ต้องลงทะเบียนขอรับสิทธิช่วยเหลือด้วยตนเอง ระหว่างวันที่ 25 ตุลาคม - 5 พฤศจิกายน 2564 ในวันและเวลาราชการ ณ อาคาร 6 ชั้น 7 ขบ. กลุ่มวิชาการขนส่ง สํานักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1 - 4 และกลุ่มวิชาการขนส่ง สํานักงานขนส่งจังหวัดทั่วประเทศ พร้อมเอกสารตามที่กําหนด ได้แก่ ใบคําขอเพื่อรับสิทธิช่วยเหลือ (รับที่จุดลงทะเบียน) บัตรประจําตัวประชาชน ใบอนุญาตขับรถสาธารณะ บัตรประจําตัวผู้ขับรถสาธารณะ และเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 ขอให้ผู้ขับรถแท็กซี่และรถจักรยานยนต์สาธารณะที่มีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือ จองคิวออนไลน์ล่วงหน้าเพื่อมาดําเนินการผ่านแอปพลิเคชัน DLT Smart Queue หรือเว็บไซต์ https://gecc.dlt.go.th/ ตั้งแต่วันที่ 18 ตุลาคม - 5 พฤศจิกายน 2564 | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม มอบกรมการขนส่งทางบกช่วยเหลือกลุ่มผู้ขับรถแท็กซี่ - รถจักรยานยนต์รับจ้าง อายุเกิน 65 ปี ใน 29 จังหวัด ตามประกาศ ศบค.
วันพฤหัสบดีที่ 14 ตุลาคม 2564
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม มอบกรมการขนส่งทางบกช่วยเหลือกลุ่มผู้ขับรถแท็กซี่ - รถจักรยานยนต์รับจ้าง อายุเกิน 65 ปี ใน 29 จังหวัด ตามประกาศ ศบค.
...
นายจิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมการขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ตามที่นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้สั่งการให้กรมการขนส่งทางบก (ขบ.) จัดทําโครงการเพื่อให้ความช่วยเหลือกลุ่มอาชีพผู้ขับรถแท็กซี่และรถจักรยานยนต์สาธารณะที่มีอายุเกิน 65 ปี ที่ไม่สามารถสมัครเป็นผู้ประกันตนตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ได้ โดยเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2564 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบโครงการช่วยเหลือกลุ่มอาชีพผู้ขับรถแท็กซี่ และรถจักรยานยนต์สาธารณะที่มีอายุเกิน 65 ปี ซึ่งได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 29 จังหวัดแล้ว โดยเงื่อนไขสําหรับผู้ที่จะได้รับเงินช่วยเหลือตามโครงการนี้ต้องเป็นผู้ขับรถแท็กซี่ และรถจักรยานยนต์สาธารณะที่มีอายุเกิน 65 ปี ก่อนวันที่ 11 สิงหาคม 2564 มีศักยภาพในการขับรถมีใบอนุญาตขับรถสาธารณะ และบัตรประจําตัวผู้ขับรถสาธารณะ รถที่ใช้ประกอบอาชีพต้องชําระภาษีครบถ้วน มีรายชื่อในฐานข้อมูลของ ขบ. และไม่เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 มาตรา 39 และมาตรา 40 แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 และที่แก้ไขเพิ่มเติม กรณีรถเช่าต้องยืนยันทะเบียนรถและผู้ให้เช่าโดย ขบ. จะทําการตรวจสอบก่อนรับสิทธิ แบ่งเป็นการช่วยเหลือผู้ขับรถแท็กซี่และรถจักรยานยนต์สาธารณะ ที่ประกอบอาชีพใน 13 จังหวัด ตามข้อกําหนดฉบับที่ 25 และฉบับที่ 28 จะได้รับเงินช่วยเหลือในอัตรา10,000 บาทต่อคน (กรุงเทพมหานคร นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร ฉะเชิงเทรา ชลบุรี พระนครศรีอยุธยา นราธิวาส ปัตตานี ยะลา สงขลา) และการช่วยเหลือผู้ขับรถแท็กซี่และรถจักรยานยนต์สาธารณะที่ประกอบอาชีพใน 16 จังหวัด ตามข้อกําหนดฉบับที่ 30 จะได้รับเงินช่วยเหลือในอัตรา 5,000 บาทต่อคน (กาญจนบุรี ตาก นครนายก นครราชสีมา ประจวบคีรีขันธ์ ปราจีนบุรี เพชรบุรี เพชรบูรณ์ ระยอง ราชบุรี ลพบุรี สิงห์บุรี สมุทรสงคราม สระบุรี สุพรรณบุรี อ่างทอง) โดยจ่ายเงินผ่านบัญชีพร้อมเพย์เฉพาะการผูกบัญชี พร้อมเพย์กับเลขบัตรประจําตัวประชาชน 2 รอบ ดังนี้
- รอบที่ 1 ระหว่างวันที่ 8 - 12 พฤศจิกายน 2564 สําหรับรถจักรยานยนต์สาธารณะและรถแท็กซี่ส่วนบุคคล
- รอบที่ 2 ระหว่างวันที่ 22 - 26 พฤศจิกายน 2564 สําหรับรถแท็กซี่ที่เช่าขับ
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก กล่าวเพิ่มเติมว่า ผู้ที่มีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือตามโครงการดังกล่าว ต้องลงทะเบียนขอรับสิทธิช่วยเหลือด้วยตนเอง ระหว่างวันที่ 25 ตุลาคม - 5 พฤศจิกายน 2564 ในวันและเวลาราชการ ณ อาคาร 6 ชั้น 7 ขบ. กลุ่มวิชาการขนส่ง สํานักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1 - 4 และกลุ่มวิชาการขนส่ง สํานักงานขนส่งจังหวัดทั่วประเทศ พร้อมเอกสารตามที่กําหนด ได้แก่ ใบคําขอเพื่อรับสิทธิช่วยเหลือ (รับที่จุดลงทะเบียน) บัตรประจําตัวประชาชน ใบอนุญาตขับรถสาธารณะ บัตรประจําตัวผู้ขับรถสาธารณะ และเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 ขอให้ผู้ขับรถแท็กซี่และรถจักรยานยนต์สาธารณะที่มีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือ จองคิวออนไลน์ล่วงหน้าเพื่อมาดําเนินการผ่านแอปพลิเคชัน DLT Smart Queue หรือเว็บไซต์ https://gecc.dlt.go.th/ ตั้งแต่วันที่ 18 ตุลาคม - 5 พฤศจิกายน 2564 | https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/46953 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-พม. จับมือภาคีเครือข่าย ลงนามความร่วมมือ เรื่อง การกำกับดูแลการนำเสนอเนื้อหารายการบนหลักสิทธิพื้นฐานของเด็กและเยาวชน สตรี คนพิการ ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส และผู้มีความหลากหลายทางเพศ | วันพุธที่ 1 กันยายน 2564
พม. จับมือภาคีเครือข่าย ลงนามความร่วมมือ เรื่อง การกํากับดูแลการนําเสนอเนื้อหารายการบนหลักสิทธิพื้นฐานของเด็กและเยาวชน สตรี คนพิการ ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส และผู้มีความหลากหลายทางเพศ
พม. จับมือภาคีเครือข่าย ลงนามความร่วมมือ เรื่อง การกํากับดูแลการนําเสนอเนื้อหารายการบนหลักสิทธิพื้นฐานของเด็กและเยาวชนสตรี คนพิการ ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส และผู้มีความหลากหลายทางเพศในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์
วันที่ 31 ส.ค. 64เวลา 15.00 น.นางพัชรี อาระยะกุล ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (ปลัด พม.)เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ เรื่อง การกํากับดูแลการนําเสนอเนื้อหารายการบนหลักสิทธิพื้นฐานของเด็กและเยาวชนสตรี คนพิการ ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส และผู้มีความหลากหลายทางเพศในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ระหว่าง 5 หน่วยงาน ได้แก่ 1) กระทรวง พม. 2) กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) 3) สํานักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) 4) ศูนย์คุณธรรม (องค์กรมหาชน) และ 5) สยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์ พร้อมทั้งลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือดังกล่าว ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยแอปพลิเคชัน Zoom Meeting
นางพัชรีกล่าวว่า ปัจจุบันข้อมูลข่าวสารจํานวนมากที่ประชาชนรับส่งอย่างรวดเร็วผ่านสื่อต่างๆ มีทั้งประโยชน์และโทษ ซึ่งส่งผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อการดํารงชีวิต และอาจนําไปสู่พฤติกรรมการเลียนแบบได้ เนื่องจากอิทธิพลของสื่อต่างๆ ที่มีต่อค่านิยม ความเชื่อถือ และการนําไปปฏิบัติของคนในสังคมส่วนมาก สําหรับการนําเสนอเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมผ่านทางสื่อต่างๆ ในประเด็นที่เกี่ยวกับการคุกคามทางเพศ การล่วงละเมิดทางเพศ การกระทําความรุนแรง ในเด็ก เยาวชน สตรี คนพิการ และผู้มีความหลากหลายทางเพศ อาจส่งผลให้ประชาชนมีการตอบสนองต่อเรื่องดังกล่าวลดลง และเกิดความเคยชิน ซึ่งจะมีผลทําให้เกิดการเพิกเฉยต่อการพบเห็นหรือการกระทําดังกล่าว นอกจากนี้ ยังทําให้ความเห็นอกเห็นใจต่อผู้ถูกกระทําน้อยลง
นางพัชรีกล่าวต่อไปว่า นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) ได้มีแนวคิดให้กระทรวง พม. ในฐานะหน่วยงานภาครัฐที่มีภารกิจสําคัญในการขับเคลื่อนงานด้านเด็ก เยาวชน สตรี คนพิการ และผู้มีความหลากหลายทางเพศ เป็นองค์กรหลักในการจัดทําบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเพื่อเฝ้าระวังสื่อที่ไม่เหมาะสมและส่งเสริมให้ภาคประชาชนได้เข้าร่วมเป็นภาคีเครือข่ายในการเฝ้าระวังสื่อที่ลิดรอนสิทธิ เสรีภาพ และสิทธิพื้นฐานของเด็กและเยาวชน สตรี คนพิการ ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส และผู้มีความหลากหลายทางเพศ ในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ซึ่งวันนี้ ได้มีพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ เรื่อง การกํากับดูแลการนําเสนอเนื้อหารายการบนหลักสิทธิพื้นฐานของเด็กและเยาวชน สตรี คนพิการ ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส และผู้มีความหลากหลายทางเพศในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ระหว่าง 5 หน่วยงาน โดยมีผู้ร่วมลงนาม ดังนี้ 1) นางพัชรี อาระยะกุล ปลัดกระทรวง พม. 2) นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวง วธ. 3) นายไตรรัตน์ วิริยะศิริกุล รองเลขาธิการ กสทช. รักษาการแทนเลขาธิการ กสทช. 4) รองศาสตราจารย์ สุริยเดว ทรีปาตี ผู้อํานวยการศูนย์คุณธรรม (องค์กรมหาชน) และ 5) นางพิไลพรรณ สมบัติศิริ นายกสยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์ อีกทั้งมีผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมเป็นสักขีพยาน ได้แก่ กระทรวง พม. โดยกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กรมกิจการเด็กและเยาวชน กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ กรมกิจการผู้สูงอายุ และกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวง วธ. โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม และสื่อมวลชน
นางพัชรีกล่าวเพิ่มเติมว่า การลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่าง 5 หน่วยงานครั้งนี้ เพื่อมุ่งส่งเสริมและสนับสนุนการให้ความรู้ สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับสิทธิขั้นพื้นฐานของเด็กและเยาวชน สตรี คนพิการ ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส และผู้มีความหลากหลายทางเพศ แก่ผู้ผลิต ผู้ประกอบกิจการ สื่อมวลชนและผู้ที่เกี่ยวข้อง และสร้างเครือข่ายเฝ้าระวังการนําเสนอเนื้อหาของสื่อที่ไม่เหมาะสมตามแนวทางการจัดระดับความเหมาะสมของรายการโทรทัศน์ตามประกาศ กสทช. อีกทั้งเพื่อมุ่งส่งเสริมและสนับสนุนให้ภาคประชาชนได้เข้าร่วมเป็นภาคีเครือข่ายในการดําเนินการตามบันทึกข้อตกลง ทั้งนี้ บันทึกข้อตกลงความร่วมมือดังกล่าว ยังถือเป็นส่วนสําคัญของความร่วมมือกันระหว่าง 5 หน่วยงาน ในการกํากับดูแลการนําเสนอเนื้อหารายการ บนหลักสิทธิขั้นพื้นฐานของเด็กและเยาวชน สตรี คนพิการ ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส และผู้มีความหลากหลายทางเพศ ในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนและสังคม โดยคํานึงถึงเนื้อหาที่มีความสร้างสรรค์ และไม่ทําลายความเสมอภาคระหว่างเพศ ซึ่งจําเป็นอย่างยิ่งที่เราทุกคนต้องแสดงจุดยืนที่เข้มแข็งร่วมกัน | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-พม. จับมือภาคีเครือข่าย ลงนามความร่วมมือ เรื่อง การกำกับดูแลการนำเสนอเนื้อหารายการบนหลักสิทธิพื้นฐานของเด็กและเยาวชน สตรี คนพิการ ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส และผู้มีความหลากหลายทางเพศ
วันพุธที่ 1 กันยายน 2564
พม. จับมือภาคีเครือข่าย ลงนามความร่วมมือ เรื่อง การกํากับดูแลการนําเสนอเนื้อหารายการบนหลักสิทธิพื้นฐานของเด็กและเยาวชน สตรี คนพิการ ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส และผู้มีความหลากหลายทางเพศ
พม. จับมือภาคีเครือข่าย ลงนามความร่วมมือ เรื่อง การกํากับดูแลการนําเสนอเนื้อหารายการบนหลักสิทธิพื้นฐานของเด็กและเยาวชนสตรี คนพิการ ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส และผู้มีความหลากหลายทางเพศในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์
วันที่ 31 ส.ค. 64เวลา 15.00 น.นางพัชรี อาระยะกุล ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (ปลัด พม.)เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ เรื่อง การกํากับดูแลการนําเสนอเนื้อหารายการบนหลักสิทธิพื้นฐานของเด็กและเยาวชนสตรี คนพิการ ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส และผู้มีความหลากหลายทางเพศในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ระหว่าง 5 หน่วยงาน ได้แก่ 1) กระทรวง พม. 2) กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) 3) สํานักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) 4) ศูนย์คุณธรรม (องค์กรมหาชน) และ 5) สยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์ พร้อมทั้งลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือดังกล่าว ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยแอปพลิเคชัน Zoom Meeting
นางพัชรีกล่าวว่า ปัจจุบันข้อมูลข่าวสารจํานวนมากที่ประชาชนรับส่งอย่างรวดเร็วผ่านสื่อต่างๆ มีทั้งประโยชน์และโทษ ซึ่งส่งผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อการดํารงชีวิต และอาจนําไปสู่พฤติกรรมการเลียนแบบได้ เนื่องจากอิทธิพลของสื่อต่างๆ ที่มีต่อค่านิยม ความเชื่อถือ และการนําไปปฏิบัติของคนในสังคมส่วนมาก สําหรับการนําเสนอเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมผ่านทางสื่อต่างๆ ในประเด็นที่เกี่ยวกับการคุกคามทางเพศ การล่วงละเมิดทางเพศ การกระทําความรุนแรง ในเด็ก เยาวชน สตรี คนพิการ และผู้มีความหลากหลายทางเพศ อาจส่งผลให้ประชาชนมีการตอบสนองต่อเรื่องดังกล่าวลดลง และเกิดความเคยชิน ซึ่งจะมีผลทําให้เกิดการเพิกเฉยต่อการพบเห็นหรือการกระทําดังกล่าว นอกจากนี้ ยังทําให้ความเห็นอกเห็นใจต่อผู้ถูกกระทําน้อยลง
นางพัชรีกล่าวต่อไปว่า นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) ได้มีแนวคิดให้กระทรวง พม. ในฐานะหน่วยงานภาครัฐที่มีภารกิจสําคัญในการขับเคลื่อนงานด้านเด็ก เยาวชน สตรี คนพิการ และผู้มีความหลากหลายทางเพศ เป็นองค์กรหลักในการจัดทําบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเพื่อเฝ้าระวังสื่อที่ไม่เหมาะสมและส่งเสริมให้ภาคประชาชนได้เข้าร่วมเป็นภาคีเครือข่ายในการเฝ้าระวังสื่อที่ลิดรอนสิทธิ เสรีภาพ และสิทธิพื้นฐานของเด็กและเยาวชน สตรี คนพิการ ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส และผู้มีความหลากหลายทางเพศ ในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ซึ่งวันนี้ ได้มีพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ เรื่อง การกํากับดูแลการนําเสนอเนื้อหารายการบนหลักสิทธิพื้นฐานของเด็กและเยาวชน สตรี คนพิการ ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส และผู้มีความหลากหลายทางเพศในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ระหว่าง 5 หน่วยงาน โดยมีผู้ร่วมลงนาม ดังนี้ 1) นางพัชรี อาระยะกุล ปลัดกระทรวง พม. 2) นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวง วธ. 3) นายไตรรัตน์ วิริยะศิริกุล รองเลขาธิการ กสทช. รักษาการแทนเลขาธิการ กสทช. 4) รองศาสตราจารย์ สุริยเดว ทรีปาตี ผู้อํานวยการศูนย์คุณธรรม (องค์กรมหาชน) และ 5) นางพิไลพรรณ สมบัติศิริ นายกสยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์ อีกทั้งมีผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมเป็นสักขีพยาน ได้แก่ กระทรวง พม. โดยกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กรมกิจการเด็กและเยาวชน กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ กรมกิจการผู้สูงอายุ และกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวง วธ. โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม และสื่อมวลชน
นางพัชรีกล่าวเพิ่มเติมว่า การลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่าง 5 หน่วยงานครั้งนี้ เพื่อมุ่งส่งเสริมและสนับสนุนการให้ความรู้ สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับสิทธิขั้นพื้นฐานของเด็กและเยาวชน สตรี คนพิการ ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส และผู้มีความหลากหลายทางเพศ แก่ผู้ผลิต ผู้ประกอบกิจการ สื่อมวลชนและผู้ที่เกี่ยวข้อง และสร้างเครือข่ายเฝ้าระวังการนําเสนอเนื้อหาของสื่อที่ไม่เหมาะสมตามแนวทางการจัดระดับความเหมาะสมของรายการโทรทัศน์ตามประกาศ กสทช. อีกทั้งเพื่อมุ่งส่งเสริมและสนับสนุนให้ภาคประชาชนได้เข้าร่วมเป็นภาคีเครือข่ายในการดําเนินการตามบันทึกข้อตกลง ทั้งนี้ บันทึกข้อตกลงความร่วมมือดังกล่าว ยังถือเป็นส่วนสําคัญของความร่วมมือกันระหว่าง 5 หน่วยงาน ในการกํากับดูแลการนําเสนอเนื้อหารายการ บนหลักสิทธิขั้นพื้นฐานของเด็กและเยาวชน สตรี คนพิการ ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส และผู้มีความหลากหลายทางเพศ ในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนและสังคม โดยคํานึงถึงเนื้อหาที่มีความสร้างสรรค์ และไม่ทําลายความเสมอภาคระหว่างเพศ ซึ่งจําเป็นอย่างยิ่งที่เราทุกคนต้องแสดงจุดยืนที่เข้มแข็งร่วมกัน | https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/45388 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-‘โฆษกแรงงาน’ แจง ผลงานรัฐบาลจ้างงานนักศึกษาจบใหม่นับแสนคน | วันอังคารที่ 24 สิงหาคม 2564
‘โฆษกแรงงาน’ แจง ผลงานรัฐบาลจ้างงานนักศึกษาจบใหม่นับแสนคน
โฆษกกระทรวงแรงงาน (ฝ่ายการเมือง) เปิดเผยว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้สั่งการให้กรมการจัดหางานจัดหาตําแหน่งงานว่างทั้งจากภาคเอกชนและภาครัฐรองรับกลุ่มนักศึกษาจบใหม่
เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2564นางเธียรรัตน์ นะวะมะวัฒน์ โฆษกกระทรวงแรงงาน (ฝ่ายการเมือง)เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ตั้งแต่ปี 2563 จนถึงปัจจุบันได้ส่งผลกระทบต่อธุรกิจและการจ้างงานไปทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทยเองก็ได้รับกระทบต่อการจ้างงานในธุรกิจท่องเที่ยวและบริการเช่นกัน แต่ภาคการผลิตและการส่งออกโดยเฉพาะในอุตสาหกรรมยานยนต์ แผงวงจรอิเล็กโทรนิกส์ เครื่องมือแพทย์ และอาหารแช่แข็ง ยังมีความต้องการแรงงานเป็นจํานวนมาก เนื่องจากหลายประเทศไม่สามารถส่งออกสินค้าได้ รัฐบาล ภายใต้การนําของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ไม่ได้นิ่งนอนใจท่านให้ความสําคัญกับพี่น้องประชาชนทุกคนที่ต้องการมีงานทํา โดยเฉพาะนักศึกษาจบใหม่จากผลกระทบโควิด-19 จึงได้ให้นายสุชาติ ชมกลิ่น รมว.แรงงานสั่งการให้กรมการจัดหางานจัดหาตําแหน่งงานว่างทั้งจากภาคเอกชนและภาครัฐรองรับ
นางเธียรรัตน์กล่าวต่อว่า โดยเฉพาะกลุ่มนักศึกษาจบใหม่ ในปี 2563 มีนักศึกษาจบใหม่ จํานวน 575,230 คน ประกอบด้วย วุฒิ ปวช. จํานวน 140,755 คน วุฒิ ปวส. จํานวน 122,585 คน และวุฒิปริญญาตรี จํานวน 311,890 คน และประมาณการนักศึกษาจบใหม่ต้องการมีงานทํา จํานวน 434,475 ราย ซึ่งได้มีงานทําไปแล้ว จํานวน 316,636 คน ซึ่งอยู่ในภาคเอกชนระบบประกันสังคม จํานวน 230,661 คน แบ่งเป็นประเภทกิจการอื่นๆ การผลิต การขายส่งและการขายปลีก ที่พักแรมและบริการด้านอาหาร และการก่อสร้างและจากการจ้างงานนักศึกษาจบใหม่ในภาครัฐ ตาม พรก. เงินกู้ของรัฐบาล จํานวน 85,975 คน จากกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกระทรวงแรงงาน คงเหลือจํานวนนักศึกษาจบใหม่ที่ต้องการมีงานทําแต่ยังไม่มีงาน จํานวน 179,161 คน ซึ่งส่วนใหญ่มีแนวโน้มสมัครเรียนต่อโดยเฉพาะกลุ่ม ปวช. และประกอบอาชีพอิสระ ในปี 2564 ได้มีการจ้างงานนักศึกษาจบใหม่ในภาคเอกชน 165,625 ราย แบ่งเป็น การผลิต การขายส่งและการขายปลีก การก่อสร้าง และอสังหาริมทรัพย์ และสาขาอื่น ๆ ส่วนใหญ่เป็นการจ้างงานในกรุงเทพมหานคร ชลบุรี สมุทรปราการ และปทุมธานี และการจ้างงานนักศึกษาจบใหม่ในภาครัฐ โดยใช้งบประมาณจาก พ.ร.ก.เงินกู้ของรัฐบาลอีกจํานวน 58,452 ราย จากโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตําบลแบบบูรณาการ (1 ตําบล 1 มหาวิทยาลัย) ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ซึ่ง ครม.มีมติเห็นชอบให้มีการจ้างพนักงานราชการเฉพาะกิจ 10,000 อัตรา เพื่อช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 รวมวงเงินกว่า 2,200 ล้านบาท โดยจะเปิดรับผู้สําเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีที่จบใหม่
ทั้งนี้นายสุชาติ ชมกลิ่น รมว.แรงงานยังได้สั่งการให้ กรมการจัดหางาน เตรียมตําแหน่งงานว่างไว้รองรับผู้จบการศึกษาใหม่ (ในช่วงอายุ 18 – 25 ปี) จํานวน 230,288 อัตรา มีผู้จบการศึกษาใหม่มาใช้บริการสมัครงาน 160,486 คน ได้รับการบรรจุงาน 110,273 คน และยังมีผู้ที่เดินทางไปทํางานในต่างประเทศ (โครงการ IMM) 5,346 คน รวมบรรจุงานทั้งหมด 115,619 คน ทั้งนี้ ยังพบว่าผู้จบการศึกษาใหม่ส่วนหนึ่งมีความสนใจที่จะทํางานอาชีพอิสระ (Freelance)
อย่างไรก็ดี กระทรวงแรงงาน โดยกรมการจัดหางานและรัฐบาล ยังมีมาตรการต่าง ๆ เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้จบการศึกษาใหม่ ทั้งบริการจัดหางานที่สํานักงานจัดหางานจังหวัดทั่วประเทศ บริการผ่านระบบออนไลน์ได้ด้วยตนเองที่เว็บไซต์ ไทยมีงานทํา www.doe.go.th นัดพบแรงงาน ส่งเสริมการประกอบอาชีพอิสระและแหล่งเงินทุน ส่งเสริมการรับงานไปทําที่บ้าน จัดส่งแรงงานไทยไปทํางานในต่างประเทศ โครงการส่งเสริมการจ้างงานใหม่สําหรับผู้จบการศึกษาใหม่โดยภาครัฐและเอกชน รวมทั้งจ้างพนักงานราชการเฉพาะกิจทั่วประเทศตามมาตรการช่วยเหลือจากภาครัฐอีกด้วย
“จะเห็นได้ว่ารัฐบาลและกระทรวงแรงงานมีมาตรการช่วยเหลือให้นักศึกษาจบใหม่ได้มีงานทําเพื่อเข้าสู่ตลาดแรงงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งช่วยเหลือสถานประกอบการให้สามารถดําเนินธุรกิจต่อไปได้ ซึ่งกระทรวงแรงงาน โดยกรมการจัดหางาน กําลังเร่งจัดหาตําแหน่งงานว่างให้อีกเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ประกอบการและผู้ที่กําลังหางานทํารองรับตลาดแรงงานในอนาคตต่อไป”นางเธียรรัตน์กล่าวในท้ายสุด | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-‘โฆษกแรงงาน’ แจง ผลงานรัฐบาลจ้างงานนักศึกษาจบใหม่นับแสนคน
วันอังคารที่ 24 สิงหาคม 2564
‘โฆษกแรงงาน’ แจง ผลงานรัฐบาลจ้างงานนักศึกษาจบใหม่นับแสนคน
โฆษกกระทรวงแรงงาน (ฝ่ายการเมือง) เปิดเผยว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้สั่งการให้กรมการจัดหางานจัดหาตําแหน่งงานว่างทั้งจากภาคเอกชนและภาครัฐรองรับกลุ่มนักศึกษาจบใหม่
เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2564นางเธียรรัตน์ นะวะมะวัฒน์ โฆษกกระทรวงแรงงาน (ฝ่ายการเมือง)เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ตั้งแต่ปี 2563 จนถึงปัจจุบันได้ส่งผลกระทบต่อธุรกิจและการจ้างงานไปทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทยเองก็ได้รับกระทบต่อการจ้างงานในธุรกิจท่องเที่ยวและบริการเช่นกัน แต่ภาคการผลิตและการส่งออกโดยเฉพาะในอุตสาหกรรมยานยนต์ แผงวงจรอิเล็กโทรนิกส์ เครื่องมือแพทย์ และอาหารแช่แข็ง ยังมีความต้องการแรงงานเป็นจํานวนมาก เนื่องจากหลายประเทศไม่สามารถส่งออกสินค้าได้ รัฐบาล ภายใต้การนําของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ไม่ได้นิ่งนอนใจท่านให้ความสําคัญกับพี่น้องประชาชนทุกคนที่ต้องการมีงานทํา โดยเฉพาะนักศึกษาจบใหม่จากผลกระทบโควิด-19 จึงได้ให้นายสุชาติ ชมกลิ่น รมว.แรงงานสั่งการให้กรมการจัดหางานจัดหาตําแหน่งงานว่างทั้งจากภาคเอกชนและภาครัฐรองรับ
นางเธียรรัตน์กล่าวต่อว่า โดยเฉพาะกลุ่มนักศึกษาจบใหม่ ในปี 2563 มีนักศึกษาจบใหม่ จํานวน 575,230 คน ประกอบด้วย วุฒิ ปวช. จํานวน 140,755 คน วุฒิ ปวส. จํานวน 122,585 คน และวุฒิปริญญาตรี จํานวน 311,890 คน และประมาณการนักศึกษาจบใหม่ต้องการมีงานทํา จํานวน 434,475 ราย ซึ่งได้มีงานทําไปแล้ว จํานวน 316,636 คน ซึ่งอยู่ในภาคเอกชนระบบประกันสังคม จํานวน 230,661 คน แบ่งเป็นประเภทกิจการอื่นๆ การผลิต การขายส่งและการขายปลีก ที่พักแรมและบริการด้านอาหาร และการก่อสร้างและจากการจ้างงานนักศึกษาจบใหม่ในภาครัฐ ตาม พรก. เงินกู้ของรัฐบาล จํานวน 85,975 คน จากกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกระทรวงแรงงาน คงเหลือจํานวนนักศึกษาจบใหม่ที่ต้องการมีงานทําแต่ยังไม่มีงาน จํานวน 179,161 คน ซึ่งส่วนใหญ่มีแนวโน้มสมัครเรียนต่อโดยเฉพาะกลุ่ม ปวช. และประกอบอาชีพอิสระ ในปี 2564 ได้มีการจ้างงานนักศึกษาจบใหม่ในภาคเอกชน 165,625 ราย แบ่งเป็น การผลิต การขายส่งและการขายปลีก การก่อสร้าง และอสังหาริมทรัพย์ และสาขาอื่น ๆ ส่วนใหญ่เป็นการจ้างงานในกรุงเทพมหานคร ชลบุรี สมุทรปราการ และปทุมธานี และการจ้างงานนักศึกษาจบใหม่ในภาครัฐ โดยใช้งบประมาณจาก พ.ร.ก.เงินกู้ของรัฐบาลอีกจํานวน 58,452 ราย จากโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตําบลแบบบูรณาการ (1 ตําบล 1 มหาวิทยาลัย) ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ซึ่ง ครม.มีมติเห็นชอบให้มีการจ้างพนักงานราชการเฉพาะกิจ 10,000 อัตรา เพื่อช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 รวมวงเงินกว่า 2,200 ล้านบาท โดยจะเปิดรับผู้สําเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีที่จบใหม่
ทั้งนี้นายสุชาติ ชมกลิ่น รมว.แรงงานยังได้สั่งการให้ กรมการจัดหางาน เตรียมตําแหน่งงานว่างไว้รองรับผู้จบการศึกษาใหม่ (ในช่วงอายุ 18 – 25 ปี) จํานวน 230,288 อัตรา มีผู้จบการศึกษาใหม่มาใช้บริการสมัครงาน 160,486 คน ได้รับการบรรจุงาน 110,273 คน และยังมีผู้ที่เดินทางไปทํางานในต่างประเทศ (โครงการ IMM) 5,346 คน รวมบรรจุงานทั้งหมด 115,619 คน ทั้งนี้ ยังพบว่าผู้จบการศึกษาใหม่ส่วนหนึ่งมีความสนใจที่จะทํางานอาชีพอิสระ (Freelance)
อย่างไรก็ดี กระทรวงแรงงาน โดยกรมการจัดหางานและรัฐบาล ยังมีมาตรการต่าง ๆ เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้จบการศึกษาใหม่ ทั้งบริการจัดหางานที่สํานักงานจัดหางานจังหวัดทั่วประเทศ บริการผ่านระบบออนไลน์ได้ด้วยตนเองที่เว็บไซต์ ไทยมีงานทํา www.doe.go.th นัดพบแรงงาน ส่งเสริมการประกอบอาชีพอิสระและแหล่งเงินทุน ส่งเสริมการรับงานไปทําที่บ้าน จัดส่งแรงงานไทยไปทํางานในต่างประเทศ โครงการส่งเสริมการจ้างงานใหม่สําหรับผู้จบการศึกษาใหม่โดยภาครัฐและเอกชน รวมทั้งจ้างพนักงานราชการเฉพาะกิจทั่วประเทศตามมาตรการช่วยเหลือจากภาครัฐอีกด้วย
“จะเห็นได้ว่ารัฐบาลและกระทรวงแรงงานมีมาตรการช่วยเหลือให้นักศึกษาจบใหม่ได้มีงานทําเพื่อเข้าสู่ตลาดแรงงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งช่วยเหลือสถานประกอบการให้สามารถดําเนินธุรกิจต่อไปได้ ซึ่งกระทรวงแรงงาน โดยกรมการจัดหางาน กําลังเร่งจัดหาตําแหน่งงานว่างให้อีกเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ประกอบการและผู้ที่กําลังหางานทํารองรับตลาดแรงงานในอนาคตต่อไป”นางเธียรรัตน์กล่าวในท้ายสุด | https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/45089 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-PM thanks U.S. for handing over additional COVID-19 diagnostic and vaccine delivery supplies | วันพุธที่ 9 กุมภาพันธ์ 2565
PM thanks U.S. for handing over additional COVID-19 diagnostic and vaccine delivery supplies
PM thanks U.S. for handing over additional COVID-19 diagnostic and vaccine delivery supplies
February 9, 2022, Government Spokesperson Thanakorn Wangboonkongchana disclosed that Prime Minister and Defense Minister Gen. Prayut Chan-o-cha thanked the U.S. Government and Mr. Michael Heath, Chargé d' Affaires a.i. of the U.S. Mission in Thailand, for handing over additional COVID-19 diagnostic and vaccine delivery supplies, worth over $1.5 million (49.5 million baht), to help Thailand fight COVID-19. This gesture reflects friendship and close relations between the two countries and commitment of the Government of both Thailand and the U.S. in fighting the COVID-19 pandemic together.
The supplies provided on behalf of the United States Agency for International Development (USAID) include reagents for Real-Time RT-PCR diagnostic tests, next generation sequencing for variant detection, vaccine delivery supplies, and personal protective equipment. Deputy Prime Minister and Minister of Public Health, Anutin Charnvirakul represented the Thai Government to receive the COVID-19 diagnostic and vaccine delivery supplies on February 7, 2022.
To date, USAID has provided more than $12.4 million (409 million baht) in COVID-19 assistance, and sustained support to boost Thailand’s diagnostic capacity for emerging infectious diseases of pandemic potential. At the inception of the pandemic, more than a decade of USAID support in partnership with Thailand for detection of emerging viruses contributed to Thailand’s confirmation of the first traveler-imported COVID-19 case. USAID also provided personal protective equipment for Thai health workers; reached more than 117,000 migrants and persons from high-risk communities with vital COVID-19 information; and strengthened diagnostic and testing surge capacity.
According to the Government Spokesperson, U.S. long-term support and provision of supplies have helped enhance Thailand’s public healthcare capacity in handling emerging infectious diseases, and contributed to the more efficient response to the COVID-19 pandemic. The Thai Government would ensure proper management and distribution of the provided supplies for the best interest of the Thai people. | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-PM thanks U.S. for handing over additional COVID-19 diagnostic and vaccine delivery supplies
วันพุธที่ 9 กุมภาพันธ์ 2565
PM thanks U.S. for handing over additional COVID-19 diagnostic and vaccine delivery supplies
PM thanks U.S. for handing over additional COVID-19 diagnostic and vaccine delivery supplies
February 9, 2022, Government Spokesperson Thanakorn Wangboonkongchana disclosed that Prime Minister and Defense Minister Gen. Prayut Chan-o-cha thanked the U.S. Government and Mr. Michael Heath, Chargé d' Affaires a.i. of the U.S. Mission in Thailand, for handing over additional COVID-19 diagnostic and vaccine delivery supplies, worth over $1.5 million (49.5 million baht), to help Thailand fight COVID-19. This gesture reflects friendship and close relations between the two countries and commitment of the Government of both Thailand and the U.S. in fighting the COVID-19 pandemic together.
The supplies provided on behalf of the United States Agency for International Development (USAID) include reagents for Real-Time RT-PCR diagnostic tests, next generation sequencing for variant detection, vaccine delivery supplies, and personal protective equipment. Deputy Prime Minister and Minister of Public Health, Anutin Charnvirakul represented the Thai Government to receive the COVID-19 diagnostic and vaccine delivery supplies on February 7, 2022.
To date, USAID has provided more than $12.4 million (409 million baht) in COVID-19 assistance, and sustained support to boost Thailand’s diagnostic capacity for emerging infectious diseases of pandemic potential. At the inception of the pandemic, more than a decade of USAID support in partnership with Thailand for detection of emerging viruses contributed to Thailand’s confirmation of the first traveler-imported COVID-19 case. USAID also provided personal protective equipment for Thai health workers; reached more than 117,000 migrants and persons from high-risk communities with vital COVID-19 information; and strengthened diagnostic and testing surge capacity.
According to the Government Spokesperson, U.S. long-term support and provision of supplies have helped enhance Thailand’s public healthcare capacity in handling emerging infectious diseases, and contributed to the more efficient response to the COVID-19 pandemic. The Thai Government would ensure proper management and distribution of the provided supplies for the best interest of the Thai people. | https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/51388 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-โฆษกรัฐบาลเผย "นายกฯ" สั่งคุมเข้มระบบขนส่ง การจราจร และมาตรการป้องกันโควิด-19 ตั้งแต่วันนี้ เตรียมรองรับการเดินทางของพี่น้องประชาชนในสัปดาห์สุดท้ายของปืนี้ | วันอังคารที่ 28 ธันวาคม 2564
โฆษกรัฐบาลเผย "นายกฯ" สั่งคุมเข้มระบบขนส่ง การจราจร และมาตรการป้องกันโควิด-19 ตั้งแต่วันนี้ เตรียมรองรับการเดินทางของพี่น้องประชาชนในสัปดาห์สุดท้ายของปืนี้
โฆษกรัฐบาลเผย "นายกฯ" สั่งคุมเข้มระบบขนส่ง การจราจร และมาตรการป้องกันโควิด-19 ตั้งแต่วันนี้ เตรียมรองรับการเดินทางของพี่น้องประชาชนในสัปดาห์สุดท้ายของปืนี้
วันนี้ 27 ธ.ค. 64 นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ห่วงการเดินทางของพี่น้องประชาชนในสัปดาห์สุดท้ายของปืนี้ ซึ่งคาดจะมีการเดินทางข้ามจังหวัด/พื้นที่จํานวนมาก จึงขอให้กระทรวงสาธารณสุขประสานกระทรวงคมนาคม บริษัทขนส่งทางบก (บขส.) เตรียมมาตรการรองรับประชาชนที่จะมาใช้บริการขนส่งสาธารณะ โดยกระทรวงสาธารณสุขแนะนําว่า กรณีรถโดยสารที่ต้องใช้เวลาเดินทางเกิน 4 ชั่วโมงขึ้นไป ควรมีการตรวจ ATK ผู้โดยสารก่อนขึ้นรถทุกคน ส่วนผู้โดยสารต้องสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า ขณะใช้บริการทั้งที่สถานีขนส่งและบนรถโดยสารตลอดการเดินทาง สําหรับพนักงานขับรถและพนักงานบริการจะต้องมีการตรวจ ATK ก่อนปฏิบัติงาน ตามมาตรการเฝ้าระวังโควิด-19
นอกจากนี้ ยังมอบหมายให้กระทรวงคมนาคมเตรียมรองรับการเดินทางตั้งแต่ 29 ธันวาคม 2564 - 4 มกราคม 2565 รวมระยะเวลา 7 วัน ติดตามการใช้เส้นทางจราจรทางถนน ให้มีความคล่องตัว ไม่ติดขัดด้วย นายธนกร กล่าวว่า นายกรัฐมนตรีหวังว่า ปีนี้จะสามารถลดจํานวนการเกิดอุบัติเหตุ และลดความสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนให้มากที่สุด ควบคู่กับการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) ด้วย ทั้งนี้ บริษัท ขนส่ง จํากัด (บขส.) คาดการณ์ว่าจะมีผู้โดยสารใช้บริการเพิ่มประมาณ 30% จากในช่วงปีใหม่ 64 โดยคาดว่าในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2565 นี้ เที่ยวไประหว่างวันที่ 28 – 30 ธันวาคม 2564 จะมีผู้ใช้บริการเฉลี่ยวันละ 60,000 คน ใช้รถโดยสาร (รถ บขส. รถร่วม,รถตู้) เฉลี่ยวันละ 4,700 เที่ยว ส่วนเที่ยวกลับระหว่างวันที่ 2 – 3 มกราคม 2565 คาดว่าจะมีผู้โดยสารใช้บริการเฉลี่ยวันละ 50,000 คน ใช้รถโดยสารประมาณ 4,500 เที่ยว ซึ่ง บขส. พร้อมให้บริการด้วยรถโดยสารที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐานความปลอดภัยด้านสุขอนามัย SHA Plus และจัดการเดินรถตามมาตรการสาธารณสุขอย่างเคร่งครัดด้วย
"นายกรัฐมนตรียังแนะนําประชาชนให้วางแผนการเดินทางล่วงหน้า เหลื่อมเวลาการเดินทางในเส้นทางเข้า - ออกกรุงเทพมหานคร เพื่อกระจายปริมาณจราจรบนถนน และหลีกเลี่ยงปัญหาการจราจรติดขัดในช่วงเทศกาลปีใหม่ พร้อมฝากความห่วงใยผู้ขับขี่ยานยนต์ทุกประเภท ให้มีสติ ไม่ขับรถเร็ว เมาไม่ขับ เพื่อให้ถึงที่หมายด้วยความปลอดภัย ที่สําคัญทุกคนต้องป้องกันตัวเองแบบครอบจักรวาลตลอดเวลา ช่วยกันลดทั้งความเสี่ยงในการแพร่/รับเชื้อไวรัสโควิด-19 และลดอุบัติเหตุในช่วงเทศกาลปีใหม่นี้ด้วย" นายธนกร กล่าว /////// | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-โฆษกรัฐบาลเผย "นายกฯ" สั่งคุมเข้มระบบขนส่ง การจราจร และมาตรการป้องกันโควิด-19 ตั้งแต่วันนี้ เตรียมรองรับการเดินทางของพี่น้องประชาชนในสัปดาห์สุดท้ายของปืนี้
วันอังคารที่ 28 ธันวาคม 2564
โฆษกรัฐบาลเผย "นายกฯ" สั่งคุมเข้มระบบขนส่ง การจราจร และมาตรการป้องกันโควิด-19 ตั้งแต่วันนี้ เตรียมรองรับการเดินทางของพี่น้องประชาชนในสัปดาห์สุดท้ายของปืนี้
โฆษกรัฐบาลเผย "นายกฯ" สั่งคุมเข้มระบบขนส่ง การจราจร และมาตรการป้องกันโควิด-19 ตั้งแต่วันนี้ เตรียมรองรับการเดินทางของพี่น้องประชาชนในสัปดาห์สุดท้ายของปืนี้
วันนี้ 27 ธ.ค. 64 นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ห่วงการเดินทางของพี่น้องประชาชนในสัปดาห์สุดท้ายของปืนี้ ซึ่งคาดจะมีการเดินทางข้ามจังหวัด/พื้นที่จํานวนมาก จึงขอให้กระทรวงสาธารณสุขประสานกระทรวงคมนาคม บริษัทขนส่งทางบก (บขส.) เตรียมมาตรการรองรับประชาชนที่จะมาใช้บริการขนส่งสาธารณะ โดยกระทรวงสาธารณสุขแนะนําว่า กรณีรถโดยสารที่ต้องใช้เวลาเดินทางเกิน 4 ชั่วโมงขึ้นไป ควรมีการตรวจ ATK ผู้โดยสารก่อนขึ้นรถทุกคน ส่วนผู้โดยสารต้องสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า ขณะใช้บริการทั้งที่สถานีขนส่งและบนรถโดยสารตลอดการเดินทาง สําหรับพนักงานขับรถและพนักงานบริการจะต้องมีการตรวจ ATK ก่อนปฏิบัติงาน ตามมาตรการเฝ้าระวังโควิด-19
นอกจากนี้ ยังมอบหมายให้กระทรวงคมนาคมเตรียมรองรับการเดินทางตั้งแต่ 29 ธันวาคม 2564 - 4 มกราคม 2565 รวมระยะเวลา 7 วัน ติดตามการใช้เส้นทางจราจรทางถนน ให้มีความคล่องตัว ไม่ติดขัดด้วย นายธนกร กล่าวว่า นายกรัฐมนตรีหวังว่า ปีนี้จะสามารถลดจํานวนการเกิดอุบัติเหตุ และลดความสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนให้มากที่สุด ควบคู่กับการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) ด้วย ทั้งนี้ บริษัท ขนส่ง จํากัด (บขส.) คาดการณ์ว่าจะมีผู้โดยสารใช้บริการเพิ่มประมาณ 30% จากในช่วงปีใหม่ 64 โดยคาดว่าในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2565 นี้ เที่ยวไประหว่างวันที่ 28 – 30 ธันวาคม 2564 จะมีผู้ใช้บริการเฉลี่ยวันละ 60,000 คน ใช้รถโดยสาร (รถ บขส. รถร่วม,รถตู้) เฉลี่ยวันละ 4,700 เที่ยว ส่วนเที่ยวกลับระหว่างวันที่ 2 – 3 มกราคม 2565 คาดว่าจะมีผู้โดยสารใช้บริการเฉลี่ยวันละ 50,000 คน ใช้รถโดยสารประมาณ 4,500 เที่ยว ซึ่ง บขส. พร้อมให้บริการด้วยรถโดยสารที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐานความปลอดภัยด้านสุขอนามัย SHA Plus และจัดการเดินรถตามมาตรการสาธารณสุขอย่างเคร่งครัดด้วย
"นายกรัฐมนตรียังแนะนําประชาชนให้วางแผนการเดินทางล่วงหน้า เหลื่อมเวลาการเดินทางในเส้นทางเข้า - ออกกรุงเทพมหานคร เพื่อกระจายปริมาณจราจรบนถนน และหลีกเลี่ยงปัญหาการจราจรติดขัดในช่วงเทศกาลปีใหม่ พร้อมฝากความห่วงใยผู้ขับขี่ยานยนต์ทุกประเภท ให้มีสติ ไม่ขับรถเร็ว เมาไม่ขับ เพื่อให้ถึงที่หมายด้วยความปลอดภัย ที่สําคัญทุกคนต้องป้องกันตัวเองแบบครอบจักรวาลตลอดเวลา ช่วยกันลดทั้งความเสี่ยงในการแพร่/รับเชื้อไวรัสโควิด-19 และลดอุบัติเหตุในช่วงเทศกาลปีใหม่นี้ด้วย" นายธนกร กล่าว /////// | https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/49947 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ถกแก้ปัญหา "สลากกินแบ่งรัฐบาลเกินราคา" ตั้งชุดปฏิบัติการ ปรับเงื่อนไขการทำสัญญาผู้ค้าสลาก - บทลงโทษ | วันอังคารที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565
ถกแก้ปัญหา "สลากกินแบ่งรัฐบาลเกินราคา" ตั้งชุดปฏิบัติการ ปรับเงื่อนไขการทําสัญญาผู้ค้าสลาก - บทลงโทษ
.....
นายอนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี เผยถึงผลการประชุมคณะกรรมการแก้ไขปัญหาผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนจากการเสนอขายหรือขายสลากกินแบ่งรัฐบาลในราคาเกินกว่าที่กําหนดในสลากกินแบ่งรัฐบาล ครั้งที่ 1/2565 สรุปสาระสําคัญ ดังนี้
.
คณะกรรมการฯ ได้พิจารณาถึงระบบการจําหน่ายสลาก ปัญหาและสาเหตุที่ทําให้เกิดการขายสลากเกินราคา รวมถึงการคัดเลือกผู้ค้ารายย่อยใหม่ จํานวน 2 แสนราย ขั้นตอนต่อไป สํานักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลจะนํารายชื่อมาเสนอต่อคณะกรรมการฯ เพื่อคัดกรองความเหมาะสม
.
ที่ประชุมยังได้เสนอให้ปรับปรุงกฎหมายควบคุมการค้าสลากเกินราคา เนื่องจากกฎหมายปัจจุบันที่บังคับใช้นั้น มีความล้าสมัย แต่ด้วยระยะเวลาในการปรับปรุงกฎหมายอาจใช้เวลานาน จึงเห็นชอบให้มีการกําหนดเงื่อนไขการทําสัญญาผู้ค้าสลาก และกําหนดบทลงโทษ เช่น การปรับ หรือตัดสิทธิ์ เป็นต้น
.
นอกจากนี้ ได้แต่งตั้งหัวหน้าชุดเฉพาะกิจในการตรวจสอบและติดตามผู้ค้าสลากเกินราคา รวมทั้งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ 3 คณะ เพื่อขับเคลื่อนการดําเนินงานเชิงรุก
.
อ่านเพิ่มเติม คลิกhttps://www.thaigov.go.th/news/contents/details/51098
#ไทยคู่ฟ้า#ร่วมต้านโควิด19
------------------- | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ถกแก้ปัญหา "สลากกินแบ่งรัฐบาลเกินราคา" ตั้งชุดปฏิบัติการ ปรับเงื่อนไขการทำสัญญาผู้ค้าสลาก - บทลงโทษ
วันอังคารที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565
ถกแก้ปัญหา "สลากกินแบ่งรัฐบาลเกินราคา" ตั้งชุดปฏิบัติการ ปรับเงื่อนไขการทําสัญญาผู้ค้าสลาก - บทลงโทษ
.....
นายอนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี เผยถึงผลการประชุมคณะกรรมการแก้ไขปัญหาผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนจากการเสนอขายหรือขายสลากกินแบ่งรัฐบาลในราคาเกินกว่าที่กําหนดในสลากกินแบ่งรัฐบาล ครั้งที่ 1/2565 สรุปสาระสําคัญ ดังนี้
.
คณะกรรมการฯ ได้พิจารณาถึงระบบการจําหน่ายสลาก ปัญหาและสาเหตุที่ทําให้เกิดการขายสลากเกินราคา รวมถึงการคัดเลือกผู้ค้ารายย่อยใหม่ จํานวน 2 แสนราย ขั้นตอนต่อไป สํานักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลจะนํารายชื่อมาเสนอต่อคณะกรรมการฯ เพื่อคัดกรองความเหมาะสม
.
ที่ประชุมยังได้เสนอให้ปรับปรุงกฎหมายควบคุมการค้าสลากเกินราคา เนื่องจากกฎหมายปัจจุบันที่บังคับใช้นั้น มีความล้าสมัย แต่ด้วยระยะเวลาในการปรับปรุงกฎหมายอาจใช้เวลานาน จึงเห็นชอบให้มีการกําหนดเงื่อนไขการทําสัญญาผู้ค้าสลาก และกําหนดบทลงโทษ เช่น การปรับ หรือตัดสิทธิ์ เป็นต้น
.
นอกจากนี้ ได้แต่งตั้งหัวหน้าชุดเฉพาะกิจในการตรวจสอบและติดตามผู้ค้าสลากเกินราคา รวมทั้งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ 3 คณะ เพื่อขับเคลื่อนการดําเนินงานเชิงรุก
.
อ่านเพิ่มเติม คลิกhttps://www.thaigov.go.th/news/contents/details/51098
#ไทยคู่ฟ้า#ร่วมต้านโควิด19
------------------- | https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/51115 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รองปลัดฯวรวรรณ เข้าร่วมประชุมเตรียมการ ผลิตรายการวิทยุ“คุยเรื่องบ้าน คุยเรื่องเมือง คุยทุกเรื่องกับรัฐมนตรี” | วันจันทร์ที่ 6 มิถุนายน 2565
รองปลัดฯวรวรรณ เข้าร่วมประชุมเตรียมการ ผลิตรายการวิทยุ“คุยเรื่องบ้าน คุยเรื่องเมือง คุยทุกเรื่องกับรัฐมนตรี”
รองปลัดฯวรวรรณ เข้าร่วมประชุมเตรียมการ ผลิตรายการวิทยุ“คุยเรื่องบ้าน คุยเรื่องเมือง คุยทุกเรื่องกับรัฐมนตรี”
วันนี้ (6 มิถุนายน 2565) เวลา 14.00น. นางวรวรรณ ชิตอรุณ รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เข้าร่วมประชุมเตรียมการผลิตรายการวิทยุ“คุยเรื่องบ้าน คุยเรื่องเมือง คุยทุกเรื่องกับรัฐมนตรี” อากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ในรูปแบบการพูดคุยแบบสบายๆ สไตล์ “เล่าสู่กันฟัง” เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจในภารกิจสําคัญของแต่ละกระทรวง ผ่านการพูดคุยที่เน้นสร้างความใกล้ชิดระหว่างประชาชนกับคณะรัฐมนตรี ตลอดจนรับฟังปัญหาและให้ความช่วยเหลือประชาชน ผ่านโปรแกรม ZOOM MEETING ณ ห้องประชุม อก.2 กระทรวงอุตสาหกรรม | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รองปลัดฯวรวรรณ เข้าร่วมประชุมเตรียมการ ผลิตรายการวิทยุ“คุยเรื่องบ้าน คุยเรื่องเมือง คุยทุกเรื่องกับรัฐมนตรี”
วันจันทร์ที่ 6 มิถุนายน 2565
รองปลัดฯวรวรรณ เข้าร่วมประชุมเตรียมการ ผลิตรายการวิทยุ“คุยเรื่องบ้าน คุยเรื่องเมือง คุยทุกเรื่องกับรัฐมนตรี”
รองปลัดฯวรวรรณ เข้าร่วมประชุมเตรียมการ ผลิตรายการวิทยุ“คุยเรื่องบ้าน คุยเรื่องเมือง คุยทุกเรื่องกับรัฐมนตรี”
วันนี้ (6 มิถุนายน 2565) เวลา 14.00น. นางวรวรรณ ชิตอรุณ รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เข้าร่วมประชุมเตรียมการผลิตรายการวิทยุ“คุยเรื่องบ้าน คุยเรื่องเมือง คุยทุกเรื่องกับรัฐมนตรี” อากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ในรูปแบบการพูดคุยแบบสบายๆ สไตล์ “เล่าสู่กันฟัง” เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจในภารกิจสําคัญของแต่ละกระทรวง ผ่านการพูดคุยที่เน้นสร้างความใกล้ชิดระหว่างประชาชนกับคณะรัฐมนตรี ตลอดจนรับฟังปัญหาและให้ความช่วยเหลือประชาชน ผ่านโปรแกรม ZOOM MEETING ณ ห้องประชุม อก.2 กระทรวงอุตสาหกรรม | https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/55428 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ครม. เห็นชอบ การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว 4 สัญชาติ กัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม เพื่อรองรับการฟื้นฟูประเทศภายหลังการผ่อนคลายมาตรการป้องกันโควิด-19 | วันอังคารที่ 5 กรกฎาคม 2565
ครม. เห็นชอบ การบริหารจัดการการทํางานของคนต่างด้าว 4 สัญชาติ กัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม เพื่อรองรับการฟื้นฟูประเทศภายหลังการผ่อนคลายมาตรการป้องกันโควิด-19
ครม. เห็นชอบ การบริหารจัดการการทํางานของคนต่างด้าว 4 สัญชาติ กัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม เพื่อรองรับการฟื้นฟูประเทศภายหลังการผ่อนคลายมาตรการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัส โควิด-19
วันที่ 5 กรกฎาคม 2565 นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี แถลงมติคณะรัฐมนตรี เรื่องการบริหารจัดการการทํางานของคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว เมียนมาและเวียดนาม เพื่อรองรับการฟื้นฟูประเทศ ภายหลังการผ่อนคลายมาตรการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยเห็นร่างประกาศกระทรวงมหาดไทยและกระทรวงแรงงาน จํานวน 15 ฉบับ
โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1.เห็นชอบให้ กลุ่มคนต่างด้าวที่มีสถานะถูกต้อง ที่ประสงค์จะทํางานต่อไป ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มมติครม. 29 ธ.ค. 63 มติครม. 13 ก.ค. 64 มติครม. 28 ก.ย. 64 จํานวนประมาณ 1,690,000 คน อยู่และทํางานได้ไม่เกิน 13 ก.พ. 68
2.เห็นชอบให้กลุ่มคนต่างด้าวที่มีสถานะไม่ถูกต้อง ที่ประสงค์จะทํางานและมีนายจ้าง สามารถอยู่และทํางานเป็นการชั่วคราวได้ไม่เกินวันที่ 13 ก.พ. 66 โดยหากประสงค์จะทํางานต่อไป สามารถอยู่และทํางานเป็นการชั่วคราวได้ไม่เกินวันที่ 13 ก.พ. 68 โดยต้องดําเนินการตามประกาศกระทรวงมหาดไทยและประกาศกระทรวงแรงงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งได้รับทราบ ข้อมูลจากนายจ้างสถานประกอบการว่ายังมีความต้องการแรงงานประมาณไม่น้อยกว่า 120,000 คน
สําหรับแนวทางการดําเนินการของกลุ่มคนต่างด้าวที่มีสถานะถูกต้อง หรือแรงงานต่างด้าวที่ใบอนุญาตทํางานหมดอายุวันที่ 13 ก.พ. 66 จะแบ่ง เป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มที่รับการตรวจลงตราหรือตรวจอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรฯ ภายในวันที่ 1 ส.ค. 65 หากต้องการทํางานต่อไป ให้ยื่นขอต่อใบอนุญาตทํางานและดําเนินการ ตามขั้นตอนที่กําหนด ก่อนใบอนุญาตเดิมสิ้นอายุ เพื่อทํางานได้อีก 2 ปี (13 ก.พ. 68) โดยครม. เห็นชอบให้ ขยายระยะเวลาการตรวจลงตราจนถึงวันที่ 13 ก.พ. 66 (จากเดิมวันที่ 1 ส.ค. 65) และ 2) กลุ่มที่รับการตรวจลงตราหรือตรวจอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรฯ ภายหลังวันที่ 1 ส.ค. 65 หากต้องการทํางานต่อไป ให้ยื่นขอต่อใบอนุญาตทํางานและดําเนินการตามขั้นตอนที่กําหนด ก่อนใบอนุญาตเดิมสิ้นอายุ โดยนายทะเบียน จะอนุญาตให้ทํางานคราวละ 1 ปี รวม 2 ครั้ง ถึงวันที่ 13 ก.พ. 68
ในส่วนการบริหารจัดการคนต่างด้าวที่มีสถานะไม่ถูกต้องตามกฎหมาย 4 สัญชาติ กัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม ให้นายจ้างยื่นบัญชีรายชื่อแจ้งความต้องการจ้างแรงงานต่างด้าว (Name list) ต่อกรมการจัดหางาน จากนั้นจะต้องยื่นคําขออนุญาตทํางานแทนคนต่างด้าวภายใน 60 วัน หลังยื่น Name List และชําระค่าธรรมเนียมค่ายื่นคําขอฉบับละ 100 บาท และค่าธรรมเนียมใบอนุญาตทํางานฉบับละ 900 บาท ให้คนต่างด้าวใช้ใบรับคําขอดังกล่าวคู่กับใบเสร็จรับเงินเพื่อเป็นหลักฐานแสดงว่าคนต่างด้าวได้รับการผ่อนผันให้ทํางานได้จนกว่าจะได้รับใบอนุญาตทํางานตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการการทํางานของคนต่างด้าว ซึ่งหลังดําเนินการตามขั้นตอนเสร็จสิ้นจะทํางานและอยู่ได้ถึง 13 ก.พ. 66 หากต้องการทํางานต่อไป ให้ยื่นขอต่อใบอนุญาตทํางานและดําเนินการตามขั้นตอนที่กําหนด ก่อนใบอนุญาตเดิมสิ้นอายุ โดยนายทะเบียนจะอนุญาตให้ทํางานคราวละ 1 ปี รวม 2 ครั้ง ถึงวันที่ 13 ก.พ. 68 เช่นเดียวกัน
ทั้งนี้การดําเนินการของคนทั้ง 2 กลุ่มจะสามารถเริ่มดําเนินการได้หลังจากประกาศกระทรวงมหาดไทยและประกาศกระทรวงแรงงานมีผลบังคับใช้แล้ว | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ครม. เห็นชอบ การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว 4 สัญชาติ กัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม เพื่อรองรับการฟื้นฟูประเทศภายหลังการผ่อนคลายมาตรการป้องกันโควิด-19
วันอังคารที่ 5 กรกฎาคม 2565
ครม. เห็นชอบ การบริหารจัดการการทํางานของคนต่างด้าว 4 สัญชาติ กัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม เพื่อรองรับการฟื้นฟูประเทศภายหลังการผ่อนคลายมาตรการป้องกันโควิด-19
ครม. เห็นชอบ การบริหารจัดการการทํางานของคนต่างด้าว 4 สัญชาติ กัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม เพื่อรองรับการฟื้นฟูประเทศภายหลังการผ่อนคลายมาตรการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัส โควิด-19
วันที่ 5 กรกฎาคม 2565 นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี แถลงมติคณะรัฐมนตรี เรื่องการบริหารจัดการการทํางานของคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว เมียนมาและเวียดนาม เพื่อรองรับการฟื้นฟูประเทศ ภายหลังการผ่อนคลายมาตรการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยเห็นร่างประกาศกระทรวงมหาดไทยและกระทรวงแรงงาน จํานวน 15 ฉบับ
โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1.เห็นชอบให้ กลุ่มคนต่างด้าวที่มีสถานะถูกต้อง ที่ประสงค์จะทํางานต่อไป ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มมติครม. 29 ธ.ค. 63 มติครม. 13 ก.ค. 64 มติครม. 28 ก.ย. 64 จํานวนประมาณ 1,690,000 คน อยู่และทํางานได้ไม่เกิน 13 ก.พ. 68
2.เห็นชอบให้กลุ่มคนต่างด้าวที่มีสถานะไม่ถูกต้อง ที่ประสงค์จะทํางานและมีนายจ้าง สามารถอยู่และทํางานเป็นการชั่วคราวได้ไม่เกินวันที่ 13 ก.พ. 66 โดยหากประสงค์จะทํางานต่อไป สามารถอยู่และทํางานเป็นการชั่วคราวได้ไม่เกินวันที่ 13 ก.พ. 68 โดยต้องดําเนินการตามประกาศกระทรวงมหาดไทยและประกาศกระทรวงแรงงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งได้รับทราบ ข้อมูลจากนายจ้างสถานประกอบการว่ายังมีความต้องการแรงงานประมาณไม่น้อยกว่า 120,000 คน
สําหรับแนวทางการดําเนินการของกลุ่มคนต่างด้าวที่มีสถานะถูกต้อง หรือแรงงานต่างด้าวที่ใบอนุญาตทํางานหมดอายุวันที่ 13 ก.พ. 66 จะแบ่ง เป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มที่รับการตรวจลงตราหรือตรวจอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรฯ ภายในวันที่ 1 ส.ค. 65 หากต้องการทํางานต่อไป ให้ยื่นขอต่อใบอนุญาตทํางานและดําเนินการ ตามขั้นตอนที่กําหนด ก่อนใบอนุญาตเดิมสิ้นอายุ เพื่อทํางานได้อีก 2 ปี (13 ก.พ. 68) โดยครม. เห็นชอบให้ ขยายระยะเวลาการตรวจลงตราจนถึงวันที่ 13 ก.พ. 66 (จากเดิมวันที่ 1 ส.ค. 65) และ 2) กลุ่มที่รับการตรวจลงตราหรือตรวจอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรฯ ภายหลังวันที่ 1 ส.ค. 65 หากต้องการทํางานต่อไป ให้ยื่นขอต่อใบอนุญาตทํางานและดําเนินการตามขั้นตอนที่กําหนด ก่อนใบอนุญาตเดิมสิ้นอายุ โดยนายทะเบียน จะอนุญาตให้ทํางานคราวละ 1 ปี รวม 2 ครั้ง ถึงวันที่ 13 ก.พ. 68
ในส่วนการบริหารจัดการคนต่างด้าวที่มีสถานะไม่ถูกต้องตามกฎหมาย 4 สัญชาติ กัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม ให้นายจ้างยื่นบัญชีรายชื่อแจ้งความต้องการจ้างแรงงานต่างด้าว (Name list) ต่อกรมการจัดหางาน จากนั้นจะต้องยื่นคําขออนุญาตทํางานแทนคนต่างด้าวภายใน 60 วัน หลังยื่น Name List และชําระค่าธรรมเนียมค่ายื่นคําขอฉบับละ 100 บาท และค่าธรรมเนียมใบอนุญาตทํางานฉบับละ 900 บาท ให้คนต่างด้าวใช้ใบรับคําขอดังกล่าวคู่กับใบเสร็จรับเงินเพื่อเป็นหลักฐานแสดงว่าคนต่างด้าวได้รับการผ่อนผันให้ทํางานได้จนกว่าจะได้รับใบอนุญาตทํางานตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการการทํางานของคนต่างด้าว ซึ่งหลังดําเนินการตามขั้นตอนเสร็จสิ้นจะทํางานและอยู่ได้ถึง 13 ก.พ. 66 หากต้องการทํางานต่อไป ให้ยื่นขอต่อใบอนุญาตทํางานและดําเนินการตามขั้นตอนที่กําหนด ก่อนใบอนุญาตเดิมสิ้นอายุ โดยนายทะเบียนจะอนุญาตให้ทํางานคราวละ 1 ปี รวม 2 ครั้ง ถึงวันที่ 13 ก.พ. 68 เช่นเดียวกัน
ทั้งนี้การดําเนินการของคนทั้ง 2 กลุ่มจะสามารถเริ่มดําเนินการได้หลังจากประกาศกระทรวงมหาดไทยและประกาศกระทรวงแรงงานมีผลบังคับใช้แล้ว | https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/56558 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ธอส. ขยายระยะเวลาให้ลูกค้าลงทะเบียนเข้า 6 มาตรการ COVID-19 เพิ่ม พร้อมปิดลงทะเบียนมาตรการที่ 15 และ 16 เนื่องจากเต็มกรอบวงเงิน และตรวจสอบคุณสมบัติ ผู้ที่ลงทะเบียนเข้ามาตรการ | วันจันทร์ที่ 2 สิงหาคม 2564
ธอส. ขยายระยะเวลาให้ลูกค้าลงทะเบียนเข้า 6 มาตรการ COVID-19 เพิ่ม พร้อมปิดลงทะเบียนมาตรการที่ 15 และ 16 เนื่องจากเต็มกรอบวงเงิน และตรวจสอบคุณสมบัติ ผู้ที่ลงทะเบียนเข้ามาตรการ
ธอส.ประกาศขยายระยะเวลาลงทะเบียนแจ้งความประสงค์ขอรับความช่วยเหลือผ่าน 6 มาตรการ ดูแลลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ในโครงการ ธอส. รวมไทย สร้างชาติ
ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ประกาศขยายระยะเวลาลงทะเบียนแจ้งความประสงค์ขอรับความช่วยเหลือผ่าน 6 มาตรการ ดูแลลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ในโครงการ ธอส. รวมไทย สร้างชาติ ครอบคลุมทั้งมาตรการแบ่งจ่ายเงินงวดผ่อนชําระ (ตัดเงินต้น ตัดดอกเบี้ย) พักชําระเงินต้นและจ่ายเฉพาะดอกเบี้ย ลงทะเบียนแจ้งความประสงค์ผ่าน Application : GHB ALL หรือ GHB Buddy บน Application Line ได้ต่อเนื่องตั้งแต่วันที่ 30 กรกฎาคม 2564 พร้อมประกาศปิดลงทะเบียนเข้ามาตรการที่ 15 และ 16 พักชําระเงินต้นและพักชําระดอกเบี้ย เนื่องจากเต็มกรอบวงเงิน และตรวจสอบคุณสมบัติผู้ลงทะเบียนเข้ามาตรการ
นายฉัตรชัย ศิริไล กรรมการผู้จัดการธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เปิดเผยว่า ตามที่ธนาคารได้ประกาศขยายระยะเวลาความช่วยเหลือลูกค้าที่อยู่ระหว่างการใช้มาตรการตาม “โครงการ ธอส. รวมไทย สร้างชาติ” ในมาตรการที่ 9, 10, 11, 11 New Entry, 13 และ 14 ให้ไปสิ้นสุดระยะเวลาความช่วยเหลือในวันที่ 31 ธันวาคม 2564 จากเดิมที่สิ้นสุดวันที่ 31 กรกฎาคม 2564 โดยเปิดให้ลงทะเบียนแจ้งความประสงค์เพื่อขยายระยะเวลาความช่วยเหลือผ่าน Application : GHB ALL หรือ GHB Buddy บน Application Line ระหว่างวันที่ 1-29 กรกฎาคม 2564 และภายหลังครบกําหนดระยะเวลาลงทะเบียน พบว่ามีจํานวนลูกค้าลงทะเบียนแจ้งความประสงค์รวมกว่า 85,900 บัญชี เงินต้นคงเหลือ 85,700 ล้านบาท แต่ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ในปัจจุบันยังคงมีจํานวนผู้ติดเชื้อในระดับสูง ทําให้ภาครัฐยังคงยกระดับมาตรการป้องกันควบคุมการแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น เพื่อเป็นการช่วยเหลือลูกค้าของธนาคารที่ได้รับผลกระทบ ธนาคารจึงได้ขยายระยะเวลาการลงทะเบียนแจ้งความประสงค์เพื่อเข้ามาตรการ จํานวน 6 มาตรการ ผู้มีสิทธิ์เข้ามาตรการยังขยายให้ครอบคลุมทั้งลูกค้าเดิมที่อยู่ในมาตรการ และลูกค้าที่ยังไม่ได้อยู่ในมาตรการ โดยต้องเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการประกอบอาชีพ หรือทําธุรกิจ หรือการค้า เนื่องจาก COVID-19 และไม่สามารถผ่อนชําระเงินงวดให้ธนาคารได้ตามสัญญาเงินกู้ โดยมีรายละเอียดของมาตรการ ดังนี้
มาตรการที่ 9, 10, 11 และ 11 New Entry : แบ่งจ่ายเงินงวดผ่อนชําระ (ตัดเงินต้น ตัดดอกเบี้ย) เหลือ 25% หรือ 50% หรือ 75% ของเงินงวดผ่อนชําระในปัจจุบัน โดยทั้ง 4 มาตรการ ครอบคลุมกลุ่มลูกค้าที่มีสถานะบัญชีปกติ สถานะ NPL และลูกหนี้สถานะ NPL ที่อยู่ระหว่างการปรับโครงสร้างหนี้ และต้องเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการประกอบอาชีพ หรือทําธุรกิจ หรือการค้า เนื่องจาก COVID-19 และไม่สามารถผ่อนชําระเงินงวดให้ธนาคารได้ตามสัญญาเงินกู้
มาตรการที่ 13 : พักชําระเงินต้น และจ่ายเฉพาะดอกเบี้ยรายเดือน สําหรับลูกค้าที่มีสถานะบัญชีปกติ (ไม่เป็น NPL ไม่อยู่ขั้นตอนของกฎหมาย และไม่อยู่ระหว่างทําข้อตกลงประนอมหนี้) และต้องเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการประกอบอาชีพ หรือทําธุรกิจ หรือการค้า เนื่องจาก COVID-19 และไม่สามารถผ่อนชําระเงินงวดให้ธนาคารได้ตามสัญญาเงินกู้
มาตรการที่ 14 : พักชําระเงินต้น และจ่ายเฉพาะดอกเบี้ยรายเดือน พร้อมลดดอกเบี้ยลงเหลือ 3.90% ต่อปี สําหรับลูกหนี้ที่สถานะ NPL และลูกหนี้ NPL ที่อยู่ระหว่างการปรับโครงสร้างหนี้ และต้องเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการประกอบอาชีพ หรือทําธุรกิจ หรือการค้า เนื่องจาก COVID-19 และไม่สามารถผ่อนชําระเงินงวดให้ธนาคารได้ตามข้อตกลงปรับโครงสร้างหนี้ หรือ ตามคําพิพากษา
ทั้งนี้ มาตรการที่ 9, 11, 11 New Entry และ 13 ธนาคารขยายระยะเวลาให้ลงทะเบียนแจ้งความประสงค์ได้ถึงวันที่ 16 สิงหาคม 2564 สําหรับมาตรการที่ 10 และ 14 จะขยายถึงวันที่ 29 สิงหาคม 2564 โดยทุกมาตรการข้างต้นจะได้รับความช่วยเหลือไปจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564 และภายในเดือนตุลาคม 2564 ธนาคารจะทําการสํารวจความประสงค์ของลูกค้าอีกครั้งว่าต้องการรับความช่วยเหลือต่อไปจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564 หรือไม่ และสําหรับลูกค้าที่มีความประสงค์เข้ามาตรการจะต้อง Upload หลักฐานยืนยันว่าได้รับผลกระทบทางรายได้ผ่านทาง Application : GHB ALL และ GHB Buddy ให้ธนาคารพิจารณา โดยสามารถลงทะเบียนแจ้งความประสงค์ผ่าน Application : GHB ALL หรือ GHB Buddy บน Application Line ได้ในวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 8.30-15.00 น. เว้นวันหยุดราชการและวันหยุดนักขัตฤกษ์ ส่วนกรณีที่ลูกค้าไม่มีสมาร์ทโฟนสามารถกรอกข้อมูลเพื่อแจ้งความประสงค์ขอรับความช่วยเหลือตามมาตรการได้ที่ www.ghbank.co.th
ส่วนการ พักชําระเงินต้นและพักชําระดอกเบี้ย เป็นระยะเวลา 3 เดือน ระหว่างวันที่ 1 สิงหาคม – 31 ตุลาคม 2564 ใน มาตรการที่ 15 สําหรับลูกค้าที่มีสถานะบัญชีปกติ ไม่อยู่ระหว่างการประนอมหนี้หรือสถานะกฎหมาย และมาตรการที่ 16 สําหรับลูกหนี้ที่มีสถานะ NPL (ค้างชําระเงินงวดติดต่อกันมากกว่า 3 เดือน) หรืออยู่ระหว่างการปรับโครงสร้างหนี้ ซึ่งเปิดให้ลูกค้าลงทะเบียนแจ้งความประสงค์ตั้งแต่วันที่ 19 กรกฎาคม 2564 ล่าสุด ณ วันที่ 30 กรกฎาคม 2564 มีลูกค้าลงทะเบียนแจ้งความประสงค์ทั้ง 2 มาตรการเป็นจํานวนรวม 90,800 บัญชี เงินต้นคงเหลือรวม 101,000 ล้านบาท และสูงกว่ากรอบวงเงินที่ธนาคารกําหนดไว้ที่ 100,000 ล้านบาท ดังนั้น ธนาคารจึงขอแจ้งปิดลงทะเบียนแจ้งความประสงค์เข้ามาตรการที่ 15 และ 16 เนื่องจากมีลูกค้าลงทะเบียนเต็มกรอบวงเงิน และทําการตรวจสอบคุณสมบัติผู้ที่ลงทะเบียนเข้ามาตรการ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 30 กรกฎาคม 2564 เวลา 15.00 น. เป็นต้นไป โดยธนาคารจะประกาศวันที่เปิดให้ลงทะเบียนเพิ่มเติมอีกครั้งให้ทราบในภายหลังต่อไป
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมหรือติดตามข้อมูลข่าวสารของธนาคารได้ที่ศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์ (Call Center) โทร 0-2645-9000 หรือ www.ghbank.co.th, Facebook Fanpage ธนาคารอาคารสงเคราะห์ และ Application : GHB ALL | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ธอส. ขยายระยะเวลาให้ลูกค้าลงทะเบียนเข้า 6 มาตรการ COVID-19 เพิ่ม พร้อมปิดลงทะเบียนมาตรการที่ 15 และ 16 เนื่องจากเต็มกรอบวงเงิน และตรวจสอบคุณสมบัติ ผู้ที่ลงทะเบียนเข้ามาตรการ
วันจันทร์ที่ 2 สิงหาคม 2564
ธอส. ขยายระยะเวลาให้ลูกค้าลงทะเบียนเข้า 6 มาตรการ COVID-19 เพิ่ม พร้อมปิดลงทะเบียนมาตรการที่ 15 และ 16 เนื่องจากเต็มกรอบวงเงิน และตรวจสอบคุณสมบัติ ผู้ที่ลงทะเบียนเข้ามาตรการ
ธอส.ประกาศขยายระยะเวลาลงทะเบียนแจ้งความประสงค์ขอรับความช่วยเหลือผ่าน 6 มาตรการ ดูแลลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ในโครงการ ธอส. รวมไทย สร้างชาติ
ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ประกาศขยายระยะเวลาลงทะเบียนแจ้งความประสงค์ขอรับความช่วยเหลือผ่าน 6 มาตรการ ดูแลลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ในโครงการ ธอส. รวมไทย สร้างชาติ ครอบคลุมทั้งมาตรการแบ่งจ่ายเงินงวดผ่อนชําระ (ตัดเงินต้น ตัดดอกเบี้ย) พักชําระเงินต้นและจ่ายเฉพาะดอกเบี้ย ลงทะเบียนแจ้งความประสงค์ผ่าน Application : GHB ALL หรือ GHB Buddy บน Application Line ได้ต่อเนื่องตั้งแต่วันที่ 30 กรกฎาคม 2564 พร้อมประกาศปิดลงทะเบียนเข้ามาตรการที่ 15 และ 16 พักชําระเงินต้นและพักชําระดอกเบี้ย เนื่องจากเต็มกรอบวงเงิน และตรวจสอบคุณสมบัติผู้ลงทะเบียนเข้ามาตรการ
นายฉัตรชัย ศิริไล กรรมการผู้จัดการธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เปิดเผยว่า ตามที่ธนาคารได้ประกาศขยายระยะเวลาความช่วยเหลือลูกค้าที่อยู่ระหว่างการใช้มาตรการตาม “โครงการ ธอส. รวมไทย สร้างชาติ” ในมาตรการที่ 9, 10, 11, 11 New Entry, 13 และ 14 ให้ไปสิ้นสุดระยะเวลาความช่วยเหลือในวันที่ 31 ธันวาคม 2564 จากเดิมที่สิ้นสุดวันที่ 31 กรกฎาคม 2564 โดยเปิดให้ลงทะเบียนแจ้งความประสงค์เพื่อขยายระยะเวลาความช่วยเหลือผ่าน Application : GHB ALL หรือ GHB Buddy บน Application Line ระหว่างวันที่ 1-29 กรกฎาคม 2564 และภายหลังครบกําหนดระยะเวลาลงทะเบียน พบว่ามีจํานวนลูกค้าลงทะเบียนแจ้งความประสงค์รวมกว่า 85,900 บัญชี เงินต้นคงเหลือ 85,700 ล้านบาท แต่ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ในปัจจุบันยังคงมีจํานวนผู้ติดเชื้อในระดับสูง ทําให้ภาครัฐยังคงยกระดับมาตรการป้องกันควบคุมการแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น เพื่อเป็นการช่วยเหลือลูกค้าของธนาคารที่ได้รับผลกระทบ ธนาคารจึงได้ขยายระยะเวลาการลงทะเบียนแจ้งความประสงค์เพื่อเข้ามาตรการ จํานวน 6 มาตรการ ผู้มีสิทธิ์เข้ามาตรการยังขยายให้ครอบคลุมทั้งลูกค้าเดิมที่อยู่ในมาตรการ และลูกค้าที่ยังไม่ได้อยู่ในมาตรการ โดยต้องเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการประกอบอาชีพ หรือทําธุรกิจ หรือการค้า เนื่องจาก COVID-19 และไม่สามารถผ่อนชําระเงินงวดให้ธนาคารได้ตามสัญญาเงินกู้ โดยมีรายละเอียดของมาตรการ ดังนี้
มาตรการที่ 9, 10, 11 และ 11 New Entry : แบ่งจ่ายเงินงวดผ่อนชําระ (ตัดเงินต้น ตัดดอกเบี้ย) เหลือ 25% หรือ 50% หรือ 75% ของเงินงวดผ่อนชําระในปัจจุบัน โดยทั้ง 4 มาตรการ ครอบคลุมกลุ่มลูกค้าที่มีสถานะบัญชีปกติ สถานะ NPL และลูกหนี้สถานะ NPL ที่อยู่ระหว่างการปรับโครงสร้างหนี้ และต้องเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการประกอบอาชีพ หรือทําธุรกิจ หรือการค้า เนื่องจาก COVID-19 และไม่สามารถผ่อนชําระเงินงวดให้ธนาคารได้ตามสัญญาเงินกู้
มาตรการที่ 13 : พักชําระเงินต้น และจ่ายเฉพาะดอกเบี้ยรายเดือน สําหรับลูกค้าที่มีสถานะบัญชีปกติ (ไม่เป็น NPL ไม่อยู่ขั้นตอนของกฎหมาย และไม่อยู่ระหว่างทําข้อตกลงประนอมหนี้) และต้องเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการประกอบอาชีพ หรือทําธุรกิจ หรือการค้า เนื่องจาก COVID-19 และไม่สามารถผ่อนชําระเงินงวดให้ธนาคารได้ตามสัญญาเงินกู้
มาตรการที่ 14 : พักชําระเงินต้น และจ่ายเฉพาะดอกเบี้ยรายเดือน พร้อมลดดอกเบี้ยลงเหลือ 3.90% ต่อปี สําหรับลูกหนี้ที่สถานะ NPL และลูกหนี้ NPL ที่อยู่ระหว่างการปรับโครงสร้างหนี้ และต้องเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการประกอบอาชีพ หรือทําธุรกิจ หรือการค้า เนื่องจาก COVID-19 และไม่สามารถผ่อนชําระเงินงวดให้ธนาคารได้ตามข้อตกลงปรับโครงสร้างหนี้ หรือ ตามคําพิพากษา
ทั้งนี้ มาตรการที่ 9, 11, 11 New Entry และ 13 ธนาคารขยายระยะเวลาให้ลงทะเบียนแจ้งความประสงค์ได้ถึงวันที่ 16 สิงหาคม 2564 สําหรับมาตรการที่ 10 และ 14 จะขยายถึงวันที่ 29 สิงหาคม 2564 โดยทุกมาตรการข้างต้นจะได้รับความช่วยเหลือไปจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564 และภายในเดือนตุลาคม 2564 ธนาคารจะทําการสํารวจความประสงค์ของลูกค้าอีกครั้งว่าต้องการรับความช่วยเหลือต่อไปจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564 หรือไม่ และสําหรับลูกค้าที่มีความประสงค์เข้ามาตรการจะต้อง Upload หลักฐานยืนยันว่าได้รับผลกระทบทางรายได้ผ่านทาง Application : GHB ALL และ GHB Buddy ให้ธนาคารพิจารณา โดยสามารถลงทะเบียนแจ้งความประสงค์ผ่าน Application : GHB ALL หรือ GHB Buddy บน Application Line ได้ในวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 8.30-15.00 น. เว้นวันหยุดราชการและวันหยุดนักขัตฤกษ์ ส่วนกรณีที่ลูกค้าไม่มีสมาร์ทโฟนสามารถกรอกข้อมูลเพื่อแจ้งความประสงค์ขอรับความช่วยเหลือตามมาตรการได้ที่ www.ghbank.co.th
ส่วนการ พักชําระเงินต้นและพักชําระดอกเบี้ย เป็นระยะเวลา 3 เดือน ระหว่างวันที่ 1 สิงหาคม – 31 ตุลาคม 2564 ใน มาตรการที่ 15 สําหรับลูกค้าที่มีสถานะบัญชีปกติ ไม่อยู่ระหว่างการประนอมหนี้หรือสถานะกฎหมาย และมาตรการที่ 16 สําหรับลูกหนี้ที่มีสถานะ NPL (ค้างชําระเงินงวดติดต่อกันมากกว่า 3 เดือน) หรืออยู่ระหว่างการปรับโครงสร้างหนี้ ซึ่งเปิดให้ลูกค้าลงทะเบียนแจ้งความประสงค์ตั้งแต่วันที่ 19 กรกฎาคม 2564 ล่าสุด ณ วันที่ 30 กรกฎาคม 2564 มีลูกค้าลงทะเบียนแจ้งความประสงค์ทั้ง 2 มาตรการเป็นจํานวนรวม 90,800 บัญชี เงินต้นคงเหลือรวม 101,000 ล้านบาท และสูงกว่ากรอบวงเงินที่ธนาคารกําหนดไว้ที่ 100,000 ล้านบาท ดังนั้น ธนาคารจึงขอแจ้งปิดลงทะเบียนแจ้งความประสงค์เข้ามาตรการที่ 15 และ 16 เนื่องจากมีลูกค้าลงทะเบียนเต็มกรอบวงเงิน และทําการตรวจสอบคุณสมบัติผู้ที่ลงทะเบียนเข้ามาตรการ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 30 กรกฎาคม 2564 เวลา 15.00 น. เป็นต้นไป โดยธนาคารจะประกาศวันที่เปิดให้ลงทะเบียนเพิ่มเติมอีกครั้งให้ทราบในภายหลังต่อไป
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมหรือติดตามข้อมูลข่าวสารของธนาคารได้ที่ศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์ (Call Center) โทร 0-2645-9000 หรือ www.ghbank.co.th, Facebook Fanpage ธนาคารอาคารสงเคราะห์ และ Application : GHB ALL | https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/44335 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-"สุริยะ" ย้ำมหกรรม Motor Expo คุมเข้มมาตรการป้องกันโควิดก่อนเข้างาน | วันเสาร์ที่ 4 ธันวาคม 2564
"สุริยะ" ย้ํามหกรรม Motor Expo คุมเข้มมาตรการป้องกันโควิดก่อนเข้างาน
ชี้รถยนต์ EV ได้รับความนิยมสูง ตอบโจทย์ลดโลกร้อนที่รัฐบาลผลักดัน
วันนี้ (4 ธันวาคม 2564) เวลา 14.00 น. ณ อิมแพค ชาเลนเจอร์ 1-3 เมืองทองธานี นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เดินทางลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมกิจกรรมการจัดงานมหกรรมยานยนต์ ครั้งที่ 38 หรือ Motor Expo 2021 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 1-12 ธันวาคม 2564 โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและคณะ ได้เยี่ยมชมการจัดแสดงรถยนต์ของบริษัทรถยนต์ชั้นนํา อาทิ บริษัท มิตซูบิชิ มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จํากัด บริษัท และบริษัท เกรท วอลล์ มอเตอร์ แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) จํากัด เป็นต้น โดยได้พบปะคณะผู้บริหาร และเข้าตรวจสอบสมรรถภาพของยานยนต์
.
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า นอกจากได้ลงพื้นที่ติดตามการจัดงานมหกรรมแล้ว ตนยังได้เยี่ยมให้กําลังใจผู้ประกอบการ ซึ่งที่ผ่านมาผู้ประกอบการยานยนต์เป็นอีกหนึ่งกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์แพร่ระบาดโควิด-19 ทางรัฐบาลมีความเป็นห่วงเพราะอุตสาหกรรมยานยนต์เป็นอุตสาหกรรรมที่สร้างเม็ดเงินให้ประเทศเป็นจํานวนมาก นอกจากนี้ตนยังได้ติดตามมาตรการป้องกันการระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 ซึ่งพบว่ามีความเข้มงวด โดยก่อนเข้างานต้องมีการลงทะเบียน และอนุญาตให้เฉพาะผู้ที่ได้รับวัคซีน 2 เข็มขึ้นไปเท่านั้น สําหรับผู้ที่ยังได้รับวัคซีนไม่ครบ ต้องเข้ารับการตรวจ ATK ก่อนเข้างาน ซึ่งการจัดงานมหกรรมครั้งนี้นับว่าเป็นการจัดกิจกรรมขนาดใหญ่ที่มีการบริหารจัดการได้ดี แสดงให้เห็นถึงความพร้อมของประเทศไทยรองรับนโยบายการเปิดประเทศ
.
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวเพิ่มเติมว่า ไฮไล้ท์ของงานในปีนี้คือการที่ผู้ประกอบการหลายค่ายนํารถยนต์พลังงานไฟฟ้า 100% หรือ EV(Electric Vehicle) มาจัดแสดง ซึ่งเป็นไปตามจุดประสงค์ของรัฐบาลภายใต้การนําของ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในการกระตุ้นการใช้รถยนต์พลังงานไฟฟ้าเพื่อลดมลพิษและสภาวะโลกร้อนที่เป็นปัญหาระดับโลก
.
สําหรับการจัดงานในปีนี้มีผู้เข้าร่วมแสดงสินค้าทั้งสิ้น แบ่งเป็นรถยนต์ 32 ผู้ผลิต จาก 9 ประเทศ รถจักรยานยนต์ 12 ผู้ผลิต จาก 7 ประเทศ และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับยานยนต์ กว่า 300 รายการ รวมทั้งมีกิจกรรมพิเศษสําหรับผู้เข้าชมงานอีกมากมาย | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-"สุริยะ" ย้ำมหกรรม Motor Expo คุมเข้มมาตรการป้องกันโควิดก่อนเข้างาน
วันเสาร์ที่ 4 ธันวาคม 2564
"สุริยะ" ย้ํามหกรรม Motor Expo คุมเข้มมาตรการป้องกันโควิดก่อนเข้างาน
ชี้รถยนต์ EV ได้รับความนิยมสูง ตอบโจทย์ลดโลกร้อนที่รัฐบาลผลักดัน
วันนี้ (4 ธันวาคม 2564) เวลา 14.00 น. ณ อิมแพค ชาเลนเจอร์ 1-3 เมืองทองธานี นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เดินทางลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมกิจกรรมการจัดงานมหกรรมยานยนต์ ครั้งที่ 38 หรือ Motor Expo 2021 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 1-12 ธันวาคม 2564 โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและคณะ ได้เยี่ยมชมการจัดแสดงรถยนต์ของบริษัทรถยนต์ชั้นนํา อาทิ บริษัท มิตซูบิชิ มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จํากัด บริษัท และบริษัท เกรท วอลล์ มอเตอร์ แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) จํากัด เป็นต้น โดยได้พบปะคณะผู้บริหาร และเข้าตรวจสอบสมรรถภาพของยานยนต์
.
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า นอกจากได้ลงพื้นที่ติดตามการจัดงานมหกรรมแล้ว ตนยังได้เยี่ยมให้กําลังใจผู้ประกอบการ ซึ่งที่ผ่านมาผู้ประกอบการยานยนต์เป็นอีกหนึ่งกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์แพร่ระบาดโควิด-19 ทางรัฐบาลมีความเป็นห่วงเพราะอุตสาหกรรมยานยนต์เป็นอุตสาหกรรรมที่สร้างเม็ดเงินให้ประเทศเป็นจํานวนมาก นอกจากนี้ตนยังได้ติดตามมาตรการป้องกันการระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 ซึ่งพบว่ามีความเข้มงวด โดยก่อนเข้างานต้องมีการลงทะเบียน และอนุญาตให้เฉพาะผู้ที่ได้รับวัคซีน 2 เข็มขึ้นไปเท่านั้น สําหรับผู้ที่ยังได้รับวัคซีนไม่ครบ ต้องเข้ารับการตรวจ ATK ก่อนเข้างาน ซึ่งการจัดงานมหกรรมครั้งนี้นับว่าเป็นการจัดกิจกรรมขนาดใหญ่ที่มีการบริหารจัดการได้ดี แสดงให้เห็นถึงความพร้อมของประเทศไทยรองรับนโยบายการเปิดประเทศ
.
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวเพิ่มเติมว่า ไฮไล้ท์ของงานในปีนี้คือการที่ผู้ประกอบการหลายค่ายนํารถยนต์พลังงานไฟฟ้า 100% หรือ EV(Electric Vehicle) มาจัดแสดง ซึ่งเป็นไปตามจุดประสงค์ของรัฐบาลภายใต้การนําของ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในการกระตุ้นการใช้รถยนต์พลังงานไฟฟ้าเพื่อลดมลพิษและสภาวะโลกร้อนที่เป็นปัญหาระดับโลก
.
สําหรับการจัดงานในปีนี้มีผู้เข้าร่วมแสดงสินค้าทั้งสิ้น แบ่งเป็นรถยนต์ 32 ผู้ผลิต จาก 9 ประเทศ รถจักรยานยนต์ 12 ผู้ผลิต จาก 7 ประเทศ และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับยานยนต์ กว่า 300 รายการ รวมทั้งมีกิจกรรมพิเศษสําหรับผู้เข้าชมงานอีกมากมาย | https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/49118 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-เพิ่ม "จุฬาภรณ์ลิขิต" เป็นฟอนต์มาตรฐานราชการไทย | วันพฤหัสบดีที่ 8 กรกฎาคม 2564
เพิ่ม "จุฬาภรณ์ลิขิต" เป็นฟอนต์มาตรฐานราชการไทย
....
แต่เดิม ฟอนต์มาตรฐานสําหรับใช้ในหน่วยงานราชการไทยมี 13 แบบ สําหรับจัดทําเอกสารราชการ เอกสารวิชาการต่าง ๆ
.
ล่าสุด ครม. ได้เพิ่มชุดแบบอักษรแบบที่ 14 ซึ่งเป็นชุดอักษรพระราชทาน ชื่อว่า “จุฬาภรณ์ลิขิต” โดยให้เพิ่มเข้าไปในระบบปฏิบัติการ Thai OS และให้ถือเป็นมาตรฐานของหน่วยงานภาครัฐทุกหน่วย ภายในปี 2564
สําหรับชุดแบบอักษรดังกล่าว จัดทําเพื่อเป็นการจารึกพระนาม เนื่องในวโรกาสครบรอบ 64 พรรษา ของศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี และในวโรกาสที่ทรงสําเร็จการศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาทัศนศิลป์ คณะจิตรกรรม
.
สามารถดาวน์โหลดชุดแบบอักษรพระราชทาน ได้ที่ https://www.cra.ac.th/th/download_fonts
#ไทยคู่ฟ้า #รวมไทยสร้างชาติ #ร่วมต้านโควิด19
-------------------
อัลบั้มภาพ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
รัฐบาลเข้ม...
แจ้งเตือน...
อย่าแชร์...
กรุงเทพฯ...
ปลื้ม... | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-เพิ่ม "จุฬาภรณ์ลิขิต" เป็นฟอนต์มาตรฐานราชการไทย
วันพฤหัสบดีที่ 8 กรกฎาคม 2564
เพิ่ม "จุฬาภรณ์ลิขิต" เป็นฟอนต์มาตรฐานราชการไทย
....
แต่เดิม ฟอนต์มาตรฐานสําหรับใช้ในหน่วยงานราชการไทยมี 13 แบบ สําหรับจัดทําเอกสารราชการ เอกสารวิชาการต่าง ๆ
.
ล่าสุด ครม. ได้เพิ่มชุดแบบอักษรแบบที่ 14 ซึ่งเป็นชุดอักษรพระราชทาน ชื่อว่า “จุฬาภรณ์ลิขิต” โดยให้เพิ่มเข้าไปในระบบปฏิบัติการ Thai OS และให้ถือเป็นมาตรฐานของหน่วยงานภาครัฐทุกหน่วย ภายในปี 2564
สําหรับชุดแบบอักษรดังกล่าว จัดทําเพื่อเป็นการจารึกพระนาม เนื่องในวโรกาสครบรอบ 64 พรรษา ของศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี และในวโรกาสที่ทรงสําเร็จการศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาทัศนศิลป์ คณะจิตรกรรม
.
สามารถดาวน์โหลดชุดแบบอักษรพระราชทาน ได้ที่ https://www.cra.ac.th/th/download_fonts
#ไทยคู่ฟ้า #รวมไทยสร้างชาติ #ร่วมต้านโควิด19
-------------------
อัลบั้มภาพ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
รัฐบาลเข้ม...
แจ้งเตือน...
อย่าแชร์...
กรุงเทพฯ...
ปลื้ม... | https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/43582 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ถ้อยแถลงของนายกรัฐมนตรีในนามอาเซียน สำหรับการประชุมสุดยอดอาเซียน-ญี่ปุ่น ครั้งที่ 24 | วันพุธที่ 27 ตุลาคม 2564
ถ้อยแถลงของนายกรัฐมนตรีในนามอาเซียน สําหรับการประชุมสุดยอดอาเซียน-ญี่ปุ่น ครั้งที่ 24
ถ้อยแถลงของนายกรัฐมนตรีในนามอาเซียน โดยกล่าวในฐานะที่ไทยเป็นประเทศผู้ประสานงานความสัมพันธ์อาเซียน-ญี่ปุ่น สําหรับการประชุมสุดยอดอาเซียน-ญี่ปุ่น ครั้งที่ 24
ถ้อยแถลงในนามอาเซียน (ASEAN Common Statement)
กล่าวในฐานะที่ไทยเป็นประเทศผู้ประสานงานความสัมพันธ์อาเซียน-ญี่ปุ่น
สําหรับการประชุมสุดยอดอาเซียน-ญี่ปุ่น ครั้งที่ 24
วันพุธที่ 27 ตุลาคม 2564 เวลา 09.30 – 10.30 น.
* * * * *
ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท
ท่านนายกรัฐมนตรี คิชิดะ ฟูมิโอะ
และ ฯพณฯ ทั้งหลาย
ผมขอร่วมต้อนรับท่านนายกรัฐมนตรีคิชิดะ สู่ครอบครัวอาเซียนและการประชุมสุดยอดอาเซียน-ญี่ปุ่น ในครั้งนี้ รวมทั้งขอแสดงความยินดีต่อความสําเร็จของการจัดมหกรรมกีฬาโอลิมปิกและพาราลิมปิกที่กรุงโตเกียว เมื่อช่วงเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคมที่ผ่านมา
วันนี้เป็นโอกาสอันดีที่เราจะได้ร่วมกันแลกเปลี่ยนทัศนะเกี่ยวกับแนวทางการขับเคลื่อนความสัมพันธ์อาเซียน-ญี่ปุ่น ซึ่งเป็นความเป็นหุ้นส่วนที่มีพลวัตและก้าวหน้าในทุกมิติ นับตั้งแต่การสถาปนาความสัมพันธ์ เมื่อปี ค.ศ. 1973 จนนําไปสู่การยกระดับเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ เมื่อปี ค.ศ. 2003
ในฐานะที่ไทยเป็นประเทศผู้ประสานงานความสัมพันธ์อาเซียน-ญี่ปุ่น ผมขอกล่าวถ้อยแถลงในนามอาเซียน ดังนี้
อาเซียนและญี่ปุ่นได้สืบสานมิตรภาพและความร่วมมือระหว่างกันมาเกือบห้าทศวรรษ บนพื้นฐานของความไว้เนื้อเชื่อใจซึ่งกันและกัน ความเป็นหุ้นส่วนแบบ “ใจถึงใจ” และ “ความเป็นหุ้นส่วนที่เท่าเทียมกัน” อาเซียนขอบคุณญี่ปุ่นที่มุ่งมั่นส่งเสริมสันติภาพที่ถาวร ความไพบูลย์ร่วมกัน และการพัฒนาที่ยั่งยืนในภูมิภาค เพื่อประโยชน์ของประชาชนของเรา
เราให้ความสําคัญกับการจัดการและรับมือกับประเด็นท้าทายต่าง ๆ ร่วมกัน อาทิ โควิด-19 ความไม่แน่นอนทางภูมิรัฐศาสตร์ โดยเฉพาะการแข่งขันระหว่างประเทศมหาอํานาจ การปฏิวัติอุตสาหกรรม ครั้งที่ 4 และการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล
การที่อาเซียนและญี่ปุ่นได้ให้การสนับสนุนซึ่งกันและกัน และร่วมแรงร่วมใจฟันฝ่าอุปสรรคและความท้าทายร่วมกันมาโดยตลอด เป็นเครื่องพิสูจน์ถึงความเป็น “มิตรแท้” ของเราได้เป็นอย่างดี
อาเซียนซาบซึ้งเป็นอย่างยิ่งที่ญี่ปุ่นได้สนับสนุนอาเซียนในรูปแบบต่าง ๆ ในการรับมือกับโควิด-19 ซึ่งยังคงเกิดขึ้นและส่งผลกระทบอย่างรุนแรงและกว้างขวาง เราจึงจําเป็นต้องยกระดับความร่วมมือด้านสาธารณสุขและเตรียมความพร้อมของภูมิภาคให้สามารถรับมือกับการระบาดระลอกใหม่ และภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขและโรคอุบัติใหม่ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตให้ดียิ่งขึ้น
เราขอขอบคุณที่ญี่ปุ่นที่ได้สนับสนุนเงินจํานวน 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐสมทบกองทุนอาเซียน เพื่อรับมือกับโควิด-19 ซึ่งอาเซียนจะได้ใช้จัดสรรวัคซีนและเวชภัณฑ์ที่จําเป็นให้แก่ประเทศสมาชิกต่อไป นอกจากนี้ ขอบคุณสําหรับการสนับสนุนเงินจํานวน 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อจัดตั้งศูนย์ ACPHEED ซึ่งเราหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ศูนย์ฯ ดังกล่าวจะสามารถจัดตั้งและเริ่มดําเนินการได้ในโอกาสแรกสุด
เราเห็นคุณค่าของการที่ญี่ปุ่นสนับสนุนความเป็นแกนกลางของอาเซียน สถาปัตยกรรมภูมิภาคที่มีอาเซียนเป็นศูนย์กลางและกลไกที่อาเซียนมีบทบาทนํา ซึ่งเป็นส่วนสําคัญในการเสริมสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจและดุลยภาพทางยุทธศาสตร์ในภูมิภาค
ในด้านการเมืองและความมั่นคง เรามุ่งหวังที่จะสานต่อการขยายความร่วมมือกับญี่ปุ่นผ่านกลไกที่อาเซียนมีบทบาทนํา ทั้งในด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติ การต่อต้านการก่อการร้าย การเสริมสร้างความมั่นคงและความปลอดภัยทางไซเบอร์ ความมั่นคงทางทะเล ตลอดจนความร่วมมือด้านกลาโหมผ่านกรอบ ADMM Plus
อาเซียนเน้นย้ําถึงการเสริมสร้างบรรยากาศของความไว้เนื้อเชื่อใจซึ่งกันและกัน ซึ่งจะเอื้อต่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจ และสังคมอย่างรวดเร็วและยั่งยืน โดยเน้นความร่วมมือที่เป็นรูปธรรมเพื่อประโยชน์ของทุกฝ่าย บนพื้นฐานของหลักการภายใต้มุมมอง AOIP เรารับทราบความคืบหน้าของการดําเนินความร่วมมือภายใต้เอโอไอพีของญี่ปุ่น และมุ่งหวังที่จะเห็นความร่วมมือที่เป็นรูปธรรมต่อไป
ในด้านเศรษฐกิจ อาเซียนเป็นฐานการลงทุนและการผลิตที่สําคัญของญี่ปุ่นมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน เราย้ําถึงความสําคัญของความเชื่อมโยงและการฟื้นคืนสภาพของห่วงโซ่อุปทานในภูมิภาค เราสนับสนุนให้ภาคธุรกิจของญี่ปุ่นลงทุนในอาเซียนต่อไปเพื่อเป็นจุดเชื่อมโยงที่สําคัญในการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับห่วงโซ่อุปทานโลกของญี่ปุ่น
เราย้ําถึงความจําเป็นในการส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากความตกลง AJCEP และมุ่งหวังให้มีการให้สัตยาบันต่อพิธีสารฉบับที่หนึ่งเพื่อแก้ไขความตกลงฯ ครบทุกประเทศเพื่อให้มีผลใช้บังคับอย่างสมบูรณ์โดยเร็ว นอกจากนี้ เราผลักดันให้ RCEP มีผลบังคับใช้ในโอกาสแรก และยินดีที่ญี่ปุ่นได้ให้สัตยาบันต่อความตกลงนี้แล้วเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา
เรายินดีกับความคืบหน้าในการดําเนินงานตามแผนปฏิบัติการด้านความยืดหยุ่นทางเศรษฐกิจอาเซียน-ญี่ปุ่น เพื่อส่งเสริมการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจภายหลังวิกฤตโควิด-19 ผ่านข้อริเริ่มความร่วมมือในการส่งเสริมความเติบโตเชิงนวัตกรรมอย่างยั่งยืนระหว่างอาเซียนกับญี่ปุ่น รวมทั้งมุ่งเสริมสร้างศักยภาพ MSMEs โดยเฉพาะในการนําเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการดําเนินธุรกิจ ซึ่งเป็นสิ่งจําเป็นในยุค 4IR
อาเซียนยินดีที่ญี่ปุ่นมีบทบาทที่แข็งขันในการเสริมสร้างความเชื่อมโยงในภูมิภาค เรามุ่งมั่นที่จะดําเนินงานร่วมกับญี่ปุ่นให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมตามแถลงการณ์ร่วมของการประชุมสุดยอดอาเซียน-ญี่ปุ่น ครั้งที่ 22 ว่าด้วยความเชื่อมโยงระหว่างกัน โดยเฉพาะการสอดประสานกันระหว่างแผนแม่บทว่าด้วยความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียน ค.ศ. 2025 กับข้อริเริ่มความเป็นหุ้นส่วนเพื่อโครงสร้างพื้นฐานที่มีคุณภาพของญี่ปุ่น ซึ่งสอดคล้องกับข้อริเริ่ม “การเชื่อมโยงยุทธศาสตร์ความเชื่อมโยง” ของอาเซียน
อาเซียนขอบคุณญี่ปุ่นที่ได้สนับสนุนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะและการพัฒนาด้านดิจิทัลของอาเซียน รวมทั้งความร่วมมือด้านการพัฒนาในอนุภูมิภาค และหวังว่า ญี่ปุ่นจะยังคงสนับสนุนในการดําเนินกิจกรรมเพื่อที่จะส่งเสริมการรวมตัวในภูมิภาคและลดช่องว่างด้านการพัฒนาในอาเซียน โดยเฉพาะผ่านแผนงานข้อริเริ่มเพื่อการรวมตัวของอาเซียน ฉบับที่ 4 อย่างต่อเนื่องต่อไป
เราเห็นคุณค่าของความร่วมมือที่เพิ่มขึ้นระหว่างอาเซียนกับญี่ปุ่นในด้านสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งญี่ปุ่นได้ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนด้านวัฒนธรรม การศึกษา และกีฬา ผ่านโครงการต่าง ๆ มาอย่างต่อเนื่อง เราควรมุ่งเน้นการส่งเสริมความเชื่อมโยงระหว่างประชาชน โดยเฉพาะเยาวชน รวมทั้งการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และการศึกษา ตลอดจนการดูแลผู้สูงอายุและการบริหารจัดการสังคมสูงวัย
ในบริบทของโลกปัจจุบันที่เราประสบปัญหาของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม และภัยพิบัติทางธรรมชาติ เราควรมุ่งเน้นที่จะสร้างและรักษาความสมดุลระหว่างมนุษย์กับสรรพสิ่งและความยั่งยืนในทุกมิติ เพื่อสนับสนุนการบรรลุเป้าหมาย SDGs ตลอดจนการฟื้นฟูที่ยั่งยืน เราขอขอบคุณญี่ปุ่นที่ได้สนับสนุนการเสริมสร้างขีดความสามารถในการลดปริมาณขยะทะเลในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน และเรามุ่งหวังที่จะแสวงหาความร่วมมือใหม่ ๆ อาทิ ความร่วมมือระหว่างยุทธศาสตร์ด้านการเติบโตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ในประเด็นระดับภูมิภาคและระหว่างประเทศ อาเซียนยืนยันถึงความสําคัญของการส่งเสริม การจัดระเบียบในภูมิภาคและระเบียบระหว่างประเทศ ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของกฎและกติกา โดยยึดถือกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งรวมถึงอนุสัญญา UNCLOS ค.ศ. 1982 ตลอดจนเน้นย้ําความสําคัญในการรักษาสันติภาพ เสถียรภาพ และเสรีภาพในการเดินเรือและการบินผ่านในทะเลจีนใต้ และย้ําถึงความสําคัญของการดําเนินการตาม DOC อย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพ รวมถึงยินดีกับความคืบหน้าของการเจรจาเพื่อนําไปสู่ข้อสรุปของ COC ที่มีประสิทธิภาพ มีเนื้อหาที่ครอบคลุม และสอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศ
เราเรียกร้องให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกลับสู่การหารืออย่างสันติและดําเนินการเพื่อให้คาบสมุทรเกาหลีปลอดอาวุธนิวเคลียร์ มีสันติภาพและเสถียรภาพที่ยั่งยืน อาเซียนพร้อมที่จะมีบทบาทอย่างสร้างสรรค์ในการส่งเสริมบรรยากาศที่เอื้ออํานวยสําหรับการหารืออย่างสันติระหว่างฝ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องผ่านกลไกที่อาเซียนมีบทบาทนํา เช่น ARF รวมทั้งยังเน้นถึงความสําคัญในการแก้ไขปัญหาด้านมนุษยธรรม ซึ่งรวมถึงประเด็นการลักพาตัว
โดยสรุป อาเซียนมุ่งหวังที่จะขับเคลื่อนความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ระหว่างอาเซียนกับญี่ปุ่นให้ก้าวไกล มีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนยิ่งขึ้นต่อไป
ในวาระครบรอบ 50 ปี ความสัมพันธ์อาเซียน-ญี่ปุ่น ในปี ค.ศ. 2023 จะเป็นโอกาสพิเศษที่เราจะร่วมกันทบทวนความสําเร็จและบทเรียนต่าง ๆ ในห้วง 5 ทศวรรษที่ผ่านมา และกําหนดทิศทางของการพัฒนาความเป็นหุ้นส่วนของเราในอีก 50 ปีข้างหน้า เรายินดีที่ได้รับทราบถึงความประสงค์ของญี่ปุ่นที่จะจัดการประชุมสุดยอดฯ สมัยพิเศษ ที่ญี่ปุ่น ในปี ค.ศ. 2023 เพื่อเฉลิมฉลองวาระพิเศษดังกล่าว ไทยในฐานะประเทศผู้ประสานงานความสัมพันธ์อาเซียน-ญี่ปุ่น พร้อมจะร่วมมือและผลักดันให้การเฉลิมฉลองวาระพิเศษนี้ประสบความสําเร็จในเร็วที่สุด
ทั้งนี้ ประเทศไทยได้เวียนเอกสารถ้อยเเถลงในนามอาเซียนให้ทุกประเทศด้วยเเล้ว
ขอบคุณครับ
*************************** | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ถ้อยแถลงของนายกรัฐมนตรีในนามอาเซียน สำหรับการประชุมสุดยอดอาเซียน-ญี่ปุ่น ครั้งที่ 24
วันพุธที่ 27 ตุลาคม 2564
ถ้อยแถลงของนายกรัฐมนตรีในนามอาเซียน สําหรับการประชุมสุดยอดอาเซียน-ญี่ปุ่น ครั้งที่ 24
ถ้อยแถลงของนายกรัฐมนตรีในนามอาเซียน โดยกล่าวในฐานะที่ไทยเป็นประเทศผู้ประสานงานความสัมพันธ์อาเซียน-ญี่ปุ่น สําหรับการประชุมสุดยอดอาเซียน-ญี่ปุ่น ครั้งที่ 24
ถ้อยแถลงในนามอาเซียน (ASEAN Common Statement)
กล่าวในฐานะที่ไทยเป็นประเทศผู้ประสานงานความสัมพันธ์อาเซียน-ญี่ปุ่น
สําหรับการประชุมสุดยอดอาเซียน-ญี่ปุ่น ครั้งที่ 24
วันพุธที่ 27 ตุลาคม 2564 เวลา 09.30 – 10.30 น.
* * * * *
ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท
ท่านนายกรัฐมนตรี คิชิดะ ฟูมิโอะ
และ ฯพณฯ ทั้งหลาย
ผมขอร่วมต้อนรับท่านนายกรัฐมนตรีคิชิดะ สู่ครอบครัวอาเซียนและการประชุมสุดยอดอาเซียน-ญี่ปุ่น ในครั้งนี้ รวมทั้งขอแสดงความยินดีต่อความสําเร็จของการจัดมหกรรมกีฬาโอลิมปิกและพาราลิมปิกที่กรุงโตเกียว เมื่อช่วงเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคมที่ผ่านมา
วันนี้เป็นโอกาสอันดีที่เราจะได้ร่วมกันแลกเปลี่ยนทัศนะเกี่ยวกับแนวทางการขับเคลื่อนความสัมพันธ์อาเซียน-ญี่ปุ่น ซึ่งเป็นความเป็นหุ้นส่วนที่มีพลวัตและก้าวหน้าในทุกมิติ นับตั้งแต่การสถาปนาความสัมพันธ์ เมื่อปี ค.ศ. 1973 จนนําไปสู่การยกระดับเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ เมื่อปี ค.ศ. 2003
ในฐานะที่ไทยเป็นประเทศผู้ประสานงานความสัมพันธ์อาเซียน-ญี่ปุ่น ผมขอกล่าวถ้อยแถลงในนามอาเซียน ดังนี้
อาเซียนและญี่ปุ่นได้สืบสานมิตรภาพและความร่วมมือระหว่างกันมาเกือบห้าทศวรรษ บนพื้นฐานของความไว้เนื้อเชื่อใจซึ่งกันและกัน ความเป็นหุ้นส่วนแบบ “ใจถึงใจ” และ “ความเป็นหุ้นส่วนที่เท่าเทียมกัน” อาเซียนขอบคุณญี่ปุ่นที่มุ่งมั่นส่งเสริมสันติภาพที่ถาวร ความไพบูลย์ร่วมกัน และการพัฒนาที่ยั่งยืนในภูมิภาค เพื่อประโยชน์ของประชาชนของเรา
เราให้ความสําคัญกับการจัดการและรับมือกับประเด็นท้าทายต่าง ๆ ร่วมกัน อาทิ โควิด-19 ความไม่แน่นอนทางภูมิรัฐศาสตร์ โดยเฉพาะการแข่งขันระหว่างประเทศมหาอํานาจ การปฏิวัติอุตสาหกรรม ครั้งที่ 4 และการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล
การที่อาเซียนและญี่ปุ่นได้ให้การสนับสนุนซึ่งกันและกัน และร่วมแรงร่วมใจฟันฝ่าอุปสรรคและความท้าทายร่วมกันมาโดยตลอด เป็นเครื่องพิสูจน์ถึงความเป็น “มิตรแท้” ของเราได้เป็นอย่างดี
อาเซียนซาบซึ้งเป็นอย่างยิ่งที่ญี่ปุ่นได้สนับสนุนอาเซียนในรูปแบบต่าง ๆ ในการรับมือกับโควิด-19 ซึ่งยังคงเกิดขึ้นและส่งผลกระทบอย่างรุนแรงและกว้างขวาง เราจึงจําเป็นต้องยกระดับความร่วมมือด้านสาธารณสุขและเตรียมความพร้อมของภูมิภาคให้สามารถรับมือกับการระบาดระลอกใหม่ และภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขและโรคอุบัติใหม่ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตให้ดียิ่งขึ้น
เราขอขอบคุณที่ญี่ปุ่นที่ได้สนับสนุนเงินจํานวน 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐสมทบกองทุนอาเซียน เพื่อรับมือกับโควิด-19 ซึ่งอาเซียนจะได้ใช้จัดสรรวัคซีนและเวชภัณฑ์ที่จําเป็นให้แก่ประเทศสมาชิกต่อไป นอกจากนี้ ขอบคุณสําหรับการสนับสนุนเงินจํานวน 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อจัดตั้งศูนย์ ACPHEED ซึ่งเราหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ศูนย์ฯ ดังกล่าวจะสามารถจัดตั้งและเริ่มดําเนินการได้ในโอกาสแรกสุด
เราเห็นคุณค่าของการที่ญี่ปุ่นสนับสนุนความเป็นแกนกลางของอาเซียน สถาปัตยกรรมภูมิภาคที่มีอาเซียนเป็นศูนย์กลางและกลไกที่อาเซียนมีบทบาทนํา ซึ่งเป็นส่วนสําคัญในการเสริมสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจและดุลยภาพทางยุทธศาสตร์ในภูมิภาค
ในด้านการเมืองและความมั่นคง เรามุ่งหวังที่จะสานต่อการขยายความร่วมมือกับญี่ปุ่นผ่านกลไกที่อาเซียนมีบทบาทนํา ทั้งในด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติ การต่อต้านการก่อการร้าย การเสริมสร้างความมั่นคงและความปลอดภัยทางไซเบอร์ ความมั่นคงทางทะเล ตลอดจนความร่วมมือด้านกลาโหมผ่านกรอบ ADMM Plus
อาเซียนเน้นย้ําถึงการเสริมสร้างบรรยากาศของความไว้เนื้อเชื่อใจซึ่งกันและกัน ซึ่งจะเอื้อต่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจ และสังคมอย่างรวดเร็วและยั่งยืน โดยเน้นความร่วมมือที่เป็นรูปธรรมเพื่อประโยชน์ของทุกฝ่าย บนพื้นฐานของหลักการภายใต้มุมมอง AOIP เรารับทราบความคืบหน้าของการดําเนินความร่วมมือภายใต้เอโอไอพีของญี่ปุ่น และมุ่งหวังที่จะเห็นความร่วมมือที่เป็นรูปธรรมต่อไป
ในด้านเศรษฐกิจ อาเซียนเป็นฐานการลงทุนและการผลิตที่สําคัญของญี่ปุ่นมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน เราย้ําถึงความสําคัญของความเชื่อมโยงและการฟื้นคืนสภาพของห่วงโซ่อุปทานในภูมิภาค เราสนับสนุนให้ภาคธุรกิจของญี่ปุ่นลงทุนในอาเซียนต่อไปเพื่อเป็นจุดเชื่อมโยงที่สําคัญในการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับห่วงโซ่อุปทานโลกของญี่ปุ่น
เราย้ําถึงความจําเป็นในการส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากความตกลง AJCEP และมุ่งหวังให้มีการให้สัตยาบันต่อพิธีสารฉบับที่หนึ่งเพื่อแก้ไขความตกลงฯ ครบทุกประเทศเพื่อให้มีผลใช้บังคับอย่างสมบูรณ์โดยเร็ว นอกจากนี้ เราผลักดันให้ RCEP มีผลบังคับใช้ในโอกาสแรก และยินดีที่ญี่ปุ่นได้ให้สัตยาบันต่อความตกลงนี้แล้วเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา
เรายินดีกับความคืบหน้าในการดําเนินงานตามแผนปฏิบัติการด้านความยืดหยุ่นทางเศรษฐกิจอาเซียน-ญี่ปุ่น เพื่อส่งเสริมการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจภายหลังวิกฤตโควิด-19 ผ่านข้อริเริ่มความร่วมมือในการส่งเสริมความเติบโตเชิงนวัตกรรมอย่างยั่งยืนระหว่างอาเซียนกับญี่ปุ่น รวมทั้งมุ่งเสริมสร้างศักยภาพ MSMEs โดยเฉพาะในการนําเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการดําเนินธุรกิจ ซึ่งเป็นสิ่งจําเป็นในยุค 4IR
อาเซียนยินดีที่ญี่ปุ่นมีบทบาทที่แข็งขันในการเสริมสร้างความเชื่อมโยงในภูมิภาค เรามุ่งมั่นที่จะดําเนินงานร่วมกับญี่ปุ่นให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมตามแถลงการณ์ร่วมของการประชุมสุดยอดอาเซียน-ญี่ปุ่น ครั้งที่ 22 ว่าด้วยความเชื่อมโยงระหว่างกัน โดยเฉพาะการสอดประสานกันระหว่างแผนแม่บทว่าด้วยความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียน ค.ศ. 2025 กับข้อริเริ่มความเป็นหุ้นส่วนเพื่อโครงสร้างพื้นฐานที่มีคุณภาพของญี่ปุ่น ซึ่งสอดคล้องกับข้อริเริ่ม “การเชื่อมโยงยุทธศาสตร์ความเชื่อมโยง” ของอาเซียน
อาเซียนขอบคุณญี่ปุ่นที่ได้สนับสนุนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะและการพัฒนาด้านดิจิทัลของอาเซียน รวมทั้งความร่วมมือด้านการพัฒนาในอนุภูมิภาค และหวังว่า ญี่ปุ่นจะยังคงสนับสนุนในการดําเนินกิจกรรมเพื่อที่จะส่งเสริมการรวมตัวในภูมิภาคและลดช่องว่างด้านการพัฒนาในอาเซียน โดยเฉพาะผ่านแผนงานข้อริเริ่มเพื่อการรวมตัวของอาเซียน ฉบับที่ 4 อย่างต่อเนื่องต่อไป
เราเห็นคุณค่าของความร่วมมือที่เพิ่มขึ้นระหว่างอาเซียนกับญี่ปุ่นในด้านสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งญี่ปุ่นได้ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนด้านวัฒนธรรม การศึกษา และกีฬา ผ่านโครงการต่าง ๆ มาอย่างต่อเนื่อง เราควรมุ่งเน้นการส่งเสริมความเชื่อมโยงระหว่างประชาชน โดยเฉพาะเยาวชน รวมทั้งการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และการศึกษา ตลอดจนการดูแลผู้สูงอายุและการบริหารจัดการสังคมสูงวัย
ในบริบทของโลกปัจจุบันที่เราประสบปัญหาของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม และภัยพิบัติทางธรรมชาติ เราควรมุ่งเน้นที่จะสร้างและรักษาความสมดุลระหว่างมนุษย์กับสรรพสิ่งและความยั่งยืนในทุกมิติ เพื่อสนับสนุนการบรรลุเป้าหมาย SDGs ตลอดจนการฟื้นฟูที่ยั่งยืน เราขอขอบคุณญี่ปุ่นที่ได้สนับสนุนการเสริมสร้างขีดความสามารถในการลดปริมาณขยะทะเลในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน และเรามุ่งหวังที่จะแสวงหาความร่วมมือใหม่ ๆ อาทิ ความร่วมมือระหว่างยุทธศาสตร์ด้านการเติบโตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ในประเด็นระดับภูมิภาคและระหว่างประเทศ อาเซียนยืนยันถึงความสําคัญของการส่งเสริม การจัดระเบียบในภูมิภาคและระเบียบระหว่างประเทศ ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของกฎและกติกา โดยยึดถือกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งรวมถึงอนุสัญญา UNCLOS ค.ศ. 1982 ตลอดจนเน้นย้ําความสําคัญในการรักษาสันติภาพ เสถียรภาพ และเสรีภาพในการเดินเรือและการบินผ่านในทะเลจีนใต้ และย้ําถึงความสําคัญของการดําเนินการตาม DOC อย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพ รวมถึงยินดีกับความคืบหน้าของการเจรจาเพื่อนําไปสู่ข้อสรุปของ COC ที่มีประสิทธิภาพ มีเนื้อหาที่ครอบคลุม และสอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศ
เราเรียกร้องให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกลับสู่การหารืออย่างสันติและดําเนินการเพื่อให้คาบสมุทรเกาหลีปลอดอาวุธนิวเคลียร์ มีสันติภาพและเสถียรภาพที่ยั่งยืน อาเซียนพร้อมที่จะมีบทบาทอย่างสร้างสรรค์ในการส่งเสริมบรรยากาศที่เอื้ออํานวยสําหรับการหารืออย่างสันติระหว่างฝ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องผ่านกลไกที่อาเซียนมีบทบาทนํา เช่น ARF รวมทั้งยังเน้นถึงความสําคัญในการแก้ไขปัญหาด้านมนุษยธรรม ซึ่งรวมถึงประเด็นการลักพาตัว
โดยสรุป อาเซียนมุ่งหวังที่จะขับเคลื่อนความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ระหว่างอาเซียนกับญี่ปุ่นให้ก้าวไกล มีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนยิ่งขึ้นต่อไป
ในวาระครบรอบ 50 ปี ความสัมพันธ์อาเซียน-ญี่ปุ่น ในปี ค.ศ. 2023 จะเป็นโอกาสพิเศษที่เราจะร่วมกันทบทวนความสําเร็จและบทเรียนต่าง ๆ ในห้วง 5 ทศวรรษที่ผ่านมา และกําหนดทิศทางของการพัฒนาความเป็นหุ้นส่วนของเราในอีก 50 ปีข้างหน้า เรายินดีที่ได้รับทราบถึงความประสงค์ของญี่ปุ่นที่จะจัดการประชุมสุดยอดฯ สมัยพิเศษ ที่ญี่ปุ่น ในปี ค.ศ. 2023 เพื่อเฉลิมฉลองวาระพิเศษดังกล่าว ไทยในฐานะประเทศผู้ประสานงานความสัมพันธ์อาเซียน-ญี่ปุ่น พร้อมจะร่วมมือและผลักดันให้การเฉลิมฉลองวาระพิเศษนี้ประสบความสําเร็จในเร็วที่สุด
ทั้งนี้ ประเทศไทยได้เวียนเอกสารถ้อยเเถลงในนามอาเซียนให้ทุกประเทศด้วยเเล้ว
ขอบคุณครับ
*************************** | https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/47451 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-“อนุทิน” รับมอบ หน้ากาก N95 จากภาคเอกชน | วันอังคารที่ 2 พฤศจิกายน 2564
“อนุทิน” รับมอบ หน้ากาก N95 จากภาคเอกชน
รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข รับมอบหน้ากาก N95 จํานวน 300,000 ชิ้น จากบริษัทซิน เคอ หยวน สตีล จํากัด สนับสนุนบุคลากรทางการแพทย์ในการปฏิบัติภารกิจดูแลและป้องกันโรคโควิด 19
วันนี้ (2 พฤศจิกายน 2564) ที่สํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี นายอนุทิน ชาญวีรกูลรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และคณะผู้บริหาร รับมอบหน้ากาก N95 จํานวน 300,000 ชิ้น จาก คุณ เฉิน หลินฟง รองผู้จัดการใหญ่ และพลเอกวิสิษฐ แจ้งประจักษ์ ที่ปรึกษา บริษัทซิน เคอ หยวน สตีล จํากัด เพื่อสนับสนุนบุคลากรทางการแพทย์ในการปฏิบัติภารกิจดูแลและป้องกันโรคโควิด 19
นายอนุทินกล่าวว่า ขอขอบคุณผู้มีจิตศรัทธา ที่มอบสิ่งของที่จําเป็นและมีประโยชน์อย่างมากในการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคโควิด 19 ให้บุคลากรทางการแพทย์นําไปใช้ป้องกันตนเองเพื่อความปลอดภัยในขณะปฏิบัติงาน ได้เป็นอย่างดี ช่วยสร้างความมั่นใจในการดูแลผู้ป่วยได้อย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพ กระทรวงสาธารณสุขจะเร่งดําเนินการส่งมอบไปยังสถานพยาบาล/รพ.สต.ที่อยู่ห่างไกล นําไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดโดยเร็วต่อไป
*********************************** 2 พฤศจิกายน 2564 | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-“อนุทิน” รับมอบ หน้ากาก N95 จากภาคเอกชน
วันอังคารที่ 2 พฤศจิกายน 2564
“อนุทิน” รับมอบ หน้ากาก N95 จากภาคเอกชน
รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข รับมอบหน้ากาก N95 จํานวน 300,000 ชิ้น จากบริษัทซิน เคอ หยวน สตีล จํากัด สนับสนุนบุคลากรทางการแพทย์ในการปฏิบัติภารกิจดูแลและป้องกันโรคโควิด 19
วันนี้ (2 พฤศจิกายน 2564) ที่สํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี นายอนุทิน ชาญวีรกูลรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และคณะผู้บริหาร รับมอบหน้ากาก N95 จํานวน 300,000 ชิ้น จาก คุณ เฉิน หลินฟง รองผู้จัดการใหญ่ และพลเอกวิสิษฐ แจ้งประจักษ์ ที่ปรึกษา บริษัทซิน เคอ หยวน สตีล จํากัด เพื่อสนับสนุนบุคลากรทางการแพทย์ในการปฏิบัติภารกิจดูแลและป้องกันโรคโควิด 19
นายอนุทินกล่าวว่า ขอขอบคุณผู้มีจิตศรัทธา ที่มอบสิ่งของที่จําเป็นและมีประโยชน์อย่างมากในการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคโควิด 19 ให้บุคลากรทางการแพทย์นําไปใช้ป้องกันตนเองเพื่อความปลอดภัยในขณะปฏิบัติงาน ได้เป็นอย่างดี ช่วยสร้างความมั่นใจในการดูแลผู้ป่วยได้อย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพ กระทรวงสาธารณสุขจะเร่งดําเนินการส่งมอบไปยังสถานพยาบาล/รพ.สต.ที่อยู่ห่างไกล นําไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดโดยเร็วต่อไป
*********************************** 2 พฤศจิกายน 2564 | https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/47734 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รปอ.ภานุวัฒน์ ร่วมเป็นเกียรติในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการจัดตั้งสถาบันวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์ | วันจันทร์ที่ 9 พฤษภาคม 2565
รปอ.ภานุวัฒน์ ร่วมเป็นเกียรติในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการจัดตั้งสถาบันวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์
รปอ.ภานุวัฒน์ ร่วมเป็นเกียรติในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการจัดตั้งสถาบันวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์
รปอ.ภานุวัฒน์ ร่วมเป็นเกียรติในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการจัดตั้งสถาบันวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์
วันนี้ (9 พฤษภาคม 2565) นายภานุวัฒน์ ตริยางกูรศรี รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมเป็นเกียรติในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการจัดตั้งสถาบันวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์ (AI Engineering Institute;AIEI) ซึ่งจัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นแกนกลางในการช่วยประสานงานระหว่างเครือข่ายมหาวิทยาลัย รวมถึงร่วมกันจัดการศึกษา แบ่งปันทรัพยากร และเปิดโอกาสให้นักศึกษาเข้าถึงผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยเครือข่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเป็นความร่วมมือจาก 6 หน่วยงาน ได้แก่ มหาวิทยาลัยซีเอ็มเคแอล มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง โดยมีศาสตราจารย์ ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล รองปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นประธานในพิธี ณ ห้องประชุมกมลทิพย์ โรงแรมสุโกศล กรุงเทพมหานคร
-------------------------------------------- | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รปอ.ภานุวัฒน์ ร่วมเป็นเกียรติในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการจัดตั้งสถาบันวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์
วันจันทร์ที่ 9 พฤษภาคม 2565
รปอ.ภานุวัฒน์ ร่วมเป็นเกียรติในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการจัดตั้งสถาบันวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์
รปอ.ภานุวัฒน์ ร่วมเป็นเกียรติในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการจัดตั้งสถาบันวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์
รปอ.ภานุวัฒน์ ร่วมเป็นเกียรติในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการจัดตั้งสถาบันวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์
วันนี้ (9 พฤษภาคม 2565) นายภานุวัฒน์ ตริยางกูรศรี รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมเป็นเกียรติในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการจัดตั้งสถาบันวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์ (AI Engineering Institute;AIEI) ซึ่งจัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นแกนกลางในการช่วยประสานงานระหว่างเครือข่ายมหาวิทยาลัย รวมถึงร่วมกันจัดการศึกษา แบ่งปันทรัพยากร และเปิดโอกาสให้นักศึกษาเข้าถึงผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยเครือข่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเป็นความร่วมมือจาก 6 หน่วยงาน ได้แก่ มหาวิทยาลัยซีเอ็มเคแอล มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง โดยมีศาสตราจารย์ ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล รองปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นประธานในพิธี ณ ห้องประชุมกมลทิพย์ โรงแรมสุโกศล กรุงเทพมหานคร
-------------------------------------------- | https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/54385 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-บขส. จัดกิจกรรม “Bor Kor Sor Big Cleaning Day” ทำความสะอาดสถานีขนส่งทั่วประเทศ | วันพฤหัสบดีที่ 7 เมษายน 2565
บขส. จัดกิจกรรม “Bor Kor Sor Big Cleaning Day” ทําความสะอาดสถานีขนส่งทั่วประเทศ
เตรียมความพร้อมรองรับการเดินทางของประชาชนในช่วงเทศกาลสงกรานต์ 2565
นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม ในฐานะประธานกรรมการ บริษัท ขนส่ง จํากัด เป็นประธานเปิดกิจกรรม “Bor Kor Sor Big Cleaning Day” โดยมี นายสัญลักข์ ปัญวัฒนลิขิต กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ขนส่ง จํากัด พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร พนักงาน และจิตอาสา 904 เข้าร่วมกิจกรรม ในวันที่ 7 เมษายน 2565 ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร)
นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ กล่าวว่า กระทรวงคมนาคม โดยนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม มีความห่วงใยประชาชนจึงได้กําชับให้ทุกหน่วยงานมีการเตรียมความพร้อมอํานวยความสะดวกและความปลอดภัย เพื่อรองรับการเดินทางของประชาชนในช่วงเทศกาลสงกรานต์ 2565 ไม่ให้เกิดความแออัดซึ่งคณะกรรมการ บริษัท ขนส่ง จํากัด ได้ให้นโยบายว่า ให้ บริษัท ขนส่ง จํากัด (บขส.) จัดรถโดยสารให้เพียงพอกับความต้องการ และให้คุมเข้มเรื่องความปลอดภัยของรถโดยสาร ต้องมีการตรวจสภาพให้พร้อมใช้งาน และพนักงานขับรถต้องมีผลตรวจแอลกอฮอล์และสารเสพติดเป็นศูนย์ รวมทั้งขอความร่วมมือเจ้าหน้าที่และผู้ใช้บริการ ปฏิบัติตามมาตรการสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด เมื่อเข้าใช้สถานีขนส่งและรถโดยสารเพื่อควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19
นายสัญลักข์ ปัญวัฒนลิขิต กล่าวว่า บขส. ได้จัดกิจกรรม “Bor Kor Sor Big Cleaning Day” อย่างต่อเนื่อง ก่อนเข้าสู่ช่วงเทศกาลสําคัญ เช่น เทศกาลปีใหม่ และสงกรานต์ เพื่อเตรียมความพร้อมรองรับการเดินทางของประชาชนซึ่งในการจัดกิจกรรมวันนี้ มีพนักงานจิตอาสา บขส. จิตอาสา 904 แม่บ้าน ร่วมกันเช็ดทําความสะอาดสถานีขนส่งผู้โดยสารพร้อมกัน ณ สถานีขนส่งและสถานีเดินรถของ บขส. ทั่วประเทศ
นอกจากนี้ บขส. ยังได้รับการสนับสนุนจากกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขนําทีมเจ้าหน้าที่ ตั้งจุดตรวจคัดกรอง หาเชื้อ COVID-19 ให้กับพนักงานและประชาชน โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ตั้งแต่วันที่ 7 - 10 เมษายน เวลา 09.00 น. ถึงเวลา 15.00 น. บริเวณประตูทางเข้าชั้น 3 ด้านทิศเหนือ ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) สําหรับการเดินทางในช่วงเทศกาลสงกรานต์ 2565 บขส. คาดการณ์ว่า ในวันที่ 11 - 12 เมษายน 2565 จะมีผู้โดยสารเดินทางใช้บริการสูงสุดเฉลี่ยวันละ 40,000 คน ใช้รถโดยสาร (บขส. รถร่วม และรถตู้) เฉลี่ยวันละ 3,700 เที่ยว ซึ่ง บขส. ได้เตรียมรถโดยสารไม่ประจําทางมาวิ่งเสริมเที่ยววิ่ง ประมาณ 700 คัน เพื่อป้องกันปัญหาผู้โดยสารตกค้าง อย่างไรก็ดีประชาชนยังสามารถจองตั๋วโดยสารล่วงหน้าได้ ผ่านทางแอปพลิเคชัน E-Ticket Website บขส. และที่ช่องขายตั๋วของ บขส. ทั่วประเทศ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมโทร Call Center 1490 เรียก บขส. ตลอด 24 ชั่วโมง | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-บขส. จัดกิจกรรม “Bor Kor Sor Big Cleaning Day” ทำความสะอาดสถานีขนส่งทั่วประเทศ
วันพฤหัสบดีที่ 7 เมษายน 2565
บขส. จัดกิจกรรม “Bor Kor Sor Big Cleaning Day” ทําความสะอาดสถานีขนส่งทั่วประเทศ
เตรียมความพร้อมรองรับการเดินทางของประชาชนในช่วงเทศกาลสงกรานต์ 2565
นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม ในฐานะประธานกรรมการ บริษัท ขนส่ง จํากัด เป็นประธานเปิดกิจกรรม “Bor Kor Sor Big Cleaning Day” โดยมี นายสัญลักข์ ปัญวัฒนลิขิต กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ขนส่ง จํากัด พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร พนักงาน และจิตอาสา 904 เข้าร่วมกิจกรรม ในวันที่ 7 เมษายน 2565 ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร)
นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ กล่าวว่า กระทรวงคมนาคม โดยนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม มีความห่วงใยประชาชนจึงได้กําชับให้ทุกหน่วยงานมีการเตรียมความพร้อมอํานวยความสะดวกและความปลอดภัย เพื่อรองรับการเดินทางของประชาชนในช่วงเทศกาลสงกรานต์ 2565 ไม่ให้เกิดความแออัดซึ่งคณะกรรมการ บริษัท ขนส่ง จํากัด ได้ให้นโยบายว่า ให้ บริษัท ขนส่ง จํากัด (บขส.) จัดรถโดยสารให้เพียงพอกับความต้องการ และให้คุมเข้มเรื่องความปลอดภัยของรถโดยสาร ต้องมีการตรวจสภาพให้พร้อมใช้งาน และพนักงานขับรถต้องมีผลตรวจแอลกอฮอล์และสารเสพติดเป็นศูนย์ รวมทั้งขอความร่วมมือเจ้าหน้าที่และผู้ใช้บริการ ปฏิบัติตามมาตรการสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด เมื่อเข้าใช้สถานีขนส่งและรถโดยสารเพื่อควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19
นายสัญลักข์ ปัญวัฒนลิขิต กล่าวว่า บขส. ได้จัดกิจกรรม “Bor Kor Sor Big Cleaning Day” อย่างต่อเนื่อง ก่อนเข้าสู่ช่วงเทศกาลสําคัญ เช่น เทศกาลปีใหม่ และสงกรานต์ เพื่อเตรียมความพร้อมรองรับการเดินทางของประชาชนซึ่งในการจัดกิจกรรมวันนี้ มีพนักงานจิตอาสา บขส. จิตอาสา 904 แม่บ้าน ร่วมกันเช็ดทําความสะอาดสถานีขนส่งผู้โดยสารพร้อมกัน ณ สถานีขนส่งและสถานีเดินรถของ บขส. ทั่วประเทศ
นอกจากนี้ บขส. ยังได้รับการสนับสนุนจากกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขนําทีมเจ้าหน้าที่ ตั้งจุดตรวจคัดกรอง หาเชื้อ COVID-19 ให้กับพนักงานและประชาชน โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ตั้งแต่วันที่ 7 - 10 เมษายน เวลา 09.00 น. ถึงเวลา 15.00 น. บริเวณประตูทางเข้าชั้น 3 ด้านทิศเหนือ ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) สําหรับการเดินทางในช่วงเทศกาลสงกรานต์ 2565 บขส. คาดการณ์ว่า ในวันที่ 11 - 12 เมษายน 2565 จะมีผู้โดยสารเดินทางใช้บริการสูงสุดเฉลี่ยวันละ 40,000 คน ใช้รถโดยสาร (บขส. รถร่วม และรถตู้) เฉลี่ยวันละ 3,700 เที่ยว ซึ่ง บขส. ได้เตรียมรถโดยสารไม่ประจําทางมาวิ่งเสริมเที่ยววิ่ง ประมาณ 700 คัน เพื่อป้องกันปัญหาผู้โดยสารตกค้าง อย่างไรก็ดีประชาชนยังสามารถจองตั๋วโดยสารล่วงหน้าได้ ผ่านทางแอปพลิเคชัน E-Ticket Website บขส. และที่ช่องขายตั๋วของ บขส. ทั่วประเทศ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมโทร Call Center 1490 เรียก บขส. ตลอด 24 ชั่วโมง | https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/53402 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ครม.อนุมัติ ”จุรินทร์” บุกไอซ์แลนด์ ลงนามเปิดการเริ่มเจรจา FTA ไทย-เอฟต้า(EFTA) เพิ่มมูลค่าการค้ากับกลุ่มประเทศสมาชิกสมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป | วันเสาร์ที่ 18 มิถุนายน 2565
ครม.อนุมัติ ”จุรินทร์” บุกไอซ์แลนด์ ลงนามเปิดการเริ่มเจรจา FTA ไทย-เอฟต้า(EFTA) เพิ่มมูลค่าการค้ากับกลุ่มประเทศสมาชิกสมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป
ครม.อนุมัติ ”จุรินทร์” บุกไอซ์แลนด์ ลงนามเปิดการเริ่มเจรจา FTA ไทย-เอฟต้า(EFTA) เพิ่มมูลค่าการค้ากับกลุ่มประเทศสมาชิกสมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป
วันนี้(18มิ.ย.65)นางสาวรัชดาธนาดิเรกรองโฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรีเปิดเผยว่าเมื่อวันอังคารที่ผ่านมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบให้นายจุรินทร์ลักษณวิศิษฏ์รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เป็นผู้แทนประเทศไทยเดินทางไปลงนามเปิดการเจรจาเอฟทีเอ.ระหว่างไทยกับกลุ่มประเทศสมาชิกสมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรปหรือEFTAที่ประกอบด้วยประเทศสวิตเซอร์แลนด์นอร์เวย์ไอซ์แลนด์และลิกเตนสไตน์หลังจากที่ประเทศไทยและกระทรวงพาณิชย์ได้ใช้เวลาในการสร้างความสัมพันธ์และเจรจามาอย่างยาวนานทั้งนี้เพื่อหวังให้ประเทศไทยสามารถเปิดตลาดการค้ากับกลุ่มประเทศยุโรปได้มากขึ้นในอนาคตรวมทั้งเพื่อสนองนโยบายการเปิดตลาดใหม่ของกระทรวงพาณิชย์หลังจากการประสบความสําเร็จในการขับเคลื่อนการส่งออกนําเงินเข้าประเทศถึง8.5ล้านๆบาท ขยายตัว17.1%ในปี2564ที่ผ่านมา
——— | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ครม.อนุมัติ ”จุรินทร์” บุกไอซ์แลนด์ ลงนามเปิดการเริ่มเจรจา FTA ไทย-เอฟต้า(EFTA) เพิ่มมูลค่าการค้ากับกลุ่มประเทศสมาชิกสมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป
วันเสาร์ที่ 18 มิถุนายน 2565
ครม.อนุมัติ ”จุรินทร์” บุกไอซ์แลนด์ ลงนามเปิดการเริ่มเจรจา FTA ไทย-เอฟต้า(EFTA) เพิ่มมูลค่าการค้ากับกลุ่มประเทศสมาชิกสมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป
ครม.อนุมัติ ”จุรินทร์” บุกไอซ์แลนด์ ลงนามเปิดการเริ่มเจรจา FTA ไทย-เอฟต้า(EFTA) เพิ่มมูลค่าการค้ากับกลุ่มประเทศสมาชิกสมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป
วันนี้(18มิ.ย.65)นางสาวรัชดาธนาดิเรกรองโฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรีเปิดเผยว่าเมื่อวันอังคารที่ผ่านมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบให้นายจุรินทร์ลักษณวิศิษฏ์รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เป็นผู้แทนประเทศไทยเดินทางไปลงนามเปิดการเจรจาเอฟทีเอ.ระหว่างไทยกับกลุ่มประเทศสมาชิกสมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรปหรือEFTAที่ประกอบด้วยประเทศสวิตเซอร์แลนด์นอร์เวย์ไอซ์แลนด์และลิกเตนสไตน์หลังจากที่ประเทศไทยและกระทรวงพาณิชย์ได้ใช้เวลาในการสร้างความสัมพันธ์และเจรจามาอย่างยาวนานทั้งนี้เพื่อหวังให้ประเทศไทยสามารถเปิดตลาดการค้ากับกลุ่มประเทศยุโรปได้มากขึ้นในอนาคตรวมทั้งเพื่อสนองนโยบายการเปิดตลาดใหม่ของกระทรวงพาณิชย์หลังจากการประสบความสําเร็จในการขับเคลื่อนการส่งออกนําเงินเข้าประเทศถึง8.5ล้านๆบาท ขยายตัว17.1%ในปี2564ที่ผ่านมา
——— | https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/55838 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สุริยะดันไทยเป็นศูนย์กลางอาหารอนาคตแห่งอาเซียน คาดส่งออกอาหารแปรรูปของไทยปี 2564 กว่า 1.05 ล้านล้านบาท กระตุ้น GDP 9.50 แสนล้านบาท | วันจันทร์ที่ 13 กันยายน 2564
สุริยะดันไทยเป็นศูนย์กลางอาหารอนาคตแห่งอาเซียน คาดส่งออกอาหารแปรรูปของไทยปี 2564 กว่า 1.05 ล้านล้านบาท กระตุ้น GDP 9.50 แสนล้านบาท
กระทรวงอุตสาหกรรม เผย ครม. มีมติรับทราบความคืบหน้าแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารระยะที่ 1 (พ.ศ.2562-2570) พร้อมเร่งผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตอาหารอนาคตแห่งอาเซียนควบคู่กับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก
สุริยะดันไทยเป็นศูนย์กลางอาหารอนาคตแห่งอาเซียน คาดส่งออกอาหารแปรรูปของไทยปี 2564 กว่า 1.05 ล้านล้านบาท กระตุ้น GDP 9.50 แสนล้านบาท
กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เผย ครม. มีมติรับทราบความคืบหน้าแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารระยะที่ 1 (พ.ศ.2562-2570) พร้อมเร่งผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตอาหารอนาคตแห่งอาเซียนควบคู่กับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก โดยในปี 2564 คาดว่าการส่งออกอาหารแปรรูปจะมีมูลค่ากว่า 1.05 ล้านล้านบาท สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับระบบเศรษฐกิจไทย กระตุ้นผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (GDP) ถึง 9.50 แสนล้านบาท ผ่าน 4 มาตรการเพื่อเร่งสร้างโอกาสสู่การขยายตัวของอุตสาหกรรมในอนาคต
นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) (7 กันยายน 2564) มีมติรับทราบความคืบหน้าแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารระยะ ที่ 1 (พ.ศ. 2562-2570) กระทรวงอุตสาหกรรมในฐานะแกนหลักที่ได้รับมอบหมายให้บูรณาการ ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเร่งขับเคลื่อนการพัฒน อุตสาหกรรมแปรรูปอาหารอย่างต่อเนื่องผ่านมาตรการ “4 สร้าง” ได้แก่ 1.สร้างนักรบอุตสาหกรรมอาหารพันธุ์ใหม่ (Food Warriors) 2.สร้างนวัตกรรมอาหารอนาคต 3.สร้างโอกาสทางธุรกิจ และ 4.สร้างปัจจัยพื้นฐานเพื่อเร่งการพัฒนาอุตสาหกรรม โดย สร้างที่ 1.เป็นการสร้างนักรบอุตสาหกรรมอาหารพันธุ์ใหม่ (Food Warriors) ผ่าน 4 หน่วยงานของกระทรวงอุตสาหกรรม โดยสํานักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม สํานักงานอุตสาหกรรมจังหวัด และสถาบันอาหาร เร่งพัฒนายกระดับผู้ประกอบการ/สถานประกอบการ/วิสาหกิจชุมชน ให้เป็นนักรบอุตสาหกรรมอาหารพันธุ์ใหม่ ผ่านการอบรมและให้คําปรึกษาเชิงลึกทั้งในด้านการเพิ่มผลิตภาพ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ได้มาตรฐาน ถ่ายทอดความรู้เชิงธุรกิจและการนํานวัตกรรมมาใช้ในการผลิต เพื่อให้ผู้ประกอบการมีองค์ความรู้ เสริมสร้างทักษะ รวม 899 กิจการ/8,512 ราย/43 กลุ่มวิสาหกิจชุมชน นอกจากนี้ มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าเกษตรแปรรูป/อาหารแปรรูปให้มีมูลค่าเพิ่มสูง เช่น ผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ อาหารอัตลักษณ์ท้องถิ่น รวมถึงการพัฒนาฉลากและบรรจุภัณฑ์อาหารให้มีมูลค่าเพิ่มสูงเชิงพาณิชย์ รวม 224 ผลิตภัณฑ์ ด้านกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เร่งพัฒนาอบรมเกษตรกรให้เป็นเกษตรกรปราดเปรื่อง (Smart Farmer) ในสาขาต่างๆ รวม 12,210 ราย กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมสนับสนุนผู้ประกอบการอาหารให้มีการใช้เทคโนโลยีเชิงลึก พัฒนากระบวนการผลิตและปรับปรุงคุณภาพผลิตภัณฑ์รวม 566 ราย
นายสุริยะ กล่าวเพิ่มเติมว่า สร้างที่ 2 มีความคืบหน้าในการสร้างนวัตกรรมอาหารอนาคต ภายใต้โครงการเมืองนวัตกรรมอาหาร (Food Innopolis) ในอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ได้มีการจัดทํา Future Food Lab เพื่อสร้างระบบนิเวศนวัตกรรมอาหาร ส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมอาหารมูลค่าสูง และผู้เชี่ยวชาญนวัตกรรมอาหารโดยมีระบบเชื่อมโยงฐานข้อมูล Food Innopolis Service Platform อย่างน้อย 8 แพลตฟอร์ม รวมทั้งสนับสนุนให้ผู้ประกอบการพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือกระบวนการที่เป็นนวัตกรรมหรือมีการรับถ่ายทอดเทคโนโลยีร่วมกับภาคอุตสาหกรรมอาหาร เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถพัฒนากระบวนการผลิตให้มีประสิทธิภาพหรือมีผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูงออกสู่ตลาด จํานวน 15 โครงการ เสริมสร้างความเข้มแข็งให้ผู้ประกอบการโดยการสนับสนุนการพัฒนาผลิตภัณฑ์มูลค่าสูงภายใต้มาตรฐานการทดสอบในระดับสากลโดยการให้บริการวิเคราะห์ทดสอบตัวอย่างผลิตภัณฑ์อาหารด้วยเทคโนโลยีในประเทศ จํานวน 148 รายการ
นายสุริยะ กล่าวย้ําว่า แม้ว่าในช่วงนี้ประเทศไทยและทั่วโลกกําลังเผชิญสถานการณ์โควิด-19 แต่การสร้างที่ 3 การสร้างโอกาสทางธุรกิจยังคงดําเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยที่ผ่านมากระทรวงพาณิชย์ หอการค้าไทย และโคโลญ - เมสเซ่ ประเทศเยอรมนี ร่วมจัดงานแสดงสินค้าอาหารและเครื่องดื่ม ภายใต้ชื่องาน THAIFEX – ANUGA ASIA 2020 “The Hybrid Edition” ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพค เมืองทองธานี ระหว่างวันที่ 22 – 26 กันยายน 2563 โดยมีการปรับรูปแบบการจัดงานใหม่ในลักษณะไฮบริด เพื่อรองรับชีวิตวิถี New Normal โดยจัดให้มีการเจรจาซื้อขายแบบออฟไลน์ควบคู่ออนไลน์ จํานวนทั้งสิ้น 708 บริษัท ในส่วนการสร้างที่ 4 การสร้างปัจจัยพื้นฐานเพื่อเร่งการพัฒนาอุตสาหกรรม โดยสํานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมได้จัดทํามาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมอาหารทั้งในส่วนของมาตรฐานสินค้าและมาตรฐานวิธีทดสอบ รวม 22 เรื่อง สํานักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ําตาลทรายจัดทําโครงการการจัดการผลิตอ้อยแปลงใหญ่เพื่อเพิ่มผลผลิตและคุณภาพอ้อยโดยใช้เทคโนโลยี Smart farming ณ ต.นครชุม อ.เมือง จ.กําแพงเพชร มีเกษตรกรเข้าร่วม ไม่น้อยกว่า 40 ราย บนพื้นที่ไม่น้อยกว่า 5,000 ไร่ สถาบันอาหารให้บริการยกระดับความปลอดภัยในการผลิตอาหารที่ฆ่าเชื้อด้วยความร้อนและอาหารแปรรูป จํานวน 91 ผลิตภัณฑ์ บริการตรวจสอบและรับรองระบบ จํานวน 377 กิจการ บริการทดสอบด้านต่างๆ เช่น ด้านเคมี จํานวน 52,363 รายการ จุลชีววิทยา จํานวน 16,000 รายการ บริการสอบเทียบความชํานาญ จํานวน 3,278 ห้องปฏิบัติการ และบริการยกระดับความปลอดภัยในการผลิตอาหารที่ฆ่าเชื้อด้วยความร้อนและอาหารแปรรูป จํานวน 631 ผลิตภัณฑ์
นายทองชัย ชวลิตพิเชฐ ผู้อํานวยการสํานักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กล่าวเสริมว่า ภายใต้สถานการณ์โควิด-19 ส่งผลให้เศรษฐกิจในประเทศชะลอตัวลง แต่อุตสาหกรรมแปรรูปอาหารไทยกลับมีโอกาสโดยมีทิศทางการผลิตที่ขยายตัวขึ้นสะท้อนจากตัวเลขดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมและการส่งออก ซึ่งประเทศไทยนับว่ามีความได้เปรียบในด้านการผลิตอาหารแปรรูปเนื่องจากมีวัตถุดิบในประเทศ สําหรับการดําเนินการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการอาหารฯ ระยะต่อไป สศอ. จะใช้กลไกความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนเป็นตัวขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการฯ โดยผ่านคณะกรรมการพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งชาติ (กอช.) ในการกํากับการดําเนินงานตามมาตรการต่างๆ โดยจะเน้นการพัฒนาผู้ประกอบการด้าน Traceability และ Food safety and transparency กระบวนการผลิตอาหารจะต้องมีความปลอดภัยใน ทุกขั้นตอน ตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง การพัฒนาและยกระดับฝีมือแรงงาน (Upskill & Reskill) ให้มีทักษะและมาตรฐานตรงกับความต้องการของตลาด รองรับความท้าทายจาก Technology Disruption และสถานการณ์ปัจจุบัน การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารอนาคต (Future Food) รวมทั้งส่งเสริมการใช้เทคโนโลยี AI/Automation ในอุตสาหกรรมอาหารเพิ่มมากขึ้น เพื่อผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางอาหารอนาคตแห่งอาเซียนต่อไป | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สุริยะดันไทยเป็นศูนย์กลางอาหารอนาคตแห่งอาเซียน คาดส่งออกอาหารแปรรูปของไทยปี 2564 กว่า 1.05 ล้านล้านบาท กระตุ้น GDP 9.50 แสนล้านบาท
วันจันทร์ที่ 13 กันยายน 2564
สุริยะดันไทยเป็นศูนย์กลางอาหารอนาคตแห่งอาเซียน คาดส่งออกอาหารแปรรูปของไทยปี 2564 กว่า 1.05 ล้านล้านบาท กระตุ้น GDP 9.50 แสนล้านบาท
กระทรวงอุตสาหกรรม เผย ครม. มีมติรับทราบความคืบหน้าแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารระยะที่ 1 (พ.ศ.2562-2570) พร้อมเร่งผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตอาหารอนาคตแห่งอาเซียนควบคู่กับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก
สุริยะดันไทยเป็นศูนย์กลางอาหารอนาคตแห่งอาเซียน คาดส่งออกอาหารแปรรูปของไทยปี 2564 กว่า 1.05 ล้านล้านบาท กระตุ้น GDP 9.50 แสนล้านบาท
กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เผย ครม. มีมติรับทราบความคืบหน้าแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารระยะที่ 1 (พ.ศ.2562-2570) พร้อมเร่งผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตอาหารอนาคตแห่งอาเซียนควบคู่กับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก โดยในปี 2564 คาดว่าการส่งออกอาหารแปรรูปจะมีมูลค่ากว่า 1.05 ล้านล้านบาท สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับระบบเศรษฐกิจไทย กระตุ้นผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (GDP) ถึง 9.50 แสนล้านบาท ผ่าน 4 มาตรการเพื่อเร่งสร้างโอกาสสู่การขยายตัวของอุตสาหกรรมในอนาคต
นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) (7 กันยายน 2564) มีมติรับทราบความคืบหน้าแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารระยะ ที่ 1 (พ.ศ. 2562-2570) กระทรวงอุตสาหกรรมในฐานะแกนหลักที่ได้รับมอบหมายให้บูรณาการ ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเร่งขับเคลื่อนการพัฒน อุตสาหกรรมแปรรูปอาหารอย่างต่อเนื่องผ่านมาตรการ “4 สร้าง” ได้แก่ 1.สร้างนักรบอุตสาหกรรมอาหารพันธุ์ใหม่ (Food Warriors) 2.สร้างนวัตกรรมอาหารอนาคต 3.สร้างโอกาสทางธุรกิจ และ 4.สร้างปัจจัยพื้นฐานเพื่อเร่งการพัฒนาอุตสาหกรรม โดย สร้างที่ 1.เป็นการสร้างนักรบอุตสาหกรรมอาหารพันธุ์ใหม่ (Food Warriors) ผ่าน 4 หน่วยงานของกระทรวงอุตสาหกรรม โดยสํานักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม สํานักงานอุตสาหกรรมจังหวัด และสถาบันอาหาร เร่งพัฒนายกระดับผู้ประกอบการ/สถานประกอบการ/วิสาหกิจชุมชน ให้เป็นนักรบอุตสาหกรรมอาหารพันธุ์ใหม่ ผ่านการอบรมและให้คําปรึกษาเชิงลึกทั้งในด้านการเพิ่มผลิตภาพ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ได้มาตรฐาน ถ่ายทอดความรู้เชิงธุรกิจและการนํานวัตกรรมมาใช้ในการผลิต เพื่อให้ผู้ประกอบการมีองค์ความรู้ เสริมสร้างทักษะ รวม 899 กิจการ/8,512 ราย/43 กลุ่มวิสาหกิจชุมชน นอกจากนี้ มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าเกษตรแปรรูป/อาหารแปรรูปให้มีมูลค่าเพิ่มสูง เช่น ผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ อาหารอัตลักษณ์ท้องถิ่น รวมถึงการพัฒนาฉลากและบรรจุภัณฑ์อาหารให้มีมูลค่าเพิ่มสูงเชิงพาณิชย์ รวม 224 ผลิตภัณฑ์ ด้านกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เร่งพัฒนาอบรมเกษตรกรให้เป็นเกษตรกรปราดเปรื่อง (Smart Farmer) ในสาขาต่างๆ รวม 12,210 ราย กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมสนับสนุนผู้ประกอบการอาหารให้มีการใช้เทคโนโลยีเชิงลึก พัฒนากระบวนการผลิตและปรับปรุงคุณภาพผลิตภัณฑ์รวม 566 ราย
นายสุริยะ กล่าวเพิ่มเติมว่า สร้างที่ 2 มีความคืบหน้าในการสร้างนวัตกรรมอาหารอนาคต ภายใต้โครงการเมืองนวัตกรรมอาหาร (Food Innopolis) ในอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ได้มีการจัดทํา Future Food Lab เพื่อสร้างระบบนิเวศนวัตกรรมอาหาร ส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมอาหารมูลค่าสูง และผู้เชี่ยวชาญนวัตกรรมอาหารโดยมีระบบเชื่อมโยงฐานข้อมูล Food Innopolis Service Platform อย่างน้อย 8 แพลตฟอร์ม รวมทั้งสนับสนุนให้ผู้ประกอบการพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือกระบวนการที่เป็นนวัตกรรมหรือมีการรับถ่ายทอดเทคโนโลยีร่วมกับภาคอุตสาหกรรมอาหาร เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถพัฒนากระบวนการผลิตให้มีประสิทธิภาพหรือมีผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูงออกสู่ตลาด จํานวน 15 โครงการ เสริมสร้างความเข้มแข็งให้ผู้ประกอบการโดยการสนับสนุนการพัฒนาผลิตภัณฑ์มูลค่าสูงภายใต้มาตรฐานการทดสอบในระดับสากลโดยการให้บริการวิเคราะห์ทดสอบตัวอย่างผลิตภัณฑ์อาหารด้วยเทคโนโลยีในประเทศ จํานวน 148 รายการ
นายสุริยะ กล่าวย้ําว่า แม้ว่าในช่วงนี้ประเทศไทยและทั่วโลกกําลังเผชิญสถานการณ์โควิด-19 แต่การสร้างที่ 3 การสร้างโอกาสทางธุรกิจยังคงดําเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยที่ผ่านมากระทรวงพาณิชย์ หอการค้าไทย และโคโลญ - เมสเซ่ ประเทศเยอรมนี ร่วมจัดงานแสดงสินค้าอาหารและเครื่องดื่ม ภายใต้ชื่องาน THAIFEX – ANUGA ASIA 2020 “The Hybrid Edition” ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพค เมืองทองธานี ระหว่างวันที่ 22 – 26 กันยายน 2563 โดยมีการปรับรูปแบบการจัดงานใหม่ในลักษณะไฮบริด เพื่อรองรับชีวิตวิถี New Normal โดยจัดให้มีการเจรจาซื้อขายแบบออฟไลน์ควบคู่ออนไลน์ จํานวนทั้งสิ้น 708 บริษัท ในส่วนการสร้างที่ 4 การสร้างปัจจัยพื้นฐานเพื่อเร่งการพัฒนาอุตสาหกรรม โดยสํานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมได้จัดทํามาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมอาหารทั้งในส่วนของมาตรฐานสินค้าและมาตรฐานวิธีทดสอบ รวม 22 เรื่อง สํานักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ําตาลทรายจัดทําโครงการการจัดการผลิตอ้อยแปลงใหญ่เพื่อเพิ่มผลผลิตและคุณภาพอ้อยโดยใช้เทคโนโลยี Smart farming ณ ต.นครชุม อ.เมือง จ.กําแพงเพชร มีเกษตรกรเข้าร่วม ไม่น้อยกว่า 40 ราย บนพื้นที่ไม่น้อยกว่า 5,000 ไร่ สถาบันอาหารให้บริการยกระดับความปลอดภัยในการผลิตอาหารที่ฆ่าเชื้อด้วยความร้อนและอาหารแปรรูป จํานวน 91 ผลิตภัณฑ์ บริการตรวจสอบและรับรองระบบ จํานวน 377 กิจการ บริการทดสอบด้านต่างๆ เช่น ด้านเคมี จํานวน 52,363 รายการ จุลชีววิทยา จํานวน 16,000 รายการ บริการสอบเทียบความชํานาญ จํานวน 3,278 ห้องปฏิบัติการ และบริการยกระดับความปลอดภัยในการผลิตอาหารที่ฆ่าเชื้อด้วยความร้อนและอาหารแปรรูป จํานวน 631 ผลิตภัณฑ์
นายทองชัย ชวลิตพิเชฐ ผู้อํานวยการสํานักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กล่าวเสริมว่า ภายใต้สถานการณ์โควิด-19 ส่งผลให้เศรษฐกิจในประเทศชะลอตัวลง แต่อุตสาหกรรมแปรรูปอาหารไทยกลับมีโอกาสโดยมีทิศทางการผลิตที่ขยายตัวขึ้นสะท้อนจากตัวเลขดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมและการส่งออก ซึ่งประเทศไทยนับว่ามีความได้เปรียบในด้านการผลิตอาหารแปรรูปเนื่องจากมีวัตถุดิบในประเทศ สําหรับการดําเนินการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการอาหารฯ ระยะต่อไป สศอ. จะใช้กลไกความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนเป็นตัวขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการฯ โดยผ่านคณะกรรมการพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งชาติ (กอช.) ในการกํากับการดําเนินงานตามมาตรการต่างๆ โดยจะเน้นการพัฒนาผู้ประกอบการด้าน Traceability และ Food safety and transparency กระบวนการผลิตอาหารจะต้องมีความปลอดภัยใน ทุกขั้นตอน ตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง การพัฒนาและยกระดับฝีมือแรงงาน (Upskill & Reskill) ให้มีทักษะและมาตรฐานตรงกับความต้องการของตลาด รองรับความท้าทายจาก Technology Disruption และสถานการณ์ปัจจุบัน การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารอนาคต (Future Food) รวมทั้งส่งเสริมการใช้เทคโนโลยี AI/Automation ในอุตสาหกรรมอาหารเพิ่มมากขึ้น เพื่อผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางอาหารอนาคตแห่งอาเซียนต่อไป | https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/45781 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล (GLO) ลงพื้นที่เยี่ยมเยียนพบปะ จุดจำหน่ายสลาก 80 ระบุสิงหาคมนี้ มีจุดจำหน่ายทั่วประเทศกว่า 1,000 จุด | วันอังคารที่ 5 กรกฎาคม 2565
สํานักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล (GLO) ลงพื้นที่เยี่ยมเยียนพบปะ จุดจําหน่ายสลาก 80 ระบุสิงหาคมนี้ มีจุดจําหน่ายทั่วประเทศกว่า 1,000 จุด
สํานักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลลงพื้นที่พบปะตัวแทนจําหน่ายตามโครงการสลาก 80 เขตสวนหลวง วัฒนา และบางกะปิ เพื่อพูดคุย รับฟัง ตลอดจนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการดําเนินโครงการสลาก 80
วันนี้ (4 กรกฎาคม 2565) เวลา 08.30 น. สํานักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล นําโดย พันโท หนุน ศันสนาคม ผู้อํานวยการสํานักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล พร้อมด้วยนายทวีป วุฒิบาทุกาจิตต์ รองผู้อํานวยการ ลงพื้นที่พบปะตัวแทนจําหน่ายตามโครงการสลาก 80 เขตสวนหลวง วัฒนา และบางกะปิ เพื่อพูดคุย รับฟัง ตลอดจนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการดําเนินโครงการสลาก 80 ซึ่งสํานักงานฯ เริ่มดําเนินการมาเป็นเวลากว่า 1 ปี ขณะนี้ เป็นที่รู้จักและมีประชาชนให้ความสนใจซื้อสลากโครงการดังกล่าว ผ่านแอปพลิเคชั่นเป๋าตัง อย่างแพร่หลาย
พันโท หนุน ศันสนาคม ผู้อํานวยการ กล่าวว่า โครงการสลาก 80 เป็นโครงการนําร่องในการแก้ไขปัญหาสลากเกินราคา ที่ทําให้ประชาชนสามารถหาซื้อสลากตามราคาได้จากจุดจําหน่ายของโครงการที่กระจายอยู่ในจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ โดยการซื้อขายสลาก จะเป็นการทํารายการผ่านแอปเป๋าตัง และถุงเงิน เพื่อเป็นไปตามวิถีชีวิตใหม่ หรือ New Normal ไร้การสัมผัส ทําให้ผู้ซื้อสามารถซื้อสลากได้ในราคา 80 บาท ทั้งนี้ กว่า 1 ปีที่ได้ดําเนินการมา ปัจจุบันมีจุดจําหน่ายกระจายอยู่ทั่วประเทศ ทั้งหมด 754 จุด และตั้งแต่เดือนสิงหาคมนี้เป็นต้นไป จะมีจุดจําหน่ายสลาก 80 ทั่วประเทศ 1,077 จุด สําหรับการลงพื้นที่เยี่ยมเยียนพบปะตัวแทนจําหน่าย ณ จุดจําหน่ายสลาก ทั้ง 3 จุดในวันนี้ ก็เพื่อพบปะ พูดคุย รับฟังข้อกังวลใจและข้อคิดเห็นของตัวแทนจําหน่ายตามโครงการสลาก 80 เกี่ยวกับสถานการณ์การจําหน่ายสลากในปัจจุบัน โดยในวันพรุ่งนี้ สํานักงานฯ จะลงพื้นที่เยี่ยมเยียนพบปะจุดจําหน่ายสลาก ในเขตทวีวัฒนา บางแค และนนทบุรี และห้วงเวลาต่อจากนี้ สํานักงานฯ จะลงพื้นที่เยี่ยมเยียนจุดจําหน่ายสลาก 80 ตามภูมิภาคต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อจะได้พบปะ รับฟังและพูดคุยแลกเปลี่ยน ข้อคิดเห็นต่างๆ ของตัวแทนจําหน่ายอย่างใกล้ชิดต่อไป ผู้อํานวยการกล่าวในตอนท้าย | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล (GLO) ลงพื้นที่เยี่ยมเยียนพบปะ จุดจำหน่ายสลาก 80 ระบุสิงหาคมนี้ มีจุดจำหน่ายทั่วประเทศกว่า 1,000 จุด
วันอังคารที่ 5 กรกฎาคม 2565
สํานักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล (GLO) ลงพื้นที่เยี่ยมเยียนพบปะ จุดจําหน่ายสลาก 80 ระบุสิงหาคมนี้ มีจุดจําหน่ายทั่วประเทศกว่า 1,000 จุด
สํานักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลลงพื้นที่พบปะตัวแทนจําหน่ายตามโครงการสลาก 80 เขตสวนหลวง วัฒนา และบางกะปิ เพื่อพูดคุย รับฟัง ตลอดจนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการดําเนินโครงการสลาก 80
วันนี้ (4 กรกฎาคม 2565) เวลา 08.30 น. สํานักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล นําโดย พันโท หนุน ศันสนาคม ผู้อํานวยการสํานักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล พร้อมด้วยนายทวีป วุฒิบาทุกาจิตต์ รองผู้อํานวยการ ลงพื้นที่พบปะตัวแทนจําหน่ายตามโครงการสลาก 80 เขตสวนหลวง วัฒนา และบางกะปิ เพื่อพูดคุย รับฟัง ตลอดจนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการดําเนินโครงการสลาก 80 ซึ่งสํานักงานฯ เริ่มดําเนินการมาเป็นเวลากว่า 1 ปี ขณะนี้ เป็นที่รู้จักและมีประชาชนให้ความสนใจซื้อสลากโครงการดังกล่าว ผ่านแอปพลิเคชั่นเป๋าตัง อย่างแพร่หลาย
พันโท หนุน ศันสนาคม ผู้อํานวยการ กล่าวว่า โครงการสลาก 80 เป็นโครงการนําร่องในการแก้ไขปัญหาสลากเกินราคา ที่ทําให้ประชาชนสามารถหาซื้อสลากตามราคาได้จากจุดจําหน่ายของโครงการที่กระจายอยู่ในจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ โดยการซื้อขายสลาก จะเป็นการทํารายการผ่านแอปเป๋าตัง และถุงเงิน เพื่อเป็นไปตามวิถีชีวิตใหม่ หรือ New Normal ไร้การสัมผัส ทําให้ผู้ซื้อสามารถซื้อสลากได้ในราคา 80 บาท ทั้งนี้ กว่า 1 ปีที่ได้ดําเนินการมา ปัจจุบันมีจุดจําหน่ายกระจายอยู่ทั่วประเทศ ทั้งหมด 754 จุด และตั้งแต่เดือนสิงหาคมนี้เป็นต้นไป จะมีจุดจําหน่ายสลาก 80 ทั่วประเทศ 1,077 จุด สําหรับการลงพื้นที่เยี่ยมเยียนพบปะตัวแทนจําหน่าย ณ จุดจําหน่ายสลาก ทั้ง 3 จุดในวันนี้ ก็เพื่อพบปะ พูดคุย รับฟังข้อกังวลใจและข้อคิดเห็นของตัวแทนจําหน่ายตามโครงการสลาก 80 เกี่ยวกับสถานการณ์การจําหน่ายสลากในปัจจุบัน โดยในวันพรุ่งนี้ สํานักงานฯ จะลงพื้นที่เยี่ยมเยียนพบปะจุดจําหน่ายสลาก ในเขตทวีวัฒนา บางแค และนนทบุรี และห้วงเวลาต่อจากนี้ สํานักงานฯ จะลงพื้นที่เยี่ยมเยียนจุดจําหน่ายสลาก 80 ตามภูมิภาคต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อจะได้พบปะ รับฟังและพูดคุยแลกเปลี่ยน ข้อคิดเห็นต่างๆ ของตัวแทนจําหน่ายอย่างใกล้ชิดต่อไป ผู้อํานวยการกล่าวในตอนท้าย | https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/56527 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-อว. มอบ “นวัตกรรมตู้ล็อคเกอร์ปลอดเชื้อควบคุมผ่านสมาร์ทโฟน” รับมือเปิดประเทศ หวังผลต่อยอดเชิงพาณิชย์ | วันพฤหัสบดีที่ 4 พฤศจิกายน 2564
อว. มอบ “นวัตกรรมตู้ล็อคเกอร์ปลอดเชื้อควบคุมผ่านสมาร์ทโฟน” รับมือเปิดประเทศ หวังผลต่อยอดเชิงพาณิชย์
อว. มอบ “นวัตกรรมตู้ล็อคเกอร์ปลอดเชื้อควบคุมผ่านสมาร์ทโฟน” รับมือเปิดประเทศ หวังผลต่อยอดเชิงพาณิชย์
อว. มอบ “นวัตกรรมตู้ล็อคเกอร์ปลอดเชื้อควบคุมผ่านสมาร์ทโฟน” รับมือเปิดประเทศ หวังผลต่อยอดเชิงพาณิชย์
“เอนก” แจ้งข่าวดีเปิดช่องให้นักวิจัย-อาจารย์ นําผลงานประดิษฐกรรมหรือนวัตกรรมมาเสนอขอรับแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งทางวิชาการได้
โดยไม่ต้องทําผลงานทางวิชาการหรือตํารา
เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2564ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นประธานส่งมอบ “นวัตกรรมตู้ล็อคเกอร์ปลอดเชื้อควบคุมผ่านสมาร์ทโฟนเพื่อรับมือกับสถานการณ์โควิด-19”ซึ่งเป็นผลงานที่ได้รับรางวัลการวิจัยแห่งชาติ ประเภทรางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ประจําปี 2564โดยมี ศ.นพ.ดร.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัด อว. รศ.ดร. คุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญ อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผอ.สํานักงานการวิจัยแห่งชาติ เป็นผู้ร่วมส่งมอบมีนางสุจิตรา พิทยานรเศรษฐ์ อธิบดีกรมกิจการผู้สูงอายุ น.ส.สราญภัทร อนุมัติราชกิจ อธิบดีกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ และพล.ท.พิเศษ ศิริเกษม รองเลขาธิการกองอํานวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ผศ.บัวรอง ลิ่วเฉลิมวงศ์ ผู้ช่วยอธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา (ผู้แทนสํานักงานราชเลขานุการในพระองค์ 904) เป็นผู้รับมอบ
ดร.เอนก กล่าวว่าขอชื่นชมนักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ของไทยที่นําวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาสร้างนวัตกรรมที่ช่วยให้คนไทยได้อยู่รอดปลอดภัยในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และพร้อมรับการเปิดประเทศ ที่ผ่านมา หลังจากเกิดวิกฤติโควิด คนไทยปรับตัวได้ดีมาก โดยเฉพาะในด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เราสามารถเร่งผลิตภาพได้สูงขึ้นมาก ผลิตวัคซีนได้ทันกับประเทศแนวหน้าของโลก ซึ่งถือเป็นครั้งแรกของไทยที่เราสามารถผลิตวัคซีนได้เองตั้งแต่ต้นน้ําถึงปลายน้ํา ขณะเดียวกัน ยังผลิตห้องความดันลบ ชุด PPE หน้ากากความดันบวก ฯลฯ ที่ราคาถูกกว่าการนําเข้าจากต่างประเทศหลายเท่า“นวัตกรรมตู้ล็อคเกอร์ปลอดเชื้อควบคุมผ่านสมาร์ทโฟน”ก็เช่นกัน เป็นอีกหนึ่งฝีมือคนไทยจากสถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา หลังจากนี้ ตนหวังว่าจะได้เห็นการนํานวัตกรรมตู้ล็อคเกอร์นี้ไปต่อยอดในเชิงพาณิชย์ หรือถ่ายทอดเทคโนโลยีให้เอกชนนําไปผลิตและจําหน่ายในท้องตลาด และสําหรับนักวิจัย ขอแจ้งข่าวดีว่า ขณะนี้ อว. เปิดช่องให้นักวิจัยหรืออาจารย์สามารถนําผลงานประดิษฐกรรมหรือนวัตกรรมเหล่านี้มาเสนอขอรับการพิจารณาแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งทางวิชาการได้ โดยไม่ต้องทําเป็นผลงานทางวิชาการหรือตํารา เพื่อเปิดโอกาสให้กับทุกคนที่ทําคุณประโยชน์ให้แก่บ้านเมือง
รศ.ดร.คุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญ อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา กล่าวว่านวัตกรรมตู้ล็อคเกอร์ปลอดเชื้อควบคุมผ่านสมาร์ทโฟน ได้รับรางวัลการวิจัยแห่งชาติ : รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ระดับประกาศเกียรติคุณ ประจําปี 2564 จาก วช. การใช้งานของนวัตกรรมตู้ล็อคเกอร์ปลอดเชื้อควบคุมผ่านสมาร์ทโฟน สามารถเลือกใช้งานได้ถึง 3 ระบบจากการสั่งงานผ่านโทรศัพท์สมาร์ทโฟน อาทิ การอบฆ่าเชื้อด้วยก๊าซโอโซน การอบฆ่าเชื้อด้วยรังสี UV- และการอบฆ่าเชื้อด้วยความร้อน โดยควบคุมการทํางานด้วยเทคโนโลยีสมองกลฝังตัวร่วมกับระบบการสื่อสารผ่านอินเตอร์เน็ตของสรรพสิ่ง จะช่วยให้ผู้ใช้งานควบคุมการทํางานในแต่ละระบบได้ด้วยตนเองผ่านโทรศัพท์สมาร์ทโฟนของผู้ใช้งาน ซึ่งทําให้ผู้ใช้งานมีความมั่นใจในความปลอดภัยของอุปกรณ์ที่นําไปฆ่าเชื้อด้วยตนเองได้
ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อํานวยการสํานักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่าสํานักงานการวิจัยแห่งชาติ ภายใต้ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ในฐานะศูนย์ปฏิบัติการด้านนวัตกรรมการแพทย์ และการวิจัยและพัฒนา และหน่วยงานบริหารทุนวิจัยและนวัตกรรมได้ให้การสนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรมด้านเวชภัณฑ์ อุปกรณ์ทางการแพทย์สําหรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค โควิด-19 จึงได้สนับสนุนทุนวิจัยและนวัตกรรม แก่สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา ในการพัฒนานวัตกรรมตู้ล็อคเกอร์ปลอดเชื้อควบคุมผ่านสมาร์ทโฟน เพื่อช่วยลดอัตราการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 สําหรับการฆ่าเชื้ออุปกรณ์เครื่องใช้ส่วนบุคคลขนาดเล็กทั่วไป เช่น กุญแจ แว่นตา นาฬิกา รวมถึงเหรียญและธนบัตร ซึ่งสามารถลดโอกาสการติดเชื้อ และการแพร่กระจายเชื้อลงได้ซึ่งเป็นอีกแนวทางสําคัญที่ช่วยควบคุมการแพร่กระจายของโรคโควิด-19 ได้ | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-อว. มอบ “นวัตกรรมตู้ล็อคเกอร์ปลอดเชื้อควบคุมผ่านสมาร์ทโฟน” รับมือเปิดประเทศ หวังผลต่อยอดเชิงพาณิชย์
วันพฤหัสบดีที่ 4 พฤศจิกายน 2564
อว. มอบ “นวัตกรรมตู้ล็อคเกอร์ปลอดเชื้อควบคุมผ่านสมาร์ทโฟน” รับมือเปิดประเทศ หวังผลต่อยอดเชิงพาณิชย์
อว. มอบ “นวัตกรรมตู้ล็อคเกอร์ปลอดเชื้อควบคุมผ่านสมาร์ทโฟน” รับมือเปิดประเทศ หวังผลต่อยอดเชิงพาณิชย์
อว. มอบ “นวัตกรรมตู้ล็อคเกอร์ปลอดเชื้อควบคุมผ่านสมาร์ทโฟน” รับมือเปิดประเทศ หวังผลต่อยอดเชิงพาณิชย์
“เอนก” แจ้งข่าวดีเปิดช่องให้นักวิจัย-อาจารย์ นําผลงานประดิษฐกรรมหรือนวัตกรรมมาเสนอขอรับแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งทางวิชาการได้
โดยไม่ต้องทําผลงานทางวิชาการหรือตํารา
เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2564ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นประธานส่งมอบ “นวัตกรรมตู้ล็อคเกอร์ปลอดเชื้อควบคุมผ่านสมาร์ทโฟนเพื่อรับมือกับสถานการณ์โควิด-19”ซึ่งเป็นผลงานที่ได้รับรางวัลการวิจัยแห่งชาติ ประเภทรางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ประจําปี 2564โดยมี ศ.นพ.ดร.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัด อว. รศ.ดร. คุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญ อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผอ.สํานักงานการวิจัยแห่งชาติ เป็นผู้ร่วมส่งมอบมีนางสุจิตรา พิทยานรเศรษฐ์ อธิบดีกรมกิจการผู้สูงอายุ น.ส.สราญภัทร อนุมัติราชกิจ อธิบดีกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ และพล.ท.พิเศษ ศิริเกษม รองเลขาธิการกองอํานวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ผศ.บัวรอง ลิ่วเฉลิมวงศ์ ผู้ช่วยอธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา (ผู้แทนสํานักงานราชเลขานุการในพระองค์ 904) เป็นผู้รับมอบ
ดร.เอนก กล่าวว่าขอชื่นชมนักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ของไทยที่นําวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาสร้างนวัตกรรมที่ช่วยให้คนไทยได้อยู่รอดปลอดภัยในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และพร้อมรับการเปิดประเทศ ที่ผ่านมา หลังจากเกิดวิกฤติโควิด คนไทยปรับตัวได้ดีมาก โดยเฉพาะในด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เราสามารถเร่งผลิตภาพได้สูงขึ้นมาก ผลิตวัคซีนได้ทันกับประเทศแนวหน้าของโลก ซึ่งถือเป็นครั้งแรกของไทยที่เราสามารถผลิตวัคซีนได้เองตั้งแต่ต้นน้ําถึงปลายน้ํา ขณะเดียวกัน ยังผลิตห้องความดันลบ ชุด PPE หน้ากากความดันบวก ฯลฯ ที่ราคาถูกกว่าการนําเข้าจากต่างประเทศหลายเท่า“นวัตกรรมตู้ล็อคเกอร์ปลอดเชื้อควบคุมผ่านสมาร์ทโฟน”ก็เช่นกัน เป็นอีกหนึ่งฝีมือคนไทยจากสถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา หลังจากนี้ ตนหวังว่าจะได้เห็นการนํานวัตกรรมตู้ล็อคเกอร์นี้ไปต่อยอดในเชิงพาณิชย์ หรือถ่ายทอดเทคโนโลยีให้เอกชนนําไปผลิตและจําหน่ายในท้องตลาด และสําหรับนักวิจัย ขอแจ้งข่าวดีว่า ขณะนี้ อว. เปิดช่องให้นักวิจัยหรืออาจารย์สามารถนําผลงานประดิษฐกรรมหรือนวัตกรรมเหล่านี้มาเสนอขอรับการพิจารณาแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งทางวิชาการได้ โดยไม่ต้องทําเป็นผลงานทางวิชาการหรือตํารา เพื่อเปิดโอกาสให้กับทุกคนที่ทําคุณประโยชน์ให้แก่บ้านเมือง
รศ.ดร.คุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญ อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา กล่าวว่านวัตกรรมตู้ล็อคเกอร์ปลอดเชื้อควบคุมผ่านสมาร์ทโฟน ได้รับรางวัลการวิจัยแห่งชาติ : รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ระดับประกาศเกียรติคุณ ประจําปี 2564 จาก วช. การใช้งานของนวัตกรรมตู้ล็อคเกอร์ปลอดเชื้อควบคุมผ่านสมาร์ทโฟน สามารถเลือกใช้งานได้ถึง 3 ระบบจากการสั่งงานผ่านโทรศัพท์สมาร์ทโฟน อาทิ การอบฆ่าเชื้อด้วยก๊าซโอโซน การอบฆ่าเชื้อด้วยรังสี UV- และการอบฆ่าเชื้อด้วยความร้อน โดยควบคุมการทํางานด้วยเทคโนโลยีสมองกลฝังตัวร่วมกับระบบการสื่อสารผ่านอินเตอร์เน็ตของสรรพสิ่ง จะช่วยให้ผู้ใช้งานควบคุมการทํางานในแต่ละระบบได้ด้วยตนเองผ่านโทรศัพท์สมาร์ทโฟนของผู้ใช้งาน ซึ่งทําให้ผู้ใช้งานมีความมั่นใจในความปลอดภัยของอุปกรณ์ที่นําไปฆ่าเชื้อด้วยตนเองได้
ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อํานวยการสํานักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่าสํานักงานการวิจัยแห่งชาติ ภายใต้ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ในฐานะศูนย์ปฏิบัติการด้านนวัตกรรมการแพทย์ และการวิจัยและพัฒนา และหน่วยงานบริหารทุนวิจัยและนวัตกรรมได้ให้การสนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรมด้านเวชภัณฑ์ อุปกรณ์ทางการแพทย์สําหรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค โควิด-19 จึงได้สนับสนุนทุนวิจัยและนวัตกรรม แก่สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา ในการพัฒนานวัตกรรมตู้ล็อคเกอร์ปลอดเชื้อควบคุมผ่านสมาร์ทโฟน เพื่อช่วยลดอัตราการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 สําหรับการฆ่าเชื้ออุปกรณ์เครื่องใช้ส่วนบุคคลขนาดเล็กทั่วไป เช่น กุญแจ แว่นตา นาฬิกา รวมถึงเหรียญและธนบัตร ซึ่งสามารถลดโอกาสการติดเชื้อ และการแพร่กระจายเชื้อลงได้ซึ่งเป็นอีกแนวทางสําคัญที่ช่วยควบคุมการแพร่กระจายของโรคโควิด-19 ได้ | https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/47795 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-มท.1 ชื่นชมชุดปฏิบัติการพิเศษกรมการปกครอง จากปฏิบัติการ “ทลายธุรกิจค้ามนุษย์กลางกรุง” พร้อมกำชับผู้ว่าฯ ทั่วประเทศใช้ทุกกลไกมหาดไทยขจัดการค้ามนุษย์อย่างเข้มข้นต่อเนื่อง | วันพฤหัสบดีที่ 17 มีนาคม 2565
มท.1 ชื่นชมชุดปฏิบัติการพิเศษกรมการปกครอง จากปฏิบัติการ “ทลายธุรกิจค้ามนุษย์กลางกรุง” พร้อมกําชับผู้ว่าฯ ทั่วประเทศใช้ทุกกลไกมหาดไทยขจัดการค้ามนุษย์อย่างเข้มข้นต่อเนื่อง
มท.1 ชื่นชมชุดปฏิบัติการพิเศษกรมการปกครอง จากปฏิบัติการ “ทลายธุรกิจค้ามนุษย์กลางกรุง” พร้อมกําชับผู้ว่าฯ ทั่วประเทศใช้ทุกกลไกมหาดไทยขจัดการค้ามนุษย์อย่างเข้มข้นต่อเนื่อง
เมื่อวันที่ 16 มี.ค. 65 นายชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม รองปลัดกระทรวงมหาดไทยในฐานะโฆษกกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า รัฐบาลภายใต้การนําของ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ให้ความสําคัญในการแก้ไขปัญหาค้ามนุษย์ และกําชับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดําเนินการทั้งในเชิงป้องกันและปราบปรามการกระทําผิดเกี่ยวกับการค้ามนุษย์อย่างต่อเนื่อง ซึ่ง พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้สั่งการและกําชับในการประชุมผู้ว่าราชการจังหวัดและนายอําเภอ ใช้ทุกกลไกของกระทรวงมหาดไทย ดําเนินการอย่างจริงจังต่อเนื่อง เพื่อขจัดขบวนการค้ามนุษย์ให้หมดไป ด้วยการเข้มงวดในประเด็นด้านการข่าว การสืบหาข่าวสารสําคัญในพื้นที่ การติดตามและประเมินสถานการณ์การค้ามนุษย์ภายในพื้นที่อย่างใกล้ชิด และเน้นย้ํากําชับไม่ให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ทุกระดับเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์โดยเด็ดขาด และให้ดําเนินงานในเชิงบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การปฏิบัติงานด้านการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ถูกต้องตามระเบียบ กฎหมาย และสอดคล้องกับแนวนโยบายที่เกี่ยวข้อง
นายชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม โฆษกกระทรวงมหาดไทย กล่าวต่อไปว่า กรณีการเข้าจับกุมผู้กระทําความผิดข้อหาค้ามนุษย์ของพนักงานฝ่ายปกครองชุดปฏิบัติการพิเศษกรมการปกครอง เมื่อคืนวันที่ 15 มี.ค. 2565 เวลา 21.00 น. ที่ได้สนธิกําลังเข้าจับกุมตัว นางสาวรัชดา ศรีตะเขต อายุ 42 ปี ซึ่งมีพฤติการณ์เป็นแม่เล้าแสวงหาประโยชน์จากการนําเด็กสาวอายุต่ํากว่า 18 ปี มาขายบริการทางเพศให้กับนักเที่ยวที่มาใช้บริการในสถานบริการ ชื่อ 789 บาร์ ภายในซอยสุขุมวิท 7 โดยแม่เล้าทําหน้าที่เชียร์แขกให้ดื่มเหล้าเบียร์และโฆษณาขายบริการทางเพศกับนักเที่ยวทั้งชาวต่างชาติและชาวไทย หากลูกค้าถูกใจสามารถจ่ายค่าตัวแล้วพาเด็กออกไปร่วมประเวณีได้ทันที โดยถูกตั้งข้อหาหนัก ในความผิดฐานค้ามนุษย์ เป็นธุระจัดหาเพื่อการค้าประเวณี จัดให้มีการค้าประเวณี ชักจูง ส่งเสริมให้เด็กประพฤติตนไม่สมควร และความผิดฐานเปิดสถานบริการโดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งการนําไปสู่การจับกุมครั้งนี้ มีที่มาจากศูนย์ดํารงธรรมกระทรวงมหาดไทยได้รับร้องเรียนจากองค์กรต่อต้านการค้ามนุษย์ระหว่างประเทศ โอเปอร์เรชั่น อันเดอร์กราวน์เรลโรด (โอ.ยู.อาร์.) และพนักงานฝ่ายปกครองได้ทําการสืบสวนแล้วพบบุคคลมีพฤติการณ์เป็นนายหน้านําเด็กหญิงอายุต่ํากว่า 18 ปี เสนอขายบริการทางเพศ จึงได้ทําการรวบรวมพยานและปฏิบัติการเข้าจับกุมดังกล่าว โดยสามารถช่วยเหลือเหยื่อผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ได้ จํานวน 3 ราย เป็นเด็กหญิงอายุ 14 ปี 1 ราย และเด็กหญิงอายุ 15 ปี 2 ราย ซึ่งได้นําตัวเด็กหญิงผู้เสียหายทั้งหมดเข้าสู่กระบวนการช่วยเหลือและคุ้มครองสวัสดิภาพผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ ส่วนผู้ถูกจับกุมได้นําตัวส่งพนักงานสอบสวน สถานีตํารวจนครบาลลุมพินี เพื่อดําเนินคดี ซึ่ง พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้รับทราบการปฏิบัติดังกล่าว พร้อมชื่นชมและให้กําลังใจเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในการมุ่งมั่นปราบปรามการค้ามนุษย์ให้หมดไป
นายชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม โฆษกกระทรวงมหาดไทย กล่าวเพิ่มเติมว่า กระทรวงมหาดไทยมีความมุ่งมั่นตั้งใจในการขับเคลื่อนแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ ด้วยการปราบปรามจับกุมผู้กระทําผิดเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ตามนโยบายของ พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย อย่างเข้มข้นต่อเนื่อง ทั้งนี้ หากพี่น้องประชาชนพบเบาะแสการกระทําผิดเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ทั่วประเทศ สามารถแจ้งผ่านสายด่วนศูนย์ดํารงธรรม โทร 1567 ตลอด 24 ชั่วโมง | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-มท.1 ชื่นชมชุดปฏิบัติการพิเศษกรมการปกครอง จากปฏิบัติการ “ทลายธุรกิจค้ามนุษย์กลางกรุง” พร้อมกำชับผู้ว่าฯ ทั่วประเทศใช้ทุกกลไกมหาดไทยขจัดการค้ามนุษย์อย่างเข้มข้นต่อเนื่อง
วันพฤหัสบดีที่ 17 มีนาคม 2565
มท.1 ชื่นชมชุดปฏิบัติการพิเศษกรมการปกครอง จากปฏิบัติการ “ทลายธุรกิจค้ามนุษย์กลางกรุง” พร้อมกําชับผู้ว่าฯ ทั่วประเทศใช้ทุกกลไกมหาดไทยขจัดการค้ามนุษย์อย่างเข้มข้นต่อเนื่อง
มท.1 ชื่นชมชุดปฏิบัติการพิเศษกรมการปกครอง จากปฏิบัติการ “ทลายธุรกิจค้ามนุษย์กลางกรุง” พร้อมกําชับผู้ว่าฯ ทั่วประเทศใช้ทุกกลไกมหาดไทยขจัดการค้ามนุษย์อย่างเข้มข้นต่อเนื่อง
เมื่อวันที่ 16 มี.ค. 65 นายชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม รองปลัดกระทรวงมหาดไทยในฐานะโฆษกกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า รัฐบาลภายใต้การนําของ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ให้ความสําคัญในการแก้ไขปัญหาค้ามนุษย์ และกําชับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดําเนินการทั้งในเชิงป้องกันและปราบปรามการกระทําผิดเกี่ยวกับการค้ามนุษย์อย่างต่อเนื่อง ซึ่ง พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้สั่งการและกําชับในการประชุมผู้ว่าราชการจังหวัดและนายอําเภอ ใช้ทุกกลไกของกระทรวงมหาดไทย ดําเนินการอย่างจริงจังต่อเนื่อง เพื่อขจัดขบวนการค้ามนุษย์ให้หมดไป ด้วยการเข้มงวดในประเด็นด้านการข่าว การสืบหาข่าวสารสําคัญในพื้นที่ การติดตามและประเมินสถานการณ์การค้ามนุษย์ภายในพื้นที่อย่างใกล้ชิด และเน้นย้ํากําชับไม่ให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ทุกระดับเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์โดยเด็ดขาด และให้ดําเนินงานในเชิงบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การปฏิบัติงานด้านการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ถูกต้องตามระเบียบ กฎหมาย และสอดคล้องกับแนวนโยบายที่เกี่ยวข้อง
นายชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม โฆษกกระทรวงมหาดไทย กล่าวต่อไปว่า กรณีการเข้าจับกุมผู้กระทําความผิดข้อหาค้ามนุษย์ของพนักงานฝ่ายปกครองชุดปฏิบัติการพิเศษกรมการปกครอง เมื่อคืนวันที่ 15 มี.ค. 2565 เวลา 21.00 น. ที่ได้สนธิกําลังเข้าจับกุมตัว นางสาวรัชดา ศรีตะเขต อายุ 42 ปี ซึ่งมีพฤติการณ์เป็นแม่เล้าแสวงหาประโยชน์จากการนําเด็กสาวอายุต่ํากว่า 18 ปี มาขายบริการทางเพศให้กับนักเที่ยวที่มาใช้บริการในสถานบริการ ชื่อ 789 บาร์ ภายในซอยสุขุมวิท 7 โดยแม่เล้าทําหน้าที่เชียร์แขกให้ดื่มเหล้าเบียร์และโฆษณาขายบริการทางเพศกับนักเที่ยวทั้งชาวต่างชาติและชาวไทย หากลูกค้าถูกใจสามารถจ่ายค่าตัวแล้วพาเด็กออกไปร่วมประเวณีได้ทันที โดยถูกตั้งข้อหาหนัก ในความผิดฐานค้ามนุษย์ เป็นธุระจัดหาเพื่อการค้าประเวณี จัดให้มีการค้าประเวณี ชักจูง ส่งเสริมให้เด็กประพฤติตนไม่สมควร และความผิดฐานเปิดสถานบริการโดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งการนําไปสู่การจับกุมครั้งนี้ มีที่มาจากศูนย์ดํารงธรรมกระทรวงมหาดไทยได้รับร้องเรียนจากองค์กรต่อต้านการค้ามนุษย์ระหว่างประเทศ โอเปอร์เรชั่น อันเดอร์กราวน์เรลโรด (โอ.ยู.อาร์.) และพนักงานฝ่ายปกครองได้ทําการสืบสวนแล้วพบบุคคลมีพฤติการณ์เป็นนายหน้านําเด็กหญิงอายุต่ํากว่า 18 ปี เสนอขายบริการทางเพศ จึงได้ทําการรวบรวมพยานและปฏิบัติการเข้าจับกุมดังกล่าว โดยสามารถช่วยเหลือเหยื่อผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ได้ จํานวน 3 ราย เป็นเด็กหญิงอายุ 14 ปี 1 ราย และเด็กหญิงอายุ 15 ปี 2 ราย ซึ่งได้นําตัวเด็กหญิงผู้เสียหายทั้งหมดเข้าสู่กระบวนการช่วยเหลือและคุ้มครองสวัสดิภาพผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ ส่วนผู้ถูกจับกุมได้นําตัวส่งพนักงานสอบสวน สถานีตํารวจนครบาลลุมพินี เพื่อดําเนินคดี ซึ่ง พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้รับทราบการปฏิบัติดังกล่าว พร้อมชื่นชมและให้กําลังใจเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในการมุ่งมั่นปราบปรามการค้ามนุษย์ให้หมดไป
นายชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม โฆษกกระทรวงมหาดไทย กล่าวเพิ่มเติมว่า กระทรวงมหาดไทยมีความมุ่งมั่นตั้งใจในการขับเคลื่อนแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ ด้วยการปราบปรามจับกุมผู้กระทําผิดเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ตามนโยบายของ พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย อย่างเข้มข้นต่อเนื่อง ทั้งนี้ หากพี่น้องประชาชนพบเบาะแสการกระทําผิดเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ทั่วประเทศ สามารถแจ้งผ่านสายด่วนศูนย์ดํารงธรรม โทร 1567 ตลอด 24 ชั่วโมง | https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/52654 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กรมการขนส่งทางราง เตรียมความพร้อมรองรับการเดินทางด้วยระบบราง แผนอำนวยความสะดวกรองรับการเดินทางระบบขนส่งทางราง ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ 2565 | วันเสาร์ที่ 9 เมษายน 2565
กรมการขนส่งทางราง เตรียมความพร้อมรองรับการเดินทางด้วยระบบราง แผนอํานวยความสะดวกรองรับการเดินทางระบบขนส่งทางราง ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ 2565
เพื่อให้ประชาชนผู้ใช้บริการระบบรางเดินทางสะดวกปลอดภัย ห่างไกล COVID-19
วันนี้ (9 เมษายน 2565) นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคมรักษาราชการแทนอธิบดีกรมการขนส่งทางราง พร้อมด้วย นายพิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางราง ร่วมพิธีเปิดงานรณรงค์ลดอุบัติเหตุทางถนนโครงการ “ชีวิตวิถีใหม่ สงกรานต์ปลอดอุบัติเหตุ” โดยมีนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วยนายชยธรรม์ พรหมศร ปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้าหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมพิธี ณ สถานีรถไฟกรุงเทพฯ (หัวลําโพง)
กรมการขนส่งทางราง (ขร.) คาดว่าในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปี 2565 นี้ จะมีผู้ใช้บริการระบบขนส่งทางรางไม่น้อยกว่าช่วงเทศกาลปีใหม่ หรือ ประมาณมากกว่า 3 ล้านคน โดยจะมีทั้งรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และรถไฟระหว่างเมืองของการรถไฟแห่งประเทศไทย เนื่องจากเป็นช่วงที่สามารถหยุดยาวเช่นเดียวกัน (11 - 17 เม.ย. 65) ซึ่ง ขร. ได้มีการออกแผนอํานวยความสะดวกและความปลอดภัยรองรับการเดินทางระบบขนส่งทางราง ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ โดยแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่
1. ขร. จะมีการจัดเจ้าหน้าที่คอยประสานงานร่วมกับผู้ให้บริการในระบบรถไฟระหว่างเมือง และรถไฟฟ้าในเมือง หากเกิดกรณีฉุกเฉินด้านงานระบบรางต่างๆ รวมทั้งจะมีการสุ่มตรวจสถานี เพื่อตรวจสอบความเรียบร้อยในการให้บริการเพื่อให้ประชาชนใช้บริการได้อย่างปลอดภัยกลับภูมิลําเนาอย่างมีความสุข และดําเนินการจัดรายงานสรุปเสนอ คค. เพื่อให้รับทราบผลการดําเนินงานด้านระบบราง
2. ประสานผู้ให้บริการระบบขนส่งทางราง โดยทาง ขร. ให้หน่วยงานผู้ให้บริการระบบขนส่งทางรางเพิ่มความถี่ขบวนรถในชั่วโมงเร่งด่วน พร้อมทั้งเพิ่มขบวนรถพิเศษช่วยการโดยสาร พร้อมทั้งขยายเวลาการจําหน่ายตั๋วเดินทาง จัดเจ้าหน้าที่ตรวจสอบเส้นทางเดินรถ จุดตัดทางถนนและทางรถไฟ เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุต่าง ๆ รวมทั้งประสานขอให้เพิ่มเจ้าหน้าที่ตํารวจรถไฟ/เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย และสุนัขตํารวจ K-9 เพื่อรักษาความปลอดภัยและอํานวยความสะดวกให้กับประชาชนที่เดินทาง เพิ่มรอบการทําความสะอาดเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19
3. ขอความร่วมมือประชาชนในการร่วมกันป้องกันการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 โดยการล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ สวมหน้ากากอนามัยตลอดการเดินทาง ตรวจวัดอุณหภูมิก่อนและระหว่างใช้บริการระบบขนส่งทางราง รวมถึงการสแกนแอปพลิเคชัน “ไทยชนะ”ก่อนและหลังการใช้บริการ
ทั้งนี้ กระทรวงคมนาคม ได้มีนโยบายขอความร่วมมือประชาชนในการเดินทางเหลื่อมเวลา เพื่อร่วมรณรงค์กระจายการเดินทาง “คนบ้านใกล้ออกทีหลังกลับไว” หากท่านใดสามารถกลับภูมิลําเนาก่อนได้ขอให้ช่วยเดินทางก่อน เพื่อลดความหนาแน่นในการเดินทางและเพื่อร่วมป้องกันการแพร่ระบาดเชื้อไวรัส และขอให้ทุกท่านเดินทางด้วยระบบขนส่งทางรางกลับภูมิลําเนา อย่างปลอดภัยและมีความสุข | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กรมการขนส่งทางราง เตรียมความพร้อมรองรับการเดินทางด้วยระบบราง แผนอำนวยความสะดวกรองรับการเดินทางระบบขนส่งทางราง ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ 2565
วันเสาร์ที่ 9 เมษายน 2565
กรมการขนส่งทางราง เตรียมความพร้อมรองรับการเดินทางด้วยระบบราง แผนอํานวยความสะดวกรองรับการเดินทางระบบขนส่งทางราง ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ 2565
เพื่อให้ประชาชนผู้ใช้บริการระบบรางเดินทางสะดวกปลอดภัย ห่างไกล COVID-19
วันนี้ (9 เมษายน 2565) นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคมรักษาราชการแทนอธิบดีกรมการขนส่งทางราง พร้อมด้วย นายพิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางราง ร่วมพิธีเปิดงานรณรงค์ลดอุบัติเหตุทางถนนโครงการ “ชีวิตวิถีใหม่ สงกรานต์ปลอดอุบัติเหตุ” โดยมีนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วยนายชยธรรม์ พรหมศร ปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้าหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมพิธี ณ สถานีรถไฟกรุงเทพฯ (หัวลําโพง)
กรมการขนส่งทางราง (ขร.) คาดว่าในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปี 2565 นี้ จะมีผู้ใช้บริการระบบขนส่งทางรางไม่น้อยกว่าช่วงเทศกาลปีใหม่ หรือ ประมาณมากกว่า 3 ล้านคน โดยจะมีทั้งรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และรถไฟระหว่างเมืองของการรถไฟแห่งประเทศไทย เนื่องจากเป็นช่วงที่สามารถหยุดยาวเช่นเดียวกัน (11 - 17 เม.ย. 65) ซึ่ง ขร. ได้มีการออกแผนอํานวยความสะดวกและความปลอดภัยรองรับการเดินทางระบบขนส่งทางราง ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ โดยแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่
1. ขร. จะมีการจัดเจ้าหน้าที่คอยประสานงานร่วมกับผู้ให้บริการในระบบรถไฟระหว่างเมือง และรถไฟฟ้าในเมือง หากเกิดกรณีฉุกเฉินด้านงานระบบรางต่างๆ รวมทั้งจะมีการสุ่มตรวจสถานี เพื่อตรวจสอบความเรียบร้อยในการให้บริการเพื่อให้ประชาชนใช้บริการได้อย่างปลอดภัยกลับภูมิลําเนาอย่างมีความสุข และดําเนินการจัดรายงานสรุปเสนอ คค. เพื่อให้รับทราบผลการดําเนินงานด้านระบบราง
2. ประสานผู้ให้บริการระบบขนส่งทางราง โดยทาง ขร. ให้หน่วยงานผู้ให้บริการระบบขนส่งทางรางเพิ่มความถี่ขบวนรถในชั่วโมงเร่งด่วน พร้อมทั้งเพิ่มขบวนรถพิเศษช่วยการโดยสาร พร้อมทั้งขยายเวลาการจําหน่ายตั๋วเดินทาง จัดเจ้าหน้าที่ตรวจสอบเส้นทางเดินรถ จุดตัดทางถนนและทางรถไฟ เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุต่าง ๆ รวมทั้งประสานขอให้เพิ่มเจ้าหน้าที่ตํารวจรถไฟ/เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย และสุนัขตํารวจ K-9 เพื่อรักษาความปลอดภัยและอํานวยความสะดวกให้กับประชาชนที่เดินทาง เพิ่มรอบการทําความสะอาดเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19
3. ขอความร่วมมือประชาชนในการร่วมกันป้องกันการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 โดยการล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ สวมหน้ากากอนามัยตลอดการเดินทาง ตรวจวัดอุณหภูมิก่อนและระหว่างใช้บริการระบบขนส่งทางราง รวมถึงการสแกนแอปพลิเคชัน “ไทยชนะ”ก่อนและหลังการใช้บริการ
ทั้งนี้ กระทรวงคมนาคม ได้มีนโยบายขอความร่วมมือประชาชนในการเดินทางเหลื่อมเวลา เพื่อร่วมรณรงค์กระจายการเดินทาง “คนบ้านใกล้ออกทีหลังกลับไว” หากท่านใดสามารถกลับภูมิลําเนาก่อนได้ขอให้ช่วยเดินทางก่อน เพื่อลดความหนาแน่นในการเดินทางและเพื่อร่วมป้องกันการแพร่ระบาดเชื้อไวรัส และขอให้ทุกท่านเดินทางด้วยระบบขนส่งทางรางกลับภูมิลําเนา อย่างปลอดภัยและมีความสุข | https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/53466 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล- กรมทางหลวงชนบท รายงานสถานการณ์สายทางที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยในพื้นที่ 12 จังหวัดประจำวันที่ 7 พฤศจิกายน 2564 เวลา 17.00 น. สัญจรผ่านได้ 21 สายทาง ไม่สามารถสัญจรผ่านได้ 19 สายทาง | วันอาทิตย์ที่ 7 พฤศจิกายน 2564
กรมทางหลวงชนบท รายงานสถานการณ์สายทางที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยในพื้นที่ 12 จังหวัดประจําวันที่ 7 พฤศจิกายน 2564 เวลา 17.00 น. สัญจรผ่านได้ 21 สายทาง ไม่สามารถสัญจรผ่านได้ 19 สายทาง
กรมทางหลวงชนบท (ทช.) กระทรวงคมนาคม โดยสํานักบํารุงทาง รายงานถึงสถานการณ์อุทกภัยประจําวันที่ 7 พฤศจิกายน 2564 เวลา 17.00 น. ว่า มีถนนทางหลวงชนบทที่ประสบอุทกภัยในพื้นที่ 12 จังหวัด รวม 40 สายทาง สัญจรผ่านได้ 21 สายทาง และไม่สามารถสัญจรผ่านได้ 19 สายทาง
กรมทางหลวงชนบท (ทช.) กระทรวงคมนาคม โดยสํานักบํารุงทาง รายงานถึงสถานการณ์อุทกภัยประจําวันที่ 7 พฤศจิกายน 2564 เวลา 17.00 น. ว่า มีถนนทางหลวงชนบทที่ประสบอุทกภัยในพื้นที่ 12 จังหวัด ได้แก่ พระนครศรีอยุธยา นครราชสีมา ชัยภูมิ สุรินทร์ บุรีรัมย์ ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด นครสวรรค์ หนองบัวลําภู สุพรรณบุรี และนครปฐม รวม 40 สายทาง สามารถสัญจรผ่านได้ 21 สายทาง และไม่สามารถสัญจรผ่านได้ 19 สายทาง แบ่งเป็น น้ําท่วมสูง 17 สายทาง (17 แห่ง) ทางขาด โครงสร้างทางชํารุด กัดเซาะ 2 สายทาง (2 แห่ง) รายละเอียดดังนี้
1. สายทาง ชย.3010 แยก ทล.205 - อ่างเก็บน้ําลําคันฉู อําเภอบําเหน็จณรงค์ จังหวัดชัยภูมิ เส้นทางขาด (ช่วง กม. ที่ 2+600 - 2+800)
2. สายทาง ชย.024 สะพานข้ามแม่น้ําชี ท่านกโง่ อําเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ เส้นทางขาด (ช่วง กม. ที่ 2+000 - 3+600)
3. สายทาง สร.012 ถนนเชิงลาดสะพานใหม่นาหนองไผ่ - กระโพ อําเภอท่าตูม และชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์ น้ําท่วมสูง 70 เซนติเมตร (ช่วง กม. ที่ 1+000 - 7+000)
4. สายทาง สร.021 ถนนเชิงลาดสะพานมิตรภาพสระขุด อําเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์ น้ําท่วมสูง 70 เซนติเมตร (ช่วง กม. ที่ 1+200 - 3+800)
5. สายทาง สร.022 สะพานมิตรภาพบะ - หนองเรือ อําเภอท่าตูม และชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์ น้ําท่วมสูง 115 เซนติเมตร (ช่วง กม. ที่ 0+500 - 4+200)
6. สายทาง บร.018 สะพานชุมชนข้ามแม่น้ํามูล อําเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ น้ําท่วมสูง 85 เซนติเมตร (ช่วง กม. ที่ 1+250 - 1+725)
7. สายทาง มค.3001 แยก ทล.213 (กม. ที่ 8+200) - บ้านมะค่า อําเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม น้ําท่วมสูง 40 เซนติเมตร (ช่วง กม. ที่ 8+900 - 9+380)
8. สายทาง มค.005 ถนนเชิงลาดสะพานลดาวัลย์ข้ามลําน้ําชี อําเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม น้ําท่วมสูง 50 เซนติเมตร
9. สายทาง มค.009 ถนนเชิงลาดสะพานบ้านคุยเชือก อําเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม น้ําท่วมสูง 50 เซนติเมตร
10. สายทาง มค.012 ถนนเชิงลาดสะพานบ้านท่าตูม ข้ามลําน้ําชี อําเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม น้ําท่วมสูง 45 เซนติเมตร (ช่วง กม. ที่ 1+300 - 2+100)
11. สายทาง มค.3062 แยก ทล.208 - บ้านหนองผือ อําเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม น้ําท่วมสูง 45 เซนติเมตร (ช่วง กม. ที่ 8+400 - 8+450)
12. สายทาง รอ.015 สะพานสามสัมพันธ์ (สะพานข้ามแม่น้ํามูล) อําเภอโพนทราย จังหวัดร้อยเอ็ด น้ําท่วมสูง 60 เซนติเมตร (ช่วง กม. ที่ 0+000 - 0+825)
13. สายทาง รอ.033 ถนนเชิงลาดสะพานข้ามลําน้ําชี สะพานคุยโพธิ์ - หนองแก่ง อําเภอโพธิ์ชัย จังหวัดร้อยเอ็ด น้ําท่วมสูง 90 เซนติเมตร (ช่วง กม. ที่ 2+070 - 3+365)
14. สายทาง อย.019 สะพานข้ามแม่น้ําน้อย อําเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา น้ําท่วมสูง 40 เซนติเมตร (ช่วง กม. ที่ 0+000 - 0+050)
15. สายทาง อย.026 สะพานวัดอินทาราม อําเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา น้ําท่วมสูง 45 เซนติเมตร (ช่วง กม. ที่ 0+000 - 0+075)
16. สายทาง อย.5034 แยกทางหลวงชนบท อย.3006 (กม. ที่ 0+900) - บ้านดอนทอง อําเภอลาดบัวหลวง และเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา น้ําท่วมสูง 40 เซนติเมตร (ช่วง กม. ที่ 3+575 - 6+550)
17. สายทาง อย.3049 แยก ทล.340 (กม. ที่ 55+900) - บ้านบางตาเถร อําเภอลาดบัวหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา น้ําท่วมสูง 40 เซนติเมตร (ช่วง กม. ที่ 5+200 - 8+530)
18. สายทาง สพ.005 สะพานบางแม่หม้าย - บางเลน อําเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี น้ําท่วมสูง 50 เซนติเมตร (ช่วง กม. ที่ 0+100 - 0+800)
19. สายทาง นฐ.058 สะพานบางไผ่นารถข้ามแม่น้ําท่าจีน อําเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม น้ําท่วมสูง 40 เซนติเมตร (กม. ที่ 0+300)
ทั้งนี้ ทช. ได้ติดตั้งป้ายเตือน ป้ายแนะนําเส้นทางเลี่ยง และเร่งซ่อมแซมฟื้นฟูสายทางที่
ประสบอุทกภัยทันทีหลังจากระดับน้ําลดลง เพื่ออํานวยความสะดวกปลอดภัยในการสัญจรของประชาชน
ตามนโยบายของนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม โดย ทช. จะติดตามสถานการณ์
อย่างใกล้ชิดและรายงานให้ทราบเป็นระยะ ๆ ประชาชนสามารถแจ้งเหตุอุทกภัยหรือสอบถามเส้นทางได้ที่สายด่วนกรมทางหลวงชนบท โทร. 1146 | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล- กรมทางหลวงชนบท รายงานสถานการณ์สายทางที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยในพื้นที่ 12 จังหวัดประจำวันที่ 7 พฤศจิกายน 2564 เวลา 17.00 น. สัญจรผ่านได้ 21 สายทาง ไม่สามารถสัญจรผ่านได้ 19 สายทาง
วันอาทิตย์ที่ 7 พฤศจิกายน 2564
กรมทางหลวงชนบท รายงานสถานการณ์สายทางที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยในพื้นที่ 12 จังหวัดประจําวันที่ 7 พฤศจิกายน 2564 เวลา 17.00 น. สัญจรผ่านได้ 21 สายทาง ไม่สามารถสัญจรผ่านได้ 19 สายทาง
กรมทางหลวงชนบท (ทช.) กระทรวงคมนาคม โดยสํานักบํารุงทาง รายงานถึงสถานการณ์อุทกภัยประจําวันที่ 7 พฤศจิกายน 2564 เวลา 17.00 น. ว่า มีถนนทางหลวงชนบทที่ประสบอุทกภัยในพื้นที่ 12 จังหวัด รวม 40 สายทาง สัญจรผ่านได้ 21 สายทาง และไม่สามารถสัญจรผ่านได้ 19 สายทาง
กรมทางหลวงชนบท (ทช.) กระทรวงคมนาคม โดยสํานักบํารุงทาง รายงานถึงสถานการณ์อุทกภัยประจําวันที่ 7 พฤศจิกายน 2564 เวลา 17.00 น. ว่า มีถนนทางหลวงชนบทที่ประสบอุทกภัยในพื้นที่ 12 จังหวัด ได้แก่ พระนครศรีอยุธยา นครราชสีมา ชัยภูมิ สุรินทร์ บุรีรัมย์ ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด นครสวรรค์ หนองบัวลําภู สุพรรณบุรี และนครปฐม รวม 40 สายทาง สามารถสัญจรผ่านได้ 21 สายทาง และไม่สามารถสัญจรผ่านได้ 19 สายทาง แบ่งเป็น น้ําท่วมสูง 17 สายทาง (17 แห่ง) ทางขาด โครงสร้างทางชํารุด กัดเซาะ 2 สายทาง (2 แห่ง) รายละเอียดดังนี้
1. สายทาง ชย.3010 แยก ทล.205 - อ่างเก็บน้ําลําคันฉู อําเภอบําเหน็จณรงค์ จังหวัดชัยภูมิ เส้นทางขาด (ช่วง กม. ที่ 2+600 - 2+800)
2. สายทาง ชย.024 สะพานข้ามแม่น้ําชี ท่านกโง่ อําเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ เส้นทางขาด (ช่วง กม. ที่ 2+000 - 3+600)
3. สายทาง สร.012 ถนนเชิงลาดสะพานใหม่นาหนองไผ่ - กระโพ อําเภอท่าตูม และชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์ น้ําท่วมสูง 70 เซนติเมตร (ช่วง กม. ที่ 1+000 - 7+000)
4. สายทาง สร.021 ถนนเชิงลาดสะพานมิตรภาพสระขุด อําเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์ น้ําท่วมสูง 70 เซนติเมตร (ช่วง กม. ที่ 1+200 - 3+800)
5. สายทาง สร.022 สะพานมิตรภาพบะ - หนองเรือ อําเภอท่าตูม และชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์ น้ําท่วมสูง 115 เซนติเมตร (ช่วง กม. ที่ 0+500 - 4+200)
6. สายทาง บร.018 สะพานชุมชนข้ามแม่น้ํามูล อําเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ น้ําท่วมสูง 85 เซนติเมตร (ช่วง กม. ที่ 1+250 - 1+725)
7. สายทาง มค.3001 แยก ทล.213 (กม. ที่ 8+200) - บ้านมะค่า อําเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม น้ําท่วมสูง 40 เซนติเมตร (ช่วง กม. ที่ 8+900 - 9+380)
8. สายทาง มค.005 ถนนเชิงลาดสะพานลดาวัลย์ข้ามลําน้ําชี อําเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม น้ําท่วมสูง 50 เซนติเมตร
9. สายทาง มค.009 ถนนเชิงลาดสะพานบ้านคุยเชือก อําเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม น้ําท่วมสูง 50 เซนติเมตร
10. สายทาง มค.012 ถนนเชิงลาดสะพานบ้านท่าตูม ข้ามลําน้ําชี อําเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม น้ําท่วมสูง 45 เซนติเมตร (ช่วง กม. ที่ 1+300 - 2+100)
11. สายทาง มค.3062 แยก ทล.208 - บ้านหนองผือ อําเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม น้ําท่วมสูง 45 เซนติเมตร (ช่วง กม. ที่ 8+400 - 8+450)
12. สายทาง รอ.015 สะพานสามสัมพันธ์ (สะพานข้ามแม่น้ํามูล) อําเภอโพนทราย จังหวัดร้อยเอ็ด น้ําท่วมสูง 60 เซนติเมตร (ช่วง กม. ที่ 0+000 - 0+825)
13. สายทาง รอ.033 ถนนเชิงลาดสะพานข้ามลําน้ําชี สะพานคุยโพธิ์ - หนองแก่ง อําเภอโพธิ์ชัย จังหวัดร้อยเอ็ด น้ําท่วมสูง 90 เซนติเมตร (ช่วง กม. ที่ 2+070 - 3+365)
14. สายทาง อย.019 สะพานข้ามแม่น้ําน้อย อําเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา น้ําท่วมสูง 40 เซนติเมตร (ช่วง กม. ที่ 0+000 - 0+050)
15. สายทาง อย.026 สะพานวัดอินทาราม อําเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา น้ําท่วมสูง 45 เซนติเมตร (ช่วง กม. ที่ 0+000 - 0+075)
16. สายทาง อย.5034 แยกทางหลวงชนบท อย.3006 (กม. ที่ 0+900) - บ้านดอนทอง อําเภอลาดบัวหลวง และเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา น้ําท่วมสูง 40 เซนติเมตร (ช่วง กม. ที่ 3+575 - 6+550)
17. สายทาง อย.3049 แยก ทล.340 (กม. ที่ 55+900) - บ้านบางตาเถร อําเภอลาดบัวหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา น้ําท่วมสูง 40 เซนติเมตร (ช่วง กม. ที่ 5+200 - 8+530)
18. สายทาง สพ.005 สะพานบางแม่หม้าย - บางเลน อําเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี น้ําท่วมสูง 50 เซนติเมตร (ช่วง กม. ที่ 0+100 - 0+800)
19. สายทาง นฐ.058 สะพานบางไผ่นารถข้ามแม่น้ําท่าจีน อําเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม น้ําท่วมสูง 40 เซนติเมตร (กม. ที่ 0+300)
ทั้งนี้ ทช. ได้ติดตั้งป้ายเตือน ป้ายแนะนําเส้นทางเลี่ยง และเร่งซ่อมแซมฟื้นฟูสายทางที่
ประสบอุทกภัยทันทีหลังจากระดับน้ําลดลง เพื่ออํานวยความสะดวกปลอดภัยในการสัญจรของประชาชน
ตามนโยบายของนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม โดย ทช. จะติดตามสถานการณ์
อย่างใกล้ชิดและรายงานให้ทราบเป็นระยะ ๆ ประชาชนสามารถแจ้งเหตุอุทกภัยหรือสอบถามเส้นทางได้ที่สายด่วนกรมทางหลวงชนบท โทร. 1146 | https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/47917 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ชาวเชียงใหม่ชื่นชมชัยวุฒิ รื้อสายไฟโล่งเเล้ว | วันศุกร์ที่ 22 กรกฎาคม 2565
ชาวเชียงใหม่ชื่นชมชัยวุฒิ รื้อสายไฟโล่งเเล้ว
ชาวเชียงใหม่ชื่นชมชัยวุฒิ รื้อสายไฟโล่งเเล้ว
นายชัยวุฒิธนาคมานุสรณ์รมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจเเละสังคม(ดีอีเอส)ได้รับแจ้งความคืบหน้าเกี่ยวกับการจัดระเบียบสายสื่อสารและสายไฟในพื้นที่ชุมชนวังสิงห์คําอ.เมืองจ.เชียงใหม่ว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาดําเนินการอย่างเร่งด่วนเรียบร้อยแล้วเพิ่มความสวยงามของทัศนียภาพ และความปลอดภัย
เมื่อวันที่30มิ.ย.ที่ผ่านมาผมได้ลงพื้นที่ชุมชมวังสิงห์คําและได้รับเรื่องร้องเรียนสายสัญญาณสื่อสารที่รกรุงรังโดยไม่ได้รับการแก้ไขและเกิดเหตุไฟฟ้าช็อตจนเกิดไฟลุกไหม้หลายครั้ง ซึ่งล่าสุดมีรายงานว่าทั้งสายสื่อสารจากที่ห้อยรกรุงรังก็มีการเก็บเรียบร้อยเเละฝาท่อที่เปิดทิ้งไว้จากการดําเนินการเรื่องสายสื่อสารก็ถูกโบกปูนปิดอย่างดี"นายชัยวุฒิกล่าว
ทั้งนี้ต้องขอบคุณการทํางานของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งบมจ.โทรคมนาคมแห่งชาติหรือNTร่วมกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค(กฟภ.)จังหวัดเชียงใหม่กสทช.ตํารวจเทศบาลและโอเปอเรเตอร์ทุกค่ายนายสุรีย์ฉอสันเทียะเจ้าของร้านตะวันสูทประชาชนในพื้นที่กล่าวว่า ตั้งแต่ที่รมว.ชัยวุฒิลงพื้นที่มาดูปัญหาด้วยตัวเองโดยขณะนี้ที่บริเวณหน้าร้านตะวันสูทเหลือสายไฟเพียงไม่กี่เส้นที่พาดผ่านสามารถเห็นป้ายชัดเจนสวยงามอีกครั้งตัวเองและชาวบ้านต้องขอบคุณทุกหน่วยงานด้วยที่มาช่วยกันดําเนินการเเละขอขอบคุณท่านรัฐมนตรีเป็นอย่างยิ่งชาวบ้านดีใจมากๆ
************** | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ชาวเชียงใหม่ชื่นชมชัยวุฒิ รื้อสายไฟโล่งเเล้ว
วันศุกร์ที่ 22 กรกฎาคม 2565
ชาวเชียงใหม่ชื่นชมชัยวุฒิ รื้อสายไฟโล่งเเล้ว
ชาวเชียงใหม่ชื่นชมชัยวุฒิ รื้อสายไฟโล่งเเล้ว
นายชัยวุฒิธนาคมานุสรณ์รมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจเเละสังคม(ดีอีเอส)ได้รับแจ้งความคืบหน้าเกี่ยวกับการจัดระเบียบสายสื่อสารและสายไฟในพื้นที่ชุมชนวังสิงห์คําอ.เมืองจ.เชียงใหม่ว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาดําเนินการอย่างเร่งด่วนเรียบร้อยแล้วเพิ่มความสวยงามของทัศนียภาพ และความปลอดภัย
เมื่อวันที่30มิ.ย.ที่ผ่านมาผมได้ลงพื้นที่ชุมชมวังสิงห์คําและได้รับเรื่องร้องเรียนสายสัญญาณสื่อสารที่รกรุงรังโดยไม่ได้รับการแก้ไขและเกิดเหตุไฟฟ้าช็อตจนเกิดไฟลุกไหม้หลายครั้ง ซึ่งล่าสุดมีรายงานว่าทั้งสายสื่อสารจากที่ห้อยรกรุงรังก็มีการเก็บเรียบร้อยเเละฝาท่อที่เปิดทิ้งไว้จากการดําเนินการเรื่องสายสื่อสารก็ถูกโบกปูนปิดอย่างดี"นายชัยวุฒิกล่าว
ทั้งนี้ต้องขอบคุณการทํางานของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งบมจ.โทรคมนาคมแห่งชาติหรือNTร่วมกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค(กฟภ.)จังหวัดเชียงใหม่กสทช.ตํารวจเทศบาลและโอเปอเรเตอร์ทุกค่ายนายสุรีย์ฉอสันเทียะเจ้าของร้านตะวันสูทประชาชนในพื้นที่กล่าวว่า ตั้งแต่ที่รมว.ชัยวุฒิลงพื้นที่มาดูปัญหาด้วยตัวเองโดยขณะนี้ที่บริเวณหน้าร้านตะวันสูทเหลือสายไฟเพียงไม่กี่เส้นที่พาดผ่านสามารถเห็นป้ายชัดเจนสวยงามอีกครั้งตัวเองและชาวบ้านต้องขอบคุณทุกหน่วยงานด้วยที่มาช่วยกันดําเนินการเเละขอขอบคุณท่านรัฐมนตรีเป็นอย่างยิ่งชาวบ้านดีใจมากๆ
************** | https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/57142 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รัฐมนตรีฯ สุริยะ ให้เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย เข้าพบ | วันพุธที่ 15 ธันวาคม 2564
รัฐมนตรีฯ สุริยะ ให้เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอํานาจเต็มแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนประจําประเทศไทย เข้าพบ
นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ให้นายหาน จื้อเฉียง เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอํานาจเต็มแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนประจําประเทศไทย เข้าเยี่ยมคารวะในโอกาสเข้ารับหน้าที่ และหารือประเด็นความสัมพันธ์เศรษฐกิจการค้าระหว่างจีน-ไทย
รัฐมนตรีฯ สุริยะ ให้เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอํานาจเต็มแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนประจําประเทศไทย เข้าพบ
วันนี้ (14 ธันวาคม 2564) นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ให้นายหาน จื้อเฉียง เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอํานาจเต็มแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนประจําประเทศไทย เข้าเยี่ยมคารวะในโอกาสเข้ารับหน้าที่ และหารือประเด็นความสัมพันธ์เศรษฐกิจการค้าระหว่างจีน-ไทย ความร่วมมือในการต่อสู้กับสถานการณ์โควิด-19 พร้อมแนะนําสภาพอุตสาหกรรมของประเทศจีน และข้อเสนอแนะในการกระชับความร่วมมืออุตสาหกรรมไทย-จีน โดยมีนายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ร่วมหารือ ณ ห้องรับรอง 1 ชั้น 2 อาคารสํานักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รัฐมนตรีฯ สุริยะ ให้เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย เข้าพบ
วันพุธที่ 15 ธันวาคม 2564
รัฐมนตรีฯ สุริยะ ให้เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอํานาจเต็มแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนประจําประเทศไทย เข้าพบ
นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ให้นายหาน จื้อเฉียง เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอํานาจเต็มแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนประจําประเทศไทย เข้าเยี่ยมคารวะในโอกาสเข้ารับหน้าที่ และหารือประเด็นความสัมพันธ์เศรษฐกิจการค้าระหว่างจีน-ไทย
รัฐมนตรีฯ สุริยะ ให้เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอํานาจเต็มแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนประจําประเทศไทย เข้าพบ
วันนี้ (14 ธันวาคม 2564) นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ให้นายหาน จื้อเฉียง เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอํานาจเต็มแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนประจําประเทศไทย เข้าเยี่ยมคารวะในโอกาสเข้ารับหน้าที่ และหารือประเด็นความสัมพันธ์เศรษฐกิจการค้าระหว่างจีน-ไทย ความร่วมมือในการต่อสู้กับสถานการณ์โควิด-19 พร้อมแนะนําสภาพอุตสาหกรรมของประเทศจีน และข้อเสนอแนะในการกระชับความร่วมมืออุตสาหกรรมไทย-จีน โดยมีนายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ร่วมหารือ ณ ห้องรับรอง 1 ชั้น 2 อาคารสํานักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม | https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/49456 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค (Thailand Regional Economic Sentiment Index: RSI) ประจำเดือนมิถุนายน 2565 | วันพุธที่ 29 มิถุนายน 2565
ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค (Thailand Regional Economic Sentiment Index: RSI) ประจําเดือนมิถุนายน 2565
ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาคเดือน มิ.ย.2565 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าในหลายภูมิภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคใต้และภาคตะวันออก จากความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจในอนาคตที่ดีขึ้นในภาคบริการ
“ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค เดือนมิถุนายน 2565 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าในหลายภูมิภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคใต้และภาคตะวันออก จากความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจในอนาคตที่ดีขึ้นในภาคบริการ เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่มีแนวโน้มดีขึ้นเป็นลําดับ ส่งผลให้นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น”
นายวุฒิพงศ์ จิตตั้งสกุล ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการคลัง สํานักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะรองโฆษกกระทรวงการคลัง และนายพิสิทธิ์ พัวพันธ์ ผู้อํานวยการสํานักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค เปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาคประจําเดือนมิถุนายน 2565 จากการประมวลผลข้อมูลการสํารวจภาวะเศรษฐกิจรายจังหวัดจากสํานักงานคลังจังหวัด 76 จังหวัดทั่วประเทศ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เพื่อจัดทําดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค พบว่า “ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค เดือนมิถุนายน 2565 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าในหลายภูมิภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคใต้และภาคตะวันออก จากความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจในอนาคตที่ดีขึ้นในภาคบริการ เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่มีแนวโน้มดีขึ้นเป็นลําดับ”
ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคใต้อยู่ที่ระดับ 74.8 ปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าแสดงถึงความเชื่อมั่นเศรษฐกิจในอนาคตที่เพิ่มขึ้น โดยเป็นความเชื่อมั่นที่ดีขึ้นในภาคบริการ เนื่องจากจํานวนนักท่องเที่ยวทั้งในประเทศและต่างประเทศมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากการจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังมีความเชื่อมั่นเศรษฐกิจภาคการลงทุนในอนาคตที่ดีขึ้น เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในพื้นที่มีแนวโน้มที่ดีขึ้น ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคตะวันออกอยู่ที่ระดับ 72.9 สะท้อนถึงความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจที่ดีขึ้นโดยเฉพาะในภาคบริการ เนื่องจากรัฐบาลมีการผ่อนคลายมาตรการควบคุมและป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ ประกอบกับโครงการเราเที่ยวด้วยกันจะช่วยให้นักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นในอนาคต และในภาคอุตสาหกรรม เนื่องจากความต้องการสินค้าอุตสาหกรรมของคู่ค้าต่างประเทศมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจของภาคเหนืออยู่ที่ระดับ 70.5 สะท้อนถึงความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจที่ดีขึ้นโดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรม เนื่องจากยอดคําสั่งซื้อสินค้าอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น และในภาคบริการ ซึ่งมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจของภาคตะวันออกเฉียงเหนืออยู่ที่ระดับ 68.0 แสดงถึงความเชื่อมั่นเศรษฐกิจในอนาคตที่ดีขึ้น โดยเป็นความเชื่อมั่นที่ดีขึ้นในภาคอุตสาหกรรม เนื่องจากความต้องการสินค้าอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกเพิ่มขึ้น สําหรับภาคบริการ เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในพื้นที่มีแนวโน้มดีขึ้นต่อเนื่อง ทําให้นักท่องเที่ยวจากประเทศใกล้เคียงเดินทางมาท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคตะวันตกอยู่ที่ระดับ 65.5 แม้ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้าเล็กน้อย แต่ยังสะท้อนถึงความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจที่ดีขึ้นโดยเฉพาะในภาคบริการ เนื่องจากมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง ทําให้นักท่องเที่ยวในประเทศเพิ่มขึ้น สําหรับภาคการลงทุน ผู้ประกอบการธุรกิจบริการมีแนวโน้มการลงทุนเพิ่มขึ้นจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในพื้นที่มีแนวโน้มดีขึ้นต่อเนื่อง ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคกลางอยู่ที่ระดับ 58.8 แม้ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้า แต่ยังสะท้อนถึงความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจที่ดีขึ้นในภาคบริการ เนื่องจาก สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในพื้นที่มีแนวโน้มดีขึ้นต่อเนื่อง ทําให้นักท่องเที่ยวในประเทศเพิ่มขึ้น และในภาคเกษตร ที่มีปริมาณน้ําเพียงพอต่อการเพาะปลูก สําหรับดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจของ กทม. และปริมณฑลอยู่ที่ระดับ 53.7 ปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าแสดงถึงความเชื่อมั่นเศรษฐกิจในอนาคตที่เพิ่มขึ้น โดยเป็นความเชื่อมั่นที่ดีขึ้นในภาคอุตสาหกรรม เนื่องจากยอดคําสั่งซื้อสินค้าอุตสาหกรรมยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการมีความกังวลต่อสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนที่ยังไม่คลี่คลาย และในภาคเกษตร เนื่องจากความต้องการสินค้าเกษตรของประชาชนในพื้นที่เพิ่มขึ้น
ตารางสรุปดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค ปี 2565 (ณ เดือนมิถุนายน 2565)
กทม. และปริมณฑล ภาคตะวันออก ภาคตะวันออก
เฉียงเหนือ ภาคใต้ ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันตก
ดัชนีความเชื่อมั่น
อนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค 53.7 72.9 68.0 74.8 58.8 70.5 65.5
ดัชนีแนวโน้มรายภาค
1) ภาคเกษตร 55.7 70.8 67.8 69.7 61.0 63.6 61.7
2) ภาคอุตสาหกรรม 62.7 76.7 70.1 69.6 52.7 81.0 65.0
3) ภาคบริการ 54.6 79.2 69.8 86.5 64.2 74.8 69.6
4) ภาคการจ้างงาน 50.4 68.9 66.4 72.7 58.3 64.6 63.8
5) ภาคการลงทุน 42.9 68.6 65.8 75.4 57.7 68.4 67.2
สํานักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค สํานักงานเศรษฐกิจการคลัง
โทร. 0-2273-9020 ต่อ 3254 | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค (Thailand Regional Economic Sentiment Index: RSI) ประจำเดือนมิถุนายน 2565
วันพุธที่ 29 มิถุนายน 2565
ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค (Thailand Regional Economic Sentiment Index: RSI) ประจําเดือนมิถุนายน 2565
ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาคเดือน มิ.ย.2565 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าในหลายภูมิภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคใต้และภาคตะวันออก จากความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจในอนาคตที่ดีขึ้นในภาคบริการ
“ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค เดือนมิถุนายน 2565 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าในหลายภูมิภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคใต้และภาคตะวันออก จากความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจในอนาคตที่ดีขึ้นในภาคบริการ เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่มีแนวโน้มดีขึ้นเป็นลําดับ ส่งผลให้นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น”
นายวุฒิพงศ์ จิตตั้งสกุล ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการคลัง สํานักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะรองโฆษกกระทรวงการคลัง และนายพิสิทธิ์ พัวพันธ์ ผู้อํานวยการสํานักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค เปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาคประจําเดือนมิถุนายน 2565 จากการประมวลผลข้อมูลการสํารวจภาวะเศรษฐกิจรายจังหวัดจากสํานักงานคลังจังหวัด 76 จังหวัดทั่วประเทศ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เพื่อจัดทําดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค พบว่า “ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค เดือนมิถุนายน 2565 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าในหลายภูมิภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคใต้และภาคตะวันออก จากความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจในอนาคตที่ดีขึ้นในภาคบริการ เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่มีแนวโน้มดีขึ้นเป็นลําดับ”
ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคใต้อยู่ที่ระดับ 74.8 ปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าแสดงถึงความเชื่อมั่นเศรษฐกิจในอนาคตที่เพิ่มขึ้น โดยเป็นความเชื่อมั่นที่ดีขึ้นในภาคบริการ เนื่องจากจํานวนนักท่องเที่ยวทั้งในประเทศและต่างประเทศมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากการจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังมีความเชื่อมั่นเศรษฐกิจภาคการลงทุนในอนาคตที่ดีขึ้น เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในพื้นที่มีแนวโน้มที่ดีขึ้น ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคตะวันออกอยู่ที่ระดับ 72.9 สะท้อนถึงความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจที่ดีขึ้นโดยเฉพาะในภาคบริการ เนื่องจากรัฐบาลมีการผ่อนคลายมาตรการควบคุมและป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ ประกอบกับโครงการเราเที่ยวด้วยกันจะช่วยให้นักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นในอนาคต และในภาคอุตสาหกรรม เนื่องจากความต้องการสินค้าอุตสาหกรรมของคู่ค้าต่างประเทศมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจของภาคเหนืออยู่ที่ระดับ 70.5 สะท้อนถึงความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจที่ดีขึ้นโดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรม เนื่องจากยอดคําสั่งซื้อสินค้าอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น และในภาคบริการ ซึ่งมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจของภาคตะวันออกเฉียงเหนืออยู่ที่ระดับ 68.0 แสดงถึงความเชื่อมั่นเศรษฐกิจในอนาคตที่ดีขึ้น โดยเป็นความเชื่อมั่นที่ดีขึ้นในภาคอุตสาหกรรม เนื่องจากความต้องการสินค้าอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกเพิ่มขึ้น สําหรับภาคบริการ เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในพื้นที่มีแนวโน้มดีขึ้นต่อเนื่อง ทําให้นักท่องเที่ยวจากประเทศใกล้เคียงเดินทางมาท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคตะวันตกอยู่ที่ระดับ 65.5 แม้ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้าเล็กน้อย แต่ยังสะท้อนถึงความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจที่ดีขึ้นโดยเฉพาะในภาคบริการ เนื่องจากมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง ทําให้นักท่องเที่ยวในประเทศเพิ่มขึ้น สําหรับภาคการลงทุน ผู้ประกอบการธุรกิจบริการมีแนวโน้มการลงทุนเพิ่มขึ้นจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในพื้นที่มีแนวโน้มดีขึ้นต่อเนื่อง ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคกลางอยู่ที่ระดับ 58.8 แม้ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้า แต่ยังสะท้อนถึงความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจที่ดีขึ้นในภาคบริการ เนื่องจาก สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในพื้นที่มีแนวโน้มดีขึ้นต่อเนื่อง ทําให้นักท่องเที่ยวในประเทศเพิ่มขึ้น และในภาคเกษตร ที่มีปริมาณน้ําเพียงพอต่อการเพาะปลูก สําหรับดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจของ กทม. และปริมณฑลอยู่ที่ระดับ 53.7 ปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าแสดงถึงความเชื่อมั่นเศรษฐกิจในอนาคตที่เพิ่มขึ้น โดยเป็นความเชื่อมั่นที่ดีขึ้นในภาคอุตสาหกรรม เนื่องจากยอดคําสั่งซื้อสินค้าอุตสาหกรรมยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการมีความกังวลต่อสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนที่ยังไม่คลี่คลาย และในภาคเกษตร เนื่องจากความต้องการสินค้าเกษตรของประชาชนในพื้นที่เพิ่มขึ้น
ตารางสรุปดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค ปี 2565 (ณ เดือนมิถุนายน 2565)
กทม. และปริมณฑล ภาคตะวันออก ภาคตะวันออก
เฉียงเหนือ ภาคใต้ ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันตก
ดัชนีความเชื่อมั่น
อนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค 53.7 72.9 68.0 74.8 58.8 70.5 65.5
ดัชนีแนวโน้มรายภาค
1) ภาคเกษตร 55.7 70.8 67.8 69.7 61.0 63.6 61.7
2) ภาคอุตสาหกรรม 62.7 76.7 70.1 69.6 52.7 81.0 65.0
3) ภาคบริการ 54.6 79.2 69.8 86.5 64.2 74.8 69.6
4) ภาคการจ้างงาน 50.4 68.9 66.4 72.7 58.3 64.6 63.8
5) ภาคการลงทุน 42.9 68.6 65.8 75.4 57.7 68.4 67.2
สํานักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค สํานักงานเศรษฐกิจการคลัง
โทร. 0-2273-9020 ต่อ 3254 | https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/56296 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-การทางพิเศษแห่งประเทศไทย ครบรอบ 49 ปี มุ่งมั่นพัฒนาโครงข่ายระบบทางพิเศษ เชื่อมโยงระบบคมนาคม อำนวยความสะดวกในการเดินทางแก่ประชาชน | วันศุกร์ที่ 26 พฤศจิกายน 2564
การทางพิเศษแห่งประเทศไทย ครบรอบ 49 ปี มุ่งมั่นพัฒนาโครงข่ายระบบทางพิเศษ เชื่อมโยงระบบคมนาคม อํานวยความสะดวกในการเดินทางแก่ประชาชน
...
นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม ในฐานะประธานกรรมการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) กระทรวงคมนาคม เป็นประธานในงานวันคล้ายวันก่อตั้ง กทพ. ครบรอบ 49 ปี (วันที่ 27 พฤศจิกายน 2564) โดยมี นายสุรเชษฐ์ เหล่าพูลสุข ผู้ว่าการ กทพ. ผู้บริหาร พนักงาน และลูกจ้าง กทพ. ร่วมในงาน เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2564 ณ หอประชุม กทพ.
นายสุรเชษฐ์ เหล่าพูลสุข ผู้ว่าการ กทพ. เปิดเผยว่า ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา กทพ. ได้มุ่งมั่นแก้ไขปัญหาการจราจร ในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ตามแผนงานและภารกิจที่ได้รับมอบหมายสอดคล้องตามนโยบายของรัฐบาลและกระทรวงคมนาคม ที่มุ่งเน้นในการพัฒนาเครือข่ายระบบทางพิเศษให้เชื่อมโยงกันอย่างบูรณาการ ช่วยอํานวยความสะดวกในการเดินทางของประชาชน โดยปัจจุบัน กทพ. ได้เปิดให้บริการทางพิเศษรวม 8 สายทาง รวมระยะทาง 224.6 กิโลเมตร ประกอบด้วยทางพิเศษเฉลิมมหานคร ทางพิเศษศรีรัช ทางพิเศษฉลองรัช ทางพิเศษบูรพาวิถี ทางพิเศษอุดรรัถยา ทางพิเศษสายบางนา - อาจณรงค์ ทางพิเศษกาญจนาภิเษก (บางพลี - สุขสวัสดิ์) และทางพิเศษสายศรีรัช - วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร นอกจากทางพิเศษทั้ง 8 สายทาง ที่เปิดให้บริการแก่ผู้ใช้ทางพิเศษมาอย่างต่อเนื่อง กทพ. ยังคงก้าวต่อไปด้วยความมุ่งมั่นเพื่อพัฒนาโครงข่ายระบบทางพิเศษ เชื่อมโยงระบบคมนาคม และอํานวยความสะดวกในการเดินทางแก่ประชาชน โดยคํานึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ปัจจุบัน กทพ. อยู่ระหว่างดําเนินโครงการทางพิเศษระยะเร่งด่วน จํานวน 3 โครงการ ประกอบด้วย
- โครงการก่อสร้างทางพิเศษสายพระราม 3 - ดาวคะนอง - วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร ด้านตะวันตก เพื่อเชื่อมโยงการเดินทางระหว่างกรุงเทพมหานครกับพื้นที่ปริมณฑลทางด้านตะวันตก รวมถึงการเดินทางจากจังหวัด ภาคใต้ และช่วยลดปัญหาการจราจร ช่วงบางโคล่ - สะพานพระราม 9 - ดาวคะนอง และถนนพระราม 2 ขณะนี้อยู่ระหว่างการก่อสร้าง คาดว่าจะแล้วเสร็จและเปิดให้บริการได้ปลายปี 2567
- โครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ระยะที่ 1 ตอน N2 ถนนประเสริฐมนูกิจ - ถนนวงแหวนรอบนอกฯ ด้านตะวันออก และระยะที่ 2 ส่วนทดแทนตอน N1 บางซื่อ - ถนนประเสริฐมนูกิจ เพื่อแบ่งเบาปัญหาจราจรติดขัดบนถนนประเสริฐมนูกิจและถนนประดิษฐ์มนูธรรม บริเวณทางแยกต่างระดับฉลองรัช และเชื่อมโยงโครงข่ายทางพิเศษให้เป็นโครงข่ายในแนวตะวันออก - ตะวันตกอย่างสมบูรณ์ โดยการดําเนินการ อยู่ระหว่างจัดทํารายงานขอเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการในรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) และคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบกได้อนุมัติให้ กทพ. เดินหน้าก่อสร้างในส่วนของ N2 โดยไม่ต้องรอ N1 ตามขั้นตอนเดิม
นอกจากนี้ กทพ. ยังได้รับมอบหมายให้ดําเนินโครงการในจังหวัดภูเก็ต ซึ่งเป็นพื้นที่เศรษฐกิจสําคัญของภาคใต้ และถือเป็นทางพิเศษสายแรกที่ก่อสร้างเป็นอุโมงค์ในภูมิภาค คือ โครงการทางพิเศษสายกะทู้ - ป่าตอง ระยะทาง 3.98 กม. และโครงการทางพิเศษสายเมืองใหม่ - เกาะแก้ว - กะทู้ ซึ่งเป็นส่วนเชื่อมต่อไปยังสนามบินภูเก็ตเพื่อรองรับการเดินทางและท่องเที่ยว ขณะนี้อยู่ระหว่างจัดทําร่าง TOR จ้างที่ปรึกษา เพื่อศึกษาความเหมาะสมทางด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจ การเงิน และผลกระทบสิ่งแวดล้อมโดยเร็วที่สุดและเพื่อให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของผู้คนในยุคปัจจุบัน กทพ. ได้นําเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัยมาเพิ่มประสิทธิภาพการทํางานและการให้บริการแก่ผู้ใช้ทางพิเศษ เช่น การพัฒนาศูนย์ควบคุมระบบจราจรอัจฉริยะ (ITS Center) การพัฒนาระบบ e-Service เพื่อให้บริการเอกสารทางอิเล็กทรอนิกส์แก่ผู้ใช้บริการทางพิเศษ และล่าสุดได้เปิดศูนย์บริหารการจราจรทางพิเศษ (Expressway Traffic Management Center) ซึ่งเป็นศูนย์สั่งการด้านการจราจรแบบ Single Command นอกจากนี้ ได้เพิ่มทางเลือกใหม่ในการจัดเก็บค่าผ่านทาง ด้วยการติดตั้งระบบเก็บค่าผ่านทางอัตโนมัติ แบบไม่มีไม้กั้น Multi-lane Free Flow หรือ M-Flow ตามนโยบายของกระทรวงคมนาคมโดยบูรณาการร่วมกับกรมทางหลวงให้เป็นไปในรูปแบบและมาตรฐานเดียวกัน เพื่อแก้ไขปัญหารถติดหน้าด่านเก็บค่าผ่านทาง โดยการดําเนินงานแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ
- ระยะที่ 1 ติดตั้งระบบ M-Flow บนทางพิเศษฉลองรัช ที่ด่านจตุโชติ ด่านสุขาภิบาล 5-1 และด่านสุขาภิบาล 5-2
- ระยะที่ 2 ติดตั้งบนทางพิเศษฉลองรัชในด่านที่เหลือของทางพิเศษบูรพาวิถี และทางพิเศษกาญจนาภิเษก รวม 60 ด่าน
- ระยะที่ 3 ติดตั้งบนทางพิเศษศรีรัช ทางพิเศษเฉลิมมหานคร และทางพิเศษอุดรรัถยา รวมทั้งโครงการต่าง ๆ ในอนาคต
และเพื่อก้าวเข้าสู่ปีที่ 50 กทพ. จะยังคงพัฒนาศักยภาพต่อไปเพื่อให้ทางพิเศษเป็นทางเลือกที่คุ้มค่า ปลอดภัย ได้มาตรฐาน สร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ ส่งเสริมคุณภาพชีวิตคนไทยได้อย่างยั่งยืน | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-การทางพิเศษแห่งประเทศไทย ครบรอบ 49 ปี มุ่งมั่นพัฒนาโครงข่ายระบบทางพิเศษ เชื่อมโยงระบบคมนาคม อำนวยความสะดวกในการเดินทางแก่ประชาชน
วันศุกร์ที่ 26 พฤศจิกายน 2564
การทางพิเศษแห่งประเทศไทย ครบรอบ 49 ปี มุ่งมั่นพัฒนาโครงข่ายระบบทางพิเศษ เชื่อมโยงระบบคมนาคม อํานวยความสะดวกในการเดินทางแก่ประชาชน
...
นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม ในฐานะประธานกรรมการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) กระทรวงคมนาคม เป็นประธานในงานวันคล้ายวันก่อตั้ง กทพ. ครบรอบ 49 ปี (วันที่ 27 พฤศจิกายน 2564) โดยมี นายสุรเชษฐ์ เหล่าพูลสุข ผู้ว่าการ กทพ. ผู้บริหาร พนักงาน และลูกจ้าง กทพ. ร่วมในงาน เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2564 ณ หอประชุม กทพ.
นายสุรเชษฐ์ เหล่าพูลสุข ผู้ว่าการ กทพ. เปิดเผยว่า ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา กทพ. ได้มุ่งมั่นแก้ไขปัญหาการจราจร ในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ตามแผนงานและภารกิจที่ได้รับมอบหมายสอดคล้องตามนโยบายของรัฐบาลและกระทรวงคมนาคม ที่มุ่งเน้นในการพัฒนาเครือข่ายระบบทางพิเศษให้เชื่อมโยงกันอย่างบูรณาการ ช่วยอํานวยความสะดวกในการเดินทางของประชาชน โดยปัจจุบัน กทพ. ได้เปิดให้บริการทางพิเศษรวม 8 สายทาง รวมระยะทาง 224.6 กิโลเมตร ประกอบด้วยทางพิเศษเฉลิมมหานคร ทางพิเศษศรีรัช ทางพิเศษฉลองรัช ทางพิเศษบูรพาวิถี ทางพิเศษอุดรรัถยา ทางพิเศษสายบางนา - อาจณรงค์ ทางพิเศษกาญจนาภิเษก (บางพลี - สุขสวัสดิ์) และทางพิเศษสายศรีรัช - วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร นอกจากทางพิเศษทั้ง 8 สายทาง ที่เปิดให้บริการแก่ผู้ใช้ทางพิเศษมาอย่างต่อเนื่อง กทพ. ยังคงก้าวต่อไปด้วยความมุ่งมั่นเพื่อพัฒนาโครงข่ายระบบทางพิเศษ เชื่อมโยงระบบคมนาคม และอํานวยความสะดวกในการเดินทางแก่ประชาชน โดยคํานึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ปัจจุบัน กทพ. อยู่ระหว่างดําเนินโครงการทางพิเศษระยะเร่งด่วน จํานวน 3 โครงการ ประกอบด้วย
- โครงการก่อสร้างทางพิเศษสายพระราม 3 - ดาวคะนอง - วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร ด้านตะวันตก เพื่อเชื่อมโยงการเดินทางระหว่างกรุงเทพมหานครกับพื้นที่ปริมณฑลทางด้านตะวันตก รวมถึงการเดินทางจากจังหวัด ภาคใต้ และช่วยลดปัญหาการจราจร ช่วงบางโคล่ - สะพานพระราม 9 - ดาวคะนอง และถนนพระราม 2 ขณะนี้อยู่ระหว่างการก่อสร้าง คาดว่าจะแล้วเสร็จและเปิดให้บริการได้ปลายปี 2567
- โครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ระยะที่ 1 ตอน N2 ถนนประเสริฐมนูกิจ - ถนนวงแหวนรอบนอกฯ ด้านตะวันออก และระยะที่ 2 ส่วนทดแทนตอน N1 บางซื่อ - ถนนประเสริฐมนูกิจ เพื่อแบ่งเบาปัญหาจราจรติดขัดบนถนนประเสริฐมนูกิจและถนนประดิษฐ์มนูธรรม บริเวณทางแยกต่างระดับฉลองรัช และเชื่อมโยงโครงข่ายทางพิเศษให้เป็นโครงข่ายในแนวตะวันออก - ตะวันตกอย่างสมบูรณ์ โดยการดําเนินการ อยู่ระหว่างจัดทํารายงานขอเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการในรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) และคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบกได้อนุมัติให้ กทพ. เดินหน้าก่อสร้างในส่วนของ N2 โดยไม่ต้องรอ N1 ตามขั้นตอนเดิม
นอกจากนี้ กทพ. ยังได้รับมอบหมายให้ดําเนินโครงการในจังหวัดภูเก็ต ซึ่งเป็นพื้นที่เศรษฐกิจสําคัญของภาคใต้ และถือเป็นทางพิเศษสายแรกที่ก่อสร้างเป็นอุโมงค์ในภูมิภาค คือ โครงการทางพิเศษสายกะทู้ - ป่าตอง ระยะทาง 3.98 กม. และโครงการทางพิเศษสายเมืองใหม่ - เกาะแก้ว - กะทู้ ซึ่งเป็นส่วนเชื่อมต่อไปยังสนามบินภูเก็ตเพื่อรองรับการเดินทางและท่องเที่ยว ขณะนี้อยู่ระหว่างจัดทําร่าง TOR จ้างที่ปรึกษา เพื่อศึกษาความเหมาะสมทางด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจ การเงิน และผลกระทบสิ่งแวดล้อมโดยเร็วที่สุดและเพื่อให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของผู้คนในยุคปัจจุบัน กทพ. ได้นําเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัยมาเพิ่มประสิทธิภาพการทํางานและการให้บริการแก่ผู้ใช้ทางพิเศษ เช่น การพัฒนาศูนย์ควบคุมระบบจราจรอัจฉริยะ (ITS Center) การพัฒนาระบบ e-Service เพื่อให้บริการเอกสารทางอิเล็กทรอนิกส์แก่ผู้ใช้บริการทางพิเศษ และล่าสุดได้เปิดศูนย์บริหารการจราจรทางพิเศษ (Expressway Traffic Management Center) ซึ่งเป็นศูนย์สั่งการด้านการจราจรแบบ Single Command นอกจากนี้ ได้เพิ่มทางเลือกใหม่ในการจัดเก็บค่าผ่านทาง ด้วยการติดตั้งระบบเก็บค่าผ่านทางอัตโนมัติ แบบไม่มีไม้กั้น Multi-lane Free Flow หรือ M-Flow ตามนโยบายของกระทรวงคมนาคมโดยบูรณาการร่วมกับกรมทางหลวงให้เป็นไปในรูปแบบและมาตรฐานเดียวกัน เพื่อแก้ไขปัญหารถติดหน้าด่านเก็บค่าผ่านทาง โดยการดําเนินงานแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ
- ระยะที่ 1 ติดตั้งระบบ M-Flow บนทางพิเศษฉลองรัช ที่ด่านจตุโชติ ด่านสุขาภิบาล 5-1 และด่านสุขาภิบาล 5-2
- ระยะที่ 2 ติดตั้งบนทางพิเศษฉลองรัชในด่านที่เหลือของทางพิเศษบูรพาวิถี และทางพิเศษกาญจนาภิเษก รวม 60 ด่าน
- ระยะที่ 3 ติดตั้งบนทางพิเศษศรีรัช ทางพิเศษเฉลิมมหานคร และทางพิเศษอุดรรัถยา รวมทั้งโครงการต่าง ๆ ในอนาคต
และเพื่อก้าวเข้าสู่ปีที่ 50 กทพ. จะยังคงพัฒนาศักยภาพต่อไปเพื่อให้ทางพิเศษเป็นทางเลือกที่คุ้มค่า ปลอดภัย ได้มาตรฐาน สร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ ส่งเสริมคุณภาพชีวิตคนไทยได้อย่างยั่งยืน | https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/48755 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-เปิด 4 แพลตฟอร์มหลัก ที่รัฐบาลพัฒนาขึ้นจากแนวคิด National e-Payment | วันจันทร์ที่ 23 พฤษภาคม 2565
เปิด 4 แพลตฟอร์มหลัก ที่รัฐบาลพัฒนาขึ้นจากแนวคิด National e-Payment
.....
เปิด 4 แพลตฟอร์มหลัก ที่รัฐบาลพัฒนาขึ้นจากแนวคิด National e-Payment ส่งเสริมให้เกิด “สังคมไร้เงินสด” (Cashless Society) เพื่อเป็นเครื่องมือขับเคลื่อนนโยบาย และมาตรการต่าง ๆ ผลักดันให้เกิดเศรษฐกิจดิจิทัลเร็วขึ้นอย่างก้าวกระโดดจนประสบผลสําเร็จ
#ไทยคู่ฟ้า#ร่วมต้านโควิด19
------------------- | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-เปิด 4 แพลตฟอร์มหลัก ที่รัฐบาลพัฒนาขึ้นจากแนวคิด National e-Payment
วันจันทร์ที่ 23 พฤษภาคม 2565
เปิด 4 แพลตฟอร์มหลัก ที่รัฐบาลพัฒนาขึ้นจากแนวคิด National e-Payment
.....
เปิด 4 แพลตฟอร์มหลัก ที่รัฐบาลพัฒนาขึ้นจากแนวคิด National e-Payment ส่งเสริมให้เกิด “สังคมไร้เงินสด” (Cashless Society) เพื่อเป็นเครื่องมือขับเคลื่อนนโยบาย และมาตรการต่าง ๆ ผลักดันให้เกิดเศรษฐกิจดิจิทัลเร็วขึ้นอย่างก้าวกระโดดจนประสบผลสําเร็จ
#ไทยคู่ฟ้า#ร่วมต้านโควิด19
------------------- | https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/54863 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกรัฐมนตรีพอใจสัญญาณชี้เศรษฐกิจไทยยังแกร่ง การผลิตอุตสาหกรรมโตต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 8 ทิศทางเดียวกับการส่งออกทั้งสินค้าอุตสาหกรรมและเกษตร หนุนคนมีงานทำ | วันพฤหัสบดีที่ 2 มิถุนายน 2565
นายกรัฐมนตรีพอใจสัญญาณชี้เศรษฐกิจไทยยังแกร่ง การผลิตอุตสาหกรรมโตต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 8 ทิศทางเดียวกับการส่งออกทั้งสินค้าอุตสาหกรรมและเกษตร หนุนคนมีงานทํา
นายกรัฐมนตรีพอใจสัญญาณชี้เศรษฐกิจไทยยังแกร่ง การผลิตอุตสาหกรรมโตต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 8 ทิศทางเดียวกับการส่งออกทั้งสินค้าอุตสาหกรรมและเกษตร หนุนคนมีงานทํา ตามนโยบายรัฐบาลรักษาการฟื้นตัวประชาชนมีรายได้
วันที่ 2 มิ.ย. 2565 น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ได้ติดตามสถานการณ์เศรษฐกิจและได้รับรายงานถึงสัญญาณซึ่งชี้ถึงความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจไทย โดยกระทรวงอุตสาหกรรมได้รายงานให้ทราบว่าภาคการผลิตอุตสาหกรรมในเดือนเม.ย. 2565 เติบโตที่ร้อยละ 0.56 เป็นบวกต่อเนื่องเป็นเดือนที่8
ขณะที่สํานักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมได้ประเมินแนวโน้มผ่านเครื่องมือระบบเตือนภัยด้านเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทย (EWS-IE) พบว่าใน 1-2 เดือนข้างหน้าภาคอุตสาหกรรมจะยังขยายตัวได้ด้วยการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศและการเติบโตของการส่งออกตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าของไทยภายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 คลี่คลายตามลําดับ ทั้งไทยและต่างประเทศผ่อนคลายมาตรการควบคุมโรค ประชาชนมีการเดินทางและมีการใช้จ่ายมากขึ้น
“นายกรัฐมนตรีพอใจกับสัญญาณของเศรษฐกิจที่ล่าสุดยังชี้ถึงความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจไทย ทั้งการผลิตอุตสาหกรรม การส่งอออกสินค้าอุตสาหกรรม สินค้าเกษตร ตลอดจนการท่องเที่ยวที่เริ่มฟื้นจากการเปิดประเทศเต็มรูปแบบ ทั้งหมดสะท้อนถึงแนวโน้มการมีงานทําและกําลังการใช้จ่ายของประชาชนที่จะดีขึ้น เป็นไปตามนโยบายที่รัฐบาลมุ่งดูแลให้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้ต่อเนื่องเพื่อเกิดการจ้างงาน ให้ประชาชนมีรายได้ น.ส.ไตรศุลี กล่าว
น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า เพื่อรักษาแรงส่งทางเศรษฐกิจ นายกรัฐมนตรีได้มอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความสําคัญกับการอํานวยความสะดวกให้กับผู้ประกอบการทั้งภาคการผลิตอุตสาหกรรม และการส่งออก โดยเฉพาะในส่วนของการส่งออกนั้นให้การสนับสนุนในการหาตลาดใหม่ที่มีศักยภาพ อาทิ ตลาดในประเทศผู้ส่งออกน้ํามันที่ได้ประโยชน์จากราคาน้ํามันที่สูงขึ้น ขยายตลาดจากกรณีที่ขณะนี้หลายประเทศได้มีนโยบายปกป้องอาหาร (Food protection) งดการส่งออกสินค้าบางรายการ เพื่อรักษาความมั่นคงทางอาหารในช่วงที่ถูกกระทบจากภาวะสงคราม ซึ่งการที่ประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารสําคัญหลายรายการ จะเป็นโอกาสที่ผู้ส่งออกสามารถขยายตลาดเพิ่มเติมได้ | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกรัฐมนตรีพอใจสัญญาณชี้เศรษฐกิจไทยยังแกร่ง การผลิตอุตสาหกรรมโตต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 8 ทิศทางเดียวกับการส่งออกทั้งสินค้าอุตสาหกรรมและเกษตร หนุนคนมีงานทำ
วันพฤหัสบดีที่ 2 มิถุนายน 2565
นายกรัฐมนตรีพอใจสัญญาณชี้เศรษฐกิจไทยยังแกร่ง การผลิตอุตสาหกรรมโตต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 8 ทิศทางเดียวกับการส่งออกทั้งสินค้าอุตสาหกรรมและเกษตร หนุนคนมีงานทํา
นายกรัฐมนตรีพอใจสัญญาณชี้เศรษฐกิจไทยยังแกร่ง การผลิตอุตสาหกรรมโตต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 8 ทิศทางเดียวกับการส่งออกทั้งสินค้าอุตสาหกรรมและเกษตร หนุนคนมีงานทํา ตามนโยบายรัฐบาลรักษาการฟื้นตัวประชาชนมีรายได้
วันที่ 2 มิ.ย. 2565 น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ได้ติดตามสถานการณ์เศรษฐกิจและได้รับรายงานถึงสัญญาณซึ่งชี้ถึงความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจไทย โดยกระทรวงอุตสาหกรรมได้รายงานให้ทราบว่าภาคการผลิตอุตสาหกรรมในเดือนเม.ย. 2565 เติบโตที่ร้อยละ 0.56 เป็นบวกต่อเนื่องเป็นเดือนที่8
ขณะที่สํานักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมได้ประเมินแนวโน้มผ่านเครื่องมือระบบเตือนภัยด้านเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทย (EWS-IE) พบว่าใน 1-2 เดือนข้างหน้าภาคอุตสาหกรรมจะยังขยายตัวได้ด้วยการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศและการเติบโตของการส่งออกตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าของไทยภายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 คลี่คลายตามลําดับ ทั้งไทยและต่างประเทศผ่อนคลายมาตรการควบคุมโรค ประชาชนมีการเดินทางและมีการใช้จ่ายมากขึ้น
“นายกรัฐมนตรีพอใจกับสัญญาณของเศรษฐกิจที่ล่าสุดยังชี้ถึงความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจไทย ทั้งการผลิตอุตสาหกรรม การส่งอออกสินค้าอุตสาหกรรม สินค้าเกษตร ตลอดจนการท่องเที่ยวที่เริ่มฟื้นจากการเปิดประเทศเต็มรูปแบบ ทั้งหมดสะท้อนถึงแนวโน้มการมีงานทําและกําลังการใช้จ่ายของประชาชนที่จะดีขึ้น เป็นไปตามนโยบายที่รัฐบาลมุ่งดูแลให้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้ต่อเนื่องเพื่อเกิดการจ้างงาน ให้ประชาชนมีรายได้ น.ส.ไตรศุลี กล่าว
น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า เพื่อรักษาแรงส่งทางเศรษฐกิจ นายกรัฐมนตรีได้มอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความสําคัญกับการอํานวยความสะดวกให้กับผู้ประกอบการทั้งภาคการผลิตอุตสาหกรรม และการส่งออก โดยเฉพาะในส่วนของการส่งออกนั้นให้การสนับสนุนในการหาตลาดใหม่ที่มีศักยภาพ อาทิ ตลาดในประเทศผู้ส่งออกน้ํามันที่ได้ประโยชน์จากราคาน้ํามันที่สูงขึ้น ขยายตลาดจากกรณีที่ขณะนี้หลายประเทศได้มีนโยบายปกป้องอาหาร (Food protection) งดการส่งออกสินค้าบางรายการ เพื่อรักษาความมั่นคงทางอาหารในช่วงที่ถูกกระทบจากภาวะสงคราม ซึ่งการที่ประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารสําคัญหลายรายการ จะเป็นโอกาสที่ผู้ส่งออกสามารถขยายตลาดเพิ่มเติมได้ | https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/55301 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สธ.เผยยอดนักเรียนประสงค์รับไฟเซอร์ 3.6 ล้านราย เตรียมจัดส่งวัคซีนเริ่มฉีดวันที่ 4 ต.ค.นี้ | วันศุกร์ที่ 1 ตุลาคม 2564
สธ.เผยยอดนักเรียนประสงค์รับไฟเซอร์ 3.6 ล้านราย เตรียมจัดส่งวัคซีนเริ่มฉีดวันที่ 4 ต.ค.นี้
กระทรวงสาธารณสุข เผยผู้ปกครองแสดงความจํานงให้บุตรหลานฉีดวัคซีนไฟเซอร์ 3.6 ล้านราย คิดเป็นร้อยละ 71 ของจํานวนเด็กนักเรียน 5 ล้านราย จัดส่งวัคซีนให้ทุกจังหวัดสัดส่วนพิจารณาจากความพร้อม เริ่มฉีดวันที่ 4 ตุลาคมนี้
กระทรวงสาธารณสุข เผยผู้ปกครองแสดงความจํานงให้บุตรหลานฉีดวัคซีนไฟเซอร์ 3.6 ล้านราย คิดเป็นร้อยละ 71 ของจํานวนเด็กนักเรียน 5 ล้านราย จัดส่งวัคซีนให้ทุกจังหวัดสัดส่วนพิจารณาจากความพร้อม เริ่มฉีดวันที่ 4 ตุลาคมนี้ มีระบบติดตามอาการและความปลอดภัยเหมือนผู้ใหญ่ ย้ําหากเปลี่ยนใจขอฉีดวัคซีนเพิ่มภายหลังได้ไม่ปิดกั้นและไม่เสียสิทธิ
วันนี้ (1 ตุลาคม 2564) ที่ศูนย์แถลงข่าวสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี นพ.เฉวตสรร นามวาท ผู้อํานวยการกองควบคุมโรคและภัยสุขภาพในภาวะฉุกเฉิน กรมควบคุมโรค แถลงสถานการณ์โรคโควิด 19 และการฉีดวัคซีนในเด็กนักเรียน ว่า วันนี้มีผู้ป่วยรักษาหาย 12,473 ราย ติดเชื้อเพิ่มขึ้น 11,754 ราย เสียชีวิต 123 ราย ภาพรวมทั้งประเทศการติดเชื้อมีแนวโน้มลดลง ส่วนจังหวัดชายแดนใต้ยังเพิ่มขึ้น รวมถึงเรือนจําที่วันนี้มีรายงาน 501 ราย สําหรับการฉีดวัคซีนโควิด 19 ของวันที่ 30 กันยายนที่มีการรายงานเข้ามา 2.28 ล้านโดสนั้น เป็นการนําข้อมูลจากการระดมฉีดวัคซีนตั้งแต่วันมหิดล 24 กันยายน ซึ่งมีการฉีดเชิงรุกและฉีดในชุมชนรวม 1,700,523 โดส รวมกับการฉีดของวันที่ 30 กันยายน จํานวน588,205 โดส รวมเป็น 2,288,728 โดส
นพ.เฉวตสรรกล่าวต่อว่า สําหรับการฉีดวัคซีนโควิด 19 ในนักเรียน ขณะนี้กระทรวงศึกษาธิการได้แจ้งตัวเลขนักเรียนทั่วประเทศในฐานข้อมูลจํานวน 5,048,000 ราย โดยผู้ปกครองแสดงความจํานงให้บุตรหลานฉีดวัคซีน 3,618,000 กว่าราย คิดเป็นร้อยละ 71 สําหรับการจัดสรรวัคซีนไฟเซอร์ล็อตแรก 2 ล้านโดส จะกระจายให้ทุกจังหวัด โดยสัดส่วนวัคซีนจะพิจารณาความพร้อมของแต่ละจังหวัดด้วย และจะส่งให้ครบภายในเดือนตุลาคมซึ่งจะมีวัคซีนไฟเซอร์เข้ามาอีก 8 ล้านโดส จะเริ่มฉีดวัคซีนวันที่ 4 ตุลาคมนี้ตามความพร้อม และไม่มีระยะเวลาสิ้นสุดของการฉีดวัคซีน เนื่องจากอาจมีผู้แสดงความจํานงขอฉีดเพิ่มก็จะดําเนินการฉีดให้ ไม่เสียสิทธิแต่อย่างใด สถานที่ฉีดสามารถฉีดได้ทั้งที่สถานศึกษาและโรงพยาบาล โดยขอให้บริหารจัดการคิวไม่ให้มีความแออัด
สําหรับการติดตามเฝ้าระวังอาการและความปลอดภัยใช้ระบบเดียวกับผู้ใหญ่ โดยมีการเฝ้าระวังอาการแพ้รุนแรงช่วง 30 นาทีแรกหลังฉีด และมีการติดตามอาการต่อเนื่องอีก 30 วัน โดยกรณีข้อกังวลเรื่องภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบและเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบนั้น อัตราการเกิดต่ํามาก แต่ขอให้สังเกตอาการ คือ แน่นหน้าอก เจ็บหน้าอก หอบเหนื่อยง่าย ใจสั่น หมดสติ เป็นลม หรือรู้สึกอ่อนเพลียผิดปกติ หากมีอาการเหล่านี้ให้รีบมารับการรักษา เพื่อให้การดูแลรักษาอย่างถูกต้อง เนื่องจากอาการเหล่านี้อาจเกิดจากภาวะอื่นได้ และข้อปฏิบัติภายใน 7 วันหลังฉีดวัคซีน ไม่แนะนําเรื่องออกกําลังกายหนักๆ เพราะจะทําให้หัวใจต้องทํางานเพิ่มขึ้น และความรู้สึกเหนื่อยจากออกกําลัง อาจทําให้กังวลและไม่แน่ใจว่าเป็นผลจากวัคซีนหรือไม่
ทั้งนี้ การฉีดวัคซีนไฟเซอร์ในเด็กอายุ 12 ปีขึ้นไป ยังฉีด 2 เข็ม ระยะห่าง 3-4 สัปดาห์ ส่วนข้อเสนอการฉีดวัคซีนในเด็กผู้ชายเพียงเข็มเดียว จะมีการพิจารณาข้อมูลทางวิชาการ หากมีการปรับเปลี่ยนจะดําเนินการให้ทันก่อนฉีดวัคซีนเข็มที่ 2 ส่วนกลุ่มเด็กประถมอายุต่ํากว่า 12 ปีที่ยังไม่อยู่ในเกณฑ์การรับวัคซีน ข้อแนะนําคือใช้มาตรการป้องกันตนเอง สวมหน้ากาก ล้างมือ เว้นระยะห่าง หากดําเนินการได้ดีก็ยังสามารถทํากิจกรรมการเรียนการสอนได้
***********************************1 ตุลาคม 2564 | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สธ.เผยยอดนักเรียนประสงค์รับไฟเซอร์ 3.6 ล้านราย เตรียมจัดส่งวัคซีนเริ่มฉีดวันที่ 4 ต.ค.นี้
วันศุกร์ที่ 1 ตุลาคม 2564
สธ.เผยยอดนักเรียนประสงค์รับไฟเซอร์ 3.6 ล้านราย เตรียมจัดส่งวัคซีนเริ่มฉีดวันที่ 4 ต.ค.นี้
กระทรวงสาธารณสุข เผยผู้ปกครองแสดงความจํานงให้บุตรหลานฉีดวัคซีนไฟเซอร์ 3.6 ล้านราย คิดเป็นร้อยละ 71 ของจํานวนเด็กนักเรียน 5 ล้านราย จัดส่งวัคซีนให้ทุกจังหวัดสัดส่วนพิจารณาจากความพร้อม เริ่มฉีดวันที่ 4 ตุลาคมนี้
กระทรวงสาธารณสุข เผยผู้ปกครองแสดงความจํานงให้บุตรหลานฉีดวัคซีนไฟเซอร์ 3.6 ล้านราย คิดเป็นร้อยละ 71 ของจํานวนเด็กนักเรียน 5 ล้านราย จัดส่งวัคซีนให้ทุกจังหวัดสัดส่วนพิจารณาจากความพร้อม เริ่มฉีดวันที่ 4 ตุลาคมนี้ มีระบบติดตามอาการและความปลอดภัยเหมือนผู้ใหญ่ ย้ําหากเปลี่ยนใจขอฉีดวัคซีนเพิ่มภายหลังได้ไม่ปิดกั้นและไม่เสียสิทธิ
วันนี้ (1 ตุลาคม 2564) ที่ศูนย์แถลงข่าวสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี นพ.เฉวตสรร นามวาท ผู้อํานวยการกองควบคุมโรคและภัยสุขภาพในภาวะฉุกเฉิน กรมควบคุมโรค แถลงสถานการณ์โรคโควิด 19 และการฉีดวัคซีนในเด็กนักเรียน ว่า วันนี้มีผู้ป่วยรักษาหาย 12,473 ราย ติดเชื้อเพิ่มขึ้น 11,754 ราย เสียชีวิต 123 ราย ภาพรวมทั้งประเทศการติดเชื้อมีแนวโน้มลดลง ส่วนจังหวัดชายแดนใต้ยังเพิ่มขึ้น รวมถึงเรือนจําที่วันนี้มีรายงาน 501 ราย สําหรับการฉีดวัคซีนโควิด 19 ของวันที่ 30 กันยายนที่มีการรายงานเข้ามา 2.28 ล้านโดสนั้น เป็นการนําข้อมูลจากการระดมฉีดวัคซีนตั้งแต่วันมหิดล 24 กันยายน ซึ่งมีการฉีดเชิงรุกและฉีดในชุมชนรวม 1,700,523 โดส รวมกับการฉีดของวันที่ 30 กันยายน จํานวน588,205 โดส รวมเป็น 2,288,728 โดส
นพ.เฉวตสรรกล่าวต่อว่า สําหรับการฉีดวัคซีนโควิด 19 ในนักเรียน ขณะนี้กระทรวงศึกษาธิการได้แจ้งตัวเลขนักเรียนทั่วประเทศในฐานข้อมูลจํานวน 5,048,000 ราย โดยผู้ปกครองแสดงความจํานงให้บุตรหลานฉีดวัคซีน 3,618,000 กว่าราย คิดเป็นร้อยละ 71 สําหรับการจัดสรรวัคซีนไฟเซอร์ล็อตแรก 2 ล้านโดส จะกระจายให้ทุกจังหวัด โดยสัดส่วนวัคซีนจะพิจารณาความพร้อมของแต่ละจังหวัดด้วย และจะส่งให้ครบภายในเดือนตุลาคมซึ่งจะมีวัคซีนไฟเซอร์เข้ามาอีก 8 ล้านโดส จะเริ่มฉีดวัคซีนวันที่ 4 ตุลาคมนี้ตามความพร้อม และไม่มีระยะเวลาสิ้นสุดของการฉีดวัคซีน เนื่องจากอาจมีผู้แสดงความจํานงขอฉีดเพิ่มก็จะดําเนินการฉีดให้ ไม่เสียสิทธิแต่อย่างใด สถานที่ฉีดสามารถฉีดได้ทั้งที่สถานศึกษาและโรงพยาบาล โดยขอให้บริหารจัดการคิวไม่ให้มีความแออัด
สําหรับการติดตามเฝ้าระวังอาการและความปลอดภัยใช้ระบบเดียวกับผู้ใหญ่ โดยมีการเฝ้าระวังอาการแพ้รุนแรงช่วง 30 นาทีแรกหลังฉีด และมีการติดตามอาการต่อเนื่องอีก 30 วัน โดยกรณีข้อกังวลเรื่องภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบและเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบนั้น อัตราการเกิดต่ํามาก แต่ขอให้สังเกตอาการ คือ แน่นหน้าอก เจ็บหน้าอก หอบเหนื่อยง่าย ใจสั่น หมดสติ เป็นลม หรือรู้สึกอ่อนเพลียผิดปกติ หากมีอาการเหล่านี้ให้รีบมารับการรักษา เพื่อให้การดูแลรักษาอย่างถูกต้อง เนื่องจากอาการเหล่านี้อาจเกิดจากภาวะอื่นได้ และข้อปฏิบัติภายใน 7 วันหลังฉีดวัคซีน ไม่แนะนําเรื่องออกกําลังกายหนักๆ เพราะจะทําให้หัวใจต้องทํางานเพิ่มขึ้น และความรู้สึกเหนื่อยจากออกกําลัง อาจทําให้กังวลและไม่แน่ใจว่าเป็นผลจากวัคซีนหรือไม่
ทั้งนี้ การฉีดวัคซีนไฟเซอร์ในเด็กอายุ 12 ปีขึ้นไป ยังฉีด 2 เข็ม ระยะห่าง 3-4 สัปดาห์ ส่วนข้อเสนอการฉีดวัคซีนในเด็กผู้ชายเพียงเข็มเดียว จะมีการพิจารณาข้อมูลทางวิชาการ หากมีการปรับเปลี่ยนจะดําเนินการให้ทันก่อนฉีดวัคซีนเข็มที่ 2 ส่วนกลุ่มเด็กประถมอายุต่ํากว่า 12 ปีที่ยังไม่อยู่ในเกณฑ์การรับวัคซีน ข้อแนะนําคือใช้มาตรการป้องกันตนเอง สวมหน้ากาก ล้างมือ เว้นระยะห่าง หากดําเนินการได้ดีก็ยังสามารถทํากิจกรรมการเรียนการสอนได้
***********************************1 ตุลาคม 2564 | https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/46483 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-อธิบดี กสร. ชี้แจงผลการตรวจแรงงาน บริษัทรักษาความปลอดภัยฯ ตามข้อสั่งการรมว.รง. | วันศุกร์ที่ 21 มกราคม 2565
อธิบดี กสร. ชี้แจงผลการตรวจแรงงาน บริษัทรักษาความปลอดภัยฯ ตามข้อสั่งการรมว.รง.
กสร. ขานรับข้อสั่งการ รมว.สุชาติ เรื่องสอบเคส รปภ. ถูกนายจ้างทําร้าย เผยผลสอบข้อเท็จจริงกรณีลูกจ้าง รปภ. ถูกนายจ้างทําร้ายร่างกาย ลูกจ้าง 3 ราย ได้รับค่าจ้างครบแล้ว ส่วนอีกรายต้องการยื่นคําร้อง คร.7 พร้อมนัดนายจ้างเข้าสอบข้อเท็จจริง 25 ม.ค. 65
นายนิยม สองแก้ว อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเปิดเผยว่านายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานมีความห่วงใยลูกจ้าง รปภ. ทั้ง 4 นาย หลังถูกนายจ้างทุบตี ทําร้ายร่างกาย พร้อมกําชับให้กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานตรวจสอบข้อเท็จจริง กสร.จึงขานรับข้อสั่งการส่งพนักงานตรวจแรงงานสํานักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 3 ลงพื้นที่สอบข้อเท็จจริง โดยได้ข้อเท็จจริงเบื้องต้นว่านายอนันตชัย ปิยะธีรวัฒน์ ลูกจ้าง กับพวกรวม 4 คน ทํางานที่หน่วยงานซอยเพชรเกษม 81 เขตหนองแขม กรุงเทพฯ ลูกจ้างลาออกจากงาน นายจ้างบังคับให้ลูกจ้างลงชื่อยินยอมเป็นหนังสือให้หักค่าจ้างชดใช้ค่าอุปกรณ์ที่ลูกจ้างยืมไป ลูกจ้างจึงลงชื่อยินยอม พนักงานตรวจแรงงาน ได้ชี้แจงสิทธิ ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานให้ลูกจ้างทราบ และหากลูกจ้างประสงค์ใช้สิทธิสามารถยื่นคําร้องผ่าน e- services หรือยืนคําร้องด้วยตนเองที่สํานักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 7 โดยนายอนันตชัย ปิยะธีรวัฒน์ นายมังกรทอง บุญศรี และนายวรวุฒิ นาคบัว ลูกจ้างทั้ง 3 คน แจ้งว่าได้รับค่าจ้างครบถ้วนแล้ว และขอเวลาตัดสินใจว่าจะยื่นคําร้อง (คร.7) เรื่องเงินประกันการทํางาน และค่าชดใช้อุปกรณ์ ต่อพนักงานตรวจแรงงานหรือไม่ ส่วนอีก 1 ราย คือนายสนอง น้อยศรี จะเข้าไปยื่นคําร้อง (คร.7) ในวันที่ 24 ม.ค. 2565 พร้อมกันนี้พนักงานตรวจแรงงานเข้าตรวจสอบข้อเท็จจริงบริษัท รักษาความปลอดภัย แรงเจอร์ อินเวสติเกชั่น จํากัด ประกอบกิจการบริการรักษาความปลอดภัย มีลูกจ้างประมาณ 1,000 คน ลูกจ้างรายวันขั้นต่ําวันละ 497 บาท บริษัท ให้ลูกจ้างปฏิบัติงานที่หมู่บ้าน เวิร์ฟ (Verve) เพชรเกษม 81แขวง/เขตหนองแขม กรุงเทพฯ ผู้ว่าจ้าง ไม่ต่อสัญญากับบริษัทฯ ทําให้ต้องยุบเลิกหน่วยงานดังกล่าว และให้ลูกจ้างไปปฏิบัติที่หน่วยงานอื่นแทน แต่ลูกจ้างขอลาออก นายจ้างแจ้งว่าได้จ่ายค่าจ้างครบแล้ว และได้ให้ลูกจ้างชดใช้ค่าอุปกรณ์ (วิทยุสื่อสาร) เนื่องจากลูกจ้างไม่คืนอุปกรณ์ดังกล่าว โดยนายจ้างแจ้งว่าลูกจ้างยินยอมชดใช้ค่าอุปกรณ์คนละ 3,123 บาท ซึ่งข้อเท็จจริงไม่ตรงกับฝ่ายลูกจ้างรปภ. ซึ่งจะดําเนินการสอบสวนข้อเท็จจริงต่อไป
อธิบดี กสร.กล่าวเพิ่มเติมว่า ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541มาตรา76 ห้ามมิให้นายจ้างหักค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทํางานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด เว้นแต่เป็นการหักเพื่อชําระภาษีเงินได้ตามจํานวนที่ลูกจ้างต้องจ่ายหรือชําระเงินอื่นตามที่มีกฎหมายบัญญัติไว้ชําระค่าบํารุงสหภาพแรงงานตามข้อบังคับของสหภาพแรงงาน ชําระหนี้สินสหกรณ์ออมทรัพย์ เป็นเงินประกันตามมาตรา 10 หรือชดใช้ค่าเสียหายให้แก่นายจ้างซึ่งลูกจ้างได้กระทําโดยจงใจ หรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง โดยได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง หรือเป็นเงินสะสมตามข้อตกลงเกี่ยวกับกองทุนเงินสะสม ทั้งนี้ หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติมสามารถสอบถามได้ที่สํานักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดทุกจังหวัด สํานักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-10 หรือโทร. สายด่วน 1506 กด 3 หรือ 1546 | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-อธิบดี กสร. ชี้แจงผลการตรวจแรงงาน บริษัทรักษาความปลอดภัยฯ ตามข้อสั่งการรมว.รง.
วันศุกร์ที่ 21 มกราคม 2565
อธิบดี กสร. ชี้แจงผลการตรวจแรงงาน บริษัทรักษาความปลอดภัยฯ ตามข้อสั่งการรมว.รง.
กสร. ขานรับข้อสั่งการ รมว.สุชาติ เรื่องสอบเคส รปภ. ถูกนายจ้างทําร้าย เผยผลสอบข้อเท็จจริงกรณีลูกจ้าง รปภ. ถูกนายจ้างทําร้ายร่างกาย ลูกจ้าง 3 ราย ได้รับค่าจ้างครบแล้ว ส่วนอีกรายต้องการยื่นคําร้อง คร.7 พร้อมนัดนายจ้างเข้าสอบข้อเท็จจริง 25 ม.ค. 65
นายนิยม สองแก้ว อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเปิดเผยว่านายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานมีความห่วงใยลูกจ้าง รปภ. ทั้ง 4 นาย หลังถูกนายจ้างทุบตี ทําร้ายร่างกาย พร้อมกําชับให้กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานตรวจสอบข้อเท็จจริง กสร.จึงขานรับข้อสั่งการส่งพนักงานตรวจแรงงานสํานักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 3 ลงพื้นที่สอบข้อเท็จจริง โดยได้ข้อเท็จจริงเบื้องต้นว่านายอนันตชัย ปิยะธีรวัฒน์ ลูกจ้าง กับพวกรวม 4 คน ทํางานที่หน่วยงานซอยเพชรเกษม 81 เขตหนองแขม กรุงเทพฯ ลูกจ้างลาออกจากงาน นายจ้างบังคับให้ลูกจ้างลงชื่อยินยอมเป็นหนังสือให้หักค่าจ้างชดใช้ค่าอุปกรณ์ที่ลูกจ้างยืมไป ลูกจ้างจึงลงชื่อยินยอม พนักงานตรวจแรงงาน ได้ชี้แจงสิทธิ ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานให้ลูกจ้างทราบ และหากลูกจ้างประสงค์ใช้สิทธิสามารถยื่นคําร้องผ่าน e- services หรือยืนคําร้องด้วยตนเองที่สํานักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 7 โดยนายอนันตชัย ปิยะธีรวัฒน์ นายมังกรทอง บุญศรี และนายวรวุฒิ นาคบัว ลูกจ้างทั้ง 3 คน แจ้งว่าได้รับค่าจ้างครบถ้วนแล้ว และขอเวลาตัดสินใจว่าจะยื่นคําร้อง (คร.7) เรื่องเงินประกันการทํางาน และค่าชดใช้อุปกรณ์ ต่อพนักงานตรวจแรงงานหรือไม่ ส่วนอีก 1 ราย คือนายสนอง น้อยศรี จะเข้าไปยื่นคําร้อง (คร.7) ในวันที่ 24 ม.ค. 2565 พร้อมกันนี้พนักงานตรวจแรงงานเข้าตรวจสอบข้อเท็จจริงบริษัท รักษาความปลอดภัย แรงเจอร์ อินเวสติเกชั่น จํากัด ประกอบกิจการบริการรักษาความปลอดภัย มีลูกจ้างประมาณ 1,000 คน ลูกจ้างรายวันขั้นต่ําวันละ 497 บาท บริษัท ให้ลูกจ้างปฏิบัติงานที่หมู่บ้าน เวิร์ฟ (Verve) เพชรเกษม 81แขวง/เขตหนองแขม กรุงเทพฯ ผู้ว่าจ้าง ไม่ต่อสัญญากับบริษัทฯ ทําให้ต้องยุบเลิกหน่วยงานดังกล่าว และให้ลูกจ้างไปปฏิบัติที่หน่วยงานอื่นแทน แต่ลูกจ้างขอลาออก นายจ้างแจ้งว่าได้จ่ายค่าจ้างครบแล้ว และได้ให้ลูกจ้างชดใช้ค่าอุปกรณ์ (วิทยุสื่อสาร) เนื่องจากลูกจ้างไม่คืนอุปกรณ์ดังกล่าว โดยนายจ้างแจ้งว่าลูกจ้างยินยอมชดใช้ค่าอุปกรณ์คนละ 3,123 บาท ซึ่งข้อเท็จจริงไม่ตรงกับฝ่ายลูกจ้างรปภ. ซึ่งจะดําเนินการสอบสวนข้อเท็จจริงต่อไป
อธิบดี กสร.กล่าวเพิ่มเติมว่า ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541มาตรา76 ห้ามมิให้นายจ้างหักค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทํางานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด เว้นแต่เป็นการหักเพื่อชําระภาษีเงินได้ตามจํานวนที่ลูกจ้างต้องจ่ายหรือชําระเงินอื่นตามที่มีกฎหมายบัญญัติไว้ชําระค่าบํารุงสหภาพแรงงานตามข้อบังคับของสหภาพแรงงาน ชําระหนี้สินสหกรณ์ออมทรัพย์ เป็นเงินประกันตามมาตรา 10 หรือชดใช้ค่าเสียหายให้แก่นายจ้างซึ่งลูกจ้างได้กระทําโดยจงใจ หรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง โดยได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง หรือเป็นเงินสะสมตามข้อตกลงเกี่ยวกับกองทุนเงินสะสม ทั้งนี้ หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติมสามารถสอบถามได้ที่สํานักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดทุกจังหวัด สํานักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-10 หรือโทร. สายด่วน 1506 กด 3 หรือ 1546 | https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/50771 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กสร.เสริมสร้างวินัยในการทำงานให้นายจ้าง ลูกจ้าง ในสถานการณ์โควิด-19 | วันจันทร์ที่ 21 มิถุนายน 2564
กสร.เสริมสร้างวินัยในการทํางานให้นายจ้าง ลูกจ้าง ในสถานการณ์โควิด-19
กสร.จัดอบรมโครงการพัฒนาทรัพยากรแรงงาน หลักสูตรการเสริมสร้างวินัยการทํางานในสถานประกอบกิจการ รุ่นที่ 1 สร้างการรับรู้ให้นายจ้าง ลูกจ้าง มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎระเบียบ และความรับผิดชอบในการทํางานในสถานประกอบกิจการ ภายใต้สถานการณ์โควิด-19
นายอภิญญา สุจริตตานันท์ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) เปิดเผยว่า กระทรวงแรงงานภายใต้การกํากับดูแลของท่านพลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และนายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน มีความมุ่งมั่นที่พัฒนาทรัพยากรแรงงาน ซึ่งถือเป็นทรัพยากรที่มีความสําคัญต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ในฐานะหน่วยงานที่มีภารกิจในการคุ้มครองสิทธิ และพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงาน จึงดําเนินการตามภารกิจเพื่อส่งเสริมความมุ่งมั่นของกระทรวงแรงงานในการพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงาน ผ่านการจัดฝึกอบรมโครงการพัฒนาทรัพยากรแรงงาน หลักสูตร การเสริมสร้างวินัยการทํางานในสถานประกอบกิจการ รุ่นที่ 1 ซึ่งเป็นโครงการสร้างการรับรู้ให้นายจ้าง ลูกจ้าง มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสิทธิหน้าที่ตามกฎหมายแรงงาน ระเบียบ วินัย และความรับผิดชอบในการทํางานร่วมกัน เสริมสร้างทัศนคติให้ตระหนักถึงความปลอดภัยในการทํางาน และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการทํางานให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ที่มีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) อีกทั้งยังให้ความรู้ความเข้าใจตามหลักความสมดุลระหว่าง เงิน และความสุขในชีวิต ให้สามารถดําเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข การฝึกอบรมในครั้งนี้เป็นการฝึกอบรมในรูปแบบออนไลน์ โดยจัดขึ้นระหว่างวันที่ 21 - 25 มิถุนายน 2564 มีผู้เข้ารับการฝึกอบรมประกอบด้วย นายจ้าง ลูกจ้าง และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง จํานวน 100 คน
นายอภิญญา สุจริตตานันท์ อธิบดีกสร. กล่าวเพิ่มเติมว่า กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเปิดอบรมหลักสูตรการฝึกอบรมพัฒนาทรัพยากรแรงงานอีกหลายหลักสูตร สําหรับผู้ที่สนใจสามารถเข้าไปลงทะเบียนการฝึกอบรมได้ ผ่านช่องทาง https://eservice.labour.go.th/ | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กสร.เสริมสร้างวินัยในการทำงานให้นายจ้าง ลูกจ้าง ในสถานการณ์โควิด-19
วันจันทร์ที่ 21 มิถุนายน 2564
กสร.เสริมสร้างวินัยในการทํางานให้นายจ้าง ลูกจ้าง ในสถานการณ์โควิด-19
กสร.จัดอบรมโครงการพัฒนาทรัพยากรแรงงาน หลักสูตรการเสริมสร้างวินัยการทํางานในสถานประกอบกิจการ รุ่นที่ 1 สร้างการรับรู้ให้นายจ้าง ลูกจ้าง มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎระเบียบ และความรับผิดชอบในการทํางานในสถานประกอบกิจการ ภายใต้สถานการณ์โควิด-19
นายอภิญญา สุจริตตานันท์ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) เปิดเผยว่า กระทรวงแรงงานภายใต้การกํากับดูแลของท่านพลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และนายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน มีความมุ่งมั่นที่พัฒนาทรัพยากรแรงงาน ซึ่งถือเป็นทรัพยากรที่มีความสําคัญต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ในฐานะหน่วยงานที่มีภารกิจในการคุ้มครองสิทธิ และพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงาน จึงดําเนินการตามภารกิจเพื่อส่งเสริมความมุ่งมั่นของกระทรวงแรงงานในการพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงาน ผ่านการจัดฝึกอบรมโครงการพัฒนาทรัพยากรแรงงาน หลักสูตร การเสริมสร้างวินัยการทํางานในสถานประกอบกิจการ รุ่นที่ 1 ซึ่งเป็นโครงการสร้างการรับรู้ให้นายจ้าง ลูกจ้าง มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสิทธิหน้าที่ตามกฎหมายแรงงาน ระเบียบ วินัย และความรับผิดชอบในการทํางานร่วมกัน เสริมสร้างทัศนคติให้ตระหนักถึงความปลอดภัยในการทํางาน และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการทํางานให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ที่มีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) อีกทั้งยังให้ความรู้ความเข้าใจตามหลักความสมดุลระหว่าง เงิน และความสุขในชีวิต ให้สามารถดําเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข การฝึกอบรมในครั้งนี้เป็นการฝึกอบรมในรูปแบบออนไลน์ โดยจัดขึ้นระหว่างวันที่ 21 - 25 มิถุนายน 2564 มีผู้เข้ารับการฝึกอบรมประกอบด้วย นายจ้าง ลูกจ้าง และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง จํานวน 100 คน
นายอภิญญา สุจริตตานันท์ อธิบดีกสร. กล่าวเพิ่มเติมว่า กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเปิดอบรมหลักสูตรการฝึกอบรมพัฒนาทรัพยากรแรงงานอีกหลายหลักสูตร สําหรับผู้ที่สนใจสามารถเข้าไปลงทะเบียนการฝึกอบรมได้ ผ่านช่องทาง https://eservice.labour.go.th/ | https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/42919 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-WHO เชื่อมั่นให้ไทยเป็นลำดับที่ 3 ของประเทศสมาชิกทบทวนความพร้อมกรณีภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขและสุขภาพถ้วนหน้า เพื่อพัฒนาเครื่องมือรองรับวิกฤติด้านสาธารณสุขทั่วโลก | วันจันทร์ที่ 25 เมษายน 2565
WHO เชื่อมั่นให้ไทยเป็นลําดับที่ 3 ของประเทศสมาชิกทบทวนความพร้อมกรณีภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขและสุขภาพถ้วนหน้า เพื่อพัฒนาเครื่องมือรองรับวิกฤติด้านสาธารณสุขทั่วโลก
รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เผยองค์การอนามัยโลกให้ความเชื่อมั่นไทย เป็นประเทศลําดับที่ 3 เข้าร่วมจัดกิจกรรมนําร่องทบทวนการเตรียมความพร้อมกรณีภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขและสุขภาพถ้วนหน้า ในช่วงที่มีการระบาดของโรคโควิด 19 เพื่อแบ่งปันปร
รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เผยองค์การอนามัยโลกให้ความเชื่อมั่นไทย เป็นประเทศลําดับที่ 3 เข้าร่วมจัดกิจกรรมนําร่องทบทวนการเตรียมความพร้อมกรณีภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขและสุขภาพถ้วนหน้า ในช่วงที่มีการระบาดของโรคโควิด 19 เพื่อแบ่งปันประสบการณ์ แนวทางปฏิบัติระหว่างประเทศสมาชิกองค์การอนามัยโลก ให้เกิดการพัฒนาเครื่องมือรองรับวิกฤติด้านสาธารณสุขสําหรับใช้งานทั่วโลกในอนาคต
วันนี้ (25 เมษายน 2565) ที่ โรงแรม รอยัล ออคิด เชอราตัน โฮเต็ล แอนด์ ทาวเวอร์ส กรุงเทพมหานคร นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ร่วมกิจกรรมการทบทวนการเตรียมความพร้อมกรณีภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขและสุขภาพถ้วนหน้า (นําร่อง) หรือUniversal Health and Preparedness Review (UHPR) Pilotโดยมี ดร.สมิลา อัสมา (Dr. Samira Asma)ผู้ช่วยผู้อํานวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก นพ.จอส ฟอนเดลาร์ (Dr.Jos Vandelaer)ผู้แทนองค์การอนามัยโลกประจําประเทศไทย นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค คณะผู้เชี่ยวชาญจากองค์การอนามัยโลก ผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข บุคลากรจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน รวม 200 คน ร่วมงาน
นายอนุทินกล่าวว่า ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่มีการบริหารจัดการและรับมือกับสถานการณ์โควิด 19 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยได้รับการจัดอันดับให้เป็นประเทศที่มีความมั่นคงด้านสุขภาพเป็นอันดับที่ 5จากทั้งหมด 195 ประเทศ เป็นประเทศกําลังพัฒนาประเทศเดียวที่อยู่ใน 10 อันดับแรกของโลก และเป็นอันดับที่ 1ของเอเชีย ที่มีความพร้อมในการรับมือการระบาดของโรคมากที่สุด เป็นผลจากการบูรณาการทํางานร่วมกัน มีการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขที่เกิดขึ้นทุกภาคส่วนของภาครัฐ และทุกภาคส่วนของสังคม (Whole-government and whole society response)ได้แก่ เครือข่ายภาคประชาชน อสม. ที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ หน่วยงานด้านสาธารณสุข ภาคเอกชน และภาคธุรกิจอื่นๆ ผ่าน ศบค. ภายใต้ พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ.2558 ซึ่งเป็นกลไกสําคัญของระบบป้องกันควบคุมโรคในประเทศไทยในการขับเคลื่อนกฎหมายการดําเนินงานตอบโต้ภาวะฉุกเฉินอย่างมีประสิทธิภาพ จนทําให้ประเทศไทยก้าวผ่านช่วงวิกฤติมาได้
ผู้อํานวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก ดร.ทีโดรส อัดฮานอม กีบรีเยซุส (Dr.Tedros Adhanom Ghebreyesus)จึงเชิญให้ประเทศไทยเป็นประเทศต้นแบบประเทศที่ 3 นําร่องจัดกิจกรรมการทบทวนการเตรียมความพร้อมกรณีภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขและสุขภาถ้วนหน้า ในการรับมือการระบาดใหญ่ของโรคโควิด 19 เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์ แนวปฏิบัติที่ดี (Best Practice)ข้อเสนอแนะระหว่างประเทศสมาชิกขององค์การอนามัยโลก และไทยเป็นประเทศนําร่องที่จะได้เผยแพร่ประสบการณ์สู่สาธารณะในการประชุมสมัชชาอนามัยโลก 2565 เพื่อเป็นประโยชน์แก่ประเทศสมาชิก และเกิดการพัฒนาเครื่องมือและกลไกใหม่ รองรับวิกฤติด้านสาธารณสุขสําหรับใช้งานทั่วโลกในอนาคต
ด้าน นพ.โอภาส กล่าวว่า การทบทวนการเตรียมความพร้อมกรณีภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขและสุขภาพถ้วนหน้าเป็นการทบทวนอย่างครอบคลุมรอบด้าน ทั้งด้านสาธารณสุขและด้านอื่นๆ ซึ่งต้องใช้การตอบโต้จากทุกภาคส่วนทั้งรัฐ เอกชน และภาคประชาชน โดยมีกิจกรรมสําคัญ ได้แก่ การฝึกซ้อมสถานการณ์สมมติ (Simulation Exercise)การสัมภาษณ์และประชุมกลุ่มย่อย,การพบผู้บริหารหน่วยงานระดับประเทศ และการตรวจเยี่ยมหน่วยงานระดับปฏิบัติ เพื่อให้เกิดความเข้าใจจุดแข็ง จุดอ่อน และความท้าทายของประเทศไทยในการรับมือการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ในระยะที่ผ่านมา
ดร.สมิลา กล่าวว่า กิจกรรมทบทวนการเตรียมความพร้อมเหตุฉุกเฉินทางสาธารณสุขและสุขภาพถ้วนหน้าเป็นวิธีใหม่ในการทํางานร่วมกันของประเทศต่างๆ เพื่อปรับปรุงการรับมือเหตุฉุกเฉินด้านสาธารณสุขผ่านระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศแรกๆ ที่ร่วมกิจกรรมนี้ ซึ่งในระหว่างภารกิจ 7 วันนี้ เราหวังว่าจะได้เรียนรู้จากประสบการณ์ของประเทศไทยในการรับมือกับโรคโควิด 19 ที่มีประสิทธิภาพ และนโยบายด้านสาธารณสุขที่น่าประทับใจ
นพ.จอส กล่าวว่า องค์การอนามัยโลกรู้สึกซาบซึ้งอย่างยิ่งที่รัฐบาลไทยแสดงความเป็นผู้นํา โดยการนําร่องการทบทวนการเตรียมความพร้อมเหตุฉุกเฉินด้านสาธารณสุขและสุขภาพถ้วนหน้า ซึ่งจะช่วยขับเคลื่อนความร่วมมือแบบใหม่เพื่อทําให้ประชาชนทั่วโลกปลอดภัยจากวิกฤตสาธารณสุข ผมเชื่อว่าประสบการณ์ที่เข้มข้นของประเทศไทยในการพัฒนาระบบสาธารณสุข และการรับมือต่อโรคโควิด 19 อย่างมีประสิทธิภาพจะเป็นบทเรียน
อันล้ําค่าสําหรับประเทศอื่นๆ อย่างแน่นอน
************************************** 25 เมษายน 2565
************************************** | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-WHO เชื่อมั่นให้ไทยเป็นลำดับที่ 3 ของประเทศสมาชิกทบทวนความพร้อมกรณีภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขและสุขภาพถ้วนหน้า เพื่อพัฒนาเครื่องมือรองรับวิกฤติด้านสาธารณสุขทั่วโลก
วันจันทร์ที่ 25 เมษายน 2565
WHO เชื่อมั่นให้ไทยเป็นลําดับที่ 3 ของประเทศสมาชิกทบทวนความพร้อมกรณีภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขและสุขภาพถ้วนหน้า เพื่อพัฒนาเครื่องมือรองรับวิกฤติด้านสาธารณสุขทั่วโลก
รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เผยองค์การอนามัยโลกให้ความเชื่อมั่นไทย เป็นประเทศลําดับที่ 3 เข้าร่วมจัดกิจกรรมนําร่องทบทวนการเตรียมความพร้อมกรณีภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขและสุขภาพถ้วนหน้า ในช่วงที่มีการระบาดของโรคโควิด 19 เพื่อแบ่งปันปร
รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เผยองค์การอนามัยโลกให้ความเชื่อมั่นไทย เป็นประเทศลําดับที่ 3 เข้าร่วมจัดกิจกรรมนําร่องทบทวนการเตรียมความพร้อมกรณีภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขและสุขภาพถ้วนหน้า ในช่วงที่มีการระบาดของโรคโควิด 19 เพื่อแบ่งปันประสบการณ์ แนวทางปฏิบัติระหว่างประเทศสมาชิกองค์การอนามัยโลก ให้เกิดการพัฒนาเครื่องมือรองรับวิกฤติด้านสาธารณสุขสําหรับใช้งานทั่วโลกในอนาคต
วันนี้ (25 เมษายน 2565) ที่ โรงแรม รอยัล ออคิด เชอราตัน โฮเต็ล แอนด์ ทาวเวอร์ส กรุงเทพมหานคร นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ร่วมกิจกรรมการทบทวนการเตรียมความพร้อมกรณีภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขและสุขภาพถ้วนหน้า (นําร่อง) หรือUniversal Health and Preparedness Review (UHPR) Pilotโดยมี ดร.สมิลา อัสมา (Dr. Samira Asma)ผู้ช่วยผู้อํานวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก นพ.จอส ฟอนเดลาร์ (Dr.Jos Vandelaer)ผู้แทนองค์การอนามัยโลกประจําประเทศไทย นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค คณะผู้เชี่ยวชาญจากองค์การอนามัยโลก ผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข บุคลากรจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน รวม 200 คน ร่วมงาน
นายอนุทินกล่าวว่า ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่มีการบริหารจัดการและรับมือกับสถานการณ์โควิด 19 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยได้รับการจัดอันดับให้เป็นประเทศที่มีความมั่นคงด้านสุขภาพเป็นอันดับที่ 5จากทั้งหมด 195 ประเทศ เป็นประเทศกําลังพัฒนาประเทศเดียวที่อยู่ใน 10 อันดับแรกของโลก และเป็นอันดับที่ 1ของเอเชีย ที่มีความพร้อมในการรับมือการระบาดของโรคมากที่สุด เป็นผลจากการบูรณาการทํางานร่วมกัน มีการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขที่เกิดขึ้นทุกภาคส่วนของภาครัฐ และทุกภาคส่วนของสังคม (Whole-government and whole society response)ได้แก่ เครือข่ายภาคประชาชน อสม. ที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ หน่วยงานด้านสาธารณสุข ภาคเอกชน และภาคธุรกิจอื่นๆ ผ่าน ศบค. ภายใต้ พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ.2558 ซึ่งเป็นกลไกสําคัญของระบบป้องกันควบคุมโรคในประเทศไทยในการขับเคลื่อนกฎหมายการดําเนินงานตอบโต้ภาวะฉุกเฉินอย่างมีประสิทธิภาพ จนทําให้ประเทศไทยก้าวผ่านช่วงวิกฤติมาได้
ผู้อํานวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก ดร.ทีโดรส อัดฮานอม กีบรีเยซุส (Dr.Tedros Adhanom Ghebreyesus)จึงเชิญให้ประเทศไทยเป็นประเทศต้นแบบประเทศที่ 3 นําร่องจัดกิจกรรมการทบทวนการเตรียมความพร้อมกรณีภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขและสุขภาถ้วนหน้า ในการรับมือการระบาดใหญ่ของโรคโควิด 19 เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์ แนวปฏิบัติที่ดี (Best Practice)ข้อเสนอแนะระหว่างประเทศสมาชิกขององค์การอนามัยโลก และไทยเป็นประเทศนําร่องที่จะได้เผยแพร่ประสบการณ์สู่สาธารณะในการประชุมสมัชชาอนามัยโลก 2565 เพื่อเป็นประโยชน์แก่ประเทศสมาชิก และเกิดการพัฒนาเครื่องมือและกลไกใหม่ รองรับวิกฤติด้านสาธารณสุขสําหรับใช้งานทั่วโลกในอนาคต
ด้าน นพ.โอภาส กล่าวว่า การทบทวนการเตรียมความพร้อมกรณีภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขและสุขภาพถ้วนหน้าเป็นการทบทวนอย่างครอบคลุมรอบด้าน ทั้งด้านสาธารณสุขและด้านอื่นๆ ซึ่งต้องใช้การตอบโต้จากทุกภาคส่วนทั้งรัฐ เอกชน และภาคประชาชน โดยมีกิจกรรมสําคัญ ได้แก่ การฝึกซ้อมสถานการณ์สมมติ (Simulation Exercise)การสัมภาษณ์และประชุมกลุ่มย่อย,การพบผู้บริหารหน่วยงานระดับประเทศ และการตรวจเยี่ยมหน่วยงานระดับปฏิบัติ เพื่อให้เกิดความเข้าใจจุดแข็ง จุดอ่อน และความท้าทายของประเทศไทยในการรับมือการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ในระยะที่ผ่านมา
ดร.สมิลา กล่าวว่า กิจกรรมทบทวนการเตรียมความพร้อมเหตุฉุกเฉินทางสาธารณสุขและสุขภาพถ้วนหน้าเป็นวิธีใหม่ในการทํางานร่วมกันของประเทศต่างๆ เพื่อปรับปรุงการรับมือเหตุฉุกเฉินด้านสาธารณสุขผ่านระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศแรกๆ ที่ร่วมกิจกรรมนี้ ซึ่งในระหว่างภารกิจ 7 วันนี้ เราหวังว่าจะได้เรียนรู้จากประสบการณ์ของประเทศไทยในการรับมือกับโรคโควิด 19 ที่มีประสิทธิภาพ และนโยบายด้านสาธารณสุขที่น่าประทับใจ
นพ.จอส กล่าวว่า องค์การอนามัยโลกรู้สึกซาบซึ้งอย่างยิ่งที่รัฐบาลไทยแสดงความเป็นผู้นํา โดยการนําร่องการทบทวนการเตรียมความพร้อมเหตุฉุกเฉินด้านสาธารณสุขและสุขภาพถ้วนหน้า ซึ่งจะช่วยขับเคลื่อนความร่วมมือแบบใหม่เพื่อทําให้ประชาชนทั่วโลกปลอดภัยจากวิกฤตสาธารณสุข ผมเชื่อว่าประสบการณ์ที่เข้มข้นของประเทศไทยในการพัฒนาระบบสาธารณสุข และการรับมือต่อโรคโควิด 19 อย่างมีประสิทธิภาพจะเป็นบทเรียน
อันล้ําค่าสําหรับประเทศอื่นๆ อย่างแน่นอน
************************************** 25 เมษายน 2565
************************************** | https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/53876 |